งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ ครั้งที่ 26 พร้อมเอกสารประกอบ

งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
ชื่อหัวข้อ คือ ?รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่?

banner1

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : งานสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 26
หัวข้อ : รวมพลังสู่ความเป็นเลิศ : ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษใหม่
วันที่จัด : วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2551
สถานที่ : ห้องประชุม 1 – 301 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อเด่นๆ ที่น่าสนใจในงานสัมมนา
– ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ
– การอภิปราย เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ
– การอภิปราย เรื่อง การเทียบสมรรถนะเพื่อความเป็นเลิศ พร้อมหรือไม่ และทำอย่างไร
– ประชุมกลุ่มย่อยและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
– การอภิปรายเรื่อง มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ
– การบรรยายเรื่อง การจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
– การบรรยายเรื่อง ห้องสมุดกับการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
– การบรรยายเรื่อง การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด (Branding & Re-branding in Library)
– การอภิปราย เรื่อง มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

เอกสารการสัมมนาที่สามารถดาวน์โหลดได้มีดังนี้

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นเลิศทางวิชาการ?
โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคระกรรมการอุดมศึกษา

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

การอภิปรายเรื่อง ?เครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย : ความร่วมมือสู่ความเป็นเลิศ?
รศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี
ผู้บริหารเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

– ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านพัฒนาทรัพยากรสานิเทศ
อาจารย์ จรินทร์ คิดหมาย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตท่าพระ

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ
อาจารย์ บุญสม เล้าพูนพิทยะ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

ประชุม กลุ่มย่อย : กลุ่มคณะทำงานด้านบริการ
อาจารย์ ภาวณา เขมะรัตน์ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
รศ. อิ่มจิต เลศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสารและผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

การอภิปราย เรื่อง ?มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยกับการประเมินคุณภาพ?
นางวราภรณ์ สีหนาท ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา

การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง?การสร้างและปรับปรุงแบรนด์ห้องสมุด?
ดร.ชันนยา รอดสุทธิ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.พฐา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การอภิปรายเรื่อง ?มาตรฐานคุณภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นยังไงกันบ้างครับเอกสารต่างๆ ในการสัมมนา
ผมคิดว่ามีประโยชน์ และคุณค่าสำหรับวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดเลยทีเดียว

หลายๆ ครั้งที่มีการจัดงานสัมมนาห้องสมุด บางครั้งผมเองก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้
ก็หวังว่าจะมีเอกสารให้ได้อ่านย้อนหลังบ้าง แต่บ่อยครั้งที่มักจะไม่มีให้ดาวน์โหลด
ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ผมอยากเข้าร่วมงาน แต่ไม่สามารถไปได้
ก็ได้แต่หวังว่าผู้จัดงานจะส่งเอกสารมาให้อ่าน ซึ่งคงเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ
แต่วันนี้ฝันของผมก็ได้เป็นจริง เมื่อการสัมมนาครั้งนี้นำเอกสารประกอบการสัมมนาขึ้นบนอินเทอร์เน็ต
นับว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคงจะอยากได้เหมือนผม

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ส่งข้อมูลมาให้
ขอบคุณผู้ที่จัดงานทุกคน
ขอบคุณผู้ร่วมงานสัมมนาทุกคน
และขอบคุณผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน

สำหรับผู้จัดงานอื่นๆ ขอให้นำการสัมมนานี้ไปเป็นแบบด้วยนะครับ
เพื่อประโยชน์ต่อสังคม การแบ่งปันความรู้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีพลังมากๆ

สรุปงาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”

ผมขอนำบทสรุปจากงานสัมนนา “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
มาให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ เผื่อว่าอาจจะเกิดไอเดียดีๆ ขึ้นบ้าง

picture-001

งาน “เทคโนโลยีเว็บ 2.0 : สู่ความเป็นเลิศของห้องสมุดดิจิตอล”
จัดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 ที่สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้า

