Libcamp#2 : เครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก

วิทยากรที่ดูแลในช่วงนี้ คือ อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ จาก สวทช.
ซึ่งมาพูดในหัวข้อเกี่ยวกับเครื่องมือและมาตรฐานในการเขียนบล็อก นั่นเอง

libcamp-wp-elgg

อาจารย์บุญเลิศ ได้แนะนำการทำบล็อกห้องสมุดด้วยเครื่องมือต่างๆ
โดยถ้าเน้นระบบสำเร็จรูปที่รองรับมาตรฐานการใช้บล็อก และดูแลง่ายไม่ซับซ้อน ก็ให้ใช้ WordPress
แต่ถ้าต้องการความซับซ้อน และทำเว็บไซต์ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบเครือข่ายสังคม (Social Network) ก็ให้ใช้ elgg ดีกว่า


ใช้ Blog เป็นเครื่องมือทำอะไรได้บ้าง


1. Blog สามารถสร้างเว็บห้องสมุดได้

ศักยภาพของ Blog นอกจากจะมีไว้เขียน Blog ปกติแล้วยังสามารถทำให้ Blog ให้กลายเป็นเว็บห้องสมุด
เช่น การผูก CMS มาตรฐานเข้ากับระบบ OPAC ที่ใช้งานได้ฟรี ทำให้ได้เว็บห้องสมุดที่มีคุณสมบัติมาตรฐานพร้อมใช้งาน
ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้ง่าย ประหยัดทั้งงบประมาณ และระยะเวลาในการสร้างระบบเว็บห้องสมุด


2. Blog รองรับการสร้างรายการบรรณานุกรมออนไลน์โดยอัตโนมัติ

ระบบ CMS มาตรฐานที่แนะนำให้บรรณารักษ์เลือกใช้การสร้างระบบห้องสมุดเหล่านี้
สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ปลายทาง ที่ต้องการสร้างรายการบรรณานุกรมอ้างอิง จากข้อมูลในเว็บโดยอัตโนมัติ
โดยผู้ใช้ปลายทางต้องใช้โปรแกรมช่วยสร้างรายการบรรณานุกรมอย่าง Zotero (http://www.zotero.org/)
โดยระบบ CMS มาตรฐานดังกล่าวจะส่งข้อมูล metadata ที่ Zotero ต้องการ
ทำให้ผู้ใช้งานได้รับรายการบรรณานุกรมที่มีข้อมูลสมบูรณ์พร้อมใช้


3. Blog เป็นเครื่องมือสร้าง Community Online และการจัดการความรู้ขององค์กร

หลักของการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กร
เราก็สามารถนำ Blog มาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ แลฃะสร้างชุมชนออนไลน์ในองค์กรได้

4. Blog ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเว็บของเราเจอได้ง่ายขึ้น โดยผ่าน search engine
การทำบล็อกที่ดีจะทำให้เนื้อหาของเราถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้นผ่าน search engine ด้วย
โดยหลักการแล้วจะเรียกว่าเป็นการทำ SEO ? Search Engine Optimization ก็ว่าได้
โดยเพื่อนๆ ก็ต้องใส่ข้อมูลให้ครบเวลาจะสร้างเนื้อหา เช่น หัวเรื่อง, ชื่อคนแต่ง, แท็ก, คำโปรย เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นเจอ


5. Blog มีระบบ CMS มาตรฐานทำให้ผู้ใช้ปลายทาง มีทางเลือกมากขึ้นในการรับข้อมูลผ่าน feed

การสร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วยการดึงข้อมูลจากบล็อกของเราไปแสดง หีอที่เรียกว่า feed
เราสามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือโปรแกรมที่ติดตั้งบน Desktop ของผู้ใช้เอง
หรืออีกวิธีคือการส่ง feed ของเราไปยัง twitter โดยอัตโนมัติเมื่อมีการอัปเดตเนื้อหาในเว็บ
ซึ่งก็ถือว่าเป็นช่องทางในการเผยแพร่เนื้อหาเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง


6. ระบบ CMS มาตรฐาน มีระบบการวัดสถิติผู้เข้าชม (Stat)

ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี คือ ทำให้ผู้บริหารเว็บสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ได้

