เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง

ปกติเพื่อนๆ คงเคยได้ยินว่าออกกำลังกายเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง
พอมาอ่านบทความเรื่องนี้ของผม เพื่อนๆ จะได้เจอนิยามใหม่ครับ
ว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง” ครับ

use-library-often

ไม่แปลกหรอกครับ ที่จะต้องบอกว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง”
ความแข็งแรงที่ว่านี้ คือ “ปัญญา” “ความรู้” “ความฉลาด” “สมอง”

เนื่องจากถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วเข้าไปอ่านหนังสือมากๆ
เพื่อนๆ จะได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ ให้ความสนใจ เมื่อเพื่อนๆ อ่านก็จะทำให้เข้าใจในสิ่งที่อ่านมากขึ้น
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ สงสัยมานาน พอเพื่อนๆ ได้อ่านก็จะคลายความสงสัยและได้คำตอบเหล่านี้ไป
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ อ่านแค่ผ่านๆ แต่วันนึงอาจจะต้องนำมาใช้ก็ได้นะ

จากภาพโปสเตอร์ที่ผมนำมาให้ดูนี้
ผมว่าเป็นโปสเตอร์ที่เชิญชวนให้คนเข้าห้องสมุดได้สร้างสรรค์มากๆ เลยครับ
(ตอนแรกนึกว่า ป้ายโฆษณาโรงยิม หรือ สถานที่เพาะกาย)

เอาเป็นว่าลองเก็บไอเดียนี้ไปคิดเล่นๆ ดูนะครับ
สำหรับเจ้าของภาพ คือ Originally uploaded by marklarson

อากาศร้อนแบบนี้ไปเข้าห้องสมุดกันดีกว่า

ช่วงนี้อากาศข้างนอกมันร้อนเพื่อนๆ ว่ามั้ย? ขนาดว่าฝนก็ตกนะแต่อากาศก็ยังจะร้อนต่อไป
เฮ้อ!!!! เซ็งอ่ะ แล้วถ้าอากาศร้อนๆ เพื่อนๆ จะทำยังไงให้หายร้อนบ้างหล่ะ

hot-day

ไอเดียเพื่อแก้ร้อนตามแบบฉบับสากล (สากลไหน??????)
– นอนตากแอร์อยู่บ้านสิ เยี่มมากครับแต่เปลืองไฟ
– เปิดพัดลมเยอะๆ เช่นเดียวกันครับเยี่ยมมากแต่เปลืองไฟ
– อาบน้ำบ่อยๆ เออวันนี้ไม่เปลืองไฟครับแต่เปลืองน้ำ
– หาอะไรกินเย็นๆ สิ เช่น ไอติม น้ำแข็งใส ครับโอเคเลยเยี่ยมแต่เปลืองเงิน
– ไปเดินตากแอร์ที่ห้างสรรพสินค้าดีกว่า ไม่เอาอ่ะมันเปลืองเวลา

ซึ่งจะเห็นว่า วิธีที่แก้ร้อนนี้ ช่างเป็นวิธีที่จะทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำที่เพิ่มขึ้น ค่าไฟก็เพิ่มขึ้น ?..

แล้วเพื่อนๆ เป็นเหมือนผมหรือเปล่า
?อากาศร้อนมากๆ จะทำงานไม่ได้ เพราะว่าไม่มีสมาธิทำงาน?
?อากาศร้อนมากๆ จะหงุดหงิด ไม่สามารถทำงานได้อย่างสบายใจ?

วันธรรมดาผมคงไม่ประสบปัญหาเท่าไหร่ เพราะว่าที่ทำงานเปิดแอร์ดังนั้นจึงทำงานได้อย่างปกติ
แต่ในวันเสาร์อาทิตย์จะให้ผมเปิดแอร์ทำงานทั้งวัน ค่าไฟก็คงไม่ต้องพูดถึง คงหมดเงินจำนวนมากแน่ๆ

วิธีการที่จะช่วยให้ผมสามารถทำงานได้ และลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับไฟฟ้า นั่นก็คือ การไปห้องสมุด นั่นเอง

