นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

หลังจากที่ป่วยมาหนึ่งวัน พอฟื้นปุ๊บก็เกิดอารมณ์อยากเที่ยวทันที ดังนั้นอย่ารอช้าหาที่เที่ยวกันเลยดีกว่า
แต่เที่ยวตามสไตล์นายห้องสมุดทั้งทีมันก็ต้องเกี่ยวกับห้องสมุดสักหน่อย วันนี้ผมจึงพาเที่ยวห้องสมุดเช่นเดิม

ห้องสมุดที่ผมพาไปวันนี้อยู่ที่ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่าสนใจมากจริงๆ ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ชื่อว่า “ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์” (NitasRattanakosin Library)
เอาเป็นว่าผมขอแนะนำห้องสมุดแห่งนี้ตามสไตล์บรรณารักษ์พาเที่ยวนะครับ (ข้อมูลอาจจะออกไปทางห้องสมุดหน่อย)

โปรแกรมห้องสมุดที่ใช้ (โปรแกรมที่ใช้ในการสืบค้นและการจัดเก็บข้อมูลสื่อสารสนเทศ) คือ Alice for window
ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ และใช้แถบสี (Spine Label) ในการแบ่ง collection ของสื่อสารสนเทศ

Collection ของสื่อสารสนเทศที่มีในห้องสมุดแห่งนี้

– พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
– สัพเพเหระ
– ศิลปะรัตนโกสินทร์
– สังคมรัตนโกสินทร์
– หนังสือแนะนำ
– วรรณคดี นวนิยาย
– กิน เที่ยว
– นิตยสารที่นี่บอกรับไว้ประมาณ 16 ชื่อเรื่องครับ (อันนี้เดินไปนับเลย)
– หนังสือพิมพ์
– พระราชพิธี
– ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
– พระราชประวัติ พระบรมวงศานุวงศ์
– พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์
– เกร็ดความรู้
– ประวัติและผลงานบุคคลสำคัญ
– สื่อมัลติมีเดีย

ห้องสมุดแห่งนี้ไม่มีบริการให้ยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดนะครับ
ดังนั้นจึงมีบริการเสริมจำพวกถ่ายเอกสารหรือสแกน ซึ่งมีอัตราค่าบริการต่างๆ ดังนี้
– ถ่ายเอกสาร แผ่นละ 2 บาท
– สแกนแต่ไม่พิมพ์ 10 บาท
– สแกนและพิมพ์ขาวดำ 15 บาท
– สแกนและพิมพ์สี 20 บาท
– พิมพ์งานจากไฟล์อินเทอร์เน็ต 5 บาท

ภายในห้องสมุดบรรยากาศดีมากๆ มีที่นั่งแบบสบายๆ ให้เลือกหลายสไตล์
เช่น แบบเบาะนุ่มๆ นั่งอ่านชิวๆ หรือแบบนั่งกับไม่กระดาน แบบเท่ห์ๆ หรือแบบโต๊ะกลุ่ม แบบคนทำงาน ฯลฯ

นอกจากเรื่องที่นั่งแล้ว ชั้นหนังสือก็สวยงามมากมายครับ ดีไซน์ได้ดูดีมากๆ

หนังสือในห้องสมุดอาจจะดูน้อยไปสักนิดแต่ผมเชื่อว่าเป็นหนังสือที่เลือกแล้วว่าดีจริงๆ
หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์หลายเล่มหาอ่านได้ยากที่นี่ก็มีบริการ แบบว่าทึ้งจริงๆ

สมาชิกของห้องสมุดก็ปีละ 100 บาทเท่านั้น (สำหรับประชาชนทั่วไป) ส่วนเด็กๆ ก็นำบัตรนักเรียนมาเข้าฟรีนะ
หรือถ้าใครมาชมนิทรรศการแล้วมีบัตรเข้าชมนิทรรศการก็สามารถเข้าห้องสมุดฟรีครับ
ถ้าใครแค่อยากแวะเข้ามาชมห้องสมุดอย่างเดียวก็เสียค่าเข้าชม 20 บาท (1 day pass) ครับ
แต่ 20 บาทก็ไม่ได้ไปไหนหรอกนะครับ ได้เข้าชมห้องสมุดแถมด้วยชั่วโมงอินเทอร์เน็ตอีก 1 ชั่วโมงครับ

