Consortium of iSchools Asia Pacific (CiSAP)

วันนี้ทางเอไอทีฝากข่าวมาให้ผมประชาสัมพันธ์
ซึ่งผมได้อ่านรายละเอียดแล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมากจึงต้องขอบอกต่อ

ait Read more

หลักสูตรเพื่อนักศึกษาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ (ICS)

วันนี้ผมขอนำหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ในต่างประเทศมาให้ดูอีกสักหน่อย
เผื่อว่านักพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ในบ้านเราจะแวะเข้ามาอ่านในบล็อกผมบ้าง

ics Read more

เมื่อ Libraryhub ได้ Pagerank 4/10

บล็อกหรือเว็บไซต์ของเพื่อนๆ มีค่า pagerank กันเท่าไหร่บ้างครับ
วันนี้ผมขอเล่าเรื่องค่า pagerank ที่ผมได้รับจาก google แล้วกัน

google-page-rank-libraryhub

ความหมายของ pagerank (คัดลอกมาจาก http://www.makemany.com)
ค่า pagerank คือ วิธีการจัดลำดับความสำคัญเว็บเพจทั่วโลก จาก Google โดยให้ชื่อว่า Google Page Rank การวัดค่าการจัดลำดับความสำคัญนี้ Google ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขสูงเท่าไหร่ ค่า Page Rank หรือ PR จะยิ่งสูงเท่านั้น และเป็นเหตุให้ได้รับการจัดลำดับที่ดีกว่าจาก Google.

สำหรับ Libraryhub เปิดไปได้ยังทันจะสามเดือนแต่ก็ได้ Pagerank มา 4/10

pr

ทำให้ผมมีกำลังใจในการเขียนบล็อกขึ้นอย่างมาก (แต่กำลังใจของเพื่อนๆ มีค่ามากกว่านะ)
ค่า pagerank จะทำให้ Google เข้ามาจัดทำ Index ของบล็อกผมเพิ่มขึ้น
และยังช่วยให้คำสำคัญในบล็อกของผมค้นได้เจอเยอะขึ้น ตำแหน่งก็ดีขึ้น

ที่สำคัญก็คือ “เพื่อนๆ จะเจอผมใน Google มากขึ้นและง่ายขึ้น”
ช่วยให้ผมมีสมาชิกใหม่ๆ และร่วมกันสร้างเครือข่ายมากด้วย

เพื่อนๆ สามารถเช็คค่า pagerank ได้ที่
http://www.prchecker.info/check_page_rank.php

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า pagerank คืออะไร ลองอ่านได้จากเว็บไซต์ด้านล่างนี้นะครับ

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ)
http://en.wikipedia.org/wiki/PageRank
http://www.webworkshop.net/pagerank.html

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาไทย)
http://truehits.net/faq/webmaster/seo/page_rank.php
http://seo.siamsupport.com/blog/pagerank/

ก่อนจากกันวันนี้ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่เขียนบล็อกทุกคนนะครับ
ขอให้ได้ pagerank เพิ่มขึ้นกันทั่วหน้าเลยนะครับ

เมื่อบล็อกบรรณารักษ์อย่างผมโดนลอกอีกแล้ว?

กรณีศึกษาการเขียนบล็อกบรรณารักษ์ของผมมีปัญหามากมาย
กรณีหนึ่งที่รุนแรงมากจนผมต้องพูดหลายครั้งก็คือ
การ copy บทความชาวบ้านเขามาเป็นของตัวเอง

banner-300x144

“เรื่องในบล็อกผมอนุญาติให้นำไปใช้นะครับ แต่กรุณาบอกว่าเอามาจากเว็บผมด้วยได้มั้ย”

เรื่องมีอยู่ว่าในขณะที่ผมนั่งค้นหาเรื่องที่ผมเคยเขียนในบล็อกอยู่
ปรากฎว่า ผมได้เจอบทความเรื่องเดียวกันมากมายใน google (ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมเขียน)
เลยทำให้ตกใจเล็กน้อยว่าเรื่องพวกนี้มาจากไหนกันบ้าง

ไม่รอช้าครับผมก็เลยตามเข้าไปดูเว็บไวต์เหล่านี้
ก็พบว่า มีการ copy เรื่องในบล็อกของผมไปใช้
เท่านั้นยังไม่พอ ในบล็อกนั้นก็ใส่ที่มานะครับ แต่ที่มาก็ไม่ใช่ของผมอีก

แล้วที่ตลกมาก นั่นก็คือบล็อกที่ copy เนื้อหามาจาก บล็อกบรรณารักษ์ด้วยกันเอง
ผมไม่แน่ใจว่าเขารู้จัก projectlib หรือปล่าวนะครับ
แต่คุณเอาบทความของผมไปกรุณารู้ไว้สักนิดนะครับว่า
?เจ้าของอนุญาตให้นำไปเผยแพร่นะครับ แต่กรุณาอ้างที่มาด้วยนะครับ?

