เมื่อดิวอี้ปะทะแอลซี (DDC VS LC)

วันนี้ผมขอยกเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์บ้าง
นั่นก็คือ งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

catalog

การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (DDC – Dewey Decimal Classification)
ก็คือการจัดหมวดหมู่ด้วยตัวเลข 000-900 ครับ ช่น 000 – หมวดทั่วไป , 100 – หมวดปรัชญาและจิตวิทยา ?

การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา (LC – Library of Congress Classification)
ก็คือ การจัดหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร A-Z เช่น A – หมวดทั่วไป, B – ปรัชญาและศาสนา

การจัดหมวดหมู่ทั้งสองแบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่ห้องสมุดทั่วไปครับ
แต่ในวงการของห้องสมุดเฉพาะก็อาจจะมีการจัดหมวดหมู่แบบอื่นๆ อีก
เช่น การจัดหมู่แบบ NLM – การจัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์
การจัดหมวดหมู่แบบ NDC – การจัดหมวดหมู่แบบเลขทศนิยมญี่ปุ่น

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนถึงการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้กับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีก่อนนะครับ

ห้องสมุดที่เปิดใหม่หลายๆ ที่คงอยากรู้ว่าจะนำการจัดหมวดหมู่แบบไหนมาใช้
วันนี้ผมจะเอาแง่คิดที่ได้จากที่ทำงานเก่ามาเล่าให้ฟังนะครับ

จากประสบการณ์จริงที่ประสบก็คือ ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานอยู่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ก็คือ
– หนังสือของเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
– หนังสือใหม่ที่ซื้อมาตอนที่กำลังจะเปลี่ยนระบบ ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

สำหรับผมเองจริงๆ ก็อยากจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้มากกว่าเพราะว่าง่ายกว่า
และที่สำคัญผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคุ้นกับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้อยู่แล้ว (เนื่องจากของเก่าใช้ดิวอี้)
และด้วยเหตุที่ห้องสมุดมีหนังสือจำนวนที่น้อยอยู่ ผมจึงคิดว่าใช้แบบดิวอี้ย่อมน่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ได้ดีกว่า

ซึ่งจากการสังเกตผู้ใช้หนังสือในมุมที่เป็นหนังสือใหม่ซึ่งใช้การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา
ผู้ใช้ได้เดินมาบ่นให้ฟังว่าค้นหาหนังสือยากจัง แล้วทำไมหนังสือบางหมวดถึงต้องแยกออกจากกันด้วย

ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นแบบดิวอี้เพื่อนๆ คงคิดเลยว่าอยู่ในกลุ่ม 000 แน่ๆ เวลาหาก็มุ่งไปส่วนนั้นได้เลย
แต่สำหรับแอลซีไม่ใช่อ่ะครับ เพราะว่าเพื่อนๆ ต้องดูอีกว่า คอมพิวเตอร์ทางด้านไหนอีก
เพราะในแอลซีส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลายส่วนด้วยกัน
เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ก็จะอยู่ QA
คอมพิวเตอร์ด้านเครือข่ายจะอยู่ TK
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคจะอยู่ TR
รวมถึงโปรแกรมพวกออฟฟิตก็จะอยู่ใน HF

แค่นี้ผู้ใช้ก็ตาลายแล้วครับ

แต่ผมก็ไม่ได้บอกนะครับว่า LC ไม่มีข้อดี เพราะจริงๆ แล้ว การให้หมวดหมู่แบบ LC มันก็ละเอียดไปอีกแบบนึง เหมือนกัน
แต่น่าจะเหมาะกับห้องสมุดที่มีหนังสือจำนวนมากจริงๆ และห้องสมุดนั้นควรมีจุดสืบค้นให้กับผู้ใช้อย่างเพียงพอด้วย
เพื่อผู้ใช้จะได้หาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

เอาเป็นว่ารายละเอียดว่าแต่ละหมวดหมู่มีเนื้อหาอะไร ผมคงไม่อธิบายหรอกนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันหมดแล้ว หรือถ้าอยากรู้แบบละเอียดๆ ก็ลองดูลิ้งก์ด้านล่างแล้วกันนะครับ

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
http://www.tnrdlib.bc.ca/dewey.html

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

http://people.wcsu.edu/reitzj/res/lcclass.html

เล่าเรื่องเก่าๆ ในงาน Thinkcamp#1

หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร
แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว
ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน

thinkcamp-logo1

ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน THINK camp 2009
ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp
วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา 10.00 น. ? 17.15 น.
สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ)

THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น

งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร
นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide
ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น
และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที
สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง

น่าสนุกใช่มั้ยครับ

ตัวอย่างหัวข้อจากเพื่อนๆ ที่ได้รับการเชิญให้เข้าร่วม
1. คุณสุกรี พัฒนภิรมย์ จากเว็บไซต์ drupal.in.th
พูดเรื่อง ?ชุมชนผู้ใช้ Drupal อย่างเป็นทางการของประเทศไทย?

2. คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ จากเว็บไซต์ projectlib.in.th
พูดเรื่อง ?ห้องสมุดไม่ได้เป็นแค่ กล่องสี่เหลี่ยม อีกต่อไป?

3. คุณวิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ จากเว็บไซต์ tag.in.th, iam.in.th
พูดเรื่อง ?Social bookmark เพื่อสังคมไทย?

4. คุณณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ จากเว็บไซต์ pg.in.th
พูดเรื่อง ?ถ่ายรูปจากมือถือ แล้วขึ้นเว็บทันที พร้อมทั้งแสดง location บน Google Maps?

5. คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร จากเว็บไซต์ cc.in.th
พูดเรื่อง ?โครงการเผยแพร่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดเนื้อหาเสรีในประเทศไทย?

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนักพูดที่เข้าร่วมงานวันนั้นนะครับ

สำหรับผมในวันนั้นก็พูดเช่นเดียวกันครับ

slide

หัวข้อบนสไลด์ของผมคือ ?ProjectLib กับการเปิดมุมมองใหม่ของห้องสมุด?
หัวข้อรองคือ ?เพราะเรื่องห้องสมุดไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายคนคิด?

– มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (ภาพลักษณ์ของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด)
(งานนี้ผมลงทุนทำแบบสำรวจด้วยตัวเองเลยนะครับ)

– ห้องสมุดที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ หรือรู้จัก

– Projectlib กับการลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ

– การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

– ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (ตัวอย่างเรื่องที่ได้รับความนิยมจากบล็อก projectlib)

– สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยต้อง?

– บทสรุปแห่งความสำเร็จ projectlib

เอาเป็นว่าใครอยากเห็นสไลด์ของผมก็ลองเข้าไปดูที่

หลายคนคงจะงงกับสไลด์ชุดนี้เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแบบคร่าวๆ เลยนะครับ

หน้าที่ 1 เป็นชื่อเรื่องของสไลด์ รวมถึงแนะนำตัว และผลงานในการเขียนบล็อก (1 นาที)
อธิบายว่าเรื่องห้องสมุดไม่ใช่มีแต่เรื่องการจัดหนังสือ หรือเก็บหนังสือครับ
แต่ห้องสมุดมีเรื่องมากมายที่น่าสนใจ ไม่แพ้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังเลยก็ว่าได้

หน้าที่ 2 มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (1 นาที)
อธิบายภาพทั่วไปที่คนในกรุงเทพฯ มองห้องสมุด
ข้อมูลต่างๆ ได้มาจากการเดินถามคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา คนทำงาน หรือคนทั่วไป

หน้าที่ 3 เคยไปหรือรู้จักห้องสมุดที่ไหนบ้าง (1 นาที)
อธิบายแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด
และที่สำคัญคนเหล่านี้รู้จักห้องสมุดอะไรบ้าง

หน้าที่ 4 ทำยังไงถึงจะลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ (1 นาที)
แนะนำวิธีลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ สไตล์ projectlib
กลยุทธ์ในการสร้างภาพห้องสมุดแบบใหม่ของ projectlib

หน้าที่ 5 นำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ (1 นาที)
บางคนอาจจะคิดว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานห้องสมุดจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง
แต่ความเป็นจริงแล้วแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาเสนอล้วนแล้วแต่ใช้ที่ projectlib หมดแล้วด้วย

หน้าที่ 6 – 8 ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (3 นาที)
แนะนำเรื่องเด่นๆ ที่ผมเขียนและได้รับการตอบรับที่ดี
รวมถึงไอเดียที่สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้ห้องสมุด

หน้าที่ 9 สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยคงจะเหมือนห้องสมุดเมืองนอก (1 นาที)
ความคาดหวังของผมต่อวงการห้องสมุดเมืองไทย
ผมเชื่อว่าสักวันเราต้องเปลี่ยนได้เหมือนครั้งหนึ่งที่บัตรรายการยังต้องเปลี่ยนสถานะเป็น OPAC

หน้าที่ 10 บทสรุปแห่งความสำเร็จ (1 นาที)
ผลงาน และบทสรุปของเรื่องราวต่างๆ ใน projectlib