บทสรุปของงานมีดังนี้

การบรรยาย เรื่อง จาก Web 2.0 สู่ Library 2.0 เพื่อชุมชนนักสารสนเทศและผู้ใช้บริการ
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

picture-013

เกริ่นนำ
– เมื่อผู้ใช้บริการมีทางเลือกในการเข้าถึงสารสนเทศมากขึ้น บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องรู้จักและเข้าใจทางเลือกเหล่านั้น
– web2.0 คือแนวความคิดใหม่สำหรับ www ที่จะให้ผู้ใช้สามารถเขียน เปลี่ยนแปลง เผยแพร่ เนื้อหาต่างๆ ที่ต้องการได้
– หลักการแห่ง web2.0 แบ่งออกเป็น conversation, community, participation, experience, sharing

โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ?
– ในปี 2007 มีคนสืบค้นด้วย google เฉลี่ยเดือนละ 27 ร้อยล้านครั้ง ในประเทศไทยมีการใช้ google เพื่อสืบค้นถึง 96.88% แล้วก่อนหน้านี้หล่ะใช้เครื่องมืออะไรในการค้น
– การส่ง SMS ทั่วโลกมีจำนวนมากกว่าประชากรบนโลกรวมกัน
– ปัจจุบันมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวน 540,000 คำ แต่ในสมัย Shakespeare มีคำศัพท์เพียงแค่ 1 ใน 5 ของจำนวนนั้น
– ใน 1 วันมีหนังสือออกใหม่จำนวน 3,000 เล่มต่อวัน
– หนังสือพิมพ์ newyork times 1 สัปดาห์มารวมกัน จะได้คลังความรู้ที่มากกว่าความรู้ของคนในยุคที่ 18 ตั้งแต่เรียนจนตาย
– ความรู้และข่าวสารจะมีการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุก 2 ปี ดังนั้น คนที่เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อเรียนปี 2 ขึ้น ปี 3 ความรู้ที่เรียนมาก็จะเริ่มไม่ทันสมัย
– การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศเมื่อ 40 ปีก่อนใช้โทรเลข เมื่อ20 ปีก่อนใช้โทรเลข,โทรศัพท์ เมื่อ 10 ปีที่แล้วใช้อีเมล์ แล้วทุกวันนี้หล่ะ????
– สำรวจคนอเมริกาแต่งงาน 8 คู่จะต้องมี 1 คู่ที่เจอกันด้วยระบบ online
ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกเปลี่ยนไป?

ห้องสมุดในฝัน (ตามความคิดของดร.ทวีศักดิ์)
– เปิดบริการตลอดเวลา
– สะอาด เรียบร้อย
– หาหนังสือง่าย
– เงียบ บรรยากาศดี
– เดินทางสะดวก
– ใช้บริการจากที่บ้านหรือที่ทำงานได้
– google+website = ห้องสมุดแห่งโลก

ห้องสมุดไทยในปัจจุบัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึง
– ประเภทของห้องสมุด (เฉพาะ ประชาชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย)
– การลงทุนสำหรับห้องสมุด – จำนวนหนังสือ จำนวนผู้ใช้
– การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในห้องสมุด ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ การใช้ประโยชน์ ปรับแต่งได้แค่ไหน
– บางที่ซื้อระบบมาแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการระบบได้เพราะขาดบุคลากร
– ระบบบริหารจัดการในห้องสมุดมีความเหมาะสมแค่ไหน
– ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
– ห้องสมุดบางที่ไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง

ห้องสมุด 2.x คืออะไร
– ห้องสมุด2.0 = (ทรัพยากรสารสนเทศ+คน+ความไว้วางใจ) * การมีส่วนร่วม
– ก่อนเริ่ม ห้องสมุด2.0 ห้องสมุดต้องปรับรูปแบบให้มีลักษณะที่เป็น e-library ก่อน
– จะก้าวไปสู่ห้องสมุด 2.x => รักการเรียนรู้, รักการแบ่งปัน, มีใจสร้างสรรค์, รักการพัฒนา, รักในงานบริการ
– รักการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้จากเพื่อนๆ ในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อนำมาศึกษาและเปรียบเทียบกับงานของเรา
– การเลือกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์มาใช้ในวงการห้องสมุด เช่น koha, phpmylibrary, openbiblio ?
– รักการแบ่งปัน และมีใจสร้างสรรค์ เครื่องมือที่น่าสนใจในการแบ่งปันคือ wiki Blog

บทสรุปของการก้าวสู่ห้องสมุด 2.x
– เปิดใจให้กับการเปลี่ยนแปลง
– เลือกใช้เทคโนโลยีให้เป็น
– สร้างชุมชนห้องสมุด เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้บริการ

????????????????????????????????????????????????

