บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552

วันนี้ผมขอเอาเรื่องที่น่ายินดีและชมเชยมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
เป็นเรืองเกี่ยวกับ “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552”

librarian-awards

จริงๆ ข่าวนี้ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ประกาศมาได้สักระยะนึงแล้วนะ
วันนี้ผมขอเอามาลงให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักทีนะครับ

ปีนี้มีผู้ที่ได้รับรางวัล 5 ท่านครับ ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้

1. นางกันป์หา เก้าเอี้ยน – บรรณารักษ์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งบรรณารักษ์ตั้งแต่ปี 2526 ท่านได้จัดห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถานการศึกษา อีกทั้งยังจัดกิจกรรมมหกรรมรักการอ่าน ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งนับว่าเป็นแบบอย่างของบุคคลแห่งการเรียนรู้

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนารถ ชัยรัตน์ – ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
เนื่องจากทั้งมีผลงานทั้งในด้านการสอน และการบริหารห้องสมุด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา จังหวัดระยอง (โรงเรียนพระปริยัติธรรมของสามเณร) รวมถึงจัดพิมพ์ชุดนิทานภาษาของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2,400 ชุด

3. นางนาถระพินทร์ เบ็ญจวงศ์ – ครูชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่เสียสละ อุทิศตนเพื่อพัฒนาห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคนครปฐมให้ก้าวหน้าเป็นลำดับ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 30 ปี และเผยแพร่บทความต่างๆ เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์อย่างต่อเนื่อง

4. นางจินัฐดา ชูช่วย – ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา
เนื่องจากท่านได้ผลักดันห้องสมุดจนทำให้ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น 2 ปีซ้อน จากกรมสามัญศึกษา โล่เกียรติยศรางวัลห้องสมุดดีเด่น 3 ปีซ้อนจากเขตการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาในจังหวัดสตูล และเป็นแกนนำการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

5. นางวราพร รสมนตรี – หัวหน้างานห้องสมุด โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
เนื่องจากท่านได้สนับสนุนและส่งเสริมโครงการด้านการอ่านมากมาย เช่น โครงการพัฒนาการอ่านสู่ครูมืออาชีพ โครงการสุดยอดฑูตส่งเสริมการอ่าน โครงการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมเยาวชนแว่นแก้ว และได้รับโล่เกียรติคุณครูดีเด่นทางด้านการศึกษา ในปี 2551

เอาเป็นว่าผมก็ขอแสดงความยินดีกับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
และอยากให้มีบรรณารักษ์และคุณครูเช่นนี้มากๆ จัง
วงการห้องสมุดเราจะได้พัฒนาอย่างก้าวหน้าต่อไป

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://tla.or.th/pdf/person1.pdf

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการเข้าถึงห้องสมุดเฉพาะ

วันนี้ในขณะที่ผมส่งเมล์ให้เพื่อนๆ อยู่ ก็มีอีเมล์ฉบับนึงเด้งขึ้นมาหาผม
ชื่อเมล์ว่า “ช่วยทำแบบสอบถามการวิจัยให้หน่อย (สำคัญมาก) เป็นของอาจารย์ สวนดุสิต สำรวจ GIS?”
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ช่วยกระจายข่าวและตอบแบบสอบถามเลยแล้วกัน

เนื้อความในอีเมล์นะครับ

mail-latter

ก่อนอื่นเราก็ต้องเข้าไปดูเว็บไซต์ที่เขาบอกมาซะก่อน

http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/index01

gis-library

มีเว็บแบบว่าเป็นเรื่องเป็นราวมากๆ ครับ

อ่านวัตถุประสงค์คร่าวๆ แล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นการหาตำแหน่งของห้องสมุดเฉพาะโดยแสดงผลด้วยแผนที่
จริงๆ ก็คล้ายๆ กับการทำ Directories ของห้องสมุดเฉพาะแหละครับ
แต่พิเศษตรงที่ว่านอกจากจะแสดงผลเป็นที่อยู่แล้วยังจะสามารถดูแผนที่ของห้องสมุดนั้นๆ ได้ด้วย

