วงจรการจัดซื้อ (Acquisitions Life Cycle) สำหรับงานห้องสมุด

ใกล้งานสัปดาห์หนังสือแล้ว ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยหลายคนกำลังรอที่จะมาซื้อหนังสือหรือสื่อต่างๆ เข้าห้องสมุด วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดซื้อจัดหามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีกสักหน่อย อย่างน้อยก็ขอเตือนสติสำหรับบรรณารักษ์บางคนที่ต้องการนำเงินงบประมาณแผ่นดินมาละลายในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้

Acquisitions Life Cycle

เริ่มต้นก่อนมางานสัปดาห์หนังสือ หรือ คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด มีดังนี้
1. What หนังสือเนื้อหาในกลุ่มใดที่คุณจะมาซื้อในงานนี้
2. Where หนังสือที่คุณจะซื้ออยู่ตรงไหน หรือสำนักพิมพ์อะไร
3. When หนังสือที่คุณจะซื้อเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่
4. Why ทำไมต้องมาซื้อหนังสือในงานนี้
ผมเริ่มจาก Question word นะครับ เพื่อนๆ ตอบตัวเองได้หรือเปล่า

เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูอะไรทีเป็นวิชาการกันบ้าง
จากหนังสือของ Evans, G. Edward
ชื่อหนังสือ Developing Library and Information Center Collections

Presentation2

ได้กล่าวถึงวงจรในการจัดซื้อ – Acquisitions Life Cycle ไว้ว่า
1. Community Analysis วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน
2. Selection Policies กำหนดนโยบายในการเลือกซื้อ
3. Selection เลือกและค้นหา
4. Acquisition จัดซื้อจัดหา
5. Weeding / Deselection จำหน่ายออก
6. Evaluation ประเมินคุณค่า

ดูวงจรได้ตามแผนภาพที่ผมจัดทำขึ้นได้เลยครับ สังเกตว่ามันเป็นวงจรที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมันจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้นทุกครั้ง วงจรนี้เองเป็นวงจรที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองคิดและทบทวนขั้นตอนในการเลือกซื้อหนังสือให้ดี เช่น

1. ความต้องการของชุมชน — ผู้ใช้บริการเรามีความหลากหลายเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นห้องสมุดประชาชนคงจะตอบว่า ผู้ใช้ต้องการเกือบทุกสิ่งอย่าง เนื้อหาก็หลากหลาย รูปแบบก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนวนิยาย หนังสือทั่วไป หนังสือวิชาการ วารสาร นิตยสาร และอื่นๆ อีกจิปาถะ แล้วจะใช้ข้อนี้ได้อย่างไร — แบบฟอร์มเสนอรายชื่อหนังสือเข้าห้องสมุด — เพื่อนๆ มีหรือไม่ ถ้ามีแล้วเราเคยจัดซื้อเพื่อผู้ใช้บริการหรือไม่ สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ต้องทำ คือ รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเหล่านั้นแหละมาซื้อในงานนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะซื้อทั้งหมดนะครับ ไปดูขั้นตอนต่อไปก่อน

2. ซื้อตามนโยบาย – วัตถุประสงค์ของห้องสมุด – งบประมาณ – ตรวจซ้ำในห้องสมุด
รายชื่อหนังสือที่รวบรวมมาแล้ว เรามาพิจารณากันต่อที่นโยบายของห้องสมุด ดูความเหมาะสมของเนื้อหาว่าสอดคล้องกับการให้บริการของห้องสมุดเราหรือไม่ หรือผู้ใช้บริการเสนอหนังสือที่มีราคาสูงมากๆ ยิ่งต้องคิดในเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่ายในงานสัปดาห์หนังสือ สมมติถ้าราคาในท้องตลาดมีราคาสูงมาก แต่ในงานสัปดาห์หนังสือมีราคาถูกลงมากก็พิจารณาเก็บรายชื่อดังกล่าวไว้ซื้อในงานสัปดาห์หนังสือดีกว่า