การบรรยาย เรื่อง ทฤษฎี Long Tail กับห้องสมุดในยุค web 2.0
โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

image22

เกริ่นนำ
– Chris Anderson บก. Wired Magazine เป็นผู้เขียนทฤษฎี long tail คนแรก
– การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ไกลจากเขา แต่การเขียนบล็อกผู้อ่านจะรู้สึกว่าผู้เขียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเขา
– long tail เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด คือ สินค้าที่ได้รับความนิยม (hits) มักเป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่ แต่สินค้าที่มีคนรู้จักน้อยก็ยังมีอยู่อีกมาก และถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็จะเห็นว่ายังมีสินค้าอีกมากมาย
– สินค้าที่มีความนิยมมีจำนวน 20% แต่สินค้าที่ไม่นิยมหากนำมารวมกันก็จะได้ถึง 80% ดังนั้นเราต้องหาวิธีที่จะนำสินค้าที่ไม่นิยมออกมาแสดงให้คนอื่นๆ ได้เห็น

ตัวอย่างของ Long tail
– Netflix, Amazon จำหน่ายสินค้าแบบ Physical Goods แต่นำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Netflix, Amazon ใช้ concept ที่ว่า ?Customers who bought this also bought that??
– Itune, Rhapsody จำหน่ายสินค้าแบบ Digital Goods และนำเสนอด้วย Digital Catalogs
– Itune, Rhapsody ใช้ concept ที่ว่า ?When you lower prices, people tend to buy more?

ทฤษฎี Long tail กับงานห้องสมุด
– Tom Storey เคยสัมภาษณ์ Chris Anderson ลงในจดหมายข่าวของ OCLC
– Lorcan Dempsey ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Long tail ในหนังสือ D-Lib Magazine
– Paul Genoni เขียนเรื่อง Long tail ที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
– Lori Bowen Ayre เน้นเรื่อง Log tai ไปในแนวว่า Library Delivery 2.0

กฎของ Ranganathan นักคณิตศาสตร์ และบรรณารักษ์อาวุโส (บิดาของวงการห้องสมุด)
– Books are for use
– Every reader has his or her book
– Every book has its reader
– Save the time of the reader
– The library is a growing organism

????????????????????????????????????????????????

Workshop เรื่อง โปรแกรมสำเร็จรูป WordPress : โดนใจผู้ใช้ได้ดั่งใจบรรณารักษ์
โดยคุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ศุนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

image04

– แนะนำ wordpress.com และ wordpress.org
– วิธีการใช้งาน wordpress.org
– วิธีการสมัคร wordpress.com
– แนะนำเมนูต่างๆ ใน wordpress.com
– การเขียนเรื่องใน wordpress.com
– การปรับแต่งรูปแบบใน wordpress.com

????????????????????????

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้ไอเดียกันเยอะหรือปล่าว
เอาเป็นว่าถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็ลองถามผมได้นะครับ
ผมยินดีจะตอบเพื่อช่วยให้วงการบรรณารักษ์ของเราพัฒนา

รับสมัครเด็กเอกบรรณฝึกงาน (ได้เงินด้วย)

วันนี้น้องอะตอม (บล็อกเกอร์บรรณารักษ์หน้าใหม่ – http://atomdekzaa.exteen.com)
เอาข่าวนี้มาให้ผมช่วยประกาศ ผมอ่านแล้วก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีจึงช่วยประชาสัมพันธ์ให้

atom

เรื่องแบบเต็มๆ อ่านได้จากบล็อกของน้องอะตอมได้เลยที่
รับสมัครเพื่อนร่วมฝึกงาน(ได้เงินด้วย) – http://atomdekzaa.exteen.com/20090907/entry

สำหรับผมจะย่อให้อ่านแบบสั้นๆ แล้วกันนะครับ

เรื่องมันมีอยู่ว่าน้องอะตอมเขามาฝึกงานอยู่ที่ ห้องสมุดบ้านเซเวียร์
(วัดบ้านเซเวียร์ เป็นโบสถ์เล็กที่สังกัดอยู่กับวัดแม่พระฟาติมา)

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดระบบปิดนะครับ
ไม่เปิดให้ผู้ใช้ภายนอกเข้ามาใช้บริการด้วย