งั้นผมของลองเล่นนิดนึงนะครับ

map-library

เอาเป็นว่าเล่นแล้วนะครับ งั้นผมขอตอบแบบสอบถามเลยแล้วกััน

แบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ตอนนะครับ
เอาเป็นว่าผมประเมินให้แล้ว (ไม่ขอนำผลที่ผมประเมินมาให้ดูนะ)

ยังไงผมก็ขอเชิญเพื่อนๆ ไปร่วมกันทำแบบสอบถามนี้กันนะครับ
http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/questionare.html

ไม่เอานะ!!! ป้ายเตือนแบบนี้ในห้องสมุด

วันนี้เจอบทความเกี่ยวกับการใช้ป้ายเตือนผู้ใช้บริการในห้องสมุด
ก็เลยขอเอามาเตือนสติและแนะนำเพื่อนๆ วงการห้องสมุดแล้วกัน
จะได้ไม่โดนผู้ใช้บริการหมั่นไส้เอา…

presentation

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรูปป้ายเตือนแบบนี้

บรรทัดแรกมาดูเป็นมิตรกับผู้ใช้บริการมากๆ นั่นคือ ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมุด (Welcome to the library)
แต่พอเราได้เห็นข้อควรปฏิบัติและคำเตือนในป้ายนี้แล้ว เลยไม่ค่อยกล้าเข้าห้องสมุดเลย

ในป้ายนะครับ
– ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ
– ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรืออุปกรณ์อื่นๆ ให้บริการ
– คอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น
– ห้ามพูดคุย
– ห้ามกินอาหารหรือทานเครื่องดื่ม
– ไม่เอาบัตรมาห้ามยืม

ห้ามทำนู้น ต้องทำนี่ ห้ามใช้นู้น ห้ามใช้นี่…..อ่านแล้วอยากจะคลั่งไปเลย
ตกลงนี่มันคุกหรือว่าห้องสมุดกันแน่เนี้ย

เอาเป็นว่าถ้าเราลองเปลี่ยนจากป้ายเมื่อกี้เป็นป้ายด้านล่างนี่หล่ะ

presentation1

ในป้ายที่ดูเป็นมิตรกว่า
– ใช้โทรศัพท์ได้นะครับแต่กรุณาเงียบนิดนึง
– ถ้าคุณต้องการอินเทอร์เน็ตไร้สาย กรุณาแจ้งที่เจ้าหน้าที่เลยครับ
– ถ้าค้นหาอะไรแล้วไม่เจอ พวกเราพร้อมจะช่วยคุณนะ
– พวกเรามีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันด้วยนะครับ
– จะกินหรือจะดื่มอะไรก็ระมัดระวังนิดนึงนะครับ หรือจะใช้บริการร้านกาแฟของเราก็ได้
– พวกเราสามารถช่วยคุณค้นหาหนังสือหรือนิตยสารได้นะครับ
– ห้องสมุดใช้สำหรับเรียนรู้ ดังนั้นกรุณาบอกให้เรารู้หน่อยว่าคุณต้องการข้อมูลอะไร

อ่านแล้วรู้สึกดีกว่ากันเยอะเลยนะครับ
จากป้ายแรกเมื่อเทียบกับป้ายนี้ต่างกันฟ้ากับเหวเลย

เอาเป็นว่าการจะเขียนป้ายเตือนหรือข้อแนะนำผู้ใช้กรุณาเลือกใช้คำที่ดีๆ นะครับ
คำบางคำความหมายเหมือนกันแต่ให้อารมณ์ต่างกัน

เปลี่ยนจากคำว่า “ห้าม” เป็น “ควรจะ” น่าจะดีกว่านะครับ

สุดท้ายนี้ใครมีประโยคแนวๆ นี้ลองส่งมาให้ผมดูหน่อยนะครับ
จะได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน ขอบคุณครับ

ภาพของเรื่องนี้จาก http://doug-johnson.squarespace.com/blue-skunk-blog/2009/11/7/signs-signs-everywhere-theres-signs.html

แรงบันดาลใจจากงาน wordcampbkk2

วันนี้ขอเล่าเรื่องต่อเนื่องจากวันอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยดีกว่า นั่นคืองาน wordcampbkk2
งานที่รวมพลคนใช้ Microsoft word เอ้ยไม่ใช่ งานนี้เป็นงานที่รวมพลคนใช้ WordPress ต่างหาก

wordcamp-banner

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน wordcampbkk
ชื่องาน : wordcamp bangkok 2
วันที่จัดงาน : 15 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม

กำหนดการของงานนี้ ใครที่ยังไม่รู้ก็ไปตามอ่านได้ที่
http://wordcamp.kapook.com/agenda-speakers/

ผมขอเล่าแบบภาพรวมแล้วกันนะครับ

งาน wordcampbkk กำหนดการแบบว่าเช้ามากจริงๆ อ่ะครับ แถมอยู่ไกลจากบ้านผมพอควรเลย
ดังนั้นไม่ต้องถามนะครับว่าตื่นกี่โมง เอาเป็นว่าตื่นเช้ามากๆ ครับ

เริ่มจากผู้ร่วมเดินทางมางาน wordcampbkk ด้วยกัน
นั่นก็คือ @junesis และ @maeyingzine

@junesis
@junesis
@Maeyingzine
@Maeyingzine

พอมาถึง ม.ศรีปทุมก็เล่นเอางงเล็กน้อยว่า อาคาร 1 มันอยู่ตรงไหน
แต่ก็เห็นหลายๆ คนเดินไปที่ๆ นึง ผมก็เลยตามเขาไปนั่นแหละครับ
จนสุดท้ายก็มาถึงหน้างาน wordcamp นั่นเอง

หน้างานวันนี้ของแจกยังคงเป็นป้ายชื่อ badge เข็มกลัด และเสื้อwordcamp เช่นเดิม
วันนี้ผมขอสีดำแล้วกันครับ (จริงๆ ได้เสื้อ wordcamp มาจากงาน Thinkcamp แล้ว)

หลายคนเข้ามาทักเพราะว่าทรงผมของผมเปลี่ยนไป แค่ 1 วันที่เจอกัน
(เมื่อวานไปงาน thinkcamp ยังไม่ได้ตัดผมครับ)

มาถ่ายรูปกันเพื่อนๆ
@Thangman22 @porpeangseller @iwhale @patsonic @ylibraryhub

ลงทะเบียนและถ่ายรูปเพื่อเป็นพิธีนิดนึง
ก็เข้าไปหาที่นั่งเพื่อรองานเปิด ในระหว่างนั้นเองก็เจอเพื่อนมากมาย
ก็เลยได้ทักทายกันบ้างและก้ไม่พลาดถ่ายรูปมาให้ดู

อ๋อในงานผมชอบ Twitter Wall มากๆ เลยครับ
จอทางด้านซ้ายมือของผมมันจะขึ้น tweet ของคนที่ใช้ tag #wordcampbkk
ดังนั้นหลายๆ คนจึงใช้ช่องทางนี้เป็นสื่อการตลาดมากๆ ครับ
เช่น ประชาสัมพันธ์บล็อกตัวเอง หรือ โพสเพื่อให้ขึ้นบนจอกัน สนุกกันไป

อ่ะงานเริ่มแล้ว เริ่มจากผู้ใหญ่กันก่อนเลยครับ เช่น
อาจารย์อำนวย มุทิตาเจิรญ, ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์, คุณปรเมศวร์ มินศิริ

หลังจากนั้นผู้พูดที่ได้รับความฮือฮาคนแรก และสุดยอดจริงๆ ก็เริ่มมาครับ
นั่นก็คือ คุณฟูเกียรติ จุลนวล จากไมโครซอฟต์ นี่เอง
ขึ้นมาพูดเรื่อง The power of PHP and Windows นั่นเอง
(มีหลายคนแซวว่า Microsoft จะมาขายของหรือปล่าว อิอิ)

ช่วง 11 โมง ผมมีโอกาสได้ขึ้นเวทีแล้วครับ ขึ้นไปครั้งแรกเพื่อยกโต๊ะและเก้าอี้ไปให้แขกในช่วงต่อไป
ซึ่งแขกในช่วงต่อไปนี้ก็คือพวกผมเอง Blogger ที่ได้รับการโหวตให้พูดครับ

ในช่วง Inspiration Showcase ซึ่งประกอบด้วย 10 บล็อก ดังนี้
http://www.ladyvisa.com
http://www.bkkza.com
http://www.powerontv.com
http://www.songjapan.com
http://www.108blog.net
http://www.mysoju.wordpress.com
http://dmslib2008.wordpress.com
http://don-jai.com
http://www.libraryhub.in.th
http://polypink.com

