บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า บทความนี้ผมเขียนเพื่อร่วมสนุกในบล็อก Gotoknow ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ จาก gotoknow มาพบบทความนี้ ขอให้เข้าใจว่าบทความนี้เป็นของ “นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์” หรือ “Projectlib” หรือ “km_library” ใน Gotoknow นั่นเอง

ใน Gotoknow ให้เขียนเรื่อง “บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” โดยตอบคำถามดังต่อไปนี้

– ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง
– ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่
– บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
– เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่
– บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร
– บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป
– ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เอาเป็นว่าผมขอตอบคำถามทีละข้อแล้วกันนะครับ
ปล. ผมขอตอบทีละคำถาม (ต่างจากบล็อกของผมใน Gotoknow)

1. ห้องสมุดควรมีบริการอะไรบ้าง

ตอบ – ภาพเดิมๆ ของเราเกี่ยวกับห้องสมุด คือ สถานที่ที่ให้บริการเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ การสืบค้นหนังสือ ทรัพยากรสำคัญของห้องสมุดคือหนังสือ แต่โลกได้เปลี่ยนไปมากเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตเราค่อนข้างเยอะ ห้องสมุดควรบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าเพื่อคลายข้อสงสัยให้กับผู้ใช้บริการ ควรบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยคำตอบและข้อมูลที่ให้กับผู้ใช้บริการบางทีอาจไม่ได้เก็บอยู่ในรู้แบบหนังสือก็ได้ เช่น บางองค์ความรู้อยู่ในตัวบุคคล ห้องสมุดก็เชิญเขามาพูดหรือเป็นวิทยากรก็ได้ ห้องสมุด คือ พื้นที่ที่ให้บริการข้อมูล ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2. ห้องสมุดควรมีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้หรือไม่

ตอบ – ควรมี เพราะห้องสมุดคือสถานที่ที่รวบรวมความรู้ ซึ่งไม่ได้มีแค่หนังสือเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะเป็นสถานที่ที่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้ต่างๆ ห้องสมุดไม่สามารถเก็บหนังสือได้ทุกเล่มบนโลก แต่ห้องสมุดจะเป็นคนบอกให้คุณรู้ว่าที่ไหนมีความรู้อะไร ที่ไหนมีข้อมูลอะไร และที่ไหนที่จะแก้ข้อสงสัยที่คุณอยากรู้ได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและความรู้ กระบวนการหนึ่งที่ห้องสมุดต้องให้ความสำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มจากคนที่ทำงานในห้องสมุด ผู้ใช้บริการ …..

3. บรรณารักษ์ควรมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร

ตอบ –บรรณารักษ์ไม่ใช่แค่คนที่นั่งเฝ้าหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่บรรณารักษ์จะต้องรู้จักหนังสือในห้องสมุดทั้งหมดด้วย การที่ผู้ใช้บริการมาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ แล้วบรรณารักษ์สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ได้รอบห้องสมุดนับเป็นสิ่งที่ผมอยากเห็นมากๆ หรือแม้แต่การเปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือก็ยิ่งดี เช่น เมื่อคนเข้ามาในห้องสมุดแล้วต้องการรู้วิธีการรักษาสุขภาพ บรรณารักษ์ก็จะแนะนำหนังสือพร้อมทั้งบอกได้ว่าเล่มไหนอ่านดี เล่มไหนอ่านง่าย ช่วยชี้นำทำให้เกิดการเรียนรู้และความสนใจในการอ่านหนังสือของผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

4. เทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูลควรปรับเปลี่ยนหรือไม่

ตอบ – ควรเปลี่ยนอย่างยิ่ง การสืบค้นหนังสือในห้องสมุดอย่างเดียว เดี๋ยวนี้ผมว่าไม่พอแล้วหล่ะครับ การค้นหาหนังสือแบบเดิมๆ คือ การค้นชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง สถานที่จัดเก็บ โลกที่ผมอยากเห็นคือการสืบค้นข้อมูลของหนังสือที่นำไปสู่บทวิจารณ์หนังสือ (ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากที่อ่านหนังสือ ผมว่ามันมีค่าไม่ต่างจากเนื้อเรื่องในหนังสือเลย) หรือการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับระบบสืบค้นหนังสือ เช่น สามารถกำหนดคำสืบค้นให้กับหนังสือที่เราสืบค้นได้ (การที่บรรณารักษ์เป็นคนกำหนดคำสืบค้นต่างๆ ให้หนังสือ บางครั้งทำให้ผู้ค้นสืบค้นไม่เจอ เพราะคำศัพท์ที่บรรณารักษ์นำมาใช้มาจากตำราการให้หัวเรื่อง)

5. บรรยากาศสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดน่าจะเป็นอย่่่างไร

ตอบ – ห้องสมุดแบบเดิมๆ ต้องมีบรรยากาศเงียบสงบ ใครส่งเสียงดังก็เหมือนคนทำผิดร้ายแรง จริงๆ แล้วสำหรับผมการที่ห้องสมุดมีเสียงบ้างไม่ใช่เรื่องน่าแปลก เพราะการที่คนได้อ่านหนังสืออาจมีเรื่องที่สงสัยหรือเรื่องที่ต้องอภิปรายกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องสมุดก็จำเป็นที่ต้องใช้เสียง ไม่เคยมีใครบอกเลยนะครับว่า การเรียนรู้ต้องนั่งเงียบๆ แล้วจะเรียนรู้ได้ดี (สำหรับผมการเรียนรู้เกิดจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และห้องสมุดควรเป็นสถานที่เอื้อให้เกิดสิ่งนี้)

