แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่จบ (ผ่านมาเกือบจะ 2 ปีแล้ว) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา และสิ่งหนึ่งที่ผมอยากบอก คือ สถานกาณ์นี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ เรื่อง และไม่มีวันที่จะกลับไปสู่ความปกติแบบเดิม

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบล็อก เรื่อง “Six Ways that School Libraries Have Changed (and One that Will Always Be the Same)” แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เพื่อนครูบรรณารักษ์” หรือ ผู้ที่สนใจและทำงานในห้องสมุดโรงเรียน

ปัจจุบันนี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษา ยังไม่สามารถกลับมาสอนเด็กๆ แบบปกติได้ และเกือบทั้งหมดเน้นการเรียนการสอนผ่าน Remote Classroom แล้วแบบนี้ ห้องสมุดโรงเรียนจะให้บริการเด็กๆ ได้อย่างไร

6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยน มีอะไรบ้างหล่ะ ไปดูกันเลย

1) Flexible, Collaborative Learning Environments.
ความยืดหยุ่น และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

2) Maker Spaces, Creation Stations and Engagement.
พื้นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ พื้นที่ประดิษฐ์โครงงาน สิ่งของ

3) More Technology.
เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ห้องสมุดทันสมัย น่าตื่นเต้น และดึงดูดใจ

4) The Comfort Factor.
สร้างความสะดวกสบายในการใช้งาน และการเรียนรู้

5) Team Teaching, Multi-tasking, Twenty-first Century Librarians.
บูรณาการ (ศัพท์แบบไทยๆ) คุณครูและบรรณารักษ์ต้องร่วมมือกันสอนเด็กๆ

6) Noise.
หมดยุคห้องสมุดที่ต้องเงียบแล้วครับ เพราะการเรียนรู้ที่ต้องเรียนร่วมกันจำเป็นที่ต้องมีการพูดคุย

จาก 6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนข้างต้นแล้ว ในบทความมีทิ้งท้ายสิ่งที่สำคัญและไม่มีวันเปลี่ยนแปลงห้องสมุดโรงเรียนได้ คือ การส่งเสริมเรื่องนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างการตระหนักรู้ในทุกเรื่อง (Literacy)

เอาเป็นว่าไปสำรวจห้องสมุดโรงเรียนของเพื่อนๆ ดูว่าตอนนี้ สามารถปรับเปลี่ยนห้องสมุดโรงเรียนให้เข้ากับ การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยเพียงใด

ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ…

บทความต้นฉบับ : https://action.everylibrary.org/six_ways_that_school_libraries_have_changed_and_one_that_will_always_be_the_same

เตรียมห้องสมุดโรงเรียนให้พร้อมก่อนเปิดเทอมภายใน 5 วัน

เตรียมห้องสมุดโรงเรียนให้พร้อมก่อนเปิดเทอมภายใน 5 วัน

บทความนี้เหมาะกับครูบรรณารักษ์และบรรณารักษ์ในโรงเรียนมากๆ และผมมั่นใจว่าทุกคนต้องผ่านเหตุการณ์ดังต่อไปนี้มาแล้ว ลองจินตนาการครับว่า “หากคุณมีเวลาเพียง 5 วันทำการก่อนที่โรงเรียนจะเปิดเทอม คุณจะจัดเตรียมห้องสมุดโรงเรียนของคุณให้พร้อมอย่างไร”

https://mrsjinthelibrary.com/2019/08/19/library-setup-day-1/

เรื่องวันนี้ผมนำมาจากประสบการณ์ของบรรณารักษ์ท่านหนึ่งซึ่งเขียนเรื่องราวข้างต้นได้ละเอียดมากๆ ผมจึงอยากนำมาถ่ายทอดต่อ แต่คงสรุปให้อ่านแบบสั้นๆ นะครับ ถ้าอยากอ่านแบบเต็มๆ ดู Link ด้านล่างได้เลยครับ

Read more
รีวิวหนังสือ “แนวทางสำหรับบรรณารักษ์หนึ่งเดียวในห้องสมุด”

รีวิวหนังสือ “แนวทางสำหรับบรรณารักษ์หนึ่งเดียวในห้องสมุด”

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ผมโพสรูปหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมอยากอ่าน ชื่อเรื่องว่า “Managing the One-Person Library” ซึ่งมีเพื่อนๆ สอบถามและอยากให้ผมช่วย Review หนังสือเล่มนี้ วันนี้สะดวกแล้วครับ มาอ่านรีวิวจากผมกันได้เลย

