บรรณารักษ์ไม่ควรพลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ในปี 2552

เดือนมีนาคมเป็นเดือนที่มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย
เช่น งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานคอมมาร์ค งานมอเตอร์โชว์ ฯลฯ
ซึ่งเดี๋ยวผมคงจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังในบล็อก และแนะนำกิจกรรมดีๆ ที่เพื่อนๆ ไม่ควรพลาดนะครับ

bookfair1

วันนี้ขอแนะนำงานแรก นั่นคือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า งานหนังสือ เพราะฉะนั้นจะบอกว่าไม่เกี่ยวกับบรรณารักษ์ก็คงไม่ได้

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่องาน : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 7 และ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37
ชื่อภาษาอังกฤษ :Bangkok International Book Fair 2009
วันที่จัดงาน : วันที่ 26 มีนาคม – 6 เมษายน 2552
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

bookfair

งานนี้มีสโลแกนว่า ?Develop Yourself by Reading?
หรือภาษาไทย?พัฒนาตัวเองด้วยการอ่าน?

การอ่านจะทำให้เราได้รับความรู้มากมาย และการอ่านก็ไม่ได้จำกัดว่าต้องอ่านหนังสือเท่านั้น
เราสามารถอ่านได้ทกอย่างรอบๆ ตัวเรา เช่น เว็บไซต์ หนังสือ ป้ายประกาศ ฯลฯ
ยิ่งอ่านมากเราก็จะรู้มากขึ้น และยิ่งเรามีความรู้มาก เราก็จะสามารถหาหนทางในแก้ปัญหาได้มากขึ้นด้วย

เรามาดูหัวข้อการสัมมนา และบรรยายที่เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์กันดีกว่า

วันที่ 26 มีนาคม 2552
– How the ASEAN publishing industry will be effected by the popularity of ?digital? contents

วันที่ 27 มีนาคม 2552
– การจัดทำผลงานทางวิชาการเขียนหนังสือค้นคว้าและการเขียนรายงานการใช้ประเภทหนังสือ

วันที่ 28 มีนาคม 2552

– โครงการวิจัยระบบหนังสือหมุนเวียนในโรงเรียนและการก่อสร้างห้องสมุดหนังสือดี 100 แห่งในกรุงเทพมหานคร

วันที่ 30 มีนาคม 2552

– Speech and book Presentation By Irasec ( Institute of Research on Contemporary South East Asia) and book presentation Contemporary research on South East Asia By Benoit de Treglode , Director of IRASEC.

วันที่ 31 มีนาคม 2552
– Integrated Multimedia with Extensive Reading
– เปิดตัวสารานุกรมสำหรับเยาวชน Children Encyclopedia
– กลยุทธ์การบริหารร้านหนังสือ

วันที่ 1 เมษายน 2552
– การออกแบบการสอนอิงมาตรฐานการเรียนรู้สู่หลักสูตรแกนกลางในรูปแบบย้อนกลับ (Backward Design)

วันที่ 3 เมษายน 2552
– ลิขสิทธิ์วิชาการกับงานห้องสมุด / ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และ การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด?

วันที่ 6 เมษายน 2552
– โครงการหนังสือเล่มแรก Bookstart ปีที่ 6

ต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้า งานสัมมนาและการบรรยาย
บางหัวข้อก็เสียเงิน บางหัวข้อก็ฟรี ดังนั้นกรุณาตรวจสอบก่อนนะครับ ที่ http://bangkokibf.com/meetingRoom_thai.php

ทำไมบรรณารักษ์ควรไปงานนี้

– เพื่อวางแผนในการจัดซื้อ และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด
– เพื่อรวบรวมข้อมูลร้านหนังสือต่างๆ ในประเทศไทย
– เพื่อศึกษาแนวโน้มของทรัพยากรสารสนเทศแบบใหม่ๆ
– เพื่อให้บรรณารักษ์ได้พบปะเจ้าของร้านหนังสือ (บางร้าน)
– เพื่อฟังการสัมมนา หรือบรรยายต่างๆ ที่เกี่ยวกับหนังสือ
– เพื่อเป็นแนวคิดในการจัดงานสัปดาห์หนังสือในห้องสมุด