ในห้องสมุดแห่งนี้ถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพร้างมาหลายสิบปีแล้ว
ภายในประกอบด้วยหนังสือที่เรียงอยู่บนชั้นประมาณ? 6,000 เล่ม
และหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาต่างประเทศ
หนังสือเน้นไปในทางศาสนามากกว่าเนื้อหาอื่นๆ

เพื่อนๆ ลองคิดดูสิครับว่า ความรู้มากมายถูกบรรจุอยู่ในสถานที่แห่งนี้ โดยที่ไม่มีการจัดการมาสักระยะนึงแล้ว
มันน่าเสียดายมั้ยหล่ะครับ ความรู้ถูกจัดเก็บแทนที่จะนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์

ด้วยเหตุนี้น้องอะตอมจึงต้องค่อยๆ จัดการไปตั้งแต่เรื่องการจัดเรียง catalog และอีกสาระพันปัญหา

ทุกวันเสาร์จะต้องทำความสะอาดหนังสือ โดยการหยิบหนังสือจากชั้นลงมาปัดฝุ่นครับ
แล้วก็นำสำลีชุบแอลกอฮอล์มาเช็คบริเวณปกหนังสือ ตามด้วยผ้าสะอาดอีกสักที

ส่วนวันอาทิตย์ก็สบายกว่าวันเสาร์หน่อย แต่ต้องใช้ความคิดมากๆ นั้นคือ ต้อง catalog
โดยง่ายๆ ครับก็ copy catalog จาก library of congress ก็พอไหว

เข้าเรื่องดีกว่า สรุปว่าน้องอะตอมต้องการหาเพื่อนมาร่วมกันฝึกงานตามที่เล่าไว้ด้านบน
อ๋อ ลืมบอกไปขอเพศชายนะ เพราะว่าจะได้เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก เพราะบางวันอาจจะเลิกดึก

งานที่ทำก็ไม่เกินวันละ 6 ชั่วโมงหรอกครับ
มีค่าขนมด้วยนะชั่วโมงละ 40 บาท ทำเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น

ถ้าน้องๆ เอกบรรณคนไหนสนใจ ก็ส่งเมล์มาที่ atom.naruk@hotmail.com
โดยแนบไฟล์(word 2003-2007) ประวัติส่วนตัวมาละกัน
รายละเอียด รูปถ่าย ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น อายุ สถานที่เรียน สาขา รหัสประจำตัวนิสิตนักศึกษา
ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ อีเมล์ และอะไรก็ได้ที่อยากจะให้เรารู้อ่ะ
และบทความ “ทำไมถึงสนใจในงานนี้”

อ๋อ ปิดรับสมัคร 25 กันยายน 2552

ก่อนจากกันขอฝากประโยคเดียวกับน้องเค้าแล้วกันนะครับว่า
“งานมีเยอะ อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกทำไหม แค่นั่นเอง”

ลงชื่อเข้าร่วมงาน Libcamp#3 ได้แล้วที่นี่

ตอนนี้งาน Libcamp#3 พร้อมทุกอย่างแล้วครับ ทั้งเรื่อง ธีมงาน แผนงาน วันเวลา สถานที่
ตอนนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์อย่างเต็มตัวบ้าง และถ้าเพื่อนๆ คนไหนส่งใจก็แจ้งมาที่ผมได้เช่นเดิมครับ

logo-libcamp3

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน Libcamp#3
ชื่องานอย่างเป็นทางการ : โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3
ธีมของงาน : ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมทและบรรณารักษ์ (Volunteer and Librarian Network)
ชื่องานอย่างไม่เป็นทางการ : Libcamp#3
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 กันยายน 2552?? เวลา 9.30 – 16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดเสริมปัญญา 1346 ถนนอาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ

อย่างที่เพื่อนๆ ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นจากด้านบน และเพื่อนๆ บางคนคงอ่าน “ร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3
ธีมของการจัดงานในครั้งนี้ผมขอเปิดประเด็นและให้โอกาสกับกลุ่มคนภายนอกห้องสมุดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด
เพราะว่าผมเชื่อว่าในโลกยุคปัจจุบันอาชีพทุกอาชีพจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ยิ่งเรื่องของห้องสมุดเป็นเรื่องที่สาธารณะตระหนักถึงความสำคัญเท่าไหร่
บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดจะสำคัญและได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้นด้วย