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Managing the One-Person Library
ผู้แต่ง : Larry Cooperman
ISBN : 9781843346715
ปีพิมพ์ : 2015
จำนวนหน้า : 88 หน้า

Read more
บรรณารักษ์ยังคงสำคัญเสมอในวันที่อะไรๆ มันเปลี่ยนไป

บรรณารักษ์ยังคงสำคัญเสมอในวันที่อะไรๆ มันเปลี่ยนไป

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่า วันที่ 4 เมษายน ของทุกปี คือวันอะไร
ถ้าไม่ทราบลองเปิดดู https://nationaldaycalendar.com/april/

เราจะพบว่า “มีวันสำคัญวันหนึ่งของชาวบรรณารักษ์” นั่นคือ “National School Librarian Day

Read more

สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ฉบับคุณครูบรรณารักษ์

เมื่อวานนี้ (13 ก.ค. 56) ผมได้รับเกียรติจากสำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ให้มาบรรยายในหัวข้อบรรณารักษ์ยุคใหม่ หัวใจนักพัฒนา เรื่อง “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ที่จังหวัดอุบลราชธานี ผมเขียนเรื่องนี้ระหว่างที่รอขึ้นเครื่องกลับ กทม มีเวลาว่างพอสมควร จึงขอสรุปข้อมูลจากการบรรยายมาให้อ่านครับ

21st century skill for librarian

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักจัดการความรู้อาวุโส สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park)

สไลด์ที่ใช้บรรยายFuture skill for 21st century skill librarian version

[slideshare id=24173944&doc=futureskillfor21stcenturyskilllibrarianversion-130712072653-phpapp02]

หัวข้อที่ผมบรรยายในวันนี้ครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
–  แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
–  หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้
–  รู้จักโลก – กระแสสังคม
– ไอซีทีเพื่อการศึกษา
– ความคิดสร้างสรรค์
– สื่อสังคมออนไลน์
– เครือข่ายสังคมออนไลน์

เนื้อหาโดยสรุป “สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”

1. แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ที่มาของทักษะแห่งอนาคต มาจากภาคีความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (เครือข่าย P21) (Partnership for 21st Century Skills) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นภาคีที่รวมกันระหว่าง บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ โดยกำหนดกรอบแนวความคิดออกมาดังนี้

– แกนวิชาหลัก และธีมหลักของศตวรรษที่ 21 ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ต้องมีการบูรณาการวิชาให้ครอบคลุม
– ทักษะ 3 อย่างที่เด็กควรจะมี ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้แนวความคิดหลักอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ TEACH LESS, LEARN MORE คือ สอนน้อยๆ แต่ให้เด็กเรียนรู้มากๆ

นอกจากนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง PBL – Problem based Learning (กระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา)

การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หา ความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง (ที่มาจาก ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

2. หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้

3Rs มาจาก

Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic คณิตศาสตร์

และ 4Cs มาจาก

Critical Thinking การคิดวิเคราะห์
Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

3. รู้จักโลก – กระแสสังคม — โลกไม่ได้กลมเหมือนที่เราคิดแล้ว มันแบนลงจริงๆ ตามอ่านหนังสือเรื่อง The world is flat ต่อนะ

10 เหตุการณ์ที่ทำให้โลกแบน (ข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/posts/308285 (อ.แอมมี่))

1. วันที่ 9 พ.ย. 1989 กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มโลกไร้พรมแดน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน โปรแกรม Windows 3.0 เริ่มวางตลาด
2. บริษัท Netscape เข้าเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งทำให้เกิดสิ่งสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1)browser 2)www 3)dot com
3. การที่มีมาตรฐานและการเชื่อมโยงให้เกิดการสื่อสารกันได้ระหว่างผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรม
4. การเปิดให้ใช้โปรแกรม Linux ฟรีแก่คนทั่วไป ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการสร้างสรรค์
5. รูปแบบใหม่ของการร่วมกันในกระบวนการทำงาน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท สามารถแยกออกไปทำนอกบริษัทในที่อื่นได้
6. การย้ายฐานการผลิต หรือแยกกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทไปต่างประเทศ
7. การบริหารห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก บริษัท Wal-Mart ซื้อของจากประเทศจีนเป็นมูลค่าอันดับที่ 8
8. การที่บริษัทเข้าไปทำงานต่าง ๆ ในบริษัทอื่น เช่น UPS ซึ่งขณะนี้รับทำงาน logistics ให้กับหลายบริษัท
9. เราสามารถหาข้อมูลให้ตัวเองได้อย่างง่ายดายจาก Internet และ search engine เช่น Google
10. เราจะสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