3. เลือกจาก list และค้นหาข้อมูลเบื้องต้น
เมื่อเราได้รายชื่อที่เราต้องการซื้อแล้ว เราควรดูหนังสือที่มีเนื้อเรื่องใกล้เคียงกันด้วย เช่น “Microsoft Office” เราสามารถดูและลองเปรียบเทียบจากสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเราซื้อจากสำนักพิมพ์ที่พิมพ์จะได้ส่วนลดมากกว่า การซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เว้นแต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้พิมพ์ในเมืองไทย (หนังสือต่างประเทศ) เราต้องเปรียบเทียบและทำ list ไว้ได้เลย เวลาไปถึงงานสัปดาห์หนังสือแล้วจะได้มีทิศทางในการเลือกซื้อ เช่น เราต้องรู้แล้วว่าจะซื้อจากสำนักพิมพ์ไหนบ้าง

4. ไปซื้อได้แล้ว
กระบวนการนี้ไม่ยากมาก คือ การไปเดินซื้อในงานสัปดาห์หนังสือได้เลย ขอแผนที่ก่อนเข้างาน หรือ เราควรดูแผนที่จากเว็บไซต์ก่อนเดินทางไปที่งาน (แนะนำเพราะคนเยอะมาก) ได้ที่ http://thailandexhibition.com/TradeShow-2013/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-18-2475.html พอไปถึงก็เดินตามแผนที่ที่วงไว้ได้เลย เลือกหนังสือที่เรา list ไว้ก่อน ถ้าเหลือเวลาค่อยเดินชมงานและเลือกหนังสือเพิ่มเติม

5. จำหน่ายของเก่าออกบ้าง
ขอจำกัดของห้องสมุดเกือยทุกแห่ง คือ พื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือ อย่างว่าแหละครับ คงไม่มีเพื่อนๆ ซื้อหนังสือใหม่เสร็จแล้วซื้อชั้นหนังสือใหม่ต่อเลยใช่ปล่าว ดังนั้นการหาพื้นที่ให้หนังสือใหม่จึงเป็นความจำเป็นเช่นกัน ยิ่งถ้าห้องสมุดไหนมีหนังสือเต็มชั้นจนไม่มีที่จะเก็บแล้ว ผมว่าการจำหน่ายหนังสือเก่าออกบ้างเป็นเรื่องที่ห้องสมุดต้องดำเนินการนะครับ ซึ่งเรื่อง “วงจรการจำหน่ายหนังสือออก (Weeding Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที

6. การประเมินคุณค่าของหนังสือ
เพื่อนๆ เคยเข้าไปดูสถิติการใช้งานของหนังสือบ้างหรือไม่ ว่าหนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาเข้ามาในห้องสมุด บางเล่มก็เป้นที่นิยมถูกหยิบยืมจำนวนมาก บางเล่มแทบจะไม่มีคนยืมเลย วิธีการสังเกตห้องสมุดที่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติสามารถดูสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มได้อยู่แล้ว ส่วนบางห้องสมุดก็ใช้วิธีการประทับตราวันกำหนดส่งท้ายเล่ม นั่นก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เพื่อนๆ สังเกตการใช้งานของหนังสือได้เช่นกัน ซึ่ง “วงจรการประเมินคุณค่าของหนังสือ (Evaluation Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที เช่นกัน

เอาเป็นว่า ก่อนการไปซื้อหนังสือหรือสื่ออะไรก็ตามเข้าห้องสมุดในช่วงงานสัปดาห์หนังสือ เดือนตุลาคมนี้ เพื่อนๆ คงมีการคิดอย่างดีแล้ว และเลือกหนังสือได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุดกันถ้วนหน้านะครับ

เก็บตกบรรยากาศในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 เมษายน) ผมได้มีโอกาสไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติมา เดินชมนิทรรศการ เดินชมหนังสือลดราคา และแนวโน้มที่เกี่ยวกับหนังสือ วันนี้ผมจึงขอสรุปและลงภาพบรรยากาศในงานสัปดาห์หนังสือให้เพื่อนๆ ได้อ่านและชมกันครับ

เอาเป็นว่าภาพรวมที่เห็น คือ คนยังคงเยอะเช่นเดิม และร้านหนังสือมาออกบูธมากขึ้นด้วย (หรือปล่าว)
เพราะมีการเปิดโซนขายหนังสือด้านหน้าของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ด้วย (บริเวณที่ขึ้นมาจากรถไฟฟ้า)

