ปลุกใจบรรณารักษ์ให้ฮึกเฮิมในการทำงาน

รูปที่ท่านกำลังจะได้ชมต่อจากนี้ เป็นภาพของหุ่นบรรณารักษ์ที่ยืนเรียงกันเป็นแถว
โดยหุ่นบรรณารักษ์เหล่านี้ผมขอเปรียบเทียบให้เหมือนการตั้งแถวของทหารก็แล้วกัน

librarian-army

ซึ่งจากภาพเราคงจะเห็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของเหล่ากองทัพบรรณารักษ์แล้วนะครับ
“เอาพวกเราเข้าแถว เตรียมตัวออกไปให้บริการกัน พร้อมแล้วใช่มั้ย เอ๊าบุกกกกก!!!!!!…..”

ยิ่งดูก็ยิ่งหึกเหิมในการให้บริการใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้ายังไม่หึกเหิมแนะนำว่าให้ลองไปสูดกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดได้ที่ชั้นหนังสือเดี๋ยวนี้

สังเกตุดูนะครับว่าบรรณารักษ์อย่างพวกเราไม่ใช้ความรุนแรงเหมือนใคร
อาวุธที่พวกเรามี คือ หนังสือ (อาวุธทางปัญญา)

ใครก็ตามที่เข้ามาที่ห้องสมุดพวกเราสัญญาครับว่าจะให้อาวุธทางปัญญากับคนๆ นั้น อิอิ สู้ๆ ครับ

อ้างอิงรูปจาก http://www.flickr.com/photos/laurak/104736630/

ขอแทรกเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ก่อนจบนะครับ

คำว่า “bibliotecaria” ที่อยู่ที่ฐานของหุ่นบรรณารักษ์ แปลว่าอะไร

คำว่า? “bibliotecaria” เป็นคำ Noun เอกพจน์เพศหญิง “bibliotecaria” ถ้าพหูพจน์ ใช้ “bibliotecarias”
“bibliotecaria” หมายถึง A female professional librarian. ถ้าเป็นเพศชายจะใช้ “bibliotecario”
ข้อมูลจาก http://en.wiktionary.org/wiki/bibliotecaria

ลักษณะทั่วไปของมุมกาแฟในห้องสมุด

บริการใหม่ๆ และทัศนคติใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันและเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น
อดีตห้องสมุดหลายแห่งไม่อนุญาติให้นำของกินหรือเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสมุด
แต่ปัจจุบันห้องสมุดเหล่านั้นก็เริ่มเปลี่ยนอนุญาติให้นำของกินหรือเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสมุดได้

coffee-in-library

โดยเฉพาะมุมกาแฟ ช่วงหลังๆ ที่ผมไปเยี่ยมห้องสมุดหลายๆ ที่
ผมก็เริ่มสังเกตว่าห้องสมุดส่วนใหญ่พักหลังมักจะนิยมมีมุมกาแฟด้วย

จะเพิ่มอีกสักมุมก็คงไม่แปลกเนอะ “มุมกาแฟ” ในห้องสมุด

มุมกาแฟที่ผมพบหลักๆ ผมจะขอแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆ นะครับ ซึ่งมีดังนี้

แบบที่ 1 เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการร้านกาแฟเข้ามาเปิดกิจการในห้องสมุด

ลักษณะแบบนี้ห้องสมุดก็ได้ผลตอบแทนหลายๆ อย่าง เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ฯลฯ
ห้องสมุดที่ดำเนินการแบบนี้ได้จะต้องเป็นห้องสมุดที่มีบริเวณหน่อยนะครับ


แบบที่ 2 จัดมุมกาแฟแบบง่ายๆ ด้วยการให้ผู้ใช้บริการบริการตัวเอง

ลักษณะแบบนี้ห้องสมุดก็จะจัดเครื่องทำน้ำร้อน แก้วกระดาษ ช้อนคน และกาแฟสำเร็จรูปประเภทซอง
จากนั้นการคิดเงินก็ให้ผู้ใช้บริการหยอดเงินใส่กล่อง หรือไม่ก็เก็บเงินที่หน้าเคาน์เตอร์
แบบนี้ก็ดีครับง่ายดีแต่การเขียนขออนุมัติกับผู้บริหารจำเป็นต้องเล่าถึงจุดประสงค์ที่ชัดเจนนะครับ
(ไม่งั้นผู้บริหารจะมาหาว่าคุณกำลังหากินกับผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วย)