นอกจากนี้ อาจารย์บุญเลิศยังได้ให้ แนวคิดในการบริหารจัดการเว็บห้องสมุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ปลายทาง เช่น
– การกำหนดเป้าหมาย และทิศทางการทำงานขององค์กร เช่น การเป็นห้องสมุดเชิงรุกที่ใช้งบน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย
– การกระตุ้นให้สมาชิกของหน่วยงานเขียนบล็อกเป็นประจำ
– การกำหนดมาตรฐานการใส่ข้อมูล เช่นการใส่คำโปรย 1-2 บรรทัดที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องที่เขียน และการกรอก metadata เช่น tag ให้ครบถ้วน

นับว่าเป็นช่วงที่ได้รับความรู้ และวิธีการต่อยอดจากการทำบล็อกแบบธรรมดา
ให้กลายเป็นบล็อกที่มียอดความนิยมเลยก็ว่าได้นะครับ

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : แอบดูบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณวงศ์ต้น เบ็ญจพงษ์ บรรณารักษ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ซึ่งมาพูดเรื่อง อัปเดทสถานการณ์บล็อกห้องสมุดในต่างประเทศ

inter-library-blog

ซึ่งเริ่มจากการเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องของบล็อกมากมาย เช่น

บล็อกไม่ได้ไร้สาระเหมือนที่หลายๆ คนกำลังคิด….
บล็อกก็ไม่ใช่ของคนรุ่นใหม่อย่างเดียว
มีบล็อกได้ง่ายๆ ฟรี… ไม่ต้องเสียเงิน
ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม ก็มีบล็อกได้

จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราวว่าบล็อกห้องสมุดในต่างประเทศมี 4 ลักษณะที่น่าสนใจ คือ

1. Blog เพื่อองค์กร
– ใช้บล็อกเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ทัศนคติของคนในองค์กร
และทำให้คนใช้ห้องสมุด มีทัศนคติกับห้องสมุดดีขึ้น โดยเฉพาะเยาวชนที่จะมีแนวโน้มเข้าห้องสมุดน้อยลง

ตัวอย่าง Blog เพื่อองค์กร เช่น
http://www.loc.gov/blog/
http://www.worldcat.org/blogs/
http://www.nypl.org/blog

2. Blog เพื่อข่าวสาร
– ใช้บล็อกเพื่ออับเดทสถานการณ์ และข่าวสารต่างๆ ในวงการห้องสมุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อข่าวสาร เช่น
http://lisnews.org/
http://liswire.com

3. Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย
– ใช้บล็อกเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ
โดยทั่วไปจะมาจากกลุ่มเล็กๆ และขยายขึ้นจนกลายเป็นกลุ่มใหญ่ในที่สุด

ตัวอย่าง Blog เพื่อการสร้างเครือข่าย เช่น
http://www.socialnetworkinglibrarian.com/
http://litablog.org/

4. Blog เพื่อสร้างความรู้ / เผยแพร่ความรู้
– ความรู้จะได้รับการต่อยอด เพราะเกิดจากการเปิดเผยความรู้
เมื่อมี Blog ทุกอย่างจะตามมา

ตัวอย่าง Blog เพื่อสร้างความรู้ เช่น
http://lonewolflibrarian.wordpress.com/
http://tametheweb.com

ก่อนจบคุณวงศ์ต้นได้กล่าวถึงเรื่องประโยชน์ของการใช้บล็อกว่า
จากการสร้างบล็อกเล็กๆ เพียง 1 บล็อก เมื่อมีการรวมกลุ่มและจับกลุ่มกันก็จะทำให้เกิดเครือข่าย
เมื่อมีเครือข่ายก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันจนกลายเป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่
ซึ่งก็จะทำให้วิชาชีพมีคลังความรู้ และสามารถพัฒนาวงการห้องสมุดต่อไปในอนาคตได้

นับว่าเป็นประโยชน์มากเลยนะครับกับเรื่องการต่อยอดความรู้
ผมเองก็ตกใจมากเลยไม่คิดว่าเพียงแค่บล็อกเล็กๆ ก็สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ขนาดใหญ่
(ก็คงเหมือน Libraryhub ใรวันนี้ที่ต้องรอเวลาจนกลายจะมีความรู้ขนาดมหาศาลหล่ะมั้ง)

