เมื่อบล็อกบรรณารักษ์อย่างผมโดนลอกอีกแล้ว?

กรณีศึกษาการเขียนบล็อกบรรณารักษ์ของผมมีปัญหามากมาย
กรณีหนึ่งที่รุนแรงมากจนผมต้องพูดหลายครั้งก็คือ
การ copy บทความชาวบ้านเขามาเป็นของตัวเอง

banner-300x144

“เรื่องในบล็อกผมอนุญาติให้นำไปใช้นะครับ แต่กรุณาบอกว่าเอามาจากเว็บผมด้วยได้มั้ย”

เรื่องมีอยู่ว่าในขณะที่ผมนั่งค้นหาเรื่องที่ผมเคยเขียนในบล็อกอยู่
ปรากฎว่า ผมได้เจอบทความเรื่องเดียวกันมากมายใน google (ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมเขียน)
เลยทำให้ตกใจเล็กน้อยว่าเรื่องพวกนี้มาจากไหนกันบ้าง

ไม่รอช้าครับผมก็เลยตามเข้าไปดูเว็บไวต์เหล่านี้
ก็พบว่า มีการ copy เรื่องในบล็อกของผมไปใช้
เท่านั้นยังไม่พอ ในบล็อกนั้นก็ใส่ที่มานะครับ แต่ที่มาก็ไม่ใช่ของผมอีก

แล้วที่ตลกมาก นั่นก็คือบล็อกที่ copy เนื้อหามาจาก บล็อกบรรณารักษ์ด้วยกันเอง
ผมไม่แน่ใจว่าเขารู้จัก projectlib หรือปล่าวนะครับ
แต่คุณเอาบทความของผมไปกรุณารู้ไว้สักนิดนะครับว่า
?เจ้าของอนุญาตให้นำไปเผยแพร่นะครับ แต่กรุณาอ้างที่มาด้วยนะครับ?

วิธีที่ถูกต้องในการนำบทความคนอื่นไปลง
– ก่อนที่จะนำบทความของผมไปลงก็มาเขียน คอมเม้นต์บอกผมก่อน
– ส่งเมล์มาบอกกันสักนิดว่าจะเอาบทความของผมไปลงก็ได้นะครับ
– ทักมาใน MSN ก็ได้นะครับ

เฮ้ย บ่นจนไม่รู้ว่าจะบ่นยังไงแล้ว เตือนแล้วเตือนอีก ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่มีกรณีแบบนี้อีก

ผมเคยบอกเองว่า Sharing Knowledge is power
หลายๆ คนก็คงคิดว่าผมคงแจกเนื้อหาให้ใช้กันได้เต็มที่
แต่ผมก้อยากให้เพื่อนๆ เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างนะครับว่า
ถ้าสักวันนึงคุณโดย copy บทความแบบผมแล้วคุณจะรู้สึกอย่างไร

วันนี้ก็พอเท่านี้ก่อนนะ ขออภัยที่ต้องระบายให้เพื่อนๆ ฟัง

Sharing Knowledge is power?
But Copy Idea is not power na?

ห้องสมุดมารวยจัดกิจกรรมเสวนาเปิดตัวหนังสือ

กิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุดมารวยกิจกรรมนี้ ผมขอนำมาเล่าใหม่
เพื่อนำเสนอรายละเอียด และกรณีศึกษาสำหรับการจัดกิจกรรมในห้องสมุด

image0012

ข้อมูลของกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ?กฎแห่งความโชคดี? กับ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี
จัดในวันที่ : 29 มีนาคม 2552 เวลา 17.00 – 18.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดมารวย@Esplanade

งานเสวนาเปิดตัวหนังสือครั้งนี้ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี มาเองเลยนะ
นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ฟังคนเก่งๆ พูด
อย่างน้อยก็ถือซะว่าเป็นการรับฟังไอเดีย และประสบการณ์จากคนเก่งแล้วกันนะ

เราไปดูข้อมูลหนังสือของคุณบัณฑิต อึ้งรังษีกัน

book

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : กฎแห่งความโชคดี
ชื่อผู้เขียน : บัณฑิต อึ้งรังษี
ISBN : 9789745192577
สำนักพิมพ์ : อินสไปร์มิวสิค

ในโปสเตอร์ของกิจกรรมนี้ มีข้อความที่น่าสนใจ เช่น
– วิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้จะผ่านพ้นไปเช่นไร
– โชคชะตาจะมีส่วนช่วยเราได้หรือไม่
– ความโชคดี ไม่ได้มาหาคุณแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
– โชคก็มีกฎ หากคุณทำตามกฎนั้น คุณจะโชคดี

งานเสวนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ (ฟรีๆๆๆๆๆ)
งานเสวนาดีๆ แบบนี้ จริงๆ ผมอยากให้ห้องสมุดหลายๆ ที่ได้มาดู
อย่างน้อยก็เพื่อเป็นไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดของท่าน

ถ้าท่านได้มาดูงานนี้แล้ว ผมเชื่อว่าไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุด
ท่านจะคิดได้รอบด้านกว่านี้แน่นอนครับ

โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก

วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม เรื่อง “โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก”
โครงการนี้เดิมทีผมได้วางแผนตอนทำ Projectlib.wordpress.com

olop-project

ข้อมูลที่จะนำเสนอวันนี้ หากเพื่อนๆ ยังเห็นว่าไม่เหมาะสมในส่วนใด
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อนะครับ
เพราะว่าผมอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลเดิมจากบล็อก Projectlib

โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก คือ ?
การผลักดันให้ห้องสมุดทุกแห่งในประเทศไทยมีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง
รู้จักการใช้บล็อกในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ในห้องสมุด
และเป็นการสร้างเครือข่ายชมรมบล็อกเกอร์ห้องสมุดในประเทศไทย (Blogger Library Network)

โดยภายใต้โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก จะมีแผนงาน คือ
1. จัดอบรมการสร้างบล็อก การเขียนเรื่องในบล็อก และการโปรโมทเรื่องในบล็อก
2. จัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายผู้เขียนบล็อกห้องสมุดในประเทศไทย
3. ?(เสนอมาได้คร้าบ)

งบประมาณฟรี มีดังนี้
– วิทยากร คือ ผมเอง (ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ)
– สถานที่ จะขอเป็นความร่วมมือกับห้องสมุดที่ใจดีต่างๆ
– บล็อกฟรี (มีให้เลือกเยอะแยะเลยครับ)

วันเวลา และสถานที่ในการจัดการอบรม
– ในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วันเต็มๆ
– จัดครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จำนวนการรับสมัครครั้งแรก 20 ? 30 คน
(ไม่คาดหวังมากครับ เพราะว่าหลายคนคงไม่สนใจ อิอิ)

เนื้อหาในการอบรม
– การสมัครบล็อกเพื่อใช้งานฟรี
– การเขียนบล็อกไม่ให้น่าเบื่อ
– การโปรโมทห้องสมุด และบล็อกสู่สาธารณชน
– การสร้างเครือข่ายผู้ใช้งาน และผู้เขียนบล็อกห้องสมุด

(นอกนั้นช่วยคิดกันหน่อยนะ ว่าอยากฟังเรื่องไรอีก จาได้ทำการบ้านถูก)

เอาเป็นว่าเกริ่นแค่นี้ก่อนดีกว่า

ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาผมอยากทราบความคิดเห็นดังนี้
1. โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก ควรมีอะไรเพิ่มอีก?
2. เรื่องวันควรจะเป็นวันธรรมดา เสาร์ หรือ อาทิตย์ดี
3. จำนวนที่รับสมัครน้อยไป หรือมากไป ช่วยกะให้หน่อย
4. เนื้อหาในการอบรมอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับบล็อก

คำถามทั้ง 4 ข้อ เพื่อนๆ จะตอบให้ครบ 4 ข้อก็ได้
หรือเลือกตอบในประเด็นที่อยากเสนอก็ได้ รับฟังหมดครับ

ปล. ใครจะใจดีเรื่องสถานที่ หรือ ต้องการสนับสนุนงานในส่วนอื่นๆ บอกได้นะครับ อิอิ

ข้อเสนอจากเพื่อนๆ

คุณปุ๊ เสนอว่า
“ควรจัดงานในวันธรรมดา และมีการทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ เพื่อให้หัวหน้าอนุมัติในการเข้าร่วมโครงการ”

คุณจันทรา เสนอว่า
“ควรจัดในวันหยุดเพื่อไม่ให้รบกวนเวลางาน และเสนอเนื้อหาในการอบรมว่าอยากเพิ่มเรื่อง user Interface ด้วย”

คุณสุวรรณ เสนอว่า
“ควรจัดเป็นรุ่นๆ โดยจำนวนคนควรจะได้สัก 20 คนต่อรุ่น เนื่องจากเป็นการอบรมที่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการอบรม”

คุณจิมมี่ เสนอว่า
“ควรจัดในส่วนภูมิภาคด้วยเนื่องจากมีโอกาสที่เรียนรู้เรื่องนี้น้อยกว่าคนในเมือง”

กิจกรรมที่น่าสนใจ จาก ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน

วันนี้มีเรื่องจะมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน?เป็น 2 กิจกรรมที่น่าสนใจ
งานนี้จัดโดย ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)

william-warren-library

กิจกรรมทั้ง 2 กิจกรรม ที่ผมจะแนะนำ ก็คือ
1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?

โดยรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมแบบละเอียดมีดังนี้

??????????????????

1. กิจกรรมฉายภาพยนตร์สารคดีสั้น พื้นที่แห่ง?สาธารณะ?
จัดฉายในวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2551 เวลา 14.00-15.00 น.
และจะฉายซ้ำในวันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2551 เวลา 18.00-19.00 น.
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Bangkok Design Festival

พื้นที่แห่ง ?สาธารณะ?