และอื่นๆ อีกมากมายที่เพื่อนๆ สามารถนำไปใช้ได้

เห็นมั้ยครับ ว่าบรรณารักษ์จะได้อะไรจากงานนี้
ทั้งความรู้ ผู้ขาย และหนังสือติดไม้ติดมือกลับบ้าน
เอาเป็นว่าก็อยากชวนเพื่อนๆ บรรณารักษ์ทุกคนนั่นแหละ
เพราะว่าโอกาสไม่ได้มีบ่อยๆ นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับกับรายละเอียดแบบยั่วน้ำลายเล็กน้อย
เอาเป็นว่าเดี๋ยวพอวันงานผมจะไปถ่ายรูปบรรยากาศมาลงอีกนะครับ

ภาพและข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ เว็บไซต์ข้อมูลของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 37

รวมรูปภาพสาวสวยในห้องสมุด

วันนี้วันเสาร์ วันหยุดของเพื่อนๆ หลายๆ คน หรือบางคนก็เรียกว่า วันชิวๆ
ผมเลยขอเอารูปภาพสวยๆ มาฝากให้เพื่อนได้ชื่นชมกันหน่อย

cool-librarian

ซึ่งถ้าเป็นรูปธรรมดาก็คงไม่ใช่บล็อกห้องสมุดแน่
ดังนั้นผมจึงขอประมวลภาพสาวๆ ในห้องสมุดสักหน่อยแล้วกัน

วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ผมได้มาซึ่งภาพบรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด ก็คือ
เข้าไปหาภาพใน GOOGLE นั่นเอง (http://images.google.com/imghp?hl=en&tab=wi)

ส่วนการใช้ keyword เพื่อที่จะทำให้ผมได้รูป “บรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด” เช่น
– pretty librarian
– sexy librarian
– girl in library
– ฯลฯ

เอาเป็นว่าลองเข้าไปดูกันเองแล้วกันนะครับว่าจะเจอรูปอะไรบ้าง
แต่วันนี้ผมขอนำมาให้เพื่อนๆ ดู สัก 5 รูปแล้วกันนะครับ

librarian-cool1-195x300

รูปแรกมาจาก www.odelizajacoba.com

librarian-cool2-200x300

รูปที่สองมาจาก www.patrickrothfuss.com

librarian-cool3-187x300

รูปที่สามมาจาก www.smh.com.au

librarian-cool4

รูปที่สี่มาจาก www.tanashabitat.com

librarian-cool5-249x300

รูปที่ห้ามาจาก www.pinoyblog.com

เอาเป็นว่าวันนี้วันสบายๆ ก็ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขทุกคนก็แล้วกันนะครับ

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 6

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 5
ออกในเดือนกันยายน 2552

libmagv2n6

วันนี้บังเอิญว่ามีเพื่อนๆ บรรณารักษ์หลายคนส่งข้อความมาถามว่า
“นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มใหม่ออกแล้วรู้หรือยัง”
ก็เลยตอบไปว่า “รู้ว่าออกแล้วครับ เพียงแต่ยังไม่ได้เขียนถึงเท่านั้นเอง”

วันนี้ผมจึงต้องเร่งเขียนบล็อกเรื่องนี้สักหน่อย เดี๋ยวจะหาว่าบล็อกผมอัพเดทช้าอีก
จริงๆ ต้องขอออกตัวก่อนเลยนะครับว่า ช่วงนี้งานเยอะมากจริงๆ แต่ก็ติดตามข่าวสารตลอดนั่นแหละครับ

เข้าเรื่องของเราดีกว่า “นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์” ฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย
แถมมีพี่น้องบรรณารักษ์ที่ผมรู้จักเขียนร่วมหลายคนด้วย อิอิ ขอชื่นชมเลย
เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าในเล่มนี้มีเนื้อหาอะไรที่น่าสนใจบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก บทสัมภาษณ์ – ดร.สมรักษ์ สหพงศ์ บรรณารักษ์ ระดับ 8 ชำนาญการ

รีวิวห้องสมุด – ห้องสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

พาเที่ยว – ห้องสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

พาเที่ยว – ห้องสมุดเมืองโอคแลนด์ (Auckland City Libraries)

พาเที่ยว – South High Library Media Center

บทความ เรื่องเล่า เรื่องแปล – เมื่อสูญสิ้นซึ่งศิลปะแห่งการอ่าน

บทความ เรื่องเล่า เรื่องแปล – สรุปประเด็นที่น่าสนใจ การประชุมวิชาการของที่ประชุม ปอมท

บทความ เรื่องเล่า เรื่องแปล – ชี้แจงความสามารถของสารสนเทศศาสตร์บัณฑิต

สาระน่ารู้ – จิตวิทยากับความรัก (Psychology and Love)