6. บรรณารักษ์ควรเป็นผู้ที่คอยช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อะไรบ้างให้แก่ผู้เรียนหรือประชาชนทั่วไป

ตอบ –อย่างแรกที่บรรณารักษ์ควรเป็น คือ การแนะนำเรื่องกระบวนการในการเปลี่ยนความรู้ อ่านหนังสือเสร็จให้ผู้ใช้บริการลองเขียนวิจารณ์หนังสือ หรือ ชวนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ใช้บริการอ่าน ผมว่าคนเราถ้าได้พูดคุยกัน ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันมันทำให้เรายิ่งรู้มากขึ้นด้วย

7. ห้องสมุดประชาชนกับห้องสมุดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยควรจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ –ปัจจุบันนี้ห้องสมุดโรงเรียนหรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่งก็เปิดให้บริการแก่บุคคลภายนอกด้วย (ประชาชนทั่วไป) ซึ่งการให้บริการความรู้ผมว่าทั้งสองแบบเหมือนกัน แต่อาจจะต่างกันที่เนื้อหาสาระมากกว่า เช่นในห้องสมุดประชาชนก็เน้นหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านง่าย ไม่ซับซ้อนอะไรมาก ส่วนห้องสมุดโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยก็จะมีเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นและเนื้อหาเชิงวิชาการที่มากขึ้น

เอาเป็นว่าผมขอตอบแบบนี้ตามความคิดเห็นของผมนะ
นี่แหละ บทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ผมอยากเห็น

1 วัน 1 ภาพ เพื่อสื่อความเป็นห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคใหม่

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย วันนี้ผมขอนำเสนอแนวคิดนึงที่ผมนำมาใช้กับเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้สักระยะนึงแล้ว นั่นคือ “การจัดทำภาพข้อความเพื่อสื่อถึงความเป็นห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคใหม่” วันนี้ผมขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านสักหน่อย

1 ในความคิดและความตั้งใจของผมในปีนี้ คือ จะต้องโพสภาพข้อความที่เกี่ยวข้องกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้ได้วันละ 1 ภาพ

โดยรูปภาพที่ผมนำมาโพสนี้ ผมไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไรที่มันซับซ้อนเลย
แถมเป็นโปรแกรมฟรีอีกต่างหาก นั่นคือ โปรแกรม “Line Camera” นั่นเอง
และต้องบอกอีกว่าบางครั้งก็ใช้โปรแกรมง่ายๆ อย่าง Microsoft Powerpoint นั่นเอง

สิ่งที่ผมจะบอก คือ ความง่ายของมัน
โปรแกรมที่ผมพูดถึงข้างต้นมันง่ายมากๆ
แต่เพื่อนๆ หลายคนคิดไม่ถึง

ผมขอยกตัวอย่างภาพที่ผมทำจาก Microsoft Powerpoint ภาพ Infographic หลายๆ ตัวที่ผมเคยโพสไปแล้วในบล็อกนี้

(ลองอ่านเรื่อง Infographic สมาชิกบล็อกห้องสมุดกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ หรือ [InfoGraphic] 1 ปี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีกับข้อมูลที่น่าสนใจ)

เรื่องโปรแกรมบอกตรงๆ ครับมันไม่ยาก แต่เรื่องยาก คือ การนั่งคิดประโยคโดนๆ ที่จะสื่อสารออกมาในแต่ละวัน บางครั้งต้นใช้เวลาคิดเป็นชั่วโมงเลย บางทีก็คิดได้หลายๆ เรื่องพร้อมกัน

เมื่อได้ข้อความแล้วก็นำมาแยกประโยคและค่อยๆ พิมพ์ลงในโปรแกรมและจัดให้มันดูสวยงาม
เพียงแค่นี้ผมก็มีรูปภาพข้อความเก๋ๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วครับ

ลองมาดูกันตั้งแต่วันที่ 1 – 6 มกราคม 2556 ผมโพสรูปภาพอะไรไปแล้วบ้าง

วันที่ 1 มกราคม 2556

วันที่ 2 มกราคม 2556

วันที่ 3 มกราคม 2556

วันที่ 4 มกราคม 2556

วันที่ 5 มกราคม 2556

วันที่ 6 มกราคม 2556

เอาเป็นว่าพอจะมองเห็นภาพกันแล้วใช่มั้ยครับ
ไอเดียนี้ทำให้คนเข้ามาที่เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยมากขึ้นเยอะมากๆ เลย
ผมเลยอยากให้เพื่อนๆ ลองทำกันดู อย่าคิดอะไรยากครับ ณ จุดๆ นี้