เป้าหมายหลักๆ ของงานนี้ของผมอย่างแรก คือ บูธนิทรรศการกรุงเทพเมืองหนังสือโลก (World Book Capital)
เอาเป็นว่าช่วงที่ผมอยู่บูธก็มีการสัมภาษณ์คุณทราย เจริญปุระกันอยู่

เนื้อหาที่อยู่ในบูธก็น่าสนใจดี คือ เรื่องที่เกี่ยวกับการอ่านในแบบต่างๆ
นอกเหนือจากห้องสมุดแล้ว การอ่านเกิดขึ้นได้ทุกที่จริงๆ เช่น ป้ายรถเมล์ สวนสาธารณะ บนรถเมล์ ห้องน้ำ ……

ข้อมูลที่น่าสนใจอีกหนึ่งเรื่อง คือ roadmap การพัฒนาให้กรุงเทพเป็นเมืองหนังสือโลก

เมื่อออกจากบูธนี้แล้วด้านข้างๆ ของบูธนี้ คือ บูธนิทรรศการหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555
เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่น่าสนใจมากๆ เลยทีเดียว

อีกนิทรรศการที่น่าสนใจ คือ “นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่”
เป็นนิทรรศการที่รวบรวม แนะนำ และแยกหนังสือใหม่ออกเป็นหมวดๆ เพื่อง่ายต่อการหา
ที่ประทับใจในบูธนี้ คือ คนให้ความสนใจเยอะมาก “หยิบหนังสือมานั่งอ่านได้ตามอัธยาศัย” จริงๆ

นิทรรศการที่ตามกระแสอีกเรื่อง คือ “นิทรรศการหนังสืออัญมณีแห่งอาเซียน”
รวบรวมหนังสือซีไรท์ของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน
แถมให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างๆ ไว้ด้วย

ตรงข้ามกันเป็น “นิทรรศการหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

หลังจากชมนิทรรศการในส่วนต่างๆ แล้ว ผมก็ได้เดินชมภาพรวมของงานหนังสือ
ทุกบูธคึกคักมาก อาจเพราะเป็นวันหยุดคนเลยเยอมากกว่าเดิมอีก

ส่วนไอเดียและหัวข้อที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ “Ebook”
ต้องบอกว่าถ้าใครได้สังเกตจะพบว่ามีการโปรโมทเรื่อง Ebook มากขึ้น

มีบูธนึงที่นำเสนอเรื่องนี้ “Ebook Showcase @ Thailand”
ในบูธนี้จะมีการแนะนำ app ที่ใช้ในการอ่านและโหลด Ebook ซึ่งมีอยู่หลาย App เลยทีเดียว
ซึ่งที่เห็นเดี๋ยวนี้ร้านหนังสือใหญ่ๆ ก็เปิดตัว App กันเองเพียบเลย เช่น Se-ed, naiin, asia book

ที่เห็นๆ อีกอย่าง คือ การจำหน่ายเครื่อง Kindle ในงาน
แถมราคาก็ไม่แพงมากด้วย เห็นแล้วอยากได้สักเครื่อง แต่ไม่เอาดีกว่า อิอิ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพและบทสรุปที่ผมได้จากการเดินในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินะครับ
เพื่อนๆ ที่ไปงานนี้เอาเรื่องมาแชร์กันบ้างนะครับ ใครได้หนังสืออ่านบ้างก็เข้ามาเล่าได้

ก่อนจากกันของรวมภาพบรรยากาศทั้งหมดไว้ให้ชมนะครับ
ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

[nggallery id=55]