สาระน่ารู้ – ลดโลกร้อนกับแม่ และ Green IT

สาระน่ารู้ – ละล่องท่องเว็บ ตอน เก็บ twitter จากเว็บห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับฉบับนี้ ยังไงก็อ่านกันได้เลยนะครับ
จะได้เติมความรู้เพื่อร่วมกันพัฒนาวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์กันต่อไป

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 6 : http://librarianmagazine.com/VOL2/NO6/index.htm

คลิปวีดีโอบรรณารักษ์รุ่นเยาว์

วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอน่ารักๆ มาฝากเพื่อนๆ ครับ
เป็นคลิปวีดีโอเด็กน้อยคนนึงที่กำลังจะพยายามเข็นรถเข็นหนังสือในห้องสมุดนั่นเอง

clip-librarian

ไปดูคลิปกันก่อนดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=RPLNphtY5fo[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ผมดูครั้งแรกยังต้องแอบยิ้มเลย ไม่คิดว่าจะมีคลิปน่ารักแบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด
เด็กน้อยในคลิปวีดีโอนี้มีอายุเพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้นนะครับ
จะว่าไป ผมขอยกให้เป็น “บรรณารักษ์รุ่นเยาว์” ก็คงจะได้มั้งครับ อิอิ

บางทีการได้ดูวีดีโอเด็กๆ มันก็ทำให้เราเพลินดี เพื่อนๆ ว่ามั้ย
เด็กน่ารักสดใส แถมดูสนุกสนานในแบบธรรมชาติอีก

ผมว่าว่างๆ เพื่อนๆ ลองเอามาดูนะครับ เวลาเครียดๆ
รับรองหายเครียดแน่ๆ ครับ ผมคอนเฟิมครับ

อาทิตย์สุดท้ายก่อนถึงงาน Libcamp#3

วันอาทิตย์ที่จะถึงนี้แล้วสินะครับ กับงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3 (Libcamp#3)
เพื่อนๆ คนไหนที่ยังไม่ลงทะเบียนก็ยังสามารถลงได้อีกนะครับ ที่ dcy_4430323@hotmail.com

logo-libcamp3-copy

วันนี้ผมขอมาคอนเฟิมรายละเอียดของงานอีกครั้งนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
เพราะว่ามีหลายคนถามผมหลังไมค์ว่า ตกลงเสียเงินหรือปล่าว
ผมจะขอย้ำอีกเป็นรอบที่สิบว่า งานนี้ฟรีครับ

กำหนดการในงาน Libcamp#3
09.00 – 9.30 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
09.30 – 10.00 น. เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น. แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น. ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น. ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น. เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา


ในงานนี้ผมต้องขอขอบคุณสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยด้วย
ที่ให้พวกเราได้ใช้สถานที่ในการสัมมนาแบบฟรีๆ นะครับ
แถมให้เราได้รู้จักห้องสมุดเสริมปัญญาได้มากขึ้นด้วยนะครับ

เอาป็นว่าตอนนี้ผมเองก็คาดหวังว่าบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยคงจะแจ่มชัดขึ้นนะครับ

ขอย้ำก่อนจากกันวันนี้ ลงทะเบียนโดยบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงานของคุณ
มาที่ dcy_4430323@hotmail.com

แฟชั่นการแต่งตัวของบรรณารักษ์

วันนี้ก็วันศุกร์แล้วนะครับ เรามาอ่านเรื่องแบบสบายๆ ไม่ต้องเครียดกันดีกว่า
เอาเป็นว่าเรื่องไม่เครียดที่เกี่ยวกับวงการที่ผมนึกได้ในตอนนี้ คือ แฟชั่นการแต่งตัวของบรรณารักษ์

บทความนี้ไม่ได้ต้องการให้ใครเลียนแบบการแต่งตัวแบบจริงๆ หรอกนะครับ
แต่อยากให้ดูเพื่อความบันเทิงใจน่าจะดีกว่า เพราะเข้าใจว่าหลายๆ องค์กรคงไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน
(โดนเฉพาะอย่างยิ่ง “เจ๊เบียบ” นั่นเอง)

สำหรับชุดแต่งกายสำหรับบรรณารักษ์ที่ออกมาแนวเฉี่ยวๆ ก็เช่นดั่งในรูปนะครับ

costume1

เป็นยังไงบ้างครับทั้งสามแบบดูเป็นไงบ้าง ดูแล้วพอจะกระตุ้นให้คนเข้าห้องสมุดได้มากขึ้นมั้ย

