คนทำงานด้านห้องสมุดจำเป็นต้องจบบรรณารักษศาสตร์หรือไม่

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้ถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผ่านทาง Library poll วันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามแบบง่ายๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของเราให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ

ซึ่งคำถามในวันนี้มาจากประโยคบอกเล่าต่างๆ เช่น
“ใครๆ ก็เป็นบรรณารักษ์ได้”
“เอาใครมาทำงานห้องสมุดก็ได้”
“งานห้องสมุดง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้”

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ครับ

เอาเป็นว่าไปโหวตกันได้เลย

[poll id=”26″]

เอาเป็นว่าช่วยกันโหวตเยอะๆ นะครับ
แล้ววันหลังผมจะมาเขียนบทความนี้ให้อ่านครับ

บรรณารักษ์จำเป็นต้องรู้จักหนังสือในห้องสมุดตนเองหรือไม่

“คนขายจำเป็นต้องรู้จักสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องเข้าใจสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องรู้ว่าสินค้าของตนเองเป็นอย่างไร”

ประโยคข้างต้นเป็นประโยคที่ผมคิดขึ้นมาหลังจากที่ผมไปซื้อของมาชิ้นนึง

เหตุการณ์มันเริ่มจากการที่ผมเดินเข้าไปในร้านขายของที่หนึ่งที่ขายของเฉพาะทาง
ผมตัดสินใจที่จะซื้อของชิ้นหนึ่ง จึงอยากให้คนขายแนะนำสิ่งของที่ผมต้องการซื้อ
ปรากฎว่าเขาแนะนำอะไรไม่ได้เลย จนต้องส่งคำถามเหล่านี้ไปให้คนขายอีกคนจึงอธิบายได้

ผมรู้สึกหงุดหงิดมากที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้

จนผมต้องอุทานว่า “ไม่รู้จักสินค้าของตนเองแล้วจะมาขายทำไม”
ประโยคที่ผมอุทานขึ้นมานี้ เป็นที่มาของเรื่องที่ผมจะถามในวันนี้นั่นเอง

ลองนึกดูเล่นๆ นะครับว่า ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด ผู้ใช้บริการจะรู้สึกเช่นใด

แน่นอนครับว่าเราไม่ใช่องค์กรเชิงธุรกิจ แต่องค์กรของเราเป็นองค์กรที่เน้นบริการ
ยิ่งคำขวัญของเรา “บริการด้วยใจ (Service mind)” เรายิ่งต้องให้ความสำคัญมากๆ

พื่อนๆ ว่า ตกลงเราควรจะต้องรู้จักหนังสือหรือสื่อความรู้ในห้องสมุดของเราหรือไม่
บรรณารักษ์อย่างพวกเราจำเป็นต้องอ่านหนังสือบ้างหรือไม่

[poll id=”25″]

เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบดูนะครับ
แล้วเดี๋ยวผมจะเอามาเขียนเล่าให้ฟังแบบเต็มๆ อีกสักตอนนึง

Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน

วันนี้วันจันทร์คาดว่าหลายๆ คนคงยุ่งกับการทำงานมาก รวมถึงหลายๆ คนคงจะยุ่งกับเรื่องน้ำท่วมกันอยู่
วันนี้ผมขอใช้เวลาแบบสั้นๆ เพื่อขอเก็บข้อมูลเรื่องการอ่านของทุกๆ ท่านนะครับ


แบบสำรวจนี้ไม่ได้นำมาใช้เพื่อการวิจัยหรอกครับ เพียงแค่อยากรู้ว่าพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ เป็นอย่างไร
เอาหล่ะครับขอรบกวนแค่กดเลือกคำตอบที่เป็นพฤติกรรมการอ่านของท่านจริงๆ นะครับ คำถามก็มีไม่กี่ข้อดังนี้

1. เรื่องเพศกับการอ่านหนังสือ

[poll id=”21″]

2. ประเภทหนังสือที่ท่านอ่าน

[poll id=”22″]

