เครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ อุบลราชธานี = LibcampUbon

หายไป 1 ปีกว่าๆ ในที่สุดงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ (งาน Libcamp) ก็กลับมา
ครั้งนี้พิเศษหน่อยตรงที่เป็นการจัดงาน Libcamp ในต่างจังหวัดครั้งแรกของเมืองไทย
ซึ่งผมใช้คำว่างานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)

ขอรำลึกความหลังของงาน Libcamp สักเล็กน้อย เผื่อหลายคนจะยังไม่รู้จักงานนี้

งาน LibCamp คือ งานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของวงการห้องสมุดครั้งแรกของเมืองไทย เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจงานด้านห้องสมุด บรรณารักษ์ศาสตร์ และการจัดการความรู้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับงาน Libcampbkk ผมสรุปไว้ให้อ่านที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampbkk-to-libcampubon.html

เข้าเรื่องเลยดีกว่า งานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)
จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ธีมของงานนี้ คือ “การใช้สื่อท้องถิ่นและสื่อออนไลน์ในงานห้องสมุด”

หัวข้อที่น่าสนใจในงาน LibcampUbon#1
– กรณีศึกษาความสำเร็จของห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
– ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดผ่านสื่อในท้องถิ่น
– กรณีศึกษา : Facebook กับงานห้องสมุด
– กรณีศึกษา : การทำบล็อกห้องสมุด
– คำแนะนำในการสร้างเว็บความรู้ของท้องถิ่น

ร่างโครงการงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (LibcampUbon)อ่านได้ที่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/libcampubon1-proposal.html

งานนี้ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ฟรีเช่นเคย ใครสนใจก็ส่งเมล์มาหาผมได้นะครับ
สำหรับใครที่ต้องการจดหมายเชิญก็ส่งเมล์มาหาผมได้เช่นกัน เดี๋ยวจะให้เจ้าหน้าที่ส่งหนังสือเชิญไปให้

งานนี้ใครมาไม่ได้ (เพราะว่าไกล) ผมแนะนำให้ติดตามได้ผ่าน twitter #libcampubon
เข้าไปที่ http://twitter.com/#!/search/libcampubon1
เพราะว่าเราจะมีเจ้าหน้าที่คอยอัพเดทข้อมูลและสรุปงานสัมมนาตลอดทั้งวัน

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำไว้เพียงเท่านี้ก่อน ต้องขอตัวไปเตรียมความพร้อมงานนี้เหมือนกัน
สำหรับคนกรุงเทพยังไม่ต้องน้อยใจ ปีนี้ผมสัญญาว่ามีงาน libcamp ในกรุงเทพเช่นเคยแน่ๆ
ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่เร็วๆ นี้

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ส่งเมล์มาถามได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

คำว่า CYBRARIAN ย่อมาจากอะไร

วันนี้นั่งทำอะไรเพลินๆ เลยขอนำคำศัพท์ด้านบรรณารักษ์มาถอดเป็นตัวอักษรสักหน่อย
เรื่องแนวๆ แบบนี้ผมเคยเขียนแล้ว เช่น รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร (ลองอ่านย้อนดู)
ศัพท์ที่ผมจะนำมาถอดความ คือ คำว่า “CYBRARIAN” หรือ “บรรณารักษ์ยุคใหม่”

CYBRARIAN มาจากคำว่า Cyber + Librarian
ภาษาไทยเมื่อแปลออกมาอาจจะเรียกได้ว่าเป็น
– บรรณารักษ์แห่งโลกคอมพิวเตอร์
– บรรณารักษ์แห่งโลกดิจิตอล
– บรรณารักษ์ยุคใหม่
– บรรณารักษ์แห่งโลกออนไลน์

แต่การจะเป็นบรรณารักษ์รุ่นใหม่ได้ต้องเรียนรู้อะไรบ้างหล่ะ
เอาเป็นว่าผมขอแทรกความคิดที่ได้จากตัวอักษร C-Y-B-R-A-R-I-A-N ดังนี้

ปล. ไม่มีตำราที่เขียนเรื่องนี้นะครับการถอดตัวอักษรออกมาเป็นไอเดียที่ผมคิดเอง
เพื่อนๆ อาจจะคิดและต่อยอดเป็นคำอื่นๆ ได้อีก ซึ่งผมก็ไม่ได้สงวนเอาไว้นะ อิอิ

CYBRARIAN ย่อมาจาก
C – Creative, Cyber, Collaboration (ความคิดสร้างสรรค์, โลกไซเบอร์, ทำงานร่วมกัน – มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานและรู้จักหาวิธีในการแก้ไขปัญหา ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี และทำงานกันเป็นทีม)
Y – You / USER (ผู้ใช้บริการ – เข้าใจและรู้จักความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุด)
B – Brainstorm, Book, Beyond (ระดมความคิด, หนังสือ, ก้าวหน้า – ทำงานกันเป็นทีมช่วยกันเสนอความคิดเห็น และพัฒนาห้องสมุดให้ก้าวหน้าต่อไป)
R – Reference (ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า – บริการด้านสารสนเทศให้ผู้ใช้บริการ)
A – Advice (คำแนะนำ – ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการและผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้)
R – Read, Report (อ่าน, รายงาน – รักการอ่าน และนำเสนอได้ รายงานเป็น)
I – Idea, IT, Internet (ไอเดีย, ไอที, อินเทอร์เน็ต – ค้นหาไอเดียใหม่ๆ ทำงานด้วยไอที และเพิ่งพาอินเทอร์เน็ต)
A – Answer (คำตอบ – มีคำตอบในทุกเรื่องที่ผู้ใช้บริการถาม)
N – Nothing Impossible (ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปไม่ได้ – ทำได้ทุกอย่าง ไม่ได้ก็เรียนรู้เอา)

