บรรณารักษ์ต้องไม่พลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555

มาแล้วคร้าบ!!!! งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานหนังสือที่หลายๆ คนรอคอย งานที่เพื่อนๆ จะได้พบกับหนังสือและกิจกรรมการอ่านที่น่าสนใจมากมาย วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเพื่อนๆ มางานนี้ก็แล้วกันนะครับ
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2555
ชื่องานภาษาไทย : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 40
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Bangkok International Book Fair 2012 and National Book Fair 2012
วันที่ในการจัดงาน : 29 มีนาคม – 8 เมษายน 2555 เวลา 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

ธีมงานของปีนี้ : การอ่านคือการพัฒนาชีวิต (Read for Life)
อาทิตย์หน้านี้แล้วนะครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์ ทำไมผมถึงอยากให้เพื่อนๆ มางานนี้ นะหรอ!!!! อืม เอางี้ดีกว่า ขอแบบสั้นๆ เลย คือ “Show Share Shop” แล้วกัน
Show – มาดูงานหนังสือ กิจกรรมในงาน นิทรรศการในงาน
Share – มาดูว่าวงการสำนักพิมพ์กันสิว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว แล้วเอามาต่อยอดกับวงการห้องสมุดของเรา
Shop – แน่นอนครับว่ามาซื้อหนังสือ
กิจกรรมและนิทรรศการที่น่าสนใจในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เช่น
– นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่
– กิจกรรม “นำหนังสือสู่เด็ก นำเด็กสู่หนังสือ” โดยมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
– นิทรรศการกรุงเทพเมืองหนังสือโลก (World Book Capital)
– นิทรรศการแสดงผลการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2555 โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
– นิทรรศการหนังสืออัญมณีแห่งอาเซียน
– นิทรรศการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book @ Thailand
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
– นิทรรศการหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นี่แค่ตัวอย่างนิทรรศการหลักๆ ในงานนี้นะครับ กิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือยังมีอีกมากครับ เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.bangkokibf.com/seminar.php นะครับ
เอาเป็นว่าผมคงไม่ต้องบรรยายความยิ่งใหญ่ของงานนี้หรอนะครับ
เพราะเพื่อนๆ ก็คงได้ยินข่าวกันอยู่ทุกปี เอาเป็นว่าไปเจอกันในงานแล้วกันนะครับ

งานบรรณารักษ์ หลายที่ หลายตำแหน่ง มาเสิร์ฟแล้ว

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ว่าที่บรรณารักษ์มือใหม่กำลังจะเรียนจบ ดังนั้นหลายๆ ห้องสมุดจึงประกาศรับสมัครงานบรรณารักษ์และงานห้องสมุดออกมามากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอรวบรวมแล้วนำมาเขียนไว้ เพื่อให้เพื่อนๆ เลือกงานที่อยากจะทำกันดูนะครับ

ปล. รายละเอียดเกี่ยวกับงานเพื่อนๆ ต้องติดต่อไปถามที่ต้นสังกัดเองนะครับ


งานมีเยอะมาก ผมขอแยกเป็นประเด็นๆ จากแหล่งที่ผมค้นมาก็แล้วกัน

1. ข่าวฝากประชาสัมพันธ์งานบรรณารักษ์ในกลุ่ม Librarian in Thailand
– สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับบรรณารักษ์
http://www.npru.ac.th/webdev/u_news/news_files.php?news_id=5516&&type_name
– ห้องสมุดวิทยาการสุขภาพ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับบรรณารักษ์ชั่วคราว ติดต่อสมัครได้ที่  E-mail : jkhanitt@wu.ac.th ทางโทรศัพท์ 075- 673373
– เปิดรับสมัครตำแหน่ง บรรณารักษ์เพื่อปฏิบัติงานในศูนย์การเรียนรูู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา จุฬาฯ ใครสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.culi.chula.ac.th/personnel/Flie%20Data/A1.pdf
– สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ สำนักบริหารบุคคล
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ปฏิบัติการ http://www.mfa.go.th/internet/news/42346.pdf
– มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยรับสมัครสอบคัดเลือกพนักงานตำแหน่งบรรณารักษ์ สังกัดสำนักหอสมุดกลาง http://department.utcc.ac.th/hr/recruitment/staff/456-recruit-of-staff-of-librelian-in-librely.html