วิธีที่ถูกต้องในการนำบทความคนอื่นไปลง
– ก่อนที่จะนำบทความของผมไปลงก็มาเขียน คอมเม้นต์บอกผมก่อน
– ส่งเมล์มาบอกกันสักนิดว่าจะเอาบทความของผมไปลงก็ได้นะครับ
– ทักมาใน MSN ก็ได้นะครับ

เฮ้ย บ่นจนไม่รู้ว่าจะบ่นยังไงแล้ว เตือนแล้วเตือนอีก ก็ได้แต่หวังว่าจะไม่มีกรณีแบบนี้อีก

ผมเคยบอกเองว่า Sharing Knowledge is power
หลายๆ คนก็คงคิดว่าผมคงแจกเนื้อหาให้ใช้กันได้เต็มที่
แต่ผมก้อยากให้เพื่อนๆ เอาใจเขามาใส่ใจเราบ้างนะครับว่า
ถ้าสักวันนึงคุณโดย copy บทความแบบผมแล้วคุณจะรู้สึกอย่างไร

วันนี้ก็พอเท่านี้ก่อนนะ ขออภัยที่ต้องระบายให้เพื่อนๆ ฟัง

Sharing Knowledge is power?
But Copy Idea is not power na?

ห้องสมุดมารวยจัดกิจกรรมเสวนาเปิดตัวหนังสือ

กิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุดมารวยกิจกรรมนี้ ผมขอนำมาเล่าใหม่
เพื่อนำเสนอรายละเอียด และกรณีศึกษาสำหรับการจัดกิจกรรมในห้องสมุด

image0012

ข้อมูลของกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาเปิดตัวหนังสือ ?กฎแห่งความโชคดี? กับ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี
จัดในวันที่ : 29 มีนาคม 2552 เวลา 17.00 – 18.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดมารวย@Esplanade

งานเสวนาเปิดตัวหนังสือครั้งนี้ คุณบัณฑิต อึ้งรังษี มาเองเลยนะ
นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ฟังคนเก่งๆ พูด
อย่างน้อยก็ถือซะว่าเป็นการรับฟังไอเดีย และประสบการณ์จากคนเก่งแล้วกันนะ

เราไปดูข้อมูลหนังสือของคุณบัณฑิต อึ้งรังษีกัน

book

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : กฎแห่งความโชคดี
ชื่อผู้เขียน : บัณฑิต อึ้งรังษี
ISBN : 9789745192577
สำนักพิมพ์ : อินสไปร์มิวสิค

ในโปสเตอร์ของกิจกรรมนี้ มีข้อความที่น่าสนใจ เช่น
– วิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้จะผ่านพ้นไปเช่นไร
– โชคชะตาจะมีส่วนช่วยเราได้หรือไม่
– ความโชคดี ไม่ได้มาหาคุณแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
– โชคก็มีกฎ หากคุณทำตามกฎนั้น คุณจะโชคดี

งานเสวนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ (ฟรีๆๆๆๆๆ)
งานเสวนาดีๆ แบบนี้ จริงๆ ผมอยากให้ห้องสมุดหลายๆ ที่ได้มาดู
อย่างน้อยก็เพื่อเป็นไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดของท่าน

ถ้าท่านได้มาดูงานนี้แล้ว ผมเชื่อว่าไอเดียในการจัดกิจกรรมของห้องสมุด
ท่านจะคิดได้รอบด้านกว่านี้แน่นอนครับ

แวะมาดูศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ ใน ม.พายัพ

วันก่อนได้เล่าเรื่อง “ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ” ไปแล้ว
วันนี้ผมขอนำเสนอผลของการไปเยี่ยม ม.พายัพ อีกสักหน่อยแล้วกัน
ซึ่งหน่วยงานที่ผมได้ไปชมก็คือ “ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดห้องสมุดนั่นเอง

ntic-payap Read more

ขอต้อนรับการกลับมาของ Notebook คู่ใจผม

หลังจากที่ต้องปล่อยให้เจ้านอนเฉยๆ มาสองเดือนกว่าๆ เนื่องจากอาการชำรุดอย่างรุนแรง
จนต้องนำเข้าศูนย์ซ่อมซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อ วันนี้ก็เป็นวันที่เจ้าจะกลับมารับใช้ข้าเหมือนเดิม

notebook Read more

ห้องสมุดปลอดภัยจากไข้หวัด 2009

ช่วงนี้ข่าวเรื่องการระบาดของไข้หวัด 2009 เริ่มได้ยินหนาหูมากนะครับ
วันนี้ผมจึงขอยกเรื่องมาตรการเพื่อป้องกันไข้หวัด 2009 มาให้เพื่อนๆ อ่าน

swine-flu Read more

การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า

วันนี้ขอเพิ่งงานสัมมนาอีกงานนึงที่น่าสนใจไม่แพ้งานอื่นเหมือนกัน คือ
งานประชุมวิชาการประจำปี ของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่นเอง

tu-annual-conference

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Change Management of Libraries in the Next Decade
จัดวันที่ : 3 – 4 กันยายน 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปีนี้ก็เป็นปีที่สามแล้วนะครับที่ผมติดตามงานประชุมวิชาการ ของ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จำได้ว่าปีแรกจัดในเรื่อง “ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน” (2550)
และปีที่สองจัดในเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (2551)
ปีนี้มาในธีมงาน “การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า”

อันนี้ขอแซวเล่นๆ นะครับว่า
“โปรดสังเกตว่าธีมงานทั้งสามปีจะเน้นให้ห้องสมุดต่างๆ ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมากๆ
ตั้งแต่ต้องเชิงเปลี่ยนเป็นห้องสมุดเชิงรุกก่อน แล้วถึงจะมาเป็นห้องสมุดยุคใหม่
นอกจากนี้ยังต้องบอกให้ทุกๆ คนยอมรับเรื่องการจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ด้วย”

เราลองไปดูหัวข้อการบรรยายกันเลยดีกว่าว่ามีหัวข้อไหนที่น่าสนใจบ้าง
– สุ จิ ปุ ลิ – ฟัง คิด ถาม เขียน : หัวใจของผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
– การเปลี่ยนแปลงบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ :กรณีศึกษาห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง
– เทคโนโลยี 2.0 : Web 2.0, Library 2.0, Enterprise 2.0 จำเป็นสำหรับห้องสมุดจริงหรือ
– ห้องสมุดในฝันของนักวิจัย
– พลังแห่งบุคลิกภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
– กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จในห้องสมุด
– กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน

เอาเป็นว่าหัวข้อทุกหัวข้อย่อมน่าสนใจทั้งหมดอยู่แล้วหล่ะครับ
ช่วงวันแรกของการบรรยายเริ่มจากเรื่องเบาๆ แล้วค่อยหนักขึ้นเรื่อยๆ
วันที่สองก็เน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรม และการนำเสนอเป็นหลัก

ผมว่าทุกอย่างในงานบรรยายทั้งสองวันคงจะตอบโจทย์ว่า
“เราจะจัดการความเปลี่ยนแปลงได้ยังไง” กันนะครับ

มาพูดเรื่องเสียงเงินกันบ้างดีกว่า งานนี้ผู้เข้าร่วมต้องเสียค่าเข้าร่วมประชุมดังนี้
ชำระก่อน 31 กรกฎาคม ต้องจ่าย 2,500 บาท ถ้าหลังจากนั้น 3,000 บาท
แต่เดี๋ยวก่อนงานนี้มีข่าวดีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท จ่ายแค่ 2,000 บาทเท่านั้น


นับว่าเป็นโอกาสอันดีจริงๆ ที่มีการจัดงานในครั้งนี้
ผมก็หวังอย่างยิ่งว่าจะมีคนมาเล่าให้ฟังเหมือนงานก่อนๆ อีกนะครับ
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าผมจะว่างในวันดังกล่าวด้วยแล้วกันนะครับ แล้วเจอกันครับ