กรณีศึกษาเรื่องสารานุกรมออนไลน์ : Britannica VS Wikipedia

วันนี้ผมขอนำเรื่องเก่ามาเรียบเรียงและเล่าใหม่อีกสักครั้งนะครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีคนสงสัยมากมายเกี่ยวกับการอ้างอิงบทความต่างๆ ในสารานุกรม
โดยกรณีที่ผมนำมาเขียนนี้จะขอเน้นไปในเรื่องสารานุกรมที่เป็นสิ่งพิมพ์กับสารานุกรมออนไลน์

reference-site

ซึ่งเรื่องมันมีอยู่ว่า…มีอีเมล์ฉบับหนึ่งเขียนมาถามผมถึงเรื่อง
การนำข้อมูลบน website ไปอ้างอิงในการทำรายงานว่ากระทำได้หรือไม่ และมันน่าเชื่อถือหรือเปล่า

อันที่จริงคำถามนี้ผมก็เคยตั้งคำถามในใจไว้เหมือนกัน แต่ก็ยังหาคำตอบไม่ได้สักที
เพราะว่าประเด็นในเรื่องนี้มีผู้เชี่ยวชาญออกมากล่าวไว้ไม่เหมือนกัน โดยสรุปได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มที่บอกว่าข้อมูลสามารถนำมาอ้างอิงได้ เนื่องจากในหลักการเขียนบรรณานุกรมยังมีการอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์
2. กลุ่มที่บอกว่าข้อมูลไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ทั้งหมด ซึ่งต้องเลือกและพิจารณาแหล่งข้อมูลเสียก่อนจึงจะอ้างอิงได้
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบทความทางวิชาการ เช่น รายงานการประชุม ฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ รวมถึงสิ่งที่เรียกว่า สารานุกรมออนไลน์

สารานุกรมออนไลน์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เราสามารถจำแนกได้ออกเป็นอีกสองกลุ่ม คือ

1. สารานุกรมออนไลน์ทั่วไป
ได้แก่ Encyclopedia Britannica , Encarta เป็นต้น
สารานุกรมจำพวกนี้ได้รับความน่าเชื่อถือมาเป็นเวลานานเนื่องจากสารานุกรม เหล่านี้นอกจากมีบนอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์อีกด้วย

2. สารานุกรมเสรี ได้แก่ Wikipedia, PBwiki เป็นต้น
สารานุกรมจำพวกนี้เป็นสารานุกรมที่ให้ข้อมูลค่อนข้างดี แต่บางครั้งก็ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาจากนักวิชาการ ดังนั้นจึงมีข้อถกเถียงกันเรื่องความน่าเชื่อถืออยู่

ข้อแตกต่างระหว่าง Britannica กับ Wikipedia คือ ผู้แต่งหรือผู้เขียนบทความ
ถ้าเป็นของ Britannica ผู้เขียนจะเป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
แต่ Wikipedia ผู้แต่งหรือผู้เขียนคือใครก็ได้ที่เข้าใจหรือรู้ในเรื่องๆ นั้น เข้ามาเขียนด้วยภาษาง่ายๆ อธิบายตามที่เขารู้
ถ้าสิ่งที่เขารู้มันผิดก็จะมีคนเข้ามาแก้ไขให้เรื่อยๆ จนได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ที่สุด

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเรื่อง wikipedia เพิ่มเติม ลองอ่านดูที่
แนะนำวิกิพีเดีย โดยเว็บไซต์ wikipedia
Wikipedia สารานุกรมฟรีออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้ โดยผู้จัดการ 360 องศา

หากจะถามถึงการอ้างอิงเนื้อหาผมคงตอบไม่ได้ว่าจะอ้างอิงได้หรือไม่
เพื่อนๆ ต้องพิจารณากันเองนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับบทความที่เราจะนำมาใช้ว่ามีความน่าเชื่อถือขนาดไหน
เพราะว่าใน wikipedia แต่ละเรื่องจะต้องมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้นเราต้องดูแหล่งอ้างอิงของบทความนั้นๆ ด้วย