แบบที่ 3 จัดตู้กดเครื่องดื่มอัตโนมัติ หรือตู้กดน้ำกระป๋อง

ลักษณะนี้ก็จะคล้ายๆ กับข้อที่หนึ่ง คือ ให้ผู้ประกอบการตามติดตั้งให้และดูแลเครื่องเอง
จากนั้นห้องสมุดก็เก็บค่าไฟ หรือ ค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายด้วย

เอาเป็นว่าจริงๆ แล้วอาจจะมีรูปแบบอื่นๆ อีก ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ เล่าให้ผมฟังบ้างนะ

นักศึกษาภาคค่ำก็ต้องการใช้ห้องสมุดเหมือนกัน

วันนี้ผมขอเขียนถึงเรื่องการให้บริการห้องสมุดในช่วงกลางคืนบ้างนะครับ และเข้าใจว่าหลายๆ ห้องสมุดก็ให้บริการซึ่งดีอยู่แล้ว
แต่ห้องสมุดบางแห่งกลับละเลยเกี่ยวกับการให้บริการผู้ใช้เฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะ “นักศึกษาภาคค่ำ” หรือ “นักเรียนภาคค่ำ
ซึ่งวันนี้ผมจะเขียนแสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดและผู้ให้บริการห้องสมุดให้เพื่อนๆ อ่านกัน

libraryinnight

เมื่อสถาบันการศึกษาเปิดรับนักเรียนหรือนักศึกษาภาคค่ำแล้ว (โดยเฉพาะโรงเรียนอาชีวะ โรงเรียนพาณิชย์ ฯลฯ)
การบริการสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ห้องสมุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาดังกล่าว
เนื่องจากนักเรียนและนักศึกษาเหล่านี้ก็ต้องจ่ายค่าเทอมและค่าบริการต่างๆ ให้กับสถาบันการศึกษา เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด ฯลฯ

หลายๆ สถาบันการศึกษาก็มีการบริการห้องสมุดให้นักศึกษาภาคค่ำด้วยโดยจะเปิดให้บริการดึกขึ้น
แต่ประเด็นตรงนั้นผมจะไม่พูดถึง แต่จะขอกล่าวถึงบางสถาบันการศึกษาเท่านั้น
ที่มีการเปิดการเรียนการสอนภาคค่ำแต่ไม่จัดบริการพื้นฐานดังกล่าว
โดยเหตุการณ์นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฐานะที่ผมเป็นทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

มุมมองของผมในฐานะผู้ใช้บริการ (นักศึกษาปริญญาโทภาคค่ำ) ต่อห้องสมุดคณะ
ผมเรียนปริญญาโทในภาคค่ำ ซึ่งเรียนเวลา 18.00 – 21.00 น. แต่ห้องสมุดของสถาบันที่ผมเรียนปิดเวลา 21.00 น.
ซึ่งทำให้ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ห้องสมุดในวันที่ผมเรียน เนื่องจากพอเรียนเสร็จห้องสมุดก็ปิดไปแล้ว
และข้อจำกัดของคนที่เรียนปริญญาโทภาคค่ำ คือ เป็นคนที่ทำงานประจำอยู่แล้ว พอมาถึงที่เรียนก็มักจะถึงเวลาเข้าเรียนพอดี
ดังนั้นหากพิจารณาจากเหตุการณ์ต่างๆ จะรู้ว่านักศึกษาเหล่านี้แทบไม่ได้ใช้ห้องสมุดเลยในช่วงกันธรรมดา