รวม 10 นาที กับมุมมองใหม่ของห้องสมุดสไตล์ projectlib

นี่ก็คือบทสรุปของงาน thinkcamp#1 สำหรับผมเองนะครับ

จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศฉบับปี 2550

ประกาศจรรยาบรรณของบรรณารักษ์ฉบับแรกประกาศเมื่อปี 2521 และมีการปรับปรุงครั้งที่ 1 ในปี 2529
และหลังจากนั้นไม่เคยมีการปรับปรุงจรรยาบรรณฉบับนี้อีกเลย จนมีการปรับปรุงครั้งที่ 2 ในปี 2550

ethic-library

ผมเลยแปลกใจว่าตั้งแต่การปรับปรุงครั้งแรกจนถึงครั้งนี้มันห่างกันตั้ง 21 ปีนะครับ
แสดงว่าที่เราใช้ๆ กันอยู่นี่มันล้าสมัยมากๆๆๆๆๆ
แต่เอาเถอะไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ยังไงฉบับนี้ก็ถือว่าแก้ไขมาแล้ว
ผมจะมาพูดถึงเนื้อหาจรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อ แบบย่อๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกัน

———————————————————————————————–

ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

1. ให้บริการอย่างเต็มที่โดยไม่แบ่งแยกผู้ใช้บริการ
2. รักษาความลับและเคารพสิทธิของผู้ใช้บริการ
3. ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ อดทน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
4. เรียนรู้ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เป็นมิตรกับเพื่อนร่มงาน เพื่อร่วมมือร่มใจกันทำงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
6. สร้างสัมพันธภาพและสร้างความร่วมมือกันระหว่างสถาบันให้ดี
7. ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หาประโยชน์เข้าตัวเอง
8. ยึดถือหลักเสรีภาพทางปัญญาและรักษาเกียรติภูมิของห้องสมุดและวิชาชีพ (ไม่ทำให้วิชาชีพเสื่อมเสีย)
9. มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้

———————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับจรรยาบรรณของวิชาชีพเราฉบับใหม่
ผมวี่ามันก็เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำอยู่แล้วนะครับ
แต่สำหรับผม ผมชอบข้อ 4 ที่รู้สึกว่า
ทางสมาคมคงจะเผื่อเอาไว้ในอนาคตเลย
เพราะว่าวิชาชีพเรา เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอ่านจรรยาบรรณฉบับเต็มก็สามารถดาวนโหลดได้ที่
ประกาศสมาคมห้องสมุดฯ เรื่อง จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ. 2550

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้สมาคมห้องสมุดสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อวงการห้องสมุดต่อไปนะครับ

ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ไทยในปี 1998-1999

ย้อนอดีตดูเว็บไซต์ประเทศไทยกันบ้างดีกว่า จำกันได้มั้ยครับว่า
เว็บไซต์เหล่านี้สมัยก่อนหน้าตาเป็นแบบนี้

เครื่องมือที่ใช้ก็เหมือนเดิม (http://web.archive.org/)

เริ่มจากเว็บไซต์แรก นั่นคือ pantip.com เว็บไซต์ฟอรั่มที่มีความยาวนานที่สุดของไทย

pantip

เว็บไซต์ต่อมา sanook.com ปัจจุบันเป็นเว็บอันดับหนึ่งของประเทศแล้วสมัยก่อนหล่ะ ไปดูกัน

sanook

เว็บไซต์ที่ผมต้องพูดถึงอีกเว็บหนึ่งคือ Thaimail.com บริการฟรีอีเมล์ยุคแรกๆ ที่ผมก็เคยใช้ อิอิ

thaimail

เว็บต่อมานั่นก็คือ hunsa.com ปัจจุบันเว็บนี้ก็ยังอยู่เหมือนกัน แต่ในสมัยก่อนผมก็ชอบเว็บนี้เหมือนกันนะ

hunsa

เว็บไซต์สุดท้ายของวันนี้ คือ jorjae.com เว็บเพื่อสังคมวัยรุ่น และ picpost ยุคแรก

jorjae

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเว็บไซต์ที่ผมนำมาให้ดู
จริงๆ ในช่วงปี 1998-1999 ยังมีอีกหลายเว็บที่น่าสนใจนะครับ
แต่รายชื่อเว็บไซต์ที่ติดในหัวของผมอาจจะเลือนๆ หายไปบ้าง

ยังไงถ้าเพื่อนๆ พอนึกออกก็ช่วยๆ กันโพสไว้ด้านล่างนี้นะครับ
ผมแค่อยากรู้ว่ายังเหลือเว็บไหนอีกบ้าง และเว็บไหนที่อยู่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
และเว็บไซต์เหล่านั้นพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงใด

ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ Search Engine ในปี 1995 ? 1996

หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ยุคแห่งความรุ่งเรืองของบรรดา Search engine ทั้งหลาย
ในช่วงนั้นถ้าจำไม่ผิด google ยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ แล้วเพื่อนๆ จำได้มั้ยครับ
ว่าสมัยนั้นเพื่อนๆ ใช้เว็บอะไรในการค้นหาข้อมูลบ้าง
วันนี้ผมจะมารำลึกความหลังครั้งนั้นกัน

เรื่องที่ผมหยิบมาให้อ่านนี้ ชื่อเรื่องว่า The Web back in 1996-1997
เป็นการประมวลภาพเว็บไซต์ดังๆ ในอดีตเพื่อรำลึกความหลังของเว็บเหล่านั้น

เว็บไซต์เบอร์หนึ่งในใจผม yahoo.com กำเนิดในเดือนมกราคม 1995

yahoo

เว็บไซต์ต่อมา Webcrawler.com เว็บไซต์ที่เป็น search engine ตัวแรกที่ใช้ full text search

webcrawler

เว็บไซต์ต่อมา altavista.com เว็บไซต์ search engine ที่มียอดนิยมในอดีต

altavista

เว็บไซต์ต่อมา Lycos.com เว็บไซต์ search engine ที่ผันตัวเองไปสู่ Web portal

lycos

ยังมีภาพอีกหลายเว็บไซต์นะครับ แต่ที่ผมเลือกนำมาให้ดู
นี่คือสุดยอดของ search engine ในอดีต
ที่ปัจจุบันบางเว็บไซต์ก็ยังอยู่ แต่บางเว็บไซต์ล้มสะลายไปแล้ว

ภาพอื่นๆ เพื่อนๆ ดูได้จาก http://royal.pingdom.com/2008/09/16/the-web-in-1996-1997/
นอกจากนี้ เพื่อนๆ สามารถดูหน้าตาเว็บไซต์ในอดีตได้จาก http://web.archive.org/ นะครับ

หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อนผม ฝากเอามาลงในเว็บนะครับ
(ขอขอบคุณเพื่อนพิชญ์ที่แสนน่ารักที่อุตส่าห์เขียนเรื่องดีๆ)

just-for-fun

ซอร์ไอเซค นิวตัน ลีโอนาโด ดาร์วินชี และอัจฉริยะอื่นๆ ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน
นั่นคือ ความสามารถหลายๆ ด้าน และความคิดอันเป็นเอกลักษณ์
การได้อ่านชีวประวัติ (อย่างละเอียด) ของคนเหล่านี้
จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ แบบที่คุณคิดไม่ถึงว่า มีคนคิดแบบนี้อยู่ด้วย

ชื่อ Linus Torvalds (ไลนุส ไม่ใช่ ลีนุก ทอร์วอลด์)
อาจจะไม่คุ้นกับคนส่วนใหญ่ แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่าคนไอที
บางคนเรียกเขาว่า hacker อันดับหนึ่งของโลกผู้เป็นศาสดาของ programmer
ส่วน Microsoft เรียกเขาว่า ปีศาจ

คุณอาจจะรู้จักผลงานเขาที่ชื่อว่า ลินุกซ์ หรือไม่ ? ไม่เป็นไร
เอาเป็นว่ามันเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ windows
และทำให้มีคนที่คิดทำอะไรดีๆ ออกมาฟรีๆ ให้คนอื่นใช้กัน
ถ้าคุณรัก firefox รู้ไว้ว่า ถ้าไม่มีเขา มันเป็นแค่ โปรแกรมที่ไม่มีคนใช้แล้วเท่านั้น

ผมไปเจอหนังสือที่แปลโดย eS_U ชื่อหนังสือ ?just for fun LINUS TORVALDS”
ที่ห้องสมุดวิทยาลัย ที่มีสาขาคอมพิวเตอร์ ซื้อมาตั้งแต่ปี 46 กลับกลายเป็นว่าผมเป็นคนแรกที่ยืมในปี 50
และท่าทางจะป็นคนแรกที่หยิบมันออกมาจากชั้นหนังสือ
หนังสือที่ดีอย่างนี้ สาบสูญไปกับระบบ LC ที่ผมไม่เคยทำความเข้าใจกับมันได้ซะที่

ถ้าคุณไม่สนใจ IT ก็ไม่เป็นไร ถ้าคุณสนุกกับหนังสืออ่านเล่น
ที่บอกว่าเป็นหนังสือชีวประวัติอย่างของโน้ตอุดม / บอย / น้าเนค
หรือหนังสือเฉพาะกิจอย่าง Lidia here am I

ผมว่าหนังสือเล่มนี้ (just for fun LINUS TORVALDS) ดีกว่านั้น
มันหนาถึง 374หน้านะครับ แต่ก็อ่านเพลินๆ คืนเดียวจบ เหมือนกินต้มยำอร่อยๆ
ถ้าชอบแนวปรัญญาความคิดใหม่ๆ หนังสือเล่มนี้มีให้คุณได้ขบคิด