มีบทความของ Nature Magazine Dec 14, 2005 เรื่อง Internet encyclopaedias go head to head
ได้สำรวจความถูกต้องของข้อมูลแล้วพบว่า ใน Britannica กับ Wikipedia มีความผิดพลาดในระดับพอๆ กัน
ซึ่งหลายคนมองบทความชิ้นนี้ว่าเป็นการทำให้ Britannica เสียชื่อเสียงหรือเปล่า
แต่ในโลกของอินเทอร์เน็ตอะไรก็เปลี่ยนแปลงไปเร็วเหมือนกันนะ
จนถึงวันนี้จากการจัดอันดับเว็บไซท์ของ alexa ปี 2009 Wikipedia ถูกจัดอยู่ในอันดับ 6 ของโลนะครับ

แล้วเพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ครับ
บทความในวิกิพีเดียสามารถนำมาอ้างอิงได้มั้ย
แล้วความน่าเชื่อถือเพื่อนๆว่าเชื่อได้กี่เปอร์เซ็นต์ครับ

เมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากกว่าหนังสือพิมพ์

วันนี้ผมขอนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องการใช้อินเทอรืเน็ตกับการอ่านหนังสือพิมพ์หน่อยนะครับ
บทความนี้จริงๆ มาจากเรื่อง “อินเทอร์เน็ตกำลังแย่งผู้อ่านไปจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น” จาก blognone นะครับ
ต้นฉบับเนื้อหาภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่ “Internet use could kill off local newspapers, study finds” จาก physorg
แต่ผมขอนำมาเพิ่มในส่วนที่ผมวิเคราะห์และวิจารณ์ลงไปด้วยครับ

internet-use

————————————————————————————————–

การศึกษาในเรื่อง สื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการบริโภคข่าวสารของผู้ใช้โดยทั่วไป
โดยผลการศึกษานี้สรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. ในปีที่ผ่านมา (2007) ยอดการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษมียอดที่ลดลง
ทำให้สูญเสียผู้ อ่านไปนับล้านคน แต่ยอดการดูข่าวในอินเทอร์เน็ตกลับเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

2. รูปแบบของข่าวที่นำเสนอในอินเทอร์เน็ตมาจาก เว็บ Search Engine ต่างๆ
ข่าวสารในบล็อกต่างๆ / เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ที่ดังๆ รวมถึงเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ด้วย

3. Google, Yahoo, AOL และ MSN มีคนเข้าใช้ในแต่ละเดือนประมาณ 100 ล้านคน
แต่เว็บของสถานีโทรทัศน์กลับมีเพียง 7.4 ล้านคนเท่านั้นเอง
และเว็บของหนังสือพิมพ์ดังๆ ที่ติดตลาด เช่น New York Times มีผู้ใช้ประมาณ 8.5 ล้านต่อเดือน

4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เล็กๆ พยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวแล้ว
แต่ก็เป็นการยากที่จะดึงลูกค้าจากกลุ่มต่างๆ ในข้อที่ 3 มาได้
ดังนั้นผลกระทบโดยตรงนี้จึงตกอยู่กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต่างๆ ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าว

5. ในบทความนี้แนะนำว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควรจะปรับกลยุทธ์โดยการให้นำเสนอ
ข่าวในแนวที่กว้างขึ้นและคงความเป็นสากลของหนังสือพิมพ์จึงจะพิชิตอุปสรรค ต่างๆ ได้

————————————————————————————————–

ผลการศึกษาที่ผมยกมานี้หากเรามามองในแง่ของความเป็นบรรณารักษ์
บางคนคงเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมผู้ใช้จึงมีจำนวนลดลงบ้าง

ถึงแม้ว่าในบทความนี้กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยหลายคนอาจจะบอกว่า
ไม่มีทางหรอกยังไงคนไทยก็ติดความเป็นกระดาษมากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว

แต่ในความคิดของผมที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยม
ประเด็นหลักผมคิดว่ามาจากสื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งทำให้เกิดความยากในการที่จะนำมาใช้
บางคนไม่ชอบภาษาอังกฤษพอเห็นอะไรนิดหน่อยที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงเกิดอาการต่อต้าน

แต่ผมก็คิดในหลักง่ายๆ ว่า แล้วถ้าสื่อเหล่านี้เป็นภาษาไทยหล่ะ
จะทำให้ผู้ใช้หันไปใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ห้องสมุดคงต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยทันที

ผมเอาสรุปสถิติของการเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาให้ดูกันคร่าวๆ ดีกว่า
แล้วให้พวกเราลองเปรียบเทียบในแง่ของห้องสมุดว่าห้องสมุดมีคนเข้าใช้จำนวน แค่ไหน

www.sanook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 223,597
www.kapook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 142,020
teenee.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 74,811
www.mthai.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 73,752

ข้อมูลจาก truehits.net

เอาเป็นว่าห้องสมุดที่ไหนบ้างในเมืองไทยที่มีการเข้าใช้จำนวนมากเหมือนเว็บไซต์
ใครรู้ช่วยบอกผมทีนะครับ

การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC

ปัจจุบันการค้นหาหนังสือในห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับ
จากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลา
แต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ

libraryopac

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับ
ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC)
และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…
เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ

ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้
สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว

หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี
ระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริง
แต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง

ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.
ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่ม
แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการ
จึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ – – – นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้
ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้
สรุปก็ต้องหาใหม่ – – – นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรก
คงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุด
เพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก

ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมาเขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้าง
ว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ? และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

แรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นบรรณารักษ์

เรื่องเก่าขอเล่าใหม่เกี่ยวกับบทความหนึ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้หลายๆ คนอยากเป็นบรรณารักษ์
หลายๆ คนจะต้องนึกถึงบทความเรื่องนี้ “โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์” (คุ้นๆ กันบ้างหรือปล่าว)

librarian

ลองอ่านต้นฉบับได้ที่ โตขึ้นหนูอยากเป็น – บรรณารักษ์

ผมขอสรุปเนื้อหาในบทความนี้

– ในปัจจุบันเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ มีข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นในแต่ละวันมากมาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ทำธุรกิจ ต่างๆ แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถใช้สารสนเทศได้อย่างเต็มที่ เหมือนกับปลาในมหาสมุทรซึ่งมีอยู่มากมาย หากแต่เราไม่มีเครื่องมือในการจับปลาและไม่รู้จักวิธีในการจับปลานั่นเอง ดังนั้น บรรณารักษ์จึงทำหน้าที่เสือนชาวประมงซึ่งรู้วิธีจับปลาและมีอุปกรณ์ในการจับปลานั่นเอง

– หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพนี้มีชื่อเรียกต่างๆ มากมาย เช่น บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์, การจัดการสารสนเทศ เป็นต้น

– บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนจัดชั้นแต่บรรณารักษ์เป็นคนที่ดูแลและจัดการหนังสือแต่ละเล่มให้อยู่ในระบบห้องสมุด

– อาชีพที่บรรณารักษืสามารถทำได้มีมากมายเช่น บรรณารักษ์, นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆ หรือเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กรต่างๆ นักข่าว, ฝ่ายข้อมูลบริษัทโฆษณา, เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่ว?ไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทองก็เป็นร้านทอง IT เป็นต้น

– จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพอื่นๆ ได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นในเรื่องการทำงาน

ประโยคทิ้งท้ายของบทความนี้ผมชอบมากๆ เลย นั่นก็คือ
“เมื่อรู้เช่นนี้แล้วกรุณา อย่าคิดว่าจบบรรณารักษ์แล้วต้องจัดชั้นหนังสืออีกไม่เช่นนั้นคราวหน้าจะเอา LC SUBJECT HEADING ฟาดหัวเสียให้เข็ด”

เพราะว่าคนที่เรียนหรือทำงานในด้านนี้จะรู้ครับว่า หนังสือ “LC SUBJECT HEADING” มันเล่มใหญ่มาก
ถ้าเอาตาฟาดหัวคนคงมีหวังสลบไปหลายวันเลยครับ อิอิ

เมื่ออ่านบทความนี้จบผมขอแสดงความคิดเห็นสักนิดนะครับ ว่า
ผมเห็นด้วยอย่างมากกับบทความนี้ เพราะวิชาชีพนี้ทำให้ผมเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
ต้องตามข่าวสารให้ทันอยู่เสมอๆ มีนิสัยการรักการอ่าน และทำให้เข้าศาสตร์ของวิชาอื่นๆ ได้ดี