อาสาสมัครหลายๆ คนที่อยากพัฒนาห้องสมุด แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของห้องสมุด
ก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการงานห้องสมุดด้วย

ดังนั้นงานนี้ผมว่า ทั้งอาสาสมัคร บรรณารักษ์ และบุคคลที่เข้าร่วมในงานนี้
จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสังคมไทยได้นะครับ

ผมขอแนะนำกำหนดการของงาน Libcamp#3 ก่อนดีกว่า
09.00 – 9.30 น.?????????? ลงทะเบียน + รับเอกสารประกอบการบรรยาย
09.30 – 10.00 น.???????? เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น.???????? สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น.??????? พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น.??????? แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น.??????? ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น.??????? พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น.??????? ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น.??????? เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา

(หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

ถึงแม้ว่างาน libcamp ครั้งนี้จะใช้เวลามากกว่า libcamp ครั้งก่อนๆ (ปกติจะจัดแค่ครึ่งวัน)
แต่การจัดงานในครั้งนี้จะสังเกตว่ามีทั้งหัวข้อแบบบรรยาย แบบความคิดเห็น รวมถึงการดูงานในสถานที่จริง

เป็นไงกันบ้างครับกับวัน เวลา สถานที่ กำหนดการ เพื่อนๆ ว่าสมบูรณ์หรือยัง
อ๋อ ลืมบอกไปอีกอย่าง ก็เหมือนกับทุกครั้งนั่นแหละครับ งานนี้ ฟรี ครับ

สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมงานนี้ กรุณาส่งเมลล์แจ้งความประสงค์ของคุณมาที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ
กรุณาบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน ของคุณมาด้วยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

หลังจากจบงาน Libcamp#2 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม 2552)
ทางทีมงานผู้ร่วมจัดงานได้มีแผนงานต่อเนื่องของงาน Libcamp
จึงขอร่างและเตรียมจัดงาน Libcamp#3 ต่อเลยในเดือนกันยายน 2552

libcamp3

วันนี้ผมขอนำร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3 มาให้เพื่อนๆ อ่านก่อน
เผื่อว่าจะได้ตัดสินใจว่าจะมาหรือไม่มาตั้งแต่เนิ่นๆ (ขอประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ายาวกว่า 2 ครั้งที่จัดมา)

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

1.??? ความเป็นมา
ห้องสมุดยุคใหม่ มีการปรับตัวตามปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้ห้อง สมุดเปลี่ยนไป ซึ่งห้องสมุดปัจจุบันสามารถเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัย ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การให้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความสามารถในการบริการและการจัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างเครือข่ายทางสังคมของบรรณารักษ์ เพื่อรองรับกับรูปแบบของห้องสมุดในอนาคต อาทิ ห้องสมุดดิจิทัล

ดังนั้นโครงการนักอ่านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ บ้านจิตอาสา จึงร่วมกับเครือข่ายด้านห้องสมุด จัดการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพให้กับอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม และบรรณารักษ์ ในการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์ โดยใช้ชื่องานว่า Libcamp ซึ่งได้จัดไปแล้วสองครั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุม อุทยานการเรียนรู้ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล (ตัวอย่างงาน Libcamp#1 : http://www.libraryhub.in.th/2009/05/07/gallery-for-libcamp1/) และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552 ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.??? วัตถุประสงค์โครงการ
2.1??? เพื่อให้อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมเข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด
2.2??? เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างเครือข่ายบรรณารักษ์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.3??? เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมกับบุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษ์


3.??? ผู้รับผิดชอบโครงการ

3.1??? โครงการนักอ่านจิตอาสา
3.2??? ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ libraryhub.in.th
3.3??? แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4.??? การดำเนินการ
การสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ Libcamp ในครั้งที่สาม จะมีประเด็นหลักในการอภิปราย คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม กับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดให้เข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด เช่น หลักการพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมในห้องสมุด และการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลนอกวิชาชีพห้องสมุดกับบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาสาสมัครและคนทำงานด้านห้องสมุดจะสามารถพัฒนาและ นำไปใช้ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เข้าถึงผู้ใช้ในยุคสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมายของงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

