งานบรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ ชอบที่สุด คือ…

งานในห้องสมุดถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน บรรณารักษ์ในแต่ละส่วนก็มีหน้าที่ไม่เหมือนกัน
วันนี้ผมเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่า “หากเพื่อนๆ เลือกทำงานในห้องสมุดได้ เพื่อนๆ จะเลือกงานไหน”

[poll id=”11″]

การตอบแบบสอบถามนี้เป็นเพียงความคิดส่วนบุคคลของแต่ละคนนะครับ
เพราะในความเป็นจริงแล้วผมเชื่อว่าทุกคนก็คงต้องทำงานทุกอย่างที่กล่าวมาอยู่ดี
คงเลือกไม่ได้หรอกครับว่าจะอยู่งานไหน เอาเป็นว่าผมแค่ถามงานที่ชอบในความรู้สึกก็แล้วกัน

library-work

คำอธิบายงานในแต่ละส่วน

1. งานบริหารห้องสมุด
– งานวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ ในห้องสมุด ควบคุมงบประมาณและทำรายงานสถิติต่างๆ

2. งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– งานจัดซื้อจัดหาทรัพยากรต่างๆ เข้าห้องสมุด

3. งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งาน catalog นี่แหละ ไม่ว่าจะ dewey หรือ LC ก็ตาม

4. งานบริการยืม-คืน
– ให้บริการหน้าเคาน์เตอร์อย่างเดียว ยิงบาร์โค้ตหนังสือยืม และหนังสือคืน

5. งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
– งานจัดการด้านวารสาร นิตยสารต่างๆ เช่น เย็บเล่มวารสาร ทวงวารสารที่ยังไม่ส่ง ฯลฯ

6. งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
– งานที่ให้คำปรึกษา และนั่งตอบคำถามแก่ผู้ใช้บริการ ปัจจุบันอาจจะตอบผ่าน Chat, MSN, Mail ฯลฯ

7. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
– งานดูแลระบบไอทีต่างๆ ในห้องสมุด รวมถึงระบบห้องสมุดอัตโนมัติด้วย

8. งานโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์
– งานให้บริการสื่อมัลติมีเดียต่างๆ เช่น ซีดี วีซีดี ดีวีดี อาจจะรวมถึงห้องมัลติมีเดียด้วย (ถ้ามีในห้องสมุด)

9. อื่นๆ (โปรดระบุ)
งานอื่นๆ ที่อาจจะไม่ระบุถึง ณ ที่นี้ เช่น จัดชั้นหนังสือ ฯลฯ

นิยามของงานไหนที่ไม่ชัดเจนเพื่อนๆ อาจจะตอบ อื่นๆ มานะครับแล้วก้ระบุมาให้ผมด้วยว่างานอะไร

ถ้าเป็นไปได้นอกจากการเลือกที่แบบสอบถามแล้ว ผมขอให้เพื่อนๆ ตอบลงมาใน comment ด้วยนะครับ
โดยรูปแบบในการตอบแบบสอบถามนี้ ผมกำหนดไว้แล้ว มีดังนี้

1. ประเภทของห้องสมุดที่คุณทำงาน (ห้องสมุดโรงเรียน, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, ห้องสมุดเฉพาะ, ห้องสมุดองค์กรอื่นๆ)
2. งานที่คุณทำในห้องสมุด
3. งานที่คุณอยากทำในห้องสมุด พร้อมเหตุผล

——————————————

ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม (คำตอบของผมเอง)

ประเภท : ห้องสมุดประชาชน
งานที่ทำในห้องสมุด : งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
งานที่อยากทำในห้องสมุด : บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
เหตุผล : เพราะว่าการตอบคำถามให้ผู้ใช้บริการจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ทำให้เรามีความกระตือรือร้น
ในการอยากรู้อยากเห็น แสวงหาคำตอบมาตอบผู้ใช้เท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ให้เราด้วยครับ

——————————————

อ๋อสำหรับคนอื่นที่ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ ขอแค่ระบุว่าอยากทำงานด้านไหนในห้องสมุดก็พอแล้วครับ

ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ

รวมรูปภาพสาวสวยในห้องสมุด

วันนี้วันเสาร์ วันหยุดของเพื่อนๆ หลายๆ คน หรือบางคนก็เรียกว่า วันชิวๆ
ผมเลยขอเอารูปภาพสวยๆ มาฝากให้เพื่อนได้ชื่นชมกันหน่อย

cool-librarian

ซึ่งถ้าเป็นรูปธรรมดาก็คงไม่ใช่บล็อกห้องสมุดแน่
ดังนั้นผมจึงขอประมวลภาพสาวๆ ในห้องสมุดสักหน่อยแล้วกัน

วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ผมได้มาซึ่งภาพบรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด ก็คือ
เข้าไปหาภาพใน GOOGLE นั่นเอง (http://images.google.com/imghp?hl=en&tab=wi)

ส่วนการใช้ keyword เพื่อที่จะทำให้ผมได้รูป “บรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด” เช่น
– pretty librarian
– sexy librarian
– girl in library
– ฯลฯ

เอาเป็นว่าลองเข้าไปดูกันเองแล้วกันนะครับว่าจะเจอรูปอะไรบ้าง
แต่วันนี้ผมขอนำมาให้เพื่อนๆ ดู สัก 5 รูปแล้วกันนะครับ

librarian-cool1-195x300

รูปแรกมาจาก www.odelizajacoba.com

librarian-cool2-200x300

รูปที่สองมาจาก www.patrickrothfuss.com

librarian-cool3-187x300

รูปที่สามมาจาก www.smh.com.au

librarian-cool4

รูปที่สี่มาจาก www.tanashabitat.com

librarian-cool5-249x300

รูปที่ห้ามาจาก www.pinoyblog.com

เอาเป็นว่าวันนี้วันสบายๆ ก็ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขทุกคนก็แล้วกันนะครับ

แนะนำเว็บไซต์ตามกระแสที่คุณควรรู้จัก

*** คำแนะนำเรื่องนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบตามข่าวสารต่างประเทศนะครับ ***
ถ้าคุณคือคนที่ผมกล่าวถึงอยู่ก็กรุณาเข้ามาทำความรู้จักกับเว็บไซต์ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้

ที่มาของรูป http://www.nytimes.com
ที่มาของรูป http://www.nytimes.com

ลักษณะของเว็บไซต์ที่ช่วยให้เราตามกระแสของโลกได้ มีดังนี้
– เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารจากหลายๆ แขนงวิชา
– เว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมต่อเว็บไซต์ (Social Media)
– เว็บไซต์ที่มีการอัพเดทแบบ Real time
– เว็บที่มีการตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมาก

เอาเป็นว่าเมื่อรู้คุณสมบัติของเว็บเหล่านี้แล้ว
เราลองมาดูตัวอย่างของเว็บไซต์เหล่านี้กันดีกว่า

21 เว็บไซต์ที่จะทำให้คุณตามกระแสโลกทัน (21 Sites To Find Out What’s Hot Online) มีดังนี้

กลุ่มของ meme trackers (การติดตามกระแส หรือคำสำคัญ)

1 Google Blogsearch

2 Megite

3 Techmeme

กลุ่มของ blog search engines

4 Technorati Popular

5 BlogPulse key phrases

กลุ่มของ Search Engine

6 Yahoo Buzz

7 Google hottest trends

8 MSN A-list

9 Aol.com hot searches

10 Top Ask.com

กลุ่มของ social media sites

11 Digg

12 Delicious

13 StumbleUpon

14 PopURLs

15 Flickr

16 Deletionpedia

กลุ่มของ Twitter tools

17 Tweet Meme

18 Twit Scoop

19 TwittUrly

กลุ่มของ ecommerce sites

20 Amazon

21 EBay pulse

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนๆ รู้จักเว็บเหล่านี้มากน้อยแค่ไหนครับ
สำหรับผมเองก็ยอมรับแหละครับว่ายังรู้จักไม่ครบ
เอาเป็นว่าผมก็จะพยายามทำความรู้จักกับเว็บไซต์เหล่านี้ให้มากๆ แล้วกันนะครับ

ที่มาของเรื่องนี้ 21 Sites To Find Out What’s Hot Online

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 6

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 5
ออกในเดือนกันยายน 2552

libmagv2n6

วันนี้บังเอิญว่ามีเพื่อนๆ บรรณารักษ์หลายคนส่งข้อความมาถามว่า
“นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มใหม่ออกแล้วรู้หรือยัง”
ก็เลยตอบไปว่า “รู้ว่าออกแล้วครับ เพียงแต่ยังไม่ได้เขียนถึงเท่านั้นเอง”

