รีวิวหนังสือ “การบริการในห้องสมุดสถาบันการศึกษาให้ถูกใจผู้ใช้บริการ”

รีวิวหนังสือ “การบริการในห้องสมุดสถาบันการศึกษาให้ถูกใจผู้ใช้บริการ”

เมื่อเช้านี้ผมได้คัดเลือก eBooks จำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาอ่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ “Libraries for Users: Services in Academic Libraries” ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนางานบริการให้โดนใจผู้ใช้ โดยมุ่งเน้นไปที่ห้องสมุดห้องสมุดสถาบันการศึกษา โดยในหนังสือเล่มนี้มีอะไรน่าสนใจบ้างไปอ่านกันได้เลยครับ

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Libraries for Users: Services in Academic Libraries
ผู้แต่ง : Luisa Alvite และ Leticia Barrionuevo
ISBN : 9781843345954
ปีพิมพ์ : 2011
จำนวนหน้า : 218 หน้า

Read more
7 สิ่งที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ เดี๋ยวนี้!!!

7 สิ่งที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ เดี๋ยวนี้!!!

วันนี้ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับงานบริการห้องสมุด เพื่อหาไอเดีย และ Keyword ไปใช้ในการพัฒนาห้องสมุดของตัวเอง ซึ่งผมเจอบทความเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า “7 Things Library Customers Want NOW” ซึ่งอ่านแล้วโดนใจผมมากๆ วันนี้จึงขอนำ 7 สิ่งนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

photo: pixabay.com

เนื้อหาอาจจะเก่าไปสักนิดนะครับ (ต้นฉบับถูกเขียนตั้งแต่ปี 2012) แต่ใจความสำคัญหลักอยู่ที่ “การพัฒนางานบริการที่โดนใจลูกค้า” และลูกค้าที่ว่าคือ “ผู้ใช้บริการของห้องสมุด” อย่างที่ผมกล่าวไว้เมื่อวันก่อนว่า “อย่าคิดว่าบรรณารักษ์ถูกใจอะไรแล้วจะนำสิ่งนั้นมาใช้ เพราะเราไม่ใช่ลูกค้าของตัวเรา

Read more
การออกแบบบริการ (Service Design) ในห้องสมุดยุคใหม่

การออกแบบบริการ (Service Design) ในห้องสมุดยุคใหม่

การออกแบบบริการ (Service Design) ต่างๆ ในห้องสมุดยุคใหม่ เริ่มจากการศึกษาเส้นทางในการใช้บริการของลูกค้า (Customer Journey) ค่อยๆ ดูและพยายามหาโอกาสและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลูกค้า

การสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามี 3 แนวทางให้เลือกทำ
1) ต่อยอดบริการเดิมให้มีคุณค่ามากขึ้น
2) สร้างสรรค์บริการในรูปแบบใหม่
3) เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจและหาหนทางใหม่ๆ ในธุรกิจตนเอง

Read more

ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology

หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร

วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม

ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ

ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย

DM-Export-WSources

เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012

7_mobile

– มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14%
– ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12%
– ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7%

นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ

ljx120201webThomas1

– ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog)
– ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application
– จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์
– ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์
– ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด
– อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด
– ดูประวัติการยืมคืน หรือ การอ่านหนังสือย้อนหลังได้
– ยืมหนังสือเพียงแค่สแกนบาร์โค้ตลงใน application
– เข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุด
– ดาวน์โหลด Ebook ไปอ่าน

เห็นมั้ยครับว่ามีประโยชน์มากมาย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงประโยชน์ของผู้ใช้บริการนะครับ
ประโยชน์ในมุมมองของบรรณารักษ์และผู้ให้บริการก็ยังมีอีกเพียบเลยเช่นกัน
ไว้ผมจะกล่าวในครั้งหน้านะครับ

เอาเป็นว่ายังไๆ ผมว่า Mobile Technology เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆ รู้ก่อน และปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็ว ห้องสมุดของเพื่อนๆ ก็ได้เปรียบครับ….