ชุดแรกผมว่าเพื่อนๆ คงเห็นกันจนชินแล้วหล่ะมั่งครับ
เป็นชุดที่เอาสันหนังสือมาทำเป็นลายที่กระโปรง ซึ่งดูยังไงก็รู้ว่ามาจากห้องสมุดแน่ๆ
หลังจากที่ค้นหาบนเว็บสักระยะ ผมก็คนใส่ชุดนี้ไปทำงานจริงๆ ด้วย ลองดูรูปครับ

example-costume-1

ส่วนในชุดที่สองและชุดที่สาม เป็นมุมมองใหม่สำหรับการแต่งตัวของบรรณารักษ์เลยนะครับ
ดูแล้วสดใส แถม sexyอีกต่างหาก และดูแล้วรู้สึกว่าบรรณารักษ์มีความกระฉับกระเฉงมากๆ

เอาเป็นว่าบางครั้งผมว่าการแต่งตัวของบรรณารักษ์
อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการดึงผู้ใช้มาใช้บริการในห้องสมุดก็ได้นะ

ยังไงก็ลองดูกันนะครับ?

บ้านน่ารักสไตล์บรรณารักษ์

วันนี้ขอเน้นเรื่องการจัดการบ้านของพวกเราชาวบรรณารักษ์กันบ้างนะครับ
เอาง่ายๆ การจัดห้องสมุดแหละ แต่ผมขอตั้งชื่อเรื่องนี้ให้น่ารักๆ สักหน่อย
เพราะว่าห้องสมุดก็คือบ้านหลังที่สองของบรรณารักษ์นั่นเอง เพื่อนๆ ว่าม่ะ

home

การจัดห้องสมุดในมุมมองใหม่ๆ เราต้องมองมุมมองในองค์ประกอบต่างๆ ของห้องสมุด เช่น

– นโยบายของห้องสมุดด้านต่างๆ เช่น นโยบายการเปิด-ปิดทำการ นโยบายการยืม นโยบายการคืน
พูดง่ายๆ งานด้านการบริหารของห้องสมุดต้องมีกรบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมงานต่างๆ ทั้งหมด

– สถานที่ที่ให้บริการ ตัวสถานที่ของห้องสมุดเองว่ามีการจัดสรรพื้นที่อย่างไร ตั้งอยู่ในจุดที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
บรรยากาศโดยทั่วไปเหมาะแก่การอ่านหนังสือและใช้บริการ

– บุคลากรที่มีจิตใจที่ดีต่อการบริการ คอยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้
ด้วยปรัชญาที่เรียกว่า ?SERVICE MIND?

– ทรัพยากรสารสนเทศตอบสนองผู้ใช้บริการโดยอิงกับนโยบายและเอกลักษณ์ของห้องสมุดนั่นๆ
เช่นห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ควรจะตอบสนองสาขาวิชาและคณะต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ด้วย

– เทคโนโลยีต่างๆ ภายในห้องสมุด ด้วยสาเหตุที่ว่าห้องสมุดไม่สามารถมีทุกอย่างตามที่ผู้ใช้บริการต้องการ
การที่เราจัดบริการทางเทคโนโลยีสรสนเทศ เช่น อินเทอร์เน็ตก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อีกทาง
นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้เอื้อต่อการทำงานของบรรณารักษ์จะทำให้บรรณารักษ์สามารถทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น

– กิจกรรมและบริการต่างๆ ภายในห้องสมุด ควรมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ผู้ใช้เกิดความเบื่อหน่าย
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการใช้บริการของผู้ใช้ด้วย

จากทุกๆ ข้อที่กล่าวมา การที่เราจะจัดห้องสมุดแบบนี้ได้
ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายนะครับ แต่ในความเป็นจริงการจัดการต่างๆ ย่อมมีอุปสรรคและข้อจำกัด
เช่น ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ / สถานที่เล็กเกินไป / งบประมาณมีจำกัด / และอีกหลายๆ สาเหตุ

แต่ปัญหาเหล่านี้ขอให้บรรณารักษ์อย่าได้ท้อ
เราต้องค่อยๆ แก้ทีละเรื่อง ไม่ใช่ให้เปลี่ยนแปลงทั้งหมดได้ในครั้งเดียว
การปรับแนวคิดของคนค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องค่อยๆ ปรับกันไป สู้ๆ นะครับ