เมื่อนายห้องสมุดจัดกิจกรรมอ่านข้ามปีให้ชาวบรรณารักษ์

เมื่อสัปดาห์ก่อนผมเห็นเพื่อนๆ ถามถึงกันมากว่าในวันสิ้นปีจะ count down ที่ไหน และจะทำอะไรข้ามปี คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน คือ “ไปนับถอยหลังกับเพื่อนๆ” บ้าง “อยู่นับถอยหลังกับครอบครัวที่บ้าน“บ้าง และกิจกรรมอีกกิจกรรมที่คนให้ความสนใจกันเยอะคือ “การสวดมนต์ข้ามปี” ผมจึงจัดทำรูปภาพขึ้นมาสำหรับเพื่อนๆ ชาวเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยว่า

“สำหรับชาวห้องสมุด ใครที่ยังไม่มีโปรแกรมสำหรับวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผมขอแนะนำ อ่านหนังสือข้ามปี กระแสใหม่สำหรับหนอนหนังสือ”

ซึ่งหลังจากที่ทำรูปภาพนั้นเสร็จ ผมก็คิดทันทีว่า “ลองจัดกิจกรรมแปลกๆ ดูกันมั้ย”

ผมจึงลงประกาศใต้รูปว่า

“ไม่ต้องทำตามแบบใคร เราก็มีกิจกรรม countdown ได้ตามสไตล์เรา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์) นายห้องสมุดขอชวนเพื่อนๆ อ่านหนังสือข้ามปีเพื่อสร้างกระแสการรักการอ่าน ในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ถ่ายภาพของคุณกับหนังสือที่คุณจะใช้อ่านข้ามปี แล้วโพสมาที่เพจเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย 10 คนแรกที่โพสมาจะได้รับของที่ระลึกเก๋ๆ จากนายห้องสมุดจ้า ปล. ส่งได้หลังเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม 2555 นะครับ ประกาศผลในวันที่ 1 มกราคม 2556 ครับ”

นอกจากนั้นผมยังทำรูปขึ้นมาอีกรูปเพื่อย้ำถึงกิจกรรมนี้

ซึ่งในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ผมก็นั่งลุ้นดูว่าจะมีเพื่อนๆ สนใจกิจกรรมนี้กันหรือไม่ จะมีคนมาร่วมลุ้นรางวัลกับผมหรือเปล่า (ตั้งใจว่าจะแจกของที่ระลึก 10 รางวัลนะ) แต่ผลออกมาว่า

มีผู้ร่วมสนุกกับกิจกรรม “อ่านข้ามปี” กับเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จำนวน 7 คน

เราไปดูผลงานของทั้ง 7 คนเลยดีกว่าว่า เขาอ่านอะไรกันบ้าง

คนที่ 1 : “Nuan Kesaree”
อ่าน : “เมฆาสัญจร (Cloud Atlas)”

คนที่ 2 : “Siriluk Okaoka”
อ่าน : “หัวใจรักมังกรอหังการ”

คนที่ 3 : “Ilham Seng”
อ่าน : “คู่มือเพิ่มความสุขทุกๆวัน”

คนที่ 4 : “Pretty Lib”
อ่าน : “แฟรี่วอร์ : ดอกไม้แห่งกาลเวลา”

คนที่ 5 : “Chaninthron Uanlam”
อ่าน : “เล่าเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน”

คนที่ 6 : “Piraporn Kiewkhen”
อ่าน : “บทสวดพลจักรรัตนสูตรเพื่อกำจัดภัยพิบัติดั่งสมัยพุทธกาล”

คนที่ 7 : “Natthicha Smile Klongklaew”
อ่าน : “คนตายยาก”

เอาเป็นว่าผมก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมสนุกกับกิจกรรม “อ่านข้ามปี” ของผมนะครับ
ขอสรุปรายชื่อผู้โชคดีทั้ง 7 คน ดังนี้
1. Nuan Kesaree
2. Siriluk Okaoka
3. Ilham Seng
4. Pretty Lib
5. Chaninthron Uanlam
6. Piraporn Kiewkhen
7. Natthicha Smile Klongklaew

ผู้ที่มีรายชื่อดังกล่าวเดี๋ยวผมจะติดต่อไปหลังไมค์นะครับ
เพื่อขอที่อยู่และจะจัดส่งของที่ระลึกไปให้

เอาเป็นว่าปีหน้าค่อยมาเจอกันใหม่กับการ “อ่านข้ามปี” ของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยนะครับ หวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมมากกว่านี้ กติกาจะเป็นยังไงปีหน้าต้องติดตามกัน อิอิ

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิลสู่การประยุกต์ในห้องสมุด

เมื่อวันก่อนที่ผมแนะนำหนังสือ “ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)” ซึ่งหนังสือเล่มนี้อย่างที่ผมบอกอ่ะครับว่ามีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย วันนี้ผมจึงขอนำเสนอสักเรื่องที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่ามันเข้ากับงานห้องสมุดและบรรณารักษ์


โดยตัวอย่างที่ผมยกมานี้ เป็นเพียงบทหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีชื่อว่า “ทำตามการให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล” อยู่ในภาคที่สอง

มองในมุมที่ “แอปเปิล” เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจดังนั้นเรื่องการให้บริการลูกค้ามีความสำคัญมากๆ ซึ่งการที่ห้องสมุดอยู่ในฐานะของการให้บริการความรู้นั้น ผมก็มองว่าถ้าเราเน้นการให้บริการแบบเชิงรุกและเน้นผู้ใช้บริการ มันก็จะทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดประทับใจเช่นกัน (บทความนี้ผมว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในฝ่ายบริการและเคาน์เตอร์ควรอ่านมากๆ)