เอาเป็นว่าตัวอักษรทั้งหมดคือความรู้ ความสามารถและทักษะที่บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรรู้
ตัวอักษรที่ผมยังคงเน้นย้ำคือ Y (ไม่ได้หมายถึงชื่อผมนะ) นั่นคือ? User หรือผู้ใช้บริการ
หัวใจสำคัญไม่ว่าเราจะเป็น Librarian หรือ Cybrarian สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำเพื่อผู้ใช้บริการ

ก็ขอฝากไว้แค่นี้แล้วกันครับวันนี้ สำหรับใครที่ได้อักษรย่อแปลกๆ ก็สามารถนำมาเล่าสู่กันฟังได้ที่ ช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้นะครับ

เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”

วันนี้บทความที่ผมนำมาให้อ่านแค่ชื่อเรื่องอาจจะทำให้เพื่อนๆ หลายคนตกใจ และหลายๆ คนก็คงช็อค
แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า ชื่อเรื่องนี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่วงการบรรณารักษ์ของพวกเราเลย

บทความเรื่อง “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ” ได้ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันนี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2553)
ซึ่งนักข่าวจากกรุงเทพธุรกิจมาขอสัมภาษณ์ผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ ของห้องสมุด
และจากการคุยในวันนั้นก็ได้บทความชิ้นนี้ออกมา (นักข่าวถอดคำพูดจากการสัมภาษณ์ผมนะ)

ใครที่ยังไม่ได้อ่านผมขอนำบทความนี้มาลงในบล็อกนี้ด้วยนะครับ

ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้ว ?
โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา

เคยมีรายงานสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2546 พบว่า คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ 7 บรรทัด

กลายเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ถูกหยิบมากพูดกันน้ำหูน้ำตาเล็ด

อีก 5 ปีต่อมา 2551 ผลสำรวจสำนักเดิมอีกพบว่า แนวโน้มคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเป็น 39 นาทีต่อวัน

จนล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานถึง 94 นาทีต่อวัน เท่ากับว่าเวลาผ่านไปไม่ถึง 10 ปี คนไทยมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น หรือไม่ช่องทางการเข้าถึงหนังสือของคนไทยเพิ่มมากขึ้น

แน่นอนว่า อินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นพฤติกรรมการอ่านของคนทั่วโลก

การอ่านหนังสือ และการค้นคว้าเอกสารของนักเรียนนักศึกษาไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในห้องสมุดอย่าง เดียวแล้ว ภาพของนักศึกษายืนอยู่หน้าตู้ดัชนี ดึงลิ้นชักออกมาค้นหารายชื่อหนังสือ แทบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว พวกเขาไม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุดแบบดิวอี้ และรัฐสภาอเมริกัน อีกต่อไป

เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด จากโครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ยอมรับว่า ทิศทางการสืบค้นแบบใหม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำให้การค้นหาแบบเดิมถูกตัดทิ้ง ห้องสมุดจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัย บรรณารักษ์ต้องเป็นได้มากกว่าคนเฝ้าห้องสมุด

ที่ผ่านมาแม้ห้องสมุด จะเปลี่ยนผ่านสู่ยุคของเทคโนโลยีโดยแปลงหนังสือทั้งเล่มให้อยู่ในรูปของอี บุ๊ค จัดเก็บในฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการค้นหา แต่เขากลับมองว่า นั่นไม่ใช่แนวทางที่จะสนับสนุนให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่เขามองคือการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจในรูปของบทความ นอกเหนือจากข่าวสาร บันเทิง ที่ปรากฏอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตในทุกวันนี้

เหตุผล ดังกล่าวผลักดันให้บรรณารักษ์ วัย 28 ปี ริเริ่มแนวคิดการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อหากลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน สร้างเป็นเครือข่าย ผลักดันให้เกิด libraryhub.in.th ศูนย์กลางข้อมูลสำหรับบรรณารักษ์โดยเฉพาะ

?แนวคิด นี้เกิดขึ้นจากความสนใจส่วนตัวที่หลงไหลในเสน่ห์ของห้องสมุด จนกระทั่งตัดสินใจเรียนต่อเพื่อที่จะเป็นบรรณารักษ์ ในขณะที่คนอื่นอาจเลือกเรียนในสายวิศวะ แพทย์ ที่ดูดีมากกว่า? เขากล่าว

libraryhub ที่เริ่มต้นโดยมีเป้าหมายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนี้โดยเฉพาะ ปัจจุบันเว็บไซต์ได้รับการยอมรับให้เป็นประตูของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า นักพัฒนาห้องสมุด ในยุค 2.0