นอกจากนี้ผมยังอธิบายถึง 10 เรื่องที่ต้องรีบทำความรู้จักเพื่อให้ทันต่อโลก คือ

1. The Long tail
2. The World is Flat
3. Critical Mass
4. Web 2.0
5. The Wealth of Networks
6. Free Economy
7. Crowdsourcing
8. Socialnomic
9. Wikinomic
10. Wisdom of Crowd

4.ไอซีทีเพื่อการศึกษา

การเรียนรู้มันเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…ลองมองผ่านห้องสมุดจากอดีตถึงปัจจุบัน ความต้องการของผู้ใช้เปลี่ยนไป
หนังสือ –> สื่อมัลติมีเดีย –> คอมพิวเตอร์ –> Notebook/Netbook –> Tablet

คุณครูบรรณารักษ์ ต้อง [รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้] ไอทีบ้างไม่ต้องเก่งถึงขั้นโปรแกรมเมอร์ เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับไอที มีดังนี้

– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
– ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
– ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
– ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
– ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

นอกจากนี้ผมได้แนะนำวิธีการเลือก app สำหรับ tablet และ smart phone ด้วย

5. ความคิดสร้างสรรค์ – เป็นของทุกคนไม่ใช่เพียงแค่นักออกแบบเท่านั้น

– ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา บางครั้งแค่เพียงเราคิดจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง นั้นก็คือการสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้ว
– แผนที่ความคิด (Mind Map) = เครื่องมือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

6. สื่อสังคมออนไลน์

– ทำความเข้าใจกับคำว่าเว็บ 2.0 ก่อน แล้วจะรู้ว่าเว็บในยุคนี้จะเน้นเรื่องการแชร์และการแบ่งปันข้อมูลเป็นหลัก
– เครื่องมือที่แนะนำให้ใช้มี 10 อย่าง ดังนี้

1) Blog
2) Wikipedia
3) Twitter
4) Facebook
5) Google+
6) LinkedIn
7) Youtube
8) Slideshare
9) Flickr
10) Pinterest

7. เครือข่ายสังคมออนไลน์

– ผมแนะนำแฟนเพจ “เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย” และข้อดีของการรวมกันเป็นกลุ่ม

เอาหล่ะครับนี้ก็เป็นเพียงบทสรุปที่ผมบรรยายให้เพื่อนๆ ฟัง งานวันนี้ขอบอกว่าแอบตกใจเล็กน้อยว่า คนมาเยอะมากเกือบ 300 คนเลย และเป็นครั้งแรกที่สำนักพิมพ์เชิญผมบรรยาย เอาไว้มีโอกาสคงได้บรรยายให้ที่อื่นฟังในเรื่องดังกล่าวต่อนะครับ สำหรับวันนี้ก็ขอบคุณครับ

นายห้องสมุดขอแนะนำครูบรรณารักษ์ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วันนี้มีเวลาไม่ค่อยมาก ผมจึงเลือกที่จะนั่งดูวีดีโอเพื่อผ่อนคลายบนรถตู้ในระหว่างการเดินทางกลับบ้าน บังเอิญเจอคลิปวีดีโอตัวนึงที่น่าสนใจมากเลยเลือกที่จะแนะนำให้เพื่อนๆ ชม (ขณะที่ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ ผมต้องออกตัวก่อนว่ากำลังนั่งบนรถตู้ เพราะฉะนั้นอาจมีพิมพ์ผิดบ้างต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย)

วีดีโอนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวงการศึกษานะครับ บรรณารักษ์หลายคนคงอยากถามผมว่ามันเกี่ยวอะไร ผมขอชี้แจงแล้วกันว่า บรรณารักษ์ในโรงเรียน หรือ ครูบรรณารักษ์อาจดูแล้วนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ครับ

คลิปวีดีโอนี้ ชื่อว่า “การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ลองชมกันได้เลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=tE32HERiEs4[/youtube]

