งานสัมมนามิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ปลายเดือนนี้มีงานสัมมนางานหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากๆ นั่นคือ “การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29” นั่นเอง ซึ่งธีมที่จะพูดในปีนี้ คือ เรื่องมิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มาลองอ่านระอียดของงานนี้กัน

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องาน : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
ธีมงาน : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วันที่จัด : วันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556
จัดโดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นชัดขึ้นมาก (เริ่มเห็นก็ตอนหลังน้ำท่วมใหญ่นี่แหละ) ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีหลายลักษณะ เช่น ความร่วมมือในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในการรวมกลุ่มกันบอกรับฐานข้อมูล ความร่วมมือในการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด หรือแม้แต่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

เอาเป็นว่าหัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ควรนำมาพูดกันอย่างจริงจังบ้าง
คนนอกวงการจะได้รู้สักทีว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ห้องสมุดรวมกลุ่มกันมันคือเรื่องใหญ่

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace รองรับการให้บริการหลากหลาย Platform (Windows, iPad, Android)
– การใช้ระบบสืบค้น Google Search Appliance กับงานห้องสมุด
– การพัฒนาคลังสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมและข้อมูลท้องถิ่นของห้องสมุดและข่ายความร่วมมือเพื่อรองรับประชาคมอาเชียน
– What we learn from EU, their Libraries Cooperation, and Repositories
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– Powering Quality Research
– PLoT – Public Library of Thailand ระบบฐานข้อมูล และคลังสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม
– ห้องสมุดในฝัน
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– Britannica Online – The Complete Digital Resource
– มิติใหม่ของการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์
– Creating a Different Future for Library Services, World Share Management Services
– The Lines of Crowdsourcing as a Way Forward for Libraries
– ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพห้องสมุด
– วิวัฒนาการของสื่อกระดาษสู่ดิจิทัล
– สื่อทรัพยากรสารสนเทศกับระบบ Cloud Computing
– การใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับห้องสมุดอนาคต (EBSCO Discovery Service)
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– Partnership with Taylor & Francis
– แนวโน้มในอนาคตของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

เห็นหัวข้อแล้วก็ต้องอึ้ง เพราะอัดแน่นด้วยเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น
ที่สำคัญยังมีวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมบรรยายเยอะพอสมควร

การสัมมนาครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน 2500 บาทนะครับ
และปิดรับลงทะเบียนออนไลน์ – ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 8 มกราคม 2556 เท่านั้น

เอาเป็นว่าน่าสนใจขนาดนี้ก็อยากให้เพื่อนๆ มาร่วมงานกันเยอะๆ นะครับ
ส่วนใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็อ่านกันต่อได้ที่
http://coconference.library.tu.ac.th/

ประเด็นพูดคุยในงาน บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด

อย่างที่เกริ่นไว้เมื่อวันก่อนว่า ผมได้รับเชิญเป็นผู้ดำเนินรายการของงานเสวนาครั้งนี้ (งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์) ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ จากการเสวนา ผมจะขอสรุปลงมาให้เพื่อนๆ อ่านเพื่อเป็นไอเดียและเล่าสู่กันฟังในเรื่องปัญหาน้ำท่วมกับห้องสมุด

หัวข้ออย่างเป็นทางการ คือ “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด” ซึ่งถูกเล่าโดย :-
– นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้ดำเนินรายการ : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้ และเจ้าของบล็อก Libraryhub

แค่เห็นชื่อและตำแหน่งของผู้ถ่ายทอดเรื่องราวแล้ว ผมขอบอกเลยครับว่าการเสวนาครั้งนี้สนุกแน่ๆ
เพราะเราจะได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างห้องสมุดที่อยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้วกัน

การเสวนาครั้งนี้ผมได้ลองตั้งคำถามคร่าวๆ เพื่อถามห้องสมุดทั้งสาม ดังนี้
1. คำถามที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนน้ำมาถึง :
– ข่าวเรื่องน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 มีให้เห็นแทบจะทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รวมไปถึงประกาศหรือแถลงการณ์จากรัฐบาลอยู่ตลอด สำนักหอสมุดได้รับรู้ข่าวเหล่านี้และติดตามข่าวบ้างหรือไม่ และใส่ใจกับข่าวเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร
– เมื่อได้รับข่าวสารและรับรู้ว่าน้ำจะมาถึง ห้องสมุดมีการเตรียมตัวอย่างไร
– ในช่วงการเตรียมตัวรับน้ำท่วม ใครมีบทบาทต่อเรื่องนี้มากที่สุด ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ประชาชน