5.??? กลุ่มเป้าหมาย
1. อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม
2. บรรณารักษ์
3.ผู้สนใจทั่วไป

6.??? รูปแบบการสัมมนา
จะเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ หรืออสัมมนา (Unconference) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้นำเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งสามารถเสนอหัวข้อทั้งก่อนวันงานและในวันงานได้ หลังจากการนำเสนอของแต่ละคนจะมีเวลาให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม

7.??? ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1??? เกิดเครือข่ายในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์
7.2??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการจัดการความรู้ระหว่างบรรณารักษ์
7.3??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการให้บริการผู้ใช้

โครงการนี้ผมขอนำต้นฉบับจากงาน Libcamp#2 ที่เขียนโดย แผนงาน ICT สสส.
มาเขียนใหม่และปรับรูปแบบใหม่ รวมถึงการตรวจสอบและแก้ไขโดยทีมงานจากโครงการนักอ่านจิตอาสา

เมื่อ fail whale มาอยู่ในห้องสมุด

ภาพที่ท่านจะได้เห็นต่อไปนี้ หลายๆ คนคงจะบอกว่ามันคุ้นๆ นะ
ครับ คุ้นๆ ว่าเป็นสัญลักษณ์ Fail whale แห่ง Twitter นั่นเอง

fail-whale-library

สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่เข้าใจว่า twitter คืออะไร
ลองย้อนกลับไปอ่านในเรื่อง “Twitter + Librarian = Twitterian” นะครับ

คนที่เล่น Twitter ประจำเมื่อเห็นภาพนี้คงรู้ว่านั่นหมายความว่า
Twitter ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราวนั่นเอง หรือพูดง่ายๆ ว่ากำลังเดี้ยง

fail_whale-copy

แต่ภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ มันเป็นภาพ fail whale ที่ติดอยู่ภายในห้องสมุดอ่ะครับ
แถมด้วยข้อความภาษาอังกฤษอีกสักประโยคใหญ่ๆ ว่า

“We?re really sorry about the lack of tables & Chairs! We hope that things will be back to normal by about 3pm today”

เอางี้ดีกว่าผมขอแปลเป็นภาษาไทยให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน มันแปลว่า

“พวกเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ตอนนี้โต๊ะและเก้าอี้มีผู้ใช้งานเต็มจำนวนไม่เหบลือที่ให้คุณนั่ง พวกเราหวังว่าเก้าอี้และโต๊ะจะให้บริการได้ตามปกติในช่วงบ่ายสามโมงของวันนี้นะครับ”

พอได้อ่านก็เลยแอบขำอยู่นิดๆ ว่า บรรณารักษ์ที่นี่ต้องเป็นคนติด twitter ระดับนึงแน่ๆ
ถึงได้กล้าเล่นมุขนี้ในห้องสมุดของตัวเอง แต่ยอมรับเลยครับว่าเยี่ยมจริงๆ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะลองเอาไอเดียนี้ไปติดที่ห้องสมุดของผมบ้างนะครับ
ผู้ใช้ก็คงจะงงกันไปตามๆ กัน อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/timothygreigdotcom/2643190467/

มาสมัครเป็นบรรณารักษ์โรงเรียนนานาชาติกันเถอะ

ผมไม่ได้แนะนำงานบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่านมาเกือบเดือนแล้วนะครับ
วันนี้ผมมีตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆ พิจารณาอีกแล้วครับท่าน

librarian

ตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่ผมจะแนะนำนี้ เป็นบรรณารักษ์ประจำโรงเรียนนานาชาติ
(โรงเรียนนานาชาติ Traill International School)

คุณสมบัติทั่วไปของตำแหน่งนี้
– จบสาขาบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีประสบการณ์ทำงานด้านห้องสมุด และบรรณารักษ์ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
– สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี

การทำงานเป็นบรรณารักษ์ในโรงเรียนนานาชาติผมว่าเป็นโอกาสที่ดีนะครับ
นอกจากจะได้รายได้ที่ดีกว่าแล้ว ยังมีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารด้วย

ดังนั้นผมขอแนะนำว่าถ้าใครที่ไม่ชอบภาษาอังกฤษเลยก็อย่าสมัครเลยนะครับ
เพราะไม่งั้นคุณจะทำงานด้วยความอึดอัดใจ จนคุณต้องออกจากงานแน่ๆ