ในช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้ ผมจะเลือกห้องสมุดที่มีลักษณะดังนี้
1. ห้องสมุดที่โปร่ง โล่ง สบาย (ติดแอร์ก็ดี แต่ถ้าไม่ติดแอร์ก็ขอแบบว่าอากาศถ่ายเทสะดวก)
2. ห้องสมุดที่มีบริการอินเทอร์เน็ตทั้งแบบไร้สาย และเครื่องให้บริการ
3. ห้องสมุดที่มีหนังสือที่เกี่ยวกับการทำงานของผม
4. ห้องสมุดที่มีเวลาปิด และเวลาเปิดเหมาะสม เช่น ปิดสักสองทุ่ม สามทุ่มได้มั้ย
5. ห้องสมุดที่มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

จริงๆ แล้วอยากได้อีกหลายอย่างนะ แต่ถ้าให้บรรยายทั้งหมดคงไม่ไหวอ่ะ
เพราะว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของความต้องการแบบพื้นฐานของคนที่ทำงานแล้ว

ซึ่งการหนีอากาศร้อนๆ แล้วมาเข้าห้องสมุด ผมว่ามันดีหลายอย่างนะครับ เช่น
– ไม่ต้องเปลืองค่าน้ำ ค่าไฟ มากขึ้น
– ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการแสวงหาความรู้
– สร้างนิสัยการเข้าใช้ห้องสมุดในรูปแบบใหม่ (เข้ามาทำงาน + อ่านหนังสือ)

เอาเป็นว่าวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ผมแนะนำสำหรับในช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ คนไหนมีไอเดียอะไรก็เชิญเสนอมาได้เลยนะครับ

แฟชั่นการแต่งตัวของบรรณารักษ์

วันนี้ก็วันศุกร์แล้วนะครับ เรามาอ่านเรื่องแบบสบายๆ ไม่ต้องเครียดกันดีกว่า
เอาเป็นว่าเรื่องไม่เครียดที่เกี่ยวกับวงการที่ผมนึกได้ในตอนนี้ คือ แฟชั่นการแต่งตัวของบรรณารักษ์

บทความนี้ไม่ได้ต้องการให้ใครเลียนแบบการแต่งตัวแบบจริงๆ หรอกนะครับ
แต่อยากให้ดูเพื่อความบันเทิงใจน่าจะดีกว่า เพราะเข้าใจว่าหลายๆ องค์กรคงไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน
(โดนเฉพาะอย่างยิ่ง “เจ๊เบียบ” นั่นเอง)

สำหรับชุดแต่งกายสำหรับบรรณารักษ์ที่ออกมาแนวเฉี่ยวๆ ก็เช่นดั่งในรูปนะครับ

costume1

เป็นยังไงบ้างครับทั้งสามแบบดูเป็นไงบ้าง ดูแล้วพอจะกระตุ้นให้คนเข้าห้องสมุดได้มากขึ้นมั้ย

ชุดแรกผมว่าเพื่อนๆ คงเห็นกันจนชินแล้วหล่ะมั่งครับ
เป็นชุดที่เอาสันหนังสือมาทำเป็นลายที่กระโปรง ซึ่งดูยังไงก็รู้ว่ามาจากห้องสมุดแน่ๆ
หลังจากที่ค้นหาบนเว็บสักระยะ ผมก็คนใส่ชุดนี้ไปทำงานจริงๆ ด้วย ลองดูรูปครับ

example-costume-1

ส่วนในชุดที่สองและชุดที่สาม เป็นมุมมองใหม่สำหรับการแต่งตัวของบรรณารักษ์เลยนะครับ
ดูแล้วสดใส แถม sexyอีกต่างหาก และดูแล้วรู้สึกว่าบรรณารักษ์มีความกระฉับกระเฉงมากๆ

เอาเป็นว่าบางครั้งผมว่าการแต่งตัวของบรรณารักษ์
อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการดึงผู้ใช้มาใช้บริการในห้องสมุดก็ได้นะ

ยังไงก็ลองดูกันนะครับ?