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

LibCamp#2 : เสวนาชวน Blogger มาเล่าสู่กันฟัง

วิทยากรที่ร่วมเสวนาใน session นี้ ประกอบด้วย
1. คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย บรรณารักษ์ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข (http://janghuman.wordpress.com)
2. อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ ห้องสมุดกรมการแพทย์ (http://stks.or.th/wg/dmslib)
3. คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ บรรณารักษ์ ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์จดหมายเหตุ วุฒิสภา (http://senatelibrary.wordpress.com)

libcamp2-blogger-team

ซึ่งประเด็นที่ได้จากการเสวนาในช่วงนี้ คือ

คุณอภิชัย อารยะเจริญชัย
จุดประสงค์ในการเขียนบล็อกจริงๆ แล้ว มองว่า Blog เป็นเสมือนโลกส่วนตัวอีกโลกหนึ่ง
ในโลกเสมือนใบนี้เราเขียนในเรื่องที่อยากเขียน และเล่าในเรื่องที่อยากเล่าได้อย่างเต็มที่
โดยการเขียนบล็อก เราจะต้องเลือกเนื้อหาหรือเลือกประเด็นที่คนอยากรู้มากๆ มาเขียน
ซึ่งคุณอภิชัยเองก็บอกว่ามีความถนัดในการหาข้อมูลและเรียบเรียงอยู่แล้ว
เพียงแต่ในการเขียนจะต้องอาศัยแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อใช้ในการอ้างอิงด้วย

อาจารย์สุวรรณ สัมฤทธิ์ ใช้บล็อกเพื่อส่งเสริมงานห้องสมุด
นอกจากนี้ยังได้นำเสนอสไลด์ เรื่อง “ห้องสมุดกรมการแพทย์บนสังคมออนไลน์” ด้วย
ซึ่งภายในสไลด์ได้กล่าวถึงบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ว่า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้บริการ free fulltext thai article Journals
ส่วนที่ 2 ข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์
ส่วนที่ 3 วีดิโอจากเว็บไซต์ Youtube

นอกจากนี้อาจารย์สุวรรณ ยังได้แนะนำบล็อกของห้องสมุดกรมการแพทย์ และการประเมินผลบล็อกของตัวเองด้วย
นับว่านอกจากสาระที่ได้จากเรื่องของบล็อกแล้ว ยังทำให้ผมรู้ว่าห้องสมุดควรมีเนื้อหาที่เด่นเฉพาะด้านเหมือนกัน

เทคนิคการเขียน Blog (อาจารย์สุวรรณแนะนำมา)

– เขียนแนวที่ตนเองถนัด คือวิชาการ แนวสุขภาพ
– ยึดหลักเชื่อ กับเปลี่ยนของโอบามา, การเพิ่มคุณค่าให้เอกสาร, การเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
– ใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น youtube, ภาพ และการเล่าเรื่อง
– ให้คำ search เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

คุณแสงเดือน ผ่องพุฒ ได้เล่าเกี่ยวกับเรื่องแผนส่งเสริมกลยุทธ์การใช้ห้องสมุด ด้วยการใช้บล็อก ดังนี้
– มีการประชาสัมพันธ์ ลักษณะการเล่าให้ฟัง
– เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้ใช้เข้าร่วมกิจกรรมของห้องสมุด
– เป็นที่รวบรวม และเป็นกลุ่มของเนื้อหาในห้องสมุดที่เป็นดิจิทัล
– เพื่อบริการ และให้คำปรึกษาการใช้งานห้องสมุดกับผู้ใช้

ฟังวิทยากรทั้งสามได้เล่าถึงประสบการณ์ในเรื่องของบล็อกห้องสมุดแล้ว
นอกเวทีก็มีคนเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น

คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร ในฐานะอาจารย์พิเศษ อินเทอร์เน็ตเพื่อการประชาสัมพันธ์ ม.ธรรมศาสตร์
ได้กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันเป็นโอกาสที่ดีมากที่ห้องสมุดจะใช้ Blog ในการเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์
เพราะหกปีก่อนที่จะมี Blog การประชาสัมพันธ์จะต้องผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ ที่ใช้เวลา และงบประมาณสูงกว่า

คุณสมปอง บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร (http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/)
ได้เล่าว่า เริ่มต้นเขียน Blog จากการทำ KM ของหน่วยงาน โดยใช้เว็บไซต์ gotoknow
แล้วจึงทำบล็อกที่เป็นหน่วยงานของตัวเอง เขียนบล็อกเอาไว้ระบาย และเล่าเรื่องราวต่างๆ
ซึ่งในการสร้าง Blog สร้างง่ายแต่เขียนยาก หน่วยงานต้องใช้เวลาเป็นปีในการสร้างคนเพื่อเขียนบล็อก

