50 เหตุผลที่บรรณารักษ์ไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในห้องสมุด บรรณารักษ์ก็ควรยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น
ซึ่งสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กระบวนการทำงาน การบริหารงาน รวมถึงเทคโนโลยี
ผมว่ามันก็ต้องมีเหตุผลของการที่ทำสิ่งใหม่เข้ามา ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ก็แก้ปัญหาเดิมๆ ได้

และแน่นอนครับว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ทำให้บรรณารักษ์บางส่วนไม่พอใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของงานไอที
คำถามหลักที่จะต้องเจอต่อมาคือ “ทำไมถึงไม่ยอมรับหรือเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆหล่ะ”

คำตอบของคำถามนี้อยู่ในแผนภาพด้านล่างนี้ครับ

ภาพนี้เป็นภาพจากบล็อก http://13c4.wordpress.com ซึ่งพูดถึงเรื่อง “50 เหตุผลที่ไม่ยอมเปลี่ยน

ในภาพอาจจะมองไม่ค่อยเห็น เอาเป็นว่าผมขอยกตัวอย่างมาสักเล็กน้อยแล้วกัน

– It’s too expensive
(มันแพงมาก – สงสัยผู้บริหารจะเป็นคนพูด)

– I’m not sure my boss would like it
(ฉันไม่มั่นใจว่าหัวหน้าของฉันจะชอบมัน – ตัดสินใจแทนผู้บริหารซะงั้น)

– We didn’t budget for it.
(พวกเราไม่มีงบประมาณสำหรับมัน – ไม่มีทุกปีเลยหรอครับ)

– Maybe Maybe not.
(อาจจะ หรือ อาจจะไม่ – ยังไม่ได้คิดอะไรเลย ก็ไม่ซะแล้ว)

– It won’t work in this department.
(มันไม่ใช่งานในแผนกเรา – แล้วตกลงเป็นงานของแผนกไหนหล่ะ)

– We’re waiting for guidance on that.
(พวกเรากำลังคอยคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ – แล้วตกลงอีกนานมั้ยหล่ะครับ)

– It can’t be done.
(มันไม่สามารถทำได้หรอก – แล้วคุณรู้ได้ไงว่าทำไม่ได้ ลองแล้วหรอ)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ จากแผนภาพนี้เท่านั้นนะครับ
เอาเป็นว่าเหตุผลบางอย่างในแผนภาพ ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ยังฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่นะ

แต่ที่เอามาให้เพื่อนๆ ดูนี่ ไม่ได้หมายความว่าจะตำหนิหรือว่าอะไรใครหรอกนะครับ
เรื่องนี้อาจจะเป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดอย่างไรกับเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ในห้องสมุดบ้าง

บรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดต้องพูดคุยกันบ้าง…

การพัฒนาห้องสมุดจะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ ผู้บริหารห้องสมุดหรือผู้บริหารองค์กร นั่นเอง

admin-library

คุณเห็นด้วยกับประโยคที่ผมกำลังจะกล่าวหรือไม่

“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ
ก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ ไม่ได้รับการพัฒนา”

เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าความสำคัญของห้องสมุดในแง่ความคิดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาห้องสมุด
ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าหากสอดคล้องกัน คือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุดเหมือนกัน และทิศทางเดียวกัน
ผมคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน และกระบวนการทำงานนั่นเอง
แต่ถ้าสมมุติว่า หากเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องของการทำงานหรือการให้ความสำคัญหล่ะ มันก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้เช่นกัน

ตัวอย่างเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของ บรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปครับ?..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ปรับความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและกัน
เนื่องจากห้อง สมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยครับ

ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย
มีอะไรแนะนำกันบ้างนะครับ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน?