ลงชื่อเข้าร่วมงาน Libcamp#3 ได้แล้วที่นี่

ตอนนี้งาน Libcamp#3 พร้อมทุกอย่างแล้วครับ ทั้งเรื่อง ธีมงาน แผนงาน วันเวลา สถานที่
ตอนนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์อย่างเต็มตัวบ้าง และถ้าเพื่อนๆ คนไหนส่งใจก็แจ้งมาที่ผมได้เช่นเดิมครับ

logo-libcamp3

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน Libcamp#3
ชื่องานอย่างเป็นทางการ : โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3
ธีมของงาน : ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมทและบรรณารักษ์ (Volunteer and Librarian Network)
ชื่องานอย่างไม่เป็นทางการ : Libcamp#3
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 กันยายน 2552?? เวลา 9.30 – 16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดเสริมปัญญา 1346 ถนนอาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ

อย่างที่เพื่อนๆ ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นจากด้านบน และเพื่อนๆ บางคนคงอ่าน “ร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3
ธีมของการจัดงานในครั้งนี้ผมขอเปิดประเด็นและให้โอกาสกับกลุ่มคนภายนอกห้องสมุดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด
เพราะว่าผมเชื่อว่าในโลกยุคปัจจุบันอาชีพทุกอาชีพจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ยิ่งเรื่องของห้องสมุดเป็นเรื่องที่สาธารณะตระหนักถึงความสำคัญเท่าไหร่
บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดจะสำคัญและได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้นด้วย

อาสาสมัครหลายๆ คนที่อยากพัฒนาห้องสมุด แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของห้องสมุด
ก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการงานห้องสมุดด้วย

ดังนั้นงานนี้ผมว่า ทั้งอาสาสมัคร บรรณารักษ์ และบุคคลที่เข้าร่วมในงานนี้
จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสังคมไทยได้นะครับ

ผมขอแนะนำกำหนดการของงาน Libcamp#3 ก่อนดีกว่า
09.00 – 9.30 น.?????????? ลงทะเบียน + รับเอกสารประกอบการบรรยาย
09.30 – 10.00 น.???????? เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น.???????? สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น.??????? พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น.??????? แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น.??????? ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น.??????? พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น.??????? ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น.??????? เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา

(หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

ถึงแม้ว่างาน libcamp ครั้งนี้จะใช้เวลามากกว่า libcamp ครั้งก่อนๆ (ปกติจะจัดแค่ครึ่งวัน)
แต่การจัดงานในครั้งนี้จะสังเกตว่ามีทั้งหัวข้อแบบบรรยาย แบบความคิดเห็น รวมถึงการดูงานในสถานที่จริง

เป็นไงกันบ้างครับกับวัน เวลา สถานที่ กำหนดการ เพื่อนๆ ว่าสมบูรณ์หรือยัง
อ๋อ ลืมบอกไปอีกอย่าง ก็เหมือนกับทุกครั้งนั่นแหละครับ งานนี้ ฟรี ครับ

สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมงานนี้ กรุณาส่งเมลล์แจ้งความประสงค์ของคุณมาที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ
กรุณาบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน ของคุณมาด้วยนะครับ

โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

หลังจากจบงาน Libcamp#2 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม 2552)
ทางทีมงานผู้ร่วมจัดงานได้มีแผนงานต่อเนื่องของงาน Libcamp
จึงขอร่างและเตรียมจัดงาน Libcamp#3 ต่อเลยในเดือนกันยายน 2552

libcamp3

วันนี้ผมขอนำร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3 มาให้เพื่อนๆ อ่านก่อน
เผื่อว่าจะได้ตัดสินใจว่าจะมาหรือไม่มาตั้งแต่เนิ่นๆ (ขอประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ายาวกว่า 2 ครั้งที่จัดมา)

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

1.??? ความเป็นมา
ห้องสมุดยุคใหม่ มีการปรับตัวตามปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้ห้อง สมุดเปลี่ยนไป ซึ่งห้องสมุดปัจจุบันสามารถเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัย ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การให้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความสามารถในการบริการและการจัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างเครือข่ายทางสังคมของบรรณารักษ์ เพื่อรองรับกับรูปแบบของห้องสมุดในอนาคต อาทิ ห้องสมุดดิจิทัล