2. คำถามที่เกี่ยวกับช่วงน้ำท่วม
– เมื่อน้ำมาถึงแล้ว หอสมุดได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เสียหายด้านไหนบ้าง แล้วแก้ไขอย่างไรในเบื้องต้น
– บุคลากรของสำนักหอสมุดทำงานกันอย่างไรในช่วงน้ำท่วม และได้รับความช่วยเหลือบ้างหรือไม่
– น้ำท่วมนานแค่ไหน ต้องหยุดให้บริการนานแค่ไหน (รวมตั้งแต่น้ำมาจนน้ำลดและเปิดให้บริการ)
– มีช่องทางอื่นในการให้บริการห้องสมุดหรือไม่


3. คำถามที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูห้องสมุดหลังน้ำท่วม

– สำรวจความเสียหายดูแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เสียหายมากน้อยเพียงใด
– อะไรที่ต้องรีบดำเนินการหลังน้ำลด เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริการ
– น้ำท่วมแบบนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของห้องสมุดตลอดทั้งปีหรือไม่
– งบประมาณที่ต้องใช้ในการฟื้นฟู
– ใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะกลับมาเป็นหอสมุดเหมือนเดิม
– การเรียกขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ


4. คำถามจุดประกายหรือไอเดียเล็กๆ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วม

– ไอเดียการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของ ม รังสิต เรื่องการทาสีต้นไม้ที่ตายแล้วให้ดูสดใสต้อนรับเทศกาลปีใหม่
– สำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยช่วยเหลือสังคมหรือชุมชนอื่นๆ รอบๆ มหาวิทยาลัยอย่างไรบ้าง
– การจัดทำแผนเพื่อป้องกันภัยพิบัติด้านต่างๆ (ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อถ่ายทอดสู่สังคม)

5. ทิ้งท้ายก่อนจบเสวนาด้วย “หากปีนี้น้ำมาอีก หอสมุดเอาอยู่หรือไม่”

6. คำถามจากผู้เข้าร่วมฟังเสวนา

เอาเป็นว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรผมจะนำมาสรุปให้อ่านแน่นอนครับ
ใครที่อยากจะตั้งคำถามก็สามารถตั้งคำถามมาได้ที่ด้านล่างนี้นะครับ
ผมจะนำคำถามของท่านมาถามให้และสรุปมาให้อ่านแน่นอนครับ

งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์

ไม่ได้อัพเดทกิจกรรมห้องสมุดมานาน วันนี้ขอแนะนำกิจกรรมห้องสมุดที่ผมเข้าร่วมสักหน่อย
กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่จะถึงนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) ชื่อกิจกรรม “งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด
วันที่จัดงาน : 7 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องเรวัต พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้นใต้ดิน ๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่าย : ฟรี
รับจำนวน 70 คน

กิจกรรมนี้ผมได้รับเชิญเพื่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (ได้พลิกบทบาทจากวิทยากรเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งแรก) ช่วงแรกๆ ก็ลังเลว่าจะตอบรับดีมั้ย
แต่พอได้ยินหัวข้อเท่านั้นแหละ ต้องตอบตกลงทันที เพราะผมเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่เช่นกัน “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 กับห้องสมุด
หลังจากจบการเสวนาครั้งนี้ผมคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักที

หัวข้อที่เป็น Hilight ของกิจกรรมนี้ คือ
– เล่าสู่กันฟัง: ประสบการณ์ในหน้าที่ Subject Liaison โดย Mr. Larry Ashmun
– บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด โดย ผอ.ห้องสมุดจาก ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รังสิต


ณ วันที่ผมลงข้อมูลในบล็อก ตอนนี้ปิดรับผู้ลงทะเบียนแล้วนะครับ เนื่องจากเต็มแล้ว (70คน)
เอาเป็นว่าผมจะสรุปเรื่องราวในวันนั้นมาลงให้อ่านแล้วกันครับ