เอาเป็นว่าทั้งในและนอกเวทีต่างแชร์ประสบการณ์ร่วมกันแบบนี้
ผมว่านี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยวงการห้องสมุดของเราก็เริ่มจะมีแนวโน้มที่ดีต่อการให้บริการในอนาคตแล้ว

ขอบคุณภาพประกอบและบทสรุปของงานจากทีมงาน สสส. ด้วยนะครับ

อบรมการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้

000 100 200 300 …. เมื่อเห็นตัวเลขเหล่านี้ บวกกับชื่อเรื่อง
หวังว่าเพื่อนๆ คงเดาได้ว่าผมจะเกริ่นเกี่ยวกับเรื่องอะไรนะครับ

dewey

ถูกต้องครับ…เรื่องที่ผมจะเกริ่นวันนี้ก็ คือ การอบรมหลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey)

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้
ชื่อการอบรม : การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
วันที่จัด : 12 – 17 ตุลาคม 2552
สถานที่จัด : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ชั้น 4
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

การอบรมในครั้งนี้จะเน้นการอบรมในเรืองของการให้เลขหมู่แบบดิวอี้เป็นหลัก
ซึ่งในการให้เลขหมู่แบบดิวอี้ เพื่อนๆ จำเป็นต้องรู้จักตารางเลขประกอบด้วย
รวมถึงวิธีการให้หัวเรื่องที่ถูกต้องและชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อการสืบค้น

จริงๆ อยากจะบอกว่าหลักสูตรนี้ สำหรับเพื่อนๆ ที่เรียนวิชาเอกบรรณฯมาตอนปริญญาตรี
การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ต้องใช้เวลาเรียนกันเป็นเทอมเลยก็ว่าได้
แต่หลักสูตรนี้จะช่วยเร่งลัดให้เพื่อนๆ ได้เพียง 5 วันเท่านั้นก็จะเข้าใจได้ทั้งหมด

หัวข้อที่เพื่อนๆ ต้องเจอตอนอบรมมีดังนี้
– หลักการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
– การใช้ตารางประกอบ
– การแบ่งหมู่แยกตามหมวดต่างๆ
– การกำหนดหัวเรื่อง
– การทำรายการ

วิทยากรสำหรับการอบรมครั้งนี้ คือ รองศาสตราจารย์ พวา พันธุ์เมฆา
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหมวดหมู่และการให้หัวเรื่องภาษาไทยครับ

การอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 4,000 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 4,300 บาทครับ
ราคานี้รวมค่าเอกสาร อาหารว่าง 2 มื้อ และอาหารกลางวัน? 1 มื้อ / วันนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
http://www.tla.or.th

โปรโมทห้องสมุดใน Facebook ดีกว่า

ช่วงนี้กระแสการใช้งาน facebook กำลังมาแรงครับ
เท่าที่ผมสังเกตมีคนใช้งานfacebook ในเมืองไทยมากขึ้น
ดังนั้นห้องสมุดของพวกเราก็อย่าน้อยหน้ากันนะครับ เอาห้องสมุดของคุณไปอยู่ใน facebook กันเถอะ

library-facebook

การสร้าง account facebook มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ…เราจะเอาข้อมูลห้องสมุดอะไรไปใส่ใน facebook บ้างหล่ะ???

วันนี้ผมไปอ่านเรื่องนึงมา เห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นนี้พอดี เลยเอามาให้อ่านกันครับ ชื่อเรื่องว่า
10 Great Things to Include on Your Library?s Facebook Fan Page

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงข้อมูล 10 อย่างที่ควรจะอยู่ในหน้า Facebook
เราลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

ข้อมูล 10 อย่างที่เราควรเอาลงใน Facebook มีดังนี้

1. photos of your library.
รูปของห้องสมุดคุณ (อันนี้คงไม่ยากครับ ถ่ายมุมสวยๆ สัก 10 รูปกำลังดี)

photo-fb

2. a library video tour or other promotional videos.
วีดีโอแนะนำห้องสมุดของคุณ (อันนี้อาจจะยากสักนิดในการถ่ายวีดีโอ แต่ถ้ามีผมว่าน่าสนใจครับ)

3. a calendar of library events.
ปฏิทินกิจกรรมของห้องสมุดคุณ (พยายามอัพเดทตลอดนะครับ คนเข้ามาจะได้รู้ว่าเรา ตั้งใจทำ)

4. a rss feed of your library blog.
feed ข้อมูลของเนื้อหาบนเว็บของคุณมาที่นี่ด้วยก็จะดีมากเลย