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิลสู่การประยุกต์ในห้องสมุด

เมื่อวันก่อนที่ผมแนะนำหนังสือ “ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)” ซึ่งหนังสือเล่มนี้อย่างที่ผมบอกอ่ะครับว่ามีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย วันนี้ผมจึงขอนำเสนอสักเรื่องที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่ามันเข้ากับงานห้องสมุดและบรรณารักษ์


โดยตัวอย่างที่ผมยกมานี้ เป็นเพียงบทหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีชื่อว่า “ทำตามการให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล” อยู่ในภาคที่สอง

มองในมุมที่ “แอปเปิล” เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจดังนั้นเรื่องการให้บริการลูกค้ามีความสำคัญมากๆ ซึ่งการที่ห้องสมุดอยู่ในฐานะของการให้บริการความรู้นั้น ผมก็มองว่าถ้าเราเน้นการให้บริการแบบเชิงรุกและเน้นผู้ใช้บริการ มันก็จะทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดประทับใจเช่นกัน (บทความนี้ผมว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในฝ่ายบริการและเคาน์เตอร์ควรอ่านมากๆ)

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล (APPLE) มีดังนี้
A – Approach – เข้าไปหาลูกค้าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแบบส่วนตัว
P – Probe – สอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสุภาพ
P – Present – นำเสนอทางแก้ปัญหาให้ลูกค้านำกลับไปใช้ที่บ้านในวันนี้
L – Listen – รับฟังและแก้ไขปัญหาตลอดจนความกังวลของลูกค้า
E – End – จบด้วยการร่ำลาอาลัยและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่

เพื่อนๆ เคยเจอประโยคเล่านี้หรือไม่
“โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ / ค่ะ” “รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มหรือเปล่าครับ / ค่ะ”
ประโยคส่งท้ายและเชื้อเชิญลูกค้าให้กลับมา สิ่งนี้แหละที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง

“แอปเปิล” นำเสนอมาบางข้อห้องสมุดก็ทำอยู่แล้ว เอาเป็นว่าลองมาดูกันดีกว่าครับว่าถ้าจะนำมาใช้ จะใช้อย่างไรดี

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล (APPLE) สู่การประยุกต์ใช้ในห้องสมุด

ข้อที่ 1 เข้าไปหาลูกค้าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแบบส่วนตัว
การสร้างความประทับใจให้ผู้ใช้บริการเมื่อแรกพบเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยเบื้องต้นแล้วรอยยิ้มถือว่าสำคัญมากๆ เมื่อผู้ใช้เดินเข้ามาในห้องสมุดการทักทายผู้ใช้บริการ เช่น “สวัสดีครับ ห้องสมุดยินดีให้บริการ” “ห้องสมุดยินดีต้อนรับครับ” คำทักทายแบบเป็นกันเองจะทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ไม่เครียดและสามารถพูดคุยและตอบคำถามได้ทุกเรื่อง ลองคิดนะครับ “ถ้าเราเป็นผู้ใช้บริการแล้วเดินเข้ามาที่ห้องสมุดเจอบรรณารักษ์ทำหน้ายักษ์ใส่เราจะกล้าถามอะไรมั้ย” เอาเป็นว่าการสร้างความประทับใจเบื้องต้นของผมที่จะแนะนำคือ “รอยยิ้ม” ครับ

ข้อที่ 2 สอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสุภาพ
ผู้ใช้บริการบางท่านเมื่อเข้ามาที่ห้องสมุดเขาอาจจะต้องการความรู้หรือคำตอบอะไรสักอย่าง การทีบรรณารักษ์เป็นคนเปิดคำถามถามผู้ใช้บริการ ผมว่ามันก็สมควรนะครับ ผู้ใช้บริการบางท่านเป็นคนขี้อาย (ผมก็เป็นนะไม่กล้าเดินมาถามบรรณารักษ์) บรรณารักษ์ที่ต้อนรับจากข้อที่ 1 เมื่อยิ้มแล้วลองถามผู้ใช้บริการดูว่า “ต้องการมาค้นเรื่องอะไรครับ” “อยากทราบเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือปล่าว” ผู้ใช้ก็จะบอกความต้องการกับเราเอง อันนี้ผมว่าน่าสนใจดีครับ