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด ณ ห้องสมุดโรงเรียนเทพวิทยา

วันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของโรงเรียนเทพวิทยา (ราชบุรี)
ซึ่งบทความนี้ได้รับเกียรติจากคุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์ของโรงเรียนเทพวิทยามาช่วยเขียน

libraryweek

รายละเอียดทั่วไปของการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด
วันที่จัดงาน : วันที่? 24-28 สิงหาคม? 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุด โรงเรียนเทพวิทยา


วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่านและการค้นคว้ามากขึ้น
2. เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของห้องสมุด
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้และความบันเทิง
4. เพื่อให้บรรณารักษ์และผู้ใช้บริการมีทัศนคติที่ดีต่อกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ผมชอบในข้อที่ 4 มากๆ เลยครับ
เพราะการจัดงานห้องสมุดในแต่ละครั้ง
จริงๆ แล้ว พวกเราชาวบรรณารักษ์ก็หวังว่าผู้ใช้บริการหองสมุดจะมีทัศนคติที่ดี
และตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดที่มีอยู่บ้างก้เท่านั้น

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายเลยครับ
(ลองอ่านดู เผื่อจะได้ไอเดียแจ๋วๆ เพื่อนำไปใช้กับห้องสมุดของคุณได้)

– นิทรรศการ ?หนังสือดี? 6 เรื่อง? ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน?
– การประกวดเล่านิทานประกอบท่าทาง
– การประกวดวาดภาพ? หัวข้อ? ห้องสมุดของฉัน
– การประกวดคำขวัญ? หัวข้อ? ทศวรรษแห่งการอ่าน
– การประกวดสุดยอดหนอนหนังสือ
– การประกวด? Mr. and Miss Newspaper
– การประกวดหนังสือเก่าหายาก
– กิจกรรมบิงโกหนังสือ
– กิจกรรมอ่าน ดี ดี มีรางวัล
– กิจกรรมสำนวนชวนคิด
– การจำหน่ายหนังสือดี? ราคาถูก

นี่ถ้าไม่บอกว่าห้องสมุดโรงเรียน ผมคงนึกว่าเป็นห้องสมุดระดับใหญ่เลยนะครับ
มีกิจกรรมเยอะแบบนี้ ผมคงต้องขอคารวะเลยนะครับ
กิจกรรมแต่ละกิจกรรมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

ok-school

โดยเฉพาะ Mr. and Miss Newspaper ตอนแรกผมก็งงๆ ว่าคืออะไร
แต่พอลองดูรูปแล้วเริ่มเข้าใจเลยครับ ว่าเป็นการนำหนังสือพิมพ์มาตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายนั่นเอง
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงได้ไอเดียจากห้องสมุดแห่งนี้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์จากโรงเรียนเทพวิทยามากๆ
ที่แนะนำกิจกรรมนี้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และเปิดไอเดียใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุด

สำหรับรูปถ้าเพื่อนๆ อยากดูทั้งหมดให้เข้าไปดูได้ที่ http://www.thepvittaya.net/photo03/09sep52/Library/index.htm

บ้านน่ารักสไตล์บรรณารักษ์

วันนี้ขอเน้นเรื่องการจัดการบ้านของพวกเราชาวบรรณารักษ์กันบ้างนะครับ
เอาง่ายๆ การจัดห้องสมุดแหละ แต่ผมขอตั้งชื่อเรื่องนี้ให้น่ารักๆ สักหน่อย
เพราะว่าห้องสมุดก็คือบ้านหลังที่สองของบรรณารักษ์นั่นเอง เพื่อนๆ ว่าม่ะ

home

การจัดห้องสมุดในมุมมองใหม่ๆ เราต้องมองมุมมองในองค์ประกอบต่างๆ ของห้องสมุด เช่น

– นโยบายของห้องสมุดด้านต่างๆ เช่น นโยบายการเปิด-ปิดทำการ นโยบายการยืม นโยบายการคืน
พูดง่ายๆ งานด้านการบริหารของห้องสมุดต้องมีกรบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมงานต่างๆ ทั้งหมด

– สถานที่ที่ให้บริการ ตัวสถานที่ของห้องสมุดเองว่ามีการจัดสรรพื้นที่อย่างไร ตั้งอยู่ในจุดที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
บรรยากาศโดยทั่วไปเหมาะแก่การอ่านหนังสือและใช้บริการ

– บุคลากรที่มีจิตใจที่ดีต่อการบริการ คอยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้
ด้วยปรัชญาที่เรียกว่า ?SERVICE MIND?