มุมมองของผมในฐานะบรรณารักษ์ของสถานศึกษาที่มีการเปิดหลักสูตรภาคค่ำ

นโยบายของผู้บริหารมีการกำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดห้องสมุดอย่างชัดเจน คือ ให้บริการในช่วงเวลา 8.00 – 18.00 น.
ซึ่งทางบรรณารักษ์ได้ยื่นเรื่องขอขยายเวลาในการเปิดให้บริการห้องสมุดไปจนถึงเวลา 22.00 น.
แต่ผู้บริหารปฏิเสธในการขยายเวลาเนื่องจากมองในเรื่องของการใช้ทรัพยากรและความคุ้มค่าของการให้บริการเป็นหลัก
(ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ เครื่องปรับอากาศ ค่าจ้างพนักงานล่วงเวลา ฯลฯ)

อ่านแล้วเข้าใจภาพรวมกันบ้างหรือยังครับ จริงๆ แล้วเรื่องนี้สำหรับผมเองในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์
ผมก็อยากให้บริการห้องสมุดกับนักศึกษาภาคค่ำด้วยเช่นกันนะครับ ผมใช้หลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรานะครับ
ลองมองย้อนว่าถ้าคุณเป็นนักศึกษาเหล่านี้ คุณเองอยากจะใช้ห้องสมุดบ้างหรือปล่าว

แนวทางที่ผมจะเสนอจะทำได้หรือไม่ได้อันนี้เพื่อนๆ ก็ลองพิจารณากันดูนะครับ
ผมขอเสนอให้ห้องสมุดปิดหลังจากหมดการเรียนการสอนของนักศึกษาภาคค่ำสัก 1 ชั่วโมงครับ
เช่น ถ้านักศึกษาภาคค่ำเลิกเรียน 21.00 น. ห้องสมุดก็ควรปิดสักประมาณ 22.00 น.

ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริการในการยืมคืนกับนักศึกษาภาคค่ำบ้าง

สุดท้ายก็ขอฝากว่า “การบริการเราต้องยึดผู้ใช้เป็นหลัก ไม่ใช่ยึดความสบายของบรรณารักษ์เป็นหลัก”
อย่างน้อยนักศึกษาภาคค่ำจะได้ไม่ต้องมาบ่นว่า ?เสียเงินจ่ายค่าห้องสมุดไปแล้วไม่เห็นได้ใช้เลย?

ห้องสมุดเพื่อผู้ใช้บริการหรือเพื่อบรรณารักษ์กันแน่

ในการจัดตั้งห้องสมุดไม่ว่าที่ไหนก็ตาม จุดมุ่งหมายสำคัญที่บรรณารักษ์ได้ยินมาตลอดคือ “เพื่อผู้ใช้บริการ”
ประโยคนี้ผมก็ได้ยินตั้งแต่สมัยที่ผมยังเรียนบรรณารักษ์เหมือนกัน
ในเรื่องของการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ “ผู้ใช้บริการเหมือนพระเจ้า” ก็ว่าได้

libraryforuser

แต่พอเราลองมองย้อนดูเวลาทำงานเราตอบสนองให้กับผู้ใช้จริงๆ หรือปล่าว
อันนี้ต้องคิดดูอีกทีนะครับ เพราะเท่าที่ผมเคยใช้บริการและเป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดหลายๆ ที่
ผมก็คิดอยู่เสมอว่าทำไมบางครั้งการสั่งหนังสือ หรือการบริการต่างๆ บรรณารักษ์ยังอิงความเป็นบรรณารักษ์
และตอบสนองผู้ใช้ได้ไม่เต็มที่ การวิเคราะห์เพื่อให้เข้าถึงความเข้าใจของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก

ในบางครั้งจึงอาจมีการถกเถียงกันว่า…
ความจริงแล้วเราทำเพื่อผู้ใช้จริงหรือ หรือเป็นเพียงการบริการที่ทำให้บรรณารักษ์สบาย

—————————————————

กรณีการสืบค้นหนังสือในห้องสมุด

ห้องสมุด ก. เวลาผมไปห้องสมุดนี้ทีไรต้องการสืบค้นหนังสือผมก็จะเข้าไปถามบรรณารักษ์ว่า
หนังสือที่ผมต้องการหาอยู่ตรงไหน” แต่กลับได้รับคำตอบว่า “ไปหาในคอมพิวเตอร์ดู