2. ข่าวที่คนอื่นฝากมาผ่าน Social Media อื่นๆ เช่น Twitter
– รับสมัครบรรณารักษ์ประจำศูนย์ข้อมูล บริษัท อินโฟเควสท์ จำกัด สนใจรายละเอียด โทรสอบถาม คุณกมลวรรณ 081-9392425 via @Blossom_0210
– ห้องสมุดสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง ถ้าสนใจโทรได้ที่เบอร์ 085-2555304

3. ข่าวงานบรรณารักษ์จากเว็บชุมชนคนหางานบรรณารักษ์
– วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา รับสมัครบรรณารักษ์ http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=55
– หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ รับ นักจดหมายเหตุ บรรณารักษ์ หลายตำแหน่ง  http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=46
– วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา รับสมัครบรรณารักษ์ 2 อัตรา http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=43
– สำนักหอสมุด วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รับสมัครบรรณารักษ์ (ประจำวิทยาเขตบางพลี) 1 อัตรา http://libjobs.ob.tc/-View.php?N=42

4. ข่าวงานบรรณารักษ์จากที่ผมค้นหาในเว็บหางานอื่นๆ
– สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น รับหัวหน้างานห้องสมุด 1 อัตรา http://tinyurl.com/7o72yjm
– นิทรรศน์รัตนโกสินทร์รับเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ 1 อัตรา http://tinyurl.com/76oq5om
– บริษัท A I System จำกัด รับ Koha library Expert Consultant 1 อัตรา http://tinyurl.com/8xw6uqc

เอาเป็นว่างานบรรณารักษ์ยังมีอีกเยอะ แต่หวังว่าเพื่อนๆ จะเห็นวิธีการรวบรวมตำแหน่งงานบรรณารักษ์ของผมแล้วใช่มั้ยครับ

จริงๆ ประเด็นที่จะเขียนบล็อกวันนี้ไม่ได้อยากจะเอางานมาป้อนให้ถึงปากหรอกนะครับ แต่อยากให้เห็นวิธีคร่าวๆ และตัวอย่างที่ผมดึงข้อมูลมาก็เท่านั้น (ผมไม่ถนัดให้ปลาเป็นตัวๆ หรอก แต่อยากสอนให้จับปลาเป็นมากกว่า)

อ๋อ ส่วนตำแหน่งงานที่เหลือผมจะเข้ามาอัพเดทเรื่อยๆ แล้วกันนะครับ
หรือห้องสมุดไหนที่ต้องการฝากข่าวรับสมัครบรรณารักษ์ก็ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ

อ่านอะไรดี : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

ช่วงนี้มีคนพูดเรื่องห้องสมุดกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เยอะมาก และคำถามนึงที่เพื่อนๆ ถามมาเยอะ คือ “บรรณารักษ์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง” ผมก็แนะนำไปหลายๆ อย่างแต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องย้ำ คือ ภาษาอังกฤษ และวันนี้ผมขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับ “ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์”


ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : English for Public Librarians
จัดพิมพ์โดย : โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ปีพิมพ์ : 2552
จำนวนหน้า : 406 หน้า
ISBN : 9786115050086

โจทย์การพัฒนาบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนให้มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นโจทย์ที่ท้าทายผมมาก
ดังนั้นผมจึงต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสอนภาษาอังกฤษ การฝึกอบรมด้านภาษา ฯลฯ
ซึ่งการค้นพบหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากๆ ครับ จึงต้องเอามาเขียนลงบล็อกให้ได้

หนังสือเล่มนี้อย่างที่ข้อมูลเบื้องต้นบอกว่าเป็นของ มสธ. นั่นแหละครับ
ผมจึงตามไปที่ มสธ. และถามหาหนังสือเล่มนี้ ซึ่งรู้มาว่า มีหนังสือเล่มนี้อยู่จริง แต่ไม่มีจำหน่าย
ดังนั้นผมจึงต้องเสาะหามาให้ได้เพื่อนำมาศึกษา ซึ่งต้องขอขอบคุณอาจารย์น้ำทิพย์มากๆ ที่กรุณาให้ผมนำมาศึกษา

ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
หน่วยที่ 1 Welcoming Visitors
หน่วยที่ 2 Reading for Professional Development
หน่วยที่ 3 Writing for Professional Development