หากเพื่อนๆ สนใจตำแหน่งนี้ ก็ให้เขียน CV และ Resume เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นแล้วส่งมาที่
Mr. David Cox (wpr@traillschool.ac.th) นะครับ

ที่อยู่ของ Traill International School
43 ซอยรามคำแหง 16, หัวหมาก, กรุงเทพฯ 10240
43 Soi Ramkhamhaeng 16, Huamark, Bangkok 10240
เบอร์โทรศัพท์ / Tel : 0-2718-8779

ผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีกันทุกคนนะครับ

มาดูตัวอย่างการออกแบบห้องสมุดขั้นเทพกันเถอะ

วันนี้ขอเล่าเรื่องการออกแบบอาคารห้องสมุดกันหน่อยดีกว่า
เพราะว่าเรื่องของสภาพทางกายภาพก็มีส่วนในการดึงดูดให้ผู้ใช้ให้ความสนใจห้องสมุดเหมือนกัน
(เพียงแต่ในเมืองไทย บรรณารักษ์อย่างเราไม่ค่อยมีบทบาทในการช่วยสถาปนิกออกแบบ)

library-design

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสถาปัตย์ก็พอจะรู้ว่า
คนกลุ่มนี้พยายามจะศึกษาเรื่องการออกแบบห้องสมุดกันมากมาย
เช่น บางคนเอาเรื่องการออกแบบห้องสมุดไปทำเป็นโปรเจ๊คซ์เรียนจบเลยก็ว่าได้

ถามว่าการออกแบบห้องสมุดต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง (นอกจากเรื่องของเงิน)
– ต้องมีรูปแบบใหม่ ?
– ต้องทันสมัย ?
– ต้องหรูหรา ?

เอาเป็นว่าสิ่งที่กล่าวมา ผมมองว่าไม่ได้ถูกต้องเสมอไปหรอกนะครับ

สิ่งสำคัญที่ทำให้อาคารห้องสมุดมีความสมบูรณ์ คือ
ต้องออกแบบเพื่อรองรับกับงานบริการผู้ใช้ และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆ กันด้วย

ตัวอย่างเรื่องหลายๆ เรื่องที่ต้องลงรายละเอียดในการออกแบบอาคารห้องสมุด
– การออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุด เช่น การจัดเรียงหนังสือ ความสูงของชั้นหนังสือ ฯลฯ
– การจัดพื้นที่ในการให้บริการต่างๆ เช่น โซนที่ต้องการความเงียบ โซนเด็ก โซนมัลติมีเดีย ฯลฯ
– สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ อาคารห้องสมุด เช่น ติดถนนมีเสียงดังหรือปล่าว????

แต่ขอบอกก่อนนะครับว่ารูปที่ผมจะนำมาให้ดูนี้ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างโครงสร้างอาคารห้องสมุดแบบสวยๆ เท่านั้น
แต่การใช้งานจริงด้านในผมก็ยังไม่เคยไปนะครับ เอาเป็นว่าไม่ขอวิจารณ์ฟังค์ชั่นการทำงานด้านในแล้วกัน

(ดูให้เห็นว่าสวยนะ อิอิ)

งั้นเราไปดูตัวอย่างการออกแบบกันสักนิดนะครับ

ภาพแรก โครงสร้างและการออกแบบ The Seattle Public Library

librarydesign1

ภาพที่สอง โครงสร้างและการออกแบบ Woodschool

librarydesign2

ภาพที่สาม โครงสร้างและการออกแบบ The Consortium Library (University of Alaska Anchorage)

librarydesign3

ภาพที่สี่ โครงสร้างและการออกแบบ Philadelphia?s Parkway Central Library

librarydesign4

เป็นยังไงกันบ้างครับกับตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างห้องสมุดทั้ง 4 ที่
หากเพื่อนๆ ยังไม่จุใจในการดู เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเรื่องการอ่านออกแบบห้องสมุดได้จากเรื่อง
Brilliantly Bookish: 15 Dazzling Library Designs

สุดท้ายนี้หวังว่าสถาปนิกเมืองไทยคงจะมีแนวทางในการออกแบบห้องสมุดแบบสวยๆ กันบ้างนะครับ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้นั่นก็คือ ไม่ว่าห้องสมุดจะหน้าตาแบบใด
การบริการของบรรณารักษ์ก็ยังคงต้อง service mind ต่อไปนะครับ