รายละเอียดของกิจกรรมครั้งนี้อ่านได้จากเว็บไซต์ http://library.tu.ac.th/announcement/km/ นะครับ

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29

งานประชุมวิชาการของกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นอีกงานที่น่าสนใจนะครับ
ปีนี้ก็เช่นกัน ธีมงานของปีนี้คือ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด”

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
หัวข้อของการจัดงานภาษาไทย : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หัวข้อของการจัดงานภาษาอังกฤษ : The New Dimension of Library Cooperation Development
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 –  30 พฤศจิกายน 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

หัวข้อปีนี้ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ได้บ่งบอกประเด็นหลักๆ คือ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ กับ ความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุด การประชุมครั้งนี้ก็คงคล้ายๆ กับครั้งก่อนๆ คือ การนำเสนองานวิชาการ การระดมสมองทางงานวิชาการ ฯลฯ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานประชุมวิชาการครั้งนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace ของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– ห้องสมุดในฝัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing กับการพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสือลอยฟ้า : มิติใหม่ของ e-books
– องค์กร EIFL กับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย
– วิธีคิดและแนวทางความร่วมมือของห้องสมุดเครือข่าย OCLC จากการประชุม Asia Pacific Regional Council 3rd Membership Conference
– URD2 (Unified Resource Discovery and Delivery)
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– ความร่วมมือในการจัดทำดรรชนีวารสารระหว่างห้องสมุด : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– คณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– รายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการฯ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา

เป็นยังไงบ้างครับกับหัวข้อต่างๆ ในงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ แต่ละหัวข้อน่าสนใจมากๆ เลย เพื่อนๆ ว่ามั้ย
การประชุมครั้งนี้มีความใช้จ่ายด้วยนะครับ ค่าลงทะเบียนก็ท่านละ 2,500 บาทนะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนได้เลยครับที่ http://203.131.219.178:8080/coconference2011/index_coconference2011.asp

รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://203.131.219.178/coconference/

แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant

วันนี้มีงานสัมมนาและอบรมดีๆ มาฝากชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์กันอีกแล้วครับ
เป็นงานที่จะทำให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้เข้าใจวิธีการทำงานของบริการแต่ละประเภทของ OCLC

รายละเอียดทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : How to be a Global Library Participant ? Practical Approaches
วันที่และเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา 8.30 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทแอ้ดวานซ์ มีเดีย ซัพพลายส์ จำกัด

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Hands-on Library Resource Comparison with library worldwide ? WorldCat Collection Analysis
– Collection development by Circulation Analysis in action ? WorldCat Collection Analysis
– Showcase to increase student use of library materials ? WorldCat Local
– Step by step ?digitize and broadcast? local library resources to global?? ? Content DM

สรุปง่ายๆ ครับ งานนี้จะเป็นการบรรยายแบบเจาะลึก step by step ในบริการ WorldCat Collection Analysis และบริการอื่น ๆของ OCLC เช่น Content DM และ WorldCat Local นะครับ

งานนี้ก็น่าสนใจดีครับสำหรับคนที่ชอบเรื่องเทคโนโลยี การบรรยายครั้งนี้ไม่อยากให้เพื่อนๆ กลัวเรื่องภาษาอังกฤษหรอกนะครับ เห็นหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษก็จริงแต่การบรรยายเป็นภาษาไทยครับ วิทยากรก็คนไทยนะครับ เอาเป็นว่าไปหาความรู้แล้วเอามาลองใช้งานกันดู เพื่อเป็นการพัฒนางานบริการของห้องสมุดด้วยก็ดีครับ

งานนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ แต่รับจำนวนจำกัด เฉพาะผู้บริหาร/บรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด/ศูนย์สารสนเทศ/อาจารย์/นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้นนะครับ

ครที่อยากเข้าร่วมงานก็ติดต่อไปที่ pongskorn@amsbook.com นะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ที่
http://library.tu.ac.th/agenda1153/info.html นะครับ

กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ

วันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการประจำปีของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ
เพราะว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากๆ เพราะอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระเพื่อการพัฒนาห้องสมุด

tu-seminar-library

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Paradigm of library development for success
จัดวันที่ : 2 – 3 กันยายน 2552
สถานที่จัดงาน : โรงแรมปรินซ์พาเลช กรุงเทพฯ
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากการที่ผมติดตามข่าวสารด้านห้องสมุดมาตลอดสามปี
ผมได้ลองอ่านเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนี้มาโดยตลอด
(ต้องขอบคุณพี่ๆ ที่ธรรมศาสตร์ที่ส่งมาให้ผมอ่าน)
ซึ่งต้องขอบอกเลยว่าเป็นงานประชุมทางวิชาการด้านห้องสมุดที่ดีที่สุดในเมืองไทยเลยก็ว่าได้

ดังนั้นปีนี้พอมีงานผมเลยต้องขอบอกต่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพเข้าร่วมกันสักหน่อย
เอาเป็นว่าถ้าใครมีโอกาสไปงานนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ จะได้ไอเดียดีๆ มากมายเพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุด

ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ยุค Generation G
– การบรรยายเรื่อง คุณภาพบริการ ความพึงพอใจ การวัดและประเมินบริการห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง ศาสตร์แห่งความสำเร็จพิชิตอุปสรรคในงานห้องสมุด
– การบรรยายเชิงปฏิบัติ การเรื่องเทคนิคการทำ Mind Map เพื่อผลสำเร็จของงานห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Libraries – A Framework for Excellence : A Report on Work in Progress at Technische Universit?t M?nchen Library, Germany
– การบรรยายเรื่อง Social Networking, Social Media และ I-Society กับการพัฒนาห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Seven Habits : หลักการเพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเองและงาน

เห็นมั้ยครับแค่หัวข้อยังน่าสนใจมากๆ เลยครับ
ถ้าได้ไปฟังจะได้ไอเดียดีๆ กลับมามากแค่ไหน

อ๋อ แต่ก็ต้องบอกก่อนนะครับว่า งานนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
ค่าลงทะเบียนคนละ 2,500 บาท (ค่าเอกสารและอาหาร)

นอกจากนี้หากเพื่อนๆ สนใจเอกสารประกอบการประชุมวิชาการที่ผ่านมา เพื่อนๆ สามารถดูได้ที่
“ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน” (2550)
“การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (2551)
“การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า” (2552)

ใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://203.131.219.180/conference2010

และถ้าใครสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานก็เข้าไปได้ที่ http://library.tu.ac.th/conference2010/index.asp

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

อย่างที่เมื่อวานผมได้กล่าวถึงงานสัมมนา ?มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้?
ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายอีกช่วงนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ “โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย”
ผมก็จะสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นเคยครับ

dlibthai

วิทยากรในช่วงนี้ คือ “คุณชิตพงษ์? กิตตินราดรผู้จัดการโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยคือ ทำไม สสส. ถึงทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย
คำอธิบายจากท่านวิทยากรก็ทำให้เรากระจ่าง คือ สสส. เน้นการสร้างสุขภาวะซึ่งมีหลายด้านด้วยกัน
โดยห้องสมุด ถือว่าเป็นการสร้างสุขภาวะทางปัญญานั่งเองครับ

หลักการคร่าวๆ ของโครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่า
หน่วยงานที่มีข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหลายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

วิทยากรได้กล่าวถึง “สื่อกำหนดอนาคตของสังคม” เนื่องจากสื่อสามารถสร้างกรอบแนวคิดให้สังคม
บางประเทศถึงขั้นต้องปิดกั้นสื่อ เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับกรอบแนวคิดต่างๆ

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจและพบว่าในวันหยุด เด็กๆ จะใช้เวลากลับการดูทีวีถึง 14 ชั่วโมง
ลองคิดดูสิครับว่า เด็กเหล่านี้จะได้รับอะไรไปเป็นแนวคิดของพวกเขาบ้าง

“สื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็นสื่อหลัก” เนื่องจากสื่อดิจิทัลเข้าถึงได้ง่ายมาก
จากการสำรวจคนไทยพบว่า คนไทยอ่านข้อมูลบนเน็ตมากกว่าอ่านหนังสือ
(ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ = 39 นาที แต่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 107 นาที)