แนว คิดเรื่องพื้นที่สาธารณะดูเหมือนเป็นที่ยอมรับและเข้าใจตรงกันว่ามีความจำ เป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิตในเมือง แต่ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวเป็นเสมือนตาบอดคลำช้าง แต่ละฝ่ายต่างก็เข้าใจกันไปตามมุมมองของตนเอง อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำเนิดมาจากคน พื้นที่สาธารณะในเมืองอย่างกรุงเทพแตกต่างจากเมืองอื่นๆเพราะเงื่อนไขในการ กำเนิดและคลี่คลายของมันเอง นับแต่อดีตจนปัจจุบัน

ภาพยนตร์ สั้นจำนวน 5 เรื่องจะเป็นการค้นหามุมมองใหม่เกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพ กรุงเทพเป็นหนึ่งในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยที่ซับซ้อน หลายเผ่าพันธ์มากที่ สุดในโลก คนเหล่านี้ผลิตและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของและพื้นที่แวดล้อมตัวเอง ทั้งจากความบังเอิญและจากกรอบวัฒนธรรม ปฏิสัมพันธ์นี้มีส่วนในการพัฒนาการ คลี่คลายสภาวะทางกายภาพของเมือง ในขนาดย่อยและขนาดใหญ่ ภาพยนตร์นับว่าเป็นสื่อที่เหมาะสมแก่การนำเสนอแนวคิดที่หลากหลายของพื้นที่ สาธารณะในเมือง เนื่องจากเป็นสื่อที่กินพื้นที่และเวลาในตัวเอง เฉกเช่นเดียวกับเมืองที่เป็นพื้นที่รองรับเวลาแห่งกิจกรรม

ภาพยนตร์สั้นจำนวน 5 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่หนึ่ง กำเนิด
ถ้าความหมายของพื้นที่เกิดจากคน กรุงเทพก็แตกต่างจากเมืองอื่นๆในแง่ที่ถือกำเนิดจากสถานะการณ์เฉพาะตัว ต้นกำเนิดของพื้นที่สาธารณะในเมืองหลวงของเรามีความเป็นมาอย่างไร

เรื่องที่สอง ปฏิกิริยา
เรามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่และสิ่ง ของตามสัญชาตญาณและตามวิถีวัฒนธรรม มาลองดูกันใกล้ๆว่าคนกรุงเทพทำตัวกลมกลืนและ/หรือขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมของ เมืองอย่างไร

เรื่องที่สาม ทัศนะเบื้องบนและล่าง
ชั้นของข้อมูลข่าวสารบนพื้นที่ สาธารณะที่ทับซ้อนกัน ส่งผลให้การรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่บริเวณเดียวกันของคนที่อยู่คนละตำแหน่ง แตกต่างกัน

เรื่องที่สี่ สาธารณะหรือส่วนตัว
พื้นที่ที่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าสาธารณะแต่คนกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว อาณาบริเวณเหล่านี้เหลื่อมทับกันอย่างไร ตามมุมมองของคน

เรื่องที่ห้า สินค้าและพื้นที่
เมืองตะวันตกเป็นกายภาพและทัศนีย วิทยา เมืองแบบญี่ปุ่นเป็นชุดของเหตุการณ์ เมืองกรุงเทพเป็นชุดของการแลกเปลี่ยน? พิจารณาแง่มุมของการแลกเปลี่ยนบนพื้นที่สาธารณะในระดับต่างๆ บนพื้นที่ต่างๆ

??????????????????

2. กิจกรรมการบรรยาย เรื่อง ?วิถีการทอผ้าในชุมชนอีสานจากเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตในระดับมหภาค?
บรรยายโดย อาจารย์สุริยา สมุทคุปต์ (ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมสิ่งทออีสาน) และ
ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ในวันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13.00-15.00 น.

การ บรรยายครั้งนี้จะกล่าวถึงบทบาทผู้หญิงผ่านวิถีและกระบวนการทอผ้าที่มีผลต่อ สถานภาพและโครงสร้างทางสังคมอีสานในความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังคงเป็นการปรับตัวที่วางอยู่บนรากฐานทางวัฒนธรรม ดั้งเดิมการทอผ้ายังคงเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมของผู้หญิงอีสาน และในฐานะแม่ที่ต้องรับผิดชอบงานในครัวเรือนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ วิถีการทอผ้าซึ่งฝังรากลึกอยู่ในบทบาทผู้หญิงอีสานจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ขยายขนาดจากหัตถกรรมเพื่อหาเลี้ยงชีพในชุมชนสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้มีกระบวนการการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเกิดผลกระทบกับวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชนอีสานอย่างไร

??????????????????

กิจกรรมทั้งสองที่ได้กล่าวมา ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
และท่านสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ : 02-612-6741

ที่ตั้งของ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน (William Warren Library)
อาคารเฮนรี่บี ทอมป์สัน เลขที่ 6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
โทรศัพท์ : 02-612-6741

ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณลัดดาวัลย์ อู่แสงทอง (บรรณารักษ์ ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน)