แนะนำมูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)

วันนี้ผมจะมาแนะนำองค์กรที่ให้การสนับสนุนห้องสมุดแห่งหนึ่ง องค์กรนี้มีชื่อว่า “มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย”
แน่นอนครับมันต้องเกี่ยวกับเรื่องของการจัดหาหนังสือให้ห้องสมุดแน่ๆ

bookforthai

องค์กรนี้จะทำให้ห้องสมุดของคุณประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับหนังสือ text book ได้ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากงค์กรนี้เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและทำเพื่อห้องสมุดต่างๆ ในประเทศไทย
โดยองค์กรนี้จะได้รับบริจาคหนังสือจากต่างประเทศปีละ 4-6 ครั้ง (แต่ละครั้งก็จำนวนมาก)
ห้องสมุดต่างๆ สามารถมาขอรับหนังสือ text book จากต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ขั้นตอนในการขอรับหนังสือจากที่นี่ก็แสนจะง่าย คือ
ทำหนังสือรับบริจาคหนังสือของสถาบันของท่านแล้วนำมายื่นที่มูลนิธิได้เลย
เสร็จแล้วก็เลือกหนังสือจากที่นี่ได้เลย แล้วทางเจ้าหน้าที่ของที่นี่จะให้เขียนสมุดผู้รับบริจาค
และนับจำนวนหนังสือ แล้วเพื่อนๆ ก็ขนหนังสือกลับได้เลย
แต่อย่าลืมส่งจดหมายขอบคุณพร้อมกับแจ้งรายชื่อหนังสือที่รับไปด้วยนะ
อ๋อ ลืมบอกไปนิดนึง เรื่องการขนหนังสือทางเราต้องจัดการเรื่องรถขนหนังสือเองนะครับ
ทางมูลนิธิไม่มีบริการส่งของด้วย

แต่สำหรับห้องสมุดที่อยู่ต่างจังหวัดก็สามารถที่จะขอทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับหนังสือได้ด้วยนะครับ

มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)
สนับสนุนโครงการโดย
– กลุ่มบริษัทแสงโสม
– ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– บจ. ท่าเรือประจวบ
– บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
– บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์
– สหวิริยาสตีลอินดัสตรี
– บจ. หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์
– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
– สโมสรโรตารีกรุงเทพใต้
– Annika Linden Foundation
– The Asia Foundation

ที่อยู่ของมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยนะครับ
มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย ชั้น 2 อาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขาสภากาชาดไทย 1873 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2652-3301, โทรสาร 0-2652-3302 มือถือ 0-5063-9535

สำหรับเพื่อนๆ ที่มีข้อสงสัยให้ติดต่อ คุณอมร ไทรย้อย ดูนะครับ พี่เขาใจดีมากเลยครับ

ห้องสมุดของผมไปรับหนังสือมาหลายครั้งแล้วและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
ยังไงก็ขอขอบคุณมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยอีกครั้งนะครับ

เพื่อนๆ ที่อยากจะขอรับบริจาคหนังสือผมขอแนะนำว่าลองโทรไปคุยกับพี่เขาดูก่อนนะครับ
จะได้รู้ว่ามีหนังสือใหม่เข้ามาหรือยัง กลัวไปแล้วเสียเที่ยวครับ อิอิ

เห็นมั้ยว่ายังมีองค์กรดีๆ ที่สนับสนุนห้องสมุดอยู่นะครับ เพียงแต่บางคนอาจจะยังไม่รู้เท่านั้นเอง
เอาเป็นว่าใครอยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการขอทุนเดินทางมารับบริจาคหนังสือก็ลองโทรไปถามพี่เขาเองนะครับ

ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://library.tu.ac.th/pridi2/BooksforThailandFoundation/history.htm

เมื่อดิวอี้ปะทะแอลซี (DDC VS LC)

วันนี้ผมขอยกเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์บ้าง
นั่นก็คือ งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

catalog

การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (DDC – Dewey Decimal Classification)
ก็คือการจัดหมวดหมู่ด้วยตัวเลข 000-900 ครับ ช่น 000 – หมวดทั่วไป , 100 – หมวดปรัชญาและจิตวิทยา ?

การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา (LC – Library of Congress Classification)
ก็คือ การจัดหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร A-Z เช่น A – หมวดทั่วไป, B – ปรัชญาและศาสนา

การจัดหมวดหมู่ทั้งสองแบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่ห้องสมุดทั่วไปครับ
แต่ในวงการของห้องสมุดเฉพาะก็อาจจะมีการจัดหมวดหมู่แบบอื่นๆ อีก
เช่น การจัดหมู่แบบ NLM – การจัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์
การจัดหมวดหมู่แบบ NDC – การจัดหมวดหมู่แบบเลขทศนิยมญี่ปุ่น

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนถึงการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้กับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีก่อนนะครับ

ห้องสมุดที่เปิดใหม่หลายๆ ที่คงอยากรู้ว่าจะนำการจัดหมวดหมู่แบบไหนมาใช้
วันนี้ผมจะเอาแง่คิดที่ได้จากที่ทำงานเก่ามาเล่าให้ฟังนะครับ

จากประสบการณ์จริงที่ประสบก็คือ ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานอยู่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ก็คือ
– หนังสือของเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
– หนังสือใหม่ที่ซื้อมาตอนที่กำลังจะเปลี่ยนระบบ ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

สำหรับผมเองจริงๆ ก็อยากจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้มากกว่าเพราะว่าง่ายกว่า
และที่สำคัญผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคุ้นกับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้อยู่แล้ว (เนื่องจากของเก่าใช้ดิวอี้)
และด้วยเหตุที่ห้องสมุดมีหนังสือจำนวนที่น้อยอยู่ ผมจึงคิดว่าใช้แบบดิวอี้ย่อมน่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ได้ดีกว่า

ซึ่งจากการสังเกตผู้ใช้หนังสือในมุมที่เป็นหนังสือใหม่ซึ่งใช้การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา
ผู้ใช้ได้เดินมาบ่นให้ฟังว่าค้นหาหนังสือยากจัง แล้วทำไมหนังสือบางหมวดถึงต้องแยกออกจากกันด้วย

ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นแบบดิวอี้เพื่อนๆ คงคิดเลยว่าอยู่ในกลุ่ม 000 แน่ๆ เวลาหาก็มุ่งไปส่วนนั้นได้เลย
แต่สำหรับแอลซีไม่ใช่อ่ะครับ เพราะว่าเพื่อนๆ ต้องดูอีกว่า คอมพิวเตอร์ทางด้านไหนอีก
เพราะในแอลซีส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลายส่วนด้วยกัน
เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ก็จะอยู่ QA
คอมพิวเตอร์ด้านเครือข่ายจะอยู่ TK
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคจะอยู่ TR
รวมถึงโปรแกรมพวกออฟฟิตก็จะอยู่ใน HF

แค่นี้ผู้ใช้ก็ตาลายแล้วครับ

แต่ผมก็ไม่ได้บอกนะครับว่า LC ไม่มีข้อดี เพราะจริงๆ แล้ว การให้หมวดหมู่แบบ LC มันก็ละเอียดไปอีกแบบนึง เหมือนกัน
แต่น่าจะเหมาะกับห้องสมุดที่มีหนังสือจำนวนมากจริงๆ และห้องสมุดนั้นควรมีจุดสืบค้นให้กับผู้ใช้อย่างเพียงพอด้วย
เพื่อผู้ใช้จะได้หาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

เอาเป็นว่ารายละเอียดว่าแต่ละหมวดหมู่มีเนื้อหาอะไร ผมคงไม่อธิบายหรอกนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันหมดแล้ว หรือถ้าอยากรู้แบบละเอียดๆ ก็ลองดูลิ้งก์ด้านล่างแล้วกันนะครับ

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
http://www.tnrdlib.bc.ca/dewey.html

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

http://people.wcsu.edu/reitzj/res/lcclass.html

บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ กับ บรรณารักษ์ที่มีความรู้