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล (APPLE) มีดังนี้
A – Approach – เข้าไปหาลูกค้าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแบบส่วนตัว
P – Probe – สอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสุภาพ
P – Present – นำเสนอทางแก้ปัญหาให้ลูกค้านำกลับไปใช้ที่บ้านในวันนี้
L – Listen – รับฟังและแก้ไขปัญหาตลอดจนความกังวลของลูกค้า
E – End – จบด้วยการร่ำลาอาลัยและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่

เพื่อนๆ เคยเจอประโยคเล่านี้หรือไม่
“โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ / ค่ะ” “รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มหรือเปล่าครับ / ค่ะ”
ประโยคส่งท้ายและเชื้อเชิญลูกค้าให้กลับมา สิ่งนี้แหละที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง

“แอปเปิล” นำเสนอมาบางข้อห้องสมุดก็ทำอยู่แล้ว เอาเป็นว่าลองมาดูกันดีกว่าครับว่าถ้าจะนำมาใช้ จะใช้อย่างไรดี

การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิล (APPLE) สู่การประยุกต์ใช้ในห้องสมุด

ข้อที่ 1 เข้าไปหาลูกค้าด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแบบส่วนตัว
การสร้างความประทับใจให้ผู้ใช้บริการเมื่อแรกพบเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยเบื้องต้นแล้วรอยยิ้มถือว่าสำคัญมากๆ เมื่อผู้ใช้เดินเข้ามาในห้องสมุดการทักทายผู้ใช้บริการ เช่น “สวัสดีครับ ห้องสมุดยินดีให้บริการ” “ห้องสมุดยินดีต้อนรับครับ” คำทักทายแบบเป็นกันเองจะทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ไม่เครียดและสามารถพูดคุยและตอบคำถามได้ทุกเรื่อง ลองคิดนะครับ “ถ้าเราเป็นผู้ใช้บริการแล้วเดินเข้ามาที่ห้องสมุดเจอบรรณารักษ์ทำหน้ายักษ์ใส่เราจะกล้าถามอะไรมั้ย” เอาเป็นว่าการสร้างความประทับใจเบื้องต้นของผมที่จะแนะนำคือ “รอยยิ้ม” ครับ

ข้อที่ 2 สอบถามความต้องการของลูกค้าอย่างสุภาพ
ผู้ใช้บริการบางท่านเมื่อเข้ามาที่ห้องสมุดเขาอาจจะต้องการความรู้หรือคำตอบอะไรสักอย่าง การทีบรรณารักษ์เป็นคนเปิดคำถามถามผู้ใช้บริการ ผมว่ามันก็สมควรนะครับ ผู้ใช้บริการบางท่านเป็นคนขี้อาย (ผมก็เป็นนะไม่กล้าเดินมาถามบรรณารักษ์) บรรณารักษ์ที่ต้อนรับจากข้อที่ 1 เมื่อยิ้มแล้วลองถามผู้ใช้บริการดูว่า “ต้องการมาค้นเรื่องอะไรครับ” “อยากทราบเรื่องอะไรเป็นพิเศษหรือปล่าว” ผู้ใช้ก็จะบอกความต้องการกับเราเอง อันนี้ผมว่าน่าสนใจดีครับ

ข้อที่ 3 นำเสนอทางแก้ปัญหาให้ลูกค้านำกลับไปใช้ที่บ้านในวันนี้
ถ้าผู้ใช้บริการถามถึงสิ่งที่ไม่มีในห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถหาข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น ผู้ใช้บริการต้องการงานวิจัยจากต่างประเทศแล้วห้องสมุดของเราไม่มี และพอจะรู้ว่าในฐานข้อมูล สกอ. ก็สามารถแนะนำหรือแนะให้ไปค้นที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็ได้ สรุปง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ห้ามตอบว่าไม่รู้หรือไม่ทราบเด็ดขาด แม้แต่เรื่องที่ไม่รู้จริงๆ ก็ต้องค้นคำตอบจากอินเทอร์เน็ตหรือบอกกับผู้ใช้ว่าจะหาคำตอบมาให้ในโอกาสหน้า

ข้อที่ 4 รับฟังและแก้ไขปัญหาตลอดจนความกังวลของลูกค้า
ผู้ใช้บางท่านอาจจะไม่รู้จริงๆ ว่าต้องการหนังสืออะไร เช่น พ่อแม่มือใหม่อาจต้องการคำแนะนำในเรื่องการเลี้ยงลูก บรรณารักษ์ควรจะรับฟังปัญหาและสามารถแนะนำหนังสือที่มีในห้องสมุด หรือแนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมให้กับพ่อแม่มือใหม่เหล่านั้นได้ ข้อนี้ต้องบอกตรงๆ ครับว่า บรรณารักษ์ยุคใหม่ไม่ใช่แค่คนค้นหนังสือตามที่ผู้ใช้ต้องการแล้ว แต่ต้องสามารถเลือกหนังสือที่เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้