3. ช่วงเวลาที่อ่านหนังสือ

[poll id=”23″]

4. ชอบอ่านจากสื่อประเภทใด

[poll id=”24″]

คำถามก็ง่ายๆ ใช่มั้ยครับ ยังไงก็รบกวนตอบกันสักนิดแล้วกันครับ

แบบสำรวจนี้ผมขอตั้งเวลาในการปิดรับข้อมูล 1 เดือนนะครับ (ปิดรับคำตอบ 20 ธันวาคม 2554)
เพื่อที่จะนำข้อมูลในบล็อกเรื่องนี้มาจัดทำเป็น Infographicให้เพื่อนๆ ดูครับ
(คล้ายๆ กับเรื่อง http://www.libraryhub.in.th/2011/11/09/graphic-designer-and-reading-habits-infographic/)

ขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ

ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่

นานแล้วที่ไม่ได้ตั้งแบบสอบถาม วันนี้พอดีได้คุยกับเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงเลยได้ไอเดียแบบสอบถาม
ซึ่งแบบสอบถามนี้มาจากการสนทนาระหว่างผมกับเพื่อนเรื่อง “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?”

เอาเป็นว่าก่อนอ่านเรื่องนี้ ผมต้องขอถามเพื่อนๆ ก่อน ว่า “ห้องสมุดต้องมีสื่อสังคมออนไลน์ด้วยหรือ?” (สำรวจแบบจริงจังนะอย่าตอบเล่นๆ)

[poll id=”20″]

เอาหล่ะเมื่อตอบเสร็จแล้วมาอ่านเรื่องการสนทนาของผมกับเพื่อนกันต่อ เรื่องมันมีอยู่ว่า…

เพื่อนผมจุดประเด็นเรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
ซึ่งเพื่อนผมคนนี้มองว่าห้องสมุดหลายแห่งมีการใช้งานของสื่อสังคมออนไลน์แบบแปลกๆ
เช่น มีการ invite เกมส์ออนไลน์, มีการแชร์ของ (เล่นเกมส์), ไม่ค่อยมีการอัพเดทข้อมูลสถานะ…. (ดูรูป)

ซึ่งเพื่อนผมก็เลยถามว่าแล้วตกลงห้องสมุดมีเครื่องมือแบบนี้ไว้เพื่ออะไร

อืม….บางประเด็นผมก็ไม่สามารถแก้ให้เพื่อนๆ ได้ เพราะหลักฐานมันก็ปรากฎจริงๆ
แต่ผมก็บอกได้ว่าก็ยังมีห้องสมุดอีกไม่น้อยนะที่นำมาใช้ประโยชน์จริงๆ
เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (www.facebook.com/kindaiproject)

จากประเด็นนี้ผมกับเพื่อนจึงมานั่งระดมหัวกันว่า ตกลงแล้ว “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
คำถามตอบสำหรับสังคมปัจจุบัน คือ “ควรมี – ต้องมี” ห้ามตอบว่า “ไม่ต้องมีก็ได้”

ทำไมหล่ะ…..ลองนั่งคิดดูนะครับว่าถ้าเรามีกิจกรรมดีๆ ที่จัดในห้องสมุดเราจะประชาสัมพันธ์อย่างไร
– ทำป้ายแล้วมาติดบอร์ดในห้องสมุด (ผู้ใช้บริการอ่านบ้างหรือปล่าว)
– ส่งอีเมล์ไปหาผู้ใช้บริการและแจ้งข่าวสาร (ผู้ใช้บริการเปิดบ้างหรือปล่าว / ไม่แน่อาจมองห้องสมุดเป็นสแปม)
– เอาขึ้นเว็บห้องสมุดเลย (แน่ใจว่าผู้ใช้บริการจะเปิดเว็บไซต์ห้องสมุด)