วันนี้ผมขอถามความเห็นจากเพื่อนๆ หน่อยนะครับว่า
ระหว่าง “บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์” กับ “บรรณารักษ์ที่มีความรู้” อย่างไหนที่เพื่อนๆ คิดว่าสำคัญกว่า

librarian

แบบสอบถามเรื่องนี้มาจากการส่งเมล์สอบถามกันระหว่างกลุ่มบรรณารักษ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่
ชื่อเมล์ว่า “Library needs experienced librarian, not retail guru”
ผมอ่านความคิดเห็นจากหลายๆ คนแล้วรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยขอเอามาถามเพื่อนๆ ชาวไทยบ้าง

คนบางคนอยากเป็นบรรณารักษ์มากถึงขั้นอ่านตำราบรรณารักษ์มากมาย
บางคนจบบรรณารักษ์มาแต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับบรรณารักษ์ติดตามด้วย
บางคนไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ทำงานในห้องสมุดได้มากมาย

ในต่างประเทศคนที่จบบรรณารักษ์มาใหม่ๆ ได้รับการต้อนรับจากวงการกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อที่จะนำคนเหล่านี้มาฝึกให้กลายเป็นบรรณารักษ์แบบมืออาชีพด้วย
เนื่องจากการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงการเรียนในตำราและสอนแต่ทฤษฎีเท่านั้น
เมื่อออกมาทำงานก็จำเป็นต้องฝึกปรือฝีมือกันหน่อย
และกว่าจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีในอาชีพอย่างมากมาย

บอกตรงๆ ว่าในเมล์บรรณารักษ์เกือบทุกคนเน้นย้ำว่า “แค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอต่อการทำงานหรอกครับ”

เอาหล่ะทีนี้มาถึงความคิดเห็นของเพื่อนๆ กันแล้ว
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในแง่นี้หน่อยนะครับ
ผมจะได้ตอบบรรณารักษ์ชาวโลกว่า คนไทยคิดยังไงกัน!!!!

จุฬาฯ รับสมัครบรรณารักษ์ ใครสนใจด่วน

วันนี้มีงานบรรณารักษ์มาแนะนำเยอะเลย
แต่สำหรับงานบรรณารักษ์ตำแหน่งนี้ขอปริญญาโทเท่านั้นนะครับ

chula-job

ตำแหน่งงานด้านบรรณารักษ์ที่จุฬาเปิดนี้ มีสองตำแหน่งด้วยกันครับ
1. ตำแหน่งบรรณารักษ์ P7 จำนวน 1 อัตรา
2. เจ้าหน้าที่สารสนเทศ P7 จำนวน 1 อัตรา

เงินเดือนของตำแหน่งทั้งสองนี้ คือ 10,900 บาทครับ
แต่ถ้ามีประสบการณ์จะได้รับการพิจารณาอีก พูดง่ายๆ ว่าอาจจะเรียกเพิ่มได้อีก

อ๋อลืมบอกไปครับ รับสมัครตั้งแต่วันที่? 16? พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม? 2552

สำหรับคุณสมบัติขั้นต้นของตำแหน่งทั้งสองนี้ คือ
– จบปริญญาโทสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ …
– มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่ดี
– มีความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสื่อสารได้ดี

เอาเป็นว่าตำแหน่งทั้งสองนี้ ผมว่าน่าสนใจมากๆ เลยนะครับ
สำหรับบรรณารักษ์ที่จบปริญญาโทมากนะครับ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ลองติดต่อดูได้นะครับ
ที่ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หรือจะสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.car.chula.ac.th/apply/apply.php

รายละเอียดอื่นๆ ลองเข้าไปดูที่ http://www.car.chula.ac.th/web/form/news/id/160/

รับสมัครนักเอกสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ประกาศรับสมัครงานมาแล้วจ้า ด่วนๆ ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้น้า
ใครกำลังว่างงานอยู่แล้วสนใจก็อ่านเรื่องด้านล่างนี้เลยคร้าบ

vru-librarian

ชื่อตำแหน่ง คือ นักเอกสารสนเทศ นะครับ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
จริงๆ ก็คล้ายๆ กับบรรณารักษ์นั่นแหละครับ ให้บริการด้านสารสนเทศ แถมเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยด้วยนะครับ
เรื่องเงินเดือนของตำแหน่งนี้ = 7,630 บาท ครับ