ข้อที่ 5 จบด้วยการร่ำลาอาลัยและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่
เมื่อทักทายแล้วก็ต้องมีการบอกลาประโยคบอกลาผู้ใช้บริการและเชิญชวนให้เขากลับมาใช้บริการใหม่ อาจจะเหมือนว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ผมว่ามันเป็นการใส่ใจรายละเอียดที่ผู้ใช้บริการก็ต้องการเช่นกัน

สรุปขั้นตอนจากเรื่องนี้ (การให้บริการแบบ 5 ขั้นตอนของแอปเปิลสู่การประยุกต์ในห้องสมุด)
ทักทายต้อนรับ – ถามความต้องการ – แนะนำหนังสือให้ผู้ใช้ – แก้ปัญหาให้ผู้ใช้ – อำลาและเชื้อเชิญให้กลับมาใหม่

เอาเป็นว่าบางข้อผมว่าเพื่อนๆ ก็ทำอยู่แล้ว ดังนั้นเราก็ลองเอามาปรับและเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับบริบทของห้องสมุดดูแล้วกันนะครับ

สั้นๆ ง่ายๆ บรรณารักษ์ยุคใหม่ในสายตาผม

คำถาม : บรรณารักษ์ยุคใหม่คืออะไร บรรณารักษ์ยุคใหม่หมายถึงบรรณารักษ์อายุน้อยๆ หรือไม่ บรรณารักษ์ที่อายุมากแล้วมีโอกาสเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่หรือไม่

คำถามข้างต้นนี้ผมได้รับฟังมากจน ผมรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว
เอาเป็นว่าวันนี้เลยขอนำเสนอภาพการ์ตูนสักนิดนึง แล้วคำอธิบายสักหน่อยแล้วกัน

ชมภาพกันก่อนเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับภาพดังกล่าว
จริงๆ แล้วข้อความผมว่าก็อธิบายด้วยตัวของมันแล้วนะครับ

บรรณารักษ์ยุคใหม่ =?
แน่นอนครับว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ไม่ได้หมายความถึงความหนุ่มสาวและไม่ได้ยึดติดที่อายุ
แต่บรรณารักษ์ยุคใหม่ในสายตาของผม คือ
– บรรณารักษ์ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการทำงานได้ตามยุคตามสมัย
– บรรณารักษ์ที่สามารถแสดงให้ผู้ใช้บริการเห็นได้ว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มากกว่าห้องเก็บหนังสือ
– บรรณารักษ์ที่ไม่ต้องเก่งไอทีเหมือนโปรแกรมเมอร์แต่สามารถประยุกต์ใช้ไอทีกับงานห้องสมุดได้
– บรรณารักษ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์คิดกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ
– บรรณารักษ์ที่สามารถทำให้ห้องสมุดธรรมดาๆ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตชีวาได้

ฯลฯ

เอาเป็นว่าสั้นๆ ง่ายๆ คือ บรรณารักษ์ที่เป็นมากกว่าคนเฝ้าหนังสือในห้องสมุดแล้วกัน ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกคนมีความเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่อยู่ในตัวอยู่แล้ว ดังนั้นดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้กันมากๆ นะครับ

สุดท้ายนี้ ชวนคิดต่อ เพื่อนๆ หล่ะคิดว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเป็นอย่างไร
ส่งมาให้ผมอ่านบ้างแล้วกัน สู้ๆ ครับคุณบรรณารักษ์ยุคใหม่

นิยามการอ่านแบบสั้นๆ ฉบับคนทำงานห้องสมุดและบรรณารักษ์

เมื่อสองวันก่อนเปิดประเด็นชวนคิดให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้ตอบกัน โดยคำถามมีอยู่ว่า “เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ) ซึ่งเพื่อนๆ ได้ตอบกันมาเยอะพอสมควร ผมจึงขอนำมาลงให้ทุกท่านได้อ่านกัน

ปล. บล็อกเรื่องนี้ถือว่าเพื่อนๆ ทุกคนช่วยกันเขียนนะครับ ขอบคุณเพื่อนๆ ที่มีส่วนร่วม

“เพื่อนๆ คิดว่าการอ่านมีประโยชน์อย่างไรบ้าง” (ขอนิยามแบบสั้นๆ นะครับ)

คำตอบจากกลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook

1. Improvised Heart – การอ่านมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ทำให้เกิดจินตนาการ เพราะการอ่านจะทำให้เราคิดภาพไปด้วย (แต่จินตนาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน) และ 2. ทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น (แน่ล่ะ)
2. Cybrarian Cyberworld – Open my life,open my world ,change my life ,change my world & change one’s idea…
3. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. ได้รู้ ได้คิด
4. สุดหล่อ ก่ะ เด็กซื่อ – Today a reader, tomorrow a leader
5. Sornor Toom – การอ่านคือ ขุมทรัพย์แห่งปัญญา
6. บรรณารักษ์ เจน – เปิดหูเปิดตา , เกิดปัญญา , มีเรื่องคุย
7. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ…กด Like และ กด แชร์ ^^
8. Jakapon Patpongpun – เรียนรู้เพื่อรับปริญญาชีวิต
9. Aobfie Thiyaphun – อ่านเพื่อ.. เสริมสร้างภูมิปัญญา พัฒนาความคิด เพิ่มคุณภาพชีวิต อุทิศคืนสู่สังคม…
10. Sorravee Tungwongthavornkij – การอ่านคือ การพัฒนาชีวิต
11. Alich Jutarat Chomsuntia – การอ่านเป็นประตูบานแรกที่จะเปิดสู่โลกของการศึกษาค่ะ^^
12. Jung Bi Yoon – การอ่านคือการเรียนรู้แบบ hi speed เพราะได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์คนอื่น 😉
13. เสาวณีย์ เจ๊ะหนุ่ม – การอ่านทำให้คุยกับคนในสังคมรู้เรื่อง
14. Aobfie Thiyaphun การอ่าน “เรื่องจริง” ทำให้เข้าใจถูก…การอ่าน “เรื่องเท็จ” ทำให้เข้าใจผิด…การอ่านจึงต้องใช้ “วิจารณญาน” ประกอบด้วย ^^
15. สุนทรี เซี่ยงว่อง – การอ่านทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจตัวเอง และเข้าใจคนรอบข้าง รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
16. Cabinlazz Lizzie – การอ่านคือชีวิต เพราะถ้าไม่ได้อ่านกระทั่งฉลากยา ก็คงกินยาผิดค่ะ
17. ประพาฬรัตน์ เจริญศิริรุ่งเรือง – ‎”การอ่าน” คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตประจำวัน ค่ะ
18. Kritsana C Thipsy – การอ่านมาจากความความ “อยาก” สิ่งที่ได้คือ ฉันรู้แล้ว
19. Thung Thailife – การอ่านคือ การที่เราทำความเข้าใจกับข่าวสารหรือเรื่องราวที่เราสนใจและนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง สังคม ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
20. Aom Khontharose – ทำให้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของนักเขียน เช่น หนังสือที่ไปเที่ยวแต่ละประเทศก่อนที่จะได้ไปสัมผัสประสบการร์จริง
21. Nantana Krodtem – การอ่านเป็นการออกกำลังสมอง ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
22. Marootpong Aimmo – การอ่าน เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนชีวิตครับ
23. Chattayathorn Lapath – การอ่าน ทำให้ได้ฝึกคิดจินตนาการ
24. เสือทอม สุดแรงปั่น – การอ่าน คือการแสวงหาความรู้
25. Chatchaya Kuntakate – การอ่าน คือ การเรียนรู้โลกและสังคม

คำตอบจาก Fanpage เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ใน Facebook

1. Nawapat Chanloy – เกิดจินตนาการกว้างไกล…
2. Maykin Likitboonyalit – เหงา เศร้า ซึม หนังสือช่วยแก้ได้นะ #การอ่านช่วยบำบัด
3. Pong Ping – ช่วยเปิดกระโหลก ให้ ความคิดกว้างไกล ไม่เป็นกบในกะลา
4. Somchai Tinyanont – การอ่านคือการพัฒนาตนเองที่ดีที่สุด
5. Nit Kumansit – การอ่าน คือ การรับความรู้ มาสร้างปัญญา เพื่อพัฒนาตน
6. บริการแปลล่ามอังกฤษไทย และเรียนภาษาออนไลน์ – การอ่านเป็นการเปิดประตูรับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง ที่จะนำมาใช้ให้อยู่รอดได้ทุกสถานการณ์
7. Chattayathorn Lapath – การอ่านทำให้เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดเวลาสถานที่^^
8. น้อยใจยา จ๋าจ๊ะ – การอ่านคือการพัฒนาชีวิตทำให้เกิดความคิดที่ก้าวไกล
9. Aom P. Chan – การอ่านทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้และฉลาดมากยิ่งขึ้น
10. Porntip Mung – การอ่านเป็นการเปิดความคิด
11. Sophit Sukkanta – การอ่านช่วยให้เรารู้เขารู้เรา
12. Wanpen Srisupa – การอ่านคือบุญกับบาป
13. ขวัญจิตร เดชเดชะสุนันท์ – เปิดหนังสือเปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน

เอาหล่ะครับเป็นยังไงกันบ้าง นี่แหละความมีส่วนร่วมของพี่น้องวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แหละครับ
ถ้าเพื่อนๆ อ่านแล้วอยากเพิ่มเติมอะไรก็สามารถเข้ามา comment ต่อได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

มาเรียนเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบดิวอี้ออนไลน์กันดีกว่า

การจัดหมวดหมู่และการจัดเรียงหนังสือในห้องสมุดหลายๆ แห่ง (โดยเฉพาะห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน….) มักจะใช้หลักการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้กัน วันนี้ผมจึงอยากแนะนำข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่ใช้เพื่อการเรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่นี้

ปีที่แล้วผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง “DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

ในครั้งนั้นผมให้ข้อมูลว่า OCLC ไปพัฒนาระบบ WebDewey 2.0 เพื่อช่วยให้บรรณารักษ์ทำงานง่ายขึ้น ซึ่งการใช้งาน WebDewey 2.0 ห้องสมุดและบรรณารักษ์จะต้องเป็นสมาชิกและเสียค่าใช้จ่ายให้กับ OCLC

ซึ่งหากห้องสมุดของท่านไม่ได้เป็นสมาชิกกับ OCLC แล้วท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า DDC23 มีการเปลี่ยนแปลงในหัวข้อไหนบ้าง และการจัดหมวดหมู่ยังคงรูปแบบเหมือนที่เราเรียนมาเมื่อ 10 – 20 ปีก่อนหรือไม่

