งานสัมมนาบรรณารักษ์เชิงรุก

งานสัมมนาครั้งใหญ่ของชมรมห้องสมุดเฉพาะ ประจำปี 2552 กำลังจะมา
ปีนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจเพียบเลยนะครับ วันนี้เลยต้องขอบอกต่อสักหน่อย

seminar-special-lib

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานสัมมนา : บรรณารักษ์เชิงรุก : การสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการความรู้
จัดวันที่ : วันที่ 24 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สถานที่ในการจัดงาน : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

หัวข้อของการจัดงานแค่ชื่อ ผมก็รู้สึกว่าน่าสนใจแล้วหล่ะครับ
“บรรณารักษ์เชิงรุก” นอกจากบรรณารักษ์จะให้บริการแบบเชิงรุกแล้ว
ในแง่ของการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ หรือรวมกลุ่มเพื่อทำงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันหรอกนะครับ
หรือที่สำนวนไทยบอกไว้ว่า “หลายหัว ย่อมดีกว่า หัวเดียว” “รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย”

ในโลกยุคใหม่การสร้างเครือข่ายยิ่งทำได้ง่ายกว่าเดิมเยอะครับ
เครื่องมือบนอินเทอร์เน็ตก็มีมากมายให้เลือกใช้ ดังนั้นบรรณารักษ์ต้องรู้จักสิ่งเหล่านี้ากๆ นะครับ

การสัมมนาในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 วัน คือ
วันแรกจะเป็นการสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในห้องสมุดเป็นหลัก
วันที่สองจะเป็นการฝึกปฏิบัติซึ่งมีหัวข้อมากมาย
เพื่อนๆ สามารถเลือกได้ว่าจะมาเข้าร่วมช่วงไหนก็ได้

หัวข้อที่น่าสนใจในวันแรก
– การจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ
– ห้องสมุดกับการจัดการความรู้ด้วย? ICT
– เรื่องน่ารู้ในการจัดการความรู้ของห้องสมุด & ศูนย์การเรียนรู้
– การจัดการความรู้: เครื่องมือสู่ยุทธศาสตร์ความสำเร็จ

หัวข้อการฝึกปฏิบัติในวันที่สอง
– โลกวิชาชีพ กับบรรณารักษ์เชิงรุก
– วิธีสร้าง Blog ง่าย ๆ ด้วยตนเอง
– การสร้างเอกสาร Digital ด้วย Media วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เป็นยังไงกันบ้างครับหัวข้อน่าสนใจขนาดนี้ ถ้าพลาดไปเสียดายแย่เลย

สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานนะครับ ผมขอสรุปได้ดังนี้
– ถ้าเป็นสมาชิกสมาคมห้องสมุด อบรม 2 วัน = 1,200 บาท
เข้าฟังบรรยาย 1 วัน = 450 บาท หรือ Workshop 1? วัน? = 800 บาท

– ถ้าบุคคลทั่วไป อบรม 2 วัน = 1,500 บาท
เข้าฟังบรรยาย 1 วัน = 600 บาท หรือ? Workshop 1 วัน = 900 บาท

เอาเป็นว่ามีตัวเลือกให้ด้วยแบบนี้ยิ่งน่าสนใจใหญ่เลย
แต่ถ้าเป็นผมลงสองวันเลยจะดีกว่าครับ เพราะการสัมมนาครั้งนี้ราคาไม่แพงเกินไป

เอาเป็นว่างานสัมมนาครั้งนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ต้องสนใจเยอะและมากันเยอะแน่ๆ
อย่างน้อยก็มาร่วมสร้างเครือข่ายกันเยอะๆ นะครับ แล้วเจอกันครับ

พาเที่ยวพี่น้องของห้องสมุด : มิวเซียมสยาม

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ห้องสมุดแต่อย่างน้อยที่ๆ ผมจะพาไปเที่ยววันนี้ก็เป็นพี่น้องของห้องสมุดอยู่ดี
สถานที่แห่งนั้น นั่นก็คือ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า มิวเซียมสยาม

siam-museum

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมิวเซียมสยาม
ที่ตั้ง เลขที่ 4 ถนนสนามไชย พระนคร กรุงเทพฯ 10200
ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 225 2777
เว็บไซต์ : http://www.ndmi.or.th
เปิดทำการ : วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น.