– ทรัพยากรสารสนเทศตอบสนองผู้ใช้บริการโดยอิงกับนโยบายและเอกลักษณ์ของห้องสมุดนั่นๆ
เช่นห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ควรจะตอบสนองสาขาวิชาและคณะต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วย

– เทคโนโลยีต่างๆ ภายในห้องสมุด ด้วยสาเหตุที่ว่าห้องสมุดไม่สามารถมีทุกอย่างตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ
การที่เราจัดบริการทางเทคโนโลยีสรสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ตก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อีกทาง
นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้เอื้อต่อการทำงานของบรรณารักษ์จะทำให้บรรณารักษ์สามารถทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น

– กิจกรรมและบริการต่างๆ ภายในห้องสมุด ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ผู้ใช้เกิดความเบื่อหน่าย
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้บริการของผู้ใช้ด้วย

จากทุกๆ ข้อที่กล่าวมา การที่เราจะจัดห้องสมุดแบบนี้ได้
ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายนะครับ แต่ในความเป็นจริงการจัดการต่างๆ ย่อมมีอุปสรรคและข้อจำกัด
เช่น ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ / สถานที่เล็กเกินไป / งบประมาณมีจำกัด / และอีกหลายๆ สาเหตุ

แต่ปัญหาเหล่านี้ขอให้บรรณารักษ์อย่าได้ท้อ
เราต้องค่อยๆ แก้ทีละเรื่อง ไม่ใช่ให้เปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้ในครั้งเดียว
การปรับแนวคิดของคนค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องค่อยๆ ปรับกันไป สู้ๆ นะครับ

5 คำแนะนำเพื่อการเป็นห้องสมุด 2.0

วันนี้ผมมีเวลาเล่าเรื่องน้อยกว่าทุกวันนะครับ เนื่องจากงานเยอะมากๆ
แต่บังเอิญไปเจอบทความดีๆ มา เลยต้องรีบแนะนำก่อน บทความนี้เกี่ยวกับเรื่อง ห้องสมุด 2.0

gotolibrary20

หลังๆ มาผมได้เข้ากลุ่ม library2.0 network ในเมืองนอกบ่อยขึ้น
เว็บนี้ทุกคนได้เข้ามาแชร์กันในเรื่องของการสร้างแนวคิดเรื่องการจัดการห้องสมุด 2.0 เยอะมากๆ

บทความนึงที่ในชุมชนกล่าวถึง คือ 5 คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนห้องสมุดของคุณให้กลายเป็นห้องสมุด 2.0
5 Suggestions for Upgrading to Library 2.0 (or Some Easy Steps to Get Started?Really)
ซึ่งบทความนี้เขียนโดย อาจารย์ Michael Stephens

เอาเป็นว่าผมขอแปลแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ อ่านดีกว่า
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากอ่านต้นฉบับก็เข้าไปดูได้ที่ ชื่อเรื่องด้านบนเลยนะครับ

สำหรับคำแนะนำ หรือขั้นตอนง่ายๆ ในการพัฒนาห้องสมุดของคุณให้เป็น ห้องสมุด 2.0
เริ่มจาก ?..

1. Start a library blog (เริ่มจากการมีบล็อกห้องสมุดเสียก่อน)

เพราะว่าการทำบล็อกถือเป็นการแชร์ความรู้ แชร์ความคิด
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างชุมชนหย่อมๆ ได้อีกด้วย
แถมขั้นตอนในการสร้าง หรือสมัครบล็อกทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่น


2. Create an Emerging Technology Committee

ตั้งกลุ่มคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด
เพื่อที่จะได้มีกลุ่มคนที่เชียวชาญด้านเทคโนโลยีคอยแนะนำในการทำงานด้านต่างๆ
โดยทั่วไปก็อาจจะดึงงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการก็ได้
เช่น ส่วนงานไอที ส่วนงานพัฒนาระบบห้องสมุด ส่วนงานโสตฯ ฯลฯ


3. Train staff to use an RSS aggregator

จัดฝึกอบรม และให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้ RSS

4. Experiment and use 2.0 Tools

รู้จักเครื่องมือ และหัดใช้งานเว็บไซต์ 2.0 ทั้งหลาย
เช่น wikipedia, youtube, slideshare,?..
เมื่อเราเกิดความเคยชินแล้วการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในห้องสมุดก็จะเป็นการง่าย