บรรณารักษ์ต้องไม่พลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555

มาแล้วคร้าบ!!!! งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานหนังสือที่หลายๆ คนรอคอย งานที่เพื่อนๆ จะได้พบกับหนังสือและกิจกรรมการอ่านที่น่าสนใจมากมาย วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเพื่อนๆ มางานนี้ก็แล้วกันนะครับ
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555
ชื่องานภาษาไทย : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Bangkok International Book Fair 2012 and National Book Fair 2012
วันที่ในการจัดงาน : 29 มีนาคม – 8 เมษายน 2555 เวลา 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ธีมงานของปีนี้ : การอ่านคือการพัฒนาชีวิต (Read for Life)
อาทิตย์หน้านี้แล้วนะครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์ ทำไมผมถึงอยากให้เพื่อนๆ มางานนี้ นะหรอ!!!! อืม เอางี้ดีกว่า ขอแบบสั้นๆ เลย คือ “Show Share Shop” แล้วกัน
Show – มาดูงานหนังสือ กิจกรรมในงาน นิทรรศการในงาน
Share – มาดูว่าวงการสำนักพิมพ์กันสิว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว แล้วเอามาต่อยอดกับวงการห้องสมุดของเรา
Shop – แน่นอนครับว่ามาซื้อหนังสือ
กิจกรรมและนิทรรศการที่น่าสนใจในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เช่น
– นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่
– กิจกรรม “นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ” โดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
– นิทรรศการกรุงเทพเมืองหนังสือโลก (World Book Capital)
– นิทรรศการแสดงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555 โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
– นิทรรศการหนังสืออัญมณีแห่งอาเซียน
– นิทรรศการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book @ Thailand
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
– นิทรรศการหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นี่แค่ตัวอย่างนิทรรศการหลักๆ ในงานนี้นะครับ กิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือยังมีอีกมากครับ เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.bangkokibf.com/seminar.php นะครับ
เอาเป็นว่าผมคงไม่ต้องบรรยายความยิ่งใหญ่ของงานนี้หรอนะครับ
เพราะเพื่อนๆ ก็คงได้ยินข่าวกันอยู่ทุกปี เอาเป็นว่าไปเจอกันในงานแล้วกันนะครับ

App Review : Book Expo Thailand 2011

ช่วงนี้ต้องขออภัยเพื่อนๆ หลายๆ คนมากๆ ที่หายไปจากบล็อก
หลักๆ ก็ยอมรับแหละครับว่า กำลังเห่อของขวัญวันเกิดประจำปีนี้ ซึ่งนั่นคือ Ipad2 นั่นเอง
หลังจากที่ได้ใช้มาสามสี่วันตอนนี้ก็เริ่มคุ้นแล้วครับ (ตอนนี้ก็เขียนบล็อกด้วย Ipad2 นะ)

เข้าเรื่องเลยดีกว่า หลังจากที่วันนี้นั่งหาโปรแกรมสำหรับ Ipad ก็พบกับ App นี้
App นี้ชื่อว่า BET 2011 (The Book Expo Thailand 2011)
ง่ายๆ ครับ เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวกับงานมหกรรมหนังสือแห่งชาตินั่นเอง

ข้อมูลเบื้องต้นแบบง่ายๆ และทำให้ผมต้องโหลดเพราะว่า…
แอพพลิเคชั่นแรกของงานหนังสือเมืองไทย สำหรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 16

สำหรับเพื่อนๆ ที่ใช้ iphone ipad ipod touch สามารถโหลดแอพฯ นี้ได้ที่
http://itunes.apple.com/th/app/book-expo-thailand/id467016861?mt=8

เมื่อโหลดแล้ว พอเปิดโปรแกรมขึ้นมาก็จะพบกลับหน้าหลักแบบนี้

ในแอพฯ นี้มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง (เมนูหลักๆ ก็จะประกอบด้วย)
1. หน้า Home (หน้าหลัก) – เป็นหน้าที่รวบรวมเมนูที่เกี่ยวกับร้านค้าในงาน กิจกรรมในงาน แนะนำหนังสือเด่น โปรโมชั่น และงานเปิดตัวหนังสือ
2. หน้า Info เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ วัน เวลา สถานที่ การเดินทางไปงาน และที่จอดรถในงาน
3. หน้า Social จะเป็นจุดเชื่อมโยงให้เข้าถึงงานมหกรรมหนังสือในสื่อต่างๆ เช่น facebook twitter website
4. หน้า About จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ และบริษัทที่จัดทำแอพฯ นี้
5. หน้า Map คือแผนที่ภายในงานในโซนต่างๆ ทั้งหมด

ผมจะขอเลือกแนะนำส่วนที่น่าสนใจของแอพฯ นี้แล้วกันนะครับ

ส่วนแรกนี้ขอแนะนำเมนูนิทรรศการและกิจกรรมครับ ภายในเมนูนี้ก็จะมีการแสดงรายชื่อของนิทรรศการและกิจกรรมทั้งหมดของงานนี้ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของการจัดกิจกรรม เช่น วันที่จัด พื้นที่จัด เวลาที่จัดงานได้ด้วย ลองดูจากภาพด้านล่างนี้เลย