บล็อกเกอร์ทั้งหลายกำลังพูดถึงแรงบันดาลใจ
บล็อกเกอร์ทั้งหลายกำลังพูดถึงแรงบันดาลใจ

ในช่วง Inspiration Showcase ประทับใจทุกๆ คนมากเลยครับ
แต่ละคนมีแรงบันดาลใจดีๆ มานำเสนอให้คิด และนำไปใช้ได้มากมาย
ซึ่งหนึ่งในผู้ร่วมงาน wordcamp ปีที่แล้วอย่างพี่สุวรรณ (ห้องสมุดกรมการแพทย์)
ก็ยังเปิดตัวบล็อกกรมการแพทย์ได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว

หลังจากนั้นก็ได้เวลาพักกินข้าวกันแล้ว และระหว่างกินข้าวนี่เองวง #ihear ก็เริ่ม set วงกัน
กินข้าวไปฟังเพลงไปสุนทรีย์ดีจริงๆ ครับ

set วงกันก่อนนะครับ #ihear
set วงกันก่อนนะครับ #ihear

ระหว่างที่เดินไปเดินมาในงาน ผมก็มีโอกาสได้พบกับคนดังมากมายหลายคน
เช่น พี่ @markpeak และ พี่ @jakrapong ก็เลยขอถ่ายรูปซะหน่อย อิอิ

@markpeak แห่ง Blognone
@markpeak แห่ง Blognone
@jakrapong & @ylibraryhub
@jakrapong & @ylibraryhub

ในช่วงของ ?Independent Blog? มีคนดังมาพูดหลายคนเลยครับ
ไม่ว่าจะเป็นคุณนิ้วกลม (@roundfinger) คุณวิภว์ บูรพาเดชะ (@VipHappening)
คุณทรงกลด บางยี่ขัน (@zcongklod) และคุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (@wannasingh)

แบบว่าฟังในช่วงนี้แล้วได้แง่คิดเพียบเลย คนคุณภาพจริงๆ

session ไฮไลท์ก็มาถึง นั้นคือการสัมภาษณ์คู่รัก twitter นั่นเอง
@imenn และ @sweetener ที่กำลังจะแต่งงานกันในเดือนกุมภาพันธ์แล้ว
แบบว่าฟังแล้วหวานกันมากๆ อิอิ โรแมนติกที่สุดเลยครับ
ทั้งคู่เปิดตัวเว็บแต่งงานด้วย นั่นคือ http://www.wedding.sweetandmellow.com/

ช่วงต่อมาเป็นคุณ @mooooyai มาบรรยายเรื่องการนำบล็อกมาใช้สร้าง portfolio ให้ตัวเอง
อันนี้ผมว่าน่าสนใจดีครับ และคิดว่าเอาไปใช้ประโยชน์ได้เยอะเลยทีเดียว
พี่เขาแนะนำ plugin และ Theme เพื่อใช้ในการสร้าง portfolio ได้ดีทีเดียว

Session ที่พลาดไม่ได้อีกช่วง คือ ?Plungins & Themes โดนใจ? โดย @iannnnn
แบบว่ามาแนะนำแหล่ง plugin และ Theme ได้เจ๋งมา (หาใน google เอาได้เลย)
ที่สำคัญนำกรณ๊ศึกษาของ fail.in.th มาแนะนำอีก ทำให้ผมรู้จัก plugins เจ๋งๆ หลายตัวเลย
นับว่าเป็น session ที่ฮาแล้วได้สาระเอามากๆ ครับ

หลังจาก session นี้ผมก็เริ่มไม่ไหวแล้วครับ ง่วงมากมาย
แถมเป็นห่วงเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ที่บ้านมากมาย ดังนั้นผมจึงขออนุญาตกลับก่อนครับ

ผมคงเล่าได้แค่นี้นะครับที่เหลือผมจะรออ่านจากบล็อกเกอร์หลายๆ คนนะ

สุดท้ายก่อนจบ ผมขอขอบคุณทีมงานทุกๆ ท่านที่ร่วมกันเหน็ดเหนื่อยเพื่องานนี้
และหวังว่าคงจะมีงานแบบนี้มาให้พวกเราเข้าร่วมกันอีกนะครับ