คุณสมบัติขั้นต้นของตำแหน่งนี้
– จบปริญญาตรีสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ
– มีความรู้และความสามารถด้านคอมพิวเตอร์

รับสมัครในเวลาราชการ (ไม่เว้นวันเสาร์ – อาทิตย์) ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552
ใครสนใจก็ติดต่อไปที่ 02-5390674 ต่อ 246 นะครับ

รายละเอียดอื่นๆ อ่านดูได้ที่
http://www.vru.ac.th/news/1011521.pdf

สุขสันต์วันครบรอบความรัก 5 ปี

วันเสาร์และวันอาทิตย์นี้เป็นวันครบรอบความรักระหว่างผมกับแฟน
วันครบรอบจริงๆ คือวันที่ 22 พฤศจิกายน ปีนี้ก็ 5 ปีแล้วที่เราได้คบกัน
แต่ก่อนหน้านั้นเราก็รู้จักกันมาเกือบ 4 ปีเหมือนกันนะ เอาเป็นว่ารวมๆ แล้วเรารู้จักกันมาเกือบ 9 ปีแล้ว

img_0297

วันเสาร์อาทิตย์นี้ผมจึงตัดสินใจงดเรื่องงานทุกชนิด ไม่ว่าจะงานนอกงานใน
เพื่อมีวันที่พักผ่อนและฉลองวันครบรอบอย่างเต็มที่

ปีนี้เป็นปีที่พิเศษกว่าทุกปีหน่อยตรงที่ผมเลือกที่จะออกไปเที่ยวต่างจังหวัด
แต่ก็มีสถานที่มากมายมาให้เลือก (บอกตามตรงเลยว่าเลือกยากอ่ะครับ)
เช่น เพลินวาน (หัวหิน), ตลาดน้ำอัมพวา, เกาะล้าน (พัทยา) ….

สุดท้ายผมก็เลือก …. เกาะล้าน
ด้วยเหตุที่ว่าปีแรกที่ผมคบกับแฟนที่เที่ยวที่เป็นต่างจังหวัดที่แรกของเราคือ พัทยานั่นเอง
ตอนนั้นก็อยากไปเที่ยวเกาะล้านนะ แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น
– ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า
– เพิ่งคบกัน ไม่กล้าพาไปเที่ยวเกาะ (กลัวเธอคิดมาก อิอิ)
– ขับรถไปเอง กลัวรถหาย อิอิ

เอาเป็นว่าปีนี้ก็ได้ไปแล้วนะ (ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 5 ปี ก็เถอะ)

อ๋อ ลืมบอก ไปสองวันก็จริง แต่ได้ไปที่เกาะล้านจริงๆ วันอาทิตย์นะครับ
วันเสาร์เราเที่ยวกันอยู่ที่พัทยาต่างหาก เริ่มจาก

การเดินเล่นที่ห้าง CentralFestival Pattaya ดูต้นคริสต์มาสประดับไฟ
แถมด้วยคอนเสิร์ตจากศิลปิน AF อิอิได้ดูดาราแถมถ่ายรูปไฟคริสต์มาส
แบบว่าคนอื่นเขามาดูดารา แต่เราไม่แคร์ดาราเพราะมัวแต่ถ่ายรูปต้นคริสต์มาส

dscf0404 img_0305

หลังจากนั้นเราสองคนก็เดินเที่ยวกันริมชายหาดครับ (กลางคืนซะด้วย)
ไปเขียน Y Love June ที่ชายหาดด้วย (โรแมนติกนะแต่เล่นเหมือนเด็กเลย อิอิ)

dscf0445

จากนั้นก็เดินไปเรื่อยๆ บนถนน Walking Street เดินดูร้านกลางคืนมากมาย
ก็แกล้งแซวๆ กันว่าจะดินเนอร์กันร้านไหนดี (โรแมนติกน่าดูเลยเนอะ มีสาวๆ เต้นรูดเสาให้ดูด้วยกินข้าวด้วย)

dscf0484

จากนั้นเราก็เดินกันไปถึงท่าเรือพัทยา เพื่อดูตารางการเดินเรือ
สุดท้ายเราก็ตกลงกันว่าจะไปเกาะล้านสัก 10 – 11 โมงกัน
อ่าเมื่อได้เวลาแล้วเราก็ค่อยๆ เดินกลับมาที่โรงแรม และพักผ่อนเตรียมตัวเดินทางในวันพรุ่งนี้