ข้อที่ 3 นำเสนอทางแก้ปัญหาให้ลูกค้านำกลับไปใช้ที่บ้านในวันนี้
ถ้าผู้ใช้บริการถามถึงสิ่งที่ไม่มีในห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถหาข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น ผู้ใช้บริการต้องการงานวิจัยจากต่างประเทศแล้วห้องสมุดของเราไม่มี และพอจะรู้ว่าในฐานข้อมูล สกอ. ก็สามารถแนะนำหรือแนะให้ไปค้นที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ได้ สรุปง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ห้ามตอบว่าไม่รู้หรือไม่ทราบเด็ดขาด แม้แต่เรื่องที่ไม่รู้จริงๆ ก็ต้องค้นคำตอบจากอินเทอร์เน็ตหรือบอกกับผู้ใช้ว่าจะหาคำตอบมาให้ในโอกาสหน้า

ข้อที่ 4 รับฟังและแก้ไขปัญหาตลอดจนความกังวลของลูกค้า
ผู้ใช้บางท่านอาจจะไม่รู้จริงๆ ว่าต้องการหนังสืออะไร เช่น พ่อแม่มือใหม่อาจต้องการคำแนะนำในเรื่องการเลี้ยงลูก บรรณารักษ์ควรจะรับฟังปัญหาและสามารถแนะนำหนังสือที่มีในห้องสมุด หรือแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมให้กับพ่อแม่มือใหม่เหล่านั้นได้ ข้อนี้ต้องบอกตรงๆ ครับว่า บรรณารักษ์ยุคใหม่ไม่ใช่แค่คนค้นหนังสือตามที่ผู้ใช้ต้องการแล้ว แต่ต้องสามารถเลือกหนังสือที่เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้

ข้อที่ 5 จบด้วยการร่ำลาอาลัยและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่
เมื่อทักทายแล้วก็ต้องมีการบอกลาประโยคบอกลาผู้ใช้บริการและเชิญชวนให้เขากลับมาใช้บริการใหม่ อาจจะเหมือนว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ผมว่ามันเป็นการใส่ใจรายละเอียดที่ผู้ใช้บริการก็ต้องการเช่นกัน

สรุปขั้นตอนจากเรื่องนี้ (การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิลสู่การประยุกต์ในห้องสมุด)
ทักทายต้อนรับ – ถามความต้องการ – แนะนำหนังสือให้ผู้ใช้ – แก้ปัญหาให้ผู้ใช้ – อำลาและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่

เอาเป็นว่าบางข้อผมว่าเพื่อนๆ ก็ทำอยู่แล้ว ดังนั้นเราก็ลองเอามาปรับและเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับบริบทของห้องสมุดดูแล้วกันนะครับ

กิจกรรม workshop : สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

วันนี้นายห้องสมุดขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด (Facebook for library service) ซึ่งจัดโดย ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ (ผมอยู่ในฐานะวิทยากรด้วย)

รายละเอียดเบื้องต้นในการบรรยาย
ชื่องานภาษาไทย : สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Facebook for library service
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วันและเวลาที่จัด : วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2555 เวลา 9.00-16.00 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

กิจกรรมนี้ผมถูกทาบทามจากคุณรุ้งทิพย์ให้เป็นวิทยากรมานานพอควรแล้ว
โอกาสดีที่ผมเพิ่งจะบรรยายเรื่องนี้ไปเมื่อไม่นานมานี่เอง
(อ่านเรื่อง “Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน“)
ประจวบกับมีโอกาสได้เจอคุณรุ้งทิพย์หลายงาน ก็เลยตอบตกลงว่าจะบรรยายให้ในหัวข้อนี้

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้
– เสวนา / แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook)
– การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด
– ฝึกปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เรื่อง Facebook กับงานห้องสมุดมีอะไรมากมายกว่าที่คุณคิดนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวัดผลความสำเร็จของการมี  Facebook ห้องสมุด
หรือการต่อยอดในการนำ facebook มาใช้กับกิจกรรมของห้องสมุดด้านต่างๆ

ดาวน์โหลดเอกสาร โครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด ที่นี่

แต่ถ้าไม่อยากดาวน์โหลด กรุณาอ่านรายละเอียดโครงการต่อด้านล่างนี้ (ขออนุญาติ copy มาลงแบบเต็มๆ)

โครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด (Facebook for library service)
จัดโดย ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทย ฯ

…………………………….

