ข้อมูลที่นำมาให้ดูในวันนี้ มาจากข้อมูลของการปรับปรุง Profile ของสมาชิกใน LinkedIn ในช่วง 12 เดือนก่อนหน้า เชื่อมั้ยครับว่า… สมาชิกใน LinkedIn มีการเพิ่มข้อมูลทักษะ (Update) ลงใน Profile กว่า 680 ล้านทักษะ (เพิ่มขึ้นกว่า 80% จากปีก่อน)
Read moreทักษะ
การปรับตัวและการเรียนรู้ของสังคมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (สไลด์บรรยาย)
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 พ.ย.) ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และ การประชุมวิชาการ เรื่อง “ทักษะวิชาชีพบรรณารักษ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” (Professional Librarian Development and Disruptive Technologies)
และผมเองก็ได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในวิทยากรในการประชุมวิชาการดังกล่าว โดยใน Session ของผม หัวข้อ “การปรับตัวและการเรียนรู้ของสังคมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” ซึ่งมีเวลาเพียง 45 นาที วันนี้ผมจึงขอสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน พร้อมทั้งนำสไลด์ในการบรรยายมาให้ชม
Read more10 เรื่องที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถ
เรื่องที่เขียนวันนี้มาจากการอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ในคอลัมน์ Leading for the future ซึ่งเขียนเรื่อง “งานเข้า” แต่ซึ่งที่ผมสนใจมากกว่าเรื่องนี้ คือ ผู้เขียนได้กล่าวถึง “The 10 Things that Require Zero Talent” หรือ “10 เรื่องที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถ” (ในบทความของหนังสือพิมพ์วันนี้กล่าวเพียงข้อแรกข้อเดียว) ซึ่งผมจึงหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อว่า 10 เรื่องที่ว่ามีอะไรบ้าง
Read moreทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ทุกคน
วันนี้เปิดอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2562 แล้วเจอคอลัมน์หนึ่ง “ก้าวไกลวิสัยทัศน์” ซึ่งเขียนโดย ดร.บวร ปภัสราทร (อาจารย์ที่เคยสอนปริญญาโทผมตอนที่อยู่ KMUTT) วันนี้ท่านเขียนเรื่อง “ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนทุกยุค” ผมจึงขอนำมาต่อยอดและอธิบายให้บรรณารักษ์ได้อ่านกันต่อด้านล่างนี้นะครับ
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่หลายท่านได้ยินคำว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์กันบ้างแล้ว และนอกจากการที่ได้ยินคำๆ นี้บ่อยขึ้น ความฉลาดและความสามารถของ AI ก็ถูกพัฒนามากขึ้นเช่นกัน จนบ่อยครั้งที่ผมไปบรรยายให้พี่น้องชาวบรรณารักษ์ฟังจะต้องมีคำถามว่า “แล้วเราจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์หรือไม่”
Read moreFood for Thought : บรรณารักษ์ขี้สงสัยถึงอยู่รอด
อาหารสมองยามเย็นวันนี้มาจากการอ่านนิตยสาร Business+ ฉบับเดือนกันยายน 2562 ซึ่งมีคอลัมน์หนึ่งที่ทำให้ผมต้องหยุดอ่าน คอลัมน์นี้ คือ Management Strategies ซึ่งเขียนเรื่อง “ยุคนี้ (อยู่ให้) รอด ด้วยความขี้สงสัย” และเขียนโดยคุณอริญญา เถลิงศรี (MD ของ SEAC)
“ความขี้สงสัย” คือบ่อเกิดแห่งปัญญา อุปนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนโตเรามักจะชอบตั้งคำถามว่า “ทำไม” อยู่เสมอ
Read moreบรรณารักษ์กับ 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต
วันก่อนได้ไปบรรยายเรื่อง “ความท้าทายของห้องสมุดและวิชาชีพสารสนเทศ” ให้เด็ก ป. โทฟัง หนึ่งในหัวข้อที่ผมต้องพูดถึงก็คือทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต “วันนี้ผมไม่ได้บอกว่าพวกเราไม่มีทักษะหรือความรู้ แต่ทักษะหรือความรู้บางอย่างมันหมดอายุไปแล้ว ตอนนี้ไม่สามารถใช้ได้ 100% เราจำเป็นต้อง Unlearn Relearn และ Learn อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา“
อยากให้อ่านบทความของ ดร.สันติธาร เสถียรไทย “ความรู้ของเรามี “ชีวิต” เหลืออีกกี่ปี“
https://www.the101.world/how-long-does-skills-last/
กลับมาเข้าเรื่องของเรากันนิดนึง วันนี้บังเอิญไปเจอเรื่องเดียวกับที่ผมบรรยายก็เลยขอนำมาโพสให้อ่านต่อเกี่ยวกับ “10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต” เราลองไปอ่านสรุปกันว่ามีอะไรบ้าง
Read moreทักษะและสมรรถนะสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ (สไลด์บรรยาย)
วันนี้ขอมารีวิวสไลด์บรรยาย “ทักษะและสมรรถนะสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่” ซึ่งใช้บรรยายเมื่อปี 2560 ให้กับหน่วยงานแห่งหนึ่งของภาครัฐ (หน่วยงานนี้มีคนทำงานห้องสมุดแต่ไม่มีใครจบบรรณารักษ์สักคนเดียว)
Read more10 ทักษะของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต่ออนาคต
มีหลายคนเริ่มถามผมว่า “หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนบรรณารักษ์ได้หรือไม่”
คำตอบที่ผมจะตอบ คงตอบได้ทั้งสองแบบ คือ
1. ทำงานแทนได้ ถ้าลักษณะงานนั้นเป็นงานที่ทำได้แบบซ้ำๆ งานประจำที่ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ เช่น
การยืมคืน, การ catalog, การเตรียมตัวเล่ม (ประทับตรา) ฯลฯ