?ทุกวันนี้ห้องสมุดเกือบทุกแห่งเริ่ม เอานำสื่อออนไลน์เข้ามาใช้ อย่างเช่น เฟซบุ๊ค แฟนเพจ เข้ามาใช้ บรรณารักษ์ในโลกยุคใหม่ที่สามารถทำหน้าที่เป็นคนป้อนความรู้ให้กับผู้อ่าน ได้เลย โดยไม่ต้องยัดเยียด ต่างจากทฤษฎีของบรรณารักษ์รุ่นเก่าที่ใครจะเข้ามาใช้ห้องสมุดต้องมาค้นหา ข้อมูลเอง? เขาอธิบาย

เมฆินทร์ เล่าว่า ห้องสมุดในบ้านกับต่างประเทศแตกต่างกันมาก ยกตัวอย่าง สหรัฐ อาชีพบรรณารักษ์ส่วนใหญ่มาจากสายไอที อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเช่น ชีวะ ธุรกิจ แพทย์ ซึ่งโจทย์ของบรรณารักษ์คือจะทำอย่างไรให้คนห้องสมุด และอ่านหนังสือมากขึ้น

ครั้งหนึ่ง เมฆินทร์ เคยแก้โจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุด เขาคิดหาแผนการทุกวันทั้งที่ใช้แล้วได้ผลและไม่ได้ผล ตั้งแต่หลอกล่อโดยวิธีการแปะสกอร์ฟุตบอล ไว้ข้างบอร์ดหางานพิเศษ แสดงถึงคุณสมบัติของคนที่ต้องการ ซึ่งเขามองว่าบรรณารักษ์สามารถแนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กที่ไม่ เคยสนใจอ่านหนังสือเลยได้ลองอ่านดู

แม้จะไม่มีทักษะด้านงานเขียนมา ก่อน แต่ด้วยสไตล์เขียนแบบเล่าเรื่อง ช่วยสื่อสารให้คนเข้าใจดีกว่าเขียนเป็นทางการแต่ไม่มีใครอ่านเลย หลังจากเขียนไปสักระยะหนึ่งเริ่มมีการส่งต่อเนื้อหา คอมเม้นท์ และสร้างเป็นกลุ่มสังคมออนไลน์ ด้วยฐานสมาชิกประมาณ 700 คน เกิดเป็นคอมมูนิตี้ ห้องสมุดที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

จนกระทั่งเครือ ข่ายเริ่มขยายตัว เกิดเป็นไลเบอร์เลี่ยนแมกาซีนออนไลน์ ไลเบอร์เลี่ยนออนไลน์ดอทคอม ไลเบอร์เลี่ยนทีวี ในขณะที่ตัวเขาเองรับหน้าที่เดินสายบรรยายและเป็นที่ปรึกษาให้ห้องสมุดหลาย ที่ คิดโครงการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ เช่น รณรงค์ให้นักอ่านแบ่งบันหนังสือ โดยใส่แท็กในแฟซบุ๊ค รวมถึงจัดลิมแคปม์ เปิดเวทีสัมมนาเฉพาะกลุ่มสำหรับบรรณารักษ์ในยุคดิจิทัล

เขามองว่า งานห้องสมุดยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำ เช่นการจัดการระบบห้องสมุดที่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วกรุงเทพให้อยู่บนฐาน ข้อมูลเดียวกัน โดยยึดแบบอย่างจากห้องสมุดในประเทศสิงคโปร์ที่มีองค์กรกลางเข้ามาดูแลจัดการ ในเรื่องหนังสือ ฐานข้อมูล ทำให้ห้องสมุดขนาดเล็กทำหน้าที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว

ขณะที่ ห้องสมุดในเครือข่ายของห้องสมุดกรุงเทพ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 แห่ง ทำงานแยกส่วนกัน ซึ่งหากมีการทำงานเป็นภาพรวมก็จะทำให้เห็นสถิติการอ่านของคนกรุงเทพ ซึ่งมาจากข้อมูลที่มีตัวชี้วัดที่แน่นอน รวมถึงการปรับเปลี่ยนหนังสือในห้องสมุดระดับจังหวัดให้มีเนื้อหาตรวจกับความ ต้องการของท้องถิ่น

เขามองว่า การสร้างห้องสมุคในยุคใหม่ต้องเริ่มต้นจากการสำรวจความต้องการของคนใน พื้นที่ สำรวจว่าท้องถิ่นมุ่งไปทางไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม หัตถกรรม หรือการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับนักอ่านที่แท้จริง

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา? เขาตั้งคำถามไปยังบรณารักษ์ทั้งมวล

ประเด็นหลักๆ ที่ผมอ่านแล้วช็อคตั้งแต่แรกคือ การใช้ชื่อเรื่องที่ค่อนข้างแรง (กลัวเพื่อนๆ รับไม่ได้)
แต่เนื้อหาด้านในพออ่านแล้วก็น่าจะได้ข้อคิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ นะครับ (อยากให้อ่านเนื้อมากกว่าชื่อเรื่อง)

เอาเป็นว่าคิดเห็นยังไงก็เอามาลองคุยกันหน่อยครับ ขอเชิญแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้นะครับ
แต่สุดท้ายนี้ประโยคด้านล่างสุดของบทความ ผมก็ยังคงอยากบอกเพื่อนๆ อยู่เหมือนเดิม

?ห้องสมุดจะนั่งอยู่เฉยให้คนมาบอกว่าไม่พัฒนา จะยอมจำนน หรือต้องสู้เพื่อการพัฒนา?

ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/global/20101209/366647/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B0-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7–.html

ห้องสมุดยุคใหม่ควรใช้ twitter อย่างไร

เมื่อวานผมได้เขียนเรื่องที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter แล้ว
วันนี้ผมก็ขอนำเสนอภาคต่อด้วยการแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติบ้างน่าจะดีกว่า

เริ่มจากคำแนะนำแบบเบื้องต้นเรื่องของการจัดการ profile ตัวเอง
– ชื่อ account สื่อถึงห้องสมุดตัวเองหรือไม่
– รูปภาพแสดงตัว ถ้าเป็นรูปห้องสมุดก็คงดีสินะ
– website ให้ใส่เว็บไซต์ของห้องสมุดตัวเอง
– Bio เขียนแนะนำห้องสมุดแบบสั้นๆ เช่น “การติดต่อสื่อสารออนไลน์กับห้องสมุด….ทำได้ไม่ยาก”

สำหรับข้อความที่ควร tweet (จากบทความ Six Things Libraries Should Tweet)
1. Library events – งานกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
เป็นการบอกให้ผู้ที่ติดตามเราได้รู้ว่ากำลังจะมีงานอะไรในห้องสมุด เช่น
“วันเสาร์นี้ 10 โมงเช้า จะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ในห้องสมุด”

2. Links to articles, videos, etc. – Feed ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือบล็อกของห้องสมุด
เป็นการเชื่อมการทำงานระหว่างเว็บไซต์และการกระจายข่าวสารสู่โลกออนไลน์
หากต้องการ tweet ข้อความมากๆ เราควรใช้บริการย่อ link จาก bit.ly หรือ tinyurl ก็ได้

เช่น “The Library of Congress Revives Public Domain Works via CreateSpace Print on-Demand and Amazon Europe Print on-Demand – http://bit.ly/9nE8H1”

3. Solicit feedback – การแสดงความคิดเห็น หรือ การสำรวจข้อมูลต่างๆ

เป็นช่องทางในการสอบถามเรื่องความคิดเห็นหรือแสดงไอเดียใหม่ๆ ของห้องสมุด
แต่ต้องระวังคำถามนิดนึงนะครับ เพราะมันมีผลตอบสนองกับมาที่ห้องสมุดแน่ๆ เช่น
ไม่ควรถามคำถามที่เดาคำตอบได้อยู่แล้ว ประมาณว่า “ห้องสมุดควรเปิด 24 ชั่วโมงหรือไม่
ผู้ใช้บริการทุกคนย่อมต้องการสิ่งนี้แน่นอน และห้องสมุดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้นๆ


4. New additions to your collection – ทรัพยากรใหม่ๆ ในห้องสมุด

เป็นช่องทางในการแนะนำหนังสือหรือสื่อใหม่ๆ ในห้องสมุด
ซึ่งเพื่อนๆ อาจจะใช้ feed ข้อมูลจากฐานข้อมูลห้องสมุดหรือเว็บไซต์ก็ได้

5. Marketing – การตลาดและประชาสัมพันธ์
เป็นช่องทางในการสร้างกระแสให้ห้องสมุด ข้อมูลของห้องสมุดอาจเป็นที่สนใจกับผู้ใช้บริการ
เช่น หนังสือที่ถูกยืมในปีที่แล้วทั้งหมดจำนวน 35,000 ครั้ง

6. Answer questions – ถามตอบปัญหาต่างๆ
เป็นช่องทางในการถามตอบระหว่างบรรณารักษ์ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างดีและได้ผล

เป็นไงกันบ้างครับกับเรื่องของ twitter ที่มีความสัมพันธ์กับงานห้องสมุด
พื่อนๆ สามารถอ่านบทความย้อนหลังเกี่ยวกับเรื่อง Twitter ในงานห้องสมุดได้นะครับ
ซึ่งผมได้เขียนไว้หลายเรื่องแล้ว ลองดูจาก
http://www.libraryhub.in.th/tag/twitter/

แล้วอย่าลืมเข้ามา follow ผมกันเยอะๆ ด้วยหล่ะ @ylibraryhub

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter

จริงๆ แล้วอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ และข้อไม่ควรปฏิบัติในบล็อกเดียวกัน
แต่กลัวว่ามันจะยาวเกินไปเดี๋ยวเพื่อนๆ จะเบื่อเอาง่ายๆ
วันนี้ผมจึงขอเลือกข้อไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter ก่อนน่าจะดีกว่า

เรื่องที่จะนำเสนอนี้สำหรับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ที่เปิด Account เพื่อใช้ในองค์กรเท่านั้น
ไม่รวมถึง Account Twitter ส่วนตัวของเพื่อนๆ นะครับ (ง่ายๆ twitter องค์กร only)