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน รองประธาน และ กรรมการฝ่ายวิชาการ

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนำไปสู่ระบบเครือข่ายทางสังคม (Social network) ในรูปแบบ online และที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ Facebook ห้องสมุดในฐานะผู้ให้บริการและส่งเสริมการใช้และการรู้สารสนเทศ  ควรสนใจติดตามศึกษา และนำเครือข่ายทางสังคมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการของห้องสมุดเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม    ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จึงได้ร่วมมือกับชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา  (ชบอ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ   จัดกิจกรรมเสวน และฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดที่ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook เพื่อให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะความรู้ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook
2. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ประยุกต์ใช้เพื่อการบริการห้องสมุด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วัน – เวลา วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม  2555  เวลา 9.00 – 16.00 น.

สถานที่ ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี อาคารปิยชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กรรมการ/สมาชิกชมรม และผู้สนใจ จำนวน  20  คน

วิทยากร คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์    จาก LibraryHub

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook
2. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ประยุกต์ใช้เพื่อการบริการห้องสมุด
3. ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

หน่วยงานสนับสนุน บริษัท Mercuri Data

งานนี้ต้องขอย้ำอีกครั้งว่า ฟรี ตลอดงานครับ
ลงทะเบียนฟรี อบรมฟรีแบบนี้ ต้องรีบสมัครกันมาหน่อยนะครับ
เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนมาได้เลยนะครับ
รับจำนวนจำกัด ที่ รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. rungtipho@live.com โทร. 086-5284042

แบบสำรวจ : แนวทางการให้บริการ Wifi ในห้องสมุด

การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องสมุดจริงๆ แล้วมันมีเรื่องราวที่น่าคิดมากมาย
เริ่มจากเรื่องของการอนุญาติให้ใช้บริการหลายๆ ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการบริการ
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอสอบถามเพื่อนๆ ว่า “ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร

ผมสังเกตมาหลายที่แล้วก็เจอกรณีหลายๆ แบบ เช่น
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ผมใช้บริการก็มีการให้ใส่รหัสนักศึกษาและรหัสที่ตั้งไว้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดของคณะ ในมหาวิทยาลัยก็ให้ดาวน์โหลด cert ของอินเทอร์เน็ตและติดตั้งในเครื่องก็สามารถเล่นได้เลย
– ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานแห่งหนึ่งให้ regis ด้วย mac address สำหรับพนักงานเท่านั้น
– ห้องสมุดประชาชนบางแห่งให้ลงชื่อที่เคาน์เตอร์ก่อนจึงจะให้บริการได้
– ห้องสมุดบางแห่งให้ซื้อคูปองเล่นอินเทอร์เน็ตไร้สาย

เอาเป็นว่าหลากหลายรูปแบบจริงๆ ครับ

ในเชิงผู้ให้บริการก็ควรจะต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ แต่ในเชิงผู้ใช้ก็อยากใช้งานง่ายๆ
สองส่วนมักมองกันตรงข้ามเสมอแหละครับ แต่เราควรหาจุดกึ่งกลางความพอดี
ซึ่งทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เพื่อไม่ให้มีข้อขัดแย้งในเรื่องการให้บริการและใช้บริการต่อไป

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดไงกับเรื่องนี้ครับ ผมขอนำแบบสอบถามนี้มาถามเพื่อนๆ ว่า
“ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร”
ไม่ต้องเป็นบรรณารักษ์หรือคนในส่วนห้องสมุดก็ได้นะ อยากให้ช่วยกันตอบเยอะๆ
จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปนำเสนอให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ปรับตัวเอง

[poll id=”18″]

ของฟรี 27 อย่าง ที่หาได้จากห้องสมุด

วันนี้ผมเจอบทความนึงที่น่าสนใจมากจากเว็บไซต์ SavingAdvice ซึ่งเป็นเว็บที่แนะนำให้ประหยัด
ห้องสมุดสามารถทำให้ชีวิตของคนเราประหยัดได้จริงๆ หรือ” อันนี้น่าคิดมากครับ
บทความนี้จะแนะนำ 27 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด” เอาเป็นว่าเข้าไปดูกันดีกว่า