ปล. ผมขอส่งท้ายด้วยบทความเรื่อง การจัดตั้งห้องสมุดอุดมศึกษา โดย Chelie M. harn Cooper
ลองอ่านดูนะครับเป็นบทความของเว็บวิชาการ 2 หน้า
ที่พูดถึงเรื่อง การการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล และ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด

เมื่อบรรณารักษ์บางกลุ่มพูดว่า “ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

มีหลายเรื่องที่ผมวิตกและกังวลเกี่ยวกับทัศนคติของบรรณารักษ์บางกลุ่มในประเทศไทย
ซึ่งผมกำลังหาทางออกและวิธีแก้ปัญหาอยู่ เลยอยากเล่าให้เพื่อนๆ ฟังเพื่อว่าจะมีใครเสนอแนวทางดีๆ ให้ผมบ้าง

question

เรื่องที่ผมจะยกมาให้อ่านในวันนี้อาจจะดูแรงไปสักหน่อยแต่มันเกิดขึ้นจริงนะครับ
เป็นเรื่องที่มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงโทรมาปรึกษาผมเกี่ยวกับการทำงานบรรณารักษ์ของเขา
เอาเป็นว่าผมขอแทนชื่อเขาว่า “นายบัน” ก็แล้วกันนะครับ

ห้องสมุดที่ “นายบัน” ทำงานอยู่มีบรรณารักษ์กลุ่มหนึ่งที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม (ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลอย่างเดียวนะ)
วันๆ บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรอคอยเวลาเลิกงานในแต่ละวัน พอใกล้จะถึงเวลาเลิกงานก็จะรีบเก็บของโดยไม่สนใจผู้ใช้บริการ

“นายบัน” ก็รู้สึกว่าห้องสมุดไม่มีอะไรใหม่ๆ เลย ดังนั้นเขาก็เสนอโครงการใหม่ๆ ขึ้นไปให้หัวหน้า
ซึ่งหัวหน้าก็ค่อนข้างชอบโครงการใหม่ๆ นี้ และคิดว่าจะนำมาใช้กับห้องสมุด

แต่โครงการใหม่ๆ ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาครับ เพราะว่ากลุ่มบรรณารักษ์กลุ่มนี้ไม่พอใจ
เนื่องจากเป็นการสร้างภาระงานใหม่ๆ ในห้องสมุด และต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น (อินเทอร์เน็ต)
ดังนั้น “นายบัน” ก็เลยโดยเรียกไปต่อว่า “หาว่าชอบหาเรื่องใส่ตัว” “งานสบายๆ ไม่ชอบหรือไง”
“นายบัน” พยายามจะบอกว่า “บรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ให้เข้ากับยุคปัจจุบันนะ”

แต่บรรณารักษ์กลุ่มนี้กลับนิ่งเงียบ แล้วย้อนคำถามมาว่า
“แล้วเราต้องเปลี่ยนด้วยหรอ ในเมื่อห้องสมุดของเรายังไงนักศึกษาก็ต้องใช้บริการอยู่แล้ว ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

พอผมฟังจบก็รู้สึกอารมณ์ขึ้นมากๆ เลยครับ และวิตกกังวลถึงอนาคตบรรณารักษ์เมืองไทยจัง
“ปลาเน่าเพียงตัวเดียวก็ทำให้ทั้งคอกเหม็นได้แล้ว” ประโยคนี้คงจะจริง

สุดท้ายผมก็ได้แค่ปลอบเพื่อนผมไปว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันต้องค่อยๆ ปรับกันไป
ถ้าเราไปคล้อยตามประโยคแบบนี้แล้วไม่ทำงาน วงการบรรณารักษ์เราก็จะจบลงแบบเน่าๆ ต่อไป
ดังนั้นถ้าคิดว่าอะไรที่ดีต่อห้องสมุดทำไปเถอะอย่าสนใจเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเลย

ผมก็หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นเพียงส่วนน้อยของวงการบรรณารักษ์นะครับ
เพื่อนๆ อ่านจบแล้ว คิดยังไงกันบ้าง มีไอเดียจะเสนอผมบ้างหรือปล่าวครับ….