5. information about how to contact your library.
อันนี้ลืมไม่ได้เลยนะครับ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ เว็บไซต์? ฯลฯ

6. library hours
วันเวลาที่ให้บริการของห้องสมุด ข้อมูลนี้จำเป็นจริงๆ นะครับ เพราะว่าเผื่อผู้ใช้อยากจะมาห้องสมุดจะได้เช็คเวลาก่อนว่าปิด หรือ เปิด

7. lib guides widget
เครื่องมือแนะนำการใช้งานห้องสมุด (อันนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดมากขึ้นนะครับ)

8. a survey for your patrons to answer about your library.
แบบสำรวจการใช้งาน หรือแบบสำรวจอื่นๆ ที่ห้องสมุดต้องการทำสำรวจ (แนะนำว่าไม่ต้องสำรวจเยอะนะ)

9. information about new book arrivals

แนะนำหนังสือมาใหม่ อันนี้จะทำให้ผู้ใช้อัพเดทและรู้ว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่เล่มไหนบ้าง

10. links to popular library databases.

เว็บแนะนำ ถ้าได้เว็บด้านฐานข้อมูลจะยิ่งดีมากๆ เลยนะครับ

เอาเป็นว่าข้อมูล ทั้ง 10 อย่างที่ได้กล่าวมา ผมเห็นด้วยหมดเลยนะครับ
เพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ที่ออนไลน์สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
ทั้งในเรื่องของกิจกรรม แบบสำรวจ แนะนำหนังสือใหม่ และเว็บไซต์แนะนำ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็เข้าไปสมัคร account ของ facebook กันได้นะครับที่
http://www.facebook.com/

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975#/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975?v=wall

จำหรือเปล่าว่าบรรณารักษ์เรียนอะไรบ้าง

หลายปีแล้วสินะครับ ที่ผมไม่ได้กลับไปที่ มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน
สำหรับผมแล้วการเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ฯ วิชาเอกบรรณารักษ์ เป็นสิ่งที่มีความทรงจำมากมาย
วันนี้ผมขอย้อนเวลากลับไปเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตนะครับ

library-science

ก่อนอื่น ผมคงต้องถามเพื่อนๆ ก่อนว่า เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า “คนที่จบบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง”
เอาหล่ะครับไม่ต้องเดามาก วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดู

ปล.ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์ของผม และเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนนะครับ
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ นะครับ รวมถึงวิชาที่เรียนอาจจะต่างกันบ้าง อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องลองดูกันนะ

เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1 เทอม 1

– วิชา Use of libraries and study skill

วิชานี้ผมได้รู้จักคำว่าห้องสมุดอย่างแท้จริงว่ามีหลายประเภทและเหนือสิ่งอื่นใด
ผมรู้จักคำว่า ?service mind? ในวิชานี้นั่นเอง

ปี 1 เทอม 2
– วิชา Audio Visual Material and Equipment for library and information center

วิชานี้ผมได้เข้าใจเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้เข้าไปดูงานที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย ทำให้สนุกกับวิชาชีพนี้ขึ้นเรื่อยๆ
ตอนแรกนึกว่าเรียนบรรณารักษ์จะเกี่ยวกับหนังสืออย่างเดียว เจอวิชานี้เข้าไปต้องเปลี่ยนความคิดเลย


ปี 2 เทอม 1

– วิชา Fundamentals of library and information science
– วิชา Mass Communication
– วิชา Reading Improvement
– วิชา Information technology


เจอเข้าไปแต่ละวิชาตั้งแต่บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการอ่าน และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นไงบ้างหล่ะวิชาเอกบรรณฯ ของเรามีความหลากหลายขึ้นมากหรือปล่าว
อย่างที่เคยเขียนบความก่อนหน้าว่าทำไมผมถึงเรียนและเป็นบรรณารักษ์
เพราะขนาดวิชายังมีความหลากหลายและทุกวิชาชีพมีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

ปี 2 เทอม 2
– วิชา Collection development
– วิชา Library service
– วิชา Application of information technology
– วิชา Computer for library system


วิชาที่เรียนในเทอมนี้เน้นไปในส่วนของห้องสมุดทั้งในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
งานบริการในห้องสมุด รวมถึงงานไอทีในห้องสมุดด้วย
เทอมนี้เป็นเทอมที่ผมรู้สึกว่าบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ไม่เหมือนในอดีตที่มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยบรรณารักษ์ในการทำงาน
และเทอมนี้เป็นเทอมที่ผมค่อนข้างมีความสุขและประทับใจมากๆ ที่ได้เลือกเรียนบรรณารักษ์

