แปลงชั้นหนังสือในบ้านให้เป็นห้องสมุดส่วนตัวด้วยโปรแกรม GCstar

เพื่อนๆ เคยเกิดอาการแบบนี้หรือไม่
“อยากรู้ว่าหนังสือที่อยู่ในชั้นหนังสือที่บ้านมีเรื่องอะไรบ้าง”
“หนังสือเยอะอยากให้เพื่อนยืม แต่พอเพื่อนยืมไปแล้ว ลืมไม่รู้ว่าใครยืมไป”
“หนังสือที่บ้านเยอะจนจำได้ไม่หมด แล้วดันซื้อหนังสือเข้ามาซ้ำอีก”

จริงๆ ยังมีอีกหลายสถานการณ์ครับ….เอาเป็นว่า วันนี้ผมมีวิธีแก้แบบง่ายๆ มาฝากครับ

วิธีแก้ที่ผมจะเสนอนี้ คือ การนำโปรแกรมจัดการข้อมูลหนังสือ มาใช้ครับ
ซึ่งโปรแกรมที่ว่านี้บนเว็บไซต์ก็มีหลายตัวให้เลือกนะครับ
แต่ที่ผมอยากนำเสนอก็คือ โปรแกรม GCstar ครับ (ผมเองก็ใช้อยู่)

โปรแกรม GCstar เป็นโปรแกรม Open source ตัวหนึ่งที่ใช้ในการจัดการหนังสือที่เรามีอยู่โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มประเภทหนังสือได้ตามต้องการ เช่น แบ่งตามหัวเรื่อง, แบ่งตามหมวดหมู่, แบ่งตามความชอบ ….. ซึ่งในโปรแกรมนี้เราสามารถเพิ่มข้อมูลของหนังสือได้ เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อปีพิมพ์ สำรนักพิมพ์ ISBN ….. ไปจนถึงการเขียนบันทึกแบบย่อๆ ของหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย Review หนังสือได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีระบบบันทึกการยืมคืนแบบง่ายๆ ไว้ใช้อีก


ความง่ายของโปรแกรมนี้อีกอย่าง คือ ถ้าหนังสือของเพื่อนๆ เป็นหนังสือที่มีใน Amazon(หนังสือภาษาต่างประเทศ)
เพื่อนๆ สามารถดึงข้อมูลจาก amazon มาแสดงผลได้ในโปรแกรมด้วย โดยใช้หมายเลข ISBN หรือไม่ก็ชื่อเรื่องครับ

เว็บไซต์ที่สามารถดึงข้อมูลหนังสือให้มาเข้าโปรแกรม GCstar ได้ เช่น
– Amazon
– Adlibris
– ISBNdb
– InternetBookShop
– Mediabooks

และยังมีอีกหลายๆ ที่นะครับ

เราลองไปดูหน้าตาของโปรแกรมนี้แบบคร่าวๆ กันก่อนครับ


ภาพของโปรแกรมส่วนแสดงข้อมูลหนังสือ

เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรม GCstar ได้จาก http://wiki.gcstar.org/en/Install

เอาเป็นว่าก็ลองโหลดไปใช้กันได้เลยนะครับ แล้วถ้าติดขัดอะไรก็สอบถามผมมาได้อีกที
สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อนนะ อิอิ แล้วจะหาโปรแกรมดีๆ มาแนะนำอีกนะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก http://www.gcstar.org/

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ออกมาแล้ว

ตามสัญญาจากวันก่อนที่ koha community ประกาศว่าจะออก koha 3.4 วันที่ 22 เมษายน 2011
บัดนี้โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ก็ออกมาตามกำหนดเรียบร้อยแล้ว
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและอัพเกรดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ได้เลย

สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 ได้ที่ http://download.koha-community.org/koha-3.04.00.tar.gz
นอกจากนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านคู่มือการติดตั้งได้ที่ http://wiki.koha-community.org/wiki/Installation_Documentation

รายละเอียดในเวอร์ชั่นใหม่นี้มีการปรับปรุงหลายๆ อย่าง ซึ่งผมขอนำตัวเด่นๆ มากล่าวนะครับ เช่น
– ความสามารถในการนำเข้าและส่งออก MARC framework
– สนับสนุนการทำงานแบบ non- marc
– หน้า log in สำหรับการยืมคืนด้วยตัวเอง
– plug in เพื่อการกรอกข้อมูลใน tag 006/008
– การ review และ comment หนังสือในหน้า opac

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นนะครับความสามารถเพิ่มเติมมากกว่า 100 อย่าง
เพื่อนๆ ดูได้จาก http://koha-community.org/koha-3-4-0-released