เว็บไซต์งาน wordcamp – http://wordcamp.kapook.com

รวมภาพบรรยากาศงาน wordcampbkk2

[nggallery id=16]

รวมบล็อกที่เขียนถึงงาน wordcampbkk

บรรยากาศงาน WordCamp Bangkok 2009

WordCamp Bangkok 2009 / wordcampbkk โดย @ipatt

บรรยากาศงาน WordCamp Bangkok 2009 โดย @gootum

ความโดนใจจากงาน WordCamp Bangkok 2009 โดย @nongoffna

Inspiration from Word Press Bangkok 2009 โดย บล็อกพี่หมู

เก็บตกค่ายความคิด 2 – Thinkcamp#2

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ค่ายความคิด 2” หรือที่เรียกว่า “Thinkcamp2”
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการไปงาน ดังนั้นผมก็ต้องเล่าสู่กันฟังสักหน่อย

thinkcamp-logo

เริ่มจากข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : ค่ายความคิด 2
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Thinkcamp2
วันที่จัดงาน : 14 พฤศจิกายน 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท อาคาร SM Tower ชั้น 20

ก่อนเข้าสู่การบรรยายก็ต้องมีการเปิดงานก่อน
ซึ่งผู้ที่มาพูดในช่วงเปิดงานก็ต้องทำตามกติกาของงานนี้เช่นกัน คือ 10 สไลด์ 10 นาที
ผู้พูด คือ @Aerodust ซึ่งหลักๆ ก็ได้มาแนะนำงาน Thinkcamp และConcept ของงานครั้งนี้

เอาหล่ะครับ เข้าเรื่องหลักของงานนี้เลยดีกว่า นั่นก็คือ หัวข้อของแต่ละคน
หัวข้อที่พูดในงานทั้งหมด มี 24 หัวข้อ แบ่งออกเป็น 2 ห้องๆ ละ 12 หัวข้อนะครับ

หัวข้อที่ผมได้เข้าฟังมีดังนี้
– “9 ประสบการณ์แปลก จากการเป็น เว็บมาสเตอร์ Dek-D.com” โดย @ponddekd
– “WTF Library website in Thailand” โดย @ylibraryhub
– “imyourcard นามบัตรออนไลน์ ที่จะทำให้คุณลืมนามบัตรกระดาษไปตลอดกาล” โดย @thangman22
– “เว็บไซต์บันเทิง สร้างยังไงให้บันเทิง” โดย @patsonic
– “2553:ไทย.ไทย” โดย @pensri
– จำชื่อหัวข้อไม่ได้อ่ะครับ รู้แต่ว่าพูดเกี่ยวกับพลัง social network โดย @iwhale
– “Break the rule with openhat.tv, the social network for the real artist” โดย @aircoolsa
– “ร้อยแปดบล็อก บล็อกไทยๆ สไตล์เบ็ดเตล็ด อ่านง่ายๆ สั้นๆ ไม่ถึง 1 นาที” โดย @kajeaw
– “เว็บไซต์กินข้าวกินปลา restaurants.in.th” โดย คุณภาณุ ตั้งเฉลิมกุล
– “panoramap” โดยแก๊งค์สามสี
– “ITCOOLGANG กับการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมใหม่ ITCOOLGANG NEWS CYBERWORLD ปี2” โดย @aum2u
– “ช่องว่างแห่ง เวลา และสถานที่ กับ eventpro” โดย @aircoolsa

อยากสรุปของแต่ละคนลงบล็อกนะครับ แต่ยังไม่มีเวลาเลย
เอาเป็นว่าอีกเดี๋ยวเว็บ http://www.thinkcamp.in.th
ก็จะมีวีดีโอของแต่ละคนเอามาลงให้ดูกัน เพื่อนๆ ก็สามารถตามดูได้นะครับ

อ๋อลืมบอกส่วนใน session ผม ไม่ขอเล่านะครับ
เพราะว่าพูดเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับเว็บไซต์ห้องสมุดไปเยอะ กลัวเพื่อนๆ ในบล็อกจะรับไม่ได้ อ่า