จากการสำรวจของ NECTEC ก็แสดงถึงการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
เมื่อปี 51 มีการสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 0.1%
แต่ด้วยคำถามเดียวกัน ในปี 52 พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 8%

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
– World Digital Library = http://www.wdl.org/en/

wdl

– The National Archives = http://www.nationalarchives.gov.uk/

na

– Issuu = http://issuu.com/

issuu

– MIT OpenCourseWare = http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm

mit

– Google Book = http://books.google.com

google

แต่อุปสรรคของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็มีนะครับ เช่น
– ความน่าเชื่อถือ? (ไม่รู้จะอ้างอิงใคร)
– ความครบถ้วนของเนื้อหา (ข้อมูลบางครั้งก็มีไม่ครบถ้วน)
– การจัดระบบ (ไม่มีระบบที่จัดการข้อมูลที่ดี)

แต่อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้มีทางแก้ นั่นก็คือการจัดการห้องสมุดดิจิทัลไงครับ
ข้อมูลอ้างอิงได้ชัดเจน เนื้อหาก็ครบถ้วน รวมถึงให้คนเป็นผู้จัดระบบย่อมดีกว่าให้คอมพิวเตอร์คิด

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทย สนับสนุนในเรื่องใดบ้าง
– การผลิต (แปลงสื่อเก่าเป็นสื่อใหม่ + ทำสื่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน)
– การเผยแพร่ (ให้บริการบนเว็บ + ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน)
– การเข้าถึง (เข้าถึงได้จากจุดเดียว + ค้นหาง่ายขึ้น)

dlib-th

เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น
– ผู้พิการ = เข้าถึงข้อมูล
– นักเรียนนักศึกษา = ศึกษาเรียนรู้
– คนทั่วไป = สนับสนุนข้อมูลในชีวิตประจำวัน
– นักวิจัย = วิจัยพัฒนา

แผนงานของโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทยยาว 3 ปี (2010-2012) โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
1. จัดทำต้นแบบ (http://www.dlib.in.th) = 20,000 ชิ้น
2. สร้างมาตรฐานและบริการสาธารณะ = 200,000 ชิ้น
3. จัดตั้งองค์กร

ประโยคสรุปสุดท้ายของท่านวิทยากร ผมชอบมากๆ เลยครับ
Keyword = โอกาส + กำหนดทิศทางสังคม + สื่อใหม่

เอาเป็นว่างานนี้ผมได้ความรู้มากมายเลยครับ และได้มีโอกาสรู้จักโครงการดีๆ เพียบเลย
ขอบคุณผู้จัดงานทุกคนครับ ทั้ง มธ. สวทช. สสส. ศวท.

มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้

วันนี้ผมก็มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
และได้ฟัง ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์ บรรยายในเรื่อง “ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล”
ผมจึงขอสรุปเนื้อหามาให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมได้อ่านและเติมความรู้นะครับ

standard-for-digital-media

ปล.ผมขออนุญาตเรียกท่านวิทยากรว่า อาจารย์ นะครับ

หัวข้อแรกที่อาจารยืได้พูดถึง คือ เรื่อง “นิยามและวิวัฒนาการสังคมสารสนเทศ”
ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า “สังคมความรู้” ให้พวกเราฟัง

“สังคมความรู้” คือ “สังคมที่ทุกคนช่วยกันสร้าง แบ่งปัน และใช้ความรู้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี”

ไม่ว่าสังคมของเราจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรม หรือ บริการ ถ้าเราเอาความรู้ไปใช้
มันก็อาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของเราได้ด้วย

เรื่องต่อมาที่อาจารย์ได้บรรยาย คือ เรื่องของวิวัฒนาการของสื่อ
โดยยกตัวอย่างภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการเขียนหนังสือ และยุคการพิมพ์

สิ่งที่เราเห็นถึงความก้าวหน้าของสื่อ เช่น
กระดาษ -> หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -> เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Example : LG Display unveils newspaper-size flexible e-paper
เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายๆ กระดาษ และมีขนาดใหญ่เท่าหนังสือพิมพ์

จากนั้นอาจารย์ก็หยิบเอาตารางการสำรวจยอดการจำหน่ายหนังสือในสหรัฐอเมริกามาให้พวกเราดู
และชี้ให้เห็นว่ายอดการอ่านหนังสือพิมพ์ของคนในสหรัฐอเมริกาลดลง สาเหตุมาจากสื่อออนไลน์