ดังนั้นโครงการนักอ่านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ บ้านจิตอาสา จึงร่วมกับเครือข่ายด้านห้องสมุด จัดการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพให้กับอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม และบรรณารักษ์ ในการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์ โดยใช้ชื่องานว่า Libcamp ซึ่งได้จัดไปแล้วสองครั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุม อุทยานการเรียนรู้ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล (ตัวอย่างงาน Libcamp#1 : http://www.libraryhub.in.th/2009/05/07/gallery-for-libcamp1/) และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552 ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.??? วัตถุประสงค์โครงการ
2.1??? เพื่อให้อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมเข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด
2.2??? เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างเครือข่ายบรรณารักษ์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.3??? เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมกับบุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษ์


3.??? ผู้รับผิดชอบโครงการ

3.1??? โครงการนักอ่านจิตอาสา
3.2??? ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ libraryhub.in.th
3.3??? แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4.??? การดำเนินการ
การสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ Libcamp ในครั้งที่สาม จะมีประเด็นหลักในการอภิปราย คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม กับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดให้เข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด เช่น หลักการพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมในห้องสมุด และการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลนอกวิชาชีพห้องสมุดกับบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาสาสมัครและคนทำงานด้านห้องสมุดจะสามารถพัฒนาและ นำไปใช้ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เข้าถึงผู้ใช้ในยุคสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมายของงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

5.??? กลุ่มเป้าหมาย
1. อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม
2. บรรณารักษ์
3.ผู้สนใจทั่วไป

6.??? รูปแบบการสัมมนา
จะเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ หรืออสัมมนา (Unconference) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้นำเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งสามารถเสนอหัวข้อทั้งก่อนวันงานและในวันงานได้ หลังจากการนำเสนอของแต่ละคนจะมีเวลาให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม

7.??? ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1??? เกิดเครือข่ายในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์
7.2??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการจัดการความรู้ระหว่างบรรณารักษ์
7.3??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการให้บริการผู้ใช้

โครงการนี้ผมขอนำต้นฉบับจากงาน Libcamp#2 ที่เขียนโดย แผนงาน ICT สสส.
มาเขียนใหม่และปรับรูปแบบใหม่ รวมถึงการตรวจสอบและแก้ไขโดยทีมงานจากโครงการนักอ่านจิตอาสา

เมื่อ fail whale มาอยู่ในห้องสมุด

ภาพที่ท่านจะได้เห็นต่อไปนี้ หลายๆ คนคงจะบอกว่ามันคุ้นๆ นะ
ครับ คุ้นๆ ว่าเป็นสัญลักษณ์ Fail whale แห่ง Twitter นั่นเอง

fail-whale-library

สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่เข้าใจว่า twitter คืออะไร
ลองย้อนกลับไปอ่านในเรื่อง “Twitter + Librarian = Twitterian” นะครับ

คนที่เล่น Twitter ประจำเมื่อเห็นภาพนี้คงรู้ว่านั่นหมายความว่า
Twitter ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราวนั่นเอง หรือพูดง่ายๆ ว่ากำลังเดี้ยง

fail_whale-copy

แต่ภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ มันเป็นภาพ fail whale ที่ติดอยู่ภายในห้องสมุดอ่ะครับ
แถมด้วยข้อความภาษาอังกฤษอีกสักประโยคใหญ่ๆ ว่า

“We?re really sorry about the lack of tables & Chairs! We hope that things will be back to normal by about 3pm today”

เอางี้ดีกว่าผมขอแปลเป็นภาษาไทยให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน มันแปลว่า

“พวกเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ตอนนี้โต๊ะและเก้าอี้มีผู้ใช้งานเต็มจำนวนไม่เหบลือที่ให้คุณนั่ง พวกเราหวังว่าเก้าอี้และโต๊ะจะให้บริการได้ตามปกติในช่วงบ่ายสามโมงของวันนี้นะครับ”

พอได้อ่านก็เลยแอบขำอยู่นิดๆ ว่า บรรณารักษ์ที่นี่ต้องเป็นคนติด twitter ระดับนึงแน่ๆ
ถึงได้กล้าเล่นมุขนี้ในห้องสมุดของตัวเอง แต่ยอมรับเลยครับว่าเยี่ยมจริงๆ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะลองเอาไอเดียนี้ไปติดที่ห้องสมุดของผมบ้างนะครับ
ผู้ใช้ก็คงจะงงกันไปตามๆ กัน อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/timothygreigdotcom/2643190467/