วันอาทิตย์แล้ว……ตื่นมามีหนังเคเบิลน่าดูก็เลยขอดูให้จบเรื่องก่อนนะ แล้วค่อยออกไป check out
หลังกินข้าวเช้าเราก็ได้เดินทางไปที่ท่าเรืออีกครั้งและซื้อตั๋วเรือไปกลับ ราคา 150 บาทเรียบร้อย
บนเรือคนเยอะมากมาย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้นั่งคู่กันแต่ก็นั่งใกล้ๆ กัน อิอิ ไม่เป็นไรเนอะๆ

img_0443

พอมาถึงเกาะเราก็ตื่นเต้นกันมาก เพราะว่าไม่ได้มาเที่ยวทะเลกันนานมากๆ แล้ว
เมื่อได้ที่นั่งเสร็จสั่งอาหารมากิน พอท้องตึงเราก็พร้อมเล่นน้ำ
(แฟนไม่ได้ลงไปเล่นนะ มีแต่เราที่เปลี่ยนชุดแล้วลงไปเล่นน้ำ)
โดนแฟนแอบถ่ายรูปเยอะแยะเลยเอาไว้ตามไปดูใน Facebook นะครับ

dscf0535

จบการเดินทางที่เกาะล้านอันแสนมีความสุข

พอขึ้นมาที่ฝั่งรถตู้พัทยา – อนุสาวรีย์ก็จอดรอพวกเราอยู่
เอาเป็นว่าได้เวลากลับมาเคลียร์งานต่อแล้ว เป็นอันว่างานฉลองครบรอบ 5 ปี
กำลังจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่เราสองคนก็ยังจะรักกันต่อไปและปีหน้าเราจะหาที่ฉลอง

แล้วเอามาเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ อิจฉากันอีกสักรอบนะ

img_0405

สุดท้ายนี้ขอบคุณคุณแฟนมากมายที่อยู่เคียงข้างผมตลอดมา
ไม่ว่าจะทุกข์ จะสุข จะสมหวัง จะผิดหวังเรื่องใดๆ ก็ตาม
ผมก็ยังมีเธออยู่เคียงข้าง สุดท้ายนี้ขอบคุณจริงๆ


รักจูนนะ

ปล. รูปภ่ายมากมายตามไปดูที่ Facebook เองนะครับ

LibCamp#3 : กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนาคุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และดำเนินรายการโดยนายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ บล็อกเกอร์ห้องสมุด
เสวนาในหัวข้อเรื่อง “กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร”

libcamp3-1

การเสวนานี้เริ่มจากการแนะนำตัวเองของผู้เสวนา นั่นคือ คุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นห้องสมุดมารวย

ผมขอเรียกคุณสุจิตร สุวภาพ ว่าพี่อ้วนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านบทสรุปของเรื่องนี้

พี่อ้วนจบปริญญาตรีใบแรกเอกภาษาอังกฤษ
หลังจากนั้นพี่อ้วนก็เกิดความสนใจเรื่องของสารสนเทศจึงได้ศึกษาปริญญาตรีอีกใบคือ เอกบรรณารักษ์ และได้ต่อปริญญาโทในสาขานี้
จากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป พี่อ้วนจึงได้ศึกษาปริญญาโทอีกใบด้านไอที นั่นเอง

พี่อ้วนได้พูดถึงกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดมารวยให้พวกเราฟังต่อว่า
แต่เดิมแล้วห้องสมุดมารวยไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดมารวยเหมือนทุกวันนี้หรอกนะครับ
แต่ก่อนห้องสมุดแห่งนี้ เรียกว่า ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างหาก

แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เมื่อผู้บริหารต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และสร้างแบรนต์ใหม่ให้ห้องสมุด
จึงได้มีการนำชื่อ มารวย มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

แนวความคิดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดมารวย
คือ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป และหาคู่แข่งห้องสมุดเพื่อเปรียบเทียบบริการ
การจัดโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ — คล้ายกับร้านอาหาร (มาเยอะก็ต่อโต๊ะกัน)
เวลาทำการ (การเปิดปิด) ห้องสมุด — ปิดให้ดึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แข่งกับห้างสรรพสินค้า

ฯลฯ

ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงทั้งหมด 6 เดือนก็สามารถที่จะปรับปรุงและเสร็จอย่างรวดเร็ว
ด้วยภาพลักษณ์เดิมที่ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ใหม่ไปอย่างชัดเจน

ตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แบบหรูหราถูกเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่นั่งอ่านแบบสบายๆ

การจะสร้างห้องสมุดสักแห่งนึงต้องคำนึงถึง สิ่งดังต่อไปนี้
– สถานที่
– หนังสือ
– งานบริการ
– บรรณารักษ์
– ระบบเทคโนโลยี

แนะนำห้อง Plern ของตลาดหลักทรัพย์ (ห้องสมุด ห้องทำการบ้าน ห้องเล่น ห้องรับฝากเด็ก ห้องสอนพิเศษ – จิปาถะมากครับ)
Plern = Play + Learn เป็นห้องที่ตลาดหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อใช้เป็นพื้นที่อำนวยความสะดวกกับชุมชนใกล้เคียง (ชุมชนคลองเตย)

การหาผู้สนับสนุนโครงการต่างๆ (CSR Project) ตลาดหลักทรัพย์จะมีรายชื่อหน่วยงานทางธุรกิจมากมาย
ดังนั้นจึงทำให้ติดต่อได้ไม่ยากนัก ถ้าเป็นโครงการที่ดีและทำเพื่อสังคม เราน่าจะลองทำเรื่องขอได้เช่นกัน

ตัวอย่างการสนับสนุนไม่ต้องมองที่อื่นเลย ที่นี่แหละ ห้องสมุดเสริมปัญญาก็ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์นั่นแหละ

พี่อ้วนได้ทิ้งข้อคิดดีๆ ให้เราชาวห้องสมุดได้ฟังอีกว่า
การจะทำห้องสมุดสักแห่ง เราต้องตั้งเป้าประสงค์ของห้องสมุดให้ได้เสียก่อน
เช่นทำห้องสมุดอะไร เพื่ออะไร จะมีอะไรบ้าง แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร
ถ้าเราตอบคำถามนี้ได้แล้วเราก็เขียนโครงการ เรื่องเงินไว้คิดทีหลังจะดีกว่า
เพราะถ้าเอาเรื่องเงินมากำหนดว่าจะทำห้องสมุด เราก็จะได้ห้องสมุดที่ไม่ต้องกับความต้องการของเรา

เป้าหมาย —> งบประมาณ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพี่อ้วนมากๆ เลยเกี่ยวกับแง่คิดดีๆ และกรณีศึกษามากมาย

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด ประจำปี 2552

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมเขียนเรื่อง “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552
วันนี้ผมขอนำเรื่องต่อเนื่องมาเขียนต่อเลยนะครับ นั่นก็คือ การประกาศรางวัล
“ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552”

library-support

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ห้องสมุดพัฒนา

ดังนั้นผมขอนำรายชื่อมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการขอบคุณแทนวงการวิชาชีพนี้ด้วยนะครับ

ปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 14 รายชื่อ ซึ่งมีดังนี้
(ผมขอเขียนแบบย่อๆ นะครับ รายละเอียดดูจากต้นฉบับที่ผมทำ link ไว้ให้นะครับ)

1. พระครูธรรมสรคุณ ขนธสโร
ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2547 ? 2549 มูลค่า 20 ล้านบาท อีกทั้งได้มอบให้ กศน. เขาคิชฌกูฎ ระหว่างปี 2550-2552

2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตตินัดด์ หะวานนท์
ได้จัดสรรงบประมาณบอกรับฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มูลค่าปีละกว่า 5 ล้าน รวมมูลค่า 25 ล้านบาท ให้กับห้องสมุดคณะแพทย์และหน่วยงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ได้จัด ?มุมความรู้ตลาดทุน? หรือ SET Corner เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมฐานความรู้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน

4. นายชรินทร์ เลอเกียรติจรัส

ผู้ผลักดันโครงการห้องสมุดไทยบริดจสโตน โดยได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ได้สร้างห้องสมุดไทยบริดจสโตน จำนวน 94 โรงเรียน

5. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ประธานโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนสุข พนมยงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน ภาพถ่าย คำบรรยาย สื่อโสตทัศน์ กิจกรรมต่าง ๆ และงานเขียน ให้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว

6. บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดใน โครงการ ?ห้องสมุดไทยบริดจสโตน? ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงงานสารานุกรมไทย ใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. นายปรีชา ประกอบกิจ กรรมการ มูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย

โครงการ One by One : เปิดโลกกว้างทางปัญญา โดยในปี 2551 ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไร 3 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจนฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา จัดสร้างห้องสมุดแอมเวย์จำนวน 10 โรงเรียน

8. นายพจน์ นฤตรรกกุล
สนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาเทคโลยีสำหรับห้องสมุดให้กับเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางของรัฐ ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ เช่น การสร้าง eBook, eJournal, Library Automation, Web Portal

9. นายวรวิทย์ ศุภโชคชัย
นผู้ผลักดันและสนับสนุนงบประมาณติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2548 ? 2552 โดยได้สร้างห้องสมุด อาคารห้องสมุดและศูนย์เยาวชน (สวนศรีเมือง) ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,100 ตารางเมตร รวมมูลค่า 18 ล้านบาท

10. นายวานิช เอกวาณิช

ผู้สนับสนุนงบประมาณสร้างห้องสมุดเอกวาณิช โรงเรียนภูเก็ตไทหัว ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต สำหรับนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ตลอดจนประชาชนในจังหวัดภูเก็ต

11. บริษัท เดอเบล จำกัด
ผู้จัดโครงการ ?ห้องสมุดนี้…พี่ให้น้อง? ตั้งแต่ปี 2550-2553 โดยมีโรงเรียนที่ได้รับทุนทั่วประเทศ จำนวน 134 โรง รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท

12. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สนับสนุนห้องสมุดในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในปี 2551

13. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

อธิการบดีและผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล และตระหนักในความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ริเริ่มโครงการก่อตั้งห้องสมุด พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต

14. นางสาวอินดา แตงอ่อน

ผู้สนับสนุนและสร้างบรรยากาศการใช้ห้องสมุดโดยการจัดโครงการทอดผ้าป่าการศึกษา ในปี 2548 ได้รับงบประมาณกว่า 3 ล้านบาท

เป็นไงกันบ้างครับกับการสนับสนุนห้องสมุดของแต่ละคน แบบว่าขอปรบมือให้แบบดังที่สุดเลยครับ
ถ้ามีผู้ใจดีกับห้องสมุดแบบนี้เยอะๆ ห้องสมุดหลายที่คงจะเลิกบ่นเรื่องไม่มีงบกันสักทีนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับความใจดีของทุกๆ ท่านนะครับ

รายละเอียดของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552 แบบเต็มๆ
อ่านได้ที่ http://tla.or.th/pdf/support.pdf

เล่าเรื่องเก่าๆ ในงาน Thinkcamp#1

หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร
แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว
ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน

thinkcamp-logo1

ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน THINK camp 2009
ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp
วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา 10.00 น. ? 17.15 น.
สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ)

THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น

งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร
นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide
ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น
และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที
สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง

น่าสนุกใช่มั้ยครับ

ตัวอย่างหัวข้อจากเพื่อนๆ ที่ได้รับการเชิญให้เข้าร่วม
1. คุณสุกรี พัฒนภิรมย์ จากเว็บไซต์ drupal.in.th
พูดเรื่อง ?ชุมชนผู้ใช้ Drupal อย่างเป็นทางการของประเทศไทย?

2. คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ จากเว็บไซต์ projectlib.in.th
พูดเรื่อง ?ห้องสมุดไม่ได้เป็นแค่ กล่องสี่เหลี่ยม อีกต่อไป?

3. คุณวิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ จากเว็บไซต์ tag.in.th, iam.in.th
พูดเรื่อง ?Social bookmark เพื่อสังคมไทย?

4. คุณณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ จากเว็บไซต์ pg.in.th
พูดเรื่อง ?ถ่ายรูปจากมือถือ แล้วขึ้นเว็บทันที พร้อมทั้งแสดง location บน Google Maps?

5. คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร จากเว็บไซต์ cc.in.th
พูดเรื่อง ?โครงการเผยแพร่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดเนื้อหาเสรีในประเทศไทย?

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนักพูดที่เข้าร่วมงานวันนั้นนะครับ

สำหรับผมในวันนั้นก็พูดเช่นเดียวกันครับ

slide

หัวข้อบนสไลด์ของผมคือ ?ProjectLib กับการเปิดมุมมองใหม่ของห้องสมุด?
หัวข้อรองคือ ?เพราะเรื่องห้องสมุดไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายคนคิด?

– มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (ภาพลักษณ์ของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด)
(งานนี้ผมลงทุนทำแบบสำรวจด้วยตัวเองเลยนะครับ)

– ห้องสมุดที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ หรือรู้จัก

– Projectlib กับการลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ

– การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์

– ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (ตัวอย่างเรื่องที่ได้รับความนิยมจากบล็อก projectlib)

– สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยต้อง?

– บทสรุปแห่งความสำเร็จ projectlib

เอาเป็นว่าใครอยากเห็นสไลด์ของผมก็ลองเข้าไปดูที่

หลายคนคงจะงงกับสไลด์ชุดนี้เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแบบคร่าวๆ เลยนะครับ

หน้าที่ 1 เป็นชื่อเรื่องของสไลด์ รวมถึงแนะนำตัว และผลงานในการเขียนบล็อก (1 นาที)
อธิบายว่าเรื่องห้องสมุดไม่ใช่มีแต่เรื่องการจัดหนังสือ หรือเก็บหนังสือครับ
แต่ห้องสมุดมีเรื่องมากมายที่น่าสนใจ ไม่แพ้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังเลยก็ว่าได้

หน้าที่ 2 มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (1 นาที)
อธิบายภาพทั่วไปที่คนในกรุงเทพฯ มองห้องสมุด
ข้อมูลต่างๆ ได้มาจากการเดินถามคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา คนทำงาน หรือคนทั่วไป

หน้าที่ 3 เคยไปหรือรู้จักห้องสมุดที่ไหนบ้าง (1 นาที)
อธิบายแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด
และที่สำคัญคนเหล่านี้รู้จักห้องสมุดอะไรบ้าง

หน้าที่ 4 ทำยังไงถึงจะลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ (1 นาที)
แนะนำวิธีลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ สไตล์ projectlib
กลยุทธ์ในการสร้างภาพห้องสมุดแบบใหม่ของ projectlib

หน้าที่ 5 นำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ (1 นาที)
บางคนอาจจะคิดว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานห้องสมุดจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง
แต่ความเป็นจริงแล้วแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาเสนอล้วนแล้วแต่ใช้ที่ projectlib หมดแล้วด้วย

หน้าที่ 6 – 8 ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (3 นาที)
แนะนำเรื่องเด่นๆ ที่ผมเขียนและได้รับการตอบรับที่ดี
รวมถึงไอเดียที่สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้ห้องสมุด

หน้าที่ 9 สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยคงจะเหมือนห้องสมุดเมืองนอก (1 นาที)
ความคาดหวังของผมต่อวงการห้องสมุดเมืองไทย
ผมเชื่อว่าสักวันเราต้องเปลี่ยนได้เหมือนครั้งหนึ่งที่บัตรรายการยังต้องเปลี่ยนสถานะเป็น OPAC

หน้าที่ 10 บทสรุปแห่งความสำเร็จ (1 นาที)
ผลงาน และบทสรุปของเรื่องราวต่างๆ ใน projectlib

รวม 10 นาที กับมุมมองใหม่ของห้องสมุดสไตล์ projectlib

นี่ก็คือบทสรุปของงาน thinkcamp#1 สำหรับผมเองนะครับ