ปี 3 เทอม 1
– วิชา Information service
– วิชา Publishing business
– วิชา Dewey decimal classification system
– วิชา Cataloging
– วิชา Lit. of science and technology

เทอมนี้ผมลงวิชาเอกเยอะที่สุดเท่าที่จำได้และเหนื่อยมากๆ ด้วย
วิชาในเทอมนี้ทั้งการจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ทรพยากรสารสนเทศ
เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันแบบเจาะลึกกันเลยเพราะถือเป็นงานที่สำคัญมากในห้องสมุด
ส่วนวิชาการบริการสารสนเทศเป็นวิชาที่เสมือนการให้บริการตอบคำถามด้านสารสนเทศซึ่งชอบมาก
เพราะต้องไปนั่งที่ห้องสมุดจริงๆ และคอยตอบคำถามให้เพื่อนๆ นักศึกษาและผู้ใช้ห้องสมุด
ส่วนวิชาที่เหนื่อยอีกวิชาหนึ่งคือธุรกิจสิ่งพิมพ์
วิชานี้สอนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง (เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพของสำนักพิมพ์)
ต้องทำหนังสือทำมือ และการรับหนังสือจากสำนักพิมพ์มาขาย จำได้ว่าตอนนั้นเราได้กำไรสักสองพันเห็นจะได้
ส่วนวิชาวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผมสนใจอ่านข่าว และงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ปี 3 เทอม 2
– วิชา Library of congress classification system
– วิชา Research
– วิชา Information market and business
– วิชา Database design and development
– วิชา digital library


เทอมนี้เป็นการเรียนต่อยอดจากเทอมที่แล้ว ซึ่งเทอมที่แล้วผมเรียนจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ แต่เทอมนี้ผมเรียนการจัดหมู่แบบ LC
อีกวิชาที่สุดหินคือการทำวิจัยตอนนั้นผมเลือกทำในเรื่อง
?การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคซีดีเถื่อนในสังคมไทย? ซึ่งต้องใช้เวลาการทำสามเดือนเต็มๆ เหนื่อยสุดๆ
วิชาตอนมาเรื่องการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นวิชาที่ต้องคิดมากซึ่งทำให้รู้จักโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากอยู่แต่ห้องสมุด
การออกแบบฐานข้อมูลวิชานี้ผมได้ลองออกแบบระบบร้านขายยาขึ้นมาดูก็พอน่าจะเอาไปใช้เล่นๆ ได้นะ อิอิ
ส่วนวิชา ห้องสมุดดิจิทัล เป็นวิชาที่บ่งบอกว่าห้องสมุดเดี๋ยวนี้มีรูปแบบใหม่ขึ้น
ได้รู้จักคำว่า ?E-library / Digital Library / Virtual Library?
ว่าทั้งสามตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร เอาไว้ว่างๆ จะเอามาเขียนให้อ่านแล้วกันนะครับ

ปี 4 เทอม 1
– วิชา Information storage and retrieval
– วิชา Information resource in the humanities
– วิชา Library Administration
– วิชา Seminar in library and information science


4 วิชาสุดท้ายของการเรียนที่เป็นวิชาการซึ่งเป็นวิชาที่เป็นที่สุดของห้องสมุด
เรื่องระบบ IR เป็นสิ่งที่ต้องมองในเรื่องการจัดเก็บก็ต้องสามารถค้นคืนในสิ่งที่จัดเก็บได้
วรรณกรรมมนุษย์วิชานี้ทำให้เราได้ออกค่ายไปจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
นั่งเครื่องบินจากหาดใหญ่มาลงกรุงเทพแล้วต่อด้วยรถทัวร์มาที่ปราจีนบุรี
วิชาการบริหารห้องสมุด ตอนแรกผมนึกว่าจบบรรณารักษ์ก็เป็นได้แค่เพียงผู้ปฏิบัติงานแต่พอเจอวิชานี้ก็แสดงให้เห็นว่า
คนที่จะบริหารห้องสมุดได้ควรจะต้งเรียนรู้หลักการของห้องสมุดถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานในห้องสมุดด้วย
วิชาสุดท้ายสัมมนาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่เปิดโอกาส
ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองชอบให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้ฟัง สนุกมากเลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สุดท้ายที่ปี 4 เทอม 2 เราทุกคนก็แยกย้ายกันไปฝึกงานในแต่ละที่
และก็จบลงด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมนี่แหละคนที่จบบรรณารักษ์