ซึ่งทำเอาผมงงไปชั่วขณะ…
จากนั้นผมเดินไปทางมุมสืบค้นคอมพิวเตอร์บ้าง ปรากฎว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่เลย
ผมจึงเดินกลับไปถามบรรณารักษ์ใหม่อีกรอบว่า “ที่มุมสืบค้นไม่เห็นมีคอมพิวเตอร์เลย
บรรณารักษ์คนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า “คอมพิวเตอร์เสีย” “งั้นไปใช้บัตรรายการดูแล้วกัน

ประมาณว่าจะขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ เขาก็บอกให้ไปใช้คอมพิวเตอร์
แถมพอคอมพิวเตอรืเสียก็แนะนำไปให้ใช้อย่างอื่น

สรุปว่าบรรณารักษ์เป็นคนที่คอบให้ความช่วยเหลือในห้องสมุดจริงหรือ


—————————————————

ผมขอแถมให้อ่านอีกสักตัวอย่างแล้วกัน

—————————————————

ตัวอย่างกรณีการสั่งหนังสือเข้าห้องสมุด

ห้องสมุด ข. อันนี้ผมเคยทำงานอยู่แล้วกันแต่ไม่ขอเอ่ยชื่ออีก
ในการสั่งหนังสือแต่ละครั้งทางบรรณารักษ์จะนำแบบฟอร์มแล้วให้ผู้ใช้เขียนเสนอแนะรายชื่อหนังสือ
แต่พอรวบรวมเสร็จทีไร ไม่เคยเอารายชื่อนั้นมาส่งให้สำนักพิมพ์สักที

ผมจึงได้เข้าไปสอบถามว่า “ทำไมเราไม่เอารายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเสนอไปสั่งสำนักพิมพ์หล่ะ
บรรณารักษ์ผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นก็ตอบอย่างหน้าตาเฉยว่า
ทำอย่างนั้นจะทำให้เสียเวลาต้องมาแยกสำนักพิมพ์ที่สั่งอีก มันจะไม่สะดวกและเพิ่มภาระงานนะ
เอางี้เราก็ให้ทางสำนักพิมพ์ส่งรายชื่อมาให้เราดีกว่าแล้วเราเลือกเรื่องที่มีหรือที่ใกล้เคียงก็ได้

ผมจึงถามต่อไปว่า “ถ้าสมมุติว่าผู้ใช้บริการเดินเข้ามาถามหาหนังสือที่เขาเสนอไว้หล่ะ จะทำอย่างไร
บรรณารักษ์คนเดิมก็ตอบว่า “ก็บอกไปว่าหนังสือเล่มนั้นทางสำนักพิมพ์แจ้งว่าขาดตลาด

ผมก็ได้แต่นั่งคิดว่า “ทำไปได้นะคนเรา

สั่งหนังสือเพื่อการทำงานของบรรณารักษ์ หรือ เพื่อผู้ใช้บริการเนี้ย

—————————————————

จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงส่วนน้อยของห้องสมุดหล่ะมั้งครับ
ผมเชื่อว่าด้วยจรรยาบรรณของความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์จะยังอยู่กับทุกคนที่ประกอบอาชีพนี้อยู่
เพียงแต่ก็อยากฝากบอกเพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคนว่า ผู้ใช้ของเราสำคัญที่สุด
การบริการด้วยใจ (Service mind) ทุกคนคงมีอยู่ในสายเลือดนะครับ

ก่อนจบขอฝากบทความเรื่อง service mind ให้ลองอ่านดูนะครับ

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)

เทคนิคการสร้างจิตสำนึกในงานบริการ ( Service Mind)

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)