เริ่มจากการเดินทางมาที่มิวเซียมสยาม
ผมเลือกใช้การเดินทางด้วยเรือเจ้าพระยา โดยขึ้นจากท่าสะพานตากสินแล้วมาขึ้นที่ท่าราชินี
เดินออกจากท่าราชินีตรงออกมาจะพบกับสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังเดิน
เดินผ่านสถานีตำรวจมานิดเดียวก็ถึงมิวเซียมสยามแล้ว (สะดวกดีจัง)

ภายในอาคารนิทรรศการถาวรมี 3 ชั้น และแบ่งออกเป็นส่วนๆ
แนะนำว่าให้เดินชมตามลำดับที่ทางมิวเซียมสยามจัดไว้
เพราะว่าจะเข้าใจเรื่องราวได้เป็นลำดับๆ ต่อไป

เรื่องราวในมิวเซียมสยามแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้ (ให้เดินชมตามลำดับดังนี้)
1. เบิกโรง – ชั้น 1 (ส่วนนี้จะฉายหนังสั้นประมาณ 7 นาที เพื่อแนะนำตัวละครต่างๆ ในมิวเซียมสยาม)
2. ไทยแท้ – ชั้น 1 (รู้ได้ยังไงว่าคนไหนไทยแท้)
3. เปิดตำนานสุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ตำนานของสุวรรณภูมิ อาณาจักรมีมาเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อน)
4. สุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ความเป็นอยู่ของผู้คนในสุวรรณภูมิ)
5. พุทธิปัญญา – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา)
6. กำเนิดสยามประเทศ – ชั้น 3 (เล่าเรื่องอาณาจักรต่างๆ รวมถึงตำนานท้าวอู่ทอง)
7. สยามประเทศ – ชั้น 3 (ความรุ่งเรือง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงศรีอยุธยา)
8. สยามยุทธ์ – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวการรบ ทหาร และการทำสงคราม)
9. แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ – ชั้น 2 (การทำแผนที่ทางภูมิศาตร์ต่างๆ)
10. กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา – ชั้น 2 (เป็นการเปรียบเทียบสถานที่่ต่างๆ ที่มีเหมือนกันในกรุงศรีอยุธยา และกรุงเทพ)
11. ชีวิตนอกกรุงเทพฯ – ชั้น 2 (วิถีชีวิตของเกษตรกร การละเล่นแบบไทยๆ)
12. แปลงโฉมสยามประเทศ – ชั้น 2 (การเข้ามาของประเทศทางตะวันตก นำวิถีชีวิตเข้ามาที่สยามประเทศ)
13. กำเนิดประเทศไทย – ชั้น 2 (ห้องที่เราสามารถเป็นนักข่าวยุคอดีตได้ น่าสนใจมาๆ เลย)
14. สีสันตะวันตก – ชั้น 2 (อยากรู้ว่าสถานบันเทิงที่ชาวตะวันตกเอาเข้ามาแบบไหน ลองดูห้องนี้สุดยอดอีกห้อง)
15. เมืองไทยวันนี้ – ชั้น 2 (เป็นห้องที่รวมภาพต่างๆ ของไทยมากมายผ่านจอทีวีมากมาย)
16. มองไปข้างหน้า – ชั้น 2 (เป็นห้องที่ย้ำว่าอนาคตของไทยจะเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะทำอะไร)