ส่วนหน้าของ Info มีการให้ข้อมูลที่ค่อนข้างละเอียดและชัดเจนดี

ส่วนของหน้า Social ก็อย่างที่บอกว่าเป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เช่น twitter, Facebook, Flickr

ส่วนที่ผมชอบอีกอันคือ แผนที่ แบบว่าครอบคลุมทั้งหมดและนำเสนอได้ชัดเจนมากๆ

เอาเป็นว่า ผมก็อยากแนะนำแอพฯ ตัวนี้ให้เพื่อนๆ ไปใช้กันนะครับ สำหรับคนที่จะไปงานสัปดาห์หนังสือ ผมว่ามีประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว

บรรณารักษ์ต้องไม่พลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553

Hilight ของเดือนมีนาคมใกล้จะมาถึงแล้วนะครับ เพื่อนๆ บรรณารักษ์รู้หรือปล่าวว่าคืออะไร
ถูกกกกกก..ต้องงงงงงคร้าบบบบบ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินั่นเอง
วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเพื่อนๆ นิดนึงนะครับ…

thailandbookexpo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553
ชื่องานภาษาไทย : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 8 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Bangkok International Book Fair 2010 and National Book Fair 2010
วันที่ในการจัดงาน : 27 มีนาคม – 6 เมษายน 2553 เวลา 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

เตรียมพร้อมกันหรือยังครับเหล่าบรรณารักษ์ เหลือเวลาไม่ถึงอาทิตย์เท่านั้นเองนะครับ
งานสัปดาห์หนังสือครั้งใหญ่แบบนี้ผมเองก็อยากให้บรรณารักษ์มาเข้าร่วมกันมากๆ นะครับ

ทำไมบรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องมางานนี้
– มาคัดเลือกหนังสือและพูดคุยกับตัวแทนจำหน่ายหนังสือถึงหนังสือที่น่าสนใจ
– มาจัดซื้อจัดหาหนังสือและสื่อสารสนเทศราคาถูกเข้าห้องสมุด
– มาดูกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด
– เข้าร่วมฟังสัมมนาและเข้าร่วมอบรมในหัวข้อที่น่าสนใจ

กิจกรรมและนิทรรศการที่น่าสนใจในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เช่น
– นิทรรศการจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
– ห้องสมุด กทม. ……เปิดห้องเรียนรู้สู่โลกกว้าง
– กิจกรรมและนิทรรศการที่สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
– นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่
– นิทรรศการหนังสือภาพถ่าย
– นิทรรศการหนังสือดีเด่นประจำปี 2553
– กิจกรรม All for Book : Book for All
– บูธรับบริจาคหนังสือจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

จริงๆ แล้วกิจกรรมยังมีอีกเยอะเลยนะครับ แต่ผมขอนำมาเล่าเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ครับ
แต่หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดกิจกรรมทั้งหมดก็ให้เข้าไปดูที่หน้าของกิจกรรมและนิทรรศการนะครับ
http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/index.php?option=com_content&view=article&id=14&Itemid=21

นอกจากนี้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ก็มีการเปิดตัวหนังสือที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น
– “ทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย” โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
– หนังสือดีที่ต้องมีทุกบ้าน “คู่ฟ้า สองพระบารมี”
– “คุณธรรมนำความรู้” โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
– วรรณกรรมสุดยอดแห่งทศวรรษ “The Left Hand of God” ที่เยาวชนไทยต้องอ่าน
– “คนไทยทึ้งแผ่นดินภาค 3” โดย ท่านว.วชิรเมธี

เอาเป็นว่าขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน แบบว่ามีเปิดตัวหนังสือเยอะมากอ่ะ
และที่สำคัญหนังสือที่เปิดตัวล้วนแล้วแต่น่าสนใจมากๆ ทั้งสิ้น

สรุปส่งท้ายเลยดีกว่า คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ
เพราะเพื่อนๆ คงรู้ว่ามันน่าสนใจมากแค่ไหน เอาเป็นว่าเจอกันในงานนะครับ

Reading make a full man = การอ่านทำให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
กล่าวโดย Francis Bacon

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของงานสัปดาห์หนังสือ 2553 = http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/