เรื่องอึ้งๆ ณ “มุมโน้ตบุ๊ค” ในหอสมุดแห่งชาติ

หากเพื่อนๆ มีโน้ตบุ๊คแล้วจำเป็นต้องไปทำงานในห้องสมุด เพื่อนๆ เคยเจออะไรแปลกๆ บ้างหรือปล่าว
วันนี้ผมจะมาขอเล่าเรื่องแปลกๆ เรื่องนึงที่ผมเพิ่งจะเจอมากับตัวเองวันนี้ ณ หอสมุดแห่งชาติ

notebook-corner

เรื่องมันมีอยู่ว่า…

วันอาทิตย์อันแสนสุขที่ผมอยากจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องห้องสมุดประชาชน
เพื่อใช้อ่านประกอบและสร้างแรงบันดาลใจในงานห้องสมุดที่ผมกำลังทำอยู่
ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะไปค้นหาข้อมูลที่ “หอสมุดแห่งชาติ”

และเมื่อผมเดินทางไปถึง “หอสมุดแห่งชาติ”
ผมก็ประทับใจในเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยมากที่อนุญาตให้ผมนำโน้ตบุ๊คและกระเป๋าเข้าไปด้วย

ด้วยความชำนาญในการหาข้อมูลของผม (มาบ่อยเลยรู้ว่าต้องให้ห้องไหน)
ผมจึงได้เข้าไปในห้อง 213 (ห้องที่เก็บหนังสือคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ปรัชญา)
แล้วก็ค้นหาหนังสือที่ผมต้องการซึ่งได้มาจำนวน 4 เล่ม

แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะกล่าว เพราะว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊ค
แต่สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี่คือประเด็นของเรื่องๆ นี้…

ผมต้องการใช้คอมพิวเตอร์ของผมในการพิมพ์งาน และจดโน้ตบทสรุปของหนังสือ
ผมจึงสอบถามบรรณารักษ์ในห้อง 213 ว่า

Libraryhub : “ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าผมจะใช้โน้ตบุ๊คของผมเพื่อพิมพ์งานในห้องนี้ได้มั้ย”
บรรณารักษ์ 213 : “ไม่ได้หรอกนะค่ะ ถ้าจะใช้ต้องไปที่ห้อง 204 – 205 ค่ะ”
Libraryhub : “ทำไมหล่ะครับ ผมไม่ได้ใช้ปลั๊กไฟของที่นี่นะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “อ๋อ ห้องนั่นเขามี “มุมโน้ตบุ๊ค” อยู่นะค่ะ”
Libraryhub : “แล้วหนังสือของผมพวกนี้หล่ะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “คุณก็ทิ้งบัตรประชาชนของคุณไว้ที่ห้องนี้ด้วยสิค่ะ”

เอาเป็นว่านี่เป็นบทสนทนาสั้นๆ ที่ผมคุยกับบรรณารักษ์นะครับ
ซึ่งโอเคผมก็คงต้องปฏิบัติเหมือนคนอื่นๆ แหละครับ คือ ต้องยอมทำตาม

จากนั้นผมก็ทิ้งบัตรประชาชนเพื่อยืมหนังสือ แล้วถือโน้ตบุ๊คไปที่ห้องใหญ่ (204-205)

พอถึงห้องกลาง(204-205) ผมก็เห็น “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่บรรณารักษ์ห้อง 213 บอก
ผมก็เดินไปเพื่อที่จะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” นั้น แต่บรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์กลางก็เรียกผมอีก

บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง :
“เดี๋ยวๆ คุณจะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” ใช่มั้ย”
Libraryhub : “อ๋อ ใช่ครับ ผมเอาโน้ตบุ๊คมา และต้องการใช้พิมพ์งาน บรรณารักษ์ห้อง 213 บอกให้ผมมาใช้ห้องนี้”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ งั้นคุณก็กรอกแบบฟอร์มนี้ก่อนใช้นะครับ”
Libraryhub : “โอเคครับ งั้นกรอกแบบฟอร์มก่อนแล้วกัน”