นี่คือส่วนของอาคานิทรรศการถาวรทั้งหมด เห็นหัวข้อแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ
น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะครับ ผมบอกได้คำเดียวว่า ?ที่นี่ลบภาพพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ ที่ผมรู้จักเลยก็ว่าได้?
เห็นแล้วก็อยากประกาศให้ทุกคนมาดูมากๆ เลย แล้วคุณจะรู้จักเมืองไทยของพวกคุณมากขึ้น

วันนี้ผมก็ขอพาชมแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้วันหลังผมจะพาไปเจอะลึกพิพิธภัณฑ์ที่อื่นๆ อีก

ปล. จริงๆ แล้วนอกจากอาคารนิทรรศการถาวรแล้วยังมีอีกหลายจุดที่น่าสนใจ
เช่น นิทรรศการชั่วคราว ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหาร ลานกิจกรรม ฯลฯ
แต่เนื่องจากเวลาของผมมีจำกัด จึงขอยกยอดอาไว้ไปใหม่คราวหน้าแล้วกันนะครับ

ชมภาพมิวเซียมสยามทั้งหมด

[nggallery id=9]

ฝึกงานบรรณารักษ์ที่นี่สิท้าทายที่สุด

เด็กบรรณารักษ์ที่กำลังหาที่ฝึกงานอยู่ลองฟังทางนี้นะครับ
สถานที่ที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นสถานที่ที่น่าฝึกงานมากๆ และท้าทายความสามารถสุดๆ

blind-library Read more

สัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 : บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ เข้ามาถามเรื่องการจัดกิจกรรมสำหรับงานสัปดาห์ห้องสมุดแห่งประเทศไทยเยอะมาก
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ตอบผ่านบล็อกของผมเพื่อเป็นแนวให้ทุกๆ คนเลยนะครับ

library-week

ปีนี้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้มีการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดปีที่ 34 ในเดือนสิงหาคม
โดยใช้หัวข้อในการจัดงานของปีนี้ คือ “บทบาทของห้องสมุดกับการพัฒนาอาชีพ”
สถานที่ในการจัดงาน คือ ห้องสมุดทุกประเภท ทั่วประเทศ (ทุกห้องสมุดรับนโยบาย)

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้เสนอแนวคิดในการจัดกิจกรรม ดังนี้
1. จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติ? และพระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
2. จัดแสดงสินค้าที่ประชาชนในท้องถิ่น / ชุมชน จัดทำขึ้น? ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตนำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
3. จัดการบรรยาย / อภิปราย / เสวนา / เรื่องอาชีพต่างๆ ที่ บุคคล / ครอบครัว จะจัดทำ และจำหน่ายเป็นรายได้
4. จัดนำชมห้องสมุด

หลังจากที่ดูจากกิจกรรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยแล้ว
ผมก็ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนิดนึงนะครับ

1. เรื่องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติอันนี้แน่นอนครับเดือนสิงหาคม
วันแม่แห่งชาติ เพื่อนๆ ควรจะต้องจัดกิจกรรมสัปดาห์วันแม่แห่งชาติอยู่แล้ว

2. การนำสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด
อันนี้อาจจะพบเห็นได้น้อยที่นะครับ แต่เพื่อให้เข้ากับธีมของงานก็อาจจะทำได้เช่นกัน

3. การบรรยายเรื่องอาชีพในห้องสมุดอันนี้ก็โอเคนะครับ
จะให้ดีห้องสมุดควรลองประสานงานกับวิสาหกิจชุมชนดูสิครับ แล้วจะได้วิทยากรมาบรรยาย

4. นำชมห้องสมุด อันนี้แม้ว่าจะไม่ใช่สัปดาห์ห้องสมุดก็ต้องจัดอยู่แล้วครับ

และในฐานะที่ผมเป็นบล็อกเกอร์ของชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์
ผมก็ขอร่วมจัดกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดกับเขาด้วยเหมือนกัน
เพียงแต่ของผมจะจัดกิจกรรมบนบล็อกและเวทีสาธารณะด้านนอกแล้วกันนะครับ