เอาเป็นว่าเดี๋ยวถ้านึกอะไรออกแล้วจะมา update เพิ่มแล้วกันนะครับ อิอิ (update 16/11/2009)

รวมรูปภาพบรรยากาศในงานค่ายความคิด 2 (Thinkcamp#2)

[nggallery id=15]

Test up blog by iPhone

วันนี้ขอทดสอบการเขียนบล็อกด้วยไอโฟนหน่อยดีกว่า
อยากรู้ว่ามันจะโอเคมั้ย และมันจะขึ้นเว็บได้มั้ย

iphone

จากการลองเขียนไปสองบรรทัด
ผมว่าค่อนข้างโอเคเลยนะครับ
(ขณะนี้ผมอยู่บนรถเมล์นะครับ)

พรุ่งนี้มีงาน thinkcamp#2 และมะรืนนี้ก็มีงาน wordcampbkk#2
ใครว่างก็มาเจอกกันได้นะครับ สำหรับรายละเอียดของงานทั้งสองก็อ่านได้ที่

thinkcamp – http://www.thinkcamp.in.th
wordcamp – http://wordcamp.kapook.com

ขอทดสอบเพียงเท่านี้แล้วกันครับ

พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่แย่ที่สุด

หลังจากที่ผมตั้งคำถามเพื่อบรรณารักษ์มาก็เยอะแล้ว
วันนี้ผมขอตั้งคำถามเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุดบ้างดีกว่า

bad-user-library

ในห้องสมุดแต่ละแห่ง บางที่ก็เจอผู้ใช้ที่ดี บางที่ก็เจอผู้ใช้แย่ๆ เช่นกัน
พฤติกรรมหลายอย่างอาจจะไม่เหมาะสม แต่ผมอยากรู้ว่า พฤติกรรมไหนที่บรรณารักษ์อย่างเราไม่เห็นด้วยมากๆ

เราลองไปโหวตกันก่อนดีกว่า…

[poll id=”12″]

อยากถามเพื่อนๆ ว่า
?ถ้าคุณเจอผู้ใช้ห้องสมุดที่มีพฤติกรรมดังกล่าว คุณว่าผู้ใช้ห้องสมุดแบบไหนที่คุณจะไม่พอใจมากที่สุด?
หากไม่มีให้เลือกด้านบน กรุณาระบุหน่อยนะครับว่ามีอะไรเพิ่มอีกมั้ย
แล้วเราจะมาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน

สำหรับผมเองตอนนี้เจอปัญหาเรื่องการแอบตัดหรือฉีกหนังสือบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเมื่อผู้ใช้นำมาคืนมักจะอ้างว่า

?มันขาดอยู่แล้ว ผมไม่ได้ทำอะไรสักหน่อย?
?คนที่ยืมก่อนผมทำขาดหรือปล่าว?
?ตอนผมเอาไปมันก็ไม่มีหน้านี้อยู่แล้วนะ?

ดังนั้นในช่วงนี้จึงมีป้ายเตือน ณ จุดบริเวณเคาน์เตอร์ว่า

?หากหนังสือเล่มนั้นชำรุดกรุณาอย่ายืมออก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ทันที มิฉะนั้นท่านต้องรับผิดชอบต่อสภาพหนังสือที่ท่านยืมไป?

และก่อนทำการยิงบาร์โค้ตทุกครั้ง บรรณารักษ์จะลองเปิดดูแบบผ่านๆ เพื่อตรวจสอบว่าไม่มีรอยขีดเขียน หรือรอยขาด
และหากผู้ใช้นำมาคืนในสภาพที่หนังสือถูกฉีกอีก
จะทำให้ไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ต่อบรรณารักษ์ได้

หลังจากนั้นให้ปรับเป็นค่าหนังสือ / ซื้อหนังสือมาชดใช้ / ตัดสิทธิการยืม / ตัดสิทธิการใช้ห้องสมุด / ติดประจาน