วันนี้ผมจึงต้องเร่งเขียนบล็อกเรื่องนี้สักหน่อย เดี๋ยวจะหาว่าบล็อกผมอัพเดทช้าอีก
จริงๆ ต้องขอออกตัวก่อนเลยนะครับว่า ช่วงนี้งานเยอะมากจริงๆ แต่ก็ติดตามข่าวสารตลอดนั่นแหละครับ

เข้าเรื่องของเราดีกว่า “นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์” ฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย
แถมมีพี่น้องบรรณารักษ์ที่ผมรู้จักเขียนร่วมหลายคนด้วย อิอิ ขอชื่นชมเลย
เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าในเล่มนี้มีเนื้อหาอะไรที่น่าสนใจบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก บทสัมภาษณ์ – ดร.สมรักษ์ สหพงศ์ บรรณารักษ์ ระดับ 8 ชำนาญการ

รีวิวห้องสมุด – ห้องสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

พาเที่ยว – ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

พาเที่ยว – ห้องสมุดเมืองโอคแลนด์ (Auckland City Libraries)

พาเที่ยว – South High Library Media Center

บทความ เรื่องเล่า เรื่องแปล – เมื่อสูญสิ้นซึ่งศิลปะแห่งการอ่าน

บทความ เรื่องเล่า เรื่องแปล – สรุปประเด็นที่น่าสนใจ การประชุมวิชาการของที่ประชุม ปอมท

บทความ เรื่องเล่า เรื่องแปล – ชี้แจงความสามารถของสารสนเทศศาสตร์บัณฑิต

สาระน่ารู้ – จิตวิทยากับความรัก (Psychology and Love)

สาระน่ารู้ – ลดโลกร้อนกับแม่ และ Green IT

สาระน่ารู้ – ละล่องท่องเว็บ ตอน เก็บ twitter จากเว็บห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับฉบับนี้ ยังไงก็อ่านกันได้เลยนะครับ
จะได้เติมความรู้เพื่อร่วมกันพัฒนาวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์กันต่อไป

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 6 : http://librarianmagazine.com/VOL2/NO6/index.htm

ช่วงเทศกาลสอบปลายภาค ณ ห้องสมุด

ช่วงนี้หลายๆ สถาบันการศึกษา(โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย) เริ่มเข้าสู่ฤดูแห่งการสอบปลายภาคแล้ว
วันนี้จะมาขอเล่าเรื่องราวสมัยตอนที่ผมยังคงเป็นนักศึกาาให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันนะครับ

exam-library

นโยบายของห้องสมุดในบางที่ ที่พยายามเอื้อให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมานั่งอ่านหนังสือใช่วงสอบ
โดยอาจจะมีการขยายช่วงเวลาของการปิดทำการให้ดึกขึ้น หรือบางที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
เอาเป็นว่านี่คือสิ่งที่ดีครับ
อย่างน้อยผมก็คนนึงแหละที่ชอบอ่านหนังสือดึกๆ ในห้องสมุด

บางสถานศึกษาที่นักเรียน นักศึกษาไม่ชอบเข้าห้องสมุด
ช่วงเวลาสอบห้องสมุดนี่จะเงียบเหมือนป่าช้าเลย
จึงทำให้ห้องสมุดเหล่านั้นฉวยโอกาส ในช่วงของเวลาใกล้สอบปิดบริการก่อนกำหนดเวลา
เช่นจากเดิมที่มีการปิดให้บริการ 18.00 แต่ช่วงสอบปิด 16.00

อันนี้น่าเกลียดไปหรือปล่าว ผมคงไม่ต้องพูดนะครับ

ช่วงสอบนี้ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจากห้องสมุดบ้างหล่ะ
ผมขอนำเสนอมุมมองในฐานะที่ผมเป็นผู้ใช้บริการห้องสมุดแล้วกันนะครับ

สิ่งที่ผมต้องการจากห้องสมุด
1. ห้องที่สามารถใช้อ่านหนังสือได้ดึกกว่าเดิม (อันนี้หลายๆ ที่ก็ให้บริการดึกขึ้น)
เช่นจากเดิมห้องสมุดปิดบริการเวลา 21.00 น. แต่ในช่วงสอบจะปิดบริการเวลา 23.00 น.