อะไรที่ฟรีบ้างในห้องสมุด ผมคงตอบว่า “มากมายเลยที่ฟรีในห้องสมุด”
อ่านหนังสือฟรี เล่นคอมพิวเตอร์ฟรี ดูหนังฟรี นอนฟรี….
พอเจอคำถามว่า 27 อย่างที่ฟรี ผมก็ลองไล่ดูแล้วก็แปลกใจว่าทำไมผมคิดได้ไม่ถึง 27 อย่าง

แนะนำ 27 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด
1 หนังสือฟรี – แน่นอนครับอ่านแล้วยืมกลับบ้านได้ฟรี
2 หนังสือเสียง – ห้องสมุดบางแห่งมีให้ฟังหนังสือเสียงด้วย นั่นแหละฟรี
3 ดีวีดี – ภาพยนตร์ สารคดี มีให้ชมฟรี
4 ซีดีเพลง – อยากฟังเพลงก็ฟรีนะครับ
5 หนังสือเก่าของห้องสมุด – บางแห่งก็นำมาขาย บางแห่งก็บริจาคฟรี
6 อินเทอร์เน็ต – เล่นเน็ตฟรีแถม wifi ให้ด้วย
7 คอมพิวเตอร์ – ไม่ได้เอาโน้ตบุ๊คมาก็ใช้คอมที่ห้องสมุดได้ฟรี
8 วารสาร นิตยสาร – นิตยสารเล่มใหม่ๆ ให้อ่านฟรี
9 ชมรมหนังสือ – ตั้งชมรมคนรักหนังสือได้ฟรีที่ห้องสมุด แล้วแต่ว่าจะสนใจหนังสือแนวไหน
10 งานนิทรรศการ -? ชมนิทรรศการฟรีแถมได้ความรู้
11 ที่คั่นหนังสือ – มีแจกตามเคาน์เตอร์บรรณารักษ์
12 คูปองส่วนลดจากร้านค้าใกล้เคียง – อันนี้เห็นในต่างประเทศเยอะแจกฟรีคูปองส่วนลดร้านค้าที่อยู่ใกล้ๆ ห้องสมุดซึ่ง แจกฟรี
13 การเรียนการสอนฟรี – ห้องสมุดมีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย อยากเรียนอะไรก็เรียนได้เลยฟรี
14 กิจกรรมสำหรับเด็ก – เล่านิทาน ระบายสี ฟรีในห้องสมุด
15 ศึกษาวรรณกรรม – ห้องสมุดมีเรื่องสั้น นวนิยายดีๆ มากมายให้อ่านฟรี
16 ผู้ช่วยในการค้นหาข้อมูล – บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าฟรี ลองใช้กันดู
17 บริการยืมหนังสือข้ามห้องสมุด – อยากได้หนังสือจากห้องสมุดอื่น บรรณารักษ์ยืมให้ฟรี
18 ฐานข้อมูล – ค้นคว้าเรื่องเฉพาะทางฐานข้อมูลมีให้ใช้ฟรี
19 ผู้ช่วยสำหรับผู้เชี่ยวชาญ – บรรณารักษ์เราช่วยค้นคว้าได้ทุกอย่างซึ่งนั้นแหละฟรี
20 กิจกรรมเปิดตัวหนังสือ – สำนักพิมพ์สามารถใช้ห้องสมุดเป็นเวทีสำหรับการเปิดตัวหนังสือใหม่ได้ฟรี
21 ภาพยนตร์ – มีการจัดฉายภาพยนตร์ฟรี
22 คอนเสิร์ต – การจัดงานคอนเสิร์ตเล็กๆ หรืองานแสดงดนตรีในห้องสมุดก็ฟรีนะ
23 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน – กิจกรรมส่งเสริมการอ่านมีบริการฟรีในห้องสมุด
24 ช่วยทำการบ้าน – เด็กๆ สามารถให้บรรณารักษ์ช่วยทำการบ้านฟรี
25 ห้องสมุดเคลื่อนที่ – ห้องสมุดสามารถออกไปจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ฟรี
26 รายการหนังสือน่าอ่าน – ห้องสมุดจะช่วยคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจให้ผู้ใช้บริการได้ฟรี
27 กิจกรรมสำหรับวัยรุ่น – กิจกรรมในห้องสมุดที่หลากหลายตอบสนองคนทุกเพศวัยฟรี