วิธีต่างๆ ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมต่อไปด้วยนะครับ

อิอิ ขอเปิดนำร่องก่อนเลยใครมีความคิดยังไง หรือแนวทางการแก้ไขยังไงเสนอได้นะครับ

คุณรักห้องสมุดเท่านี้หรือปล่าว

เวลาผมไปบรรยายตามที่ต่างๆ ผมก็มักจะได้พูดคุยกับเพื่อนๆ บรรณารักษ์หลายๆ คน
เพื่อนๆ เหล่านั้นถามผมว่าทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุดไม่มีวันหยุดได้หล่ะ

ilovelibrary

ผมจึงได้ย้อนถามกลับไปว่า

เพื่อนๆ รักในวิชาชีพนี้แล้วหรือยัง
เพื่อนๆ รักในห้องสมุดที่ท่านทำงานหรือปล่าว

คำถามเหล่านี้ ผมไม่ต้องการคำตอบหรอกครับ
แต่คำถามเหล่านี้อาจจะทำให้เพื่อนๆ คิดได้ว่าทำไมผมถึงทำอะไรเพื่อวงการนี้

อ๋อ เกือบลืมวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงมาให้เพื่อนๆ ดู เป็นคลิปวีดีโอที่ชื่อว่า I Love the Library

ไปดูกันเลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_3z7VGJSrQ4[/youtube]

ดูแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ

ตอนผมดูแรกๆ ก็อดขำบรรณารักษ์ที่ยืนกอดหนังสือไม่ได้
จะบอกว่ารักห้องสมุดจนยืนกอดหนังสือมันก็ดูตลกไปสักหน่อยครับ
แต่ก็ถือว่าอย่างน้อยคลิปวีดีโอนี้ เขาทำมาก็เพื่อสะท้อนว่า พวกเขารักห้องสมุด

ย้อนกลับมาที่ผม สำหรับผมแล้วการที่ได้รักห้องสมุด รักในวิชาชีพ
ผมคงไม่ต้องมายืนกอดหนังสือแล้วถ่ายคลิปหรอกนะครับ
เพียงแต่พยายามคิดหาหนทางในการพัฒนาห้องสมุด
แล้วเอามาเขียนบล็อกเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านแค่นี้ก็ก็อาจจะเป็นการยืนยันได้ในส่วนนึงแล้ว

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับ รักห้องสมุดหรือเปล่า!!!

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ

วันนี้ขอพาเที่ยวต่างประเทศอีกสักรอบนะครับ สถานที่ที่ผมจะพาไปเที่ยวนั่นก็คือ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ทำไมผมถึงพาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์รู้มั้ยครับ เพราะว่าพิพิธภัณฑ์ก็คือพี่น้องของห้องสมุดนั่นเอง

nawcc

พิพิธภัณฑ์จะเน้นในการเก็บรักษาสิ่งของหรือวัสดุที่ไม่ใช่หนังสือ
รวมถึงมีหน้าที่ในการเก็บและสงวนสิ่งของหายากและของล้ำค่า

?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? (The National Watch & Clock Museum)
ตั้งอยู่ที่ 514 Poplar street – Columbia, Pensylvania ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในปี 1977 ซึ่งในปีแรกมีนาฬิกาแสดงจำนวนน้อยกว่า 1,000 ชิ้น
จนในเวลาต่อมาเมื่อนาฬิกาที่แสดงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนถึงจำนวน 12,000 ชิ้น
ทางพิพิธภัณฑ์จึงได้สร้างส่วนขยายของพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับกับจำนวนสิ่งของที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งส่วนขยายในส่วนสุดท้ายได้สร้างเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปี 1999 นั่นเอง

Collection ที่จัดเก็บในพิพิธภัณฑ์นี้ มี นาฬิกาทั้งแบบแขวน นาฬิกาข้อมือ
วัสดุที่ใช้ในการสร้างนาฬิกา และสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบอกเวลา
สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ ส่วนที่ใช้แสดงนาฬิกาของอเมริกาในยุคศตวรรษที่ 19
แต่อย่างไรก็ดีนอกจากนาฬิกาในประเทศอเมริกาแล้ว

พิพิธภัณฑ์นี้ยังเก็บนาฬิกาจากทุกมุมโลกอีกด้วย เช่น
– นาฬิกาแบบตู้ทรงสูงจากประเทศอังกฤษ
– นาฬิกาทรงเอเซียจากประเทศจีนและญี่ปุ่น
– อุปกรณ์ที่บอกเวลาต่างๆ จากประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมัน, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศรัสเซีย

ส่วนที่จัดแสดงจะมีนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ พัฒนาการต่างๆ ของนาฬิกา เทคโนโลยีในการบอกเวลา

เรามาดูการแบ่งพื้นที่ภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? กันนะครับ

– Admissions & Information desk
ในส่วนนี้เป็นบริเวณทางเข้าและส่วนข้อมูลของพิพิธภัณฑ์

– Theater เป็นห้องภายภาพยนต์ประวัติและความเป็นของนาฬิกา
นอกจากนี้ยังใช้ในการอบรมและแนะนำ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?