ปัญหาต่างๆ มากมายยังมีอีกเยอะครับ

อ่ะงั้นเราทำตัวให้เป็นผู้ใช้บริการบ้าง หลักๆ แต่ละวันผู้ใช้บริการทำอะไรบ้าง
…กิจกรรมหลักๆ คือเข้าอินเทอร์เน็ต
แต่อย่าเพิ่งดีใจครับ เขาไม่ได้เข้าเว็บห้องสมุดหรอก
เว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการปัจจุบันเข้าหลักๆ คือ www.facebook.com นั่นแหละครับ

อ่ะกลับมาที่คำถามดังนั้นถ้าเราทำให้ผู้ใช้บริการเป็นเพื่อนกับเราใน facebook แล้ว
นั่นก็หมายความว่าเรามีโอกาสที่จะประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ หนังสือดีๆ กิจกรรมดีๆ ให้ผู้ใช้บริการได้
แล้ว

แล้วมองในอีกมุมนะ ว่าถ้าหาก facebook ของห้องสมุดเต็มไปด้วยเกมส์ผู้ใช้จะคิดว่าอย่างไร…

สื่อสังคมออนไลน์มีหลายตัวนะที่อยากแนะนำ facebook, twitter, youtube, slideshare, flickr….. เอาเป็นว่าใช้ได้ทั้งหมดเลย แถมฟรีด้วย

เรื่องสนทนายังคงเดินหน้าต่อไปเรารู้แล้วว่าผู้ใช้บริการมีชีวิตที่อยู่ในออนไลน์มากมาย
และเราเองในฐานะห้องสมุดเราก็ต้องนำเสนอความรู้ต่างๆ เหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการ

แล้วตกลงการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในทางอื่นเกิดจากอะไรหล่ะ
– เกิดจากกระแส หรืออาจจะเกิดจากแฟชั่น (คนอื่นเล่นห้องสมุดก็เลยต้องเล่น)
– เกิดจากคำสั่ง (ผู้บริหารสั่งมาก็ทำๆ ให้เขาหน่อย)

เอาเป็นว่าถ้านำมาใช้แบบเรื่อยเปื่อยไม่มีทิศทาง เราก็ไม่สามารถที่จะใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพด้วย
การบังคับให้ทำอาจจะได้ผลในช่วงแรก แต่พอนานไปก็เริ่มเปื่อยและก็ปล่อยให้สื่อสังคมออนไลน์เฉาลงไปเรื่อยๆ

เพื่อนๆ ที่ต้องการรู้เรื่องสื่อสังคมออนไลน์มากกว่านี้ก็ลองค้นหาอ่านในบล็อกผมได้นะ
เพราะผมเขียนเรื่องเหล่านี้ไปเยอะพอสังคมแล้ว ทั้ง facebook – twitter

สุดท้ายนี้เพื่อนๆ รู้หรือยังครับว่า “ห้องสมุดจำเป็นต้องมีสื่อสังคมออนไลน์หรือปล่าว”
และตอบได้หรือยังว่า มีแล้วนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และเพื่อนๆ สนุกกับการใช้แค่ไหน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

ก่อนถึงวันจันทร์วันที่แสนน่าเบื่อ ผมขอเขียนเรื่องเบาๆ แบบไม่ต้องคิดอะไรมากมายให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน
เรื่องวันนี้ผมขอตั้งเป็นแบบสอบถามแล้วกัน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…
ว่าเพื่อนคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุดคืออะไร

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมีมากมาย ซึ่งหากห้องสมุดเข้าใจผู้ใช้บริการ
เพื่อนๆ ก็สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้และปรับปรุงห้องสมุดและดึงดูผู้ใช้บริการได้
ซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดของเพื่อนๆ นั่นเอง

ผมอยากขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ (ทุกสาขาวิชาชีพ) ช่วยกันตอบแบบสอบถามนี้ด้วยนะครับ

แบบสอบถาม : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

[poll id=”19″]