แค่วันนี้ผมแวะมา ผมก็สมัครสมาชิกแล้วครับ 1 ปี สิทธิประโยชน์ก็คือ เข้าห้องสมุดได้ตลอดแล้วก็อินเทอร์เน็ตอีก 1.5 ชั่วโมงครับ
ยิ่งไปกว่านั้น บัตรใบนี้เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ครับ คือแตะที่ประตูเข้าห้องสมุดแล้วประตูก็เปิดออกเองอัตโนมัติด้วยครับ
แบบว่ามันไฮเทคมากๆ เลยครับ ผมชอบมากๆ เลย

ที่นี่มีบริการให้เช่าห้องประชุมด้วยนะครับ ซึ่งห้องประชุมก็เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากมาย
แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่ามีค่าใช้บริการ (จะบอกว่าแอบแพงนิดนึง แต่ผมว่าถ้าจัดกิจกรรมก็คงคุ้มอ่ะ)
ค่าบริการของห้องประชุมไม่เกิน 4 ชั่วโมง คิด 2000 บาท ถ้า 4-8 ชั่วโมง คิด 4000 บาท
และถ้าเกินกว่า 8 ชั่วโมงคิดอัตราชั่วโมงละ 500 บาท
(จริงๆ ค่าใช้งานห้องประชุมเฉลี่ยชั่วโมงบละ 500 บาทอยู่แล้ว)

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอแนะนำห้องสมุดแห่งนี้แบบคร่าวๆ ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
อยากให้เพื่อนๆ ลองมาใช้บริการกันดู แล้ววันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังใหม่หลังจากไปที่นี่บ่อยๆ แล้ว
ห้องสมุดดีๆ แบบนี้ ผมก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆ มากันมากๆ เลยครับ นายห้องสมุดคอนเฟิมว่าดีจริงๆ


เว็บไซต์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ : http://www.nitasrattanakosin.com/index.php

แอบโฆษณากิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุดแห่งนี้นิดนึงนะครับ ห้องสมุดจะมีกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์? (ทุกวันศุกร์ 16.00-18.00)
วันที่ 5 และ 12 พ.ย. –> พวงกุญแจ “ดนตรีเริงรมย์”
วันที่ 19 พ.ย. –> กระทงแก้วเก้า
วันที่ 26 พ.ย. –> ที่คั่นหนังสือ “ดนตรีในดวงใจ”

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่าง หรืออยู่ใกล้ๆ แล้วอยากร่วมก็ขอเชิญนะครับ

ปล. ห้องสมุดแห่งนี้ภายในไม่อนุญาติให้ถ่ายภาพนะครับ ผมเลยเก็บรูปมาได้ไม่มาก เอาไว้จะแอบถ่ายมาเรื่อยๆ แล้วกัน 555

นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง

ไม่ได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดซะนาน วันนี้ผมจึงขอจัดทริปเล็กๆ ในการไปเที่ยวห้องสมุดบ้างแล้วกันนะครับ
ห้องสมุดที่ผมจะพาไปวันนี้คือ ห้องสมุดที่อยู่ในกรุงเทพฯ ครับ นั่นคือ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง


นั่นเองห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิครับ เพื่อนๆ จะมารถเมล์ หรือลงรถไฟฟ้าแล้วเดินมาก็ได้นะครับ
พูดง่ายๆ ว่ามาที่นี่สะดวกมากๆ ครับ

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนาห้องสมุดของกรุงเทพฯ อีกแห่งหนึ่งนะครับ
โครงสร้างอาคารแบ่งออกเป็นสองอาคารใหญ่ๆ แต่เชื่อมถึงกันนะครับ

ภายในอาคารแต่ละหลังมีบริการดังนี้
อาคาร 1 ชั้น 1? – เคาน์เตอร์บริการยืมคืน ฝากของ หนังสือพิมพ์ วารสาร มุมสืบค้น
อาคาร 1 ชั้น 2? – บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือวิชาการ
อาคาร 1 ชั้น 3 – บริการที่นั่งอ่านหนังสือ นวนิยบาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
อาคาร 2 ชั้น 1 – ห้องสมุดสำหรับเด็ก
อาคาร 2 ชั้น 2 – ห้องทำการบ้าน
อาคาร 2 ชั้น 3 – ห้องมินิเธียร์เตอร์ (ดูหนัง)