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดที่จะจัดโดย Libraryhub (ในเดือนสิงหาคม)
– จัดงาน Libcamp#2 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยใช้ธีมเกี่ยวกับ บรรณารักษ์บล็อกเกอร์กับการพัฒนางานห้องสมุด
-เชิญผู้ที่ประกอบอาชีพในวงการต่างๆ มาสัมภาษณ์ถึงความสำเร็จ และประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุด (4 คน : 4 วัน)
– พาทัวร์ห้องสมุดชุมชนที่มีส่วนต่อการพัฒนาอาชีพ และพาทัวร์ห้องสมุดขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ
– กิจกรรมคลิ๊กนี้เพื่อแม่ (ในช่วงวันแม่) จะให้ช่วยกันคลิกถวายพระพร
– สำรวจหนังสือเล่มโปรดของเพื่อนๆ

เอาเป็นว่าเกริ่นไว้แค่นี้ก่อนดีกว่า แต่ผมรับรองว่าในเดือนสิงหาคม
Libraryhub ในธีมของงานสัปดาห์ห้องสมุด
จะต้องทำให้เพื่อนๆ ได้ไอเดียในการจัดกิจกรรมอีกเยอะเลยทีเดียว

รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552 โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ดาวน์โหลดได้ที่ – เอกสารจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ประจำปี 2552

สำหรับวันนี้ผมก็ขอให้เพื่อนๆ มีแรงบันดาลใจในการคิดกิจกรรมดีๆ แล้วกันนะครับ
หากต้องการคำปรึกษาก็อีเมล์มาถามได้ หรือ MSN ถ้าสะดวกผมจะตอบทันที
เตรียมนับถอยหลังงานสัปดาห์ห้องสมุดได้แล้วนะครับ บ๊ายบาย

งานเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

งานนี้ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมวงเสวนาด้วย เลยขอเอามาประชาสัมพันธ์สักหน่อยดีกว่า
งานนี้หลักๆ ก็คือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552

speciallibrarystandard

ข้อมูลทั่วไปของงานนี้
ชื่องาน : โครงการ “การเสวนาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันศุกร์ที่? 31 กรกฎาคม? พ.ศ. 2552 เวลา 8.30 – 17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมหอสมุดและจดหมายเหตุ? ธนาคารแห่งประเทศไทย
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

งานนี้ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์? สารสนเทศศาสตร์? และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 70 คน
มาเพื่อ พิจารณา (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะนำไปประกาศและเผยแพร่ต่อไป

กำหนดการของงานเสวนาในครั้งนี้ มีดังนี้
ช่วงเช้า – การเสวนาและวิพากษ์? เรื่อง? บทบาทมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะของประเทศไทย
โดย ศาสตราจารย์คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต, รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ, รองศาสตราจารย์ดร.เอื้อน? ปิ่นเงิน
และมีผู้ดำเนินรายการ คือ ผศ. วรางคณา อินทรพิณทุวัฒน์

ช่วงบ่าย – ประชุมกลุ่มย่อย? พิจารณาและวิพากษ์ (ร่าง) มาตรฐานชมรมห้องสมุดเฉพาะ
และสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย ก่อนจบรายการในวันนั้น

เอาเป็นว่าผลของการเสวนาในวันนั้น ผมจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก็แล้วกันนะครับว่า
“ผลสุดท้ายแล้วหน้าตาของมาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 จะออกมาเป็นอย่างไร”
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ผมขอเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับ (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ.2552 สักหน่อยดีกว่า