2. ห้องที่ใช้ในการติวหนังสือ ยิ่งช่วงสอบขอบอกเลยว่าคนใช้บริการส่วนนี้เยอะมาก
บางที่ไม่มีการจัดการเรื่องคิว บางที่ไม่จัดการเรื่องเวลา
ผมอยากเสนอไอเดียแบบนี้แล้วกัน(บางที่ดีอยู่แล้วนะครับ) ห้องสมุดจะให้บริการห้องประชุมส่วนตัว
โดยกำหนดจำนวนผู้ใช้ขั้นต่ำ เวลาที่ให้บริการ มีตารางการใช้บอกชัดเจน

3. สามารถยืมหนังสือในช่วงสอบได้
อันนี้หลายๆ ที่ผมไม่ประทับใจเลยเนื่องจากพอช่วงสอบทีไรก็จะประกาศงดยืมทุกชนิด
ส่วนตัวผมเองเข้าใจนะครับว่า จำเป็นที่ต้องทำเช่นนี้
เอาเป็นว่าเสนอเล่นนะครับว่าในช่วงสอบก็ยังยืมได้ตามปรกติ แต่วันที่คืนคือวันสอบเสร็จวันสุดท้ายเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่ผมกล่าวมาเป็นเพียงแค่ความต้องการเล็กๆ จากผู้ใช้บริการอย่างผมแล้วกัน
ยังไงบรรณารักษ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานบริหารควรดูเรื่องนโยบายให้มากกว่านี้นะครับ

แล้วยังไงช่วงนี้ฤดูการสอบ สำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องสอบเหมือนกันก็ขอให้โชคดีกันทั่วหน้านะครับ

THX for “Happy Birthday To me”

วันนี้วันที่ 29 เดือน 9 นับว่าเป็นวันที่ดีมากครับ (ตามความรู้สึกของผม)
เพราะว่าวันนี้เป็นวันเกิดของผมเอง วันนี้ผมอายุครบ 27 แล้วคร้าบบบบบ

hbd

วันนี้ผมขอพรให้กับตัวเองมากมาย ไม่ว่าจะเป็น :-
– ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
– ขอให้การงานสำเร็จตามที่ตั้งใจอยากจะทำ
– ขอให้โชคดีและพบเจอแต่สิ่งที่ดีๆ
– ขอให้มีแรงใจในการทำงานเพื่อสังคม และประเทศชาติต่อไป
และอื่นๆ ที่ผมยังคิดไม่ออกตอนนี้ (เดี๋ยวจะเก็บไว้ขอพรทีหลัง)

วันนี้มีเพื่อนๆ หลายคนอวยพรผมมากมายใน twitter ซึ่งผมขอประมวลมาไว้ที่บล็อกเรื่องนี้นะครับ

@sassygirl_jane @Ylibraryhub Wish you a many many happy returns of the day. May God bless you with health, wealth and prosperity in your life HBD ^^

@ojazzy @Ylibraryhub happy birthday!

@iwhale @Ylibraryhub สุขสันต์วันเกิดครับ ไลบรารี่ฮับจงเจริญ! (เจ้าของด้วย)

@pimpat29 @Ylibraryhub ดีค่ะ..สุขสันต์วันเกิดด้วยคนนะค่ะ.. 😀

@sumeth @Ylibraryhub HBD คร้าบ ^^

@1500miles @Ylibraryhub สุขสันต์วันเกิดด้วยคนครับ

@MiMD RT @Ylibraryhub ทำบุญในวันเกิด <HBD krub 🙂

@sitdh @Ylibraryhub สุขสันต์วันเกิดครับคุณวาย 🙂

@OaddybeinG @Ylibraryhub Happy Birthday จ้าคุณน้อง มีความสุขกะสิ่งที่มี คนที่รัก งานที่ชอบนะจ๊ะ ^___^

@DearAnNie @Ylibraryhub HBD นะคะคุณวาย มีความสุขมากๆ นะคะ~*

@maeyingzine @Ylibraryhub Happy Birth Day น๊า มีความสุขมากๆๆ ^ ^

@suntiwong @Ylibraryhub HBD คร๊าบบบบบ

@MiffiiZ @Ylibraryhub วันนี้วันเกิดหรอค๊ะ HBD จร้าาา มีความสุขมากๆเน้ออ

@WisdomInside RT @Ylibraryhub: “วันนี้วันเกิด ขอมีความสุขสักวันเหอะ” / สุขสันต์วันเกิดนะครับ มีความสุขมากๆ นะครับ

@jocho17 RT: @Ylibraryhub: วันนี้วันเกิด ขอมีความสุขสักวันเหอะ>>ความสุขของคนแก่ อิอิ

@zyracuze @Ylibraryhub อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

@Pra3wa @Ylibraryhub Happy Birth day to U…God bless u wish all everything u want…^^

@nuboat @Ylibraryhub วาย สุขสันต์วันเกิด.. ว่าแต่จะเลี้ยงไรหร่ะ ^ ^

@SINNOTTRAGEDY RT @Pra3wa @Ylibraryhub Happy Birth day to U…God bless u wish all everything u want…^^

@nytonkla @Ylibraryhub happ birthday. be healthy and wealthy na kub.