เอาเป็นว่าก็ไปลองทดสอบและใช้งานกันดูนะครับ

ข่าวการเปิดตัวโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.4 อ่านได้จาก http://koha-community.org/koha-3-4-0-released

อัพเดทโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.2.6 และข่าว Koha 3.4

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ชุมชนคนใช้ Koha ได้ประกาศการอัพเดท Koha อีกครั้ง
หลังจากที่ปีที่แล้ว koha ประกาศอัพเดท 3.2.0 ผ่านไป
ในเดือนกุมภาพันธ์ก็ประกาศอัพเดทเป็น 3.2.5 และในเดือนมีนาคมก็อัพเดทเป็น 3.2.6

ในเวอร์ชั่น 3.2.6 มีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง เท่าที่ผมอ่านหลักๆ ก็จะเป็นเรื่องการแก้ bug ใน koha 3.2.0 และ 3.2.5 (ที่ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2011)
ตอนนี้ Koha ถูกแปลไปแล้ว 14 ภาษา ซึ่งก็มีภาษาใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้าร่วม เร็วๆ นี้

เอาเป็นว่ารายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จากหน้าหลักของเวอร์ชั่น 3.2.6 นะครับ
http://koha-community.org/koha-3-2-6/

โปรแกรม Koha 3.2.6 สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://download.koha-community.org/koha-3.02.06.tar.gz

และเร็วๆ นี้ (วันที่ 22 เมษายน 2011) มีข่าวว่า Koha จะประกาศเปิดตัว เวอร์ชั่น 3.4 ซึ่งผมว่าต้องรอดูกันครับ
ติดตามข่าว Koha 3.4 ได้ที่ http://koha-community.org/koha-3-4-0-release-schedule-april-coming-fast/

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เวอร์ชั่น 3.2.0 ออกแล้ว

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ฉบับ opensource ประกาศการอัพเดทโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่น 3.2.0 แล้วจ้า
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและอัพเกรดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.2.0 ได้เลย

ดาวน์โหลด Koha 3.2.0 ได้ที่? http://koha-community.org/koha-3-2-0/

รายละเอียดของโปรแกรมในส่วนที่อัพเดทเพื่อนๆ ลองอ่านในเว็บ koha ดูนะครับ หลักๆ จะอยู่ที่โมดูลการจัดหาเกี่ยวกับการเพิ่มความสามารถในการแบ่งงบประมาณในการจัดหา ส่วนที่เพิ่มหลักๆ อีกอันคือ การอัพเดทตารางในฐานข้อมูลใหม่นิดหน่อย

ข้อมูลการอัพเดทโปรแกรมอ่านได้ที่ http://files.ptfs.com/koha/Koha%20Release%20Notes%203.2.txt

นำเสนอประวัติโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha แบบ Visualization

วันนี้ผมขอนำตัวอย่าง “การใช้ Visualization เพื่อนำเสนองานด้านห้องสมุด” มาให้เพื่อนๆ ดูกันนะครับ
การนำเสนอแบบ Visualization กำลังเป็นที่นิยมในวงการไอที ดังนั้นห้องสมุดเราก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน

คำอธิบายเรื่อง Visualization แบบสั้นๆ ง่ายๆ คือ การแปลงข้อมูลจำนวนตัวอักษรให้กลายเป็นรูปภาพเพื่อให้การนำเสนอดูง่ายและน่าสนใจยื่งขึ้น (เอาไว้ผมจะเขียนบล็อกเรื่องนี้วันหลังครับ)

ตัวอย่างที่ผมจะนำมาให้ดูนี้เป็น Visualization แสดงความเป็นมาของการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติแบบรหัสเปิด หรือเรียกง่ายๆ ว่า Opensource

หากให้เพื่อนๆ ไปนั่งอ่านประวัติของ Koha เพื่อนๆ ก็คงอ่านได้ไม่จบหรอกครับ
เพราะว่าโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เริ่มโครงการในปี 1999 (ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้ว)
โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Koha_%28software%29 หรือ http://koha-community.org/

ในงาน kohacon (KOHA Conference) ที่ผ่านมา http://www.kohacon10.org.nz/
ได้มีการฉายคลิปวีดีโอ “Koha Library Software History Visualization” ทำเอาเป็นที่ฮือฮามาก
เพราะเป็นการใช้ Visualization ในการนำเสนอประวัติการพัฒนาของโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Tl1a2VN_pec[/youtube]