อ่านแล้วรู้สึกอยากเป็นบรรณารักษ์ขึ้นมาเลยหรือปล่าวครับ อิอิ

งานประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (Computer in Libraries 2009)

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องย้อนหลังไปเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมานะครับ
ในช่วงเดือนนั้นมีงานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด หรือที่เราเรียกกันว่า Computer in Libraries 2009

cil2009

Computer in Libraries 2009 หรือที่ในวงการเรียกย่อๆ ว่า CiL 2009
งานนี้ถือว่าเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีสำหรับบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเลยก็ว่าได้
กำหนดการของงานนี้เริ่มในวันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2009

ข้อมูลทั่วไปของงาน CIL2009
ชื่องาน : Computer in Libraries
จัดมาแล้วเป็นครั้งที่ : 24
วันที่จัด : 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2552
สถานที่ : Hyatt Regency Crystal City (จัดในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ)

สโลแกนของงานนี้
?CREATING TOMORROW : SPREADING IDEAS & LEARNING?
มาสร้างวันพรุ่งนี้กันดีกว่า ด้วยการกระจายไอเดียและกระจายการเรียนรู้ (แชร์ไอเดียร่วมกัน)

งานนี้ไม่ได้จัดโดยห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งนะครับ
แต่องค์กรหลักที่เป็นผู้จัดงานนี้คือ บริษัท Information Today

เอาเป็นว่ามาดูหัวข้อเด่นๆ ในงานแบบเต็มๆ กันเลยดีกว่า

cil2009-book

โดยในงานนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยเริ่มจาก Track A – Track E
ซึ่งผู้เข้าประชุมจะต้องเลือกเข้า 1 Track ซึ่งแต่ละ Track จะมีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน
โดยเนื้อหาของแต่ละ Track มีดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– SEARCH & SEARCH ENGINES

TRACK B
– WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– OPEN LIBRARIES
– NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES

TRACK C
– COMMUNITIES & COLLABORATION
– SOCIAL SOFTWARE
– CONTENT MANAGEMENT (CM)

TRACK D
– DIGITAL LIBRARIES
– SERVICES & VIRTUAL REFERENCE
– LEARNING

TRACK E
– INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– NEXT GEN CATALOGS
– 2.0 PLANNING & MANAGING

?????????????????????-

นอกจากนั้นในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ? ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ต่างๆ ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Search Tips
– Searching Conversations: Twitter, Facebook, & the Social Web
– What?s New & Hot: The Best Resource Shelf
– Searching Google Earth
– Information Discovery: Science & Health

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– New Strategies for Digital Natives
– Designing the Digital Experience
– Googlization & Gadget Support for the Library
– Library Transformation With Robotics
– Innovative Services & Practices

SEARCH & SEARCH ENGINES
– The Future of Federated Search
– Federated Search: Growing Your Own Tools
– Mobile Search
– What?s Hot in RSS
– Emerging Search Technologies

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– Website Redesign Pitfalls
– Help Your Library Be Omnipresent Without Spending a Dime
– 40-Plus New Tools & Gadgets for Library Webmasters
– What Have We Learned Lately About Academic Library Users
– Library Facebook Applications

OPEN LIBRARIES
– Open Source Software
– Open Source Browsers
– Unconferences
– Open Source Library Implementations
– Open Access: Green and Gold

NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES
– Mobile Practices & Search: What?s Hot!
– Mobile Usability: Tips, Research, & Practices
– Mobile Library Apps
– Real Librarians in Virtual Worlds
– Gaming & Learning

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track C

COMMUNITIES & COLLABORATION
– Who Put the Blawg in My Collection?
– Building Community Partnerships: 25 Ideas in 40 Minutes
– Building Communities: Wikis & Ning
– Flickr Commons for Libraries & Museums
– Continued Online Community Engagement

SOCIAL SOFTWARE
– The Best of the Web
– Social Network Profile Management
– Web 2.x Training for Customers & Staff
– Evaluating, Recommending, & Justifying 2.0 Tools
– Pecha Kucha: 2.0 Top Tips

CONTENT MANAGEMENT (CM)
– CM Tools: Drupal, Joomla, & Rumba
– Implementing CMS: Academic
– Implementing CMS: Public
– Customized Content Portals
– Content Collage: Institutional Repositories

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track D

DIGITAL LIBRARIES
– Digital Preservation, E-Government & ERM
– Digital Rights Management (DRM) Copyright, & Creative Commons
– Moving Libraries to the Cloud
– Developing a Sustainable Library IT Environment
– Achieving the Dream to Go Green


SERVICES & VIRTUAL REFERENCE

– Next Gen Digital Reference Tools
– Reference Odyssey: Still Dealing with Real People
– Embedding Services: Go Where the Client Is
– More than Just Cruising: SL & Web 2.0
– Service at Point of Need: SharePoint & Mobile Tools

LEARNING
– Learning Solutions Through Technology
– Enhancing Learning Anytime, Anywhere: Spread Your Reach
– E-Learning: Trends, Tools & Interoperability
– Embedding Ourselves: Using Web 2.0 and Second Life for Instructional Presence
– Dynamic Learning Spaces & Places

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track E

INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– I Wanna Be 2.0 Too!: Web Services for Underfunded Libraries
– Tiny Libraries, Tiny Tech, Innovative Services
– Social Software Solutions for Smaller Libraries
– Obstacle or Opportunity? It’s Your Choice!
– Blogs as Websites

NEXT GEN CATALOGS
– Global Library Automation Scene
– Library Automation Highlights
– Library Website & Library Catalog: One-Stop!
– Open Source Implementations
– Cooperative Systems Trump Integrated Systems

2.0 PLANNING & MANAGING
– Setting Up a Trends Analysis Program
– What’s the Return on Investment for Your Library?
– Future Space: The Changing Shape of Libraries
– Successful Online Collaborative: A Tale of Three Libraries
– New Tools for Metrics & Measures

?????????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

สรุปสไลด์การบริหารจัดการห้องสมุดดิจิตอล

วันนี้ว่างๆ ไม่มีอะไรทำเลยขอขุดสไลด์เก่าๆ มานั่งอ่านและทำความเข้าใจ
ซึ่งจริงๆ แล้วสไลด์เหล่านี้ก็มีความรู้ดีๆ และแง่คิดดีๆ แฝงไว้เยอะมาก

สไลด์ที่ผมอ่าน มีชื่อเรื่องว่า ?นโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการจัดการห้องสมุดดิจิตอล?
ซึ่งเป็นสไลด์ของรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ครับ

slide-digital-library

โดยเนื้อหาในสไลด์ได้มีการพูดถึงเรื่องแนวโน้มของสังคมที่เปลี่ยนจาก
ยุคอุตสาหกรรมไปเป็นยุคสารสนเทศว่ามีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น
ในยุคของอุตสาหกรรมมีการใช้ข้อมูลแบบตัวใครตัวมัน
ส่วนในยุคสารสนเทศจะเน้นการใช้ข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล

ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ในยุคสารสนเทศจะทำให้เกิดกฎระเบียบใหม่ / พฤติกรรมใหม่ / รูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมานะครับ
คลื่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ บทบาทของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่เชื่อมโยงและเป็นชุมชนความรู้ขนาดใหญ่

จากสิ่งที่ได้กล่าวมาทำให้มีการออกแบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่ๆ
ทำให้เกิด ห้องสมุดเสมือนจริง, ห้องสมุดดิจิตอล และอื่นๆ
อาจารย์ยืน ยังได้ให้นิยามของห้องสมุดเสมือนจริงว่า

1. ห้องสมุดจะให้บริการได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
2. การให้บริการสื่อดิจิตอลจะเพิ่มมากขึ้น
3. ข้อมูล สารสนเทศ และควารู้จะมีความหลากหลายและอยู่บนเครือข่าย
4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริการ
5. การบริการเสมือนจริงโดยการนำเว็บ 2.0 เข้ามาใช้เพื่อพัฒนางานต่างๆ
6. มีการสร้างความร่วมมือเพื่อแบ่งปันข้อมูลและสร้างสังคมความรู้

หลังจากนั้นอาจารย์ยืนได้กล่าวถึงเทคโนโลยีของเว็บ 2.0
และได้ยกคำพูของ Bill Gates ที่พูดว่า ?อนาคตการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทำได้จากทุกที่?

——————————————————————————–

สรุปอีกทีนะครับ(ความคิดของผม)
ดูจากนิยามแล้วมันคล้ายๆ กับ นิยามของ Library 2.0 นะครับ
เช่นเอาเว็บ 2.0 มาประยุกต์ใช้และอีกอย่างจุดประสงค์ผมว่ามันก็คล้ายๆ กัน
คือ ?ทำอย่างไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด?
อีกเรื่องที่ผมชอบคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นเราควรจะเริ่มจากสังคมวิชาชีพของตัวเองให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยๆ สร้างสังคมอื่นๆ ต่อไป?

สำหรับสไลด์ชุดนี้โหลดได้ที่ http://tla.or.th/004.ppt

เทคโนโลยีของห้องสมุดตั้งแต่ปี 1968 – 2007

เรื่องเก่าเล่าใหม่อีกครั้งสำหรับเรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
จากบทความเรื่อง? 2007 Library Technology Guides Automation Trend Survey
ซึ่งเป็นผลสำรวจที่มาจากเว็บไซต์ Library Technology Guides

libtech-copy

ลองเข้าไปดูกันนะว่าพัฒนาการของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดว่ามีอะไรบ้าง
ผมว่ามันน่าสนใจดีนะครับ เพราะบอกช่วงเวลาให้ด้วย

ซึ่งพอได้เห็นภาพว่าห้องสมุดเริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ ปี 1968
ซึ่งเทคโนโลยีตัวแรกที่มีการนำมาใช้ในห้องสมุด นั่นคือ ?NOTIS Systems?
ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Northwestern University

แล้ว NOTIS Systems คืออะไร ผมก็ลองเข้าไปค้นหาคำตอบดู
ในยุคแรกของ NOTIS Systems เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่จัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรม
แต่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ

นอกจากเทคโนโลนีแรกของห้องสมุดแล้ว แผนภาพนี้ยังแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีห้องสมุดในยุค 2007 ด้วย
ซึ่งมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติชั้นนำอยู่ด้วย เช่น SirsiDynix, Ex Libris, VTLS ฯลฯ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ต้องไปลองเปิดดูครับ

รูปเต็มดูได้ที่ http://www.librarytechnology.org/automationhistory.pl?SID=20091214577484130

?จะเรียนปริญญาโทดีมั้ย? คำถามที่น่าคิด

เรื่องนี้จริงๆ ผมเขียนนานแล้วอ่ะครับ แต่พอเห็นเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นมากมาย
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ นำมาเล่าซ้ำและประมวลความคิดเห็นที่ให้แง่คิดดีๆ ให้อ่านครับ

blog

มีเพื่อนผมหลายคนมาถามบ่อยๆ ว่า
?เรียนโทเป็นไงบ้างยากมั้ย?
?อยากเรียนโทนะแต่เรียนอะไรดี?
?แล้วจะเรียนดีมั้ยอ่ะปริญญาโท?

คำถามนี้ไม่ใช่เกิดกับเพื่อนๆ ของผมอย่างเดียว
ตอนก่อนที่ผมจะลงเรียนปริญญาโท
ผมเองก็เคยถามคำถามพวกนี้กับคนอื่นเหมือนกัน

แล้วคำตอบที่ได้กลับมาก็เหมือนกันเกือบทุกคนว่า
?เรียนอะไรก็ได้ที่คิดว่าชอบ?
?คิดดีแล้วหรอที่จะเรียนปริญญาโท?
?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

เรียนอะไรผมว่ามันก็ขึ้นอยู่กับความชอบจริงๆ นะ
ส่วนคำถามที่ถามย้อนกลับมาสิว่า ?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

บางคนคงจะบอกว่า
?เรียนเพราะว่าสังคมเดี๋ยวนี้ จบปริญญาตรีมันไม่พอ?
?เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน?
?เรียนเพราะตั้งใจว่าจะเพิ่มความรู้ให้ตัวเอง?
?เรียนเพราะว่าคนอื่นเขาก็เรียน?
?เรียนเพราะว่าแฟนชวนให้เรียนด้วย?