5. Implement IM reference
การนำระบบ IM (Instant Messenger) มาใช้ในห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ เรื่องง่ายๆ เท่านี้ก็ทำให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ กลายเป็นห้องสมุด 2.0 ได้แล้วนะครับ
เอาเป็นว่าลองดูก่อนนะ ถ้าสนใจเรื่องไหนอย่างเป็นพิเศษ ลองแนะนำมาดู เดี๋ยวผมจะเขียนเน้นให้อีกที

ผู้ใช้บริการห้องสมุดร้องไห้ เนื่องจากห้องสมุดถูกปิด

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าห้องสมุดประชาชนสำคัญต่อคนอเมริกายังไง
วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงอยากให้ดูมากๆ ครับ (คลิปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา)

man-cry-library

จากข่าวที่พูดถึงการปิดตัวเองของห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
สาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
ทำให้ผู้ใช้ลดลง ต้นทุนในการดูแลห้องสมุดสูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ห้องสมุดปิดนั่นเอง

เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอผู้ชายสูงวัยคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา
เมื่อทราบข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia นั่นเอง

ไปชมกันก่อนเลยนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=81_rmOTjobk[/youtube]

คำบรรยายของคลิปวีดีโอนี้
?One local man was brought to tears over the City of Philadelphia?s plan to close his neighborhood library to help fend off the city budget crisis.?

ข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia อ่านได้ที่
Free Library of Philadelphia Closing 11 of 54 Branches
ห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia ถูกปิด 11 แห่งจากทั้งหมด 54 แห่ง

สำหรับข่าวการปิดห้องสมุดในเมือง Philadelphia นี้
สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ห้องสมุดก็สามารถถูกปิดกิจการได้เช่นกัน

ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ห้องสมุดถูกปิด คือ
– ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มุ่งให้ความรู้และไม่หวังผลกำไร
– เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต
– การบริการแบบเก่าๆ ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากข่าวนี้ คือ
?หากเรายังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการห้องสมุดของเราก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกปิดกิจการเป็นรายต่อไป?

กลับมาที่เรื่องวีดีโอดีกว่า เพื่อนๆ คิดยังไงกับวีดีโอชุดนี้

สำหรับผมเห็นว่า ผู้ใช้ห้องสมุดในเมืองๆ นั้น มีความผูกพันกับห้องสมุดของเขาอย่างมาก
ถึงขนาดว่า พอรู้ข่าวก็ตกใจ และเสียใจกับห้องสมุดอย่างมากมาย
แสดงว่าห้องสมุดมีคุณค่า และความสำคัญต่อพวกเขามากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์

การบรรยายรื่อง ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
จัดโดย สถาบันสอนภาษา บริติช เคาน์ซิล และสถานพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

ดูผิวเผินเพื่อนๆ อาจจะบอกว่าไม่น่าเกี่ยวกับห้องสมุด
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หรือ หอศิลป์ ต่างก็ถูกจัดเป็นองค์กรทางวัฒนธรรมเหมือนๆ กัน

musuem

การไปฟังบรรยายครั้งนี้จึงถือว่าได้ไอเดียในการทำงานมามากมาย
บางเรื่องสามารถนำมาประยุกต์กับการคิดแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดก็ได้ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการบรรยายในครั้งนี้
ชื่อการบรรยาย ?แผนกลยุทธ์และธุรกิจในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์?
ผู้บรรยาย
?Michael Day (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักพระราชวังแห่งสหราชอาณาจักร)?
วันและเวลาในการบรรยาย ?วันที่ 13 มกราคม 2552 เวลา 9.00 – 12.00?
สถานที่ที่บรรยาย ?สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)?

หัวข้อในการบรรยาย แบ่งเป็น 2 หัวข้อดังนี้
– Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
– Museum Futures – What is the 21st century bringing?