ผมขอตอบประเดิมเป็นคนแรกแล้วกัน …. ผมขอเลือกบรรณารักษ์กับความเอาใจใส่ในงานบริการ
เพราะหากบรรณารักษ์ปรับปรุงตัวเองได้ ตัวบรรณารักษืเองก็จะพัฒนางานต่างๆ ในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็น
การสร้างบรรยากาศในการอ่าน การจัดกิจกรรมต่างๆ และบริการด้วยใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการพอใจครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองเลือกคำตอบกันดูนะครับ ใครมีความเห็นเพิ่มเติมก็สามารถเสนอได้ครับ

แบบสำรวจ : แนวทางการให้บริการ Wifi ในห้องสมุด

การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องสมุดจริงๆ แล้วมันมีเรื่องราวที่น่าคิดมากมาย
เริ่มจากเรื่องของการอนุญาติให้ใช้บริการหลายๆ ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการบริการ
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอสอบถามเพื่อนๆ ว่า “ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร

ผมสังเกตมาหลายที่แล้วก็เจอกรณีหลายๆ แบบ เช่น
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ผมใช้บริการก็มีการให้ใส่รหัสนักศึกษาและรหัสที่ตั้งไว้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดของคณะ ในมหาวิทยาลัยก็ให้ดาวน์โหลด cert ของอินเทอร์เน็ตและติดตั้งในเครื่องก็สามารถเล่นได้เลย
– ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานแห่งหนึ่งให้ regis ด้วย mac address สำหรับพนักงานเท่านั้น
– ห้องสมุดประชาชนบางแห่งให้ลงชื่อที่เคาน์เตอร์ก่อนจึงจะให้บริการได้
– ห้องสมุดบางแห่งให้ซื้อคูปองเล่นอินเทอร์เน็ตไร้สาย

เอาเป็นว่าหลากหลายรูปแบบจริงๆ ครับ

ในเชิงผู้ให้บริการก็ควรจะต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ แต่ในเชิงผู้ใช้ก็อยากใช้งานง่ายๆ
สองส่วนมักมองกันตรงข้ามเสมอแหละครับ แต่เราควรหาจุดกึ่งกลางความพอดี
ซึ่งทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เพื่อไม่ให้มีข้อขัดแย้งในเรื่องการให้บริการและใช้บริการต่อไป

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดไงกับเรื่องนี้ครับ ผมขอนำแบบสอบถามนี้มาถามเพื่อนๆ ว่า
“ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร”
ไม่ต้องเป็นบรรณารักษ์หรือคนในส่วนห้องสมุดก็ได้นะ อยากให้ช่วยกันตอบเยอะๆ
จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปนำเสนอให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ปรับตัวเอง

[poll id=”18″]

เรื่องไหนที่ทำให้คุณหงุดหงิดบ้างครับ…คุณบรรณารักษ์

เมื่อวานผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงหงุดหงิดเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย
ทำให้ผมนึกได้ว่า เราน่าจะสำรวจบรรณารักษ์กันบ้างนะครับว่า หงุดหงิดเรื่องอะไรบ้างหรือปล่าว

library-stress

คำถามง่ายๆ แต่อาจจะตอบยากนิดนึง คือ
“เรื่องในห้องสมุดเรื่องไหนที่เห็นแล้วทำให้หงุดหงิดที่สุด”

[poll id=”17″]

เอาเป็นว่าขอเก็บข้อมูลดูหน่อยแล้วกันนะครับ
เผื่อว่าผมจะหาวิธีมาช่วยให้คุณไม่หงุดหงิดกับเรื่องต่างๆ เหล่านั้นได้
และเหนือสิ่งอื่นใดข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆ ในวงการรู้จุดที่ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย

เอาเป็นว่าก็ตอบกันเยอะๆ นะ สำหรับผมขอประเดิมให้คนแรกเลย (ผมเองก็มีเรื่องบางอย่างที่หงุดหงิดเช่นกัน)

“หงุดหงิดกับสถานะของหนังสือที่ avilable แต่บนชั้นหนังสือกลับไม่มีตัวตน”

แบบว่าระบบค้นหาดี แต่พฤติกรรมการจัดเก็บทั้งผู้ใช้และบรรณารักษ์อาจจะมีปัญหาอ่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองโหวตมากันดูแล้วกันนะครับ อันไหนผลโหวตมากๆ
ผมจะมาเขียนบล็อกหาทางช่วยแก้ไขครับ

