การบรรยายในลำดับที่ 5 ของงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี
เรื่อง “กรณีศึกษา : สื่อสารสนเทศท้องถิ่นบนเว็บไซต์ห้องสมุดเมืองไทย”
โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (ผมเอง) นักพัฒนาระบบห้องสมุด ศูนย์ความรู้กินได้
การบรรยายในส่วนของผมจะสอดคล้องกับเรื่อง “การเรียนการสอนในวิชาสารสนเทศท้องถิ่นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร” ในหัวข้อที่ 4 ของงาน Libcampubon#2 แต่ของผมจะเน้นไปในเรื่องของเว็บไซต์สารสนเทศท้องถิ่นเป็นหลัก
สไลด์ที่ผมใช้บรรยายในครั้งนี้ ดูได้จากด้านล่างนี้เลยนะครับ
เนื้อหาของสไลด์และสิ่งที่ผมบรรยายสรุปได้ดังนี้
การบรรยายเริ่มจากการสรุปข้อมูลจากการบรรยายตั้งแต่ช่วงเช้าจนมาถึงเรื่องการศึกษาวิชาสารสนเทศท้องถิ่น ซึ่งได้พูดถึงแหล่งข้อมูลที่ผู้ใช้หรือห้องสมุดต้องการว่ามาจากแหล่งใดบ้าง ซึ่งหลักๆ คนไม่พ้น “ความรู้ที่มาจากตัวบุคคล สืบต่อกันมาเรื่อยๆ” และแหล่งค้นคว้าอื่นๆ เช่น
– ห้องสมุด
– ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม
– หอจดหมายเหตุ
– พิพิธภัณฑ์
– วัด
ซึ่งแหล่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่และเวลาในการให้บริการ เช่น ห้องสมุดปิดหนึ่งทุ่ม หากต้องการข้อมูลหลังสองทุ่มก็ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ หรือ ผู้ใช้บริการจากต่างประเทศต้องเดินทางไกลมาจากประเทศอื่นๆ ซึ่งยากมาก ดังนั้นทางออกของเรื่องการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอีกทางคือต้องเพิ่งพาเรื่อง “เทคโนโลยี” ซึ่งเน้น “เทคโนโลยีเว็บไซต์”
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องย้ำคือ สารสนเทศท้องถิ่นหลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ (เรื่องอดีต) เพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วยังต้องรวมถึงเรื่องปัจจุบัน และอนาคตด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ในพื้นที่ของตัวเองต้องรู้ทุกอย่าง
ห้องสมุดหลายๆ แห่งจึงมีบทบาทเพียงเติมโดยเฉพาะการจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
หลายๆ แห่งมีการจัดทำมุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดและอีกหลายๆ แห่งนำข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงในเว็บไซต์
ซึ่งผมได้นำเสนอข้อมูลเว็บไซต์สารสนเทศท้องถิ่นที่จัดทำโดยห้องสมุด (แค่ตัวอย่าง)
ตัวอย่างเว็บไซต์สารสนเทศท้องถิ่นที่จัดทำโดยห้องสมุดที่น่าสนใจ
– ภาคเหนือ
http://www.lannacorner.net/ – ล้านนาคอร์เนอร์
http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/ – ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
http://nadoon.msu.ac.th/web/ – ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
http://www.bl.msu.ac.th/ – โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.มหาสารคาม
http://lib12.kku.ac.th/esan/ – มุมอีสานสนเทศ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– ภาคตะวันออก
http://rrulocal.rru.ac.th/ – ข้อมูลท้องถิ่นภาคตะวันออก สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
– ภาคกลาง
http://www.odi.stou.ac.th/nonthaburi-studies – นนทบุรีศึกษา สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ.
– ภาคใต้
http://localinfo.tsu.ac.th/jspui/ – ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ
http://wbns.oas.psu.ac.th/ – ฐานข้อมูลข่าวจังหวัดชายแดนภาคใต้ หอสมุดจอห์นเอฟ เคนเนดี้
ในส่วนของจังหวัดอุบลราชธานีเองก็มีเว็บไซต์สารสนเทศท้องถิ่นที่น่าสนใจมากมาย เช่น
http://www.guideubon.com/ – ไกด์อุบล.com
http://202.29.20.74/rLocal/ – ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ม.ราชภัฎอุบลราชธานี
http://www.aac.ubru.ac.th/ – สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
http://www.lib.ubu.ac.th/localinformation/ – งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
http://www.esansawang.in.th/esanweb/es0_home/index_esan.html – ภาษาและวัฒนธรรมอีสาน โรงเรียนสว่างวีระวงศ์
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงการเริ่มต้นของการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นผ่านเว็บไซต์นะครับ
เรื่องของวิธีและโปรแกรมจริงๆ แล้วยังมีเยอะนะครับที่สามารถนำมาใช้ได้
แต่เวลาในการนำเสนอมีจำกัด ผมจึงขอยกยอดไปไว้บรรยายในคราวต่อไปนะครับ
ก่อนจากกันวันนี้ผมขอบอกไว้ก่อนว่า การสรุปงาน libcampubon#2 ยังไม่จบครับ
ยังเหลือต่อพิเศษอีกตอนหนึ่ง คือเรื่องของ มุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
และเรื่องทิศทางและหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับ libcampubon#3 ด้วยครับ
ยังไงก็รออ่านได้ในวันพรุ่งนี้นะครับ สำหรับวันนี้ต้องไปจริงๆ และ บ๊ายบาย