ผมคัดลอกเอาเนื้อเรื่องบางส่วนมาให้ลองอ่านเล่นดูนะครับ

“ตอนเด็กผมหน้าเกลียดมาก บอกกันตรงๆ อย่างนี้เลย
และผมหวังว่าวันหนึ่งเมื่อฮอลลีวู้ดสร้างหนังเกี่ยวกับลินุกซ์ขึ้นมา
พวกเขาคงจะหาพระเอกที่หน้าหาเหมือน ทอม ครูซ มาเล่น
แม้ในความเป็นจริงมันจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกันเลยก็ตาม
แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ ผมไม่ถึงขนาดคนค่อมแห่งนอตเตอร์ดามหรอก
ลองนึกภาพตามดีกว่า นึกถึงเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่มีฟันหน้าใหญ่มาก
(ทุกคนที่ดูรูปผมตอนเด็กจะเห็นว่าหน้าผมดูคล้ายตัวบีเวอร์ไม่น้อย)
นึกถึงการแต่งตัวที่เชยระเบิด และนึกถึงจมูกที่ใหญ่ผิดปกติ
อันเป็นเอกลักษณ์ของตระกูลทอร์วอลด์ นั่นละครับ ตัวผมในวัยเด็ก”

หรือ

“แล้วทำไมสังคมถึงวิวัฒนาการได้ละ? อะไรคือแรงผลักดันที่สำคัญ?
เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจริงหรือ?
จริงหรือที่การผลิตเครื่องจักรไอน้ำทำให้ยุโรปเป็นสังคมอุตสาหกรรม
แล้วหลังจากนั้นสังคมมนุษย์ก็วิวัตนาการโดยอาศัยโนเกียและโทรศัพท์มือถืออื่นๆ
จนกลายเป็นสังคมแห่งการสือสารไป?
ดูเหมือนนักปรัชญาทั้งหลายจะพอใจกับคำอธิบายนี้ จึงพากันไปสนใจแต่ประเด็นที่เทคโนโลยีมีผลต่อสังคม
แต่ผมในฐานะนักเทคโนโลยีกลับรู้ดีว่าเทคโนโลยีไม่ได้ส่งผลต่ออะไรเลย
สังคมต่างหากที่มีผลต่อเทคโนโลยี ไม่ใช่ทางกลับกัน
เทคโนโลยีเป็นเพียงตีกรอบว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
และเราจะทำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นโดยเปลืองเงินน้อยที่สุดได้ยังไง
เทคโนโลยีก็เหมือนบรรดาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีนั่นแหละ
คือมันไม่มีความคิดเป็นของตนเอง มันมีหน้าที่แค่ทำงานไปตามที่คุณใช้มัน
ส่วนแรงจูงใจของการทำงานนั้นเป็นความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์โดยแท้
ทุกวันนี้เราติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นไม่ใช่เพราะเรามีอุปกรณ์
แต่เพราะมนุษย์เราชอบการพูดคุยกันอยู่แล้ว เราจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งถ้าอุปกรณ์ไม่พร้อม
เราก็จะสร้างมันขึ้นมา เพราะอย่างนี้โนเกียถึงได้เกิด”

เป็นอย่างไรกันบ้างครับนี่เป็นเพียงเนื้อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่อ่านแล้วก็ชวนให้ติดตามเหลือเกิน
สรุปประเด็นที่อยากจะบอกเกี่ยวกับเรื่องการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ
จนทำให้หนังสือดีๆ เหล่านี้ถูกละเลยไม่มีคนสนใจ กว่าจะได้อ่านก็ช้าไปนานแล้ว

ดังนั้นนี่คงเป็น Case study อย่างหนึ่งที่น่าศึกษามาก
เพราะว่า คุณลองคิดสิครับว่าในห้องสมุดยังมีหนังสือดีๆ แบบนี้ให้อ่านอยู่
แต่ผู้ใช้หาไม่เจอ แล้วอย่างนี้มันน่าคิดมั้ยครับ

สุดท้ายขอขอบใจเพื่อนพิชญ์อีกทีนะครับ แล้วส่งเรื่องเล่ามาให้อ่านบ้างนะครับ

ปล. ปรัชญาเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าหนังสือดีๆ ยังมีอยู่ในห้องสมุดอีกเยอะครับ