เอาเป็นว่าจบแล้วครับ 27 อย่าง แล้ว “27 อย่างที่ว่าไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด”
ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีฟรีครบทั้งหมดเลยหรือปล่าวครับ อย่างไหนที่ไม่น่าจะฟรีบ้าง ร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้ครับ

ต้นฉบับของเรื่องนี้มีคำอธิบายมากมาย เพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.savingadvice.com/articles/2008/07/04/102183_27-free-things-at-the-library.html

Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network

เดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ในหัวข้อเรื่อง “Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network
วันนี้ผมขอนำเรื่องราวต่างๆ ในวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

cybrarian_in_social_network

ก่อนที่จะได้มาบรรยายที่นี่
จริงๆ แล้วผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีบ่อยๆ นะครับ แต่ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเลย
แต่ก็พอจะรู้จักกับเครือข่ายบรรณารักษ์ที่เป็นสมาชิกบล็อกของผมอยู่ นั่นคือ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ซึ่งทำงานที่ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์อยู่
ได้คุย MSN และ ตามข่าวสารใน Twitter อยู่บ่อยๆ ก็ได้คุยและได้นัดแนะกันว่าจะเข้ามาคุยที่ ม อุบลบ้าง
พี่เขาก็เลยจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบรรณารักษ์เล็กๆ ให้สักกลุ่มหนึ่ง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : “เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

DSCF1336 DSCF1371

บทสรุปเรื่องราวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– แนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีในรูปโฉม
พร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด
โดยงานนักพัฒนาระบบห้องสมุด ไม่ได้หมายถึงงานไอทีของห้องสมุดอย่างเดียว แต่เป็นงานดูแลภาพรวมของห้องสมุดทั้งหมด

– แนะนำการใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib และตอบปัญหาเรื่องการใช้งานบางส่วน
และช่วยกันระดมปัญหาและอุปสรรคในการทำงานกับระบบห้องสมุด Walai AutoLib
เนื่องจากห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib ตัวเดียวกัน

– แนะนำระบบห้องสมุดฉบับ Opensource ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งตอนนี้ใกล้เสร็จแล้ว
ในงานนี้ผมเอามา Demo ให้เห็นก่อนใคร ซึ่งในอนาคตห้องสมุดต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีๆ
ซึ่งความสามารถของโปรแกรมตัวนี้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานและรองรับห้องสมุดหลายขนาด

DSCF1362 DSCF1380

– ช่วงพักได้สนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้เข้าร่วมบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องการใช้บล็อกกับเว็บบอร์ดว่าแตกต่างกันอย่างไร
ผมจึงอธิบายและเปรียบเทียบการใช้งานว่า หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบเต็มรูปแบบ เช่น เขียนเรื่องยาวๆ มีรูป วีดีโอ เสียง ผมแนะนำบล็อก
แต่หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเฉพาะเรื่อง เช่น ทำแบบสอบถามความคิดเห็น โดยใช้คำถามสั้นๆ ก็ใช้เว็บบอร์ดน่าจะดีกว่า
แต่โดยรวมผมสนับสนุนการใช้บล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่า เนื่องจากสามารถทำระบบสืบค้นและจัดหมวดหมู่ได้ดีกว่า

DSCF1367 DSCF1357

– กลับมาบรรยายต่อเรื่องที่มาของการเกิด ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib และ Libraryhub
ทำไมผมต้องเขียนบล็อกบรรณารักษ์และห้องสมุด (ผมนำสไลด์เดิมที่ผมเคยบรรยายมาอธิบายอีกครั้ง)
(เพื่อนๆ สามารถแานได้ที่ “ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์“)