ห้องสมุดควรมีของที่ระลึกหรือไม่

เวลาผมไปเที่ยวไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ผมก็มักจะหาของที่ระลึกของสถานที่นั้นกลับมาฝากเพื่อนๆ เสมอ
ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองย้อนกลับมาสู่ห้องสมุดต่างๆ บ้างว่า …
“ถ้าผมไปห้องสมุดต่างๆ แล้วพบว่ามีของที่ระลึกของห้องสมุด … มันจะดีแค่ไหนน้า”

ภาพจาก The Library Store at Central Library
ภาพจาก The Library Store at Central Library

แบบสอบถามวันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามเกี่ยวกับของที่ระลึกในห้องสมุด
ลองเข้ามาตอบกันดูนะครับ

[poll id=”16″]

หลักๆ แล้วของที่ระลึกที่ผมเห็นมีอยู่สองรูปแบบใหญ่ๆ ก็คือ

1. ของที่ระลึกที่แจกฟรี เช่น ที่คั่นหนังสือ, ปฏิทิน, โปสการ์ดห้องสมุด ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้ห้องสมุดทำขึ้นเพื่อแจกให้ผู้ใช้ทั่วไปของห้องสมุด
บางที่วางไว้ที่โต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ บางที่วางไว้ที่เคาน์เตอร์
ซึ่งผู้ที่เข้ามาใช้ก็สามารถนำของเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างสะดวก

2. ของที่ระลึกที่มีไว้จำหน่าย เช่น เสื้อยืดห้องสมุด, ปากกา, แว่นตา, กระเป๋าสะพาย ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้มักเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวหรือไม่ก็แฟนพันธุ์แท้ของห้องสมุดนั้นๆ
ห้องสมุดบางแห่งเปิดเป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกด้านหน้าของห้องสมุดเลย
ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ของห้องสมุดอีกช่องทางหนึ่ง แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่าแล้วแต่นโยบายของห้องสมุด

calendars2009

บางแห่งไม่สนับสนุนให้มีของที่ระลึกเนื่องจากเป็นภาระของห้องสมุดเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
นอกจากนี้อาจจะมองในเรื่องของการจัดการที่ค่อนข้างยุ่งยากด้วย เกี่ยวกับการเคลียร์เงินให้ฝ่ายบัญชี

การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ห้องสมุดในต่างประเทศหลายๆ แห่งมีวิธีจัดการโดย
มอบหมายหน้าที่ในเรื่องการจัดทำของที่ระลึกและการจำหน่ายให้เครือข่ายของห้องสมุดเป็นคนจัดการ
เพื่อเป็นเป็นการลดภาระเรื่องการจัดการและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายคนรักห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าที่เกริ่นมาเยอะๆ แบบนี้เพียงแค่อยากจะรู้ว่า
ห้องสมุดเมืองไทยสมควรมีของที่ระลึกบ้างหรือปล่าว ถ้ามีต้องการของที่ระลึกแบบไหน

เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบนะครับ

ปล.ภาพประกอบจาก http://www.lfla.org/store/

บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ กับ บรรณารักษ์ที่มีความรู้

วันนี้ผมขอถามความเห็นจากเพื่อนๆ หน่อยนะครับว่า
ระหว่าง “บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์” กับ “บรรณารักษ์ที่มีความรู้” อย่างไหนที่เพื่อนๆ คิดว่าสำคัญกว่า

librarian

แบบสอบถามเรื่องนี้มาจากการส่งเมล์สอบถามกันระหว่างกลุ่มบรรณารักษ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่
ชื่อเมล์ว่า “Library needs experienced librarian, not retail guru”
ผมอ่านความคิดเห็นจากหลายๆ คนแล้วรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยขอเอามาถามเพื่อนๆ ชาวไทยบ้าง