สรุป (ร่าง)มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ 2552 ซึ่งประกอบด้วย 9 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์
หมวดที่ 2 การบริหาร
หมวดที่ 3 งบประมาณ
หมวดที่ 4 บุคลากร
หมวดที่ 5 ทรัพยากรสารสนเทศ
หมวดที่ 6 อาคารสถานที่ และครุภัณฑ์
หมวดที่ 7 การบริการ
หมวดที่ 8 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หมวดที่ 9 การประเมินคุณภาพห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลักษณะหน้าตาของหมวดต่างๆ จะคล้ายๆ กับมาตรฐานของห้องสมุดประชาน 2550 เลยนะครับ
แต่ต่างกันตรงที่ข้อสุดท้ายนั่นเอง คือ เรื่องของ “การประเมินคุณภาพห้องสมุด” ประเด็นนี้สิครับน่าสนใจ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะขอเอาประเด็นนี้มาเล่าต่อแล้วกันนะครับ
สำหรับคนที่ได้ไปงานนี้ก็เจอกันในงานนะครับ

สรุปผลโหวตการจัดงาน Libcamp#2

จากวันก่อนที่ผมเปิดให้โหวตเรื่องวันและเวลาในการจัดงาน Libcamp#2
และผมก็ได้กำหนดการสิ้นสุดการโหวตเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

libcamp2-date-time

ผลของการโหวตก็มีดังนี้
– วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 จำนวน 57%
– วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงเช้า 8.00 – 12.00 จำนวน 29%
– วันทำงานปกติ (จันทร์-ศุกร์) ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00 จำนวน 14%

การโหวตในครั้งนี้จำนวนคนที่โหวตน้อยมาก
ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ ให้ความสนใจในการโหวตเรื่องนี้กันจริงแค่ไหนนะครับ

แต่สุดท้ายผมคงต้องยึดถือการโหวตครั้งนี้แน่นอน ถึงแม้ว่าจำนวนคนที่โหวตจะเป็นเช่นไร
สรุปแล้ววันและเวลาที่เหมาะสมต่อการจัดงาน Libcamp#2 มากที่สุด คือ
ในช่วง “วันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงบ่าย 13.00 – 17.00”

จากการที่คุยกับทางทีมงานผู้ร่วมจัดงาน
วันที่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็คงจะได้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2552 นะครับ
เรื่องสถานที่ขอผมประสานงานดูอีกทีนะครับ แล้วจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

หัวข้อและธีมของงานอย่างที่เคยเล่าให้ฟังแล้วนะครับ
ว่าคราวนี้เราจะจัดธีมเกี่ยวกับเรื่องของบรรณารักษ์บล็อกเกอร์
เอาไว้ได้ข้อสรุปมากกว่านี้แล้วผมจะนำมาประกาศในบล็อกนี้อีกทีนะครับ

ยาอะไรบ้างเนี้ย…เยอะจัง

ก่อนอื่นต้องขออภัยเพื่อนๆ ที่เมื่อวานผมไม่ได้อัพบล็อก
สาเหตุเกิดจากเมื่อวานช่วงเย็น ผมไม่สบายหนักมากจนต้องเข้าโรงพยาบาล

medical

อาการของผมเมื่อวานนี้
– ตัวร้อน มีไข้
– ปวดหัว เวียนศรีษะ
– อาหารไม่ย่อย อาเจียน

ตอนแรกก็ลุ้นอยู่นะครับว่าจะติดไข้หวัด 2009 หรือปล่าว
แต่หมอก็คอนเฟิมมาว่า ไม่ได้เป็นหรอก เพราะว่าไม่มีอาการไอ หรือจาม

จากการที่ตรวจหมอสรุปว่า
– เป็นไข้หวัดธรรมดา
– อาหารเป็นพิษ
– พักผ่อนไม่เพียงพอ

หลังจากที่ตรวจเสร็จ หมอก็จ่ายยามาโดยมียาดังต่อไปนี้
– ยาแก้วิงเวียน
– ยาขยายหลอดเลือด
– ยาแก้ปวด (พารา)
– วิตามินซี ขนาด 500 มิลลิกรัม
– ผงเกลือแร่