ในระหว่างที่ผมกรอกแบบฟอร์มผมก็ถามพี่ๆ บรรณารักษ์ที่นั่งตรงกลางเคาน์เตอร์ว่า
Libraryhub : “พี่ครับขอถามอะไรนิดนึงนะครับ เกี่ยวกับการใช้บริการโน้ตบุ๊ตในหอสมุดแห่งชาติ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ได้ครับ มีอะไรหรอครับ”
Libraryhub : “คือ ผมแปลกใจว่าทำไมต้องเล่นได้ที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” อย่างเดียวหรอครับ เพราะว่าผมเองก็ไม่ได้ต้องการใช้ปลั๊กนี่ครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “อ๋อ คือทางส่วนกลาง เขาจัดไว้ให้นะครับ”
Libraryhub : “แล้วทำไมต้องเป็นตรงนี้ด้วยหรือครับ หรือว่ามีสัญญาณ Wifi ตรงนี้หรอครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ปล่าวครับ ไม่มีสัญญาณให้เล่นอินเทอร์เน็ตหรอกครับ แต่ส่วนกลางให้เล่นได้เฉพาะ “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่เขาจัดเท่านั้นครับ”
Libraryhub : “สรุปคือไม่ได้มีความพิเศษอย่างอื่นเลย นอกจากมีปลั๊กไฟใช่มั้ยครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ”

เมื่อจบบทสนทนาผมก็กรอกแบบฟอร์มขอใช้งานเสร็จพอดี ผมจึงถามต่อไปว่าล

Libraryhub : “กรอกเสร็จแล้วครับ งั้นผมขอไปใช้โน้ตบุ๊คของผมก่อนนะครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ยังไม่ได้ครับ ต้องแลกบัตรไว้ที่เคาน์เตอร์ด้วยครับ”
Libraryhub : “อ้าว เมื่อกี้ผมเอาบัตรไปใช้ยืมหนังสือจากห้อง 213 มาแล้วนี่ครับ ผมจะใช้บัตรใบไหนอีก”
(เนื่องจากผมมากับเพื่อน บรรณารักษ์ก็เห็น)
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “งั้นใช้บัตรของเพื่อนอีกคนก็ได้นะครับ”

สุดท้ายผมก็เลยต้องใช้บัตรของเพื่อนเพื่อแลกกับการใช้โน้ตบุ๊คในหอสมุดแห่งชาติ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ได้อ่านแล้วรู้สึกยังไงกับเรื่องนี้ครับ
ผมอึ้งแทบจะทำอะไรไม่ถูกเลย แบบว่าตกใจมากๆ

“มุมโน้ตบุ๊ค” ที่หอสมุดแห่งชาติเป็น คือ โต๊ะรวมที่นั่งเล่นโน้ตบุ๊คได้พร้อมกัน 6 เครื่อง
แถมด้วยปลั๊กที่ใช้สำหรับชาร์จแบตของโน้ตบุ๊คได้อย่างเดียว ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายด้วย
ในความคิดเห็นของผม มันก็ไม่ต่างอะไรจากที่นั่งอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติหรอกนะ
เพียงแค่ที่นั่งที่ต้องกรอกแบบฟอร์ม และใช้บัตรแลกเพื่อใช้งาน

แล้วตกลงเขาเรียกว่า “มุมโน้ตบุ๊ค” เพื่ออะไร…..

เมื่อผมใช้งานโน้ตบุ๊คเสร็จแล้ว ผมจึงเดินไปรับบัตรประชาชนของเพื่อนคืนจากเคาน์เตอร์
แล้วสอบถามถึงแบบฟอร์มการขอใช้บริการ “มุมโน้ตบุ๊ค” ว่าผมจะขอตัวอย่างแบบฟอร์มหน่อยได้มั้ย
ซึ่งได้คำตอบว่า “มันเป็นความลับของหอสมุดแห่งชาติ ไม่สามารถให้ได้”
เออ เอาเข้าไปดิ แค่แบบฟอร์มก็ยังถือว่าเป็นความลับเลย

สุดท้ายนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมุมโน้ตบุ๊ตของหอสมุดแห่งชาติ
เอาเป็นว่าใครพอรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊คนี้ ก็ช่วยแถลงให้ผมทราบทีเถอะครับว่า
“ตกลงมันเกิดอะไรขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติและมุมโน้ตบุ๊ค”

ทำไมคนถึงไม่เข้าห้องสมุดประชาชน ???

เพื่อนๆ ในแต่ละจังหวัด คงจะเคยสังเกตห้องสมุดประชาชนของจังหวัดตัวเองดูนะครับ
ว่ามีห้องสมุดประชาชนของจังหวัดนั้นๆ มีผู้ใช้บริการ หรือคนเข้ามาในห้องสมุดมากน้อยเพียงใด

public-library

หลายๆ คนอาจจะตอบผมว่า น้อย หรือไม่ก็น้อยมาก (ส่วนใหญ่)

สาเหตุที่คนไม่ค่อยเข้าใช้ห้องสมุดประชาชน เกิดจากอะไรได้บ้าง
– ทรัพยากรสารสนเทศมีน้อย
– บรรยากาศในห้องสมุดไม่ค่อยดี
– ห่างไกลจากชุมชน
– บรรณารักษ์ต้อนรับไม่ดี

ประเด็นต่างๆ ที่ผมกล่าวอาจจะมีส่วนที่ทำให้คนไม่เข้าห้องสมุดนะครับ (แค่อาจจะมีส่วนนะครับ)

บางครั้งถ้าผมไปถามบรรณารักษ์ หรือ คนทำงานห้องสมุดบ้างว่าทำไมไม่มีใครเข้าใช้
ผมก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจจะตอบผมว่า
– พฤติกรรมของคนไม่ชอบการอ่าน (คนไทยไม่ชอบอ่าน)
– งบประมาณไม่มีเลยไม่ได้พัฒนาห้องสมุด

โอเคครับ สำหรับคำตอบที่กล่าวมา

จากเสียงของผู้ใช้ จนถึงเสียงของบรรณารักษ์ ผมสรุปได้ง่ายๆ ว่า
เกิดจากห้องสมุดไม่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวห้องสมุดได้
ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่มีจำนวนน้อย หรือสภาพห้องสมุดที่ไม่มีการปรับปรุง

โอเคครับ นั่นคือปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
ด้วยความเป็นจริงที่เลี่ยงไม่ได้ ห้องสมุดประชาชนก็ยังคงต้องประสบปัญหานี้ต่อไป

ผมได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ หลายคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อคิดมากมาย เช่น

คุณ PP ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

จำได้ว่าเคยไปหาหนังสือทำรายงานที่ห้องสมุดเทศบาล หนุงสือน้อยกว่าที่โรงเรียนอีก แถมเก่า เดือนก่อนเพิ่งสังเกตุว่ามีห้องสมุด มสธ เปิดอีกแห่งทั้งสภาพ บรรยากาศ พอๆ กัน ถ้ารวมกันได้? คงประหยัดงบได้เยอะ อย่างน้อยก็ไม่ต้องซื้อหนังสือพิมย์ฉบับเดียวกัน ส่วนงบประมาณถ้าทำดีๆ แล้วขอบริจาคคงได้งบมาบ้างละ แต่บริการตอนนี้บอกตรงๆ เห็นแล้วเซ็ง

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดว่า

บรรณารักษ์มีส่วนทำให้คนเข้าห้องสมุดได้น้อยเหมือนกันนะ อย่างสมัยเรียนห้องสมุดประชาชนอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก พอเข้าไปใช้ เจ้าหน้าที่นั่งหลับ ทำหน้าทีแค่เปิดปิดห้อง ทำความสะอาดนิดหน่อย หน้าที่หลักคือ เฝ้าห้อง

จากเรื่องด้านบนที่ผมได้เขียนมาก็เป็นเพียงแค่ห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ
ผมก็อยากจะบอกว่า ยังมีห้องสมุดประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการเยอะเช่นกัน
ซึ่งไว้ผมจะขอเล่าให้ฟังในตอนหน้านะครับว่า ห้องสมุดเหล่านั้นทำไมจึงมีผู้ใช้บริการมากมาย

แต่ทั้งหลายทั้งปวลที่เล่านี่ก็ไม่ได้อยากให้ท้อนะครับ
เพียงแต่เรื่องหลายๆ เรื่องเราต้องทำความเข้าใจและช่วยกันปรับปรุงกันต่อไป