ที่มาของรูป และที่มาของแรงบันดาลใจในการเขียน
http://www.weburbanist.com

ประมวลภาพงาน LibCamp#2

ก่อนจะประมวลภาพ Libcamp#2 ผมคงต้องขอขอบคุณแหล่งภาพจากทีมงานของ สสส. นะครับ

gallery-libcamp

สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้อ่านบทสรุปของงานนี้
เพื่อนๆ ก็สามารถหาอ่านได้ตามนี้เลยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#2
LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง
LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ
Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก
Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับคนที่อ่านจบแล้วก็มาดูรูปกันเลยดีกว่านะครับ
http://www.flickr.com/photos/guopai/sets/72157621876757181/

ภาพบางส่วนจากอัลบั้มงาน Libcamp#2

ป้ายของงาน Libcamp#2

libcamp20

ภาพผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด

libcamp21

ภาพบรรยากาศในงาน 1

libcamp21-2

ภาพบรรยากาศในงาน 2

libcamp21-3

ภาพบรรยากาศในงาน 3

libcamp21-4

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ผมต้องขอขอบคุณบุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้
– แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สสส.
– ห้องสมุดสตางค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– วิทยากรผู้ให้ความรู้ทุกท่าน
– ผู้เข้าร่วมงาน LibCamp ทุกคน

แล้วรอติดตามงาน Libcamp#3 เร็วๆ นี้นะครับ

Libcamp#2 : เปิดประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ในช่วงหนึ่งชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดงาน Libcamp#2 ทางทีมงานได้เปิดหัวข้อ Open session ให้
ซึ่งเป็นหัวข้อที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมงานนำเสนอไอเดียใหม่ๆ และไอเดียที่น่าสนใจสำหรับวงการห้องสมุด

libcamp-open-session

ซึ่งผลจากการเปิดหัวข้อในครั้งนี้เราได้ข้อมูลต่างๆ มากมาย ซึ่งสรุปออกมาได้หลายประเด็นดังนี้

1. แนะนำโครงการห้องสมุดดิจิทัล โดย คุณชิตพงษ์? กิตตินราดร
ตอนนี้โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ ได้มีการดำเนินการมาในระยะหนึ่งแล้ว
โดยแผนงานไอซีที ของ สสส. จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน และผลักดันให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายต่างๆ
เพื่อนำไปสู่การร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลฯ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังคม
โครงการนี้ก็หวังว่าจะเป็นโยชน์ต่อสังคมในแง่ของการให้ความรู้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก และเยาวชนบนโลกออนไลน์

2. Arnarai.in.th: คุณกำลังอ่านหนังสืออะไรอยู่ โดย คุณวรัทธน์? วงศ์มณีกิจ
แนะนำเว็บไซต์ “อ่านอะไร” บล็อกก็คือที่ปล่อยของ ในที่นี้หมายถึงหนังสือนะครับ
แรงบันดาลใจในการทำเว็บๆ นี้ คือ “เด็กไทยอ่านหนังสือวันละ 6 บรรทัด”
นี่เป็นสิ่งน่าคิดมากว่าแล้วเราจะทำยังไงให้มีการอ่านเพิ่มมากขึ้น
จึงได้จับเอาหนังสือมาผนวกกับแนวความคิดของเว็บ 2.0 จึงทำให้ได้เว็บนี้ออกมา

arnarai

ลองเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ที่ http://www.arnarai.in.th/

นอกจากสองประเด็นใหญ่นี้แล้ว ทางทีมงานยังได้รับคำถามต่างๆ เกี่ยวกับงาน Libcamp ในครั้งหน้าด้วย เช่น
– อยากให้งาน LibCamp มีการฝึกปฏิบัติ หรือ workshop กันด้วย
– อยากให้งาน LibCamp จัดงานหมุนเวียนไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ บ้าง
– อยากให้งาน LibCamp ไปจัดในต่างจังหวัดด้วยเช่นกัน

เอาเป็นว่าในงานนี้ทุกคนต่างก็ได้รับความรู้ไปใช้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ทางทีมงานและผู้จัดงานทุกคนต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ได้ติดตามงาน Libcamp มาอย่างต่อเนื่องครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