บริเวณลานกว้างด้านหน้าห้องสมุดมีไว้จัดกิจกรรมต่างๆ ด้วยนะ
เพื่อนๆ คนไหนอยากจัดกิจกรรมกลางแจ้งก็ลองมาขอพื้นที่ดูนะครับ (ทำเรื่องไปที่ กทม เลย)
รับรองว่าที่นี่จัดกิจกรรมได้สะดวกมากๆ แถมอยู่ใจกลางเมืองด้วย


ห้องสมุดแห่งนี้ปิดวันจันทร์วันเดียวนะครับ วันอื่นๆ สามารถมาใช้บริการได้ตามปกติ
ห้องสมุดแห่งนี้ผมก็ใช้บริการบ่อยๆ แหละครับ เพราะว่าห้องสมุดปิดบริการ 2 ทุ่ม
ผมมักจะมายืมหนังสือช่วงทุ่มกว่าๆ ประจำเพราะเป็นทางกลับบ้านผมด้วย

ที่นี่สมัครสมาชิกถูกมากครับ ปีนึง 10 บาท และค่ามัดจำหนังสือ 40 บาทเอง
รวมๆ แล้ว 50 บาทผมว่าคุ้มค่ามากๆ ยืมหนังสือได้ 2 เล่ม 1 สัปดาห์ หากคืนเกินก็เล่มละ 1 บาทครับ

หนังสือที่เพิ่งยืมล่าสุดพฤหัสที่แล้ว

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำให้มาใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้แห่งนี้นะครับ
สำหรับอาทิตย์หน้าผมจะพาไปห้องสมุดของ กทม อีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินีครับ
อย่าลืมติดตามด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ผมคงจบทริปนี้ก่อนนะครับ

ชมภาพบรรยากาศภาพในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนางได้เลยครับ

[nggallery id=30]

ทัวร์ห้องสมุด รพ.สรรพสิทธิประสงค์

ครั้งที่แล้วผมพาไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
วันนี้เราก็ยังคงอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีอยู่นะครับ
แต่ห้องสมุดที่ผมจะพาไปวันนี้ คือ ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

dscf0090

ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ : ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
ที่อยู่ : ถนนสรรพสิทธิฺ์์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
โทรศัพท์ : 045-244973

ประเด็นภาพรวมของการไปเยี่ยมชม
– ห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล
– เป็นแหล่งความรู้ให้นักศึกษาแพทย์ (ชั้น 2) และแหล่งเรียนรู้ทั่วไป
– สถานที่มีความพร้อมในการทำห้องสมุด มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ
– จำนวนทรัพยากรสารสนเทศเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
– ทรัพยากรสารสนเทศมีความใหม่ และอัพเดทอยู่เสมอ
– จำนวนที่นั่งในห้องสมุดมีเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
– รายได้หลักของห้องสมุดมาจากค่าปรับหนังสือ และเงินบริจาคจากผู้ใหญ่ใจดี
– ไม่อนุญาตให้ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย เนื่องจากสัญญาณจะรบกวนในโรงพยาบาล
– อนุญาตให้ยืมหนังสือได้แค่บุคลากรภายในโรงพยาบาล
– มีบริการเครื่องถ่ายเอกสารด้านนอกห้องสมุด
– จัดหมวดหมู่ด้วยแถบสี เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาได้ง่าย
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำขึ้นเอง
– แบ่งมุมหนังสือเพื่อการแพทย์ กับหนังสือทั่วไปอย่างชัดเจน (อยู่คนละชั้น)
– ผู้ก่อตั้งห้องสมุดมีการเก็บแผ่นเสียงจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งรวบรวมแผ่นเสียงมากมาย

เป็นยังไงกันบ้างครับ ไม่น่าเชื่อเลยใช่มั้ยครับว่า
ห้องสมุดโรงพยาบาลจะสามารถสร้างได้ถึงขนาดนี้
อย่างที่ผมเคยเขียนไว้หล่ะครับ ว่าห้องสมุดจะพัฒนาไปทางไหน
ก็ขึ้นอยู่กับ “วิสัยทัศน์ของผู้บริหารห้องสมุด” นั่นแหละครับ

ภาพบรรยากาศทั่วไปในห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

[nggallery id=4]