เห็นหัวข้อการบรรยายแล้วน่าสนใจมากเลยใช่หรือปล่าวครับ
เอางี้ดีกว่าไปอ่านเรื่องที่ผมสรุปมาเลยดีกว่าครับ

????????????????-

Leadership, Strategy and Planning in non-profit cultural institutions
การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ และการวางแผนในองค์กรทางวัฒนธรรมที่ไม่แสวงหากำไร

– แนะนำหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ Historic Royal Palaces
ได้แก่ Tower of London, Hampton Court Palace, Banqueting House, Kensington Palace, Kew Palace

– บทเรียนที่ได้จากการทำงานมีทั้งหมด 10 ข้อ ดังนี้
1. การตั้งเป้าหมาย และอุดมการณ์ให้องค์กร ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติงานต่างๆ
อุดมการณ์ – เป็นสิ่งที่มีพลัง, เป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงาน, มีเหตุมีผล, ?
2. กาลเวลา ความต่อเนื่อง จะมีความสัมพันธ์กันทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
3. กฎยุทธศาสตร์ของ Norman Flynn?s ตลอดการทำงานขององค์กรจะมีเพียง 3-4 อย่างเท่านั้นที่สำคัญ
และถ้าเราหาสิ่งเหล่านั้นเจอและทำมันให้ดีจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างมาก
4. ผู้นำขององค์กรทางวัฒนธรรม มักจะเป็นที่พึ่งพาของบุคคลอื่นๆ สูงมาก
5. คุณจะต้องยอมรับกับข้อเรียกร้องต่างๆ ได้ ไม่ว่าข้อเรียกร้องนั้นจะมีความขัดแย้งกับความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
เช่น การตั้งเป้าหมายให้สูงแม้ว่าจะมีเงินสนับสนุนเพียงน้อยนิด,
โบราณสถานถึงแม้ว่าองค์กรจะต้องดูแลรักษา แต่ก็ต้องเปิดให้คนอื่นเข้ามาชมด้วย,
อยากให้คนเข้ามาชมโบราณสถานมากๆ แต่เราก็ต้องเก็บเงินจากผู้เข้าชมเหล่านั้น
6. การสร้างความรู้สึกให้ผู้ใต้บัญชาเข้าใจ และรักในองค์กรที่ทำงานอยู่
7. การบริหารงานที่ดีต้องให้ความสำคัญทั้งกับเบื้องบน สิ่งรอบข้าง และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
8. การบริหารคนในองค์กร สนับสนุนคนที่ทำงานในองค์กรให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ เขาจะรักองค์กร?
9. มันไม่ใช่เพียงแค่อะไรที่คุณทำ แต่คุณต้องรู้ว่าทำอย่างไรมากกว่า
(ไม่ใช่ทำงานตามคำสั่งอย่างเดียว แต่คุณต้องเข้าใจถึงงานที่คุณทำด้วย)
10. ถึงแม้ว่าสภาพทั่วไปขององค์กรจะดี หรือราบรื่น
แต่ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมอาจจะทำให้องค์กรของเราเกิดผลกระทบได้
และถึงตอนนั้นเราต้องยอมรับสภาพให้ได้ และแก้ไขให้ดีที่สุด

– ก่อนจบผู้บรรยายได้ฝากไว้อีกว่า ยังมีเรื่องอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ และคนเรายังสามารถเรียนรู้อะไรต่างๆ ได้ตลอดชีวิต

????????????????-

Museum Futures – What is the 21st century bringing?
อนาคตของพิพิธภัณฑ์ ศตวรรษที่ 21 นำอะไรมาบ้าง

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะถูกผูกติดกับสังคม และชุมชน

– การเปลี่ยนแปลงทั้ง 9 ข้อที่มีผลต่อพิพิธภัณฑ์ มีดังนี้
1. ประชากรเปลี่ยนแปลงไป เช่น การย้ายถิ่น, อายุเฉลี่ย, บทบาทของผู้หญิง ฯลฯ
2. การกำเนิดอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีดิจิทัล
เมื่อสิบปีที่แล้วยังไม่มี google เลย จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
3. ราคาตั๋วเครื่องบินที่ถูกลง และวิถีการเดินทางของคนมีมากขึ้น
4. วัฒนธรรมดั้งเดิม และพรมแดนของประเทศเริ่มจางหายไป
สินค้าที่มีแบรนด์ และสร้างวัฒนธรรมของแบรนด์เนมมีมากขึ้น
5. การลงทุนในแง่ของวัฒนธรรมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
(การสร้างพิพิธภัณฑ์ประจำท้องถิ่น อาจจะทำให้เกิดการบูรณะเมืองเลยก็ได้)
6. วิถีการใช้ชีวิตของตัวเองนำมาสู่ครอบครัวมากขึ้น เช่น การนำงานจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน
7. ลูกค้า หรือ ผู้ใช้บริการ มีการคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่น เด็กมักจะเห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าความรู้ (เห็นเงินดีกว่า)
แต่สำหรับคนที่เรียนจบปริญญาจะเห็นค่าความรู้มากกว่าวัตถุ
8. ภาคการเมืองมีการคาดหวังในพิพิธภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป
เช่นให้การสนับสนุน รวมถึงการคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้กลับมา เช่น การท่องเที่ยว การสร้างงาน ฯลฯ
9. โลกใบนี้มีอะไรที่ไม่แน่นอน คาดเดาอะไรไม่ได้

– ไอเดียสำหรับเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของพิพิธภัณฑ์ 9 ประเด็น ดังนี้
1. มีจุดมุ่งหมาย และอุดมการณ์
2. หาแนวทางในการนำเสนอความรู้ในรูปแบบใหม่
3. คนจำนวนมากสนใจเรื่องราวมากกว่าวัตถุ
4. พิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่งดูน่าเบื่อ (ลองเปรียบเทียบกับโรงภาพยนตร์)
5. ทุกจุดบริการสำคัญหมดสำหรับผู้ใช้
ถ้าผู้ใช้เจอจุดที่ไม่ดีเพียง 1 จุด เราจะต้องให้เขาประทับใจเพิ่มถึง 27 จุด เพื่อดึงความพอใจกลับคืนมา
6. เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และสื่อดิจิทัลมากขึ้น
7. ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์ เพราะคนในชุมชนจะเข้าใจ และเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์อย่างแท้จริง
8. พิพิธภัณฑ์ต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบันตลอดเวลา
9. คนที่ทำงานในองค์กรทุกคนมีความสำคัญ

– อนาคตของพิพิธภัณฑ์จะสดใสได้ ถ้าเราสามารถตอบโจทย์ของสังคมได้

????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับ เสียดายที่การบรรยายในครั้งนี้ไม่มีเอกสารในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์แจก
ไม่งั้นผมคงจะแจกให้เพื่อนๆ นำไปอ่านต่อกันแล้ว เพราะว่ารู้สึกว่าได้แง่คิดมากมายเลยทีเดียว

สำหรับข้อมูลที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองไปดูต่อ มีดังนี้

– เว็บไซต์ของ Historic Royal Palaces
http://www.hrp.org.uk

– เว็บไซต์ของ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

http://www.ndmi.or.th

#090909 วันนี้มันพิเศษตรงไหน

วันนี้เป็นวันที่หลายคนบอกว่าร้อยปีมีครั้งนึง นั่นคือ วันที่ 9 เดือน 9 ปี 9
นี่ยังดีนะที่ผมไม่ได้เขียนบล็อกตอน 9 โมง 9 นาที 9 วินาที
ไม่งั้นผมคงมีเลขชุด 09/09/09 09:09:09 แน่แน่

090909

วันนี้จริงๆ แล้วก็เป็นวันธรรมดาวันนึงนั่นแหละครับ
เพียงแต่มีกิจกรรมบางอย่างพิเศษๆ เช่น โครงการ 9 ในดวงใจ ฯลฯ

โครงการเก้าในดวงใจ คือ ????

โครงการที่ขอเชิญชวนประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์

อยากรู้ว่าคือโครงการอะไร ลองเข้าไปหาคำตอบได้ที่ http://www.9naiduangjai.com/

วันนี้มาถึงออกฟฟิตแต่เช้าก็ต้องตกใจเนื่องจากในตึกสำนักงานของผมก็มีการจัดงานนี้เช่นกัน
ทุกคนมายืนรวมตัวกันตั้งแต่ประมาณแปดโมงกว่าๆ และร่วมร้องเพลงสดุดีมหาราชากันตอน 9 โมง 9 นาที

นอกจากนี้ใน Twitter ที่ผมเล่นก็พบข้อความเกี่ยวกับ #090909 มากมาย
เพื่อนๆ ลองเข้าไปดูกันได้ที่ http://twitter.com/#search?q=%23090909
คนทั่วโลกก็ตื่นเต้นกับวันนี้เช่นเดียวกัน….