ไอเดียการศึกษา 2.0 กับงานห้องสมุด

วันนี้ขอมาแนววิเคราะหืเรื่องเครียดๆ ให้เป็นเรื่องเล่นๆ หน่อยนะครับ
เรื่องมันมีอยู่ว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ อะไรๆ ก็ 2.0 ไปหมดเลยอ่ะ
ไม่ว่าจะเป็น Web 2.0 / Library 2.0 แล้วตอนนี้ก็ยังจะมีการศึกษา 2.0 เข้ามาอีก ตกลงมันเป็นกระแสนิยมใช่หรือปล่าว

education20

ใครที่ยังงงกับ การศึกษา 2.0 ลองเข้าไปอ่านข่าวเรื่อง การศึกษา 2.0 เปิดอบรมครูผ่านแคมฟร็อก
ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17 สิงหาคม 2550 ดูนะครับ
หรือเอาง่ายเข้าไปดู โครงการการศึกษา 2.0 ของ thaiventure ดูนะครับ

สรุป concept ง่ายคือ การใช้โปรแกรมเพื่อสอนทางไกล และอบรมการใช้โปรแกรม google application
โดยโปรแกรมที่ใช้ในการอบรมทางไกลครั้งนี้ คือ โปรแกรม camfrog นั่นเอง

ซึ่งหากจะพูดถึงโปรแกรม camfrog นี้ หลายคนคงจะคุ้นๆ เหมือนเคยได้ยิน
และถ้าผมบอกว่า โปรแกรม camfrog เป็นโปรแกรมที่เด็กวัยรุ่นมักใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้ากัน
และที่สำคัญมักจะมีแต่ข่าวไม่ดีเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ อย่างล่าสุดก็เพิ่งมีข่าวไม่กี่วันนี้
เรื่อง พ่ออึ้ง!! ลูกช่วยตัวเองหน้าคอมฯ จี้รัฐจัดการ ?โชว์สยิว?

แต่ด้วยข่าวที่ออกมาว่าโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ไม่ดีต่างๆ นานา
ทำให้ภาพที่ออกมาอยู่ในแง่ลบมาตลอด
พอพูดถึงโปรแกรมนี้ ส่วนใหญ่ก็จะพูดว่าไปดูโชว์หรอ
แต่ความเป็นจริงแล้ว โปรแกรมนี้ถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดี คือสามารถใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้าได้
โดยเฉพาะเรื่องการทำเป็น teleconference ยิ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีความสามารถมากทีเดียว

ดังนั้นโครงการการศึกษา 2.0 ที่เลือกโปรแกรมนี้มาถือว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่า
อย่างน้อยโปรแกรมนี้ก็มีประโยชน์ในแง่ของการศึกษาเหมือนกัน

จากแนวคิดดังกล่าว ผมจึงคิดว่า แล้วถ้า ห้องสมุดของเรานำโปรแกรม camfrog มาประยุกต์กับงานบริการบ้างหล่ะ
– บริการตอบคำถามออนไลน์
– ถ่ายทอดสดการประชุมและสัมมนา
– ติดต่อกับเครือข่ายความร่วมมือด้านห้องสมุด

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มันมีประโยชน์แน่นอน

โปรแกรมมีทั้งด้านดีและด้านเสียอยู่ในตัว
ตัวโปรแกรมเองไม่สามารถกำหนดให้ตัวของมันดีหรือไม่ดีไม่ได้
แต่ผู้ใช้เท่านั้นที่เป็นคนกำกับมัน
หากผู้ใช้ใช้ในแง่ที่ดี ก็จะได้ประโยชน์อย่างสูงสุด
และในทางกลับกันหากผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิดย่อมส่งผลให้ออกมาในแง่ไม่ดีได้เหมือนกัน

ดังนั้นหากจะนำมาใช้ก็ขอให้ใช้กันอยากระมัดระวังแล้วกันนะครับ ฝากไว้ให้คิดเล่นดู

ติดตามอ่านข้อมูลโครงการนี้ที่ โครงการการศึกษา 2.0 โดย thaiventure

บรรณารักษ์ไม่ควรพลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ในปี 2552

เดือนมีนาคมเป็นเดือนที่มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย
เช่น งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานคอมมาร์ค งานมอเตอร์โชว์ ฯลฯ
ซึ่งเดี๋ยวผมคงจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังในบล็อก และแนะนำกิจกรรมดีๆ ที่เพื่อนๆ ไม่ควรพลาดนะครับ

bookfair1

วันนี้ขอแนะนำงานแรก นั่นคือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า งานหนังสือ เพราะฉะนั้นจะบอกว่าไม่เกี่ยวกับบรรณารักษ์ก็คงไม่ได้

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่องาน : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 7 และ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37
ชื่อภาษาอังกฤษ :Bangkok International Book Fair 2009
วันที่จัดงาน : วันที่ 26 มีนาคม – 6 เมษายน 2552
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

bookfair

งานนี้มีสโลแกนว่า ?Develop Yourself by Reading?
หรือภาษาไทย?พัฒนาตัวเองด้วยการอ่าน?

