วันนี้ผมขอนำหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ในต่างประเทศมาให้ดูอีกสักหน่อย
เผื่อว่านักพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ในบ้านเราจะแวะเข้ามาอ่านในบล็อกผมบ้าง
บรรณารักษ์ยุคใหม่
เรื่องของเรื่อง “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ”
หลังจากที่อ่านบทความ “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ” แล้ว
ผมรู้สึกว่า ผมมีความเห็นที่แย้งกับบทความนี้ และยังมองต่างมุมกับบทความนี้อยู่
เลยจำเป็นต้องเขียนถึงเรื่องนี้หน่อยนึง
บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian
วันนี้ผมขอแนะนำคำศัพท์ใหม่ในวงการบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
จริงๆ จะบอกว่าใหม่ก็อาจจะไม่ถูกซะทีเดียว คำศัพท์นี้เพื่อนๆ คงอาจจะคุ้นๆ บ้างนั่นแหละ
คำศัพท์ที่จะแนะนำวันนี้ คือ “Cybrarian”
ที่มาของ Cybrarian = Cyber + Librarian
คำว่า Cyber เป็นคำที่ใช้แสดงความเป็นโลกยุคใหม่ โลกสารสนเทศ โลกคอมพิวเตอร์
คำว่า Librarian ตรงตัวเลยครับ คือ บรรณารักษ์
ดังนั้นการนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “Cybrarian” ย่อมมีความหมายว่า
– บรรณารักษ์แห่งโลกคอมพิวเตอร์
– บรรณารักษ์แห่งโลกดิจิตอล
– บรรณารักษ์ยุคใหม่
– บรรณารักษ์แห่งโลกออนไลน์
ซึ่งอยากได้ความหมายแบบไหนเพื่อนๆ ก็นิยามกันได้เลยนะครับ
จริงๆ แล้วนอกจาก Cybrarian
เพื่อนๆ อาจะได้ยินคำว่า Cybrary อีกก็ได้ นั่นคือ Cyber + Library นั่นเอง
หรือที่หลายๆ คนจินตนาการว่า เป็นห้องสมุดแห่งโลกคอมพิวเตอร์ หรือ ห้องสมุดแห่งโลกออนไลน์
แล้ว Cybrarian กับ Librarian มีอะไรที่ต่างกันบ้างหรือปล่าว
หลังจากที่ผมนั่งคิด และพิจารณาถึงความหมายต่างๆ เหล่านี้แล้ว
ผมว่าลักษณะการทำงาน และความรู้ต่างๆ Cybrarian คงมีเหมือนกับ Librarian นั่นแหละ
เพียงแต่จะเพิ่มในเรื่องของความเป็นโลกสมัยใหม่ลงไป เช่น
– ความรู้ด้านไอที หรือความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
– ความรู้ด้านการจัดการและบริหารงานสมัยใหม่
– มีทักษะและเข้าใจหลักในการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
– รู้จักสื่อในยุคใหม่ๆ (New Media)
– รู้จักและเข้าใจการใช้งานของเว็บไซต์ 2.0
เป็นไงกันบ้างครับ ทักษะต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา
หวังว่าคงไม่ยากเกินกำลังของบรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างพวกเรานะครับ
ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ฝึกกันไป สักวันพวกเราก็จะกลายเป็น Cybrarian อย่างเต็มตัว
เตรียมตัวเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 กัน
เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนกลายเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
ผมจึงเริ่มวางหลักสูตรบรรณารักษ์ยุคใหม่เพื่อพัฒนาเพื่อนๆ