– Ancient Timepieces เป็นห้องที่แสดงการบอกเวลาในสมัยโบราณ
รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้บอกเวลาในสมัยโบราณ เช่นนาฬิกาทราย นาฬิกาแดด ฯลฯ

– Special Exhibition เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงปี 1700 – 1815
ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของการประดิษฐ์นาฬิกาในอเมริกา

– Eighteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 18

– Nineteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 19

– American Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปอเมริกา

– European Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปยุโรป

– Asian Horology เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปเอเซีย

– Wristwatches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาข้อมือ

– Car Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่อยู่ในรถยนต์

– Novelty Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่มีรูปแบบแปลกๆ

– Pocket Watches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบที่สามารถพกพาได้

– Early 20TH Century Shop เป็นส่วนของร้านขายนาฬิกาและแสดงนาฬิกาที่ประดับอัญมณี

– Learning Center เป็นส่วนที่แสดงนิทรรศการและให้ความรู้เกี่ยวกับศาตร์แห่งการบอกเวลา
ทั้งวิวัฒนาการของการบอกเวลา นาฬิกาประเภทต่างๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการบอกเวลา

– Monumental Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับหอนาฬิกา

– Tower Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบตู้ทรงสูง

– Electronic Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบดิจิตอล

– Gift Shop ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ซึ่งในร้านมีนาฬิกาให้เราเลือกซื้อมากมาย หลายแบบให้เลือก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? แห่งนี้ เสียดายอย่างเดียวว่ามันอยู่ที่อเมริกา
เพราะว่าถ้ามันอยู่เมืองไทย ผมก็คงต้องอาสาไปเยี่ยมเยียนสักหน่อย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากลิ้งก์ด้านล่างนี้นะครับ
http://www.nawcc.org/museum/museum.htm

และใครสนใจดูภาพภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? ก็ดูได้ที่
http://www.nawcc.org/museum/nwcm/MusMap.htm

สถาบันมะเร็งแห่งชาติรับบรรณารักษ์ชั่วคราว

วันนี้ผมมีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ อ่านและสมัครกันอีกแล้วครับ
ใครสนใจก็ลองอ่านดูก่อนนะครับ แต่ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า “บรรณารักษ์ชั่วคราว” นะครับ

nci-job

สำหรับงานในวันนี้อย่างที่บอกแหละครับว่าเป็นงานชั่วคราวเท่านั้นนะครับ
เป็นลูกจ้างรายเดือนเท่านั้นนะครับ เพราะฉะนั้นคิดและตัดสินใจให้ดีๆ ครับ

สำหรับคนที่ยังไม่มีงานทำก็ถือว่าน่าสนใจและลองสมัครเช่นกัน
จะได้มีอะไรทำยามว่างและมีประสบการณ์ด้วยนะ

เอาเป็นว่าเรามาดูคุณสมบัติของตำแหน่งบรรณารักษ์นี้กันดีกว่า
– วุฒิปริญญาตรีด้านบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์
– มีความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เช่น Word, Excel ฯลฯ

ตำแหน่งนี้จะทำงานห้องสมุดในกลุ่มงานสนับสนุนวิชาการนะครับ
อ๋อลืมบอกไปอย่างหนึ่งเงินเดือน 7,940 บาทนะครับ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถขอใบสมัครและยื่นใบสมัครได้ที่
งานบริหารทรัพยากรบุคคล ฝ่ายทรัพยากรบุคคล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ก่อนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 เท่านั้นนะครับ

รายละเอียดอื่นๆ ผมแนะนำให้ดาวน์โหลดเอกสารด้านล่างนี้ ไปอ่านครับ
http://www.nci.go.th/file_download/Job/52-405-1.pdf

ยังไงก็ขอให้ทุกคนโชคดีนะครับ