ซึ่งทำให้ OCLC ไปเปิดบริการ Dewey Teaching Site ขึ้น และจัดทำเอกสารเพื่อให้ผู้ที่สนใจ คนทำงาน นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ได้นำไปใช้เพื่อให้เข้าใจที่มาของการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้


เว็บไซต์ที่เก็บเอกสารที่ใช้สำหรับการเรียนรู้การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

(http://www.oclc.org/dewey/resources/teachingsite/courses/default.htm)

เอกสารประกอบด้วย
– Technical Introduction to the DDC
– Choice of Number Review
– Number Building: Add Tables
– Introduction to WebDewey 2.0
– Introduction to Table 1
– Introduction to 000, 100, 200
– Introduction to 300 and Table 5
– Introduction to 400 and Tables 4 and 6
– Introduction to 500
– Introduction to 600
– Introduction to 700
– Introduction to 800 and Table 3
– Introduction to 900 and Table 2

เอกสารทั้งหมดอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF
นอกจากเนื้อหาที่ใช้สำหรับอ่าน หรือ สอนแล้ว ยังมีในส่วนที่เป็นแบบฝึกหัดให้ทำด้วย เพื่อทบทวนการเรียนรู้ของเรา

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เข้าไปชมกันได้ครับ

คนทำงานด้านห้องสมุดจำเป็นต้องจบบรรณารักษศาสตร์หรือไม่

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้ถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผ่านทาง Library poll วันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามแบบง่ายๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของเราให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ

ซึ่งคำถามในวันนี้มาจากประโยคบอกเล่าต่างๆ เช่น
“ใครๆ ก็เป็นบรรณารักษ์ได้”
“เอาใครมาทำงานห้องสมุดก็ได้”
“งานห้องสมุดง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้”

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ครับ

เอาเป็นว่าไปโหวตกันได้เลย

[poll id=”26″]

เอาเป็นว่าช่วยกันโหวตเยอะๆ นะครับ
แล้ววันหลังผมจะมาเขียนบทความนี้ให้อ่านครับ

บรรณารักษศาสตร์ เท่ากับ สารสนเทศศาสตร์ หรือไม่

ขอออกตัวก่อนนะครับที่เขียนไม่ได้ว่าจะชวนทะเลาะหรือสร้างความแตกแยก แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมได้ยินบ่อยมากๆ และจากประสบการณ์ตรงในช่วงผมเป็นนักศึกษา (รุ่นผมชื่อบรรณารักษศาตร์และสารสนเทศศาสตร์ แต่หลังจากรุ่นผมไปแล้วใช้คำว่า การจัดการสารสนเทศ) วันนี้ผมว่าเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็อาจสับสนบ้างว่ามันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ปล. ที่เขียนบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ถูกผิดหรือไม่แล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน

หลายๆ สถานศึกษาเริ่มมีการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชา หรือ บางแห่งเปลี่ยนชื่อภาควิชาไปเลยก็มี

คำถามที่ผมคาใจมากๆ คือ “ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อสาขาวิชานี้” “ชื่อสาขานี้มันล่าสมัยจริงหรือ”
เหตุผลที่ผมได้ยินและได้คุยกับอาจารย์บางท่าน คือ
– “ถ้าไม่เปลี่ยนแล้วเด็กจะไม่เข้ามาเรียนในสาขานี้”
– “ถ้าเด็กเข้ามาไม่ได้ตามจำนวน ภาควิชาก็ไม่สามารถเปิดสอนได้”
– “สาขาวิชามีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น”
– “เด็กที่จบไปจะได้ชื่อหลักสูตรที่สวยหรู สามารถทำงานอะไรก็ได้”

เอาเป็นว่าเหตุผลต่างๆ มากมายที่ผมก็ขอรับฟัง
แต่…เคยคิดกันหรือไม่ว่า….ประเด็นนี้จะทำให้เด็กสับสน

“หนูไม่รู้นี่ว่าสารสนเทศศาตร์ คือ สอนให้หนูเป็นบรรณารักษ์ หนูนึกว่าเข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์”
“การจัดการสารสนเทศน่าจะสอนการจัดการข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่อิงแต่เรื่องห้องสมุด”
“เข้ามาเพราะชื่อหลักสูตรเท่ห์จัง แต่ทำไมเรียนเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด”

สถานศึกษาบางแห่งเปลี่ยนชื่อหลักสูตรก็จริงแต่เนื้อหาในรายวิชาเกือบครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดอยู่ดี บางแห่งไม่ได้เปลี่ยนรายวิชาด้านในเลยด้วยซ้ำ จากประเด็นแบบนี้ จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่สับสนกับหลักสูตร หรือ วิชาที่เรียน

จากกรณีเรื่องของชื่อหลักสูตร หรือ ชื่อของภาควิชา ผมขอพูดถึงสภาพของเด็ก 3 กลุ่มให้ฟังคร่าวๆ คือ
1. “รู้ว่าบรรณารักษ์เป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศอยู่แล้ว และตั้งใจมาเรียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ” พูดง่ายๆ ว่าใจรักอ่ะครับ เด็กพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะใจเขามาด้านนี้โดยตรงอยู่แล้ว
2. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่พอมาเจอเนื้อหาของแต่ละวิชา ก็ได้แต่ทำใจและยอมรับสภาพ” พูดง่ายๆ ว่า อดทนให้เรียนจบแล้วเดี๋ยวไปหางานอย่างอื่นทำ กลุ่มนี้ก็พบมากมาย เด็กส่วนหนึ่งที่จบไม่ได้กลับมาทำงานตามสายที่เรียน
3. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเข้ามาเรียนและรู้ว่าไม่ใช่ก็ลาออกไปเรียนอย่างอื่น หรือ ฝืนเรียนแต่ก็รับไม่ได้” พูดง่ายๆ ว่า เมื่อไม่ใช่ทางที่คิดไว้ก็ไปทางอื่นดีกว่า

เรื่องของชื่อว่า “บรรณารักษศาสตร์” หรือ “สารสนเทศศาสตร์” แท้จริงแล้วมันเท่ากันหรือไม่
แค่ชื่อก็ไม่เหมือนกันแล้ว ผมบอกได้ตรงๆ ครับว่า อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” มันก็ต่างกัน

อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” ต่างอย่างไร

“บรรณารักษ์” คือการจัดการสื่อ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ องค์ความรู้ในห้องสมุด กระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินงานในห้องสมุด “บรรณารักษ์” ต้องรู้และสามารถจัดการได้

“นักสารสนเทศ” คือ การจัดการสารสนเทศด้านใดด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องจัดการห้องสมุดทั้งหมด แต่ต้องจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ ยิ่งถ้าจัดการหรือมีความรู้ด้านวิชาชีพอื่นๆ ด้วยก็ยิ่งดี และถือว่าเป็นนักสารสนเทศของอาชีพนั้นๆ ได้ด้วย เช่น นักสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่า ห้องสมุด คือส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศแบบภาพรวม บรรณารักษ์ก็คือนักสารสนเทศในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อหลักสูตร สถานศึกษาก็ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียนด้วย…

หรือแม้แต่ครูแนะแนวเด็ก ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็ควรรู้และเข้าใจในแง่นี้ด้วย มิเช่นนั้นเด็กๆ ของท่านก็จะเข้าใจผิดว่า “สารสนเทศ” ก็คือ “คอมพิวเตอร์” ต่อไป

วันนี้ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน อิอิ

ผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนควรเป็นอย่างไร

หมายเหตุก่อนการอ่าน : หัวข้อในวันนี้อาจจะดูรุนแรงสักนิดหน่อย แต่ถ้าได้อ่านเนื้อเรื่องจริงๆ แล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้แรงเหมือนที่คิดนะครับ

ที่มาของหัวข้อในวันนี้มาจากเอกสารที่ผมค้นพบโดยบังเอิญ ซึ่งเอกสารที่ว่านี้มีชื่อว่า
What should an Administrator expect a School Library Media Specialist to be

ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
ผมว่าบทความนี้นอกจากจะเหมาะกับครูบรรณารักษ์หรือบรรณารักษ์ในโรงเรียนแล้ว
ผมขอแนะนำให้บรรณารักษ์ในห้องสมุดทุกประเภทได้อ่านด้วยเพราะน่าจะนำมาประยุกต์ได้

บรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
– ผู้สอน ครู อาจารย์ในเรื่องของการวรรณกรรมหรือสารสนเทศด้านต่างๆ
– ผู้ประสานงาน หรือ ประสานความร่วมมือกับส่วนต่างๆ ในโรงเรียน
– ผู้ชี้แหล่งสารสนเทศ ช่วยตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าสารสนเทศเพิ่มเติม
– ผู้กระจายข้อมูลข่าวสารให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน พ่อแม่ และชุมชนได้รู้ถึงกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
– ผู้นำด้านแนวความคิดและจุดประกายไอเดียในการเรียนรู้
– ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนางาน พวกเราสามารถออกแบบและนำเสนองานเพื่อการพัฒนาโรงเรียนได้
– ผู้สร้างนวัตกรรม ห้องสมุดสามารถนำสิ่งใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ แนวความคิดใหม่ๆ มาทดลองใช้ได้
– ผู้ที่รักในการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้มีได้อย่างไร้ขีดจำกัด
– ผู้รวบรวมและผนวกการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะแนวความคิดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์


แต่ทั้งหมดทั้งปวงบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือและความช่วยเหลือของผู้บริหารและครูท่านอื่นๆ ในโรงเรียนด้วยจึงจะช่วยให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ

เอาเป็นว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนที่กล่าวมาสามารถเป็นได้ยิ่งกว่าบรรณารักษ์ที่แค่นั่งให้บริการในห้องสมุดโรงเรียนก็แล้วกันครับ ผมเองก็คาดหวังให้เพื่อนๆ ได้เปลี่ยนแปลงตนเองเช่นกันครับ

ดาวน์โหลดเอกสารต้นฉบับได้ที่ http://hoorayforbooks.pbworks.com/f/lms+evaluation+ideas.pdf

ส่วนภาพ Infographic จาก http://yourteacherlibrarian.wikispaces.com/Are+You+Ready%3F