@neokain @Ylibraryhub HBD ครับพี่

@celerachan @Ylibraryhub HBD จ้าา

@hohoteam @Ylibraryhub HBD!

@narumonjoy @Ylibraryhub สุขสันต์วันเกิดค่ะ

@pichet05 RT: @hohoteam: @Ylibraryhub HBD!

@iamnadia @Ylibraryhub HBD naka

@gnret @Ylibraryhub สุขสันต์วันเกิดครับบรรรณารักษ์

ขอบคุณเพื่อนๆ ใน Twitter มากๆ ครับที่ส่งคำอวยพรมาให้ผม
ผมก็ขอให้ทุกๆ คนมีความสุขด้วยเช่นกันนะครับ คิดสิ่งใดก็สมประสงค์นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่อวยพรผมในช่องทางอื่น (MSN, Facebook, Hi5, โทรศัพท์) ก็ไม่ต้องน้อยใจนะครับ
ผมก็ขอให้ทุกคนมีความสุขและโชคดีเช่นเดียวกันนะครับ

แนะนำห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี

ช่วงนี้ ชีวิตของผมก็วนเวียนอยู่แถวจังหวัดกรุงเทพ เชียงใหม่ แล้วก็อุบลราชธานี
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาวันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีบ้าง

ubon-school-library12

ข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี
ที่อยู่ : เลขที่ 150 ถนนราชบุตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045-245449, 045-245301
เว็บไซต์ : http://www.anubanubon.ac.th

ทำไมผมถึงเลือกที่จะแนะนำที่นี่รู้มั้ยครับ…
สาเหตุหลักๆ คือ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งมีการปรับปรุงสถานที่ใหม่
ซึ่งต้องขอบอกว่าเป็นที่ฮือฮามากในจังหวัดอุบลราชธานี

การบริการในห้องสมุดแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. ห้องสมุดอ่าน (พื้นที่ให้บริการสำหรับอ่านหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ)
2. ห้องสมุดส่วนนิทรรศการ (พื้นที่มุมศิลป์ มุมผลงานนักเรียน ฯลฯ)
3. ห้องสมุดส่วนเวที (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน)
4. ห้องสมุดอิเลคโทรนิกส์ (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสนอ การค้นคว้าด้วยระบบอินเทอร์เน็ต)
5. ห้องสมุดลานอ่านหนังสือ (พื้นที่ลานศาสลาเกียรติยศ)
6. ห้องสมุดของเล่น (พื้นที่เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน)

ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคาร 7 นะครับ
ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ครับ

พูดถึงเรื่องงบประมาณของห้องสมุด ผมต้องขอชื่นชมสักนิดนะครับ
เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนจำนวน 2 ล้านบาท

มาถึง hilight ที่ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้แล้ว นั่นคือ
การตกแต่งด้านในห้องสมุดของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีทำให้ผมนึกถึง TKpark และห้องสมุดซอยพระนางเลย

ไม่เชื่อดูรูปรังผึ้งที่ให้เด็กๆ ปีนขึ้นไปอ่านหนังสือสิครับ มันดูคล้ายๆ TKpark เลย

ubon-school-library02

ส่วนการวางรูปแบบของชั้นหนังสือในห้องสมุดแห่งนี้มีลักษระการวางคล้ายๆ ห้องสมุดซอยพระนางเช่นเดียวกัน

ubon-school-library05

เอาเป็นว่าผมก็ขอชื่มชมบรรณารักษ์ ผู้บริหารโรงเรียน และสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนนี้นะครับ
ที่ช่วยกันร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป

รวมภาพบรรยากาศ “ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี”

[nggallery id=14]

คลิปวีดีโอบรรณารักษ์รุ่นเยาว์

วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอน่ารักๆ มาฝากเพื่อนๆ ครับ
เป็นคลิปวีดีโอเด็กน้อยคนนึงที่กำลังจะพยายามเข็นรถเข็นหนังสือในห้องสมุดนั่นเอง

clip-librarian

ไปดูคลิปกันก่อนดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=RPLNphtY5fo[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ผมดูครั้งแรกยังต้องแอบยิ้มเลย ไม่คิดว่าจะมีคลิปน่ารักแบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด
เด็กน้อยในคลิปวีดีโอนี้มีอายุเพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้นนะครับ
จะว่าไป ผมขอยกให้เป็น “บรรณารักษ์รุ่นเยาว์” ก็คงจะได้มั้งครับ อิอิ