จากนั้นอาจารย์ก็ยกข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้พวกเราดู (internetworldstats.com)
ประชากรบนโลกประมาณ 6,700 ล้านคน มีการใช้อินเทอร์เน็ต 1,700 ล้านคน

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี่เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อดิจิทัล
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องมีการมาพูดเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลก็เนื่องมาจาก

ปัญหาของสื่อดิจิทัล เช่น font error, configuration, non format

ดังนั้นจากปัญหาต่างๆ จึงต้องมีการจัดการสื่อดิจิทัล เช่น
– การถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
– ต้องทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง
– ต้องมีการกำหนดมาตรฐานและแนวทาง
– สร้างความไหลเวียนของข้อมูล

ซึ่งหากพูดถึงมาตรฐานของสื่อดิจิทัลแล้ว เรามีรูปแบบในการกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง เช่น
– การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร
– การจัดการเอกสารงานพิมพ์
– การจัดการเอกสารบนเว็บไซต์
– การจัดการเอกสารในการนำเสนอ
– การจัดการไฟล์เสียง
– การจัดการไฟล์ภาพ
– การจัดการสื่อมัลติมีเดีย

หลังจากที่พูดในส่วนนี้เสร็จ อาจารย์ก็อธิบายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารอย่างคร่าวๆ เช่น
– รูปแบบและระบบรหัสตัวอักษรและสัญลักษณ์
– รูปแบบของเสียงและการบีบอัดข้อมูล
– รูปแบบของไฟล์ภาพและการอ่าน spec กล้อง digital
– รูปแบบของไฟล์วีดีโอ และ MPEG ชนิดต่างๆ

(ผมไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก)

สรุปปิดท้ายอาจารย์ได้เน้นให้พวกเราทำความเข้าใจในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน
และให้ช่วยกันรณงค์การใช้ข้อมูลมาตรฐาน รวมถึงช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาข้อกำหนดต่อไป

เอาเป็นว่าผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะเข้าใจถึงความสำคัญของงานมาตรฐานสื่อดิจิทัลกันเพิ่มมากขึ้นนะครับ

สัมมนาเรื่อง “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้”

วันนี้ผมมีงานสัมมนาที่น่าสนใจสำหรับงานห้องสมุดมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ เข้าร่วม
งานนี้เป็นงานสัมมนาที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง

digital-media

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนานี้
ชื่องานสัมมนา : มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 มกราคม 2553 เวลา 8.30-17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจในเรื่องของการเผยแพร่เนื้อหาสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งจะเน้นในเรื่องของรูปแบบและมาตรฐานในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ เพื่อทำให้เกิดคุณภาพต่อการให้บริการ
ในอนาคตผมว่าสื่อประเภทดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อวงการห้องสมุดอีกมากมาย
ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล โดย ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์
– การพัฒนาคลังความรู้ด้วย Open Source Software โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์
– ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ โดย นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
– โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย และการหารือเพื่อจัดทำโครงการ โดย แผนงาน ICT สสส.

งานสัมมนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ รีบๆ ลงทะเบียนกันด้วยนะครับ
ลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/register.asp
และเพื่อนๆ สามารถตรวจดูชื่อของคนลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/master.asp

งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจและน่าเข้าร่วมมากๆ ครับ
เพื่อที่จะทำให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจและสามารถนำไปใช้ประยุกต์ต่องานห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้

เอาเป็นว่าสำหรับเพื่อนๆ ที่ไป ก็สามารถเข้ามาทักทายผมได้นะครับ เพราะว่าผมก็เข้าร่วมงานนี้เช่นกัน
แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานนี้ได้ เอาไว้กลับมาผมจะเขียนเล่าเรื่องในบล็อกนี้ให้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://library.tu.ac.th/digitalconference/

หลักการทำสาระสังเขปภาษาอังกฤษ (Abstract)

วันนี้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฝากข่าวมาประชาสัมพันธ์
ผมอ่านแล้ว เห็นว่ามีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ มากๆ เลยต้องเอามาเล่าสู่กันฟังหน่อย

abstract Read more