ในแต่ละส่วนเน้นทักษะที่ไม่เหมือนกัน เช่น

หน่วยที่ 1 ที่เกี่ยวกับการต้อนรับผู้ใช้บริการ จะเป็นบทที่เน้นการสนทนา (พูด) เป็นหลัก ซึ่งในบทนี้ที่ผมชอบมากๆ คือ มีสคริปส์ให้อ่านด้วย ประมาณว่าถ้ามีผู้ใช้บริการเข้ามาที่ห้องสมุด สามารถอ่านบทสคริปส์ตามนี้ได้เลยทีเดียว ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
1.1 การกล่าวต้อนรับผู้ใช้บริการ
1.2 การนำชมห้องสมุดในส่วนต่างๆ
1.3 คำถามจำพวก FAQ และการกล่าวขอบคุณและอำลาผู้เยี่ยมชม

หน่วยที่ 2 เน้นทักษะการอ่านเป็นหลัก ซึ่งบรรณารักษ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น การอ่านเพื่อเพิ่มความรู้ หรือการอ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
2.1 การอ่านข้อมูลสารสนเทศ เช่น ข่าว เว็บไซต์ห้องสมุด
2.2 การอ่านที่เกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น catalog
2.3 การอ่านที่เกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ

หน่วยที่ 3 เน้นทักษะการเขียนเป็นหลัก ซึ่งการเขียนเป็นเรื่องหนึ่งที่เราจะใช้สื่อสารกับผู้ใช้บริการหรือการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายห้องสมุดอื่นๆ ในต่างประเทศด้วย ในหน่วยนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ อีก เช่น
3.1 การติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมาย เอกสารต่างๆ
3.2 การติดต่อผ่าน E-mail
3.3 การเขียนแบบฟอร์มต่างๆ

เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองหามาอ่านกันบ้างแล้วกัน

หนังสือเล่มนี้หายากมากครับ เพราะทำออกมาจำกัด แต่ในช่วงนั้นได้ยินว่ามีหลายห้องสมุดได้รับและเข้าอบรมเรื่องนี้กันไปแล้ว คำแนะนำของผมง่ายๆ คือ หยิบออกมาทบทวนกันบ้างนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่มีหนังสือเล่มนี้ ขอให้รอสักครู่ ผมจะนำมาเล่าให้อ่านในบล็อกเรื่อยๆ แล้วกันครับ

ปล. หนังสือเล่มนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน ที่กรุณาให้ผมยืมอ่านและนำมาถ่ายเอกสารครับ

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการบรรณารักษ์ ด่วน!!!

งานบรรณารักษ์มาอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่ต้องการด่วนมากๆ ซึ่งหน่วยงานที่ต้องการรับ คือ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ใครสนใจก็อ่านดูนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์
สถานที่ : วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
จำนวน : 1 อัตรา

านนี้ต้องการด่วนมากจริงๆ นะ ส่วเรื่องของเนื้องานว่าต้องไปทำอะไรบ้าง ก็ลองอ่านจากด้านล่างนี้เลยแล้วกันครับ

รายละเอียดของงานในตำแหน่งนี้
– จัดทำสื่อการเรียนรู้ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ โดยใช้โปรแกรมด้าน IT
– กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of  Congress (LC)
– ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ และออนไลน์
– ช่วยค้นหาแหล่งข้อมูลเพื่องานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา
– ให้ความรู้และอบรมการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลประเภทต่างๆ

สำหรับคนที่สนใจก็ลองมาเช็คดูคุณสมบัติกันก่อนแล้วกันนะ
– เพศชาย (ตัด choice ไปได้เยอะพอควรเลยนะ)
– วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้เกี่ยวกับการลงรายการตามหลัก AACR2 และการวิเคราะห์หมวดหมู่ตาม LC นะ การให้หัวเรื่องก็ยึดหลักตาม LCSH เลยจ้า
– มีทักษะการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย
– ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เหล่านี้ :- MS Office, Web Design, Photoshop Dreamweaver, Flash

เห็นคุณสมบัติแล้วอาจจะทำให้หลายๆ คนปาดเหงื่อกันได้เลยทีเดียว
แต่ถ้าผ่านทั้งหมดตามที่ว่ามาแล้วก็ถือว่ามีโอกาสดีที่จะได้ทำงานที่นี่เลยนะครับ

อ๋อ ถ้าสามารถเริ่มงานได้ทันทีจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจและผ่านคุณสมบัติทั้งหมด
ก็ขอให้ส่งประวัติการศึกษา ทรานสคริปส์ และรูปถ่ายมาที่
E-mail: cmthanyaporn@mahidol.ac.th
โทร: 02-206-2000 ต่อ 2361/2365-6

ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดีครับ

บรรณารักษ์จำเป็นต้องรู้จักหนังสือในห้องสมุดตนเองหรือไม่

“คนขายจำเป็นต้องรู้จักสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องเข้าใจสินค้าของตนเอง”
“คนขายต้องรู้ว่าสินค้าของตนเองเป็นอย่างไร”

ประโยคข้างต้นเป็นประโยคที่ผมคิดขึ้นมาหลังจากที่ผมไปซื้อของมาชิ้นนึง

เหตุการณ์มันเริ่มจากการที่ผมเดินเข้าไปในร้านขายของที่หนึ่งที่ขายของเฉพาะทาง
ผมตัดสินใจที่จะซื้อของชิ้นหนึ่ง จึงอยากให้คนขายแนะนำสิ่งของที่ผมต้องการซื้อ
ปรากฎว่าเขาแนะนำอะไรไม่ได้เลย จนต้องส่งคำถามเหล่านี้ไปให้คนขายอีกคนจึงอธิบายได้

ผมรู้สึกหงุดหงิดมากที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้

จนผมต้องอุทานว่า “ไม่รู้จักสินค้าของตนเองแล้วจะมาขายทำไม”
ประโยคที่ผมอุทานขึ้นมานี้ เป็นที่มาของเรื่องที่ผมจะถามในวันนี้นั่นเอง

ลองนึกดูเล่นๆ นะครับว่า ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด ผู้ใช้บริการจะรู้สึกเช่นใด

แน่นอนครับว่าเราไม่ใช่องค์กรเชิงธุรกิจ แต่องค์กรของเราเป็นองค์กรที่เน้นบริการ
ยิ่งคำขวัญของเรา “บริการด้วยใจ (Service mind)” เรายิ่งต้องให้ความสำคัญมากๆ

พื่อนๆ ว่า ตกลงเราควรจะต้องรู้จักหนังสือหรือสื่อความรู้ในห้องสมุดของเราหรือไม่
บรรณารักษ์อย่างพวกเราจำเป็นต้องอ่านหนังสือบ้างหรือไม่

[poll id=”25″]

เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบดูนะครับ
แล้วเดี๋ยวผมจะเอามาเขียนเล่าให้ฟังแบบเต็มๆ อีกสักตอนนึง

มหาวิทยาลัยคริสเตียนรับสมัครบรรณารักษ์ด่วน 1 อัตรา

ข่าวฝากประชาสัมพันธ์เรื่องงานบรรณารักษ์มาถึงอีเมล์ผมอีกรอบ ที่สำคัญคือห้องสมุดที่รับสมัครบรรณารักษ์นี้ คือ ห้องสมุดที่ผมเพิ่งไปบรรยายเมื่อเดือนที่แล้วเอง นั่นก็คือ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยคริสเตียน นั่นเอง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่อตำแหน่งงาน : บรรณารักษ์
สถานที่ : มหาวิทยาลัยคริสเตียน
จำนวน : 1 อัตรา

งานบรรณารักษ์ของที่นี่จากการที่ผมได้เข้าไปดูสถานที่ และการทำงานภายในห้องสมุดแห่งนี้ จริงๆ แล้วก็คงไม่ต่างจากงานห้องสมุดทั่วๆ ไปที่ต้องทำ เช่น งาน catalog งานจัดหา งานบริการ และอื่นๆ

ข้อมูลเบื้องต้นอีกอย่างที่อยากให้รู้ก่อน คือ มหาวิทยาลัยคริสเตียน มีคณะเด่นๆ และเป็นหลัก คือ พยาบาลศาสตร์
นั่นหมายถึง ห้องสมุดแห่งนี้มีข้อมูลและหนังสือที่เกี่ยวกับการแพทย์และพยาบาลพอสมควรเลยทีเดียว
การจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดแห่งนี้ คือ ระบบ LC และ NLM นะครับ (ถ้าเพื่อนๆ จะสมัครคงต้องเตรียมพร้อมเรื่องนี้ด้วย)

คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้
1. เพศชาย/หญิงอายุ 22-35 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
2. มีความสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ได้ดีและ
3. มีความสามารถในการใช้ฐานข้อมูล
4. มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดี
5. สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาได้

สำหรับคนที่สนใจงานในตำแหน่งนี้ เพื่อนๆ ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
1. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
2. ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา 1 ชุด
3. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา 1 ชุด
4. หลักฐานการศึกษาวุฒิที่จบพร้อมสำเนา 1 ชุด
5. หลักฐานการเกณฑ์ทหารหรือหลักฐานการผ่อนผัน 1 ชุด