การอ่านจะทำให้เราได้รับความรู้มากมาย และการอ่านก็ไม่ได้จำกัดว่าต้องอ่านหนังสือเท่านั้น
เราสามารถอ่านได้ทกอย่างรอบๆ ตัวเรา เช่น เว็บไซต์ หนังสือ ป้ายประกาศ ฯลฯ
ยิ่งอ่านมากเราก็จะรู้มากขึ้น และยิ่งเรามีความรู้มาก เราก็จะสามารถหาหนทางในแก้ปัญหาได้มากขึ้นด้วย

เรามาดูหัวข้อการสัมมนา และบรรยายที่เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์กันดีกว่า

วันที่ 26 มีนาคม 2552
– How the ASEAN publishing industry will be effected by the popularity of ?digital? contents

วันที่ 27 มีนาคม 2552
– การจัดทำผลงานทางวิชาการเขียนหนังสือค้นคว้าและการเขียนรายงานการใช้ประเภทหนังสือ

วันที่ 28 มีนาคม 2552

– โครงการวิจัยระบบหนังสือหมุนเวียนในโรงเรียนและการก่อสร้างห้องสมุดหนังสือดี 100 แห่งในกรุงเทพมหานคร

วันที่ 30 มีนาคม 2552

– Speech and book Presentation By Irasec ( Institute of Research on Contemporary South East Asia) and book presentation Contemporary research on South East Asia By Benoit de Treglode , Director of IRASEC.

วันที่ 31 มีนาคม 2552
– Integrated Multimedia with Extensive Reading
– เปิดตัวสารานุกรมสำหรับเยาวชน Children Encyclopedia
– กลยุทธ์การบริหารร้านหนังสือ

วันที่ 1 เมษายน 2552
– การออกแบบการสอนอิงมาตรฐานการเรียนรู้สู่หลักสูตรแกนกลางในรูปแบบย้อนกลับ (Backward Design)

วันที่ 3 เมษายน 2552
– ลิขสิทธิ์วิชาการกับงานห้องสมุด / ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และ การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด?

วันที่ 6 เมษายน 2552
– โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart ปีที่ 6

ต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้า งานสัมมนาและการบรรยาย
บางหัวข้อก็เสียเงิน บางหัวข้อก็ฟรี ดังนั้นกรุณาตรวจสอบก่อนนะครับ ที่ http://bangkokibf.com/meetingRoom_thai.php

ทำไมบรรณารักษ์ควรไปงานนี้

– เพื่อวางแผนในการจัดซื้อ และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด
– เพื่อรวบรวมข้อมูลร้านหนังสือต่างๆ ในประเทศไทย
– เพื่อศึกษาแนวโน้มของทรัพยากรสารสนเทศแบบใหม่ๆ
– เพื่อให้บรรณารักษ์ได้พบปะเจ้าของร้านหนังสือ (บางร้าน)
– เพื่อฟังการสัมมนา หรือบรรยายต่างๆ ที่เกี่ยวกับหนังสือ
– เพื่อเป็นแนวคิดในการจัดงานสัปดาห์หนังสือในห้องสมุด

และอื่นๆ อีกมากมายที่เพื่อนๆ สามารถนำไปใช้ได้

เห็นมั้ยครับ ว่าบรรณารักษ์จะได้อะไรจากงานนี้
ทั้งความรู้ ผู้ขาย และหนังสือติดไม้ติดมือกลับบ้าน
เอาเป็นว่าก็อยากชวนเพื่อนๆ บรรณารักษ์ทุกคนนั่นแหละ
เพราะว่าโอกาสไม่ได้มีบ่อยๆ นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับกับรายละเอียดแบบยั่วน้ำลายเล็กน้อย
เอาเป็นว่าเดี๋ยวพอวันงานผมจะไปถ่ายรูปบรรยากาศมาลงอีกนะครับ

ภาพและข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ เว็บไซต์ข้อมูลของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37

แนะนำเว็บไซต์ตามกระแสที่คุณควรรู้จัก

*** คำแนะนำเรื่องนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบตามข่าวสารต่างประเทศนะครับ ***
ถ้าคุณคือคนที่ผมกล่าวถึงอยู่ก็กรุณาเข้ามาทำความรู้จักกับเว็บไซต์ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้

ที่มาของรูป http://www.nytimes.com
ที่มาของรูป http://www.nytimes.com

ลักษณะของเว็บไซต์ที่ช่วยให้เราตามกระแสของโลกได้ มีดังนี้
– เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารจากหลายๆ แขนงวิชา
– เว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์ (Social Media)
– เว็บไซต์ที่มีการอัพเดทแบบ Real time
– เว็บที่มีการตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมาก

เอาเป็นว่าเมื่อรู้คุณสมบัติของเว็บเหล่านี้แล้ว
เราลองมาดูตัวอย่างของเว็บไซต์เหล่านี้กันดีกว่า

21 เว็บไซต์ที่จะทำให้คุณตามกระแสโลกทัน (21 Sites To Find Out What’s Hot Online) มีดังนี้

กลุ่มของ meme trackers (การติดตามกระแส หรือคำสำคัญ)

1 Google Blogsearch

2 Megite

3 Techmeme

กลุ่มของ blog search engines

4 Technorati Popular

5 BlogPulse key phrases

กลุ่มของ Search Engine

6 Yahoo Buzz

7 Google hottest trends

8 MSN A-list

9 Aol.com hot searches

10 Top Ask.com

กลุ่มของ social media sites

11 Digg

12 Delicious

13 StumbleUpon

14 PopURLs

15 Flickr

16 Deletionpedia

กลุ่มของ Twitter tools

17 Tweet Meme

18 Twit Scoop

19 TwittUrly

กลุ่มของ ecommerce sites

20 Amazon

21 EBay pulse

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนๆ รู้จักเว็บเหล่านี้มากน้อยแค่ไหนครับ
สำหรับผมเองก็ยอมรับแหละครับว่ายังรู้จักไม่ครบ
เอาเป็นว่าผมก็จะพยายามทำความรู้จักกับเว็บไซต์เหล่านี้ให้มากๆ แล้วกันนะครับ

ที่มาของเรื่องนี้ 21 Sites To Find Out What’s Hot Online

บ้านน่ารักสไตล์บรรณารักษ์

วันนี้ขอเน้นเรื่องการจัดการบ้านของพวกเราชาวบรรณารักษ์กันบ้างนะครับ
เอาง่ายๆ การจัดห้องสมุดแหละ แต่ผมขอตั้งชื่อเรื่องนี้ให้น่ารักๆ สักหน่อย
เพราะว่าห้องสมุดก็คือบ้านหลังที่สองของบรรณารักษ์นั่นเอง เพื่อนๆ ว่าม่ะ

home

การจัดห้องสมุดในมุมมองใหม่ๆ เราต้องมองมุมมองในองค์ประกอบต่างๆ ของห้องสมุด เช่น

– นโยบายของห้องสมุดด้านต่างๆ เช่น นโยบายการเปิด-ปิดทำการ นโยบายการยืม นโยบายการคืน
พูดง่ายๆ งานด้านการบริหารของห้องสมุดต้องมีกรบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมงานต่างๆ ทั้งหมด

– สถานที่ที่ให้บริการ ตัวสถานที่ของห้องสมุดเองว่ามีการจัดสรรพื้นที่อย่างไร ตั้งอยู่ในจุดที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
บรรยากาศโดยทั่วไปเหมาะแก่การอ่านหนังสือและใช้บริการ

– บุคลากรที่มีจิตใจที่ดีต่อการบริการ คอยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้
ด้วยปรัชญาที่เรียกว่า ?SERVICE MIND?

– ทรัพยากรสารสนเทศตอบสนองผู้ใช้บริการโดยอิงกับนโยบายและเอกลักษณ์ของห้องสมุดนั่นๆ
เช่นห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ควรจะตอบสนองสาขาวิชาและคณะต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วย

– เทคโนโลยีต่างๆ ภายในห้องสมุด ด้วยสาเหตุที่ว่าห้องสมุดไม่สามารถมีทุกอย่างตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ
การที่เราจัดบริการทางเทคโนโลยีสรสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ตก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อีกทาง
นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้เอื้อต่อการทำงานของบรรณารักษ์จะทำให้บรรณารักษ์สามารถทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น

– กิจกรรมและบริการต่างๆ ภายในห้องสมุด ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ผู้ใช้เกิดความเบื่อหน่าย
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้บริการของผู้ใช้ด้วย

จากทุกๆ ข้อที่กล่าวมา การที่เราจะจัดห้องสมุดแบบนี้ได้
ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายนะครับ แต่ในความเป็นจริงการจัดการต่างๆ ย่อมมีอุปสรรคและข้อจำกัด
เช่น ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ / สถานที่เล็กเกินไป / งบประมาณมีจำกัด / และอีกหลายๆ สาเหตุ

แต่ปัญหาเหล่านี้ขอให้บรรณารักษ์อย่าได้ท้อ
เราต้องค่อยๆ แก้ทีละเรื่อง ไม่ใช่ให้เปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้ในครั้งเดียว
การปรับแนวคิดของคนค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องค่อยๆ ปรับกันไป สู้ๆ นะครับ