เอาเป็นว่าหลากหลายเหตุผลในการที่จะเรียนต่ออ่ะครับ
แต่คิดสักนิดนะครับว่า ไม่ว่าคุณจะเรียนปริญญาอะไรก็ตาม
ขอให้เลือกตามที่ใจรักนะครับ เรียนอะไรก็ได้ตามใจเรา

บางคนบอกว่าเรียนเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ผมก็เห็นด้วยนะครับ
แต่ว่าอย่างบางอาชีพเขาไม่ได้วัดกันที่ปริญญาก็มีนะครับ
ผมขอถามคุณเล่นๆ ดีกว่า (ลองคิดตามนะครับ)

สมมุติว่ามีคนสองคนมาสมัครงาน
คนนึงจบปริญญาเอกด้านการออกแบบ มาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แต่ยังไม่เคยทำงานมาก่อนเลย
อีกคนหนึ่งจบปริญญาตรีสาขาที่ไม่เกี่ยวกับการออกแบบด้วยซ้ำ แต่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาเกือบ 20 ปี
คุณคิดยังไงกับคนสองคนนี้ แล้วถ้าคุณจะรับคนเข้าทำงานคุณจะเลือกใครครับ

อย่างที่เคยพูนะครับว่าปริญญาบางทีในสังคมก็ใช้ในการวัดความรู้
แต่ผมว่าประสบการณ์ก็มีส่วนในการวัดความรู้ได้เหมือนกัน

แต่ในประเทศไทยเราส่วนใหญ่ก็ยังยึดกับใบปริญญาอยู่ดี
ยังไงซะถ้ามีโอกาสเรียนก็เรียนเถอะครับ คิดว่าตามกระแสไปแล้วกัน

——————————————————————————————————

รวมความคิดเห็นที่ตอบมาแล้วได้แง่คิด

พี่บอล (jiw_de_jazz) แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเรียนแล้วมีประโยชน์ชัดเจนก็เรียนไป เช่น

?เรียนจบแล้วเงินเดือนขึ้น?
– แน่นอนคุณเสียค่าเรียนป.โท ประมาณ 3แสน แต่คุณจะได้เงินเดือนขึ้นอีก 5พัน/เดือน จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 60 เดือน = 5ปี น่าจะคุ้มนะ

?เรียนช่วงหางาน(เตะฝุ่น)?
– เตรียมพร้อมเมื่อฟ้าปิด ถ้าฟ้าเปิดมาคุณจะมีโอกาสมากกว่าผู้อื่น

“เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน”
– น่าจะเป็นพวกบ้านพอมีฐานะ เรียนไปเถอะ เพื่อคุณจะได้ไม่เป็นแกะดำในบ้าน, หรืออาจจะเสริมสร้างสถานภาพทางสังคมของครอบครัวของคุณ(ไม่ได้ประชดนะ) ผมให้ความสำคัญกะที่บ้านสูงน่ะครับ ?ลูกชั้นจบปริญญาโทแล้วนะ?

?เรียนเพราะที่ทำงานเรียนกันหมดเลย?
– อันนี้ต้องคิดครับว่า ว่าปริญญามีผลกับการทำงานของคุณหรือป่าว ถ้าไม่มีผลก็ไม่ต้องเรียน ถ้ามีผลก็เรียนไปเถอะครับ

——————————————————————————————————

คุณจันทรา แสดงความคิดเห็นว่า

ผลที่ได้จากการเรียน มากกว่าที่คิดเยอะ ได้เพื่อน ที่ไม่คาดว่าจะได้เจอ หมายถึงวิถึชีิวิตเราต่างกันมาก ถ้าไม่เจอกันที่เรียน ก็คงไม่ได้เจอ ทำให้โลกกว้างขึ้น ในด้านวิชาการ เรียนโทส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง ?วิธีคิด? จะคิดเป็นระบบมากขึ้นค่ะ สุดท้าย ก็ความภูมิใจไงค๊ะ ปริญญาหน่ะ ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดว่า ?ใครเก่ง? แต่การจะได้มาหน่ะมันไม่ง่าย ก็อาจพิสูจน์ได้ว่า มันคือผลของ ?การพยายาม? ค่ะ

——————————————————————————————————

พี่มุก (EscRiBiTioNiSt) แสดงความคิดเห็นว่า

คิดว่า การเรียน เป็นงาน อดิเรก อย่างหนึ่ง ได้ความรู้ ได้เพื่อน ได้สังคม ที่สำคัญ ได้ความสุข สนุกสนาน ความตื่นเต้น (เวลาสอบ) จากการเรียน มีหลายรสชาติดี..

——————————————————————————————————

บรรณารักษ์ในกะลา แสดงความคิดเห็นว่า

ต้องลองเรียนเองค่ะถึงจะได้คำตอบ เพราะความรู้ที่ได้ไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ความรู้จะค่อย ๆ ซึม ถ้าช่างสังเกตจะรู้ว่าความคิดความอ่านเปลี่ยนไปไม่น้อย ยิ่งคนที่เรียนด้วยทำงานด้วยจะทำให้การคิดเป็นระบบและมีหลักการรองรับมาก ขึ้นค่ะ

ครับนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งขอคนที่เขามาแสดงความคิดเห็นนะครับ เอาเป็นว่าจะเรียนหรือไม่เรียนขึ้นอยู่ที่ตัวคุณแล้วหล่ะ

บางสิ่งบางอย่างที่สวยกว่าบรรณารักษ์…จริงหรือ!!??

เพื่อนๆ จำประโยคนี้กันได้มั้ยครับ “sexier than a librarian” หรือที่แปลว่า “สวยกว่าบรรณารักษ์”
ประโยคนี้เป็นสโลแกนของสินค้าอย่างนึง…นั่นก็คือ…. Sony e-Book Reader นั่นเอง

บล็อกของบริษัท sony – Sony’s Reader: Sexier than a Librarian?

sexierthanlibrarian

แว้บแรกที่ผมเจอข้อความนี้ ผมเองก็บอกตามตรงเลยว่าก็สงสัยตั้งนานว่าอะไร
แต่พอเห็นสินค้าว่านั่นคือ Ebook Reader ก็ยิ่งทำให้ผมตกใจมากมาย
ไม่นึกว่า Sony จะเอาสินค้ามาเล่นกับวิชาชีพบรรณารักษ์ได้ขนาดนี้

แต่เพียงแค่ประโยคแค่นี้แหละครับ “sexier than a librarian
ก็ทำเอาเพื่อนๆ บล็อกเกอร์ชาวบรรณารักษ์ทั่วโลกไม่พอใจ
จนทำให้มีกระทู้ หรือบล็อกมากมายที่เขียนมาแก้กับเรื่องนี้ เช่น
Sony e-Book Reader Not Sexier Than a Librarian

ผมขอยกตัวอย่างคำพูดของบล็อกเกอร์บางคนนะครับ
บล็อกเกอร์อย่าง Thomas Hawk เจ้าของบล็อก Thomas Hawk?s digital connection
ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า
?There is just no way I?m buying that one. Nice try though Sony. I?m sure the reader?s probably just fine ?but? no way is it sexier than a librarian.?

หากถามผมว่า Sony e-Book Reader สวยมั้ย ผมคงตอบว่า “งั้นๆ แหละครับ
แต่ถ้ามองในเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถผมว่าโอเคในระดับนึงเลยนะครับ

ความสามารถของ Sony e-Book Reader เช่น
– รองรับไฟล์ e-book / ภาพ / เสียง
– สามารถอ่านได้ 7500 หน้าต่อการชาร์ทไฟหนึ่งครั้ง
– สามารถโหลดหนังสือได้ผ่านทาง เว็บ connection

เอาเป็นว่าเรื่องนี้ผมขอจบตรงที่เรื่องบางเรื่องเราคงวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้
เช่น กรณีดังกล่าวที่เอาสิ่งของมาวัดกับคน โอเครูปลักษณ์บางทีมันก็ดูดีนะครับ
แต่ผมให้แง่คิดนิดนึงว่า สิ่งของอาจจะสวยงามแต่มันก็ไม่มีหัวใจที่รับรู้ความรู้สึกหรอกนะครับ

Sony e-Book Reader สวยก็จริงแต่ในแง่ของการบริการมันไม่สามารถบริการด้วยใจเหมือนบรรณารักษ์ได้นะครับ
ดังนั้นผมก็ขอสรุปว่ายังไงบรรณารักษ์ก็บริการได้ดีกว่าสิ่งของนะครับ

ภาพประกอบจาก http://www.sonyelectronicscommunity.com/sony/blog_post/?contentid=9223157316544538769