– เครื่องมือออนไลน์ที่ผมใช้ในการสร้างเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกับสมาชิกบล็อก เช่น Email Hi5 Twitter MSN Facebook
แต่ละเครื่องมือมีความสามารถเฉพาะตัวในการสื่อสารขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้งานเพื่ออะไร
และเครื่องมือต่างๆ ที่แนะนำเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ฟรีบนเว็บทั้งนั้น ห้องสมุดควรจะเรียนรู้และหัดใช้ให้คล่องๆ

DSCF1352 DSCF1356

– ช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเพื่อนๆ ตั้งคำถามมากมาย เช่น
— อยากได้ระบบห้องสมุดที่ใช้งานกับห้องสมุดโรงเรียน — ผมแนะนำ PLS และให้ที่อยู่สำหรับการขอแผ่นโปรแกรม PLS
— สอบถามเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานห้องสมุด และจำนวนนิตยสารที่ควรมีในห้องสมุดโรงเรียน — อันนี้ผมติดเอาไว้ก่อน แต่โดยรวมผมแนะนำให้อ่านมาตรฐานห้องสมุด
— สอบถามเกี่ยวกับจำนวนหนังสือที่หายไปเนื่องจากห้องสมุดไม่ได้ทำการ Check stock มา 4 ปีแล้ว — ผมเน้นว่ายังไงก็ต้องทำการ check stock ทุกปี

เอาเป็นว่าครั้งนี้ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ผมก็ได้ความรู้ใหม่ๆ มาด้วยเช่นกัน
และสนุกมาที่ได้มาบรรยายที่นี่ บรรยากาศนั่งพื้นแล้วบรรยายเป็นกันเองมากๆ
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ด้วยครับ ที่ให้โอกาสผมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกๆ คน

เสวนาฉบับย่อโดย ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ่านได้ที่
http://sac.la.ubu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=159&Itemid=62

ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานนี้

[nggallery id=27]

มาหอสมุดแห่งชาติควรจะพกบัตรมาเยอะๆ

เมื่อวานก็เป็นอีกหนึ่งวันที่ผมมาใช้บริการที่หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งแน่นอนครับถ้าไม่มีอะไรผมก็คงไม่เขียนบล็อกหรอก
แน่นอนครับ เกริ่นมาซะขนาดนี้แล้ว….มันมีเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมอีกแล้วครับท่าน
จริงๆ ผมก็เคยพูดไปแล้วในเรื่อง “เรื่องอึ้งๆ ณ ?มุมโน้ตบุ๊ค? ในหอสมุดแห่งชาติ” เกี่ยวกับการแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ

national-library-thailand

ประเด็นไหนบ้างที่ต้องแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ
1. ยืมหนังสือออกจากห้องบริการเพื่อถ่ายเอกสาร
2. ขอใช้มุมบริการโน้ตบุ๊ค

เอาเป็นว่าวันนี้ผมมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ แบบว่าต้องใช้หนังสือจากหลายๆ ห้องบริการ
เช่น หนังสือในหมวดบรรณารักษ์ ห้อง 213 และนิตยสารจากชั้น 1 เอาเป็นว่าใช้ไปแล้ว 2 ใบ
นอกจากนี้ผมยังต้องใช้บริการโน้ตบุ๊คที่ผมนำมาเองอีก และแน่นอนว่าต้องใช้ไปอีก 1 ใบ

หมายเหตุสักนิด บัตรที่จะใช้ได้ต้องเป็นบัตรที่มีรูปถ่ายเท่านั้น

สรุปวันนี้ผมใช้บัตรเพื่อแลกกับบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติจำนวน 3 ใบ ประกอบด้วย
– บัตรประชาชน
– ใบขับขี่
– บัตรสมาชิกห้องสมุดซอยพระนาง

เอาเป็นว่าเหนื่อยใจ จริงๆ ต้องใช้บัตรเยอะแบบนี้ ลองคิดดูนะครับว่าถ้าผมไม่รู้ธรรมเนียมของหอสมุดแห่งชาติ
ผมคงโวยวายกับบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของแต่ละห้องไปเรียบร้อยแล้ว

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้นะครับสำหรับคนที่จะมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ
ถ้าต้องการข้อมูลและบริการที่เยอะหน่อยก็ควรพกบัตรที่มีรูปมาหอสมุดแห่งชาติเยอะๆ นะครับ