ในคลิปวีดีโอนี้เริ่มจากข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรม KOHA ในเดือนธันวาคม 2000 – ตุลาคม 2010
ดูภาพแล้วก็อ่านคำอธิบายที่โผล่มาเป็นระยะๆ ดูแล้วก็เพลินดีครับ เพลงก็ไปเรื่อยๆ

ถามว่าถ้าให้อ่าน paper ประวัติที่มีแต่ตัวอักษร กับ Visualization นี้
ผมคงเลือกดู Visualization เพราะผมแค่อยากรู้ว่าช่วงไหนทำอะไร ไม่ได้อยากทำรายงานนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็ค่อยๆ ดูไปนะครับ ผมว่าเพลินดี
วันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สุขสันต์วันหยุดครับ

เว็บไซต์ชุมชนผู้พัฒนา KOHA – http://koha-community.org/

แนะนำโปรแกรม GooReader ไปใช้ในห้องสมุดเพื่อการค้นหา E-Book

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบฟรีๆ ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ
โปรแกรมนี้จะช่วยให้คุณหาหนังสือ E-book และสามารถอ่าน E-book ได้ดีทีเดียว

GooReader มาจาก Google + Reader แน่นอนครับ Google มี Google Book Search
ดังนั้น App นี้ก็เสมือน Client ที่เรียกข้อมูลผ่านทาง Google Book Search นั่นเอง

จุดเด่นของโปรแกรม GooReader
1. ค้นหาหนังสือจาก Google Book Search โดยไม่ต้องเข้า Web Browers
2. Interface ในการนำเสนอค่อนข้างดี เป็นรูปชั้นหนังสือสวยดี
3. สามารถอ่านหนังสือได้สมจริงกว่าอ่านบนเว็บ
4. สามารถดาวน์โหลดไฟล์ออกมาเป็น pdf
5. จำกัดการสืบค้นได้ง่าย
6. โปรแกรมมีขนาดเล็กไม่หนักเครื่อง
7. สำคัญสุดๆ โปรแกรมฟรี

โปรแกรมนี้ผมแนะนำว่าบรรณารักษ์ควรนำไปลงในเครื่องคอมในห้องสมุดนะครับ
เพราะถือเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้าถึงแหล่ง E-book
แถมยังช่วยให้ห้องสมุดลดภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ E-book อีกด้วย

วีดีโอแนะนำโปรแกรม GooReader

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=IlH-NH_yBOI[/youtube]

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปโหลดมาเล่นกันดูนะครับ ที่ http://gooreader.com/

การติดตั้งโปรแกรม Koha บน Windows V.1

มีหลายคนเขียนเมล์มาถามผมเรื่อง Koha มากมายเกี่ยวกับเรื่องการติดตั้ง
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอการติดตั้ง Koha แบบ step by step ให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน

Koha - Open Source for ILS

ปล.สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Koha กรุณาอ่านKoha – Open Source for ILS

การเตรียมพร้อมก่อนการติดตั้ง Koha บน Windows

อย่างแรกก่อนการติดตั้งนั่นก็คือ ดาวน์โหลดโปรแกรม Koha มาก่อน
ซึ่งตอนนี้ Koha ที่ใช้กับ Window ที่ผมแนะนำคือ Koha V2.2.9
เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.koha.rwjr.com/downloads/Koha2.2.9-W32-R1.EXE

หลังจากดาวน์โหลดโปรแกรม Koha แล้ว ให้เพื่อนๆ สำรวจเครื่องของเพื่อนๆ ก่อนว่ามีโปรแกรมดังต่อไปนี้หรือไม่
– Apache (http://mirror.kapook.com/apache/httpd/binaries/win32/)
– MySQL (http://dev.mysql.com/downloads/)
– ActivePerl (http://www.activestate.com/activeperl/downloads/)

ถ้ายังไม่มีให้ดาวน์โหลดก่อน ตาม link ที่ให้ไปได้เลย

ขั้นตอนการ ติดตั้ง Koha บน Windows

ขั้นที่ 1 ติดตั้ง Apache ให้เลือก folder ( C:\Program Files\Apache Group\ )

ขั้นที่ 2 ติดตั้ง MySQL ให้เลือก folder (C:\mysql)

ขั้นที่ 3 ติดตั้ง Perl ให้เลือก folder (C:\usr\)

ขั้นที่ 4 ติดตั้ง Koha

หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรมทั้งหมดครบแล้ว เราก็จะเริ่มใช้งาน Koha ครั้งแรก
โดยคุณจะสังเกตไอคอนใน System tray 2 ตัวคือ ไอคอนที่มีรูปคล้ายไฟจราจรกับไอคอน apache
ให้คุณกดไอคอน apache แล้วเลือก start apache server
และไอคอนรูปไฟจราจรให้เลือก Start MySQL database server