สรุปสาระที่ได้จากวีดีโอ
ความรู้ที่เด็กยุคใหม่ควรรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดของโลกยุคใหม่
– ความรู้ที่เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม


นอกจากนี้เด็กยุคใหม่ควรถูกปลูกฝังทักษะสำคัญอีก 3 เรื่อง
ได้แก่
1. ทักษะชีวิตและการทำงาน
– ความหยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การคิดริเริ่มสร้างสรรค์
– ทักษะด้านสังคมและการข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างและรับผิดชอบ
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ


2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ


3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

– การใช้และประเมินสารสนเทศ
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
2. หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21
3. การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 – ไม่ใช่แค่การอบรม
4. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้

ประโยคเด็ดที่นายแพทย์วิจารณ์ได้กล่าวไว้ในวีดีโอ คือ
“Teach Less, Learn More”
“เปลี่ยนเป้าหมายจาก ความรู้ ไปสู่ ทักษะ”

นอกจากนี้ในวีดีโอยังพูดถึงเรื่อง การเรียนโดยการปฏิบัติ หรือ Project Based Learning

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นสาระสำคัญที่ผมดึงมาจากวีดีโอนะครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจ ผมแนะนำว่าต้องดูครับ ย้ำว่า ต้องดู

ผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนควรเป็นอย่างไร

หมายเหตุก่อนการอ่าน : หัวข้อในวันนี้อาจจะดูรุนแรงสักนิดหน่อย แต่ถ้าได้อ่านเนื้อเรื่องจริงๆ แล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้แรงเหมือนที่คิดนะครับ

ที่มาของหัวข้อในวันนี้มาจากเอกสารที่ผมค้นพบโดยบังเอิญ ซึ่งเอกสารที่ว่านี้มีชื่อว่า
What should an Administrator expect a School Library Media Specialist to be

ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
ผมว่าบทความนี้นอกจากจะเหมาะกับครูบรรณารักษ์หรือบรรณารักษ์ในโรงเรียนแล้ว
ผมขอแนะนำให้บรรณารักษ์ในห้องสมุดทุกประเภทได้อ่านด้วยเพราะน่าจะนำมาประยุกต์ได้

บรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
– ผู้สอน ครู อาจารย์ในเรื่องของการวรรณกรรมหรือสารสนเทศด้านต่างๆ
– ผู้ประสานงาน หรือ ประสานความร่วมมือกับส่วนต่างๆ ในโรงเรียน
– ผู้ชี้แหล่งสารสนเทศ ช่วยตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าสารสนเทศเพิ่มเติม
– ผู้กระจายข้อมูลข่าวสารให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน พ่อแม่ และชุมชนได้รู้ถึงกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
– ผู้นำด้านแนวความคิดและจุดประกายไอเดียในการเรียนรู้
– ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนางาน พวกเราสามารถออกแบบและนำเสนองานเพื่อการพัฒนาโรงเรียนได้
– ผู้สร้างนวัตกรรม ห้องสมุดสามารถนำสิ่งใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ แนวความคิดใหม่ๆ มาทดลองใช้ได้
– ผู้ที่รักในการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้มีได้อย่างไร้ขีดจำกัด
– ผู้รวบรวมและผนวกการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะแนวความคิดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์


แต่ทั้งหมดทั้งปวงบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือและความช่วยเหลือของผู้บริหารและครูท่านอื่นๆ ในโรงเรียนด้วยจึงจะช่วยให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ

เอาเป็นว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนที่กล่าวมาสามารถเป็นได้ยิ่งกว่าบรรณารักษ์ที่แค่นั่งให้บริการในห้องสมุดโรงเรียนก็แล้วกันครับ ผมเองก็คาดหวังให้เพื่อนๆ ได้เปลี่ยนแปลงตนเองเช่นกันครับ

ดาวน์โหลดเอกสารต้นฉบับได้ที่ http://hoorayforbooks.pbworks.com/f/lms+evaluation+ideas.pdf

ส่วนภาพ Infographic จาก http://yourteacherlibrarian.wikispaces.com/Are+You+Ready%3F

ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนกำลังรับครูบรรณารักษ์

ไม่ได้เจอกันนานเลยนะครับ วันนี้บรรณารักษ์ช่วยหางานกลับมาแล้ว กลับมาพบกับเพื่อนๆ ที่กำลังหางานครับ
วันนี้ผมก็มีงานบรรณารักษ์มานำเสนอเช่นเคย เป็นงานครูบรรณารักษ์ในโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนครับ

รายละเอียดทั่วไปของตำแหน่งงาน
ชื่อตำแหน่ง : ครูบรรณารักษ์
ห้องสมุด : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
กำหนดการรับสมัคร : 7 – 22? เมษายน? 2554


คุณสมบัติของตำแหน่งนี้

1.? อายุไม่เกิน? 35? ปี
2.? จบปริญญาตรี? หรือ? ปริญญาโท? สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

สำหรับคนที่สนใจก็ลองติดต่อไปที่ อ.แย้มลาวัลย์? ประเสริฐ? (หัวหน้างานห้องสมุด)? โทรศัพท์? 02-6379020? ต่อ? 6300, 6351 หรือ? 026371852? (ต่อห้องสมุดอาคารบีซีซี? 150? ปี) นะครับ ย้ำอีกทีรับสมัครตั้งแต่วันที่ 7 – 22? เมษายน? 2554

เอาเป็นว่าก็ขอให้ทุกๆ ท่านโชคดีครับ

เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง

ช่วงนี้หลายคนส่งอีเมล์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมสอบบรรณารักษ์ในวงการราชการ
ว่าข้อสอบที่ใช้สอบบรรณารักษ์จะออกเนื้อหาไหนบ้างแล้วจุดไหนน่าจะเน้นเป็นพิเศษ
วันนี้ผมจึงนำเนื้อหาในหนังสือสำหรับเตรียมสอบบรรณารักษ์มาให้ดูว่าเขาเน้นเรื่องไหนบ้าง

สำหรับเนื้อหาในหนังสือเตรียมสอบผมอ่านแล้วก้รู้สึกว่าอาจจะเก่าไปสักหน่อย
และบางเรื่องหาอ่านบนเว็บน่าจะชัดเจนกว่า (ไม่แน่ใจว่าคนที่เขียนหนังสือเล่มนี้จบบรรณารักษ์หรือปล่าว)
แต่ผมก็ขอบคุณในความหวังดีที่นำเนื้อหามาจัดพิมพ์เป็นหนังสือนะครับ

เนื้อหาที่มีการออกสอบ เช่น
1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
– ความหมายของห้องสมุด
– การศึกษากับห้องสมุด
– บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน
– วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
– ประโยชน์ของห้องสมุด
– ประเภทของห้องสมุด
– บริการห้องสมุด
– มารยาทการใช้ห้องสมุด
– ลักษณะห้องสมุดที่ดี

2. การบริหารงานห้องสมุด
– ความหมายและประเภทของหนังสือ
– ส่วนประกอบของหนังสือ
– ทรัพยากรห้องสมุด
– การดูแลรักษาหนังสือ
– การใช้ห้องสมุด
– แนวทางในการจัดห้องสมุด
– การจัดหมู่หนังสือ
– การบริหารจัดการห้องสมุด
– สถานภาพของผู้ปฏิบัติงานและวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์
– ลักษณะและบทบาทบรรณารักษ์

3. ห้องสมุดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
– ISBN พัฒนาการบนโลกดิจิตอล
– ทรัพยากรไอที
– ระบบสารสนเทศ
– เทคโนโลยีสารสนเทศ
– ความหมายของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
– บทบาทภาคีห้องสมุดในยุคดิจิทัล


4. เทคโนโลยีสารสนเทศ

– ทรัพยากรสารนิเทศ
– เทคนิคการอ่าน
– บัตรรายการ


5. การจัดการฐานข้อมูลและการสืบค้นสารสนเทศ

– ความหมายของฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
– สถาบันบริการสารสนเทศ
– การสืบค้นสารสนเทศและการใช้เครื่องช่วยค้น
– การสืบค้นด้วยระบบโอแพค

นี่ก็เป็นหัวข้อต่างๆ ในหนังสือเล่มที่ผมมีนะครับ เอามาแชร์ให้เพื่อนๆ เตรียมตัวถูก
สำหรับใครที่อยากหาอ่านเล่มนี้ ก็ลองไปเดินดูแถวๆ รามคำแหงนะครับ
แต่ผมว่าดูหัวข้อพวกนี้แล้วค้นบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ข้อมูลเช่นกันครับ

เอาเป็นว่าสู้ๆ กันนะครับ