ผมก็ใช้เวลาในการเล่น Twitter มาสามปีกว่าๆ สังเกตมาสักระยะแล้วว่า
ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำ twitter มาใช้ในองค์กรมากขึ้น
เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม แนะนำหนังสือ ฯลฯ ในห้องสมุด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

แต่ห้องสมุดบางแห่งเมื่อผมได้เข้าไปใน twitter ผมก็รู้สึกแปลกๆ และสงสัยเล็กน้อย
ถึงความผิดปกติในแง่ต่างๆ เช่น lock ไม่ให้คนอื่นดู, ปล่อยให้ twitter ร้าง ฯลฯ

ผมจึงอยากนำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่าน
สิ่งที่ Twitter ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ไม่ควรทำในโลกออนไลน์ ได้แก่

– การ lock หรือ การ protected Account ของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
เพราะห้องสมุดของเราควรเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการบนโลกออนไลน์ทุกคน
ดังนั้นเราไม่ควรจำกัดการเข้าถึงห้องสมุดด้วยวิธียุ่งยาก

– ทำตัวเสมือนเป็นหุ่นยนต์ (ดึง feed ข่าวของห้องสมุดมาลงเพียงอย่างเดียว)
ในโลกของ twitter ห้องสมุดก็สามารถมีชีวิตได้ หากมีคนถามห้องสมุดก็ควรตอบ
นอกจากนี้ห้องสมุดยังสามารถทักทายผู้ใช้บริการออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นกันเอง

– อย่าปล่อยให้การอัพเดทข้อความใน twitter ทิ้งช่วงเกิน 2-3 วัน
เพราะนั้นหมายถึงความไม่ใส่ใจของห้องสมุด (ห้องสมุดร้าง)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อเป็นคำเตือนให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์และห้องสมุดมือใหม่ระวังในการใช้เครื่องมือออนไลน์

ในความคิดของเพื่อนๆ บรรณารักษ์ คือ … #whatislibrarian

วันนี้ผมเล่น twittertag / Facebooktag ว่า #whatislibrarian
คำถามง่ายๆ คือ “บรรณารักษ์ คือ ______________________ #whatislibrarian”
วันนี้ผมขอนำคำที่เพื่อนๆ เติมมาให้พวกเราชาวบรรณารักษ์ได้อ่านกัน

เริ่มจากตัวอย่างของผม
บรรณารักษ์ คือ คนเฝ้าหนังสือในห้องสมุด #whatislibrarian
บรรณารักษ์ คือ คนที่หาหนังสือเก่งที่สุดในห้องสมุด #whatislibrarian
บรรณารักษ์ คือ คนที่ประกอบอาชีพด้านบริการความรู้ที่ดีที่สุด? #whatislibrarian

คำตอบจากเพื่อนๆ ใน Facebook
– รักในหลวง Taime “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์พันธุ์อึดคร่า #whatislibrarian”
– Asakit Thitiga “บรรณารักษ์ คือ เบื้องหลังของความสำเร็จค่ะ #whatislibrarian”
– Chee Kane “บรรณารักษ์ คือ? คนโหดแดนกระดาษ #whatislibrarian”
– Thangthai Sangsri “บรรณารักษ์ คือ คนให้..คะ #whatislibrarian”
– Thammasat Yaothanee “บรรณารักษ์ คือ คนที่เธอมองผ่าน #whatislibrarian”
– Marienie Samae “บรรณารักษ์ คือ คุณครู #whatislibrarian”
– Jirawan Kongsang “บรรณารักษ์ คือ คนที่คอยดุเราเวลาที่เสียงดังในห้องสมุด #whatislibrarian”
– John Nonlen “บรรณารักษ์ คือ สิ่งมีชีวิตที่อึดยิ่งกว่าแมลงสาบ และต่อให้โลกแตกก็จะไม่มีวันสูญพันธ์ อิอิ #whatislibrarian”
– MooNoy MooMam รักในหลวง “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์สายพันธุ์ที่ต้องทำได้ทุกอย่าง แล้วแต่ท่านๆ จะสั่งมา #whatislibrarian”
– ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ “บรรณารักษ์ คือ All in Ones #whatislibrarian”
– ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ “บรรณารักษ์ คือ อับดุลแห่งห้องสมุด “อับดุลเอ๊ย หญิงรู้จัก ชายรู้จัก ถามอะไรตอบได้..” #whatislibrarian”
– Salisa Leamsuwan “บรรณารักษ์ คือ เป็ด ต้องรู้รอบ ใช้ไอทีได้ในระดับด้ ที่สำคัญน่ารัก ใจดี ช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยจิตบริการ และส่วนใหญ่มักโสด เพราะอยู่แต่กับหนังสือ ไม่ได้เจอผู้เจอคน แต่บรรณารักษ์ไม่มีวันสูญพันธุ์แน่นอน คอนเฟิร์ม #whatislibrarian”
– Juthatip Niyomrat “บรรณารักษ์ คือ คนที่เด็กเจอแล้วชอบทำหน้าเหวอใส่ #whatislibrarian”
– Kitti Narakjung “บรรณารักษ์ คือ นางฟ้าประจำห้องสมุด #whatislibrarian”
– เด็กหญิง ฟ้าใส “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของใครหลายคน แม้จะมีบทบาทอันน้อยนิดในสังคม เสมือนผู้ปิดทองหลังพระค่ะ #whatislibrarian”
– Tippawan Pinthongpan “บรรณารักษ์ คือ ผู้ส่วนหนึ่งในการสร้างบัณฑิตสาขา ต่าง ๆ เพราะพวกเขา เหล่านี้ จะต้อง พึ่งตำรา และ สื่อ ทรัพยากรสารสนเทศ ในการเรียนรู้ และคนที่ทำให้พวกเขา ค้นเจอ ข้อมูลได้รวดเร็ว #whatislibrarian”
– Gigs Ao “บรรณารักษ์ คือ ผู้หญิงมัดผมมวย ใส่แว่น นั่งอยู่หน้าเคาน์เตอร์น่ะ #whatislibrarian”
– Nu Lek “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่รอบรู้ สามารถชี้แนะแนวทาง/หนทาง/วิธีการที่จะนำไปสู่ความรู้ต่างๆ ทั้งหลายทั้งมวล #whatislibrarian”
– ชะอม ชโรกลมๆ “บรรณารักษ์ คือ…คนที่รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องของตัวเอง 555 #whatislibrarian”
– ระเบิด ครับพี่น้อง “บรรณารักษ์ คือ คนคลั่งหนังสือ ขาดหนังสือแล้วลงแดง ครับพี่น้อง #whatislibrarian”