เป็นไงบ้างครับ ต่างจากเพื่อนๆ บ้างหรือปล่าว
ยังไงถ้าต่างกันบ้างก็ลองบอกผมหน่อยนะครับ อิอิ

การอบรมหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

วันนี้ผมขอแนะนำหลักสูตรสำหรับผู้ที่รักในสิ่งพิมพ์หรือหนังสือนะครับ
หลักสูตรนี้ คือ หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

book-binding

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้
ชื่อการอบรม : หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ
วันและเวลาที่จัดการอบรม : 19 – 20 ตุลาคม 2552
สถานที่จัดการอบรม : สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ผู้จัดงานอบรม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

บางคนอาจจะบอกว่าการเย็บเล่มหนังสือเป็นเรื่องง่าย
แต่คุณรู้มั้ยว่าการเย็บเล่มหนังสือให้ใช้งานได้นานๆ เป็นอย่างไร
ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง ต้องเย็บด้วยอะไร …..

วิธีการเย็บเล่ม และการซ่อมบำรุงหนังสือ ถือว่าเป็นงานทุกคนควรจะรู้ ไม่ใช่เพียงแต่บรรณารักษ์นะครับ
การที่เรารู้เรื่องการเย็บเล่ม และซ่อมบำรุงหนังสือ บางทีเราอาจจะออกมาทำธุรกิจทางด้านนี้ก็ได้นะครับ

การอบรมครั้งนี้นอกจากทฤษฎีที่เพื่อนๆ จะได้รู้แล้ว
ยังมีการฝึกปฏิบัติในการซ่อมหนังสือ และเย็บเล่มหนังสือจริงๆ ด้วย

สำหรับหัวข้อในการอบรม ประกอบด้วย
– หลักการและวิธีการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– การบริหารจัดการ? วัสดุและอุปกรณ์ซ่อมหนังสืออย่างเป็นระบบ
– เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– วิธีเข้าเล่มทำปก และซ่อมหนังสือ

การอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 2,500 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 2,800 บาทครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถโหลดใบสมัครได้ที่
ใบสมัครหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่
http://www.tla.or.th

คุณรู้จักบล็อก Libraryhub ของผมได้อย่างไร

เปิดบล็อกนี้มาเกือยสี่เดือนแล้วนะครับ สมาชิกที่เข้ามาดูก็เพิ่มขึ้นมาก
วันนี้ผมก็เลยขอสำรวจเพื่อนๆ ดูหน่อยว่าเพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านบล็อกของผม
“รู้จักบล็อกนี้ได้อย่างไร ใครแนะนำมา หรือว่าบังเอิญผ่านมาเจอ”

referer

ผมขอความร่วมมือจากทุกๆ คนด้วยนะครับ ช่วยกันตอบคำถามผมหน่อย

[poll id=”10″]

การสำรวจในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการศึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์บล็อกด้วยนะครับ
บางครั้งคนทำบล็อกก็อยากรู้เหมือนกันว่า คนที่เข้ามาที่บล็อกของเรา
รู้จักบล็อกของเราได้จากที่ไหนบ้าง แล้วทำไมถึงเข้ามาบล็อกของเราถูก

เอาไว้ว่างๆ วันหลัง ผมจะเขียนสูตรการเรียกคนเข้าบล็อกห้องสมุด
ให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และศึกษาไว้ใช้งานสำหรับห้องสมุดของเพื่อนๆ นะครับ

การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น (NDC)

เพื่อนๆ หลายคนคงจะรู้จักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดแบบต่างๆ มามากพอแล้ว
เช่น ระบบเลขทศนิยมแบบดิวอี้, ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา, ระบบห้องสมุดการแพทย์ ฯลฯ
วันนี้ผมขอแนะนำการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดตามแบบประเทศญี่ปุ่นบ้างนะครับ

savepic

เนื่องจากที่รู้ๆ กันว่าผมเคยฝึกงานที่ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
ดังนั้นจึงทำให้ผมรู้จักกับการจัดหมวดหมู่แบบนี้
ซึ่งการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบญี่ปุ่นนี้มีความแตกต่างจากการจัดหนังสือที่ผมเคยเรียนมาอย่างสิ้นเชิง

ผมขอเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ ถึงที่มาของการจัดหมวดหมู่แบบนี้

การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น
หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Nippon Decimal Classification (NDC)
เป็นการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน
โดยมีแนวความคิดและเผยแพร่โดย Japan Library Association ในปี 1956
ซึ่งเป็นการนำระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (Dewey Decimal System) มาประยุกต์ในรูปแบบใหม่
โดยใช้เลขหมวดหมู่ใหญ่ คือ 000 ? 900 เหมือนแบบดิวอี้ แต่ต่างกันที่รายละเอียดนะครับ

หมวดหมู่ใหญ่ ของการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น มีดังนี้
000 ? หมวดทั่วไป
100 ? หมวดปรัชญา
200 ? หมวดประวัติศาสตร์
300 ? หมวดสังคมศาสตร์
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
500 ? หมวดเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
600 ? หมวดอุตสาหกรรม และการพาณิชย์
700 ? หมวดศิลปะ
800 ? หมวดภาษา
900 ? หมวดวรรณกรรม

ดูๆ ไปก็คล้ายๆ ดิวอี้นะครับ ต่างกันที่หมวด 200, 400, 500, 800, 900

ส่วนการแบ่งหมวดหมู่ย่อยในลำดับที่สองยังคงใช้ concept เหมือนดิวอี้อีกนั่นแหละครับ
ผมขอยกตัวอย่าง หมวด 400 มาให้ดูถึงเลขหมู่ย่อยนะครับ
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
410 ? คณิตศาสตร์
420 ? ฟิสิกต์
430 ? เคมี
440 ? ดาราศาสตร์
450 ? โลก
460 ? ชีววิทยา
470 ? พฤกษศาสตร์
480 ? สัตววิทยา
490 ? เภสัชศาสตร์

เป็นไงกันบ้างครับ กับการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดญี่ปุ่น
“แปลกตาไปบ้างหรือปล่าวครับ”
ก็ขอให้เพื่อนๆ คิดซะว่านี่ก็เป็นการจัดหมวดหมู่หนังสืออีกประเภทหนึ่งนั้นเอง แหละครับ

จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย และบรรณารักษ์สามารถทำงานได้สะดวก

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้ามาดูได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nippon_Decimal_Classification
http://wsv.library.osaka-u.ac.jp/riyo/ndc9e.htm
http://weblib.ce.nihon-u.ac.jp/opac/help/Class_Eng.html

ประมวลภาพห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

เมื่อสักครู่นี้ ผมได้เขียนบล็อกเรื่อง “เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?
ในบล็อกเรื่องนี้ผมขอเน้นข้อมูลอื่นๆ ของห้องสมุดแห่งนี้แล้วกันนะครับ

jfbkk

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
สถานที่ : ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
ที่อยู่ : เจแปน ฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร 159 สุขุมวิท 21, กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ : 0 2260 8560-4 แฟกซ์ : 0 2260 8565
เว็บไซต์ : http://www.jfbkk.or.th/library/library_th.html

ในห้องสมุดแห่งนี้มีบริการคล้ายๆ กับห้องสมุดอื่นๆ นั่นแหละครับ
เพียงแต่เน้นที่เรื่องของ collection ที่ให้บริการในห้องสมุดนั่นแหละครับ

หนังสือที่ให้บริการมีมากมายโดยเน้นไปที่หนังสือภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก
แต่ก็ยังพอมีหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้บริการบ้างนะครับ

จุดเด่นของห้องสมุดแห่งนี้
เช่น
– หนังสือ วารสาร นิตยสารภาษาญี่ปุ่นมากมาย ทั้งเรื่องแฟชั่น เทคโนโลยี วารสารวิชาการ
– หนังสือแนวข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น
– วีดีโอ และสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นมากมาย
– การ์ตูนต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
– ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นภาษาญี่ปุ่น
– นิทรรศการวันสำคัญของญี่ปุ่นในโอกาสต่างๆ
– รายการข่าวสาร สารคดี จาก NHK

นี่ก็เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนะครับ
ถ้าเพื่อนๆ อยากเห็นมากกว่านี้ผมก็แนะนำว่าให้เพื่อนๆ ไปชมกันเองน่าจะดีกว่านะครับ

ปล.ภาพที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ ชมนี้เป็นภาพเมื่อหลายปีก่อนนะครับ
อาจจะไม่เหมือนอย่างในปัจจุบันนะครับ เพราะว่าในปัจจุบันห้องสมุดมีการปรับโฉมใหม่แล้วนะครับ


ภายบรรยากาศโดยทั่วไปของห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

[nggallery id=13]