2. ทำงานแทนไม่ได้ ถ้าลักษณะงานที่ต้องใช้ความคิด หรือ งานที่ต้องใช้จิตใจในการให้บริการ เช่น
การถามตอบคำถามเชิงลึก, การแนะนำหนังสือที่ควรอ่าน, การช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจ
ข้อคิดเสริมสร้างการเป็น “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” (Creative Librarian)
ไม่ได้เขียนอะไรแนวสร้างสรรค์มานานแล้ว วันนี้ขอสักบทความหนึ่งแล้วกัน
หัวข้อก็ไม่มีอะไรมากแค่ “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” ใครๆ ก็อยากเป็น
ผมก็เลยไปค้นข้อมูล และก็เจอเส้นทางสู่การเป็น “นักสร้างสรรค์”
ปล. เป็นคำแนะนำเล็กๆ แต่ขอนำมาใช้ในวงการบ้าง เพื่อจะมีคนนำไปต่อยอดได้
ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21
เรื่องที่จะเขียนให้อ่านในวันนี้ ตั้งใจว่าจะเขียนหลายทีแล้ว แต่ด้วยภาระงานที่มากมายจึงติดไว้นานมากๆ วันนี้พอดีอยู่ว่างๆ (จริงๆ ก็ไม่ได้ว่างมากหรอก) เลยขอเขียนเรื่องราวนี้ให้จบแล้วกัน
“ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21” เป็นเรื่องที่ผมอ่านมาจากบล็อกในต่างประเทศ ซึ่งต้องบอกตามตรงว่าเรื่องนี้ถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว แต่พออ่านแล้วเห็นทักษะต่างๆ แล้วก็จะรู้ว่ายังคงใช้ได้เลยทีเดียว
ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับต้น (สายปฏิบัติ) แบ่งออกเป็น 5 ข้อย่อย คือ
– ความสามารถที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลง
– นำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้เพื่อความสะดวกสบาย
– ความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีแบบเบื้องต้น
– ความสามารถในการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
– ความสามารถในการรวบรวมไอเดียด้านเทคโนโลยีกับเครือข่ายห้องสมุด
สำหรับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในระดับต้นส่วนใหญ่จะเน้นความสามารถในด้านการปฏิบัติเป็นหลัก ซึ่งโดยภาพรวมแล้วจะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเองก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังนั้นทักษะในเรื่องของการยอมรับความเปลี่ยนแปลงจึงสำคัญมาก อีกประเด็นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการทำงานตัวบรรณารักษ์เองก็จำเป็นต้องยึดหลักตามที่ผมเคยนำเสนอเรื่อง “รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้” นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดึงไอเดียหรือการหาไอเดียเพื่อการพัฒนางานบริการต่างๆ ซึ่งที่มาของไอเดียก็มาจากหลากหลายทาง ในที่นี่ขอเน้นเกี่ยวกับการทำงานกันเป็นเครือข่าย ความช่วยเหลือระหว่างวงการวิชาชีพก็มีความสำคัญมากเช่นกัน
2. ประเด็นความสามารถหรือทักษะในระดับสูง (สายการบริหาร) แบ่งออกเป็น 6 ข้อย่อย คือ
– ทักษะเรื่องการบริหารจัดการโครงการ
– ความสามารถในการตอบคำถามและการประเมินงานบริการห้องสมุด
– ความสามารถในการวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้บริการ
– วิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ห้องสมุดแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นห้องสมุดที่ใช้สื่อออนไลน์
– ความสามารถในการหาจุดเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและเปรียบเทียบเทคโนโลยีด้านต่างๆ
– ความสามารถในการขายไอเดียห้องสมุด (นำเสนอห้องสมุด)
จะสังเกตได้ว่าทักษะและความสามารถของบรรณารักษ์ที่อยู่ในระดับสูง หรือสายงานบริหารจะต้องมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นกัน แต่คงไม่ต้องลงมาปฏิบัติเหมือนขั้นต้นแล้ว จุดสำคัญอยู่ที่การประเมินการใช้งานด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด การเปรียบเทียบระบบแบบต่างๆ รวมถึงงานวิเคราะห์หาความต้องการของผู้ใช้ พูดง่ายๆ ว่าจะมีทั้งงานบริหารและงานวิชาการเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังต้องมีความสามารถในเรื่องการนำเสนอหรือขายไอเดียห้องสมุดให้สาธารณชนได้รู้จักและเห็นคุณค่าของห้องสมุดด้วย
เป็นไงบ้างครับ นี่ก็เป็นประเด็นทักษะและความสามารถที่น่าสนใจสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่
บทสรุปที่ผมชอบของบทความนี้มีอีกอย่าง คือ
“Technologies will come and go. Change is inevitable. But if librarians can adapt to and embrace change, can easily learn technologies, can keep up with changes in the profession, can plan for new services and evaluate old services, can develop services that meet the needs of all stakeholders, can evaluate technologies, and can sell their ideas and market services they will be better able to meet the challenges of changing user populations and changing technologies.”
ต้นฉบับของเรื่องนี้ “Skills for the 21st Century Librarian” โดย Meredith Farkas
ปล. ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากกว่าการอ่านบล็อกของผมก็ตามไปอ่านบทความนี้เต็มๆ ได้ที่ต้นฉบับด้านบนที่ผมเกริ่นนะครับ