บางทีการได้ดูวีดีโอเด็กๆ มันก็ทำให้เราเพลินดี เพื่อนๆ ว่ามั้ย
เด็กน่ารักสดใส แถมดูสนุกสนานในแบบธรรมชาติอีก

ผมว่าว่างๆ เพื่อนๆ ลองเอามาดูนะครับ เวลาเครียดๆ
รับรองหายเครียดแน่ๆ ครับ ผมคอนเฟิมครับ

อาทิตย์สุดท้ายก่อนถึงงาน Libcamp#3

วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้แล้วสินะครับ กับงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3 (Libcamp#3)
เพื่อนๆ คนไหนที่ยังไม่ลงทะเบียนก็ยังสามารถลงได้อีกนะครับ ที่ dcy_4430323@hotmail.com

logo-libcamp3-copy

วันนี้ผมขอมาคอนเฟิมรายละเอียดของงานอีกครั้งนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
เพราะว่ามีหลายคนถามผมหลังไมค์ว่า ตกลงเสียเงินหรือปล่าว
ผมจะขอย้ำอีกเป็นรอบที่สิบว่า งานนี้ฟรีครับ

กำหนดการในงาน Libcamp#3
09.00 – 9.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
09.30 – 10.00 น. เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น. ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น. ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น. เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา


ในงานนี้ผมต้องขอขอบคุณสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยด้วย
ที่ให้พวกเราได้ใช้สถานที่ในการสัมมนาแบบฟรีๆ นะครับ
แถมให้เราได้รู้จักห้องสมุดเสริมปัญญาได้มากขึ้นด้วยนะครับ

เอาป็นว่าตอนนี้ผมเองก็คาดหวังว่าบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยคงจะแจ่มชัดขึ้นนะครับ

ขอย้ำก่อนจากกันวันนี้ ลงทะเบียนโดยบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงานของคุณ
มาที่ dcy_4430323@hotmail.com

งานสัมมนา Digitized Thailand Forum

งานสัมมนาที่ผมจะนำเสนอนี้ เป็นงานที่จัดวันพรุ่งนี้แต่ขอบอกว่ามีความน่าสนใจมากๆ
ถ้าเพื่อนๆ มีเวลาจริงๆ ก็อยากให้เข้าร่วมงานนี้กันมากๆ นะครับ เพราะมันมีประโยชน์มากๆ

digitized-thailand

รายละเอียดเบื้องต้นของงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยีสร้างโลกดิจิทัลประเทศไทย
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Digitized Thailand Forum
วันและเวลาที่จัดงาน : วันพุธที่ 23 กันยายน 2552 เวลา 09:00 – 17:00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องบุษกร อาคารเนคเทค (NECTEC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
จัดโดย : NECTEC

ภายในงานนี้จะประกอบด้วยการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย
โดยเฉพาะเรื่องการจัดการเอกสารในรูปแบบดิจิทัล หรือ การทำ Digitization
ซึ่งอย่างน้อยการจัดการเอกสารในรูปแบบดิจิทัล ผมเชื่อว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการห้องสมุดดิจิทัลด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ เช่น
– วีดิทัศน์แนะนำผลงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ Digitized Thailand
– Digitized Thailand: นำทุนทางวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
– A Cross-Cultural Multimedia System for Creating Collaborative Environments
– Technology behind Newspaper Digitization
– การสงวนรักษาความหลากหลายทางภาษาและการแก้ไขความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
– ระบบค้นคืนวีดิทัศน์เชิงความหมาย
– คลังผ้าโบราณและระบบกี่ทอผ้ากึ่งอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชน
– การจัดการข้อมูลทางวัฒนธรรม
– A Common Infrastructure and Standards for Sharing and Reuse of Digitized Content

เห็นหัวข้อแต่ละหัวข้อก็ยิ่งทำให่รู้สึกว่าอยากไปรับความรู้จากในงานนี้จริงๆ เลยนะครับ
ยังไงใครที่ไปร่วมงานนี้จะให้ดีรบกวนเก็บเอกสารให้ผมด้วยนะครับ จะขอบคุณมากๆ เลย