คนบางคนอยากเป็นบรรณารักษ์มากถึงขั้นอ่านตำราบรรณารักษ์มากมาย
บางคนจบบรรณารักษ์มาแต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับบรรณารักษ์ติดตามด้วย
บางคนไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ทำงานในห้องสมุดได้มากมาย

ในต่างประเทศคนที่จบบรรณารักษ์มาใหม่ๆ ได้รับการต้อนรับจากวงการกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อที่จะนำคนเหล่านี้มาฝึกให้กลายเป็นบรรณารักษ์แบบมืออาชีพด้วย
เนื่องจากการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงการเรียนในตำราและสอนแต่ทฤษฎีเท่านั้น
เมื่อออกมาทำงานก็จำเป็นต้องฝึกปรือฝีมือกันหน่อย
และกว่าจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีในอาชีพอย่างมากมาย

บอกตรงๆ ว่าในเมล์บรรณารักษ์เกือบทุกคนเน้นย้ำว่า “แค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอต่อการทำงานหรอกครับ”

เอาหล่ะทีนี้มาถึงความคิดเห็นของเพื่อนๆ กันแล้ว
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในแง่นี้หน่อยนะครับ
ผมจะได้ตอบบรรณารักษ์ชาวโลกว่า คนไทยคิดยังไงกัน!!!!

พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่แย่ที่สุด

หลังจากที่ผมตั้งคำถามเพื่อบรรณารักษ์มาก็เยอะแล้ว
วันนี้ผมขอตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุดบ้างดีกว่า

bad-user-library

ในห้องสมุดแต่ละแห่ง บางที่ก็เจอผู้ใช้ที่ดี บางที่ก็เจอผู้ใช้แย่ๆ เช่นกัน
พฤติกรรมหลายอย่างอาจจะไม่เหมาะสม แต่ผมอยากรู้ว่า พฤติกรรมไหนที่บรรณารักษ์อย่างเราไม่เห็นด้วยมากๆ

เราลองไปโหวตกันก่อนดีกว่า…

[poll id=”12″]

อยากถามเพื่อนๆ ว่า
?ถ้าคุณเจอผู้ใช้ห้องสมุดที่มีพฤติกรรมดังกล่าว คุณว่าผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่คุณจะไม่พอใจมากที่สุด?
หากไม่มีให้เลือกด้านบน กรุณาระบุหน่อยนะครับว่ามีอะไรเพิ่มอีกมั้ย
แล้วเราจะมาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

สำหรับผมเองตอนนี้เจอปัญหาเรื่องการแอบตัดหรือฉีกหนังสือบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเมื่อผู้ใช้นำมาคืนมักจะอ้างว่า

?มันขาดอยู่แล้ว ผมไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย?
?คนที่ยืมก่อนผมทำขาดหรือปล่าว?
?ตอนผมเอาไปมันก็ไม่มีหน้านี้อยู่แล้วนะ?

ดังนั้นในช่วงนี้จึงมีป้ายเตือน ณ จุดบริเวณเคาน์เตอร์ว่า

?หากหนังสือเล่มนั้นชำรุดกรุณาอย่ายืมออก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ทันที มิฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบต่อสภาพหนังสือที่ท่านยืมไป?

และก่อนทำการยิงบาร์โค้ตทุกครั้ง บรรณารักษ์จะลองเปิดดูแบบผ่านๆ เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยขีดเขียน หรือรอยขาด
และหากผู้ใช้นำมาคืนในสภาพที่หนังสือถูกฉีกอีก
จะทำให้ไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ต่อบรรณารักษ์ได้

หลังจากนั้นให้ปรับเป็นค่าหนังสือ / ซื้อหนังสือมาชดใช้ / ตัดสิทธิการยืม / ตัดสิทธิการใช้ห้องสมุด / ติดประจาน

วิธีต่างๆ ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อไปด้วยนะครับ

อิอิ ขอเปิดนำร่องก่อนเลยใครมีความคิดยังไง หรือแนวทางการแก้ไขยังไงเสนอได้นะครับ