เมื่อดำเนินการกับ Apache และ SQL เสร็จ ให้เราเปิด Web brower
ในช่อง Address ให้ใส่คำว่า “opac” หรือ “Intranet” เพื่อเข้าสู่หน้าจอการทำงาน

ในส่วนขั้นตอนของการทำงานเอาไว้ผมจะเอามาเขียนอีกทีแล้วกันนะครับ
วันนี้ขอแค่เรื่องการติดตั้งอย่างเดียวก่อนนะครับ

ปล.บทความนี้ผมเพิ่งเขียนครั้งแรก คงต้องมีเวอร์ชั่นปรับปรุงอีก
แล้วเดี๋ยวผมจะมาแจ้งให้เพื่อนๆ ทราบอีกทีนะครับ (โดยเฉพาะการเพิ่มรูปขั้นตอนการติดตั้ง)

คู่มือการใช้งานและการติดตั้ง Koha : http://www.koha.rwjr.com/downloads/Koha%20on%20Windows.pdf

Alexandria โปรแกรมฟรีที่ช่วยจัดการหนังสือในบ้านของคุณ

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์
และมีโอกาสได้ฟังพี่เก่ง (@kengggg) และพี่อาท (@bact) บรรยายเรื่องโปรแกรม Alexandria
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมาก ใช้เพื่อการจัดการหนังสือในบ้านได้เป็นอย่างดี (ห้องสมุดในบ้าน) อิอิ

alexandria

เลยขอนำเรื่องของเมื่อวานมาสรุป + เพิ่มเติมข้อมูลโปรแกรมนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

โปรแกรม Alexandria เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการ collection หนังสือในบ้านของคุณให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยจัดการเรื่องการยืมหนังสือจากบุคคลอื่นๆ ที่ต้องการยืมหนังสือจากคุณอีกด้วย

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบ GNOME
(โดยทั่วไปจะพบ GNOME ใน LINUX หากจะลงใน window ก็ทำได้แต่มีความซับซ้อนหน่อย)

โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานของ Ruby และเป็นโปรแกรมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้อีก
ซึ่งมีบางแห่งนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาให้เชื่อมกับเครื่องอ่านบาร์โค้ต รวมไปถึงการสแกนผ่าน webcam ด้วย

alexandria-barcode

หลักการคร่าวๆ ของโปรแกรมนี้ คือ
– เพิ่มหนังสือลงในระบบ (ดึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ หรือคีย์เองก็ได้)
– กรอกข้อมูลรายละเอียดของหนังสือ
– จัดกลุ่มหนังสือเป็น Collection ต่างๆ

เพียงแค่นี้เท่านั้นเองเราก็สามารถมีระบบห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านได้แล้ว

คุณสมบัติของโปรแกรมนี้ เช่น
– โชว์ภาพปกหนังสือ
– ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใหญ่ๆ ได้
– ระบบที่รองรับการยืม (เป็นระบบที่ช่วยเตือนความจำ)
– ระบบจดบันทึกหรือโน้ตข้อความสำคัญของหนังสือได้
– มีระบบดึงคำสำคัญมาสร้างเป็นหมวดหมู่พิเศษได้ (Smart Librarian)

alexandria-book-add

แหล่งข้อมูลของหนังสือที่โปรแกรม สามารถไปดึงมาได้ เช่น
– Amazon
– Proxis
– AdLibris
– Livraria Siciliano
– DeaStore
– Spanish Ministry of Culture
– US Library of Congress
– British Library
– WorldCat

เสียดายที่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลของเมืองไทยเลย
ถ้ามีโอกาสผมคงจะไปลองคุยกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ดูให้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้ไม่ต้องมาคีย์ข้อมูลเองทุกเล่ม


เรื่องมาตรฐานข้อมูลของดปรแกรมตัวนี้ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ
แบบว่ารองรับเกือบทุกมาตรฐาน เช่น Z39.50, YAML, XHTML และอื่นๆ
ครับ

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเพิ่มเติมก็ลองเข้าไปดูที่ http://alexandria.rubyforge.org

สำหรับคู่มือการติดตั้งและเอกสารแนะนำโปรแกรม พี่อาท (@bact)ได้จัดทำเป็นเอกสารไว้
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://opendream.co.th/blog/2010/01/24-jan-training-my-private-library-easy

ปล. รูปทั้งหมดจาก http://alexandria.rubyforge.org

สไลด์ที่น่าสนใจเรื่อง Open Systems ในห้องสมุด

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้อัพเดทในส่วนของเรื่อง OSS4Lib
วันนี้ขอแก้ตัวด้วยการอัพเดทเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง open open ในห้องสมุดหน่อยแล้วกัน

opensystem

วันนี้ผมเจอสไลด์ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Open Systems ในห้องสมุด
ซึ่งเจ้าของสไลด์ชุดนี้ คือ Stephen Abram ซึ่งเป็นเจ้าของบล็อก Stephen?s Lighthouse.