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนบล็อกแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ
ขอตัวไปพักผ่อนก่อน เพราะขณะที่ผมเขียนตอนนี้ก็ยังคงมึนศรีษะอยู่

ปล. ขอเกริ่นไว้ก่อนเลยดีกว่าว่าพรุ่งนี้ผมอาจจะขออนุญาติงดอัพบล็อกอีกวันนะครับ

หลักสูตรปริญญาโทด้านห้องสมุดดิจิทัลมีแล้ว…

ผมได้ติดตามหลักสูตรการเรียนการสอนด้านห้องสมุดมาสักระยะหนึ่งแล้ว
แต่ผมเองก็ไม่เคยเห็นหลักสูตรไหนที่ทันสมัยเท่ากับหลักสูตรที่ผมจะแนะนำวันนี้

ait-digital-library Read more

แบบสอบถามเรื่องโปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

วันนี้ผมได้รับแบบสอบถามมาชิ้นนึงจาก อีเมล์กลุ่มของบรรณารักษ์ทั่วโลก
แบบสอบถามดังกล่าวได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Open Source ในห้องสมุด

oss4lib Read more

ห้องสมุดในอนาคตขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน

ช่วงนี้บล็อกของผมเริ่มเป็นที่รู้จักของหลายๆ คน ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายส่งมาให้ผมตอบ
หนึ่งในนั้นก็มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของห้องสมุด

seattle_library_philipperuault_oma_270307

จริงๆ แล้วก็อยากจะนำมาเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วหล่ะครับ
เกี่ยวกับคำถามข้อนี้ โจทย์ที่ตั้งมาคือ ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ก็อื่นต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่า ผมอาจจะไม่ได้เก่งอย่างที่หลายๆ คนคาดหวังไว้
แต่คำตอบนี้ถือว่าเป็นความคิดส่วนตัว ดังนั้นอาจจะมองไม่เหมือนกับหลายๆ คนก็ได้

คำถาม : ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

คำตอบ : ห้องสมุดในอนาคต สำหรับผมตอนนี้คิดว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ว่าจะสร้างภาพลักษณ์ หรือลักษณะงานบริการในห้องสมุดอย่างไร ทางเลือกมี 2 ทาง คือ

– หากบรรณารักษ์ประยุกต์งานบริการต่างๆ จัดกิจกรรม นำเทคโนโลยี และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ
มาพัฒนาห้องสมุดแล้ว ในอนาคตห้องสมุดก็จะเปลี่ยนบทบาทเป็น ศูนย์ที่ชี้นำ หรือ ชี้แหล่งสารสนเทศ
ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล ฯลฯ
ห้องสมุดจะถูกแทนด้วย ศูนย์สารสนเทศ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างสมบูรณ์


– หากบรรณารักษ์ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิมๆ เหมือนที่เป็นอยู่ ไม่ยอมรับเทคโนโลยี
ไม่สนใจผู้ใช้บริการ และคิดเพียงแค่ว่าทำงานแบบนี้ยังไงห้องสมุดก็ไม่ถูกปิดหรอก
ครับ แน่นอนว่าไม่ถูกปิด แต่ภาพห้องสมุดในอนาคตของห้องสมุดลักษณะนี้
คงไม่ต่างอะไรไปจากหอจดหมายเหตุ หรือ พิพิธภัณฑ์ที่เก็บหนังสือมากมายแทน

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะบอกบรรณารักษ์หลายๆ คนก็คือ
ห้องสมุด และ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้มากที่สุด
เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าถึงหัวใจหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย
แล้วเราจะรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร

ถึงตอนนั้นผมเชื่อ และหวังว่าจะเห็นห้องสมุดที่มีแต่คนบอกว่า
?วันนี้ไปหาอะไรทำที่ห้องสมุดดีกว่า? หรือ ?ไปห้างสรรพสินค้าทำไม ไปห้องสมุดแหละมีอะไรให้ทำตั้งเยอะ?