แต่ว่า….ถ้ามันเป็นวันพิเศษแล้วทำไมไม่ใช่วันหยุดหล่ะ
เป็นคำถามน่าคิดดีเหมือนกันนะครับ ผมก็ยังคงทำงานในวันนี้เหมือนทุกคนนั่นแหละ
ถึงแม้ว่าจะเป็นวันหยุด ผมก็ยังคงต้องทำงานต่อไป

ในวันที่ 09/09/09 เป็นวันพิเศษอีกอย่างนึง คือ วันจดหมายลูกโซ่ ด้วย
ทั้งวันผมจะได้รับข้อความเกี่ยวกับ 09/09/09 เยอะมากมาย เช่น

“9-9-9 (วันที่9 เดือน 9 ปี 9) หนึ่งร้อยปีมีครั้งเดียวโบราณไทยเชื่อว่าเลข 9เป็นเลขมงคล เลขแห่งความสุข ก้าวหน้า และโชคลาภ ขอให้ท่านที่อ่านข้อความนี้มีทุกอย่างตามมลคลเลข 9 ทุกประการนะครับ”

ข้อความนี้ส่งมาทั้งใน E-mail, Msn, Twitter, SMS,…..
ที่สำคัญยังบอกให้ผมส่งต่อไปอีก 9 คนด้วยนะ เออดีมีงี้ด้วย

เอาเป็นว่าเรื่อง #090909 ผมไม่ว่าอะไรใครหรอกครับ
เพราะเลขเก้าก็คือสัญลักษณ์ของความก้าวหน้า
ผมก็ขอตามกระแสด้วยการส่งความปรารถนาดีให้เพื่อนๆ ทุกคนให้ก้าวหน้าในอาชีพการงานการเรียนเช่นกัน

รับเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และห้องสมุด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (กทม.)

มีข่าวรับสมัครเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ เลือกอ่านอีกแล้วครับท่าน
ใครสนใจก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างกันเองนะ แล้วก็รีบๆ สมัครกันด้วยหล่ะ

librarian-wu

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (ผมขอตัดเอาแต่คุณสมบัติที่เกี่ยวกับเอกบรรณารักษ์นะครับ)
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์/สารสนเทศศึกษา/การจัดการสารสนเทศ
– มีประสบการณ์การทำงานด้านประชาสัมพันธ์ในสถาบันอุดมศึกษาจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
– ปฏิบัติงานประจำ ณ หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร
– มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม MS Office
– มีทักษะด้านการสื่อสารและการประสานงาน
– มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
– มีอัธยาศัยและมนุษยสัมพันธ์ดี รักงานบริการ

ตำแหน่งนี้จะได้บรรจุเป็นพนักงานสัญญาจ้างเท่านั้นนะครับ
โดยสัญญาจ้างครั้งแรกจะจ้างไว้ 2 ปี และจะต้องทดลองงาน 6 เดือนนะครับ
ส่วนการเซ็นต์สัญญาครั้งต่อไปก็จะต่ออายุไม่เกิน 4 ปีไปเรื่อยๆ ครับ

ภาระงานหลักที่ต้องทำ ก็อย่างที่ชื่อตำแหน่งกำหนดนั่นแหละครับ
เน้นประชาสัมพันธ์ กับ งานห้องสมุดเป็นหลัก แต่ก็อาจจะมีงานเสริมมาให้ทำเป็นระยะๆ

อัตราเงินเดือน 10,500 บาท/เดือน (ผมว่าค่อนข้างที่จะใช้ได้เลย)

อ๋อเกือบลืม รับสมัครถึงวันที่ 15 กันยายน 2552 เท่านั้นนะครับ
ดังนั้นคิดให้ดีๆ ครับ แล้วก็รีบตัดสินใจกันได้แล้วเพราะเหลือเวลาแค่หนึ่งอาทิตย์เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องหลักฐานการสมัคร และการสอบ
ผมอยากให้เพื่อนๆ อ่านเองมากกว่าจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบไปด้วย
ก็ตามอ่านได้ที่ http://www.wu.ac.th/2552/news/showNewsV.php?id=12818 นะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน
ถ้ามีงานที่น่าสนใจมาอีกจะรีบรายงานให้เพื่อนๆ ทราบทันทีครับ