บล็อกเกอร์ท่านนี้เป็น Vice President of Innovation ของ SirsiDynix
(SirsiDynix ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งระบบ)

ในสไลด์ชุดนี้ได้แนะนำเรื่อง Open Systems ในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะเรื่องของ Cloud Computing ตั้งแต่ความหมายไปจนถึงแหล่งที่รวบรวม API ต่างๆ
แง่คิดในเรื่องของประสบการณ์และมุมมองแบบเดิมๆ จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
เพื่อให้ระบบต่างๆ ในห้องสมุดผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเต็มที่

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านดูนะครับ สไลด์ชุดนี้มีทั้งหมด 104 หน้า
ซึ่งสาระความรู้มีเพียบแน่นอน ถ้าเพื่อนๆ สนใจสไลด์ชุดนี้ก็สามารถ download ได้ที่
http://www.sirsidynix.com/Resources/Pdfs/Company/Abram/20091023_OnlineUK.pdf

เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone

วันนี้มีโอกาสได้เดินเข้าไปในร้านหนังสือของ B2S ที่เซ็นทรัลเวิลด์
เดินๆ อยู่ตาของผมก็ไปหยุดอยู่กับหนังสือเล่มนึง
หนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องคุ้นๆ มาก และเข้ากับวงการห้องสมุด
ผมจึงต้องขอเอามาเขียนแนะนำสักหน่อยดีกว่า

greenstone

หนังสือที่ผมจะแนะนำวันนี้เป็นหนังสือที่แนะนำการใช้โปรแกรม “Greenstone”

ข้อมูลหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone
ผู้เขียน : สุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์, บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
ISBN : 9789745988125
ราคา : 200 บาท


โปรแกรม “Greenstone”
คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างคลังสื่อดิจิทัล หรือ ห้องสมุดดิจิทัล นั่นเอง
หนังสือเล่มนี้อาจจะจัดได้ว่าเป็น หนังสือที่เกี่ยวกับ Opensource ของห้องสมุดเล่มแรก (หรือปล่าว) ในเมืองไทย

เราลองไปดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้กันดีกว่า
– ห้องสมุดดิจิทัล Greenstone
– การติดตั้ง Greenstone
– สำรวจ Greenstone Digital Library
– Greenstone Librarian Interface ผู้ช่วยสำหรับบรรณารักษ์
– หลักการออกแบบพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล
– เริ่มสร้างคลังสื่อดิจิทัล
– เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นเอกสาร
– รู้จักกับเมทาดาทา
– ดับลินคอร์เมทาดาทา
– Collection เอกสาร HTML
ฯลฯ

พอได้ดูสารบัญของหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็ขอแยะประเด็นหลักๆ ของหนังสือเล่มนี้ออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
1. เกี่ยวกับโปรแกรม Greenstone : แนะนำการติดตั้ง และการใช้งาน
2. เกี่ยวกับหลักการทั่วไปของห้องสมุดดิจิทัล
3. เกี่ยวกับข้อมูล เมทาดาทา (Meta data)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับหนังสือเล่มนี้ ผมว่าค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับห้องสมุดหลายๆ ที่เลยนะครับ
นอกจากนี้ยังเหมาะกับคนที่อยากสร้างห้องสมุดดิจิทัลเองอีกด้วย

อย่างกรณีผมเอง ผมก็อยากสร้างคลังเอกสารดิจิทัลของผมเองเหมือนกัน
ข้อมูลต่างๆ ไฟล์งานต่างๆ ที่ผมเก็บไว้ตั้งแต่ตอนเรียน
ผมก็อยากนำออกมาเสนอให้เพื่อนๆ ได้ดู ได้อ่านเหมือนกัน

สงสัยผมต้องซื้อหนังสือเล่มนี้ก่อนนะครับ แล้วทำความรู้จักกับโปรแกรมนี้มากๆ
แล้วถึงตอนนั้นอาจจะมีห้องสมุดดิจิทัล Libraryhub ก็ได้นะ อิอิ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ ลองเข้าไปดูที่
http://www.se-ed.com/eshop/Products/Detail.aspx?No=9789745988125&AspxAutoDetectCookieSupport=1