คำตอบจากเพื่อนๆ ใน Twitter
– @achocky “บรรณารักษ์ คือ คนที่ช่วยหาโน่นหานี่ตามที่เราต้องการ แต่อย่าคุยรายละเอียดลึกๆนะ ไม่รู้หรอก #whatislibrarian”
– เพื่อนร่วมงาน คุณ @achocky “บรรณารักษ์ คือ คนที่จัดการดูแลเรื่องหนังสือ-ทรัพยากรสารสนเทศให้เรียบร้อย #whatislibrarian”
– @gnret “บรรณารักษ์ คือ ฝันร้าย ฮือๆ #whatislibrarian”
– @chakrit “Librarian is Someone who knows a lot of good books in a variety of topics #whatislibrarian”
– @jsheravanich “บรรณารักษ์ คือ ที่รักของนักวิชาการครับ จุ๊บๆ #whatislibrarian”
– @KUNDEW “บรรณารักษ์ คือ คนของหนังสือ #whatislibrarian”
– @k4ngii “บรรณารักษ์ คือ คนที่ดูแลห้องสมุด ที่บางที ก็ ดุ มากไปนะค๊า 55555 #whatislibrarian”
– @samanahavemail “บรรณารักษ์ คือ คนประทับวันคืนหนังสือที่ปกหลัง #whatislibrarian”
– @krazyipod “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่คอยบริการ ดูแล ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษากับผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ห้องสมุด #whatislibrarian”
– @Priszila “บรรณารักษ์ คือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด #whatislibrarian”
– @sassygirl_jane “บรรณารักษ์ คือ ป้าแก่ๆ ใส่แว่น หนังเหี่ยวๆ ในห้องสมุด #whatislibrarian”
– @wansangjan “บรรณารักษ์ คือ ผู้น่ารัก กร๊ากกกก #whatislibrarian”
– @godzeelus “บรรณารักษ์ คือ กรรมกร #whatislibrarian”
– @junesis “บรรณารักษ์ คือ เป็ด – -* #whatislibrarian”
– @ONicHy “บรรณารักษ์ คือ คนยิงบา์โค้ดใส่หนังสือ สแกนสันหนังสือดักขโมย #whatislibrarian”

– @tomorn “บรรณารักษ์ คือ สารบัญหนังสือ บอกส่วนที่สำคัญ และแนะนำได้ว่าคนที่มานั้นถ้าสนใจเรื่องนี้ อาจจะสนใจเรื่องนี้ด้วย #whatislibrarian”
– @suwichie “บรรณารักษ์ คือ ชนชั้นแรงงานในห้องสมุด #whatislibrarian”
– @nuumodz “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของใครหลายๆ คน แต่กลับไม่มีใครรู้จักและถูกหลงลืม #whatislibrarian”
– @nobitui “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์ไอที สายพันธุ์ หนึ่งค่ะ #whatislibrarian?

คำตอบมีหลายรูปแบบมากๆ ต่างๆ นานา เนื่องจากผู้ที่ตอบมาจากหลากหลายวงการอาชีพ
เอาเป็นว่าขำขำนะครับ อ่านกันแล้วก็เลือกนำไปใช้แล้วกันนะครับ
คำว่าบรรณารักษ์มันก็เป็นเพียงแค่คำๆ นึงเท่านั้น ความหมายมันอยู่ที่ใจของเรา

หากเราปฏิบัติดคีวามหมายมันก็จะออกมาดีคนอื่นๆ ก็จะยินดี
หากเราปฏิบัติงานด้วยใจที่ไม่ดีก็ย่อมออกมาเป็นความหมายลบก็เป็นเรื่องธรรมดา

ทำอะไรเอาไว้ย่อมได้ผลตามนั้นนะครับ ขอบคุณทุกเสียงที่แสดงความคิดเห็นครับ
ปล. ยังเสนอความคิดเห็นมาได้อีกเรื่อยๆ นะครับ เดี๋ยวผมจะเอามาอัพเดทใน List เพิ่มเติม

อัพเดทเพิ่ม วันที่ 26/09/2553 เวลา 9.56 น.

Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network

เดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ในหัวข้อเรื่อง “Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network
วันนี้ผมขอนำเรื่องราวต่างๆ ในวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

cybrarian_in_social_network

ก่อนที่จะได้มาบรรยายที่นี่
จริงๆ แล้วผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีบ่อยๆ นะครับ แต่ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเลย
แต่ก็พอจะรู้จักกับเครือข่ายบรรณารักษ์ที่เป็นสมาชิกบล็อกของผมอยู่ นั่นคือ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ซึ่งทำงานที่ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์อยู่
ได้คุย MSN และ ตามข่าวสารใน Twitter อยู่บ่อยๆ ก็ได้คุยและได้นัดแนะกันว่าจะเข้ามาคุยที่ ม อุบลบ้าง
พี่เขาก็เลยจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบรรณารักษ์เล็กๆ ให้สักกลุ่มหนึ่ง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : “เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

DSCF1336 DSCF1371

บทสรุปเรื่องราวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– แนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีในรูปโฉม
พร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด
โดยงานนักพัฒนาระบบห้องสมุด ไม่ได้หมายถึงงานไอทีของห้องสมุดอย่างเดียว แต่เป็นงานดูแลภาพรวมของห้องสมุดทั้งหมด

– แนะนำการใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib และตอบปัญหาเรื่องการใช้งานบางส่วน
และช่วยกันระดมปัญหาและอุปสรรคในการทำงานกับระบบห้องสมุด Walai AutoLib
เนื่องจากห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib ตัวเดียวกัน

– แนะนำระบบห้องสมุดฉบับ Opensource ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งตอนนี้ใกล้เสร็จแล้ว
ในงานนี้ผมเอามา Demo ให้เห็นก่อนใคร ซึ่งในอนาคตห้องสมุดต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีๆ
ซึ่งความสามารถของโปรแกรมตัวนี้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานและรองรับห้องสมุดหลายขนาด

DSCF1362 DSCF1380

– ช่วงพักได้สนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้เข้าร่วมบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องการใช้บล็อกกับเว็บบอร์ดว่าแตกต่างกันอย่างไร
ผมจึงอธิบายและเปรียบเทียบการใช้งานว่า หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบเต็มรูปแบบ เช่น เขียนเรื่องยาวๆ มีรูป วีดีโอ เสียง ผมแนะนำบล็อก
แต่หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเฉพาะเรื่อง เช่น ทำแบบสอบถามความคิดเห็น โดยใช้คำถามสั้นๆ ก็ใช้เว็บบอร์ดน่าจะดีกว่า
แต่โดยรวมผมสนับสนุนการใช้บล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่า เนื่องจากสามารถทำระบบสืบค้นและจัดหมวดหมู่ได้ดีกว่า

DSCF1367 DSCF1357

– กลับมาบรรยายต่อเรื่องที่มาของการเกิด ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib และ Libraryhub
ทำไมผมต้องเขียนบล็อกบรรณารักษ์และห้องสมุด (ผมนำสไลด์เดิมที่ผมเคยบรรยายมาอธิบายอีกครั้ง)
(เพื่อนๆ สามารถแานได้ที่ “ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์“)

– เครื่องมือออนไลน์ที่ผมใช้ในการสร้างเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกับสมาชิกบล็อก เช่น Email Hi5 Twitter MSN Facebook
แต่ละเครื่องมือมีความสามารถเฉพาะตัวในการสื่อสารขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้งานเพื่ออะไร
และเครื่องมือต่างๆ ที่แนะนำเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ฟรีบนเว็บทั้งนั้น ห้องสมุดควรจะเรียนรู้และหัดใช้ให้คล่องๆ

DSCF1352 DSCF1356

– ช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเพื่อนๆ ตั้งคำถามมากมาย เช่น
— อยากได้ระบบห้องสมุดที่ใช้งานกับห้องสมุดโรงเรียน — ผมแนะนำ PLS และให้ที่อยู่สำหรับการขอแผ่นโปรแกรม PLS
— สอบถามเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานห้องสมุด และจำนวนนิตยสารที่ควรมีในห้องสมุดโรงเรียน — อันนี้ผมติดเอาไว้ก่อน แต่โดยรวมผมแนะนำให้อ่านมาตรฐานห้องสมุด
— สอบถามเกี่ยวกับจำนวนหนังสือที่หายไปเนื่องจากห้องสมุดไม่ได้ทำการ Check stock มา 4 ปีแล้ว — ผมเน้นว่ายังไงก็ต้องทำการ check stock ทุกปี

เอาเป็นว่าครั้งนี้ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ผมก็ได้ความรู้ใหม่ๆ มาด้วยเช่นกัน
และสนุกมาที่ได้มาบรรยายที่นี่ บรรยากาศนั่งพื้นแล้วบรรยายเป็นกันเองมากๆ
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ด้วยครับ ที่ให้โอกาสผมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกๆ คน

เสวนาฉบับย่อโดย ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ่านได้ที่
http://sac.la.ubu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=159&Itemid=62

ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานนี้

[nggallery id=27]

เมื่อ fail whale มาอยู่ในห้องสมุด

ภาพที่ท่านจะได้เห็นต่อไปนี้ หลายๆ คนคงจะบอกว่ามันคุ้นๆ นะ
ครับ คุ้นๆ ว่าเป็นสัญลักษณ์ Fail whale แห่ง Twitter นั่นเอง

fail-whale-library

สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่เข้าใจว่า twitter คืออะไร
ลองย้อนกลับไปอ่านในเรื่อง “Twitter + Librarian = Twitterian” นะครับ

คนที่เล่น Twitter ประจำเมื่อเห็นภาพนี้คงรู้ว่านั่นหมายความว่า
Twitter ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราวนั่นเอง หรือพูดง่ายๆ ว่ากำลังเดี้ยง

fail_whale-copy

แต่ภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ มันเป็นภาพ fail whale ที่ติดอยู่ภายในห้องสมุดอ่ะครับ
แถมด้วยข้อความภาษาอังกฤษอีกสักประโยคใหญ่ๆ ว่า

“We?re really sorry about the lack of tables & Chairs! We hope that things will be back to normal by about 3pm today”

เอางี้ดีกว่าผมขอแปลเป็นภาษาไทยให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน มันแปลว่า

“พวกเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ตอนนี้โต๊ะและเก้าอี้มีผู้ใช้งานเต็มจำนวนไม่เหบลือที่ให้คุณนั่ง พวกเราหวังว่าเก้าอี้และโต๊ะจะให้บริการได้ตามปกติในช่วงบ่ายสามโมงของวันนี้นะครับ”

พอได้อ่านก็เลยแอบขำอยู่นิดๆ ว่า บรรณารักษ์ที่นี่ต้องเป็นคนติด twitter ระดับนึงแน่ๆ
ถึงได้กล้าเล่นมุขนี้ในห้องสมุดของตัวเอง แต่ยอมรับเลยครับว่าเยี่ยมจริงๆ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะลองเอาไอเดียนี้ไปติดที่ห้องสมุดของผมบ้างนะครับ
ผู้ใช้ก็คงจะงงกันไปตามๆ กัน อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/timothygreigdotcom/2643190467/

คุณเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 หรือปล่าว

มีหลายคนเคยบอกว่าการแต่งตัวก็สามารถบอกนิสัยหรือลักษณะเฉพาะตัวได้
วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องการเลือก ทรงผม และ รองเท้า มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
เชื่อมั้ยครับว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถบอกได้ว่าเพื่อนๆ เป็น “บรรณารักษ์รุ่นไหน”

บทความเรื่องนี้ผมนำมาจากบล็อก http://infonatives.wordpress.com
ชื่อเรื่องว่า “Librarian 1.0 or 2.0 hair & shoes ? now we know

ในบล็อกเรื่องนี้ได้กล่าวถึงการไปสำรวจแบบทรงผม กับ รองเท้า ของบรรณารักษ์
ตอนแรกผมก็รู้สึกงงเหมือนกันว่า จะไปสำรวจทำไม แต่พออ่านชื่อเรื่องของเขาก็เลยถึงบางอ้อว่า

เขาได้สำรวจทรงผมของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0
และนอกจากนี้ยังสำรวจรองเท้าของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0 ด้วย

ทรงผม กับ รองเท้า สามารถบอกได้จริงหรือนี่ว่าเป็นบรรณารักษ์ยุคไหน
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองดูผลสำรวจ ทรงผม กับ รองเท้า กันก่อนหล่ะกัน

เริ่มจากเพื่อนๆ ลองดูที่ทรงผมเหล่านี้ก่อนนะครับ
“ทรงผมแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

hair-librarian

นอกจากนี้ไปดูกันต่อเลยดีกว่าว่า “รองเท้าแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

shoes-librarian

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนอยู่ในบรรณารักษ์ยุคไหนกันบ้างครับ
สำหรับของผม ทรงผมได้ 2.0 แต่รองเท้ายังเป็น 1.0 อยู่อ่ะครับ
ดังนั้นรวมๆ แล้ว ผมน่าจะได้ชื่อว่า บรรณารักษ์ 1.5 มั้งครับ

เอาเป็นว่าที่เอามาให้ดูก็ไม่ต้องซีเรียสกันมากนะครับ
ไม่ใช่ว่าดูแล้วเครียด พรุ่งนี้เปลี่ยนทรงผม กับ รองเท้าไปทำงาน
เพื่อนๆ ของคุณอาจจะตกใจก็ได้นะครับ

สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นบรรณารักษ์ 1.0 หรือ บรรณารักษ์ 2.0
ก็อย่าลืมให้บริการผู้ใช้ดีๆ ด้วยนะครับ ไม่งั้นผมคงต้องของริบคำว่า บรรณารักษ์จากพวกคุณแน่ๆ

Twitter + Librarian = Twitterian

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำก่อนว่า Twitter คืออะไร
เพราะผมเชื่อว่าบรรณารักษ์อีกหลายคนคงยังไม่รู้จักเครื่องมือชิ้นนี้อย่างแน่นอน

twitter Read more