ติดต่อสมัครได้ที่ มหาวิทยาลัยคริสเตียน 144 หมู่ 7 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
หรือส่งทาง E-mail : supatrak@christian.ac.th ทางโทรสาร 0-3422-9499

เอาเป็นว่าผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ
(จะอ้างอิงนิดนึงก็ได้นะครับ ว่ารู้ข่าวจาก Libraryhub)

ตุ๊กตาโมเดล Nancy Pearl บรรณารักษ์หญิงคนดังจากอเมริกา

วันนี้ผมขอแนะนำตุ๊กตาโมเดลหรือของสะสมสักอย่างนึงนะครับ ตุ๊กตาโมเดลที่ว่านี้ย่อมต้องเกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์แน่นอนครับ ตุ๊กตาโมเดลนี้ คือ ตุ๊กตาโมเดลของ Nancy Pearl บรรณารักษ์คนดังคนหนึ่งในอเมริกานั่นเอง

หลายคนอาจจะแปลกใจว่า Nancy Pearl คือใคร ผมขอเล่าประวัติย่อๆ แล้วกันนะครับ
เธอคือบรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงมากคนนึงในอเมริกา เธอเป็นคนชอบอ่านหนังสือและขยันหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา คนอเมริกาจะได้ยินเสียงของเธอในวิทยุค่อนข้างบ่อยในรายการวิจารณ์หนังสือ (BOOK REVIEW) เธอเคยเป็นผู้บริหารในห้องสมุดซีแอตเติล เธอได้รับรางวัลมากมายจากวงการหนังสือ วงการห้องสมุด และวงการบรรณารักษ์

รางวัลที่เคยได้รับ
– 1997 Open Book Award from the Pacific Northwest Writers Conference
– 1998 Totem Business and Professional Women’s “Woman of Achievement Award”
– 1998 Library Journal’s Fiction Reviewer of the Year
– 2001 Allie Beth Martin Award from the American Library Association
– 2003 Washington (State) Humanities Award
– 2004 Brava Award from Women’s University Club in Seattle, recognizing “women of exceptional ability in the greater Seattle area”;
– 2004 Louis Shores–Greenwood Publishing Group Award
– 2004-2005 Annual award from the Women’s National Book Association
– 2004 Ontario Library Association Media and Communications Award
– 2011 Library Journal Librarian of the Year (ผลงานล่าสุด)

ประวัติและผลงานฉบับเต็มอ่านได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nancy_Pearl
http://www.nancypearl.com/?page_id=2

เอาหล่ะครับเข้าเรื่องตุ๊กตาโมเดลบ้างดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=WJdEXb8bRQ0[/youtube]

บรรณารักษ์ผู้หญิงในชุดสีน้ำเงิน ราคา  $8.95
http://www.mcphee.com/shop/products/Librarian-Action-Figure.html

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ น่าสนใจดีมั้ยครับ ผมเองเห็นแล้วก็ยังอยากจะซื้อมาเก็บไว้สักตัวเลย
เอาเป็นว่าใครซื้อมาเล่นแล้วถ่ายภาพส่งมาให้ผมดูกันบ้างนะครับ

บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีบุคลิกภาพแบบนี้…

บทความที่เกี่ยวกับ Cybrarian ผมเคยเขียนไปแล้วหลายครั้ง (ลองค้นคำว่า Cybrarian ดู)
วันนี้ผมขอเติมมติในเรื่องของบุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่ควรเป็นบ้างดีกว่า
เอาเป็นว่าลองอ่านแล้วลองคิดดุแล้วกันว่า “เราเป็นแบบนั้นแล้วหรือยัง

บุคลิกภาพของบรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ควรมีดังนี้

1. รักในงานบริการ – อันนี้แน่นอนครับสำหรับงานด้านบรรณารักษ์หรือสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่เราจะต้องเจอผู้คนมากมายที่เขามาขอความช่วยเหลือด้านข้อมูลกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ตอนเรียนพวกเราทุกคนจะต้องถูกปลูกฝังเรื่องจิตบริการ (service mind) อยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องนี้คงไม่ยากมาก

2. รักการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ประเด็นนี้จะกล่าวถึงข่าวสารในชีวิตประจำวัน และสาระความรู้ทั่วๆ ไป บรรณารักษ์ยุคใหม่จะรู้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ ควรจะมีความรู้รอบตัวสามารถเข้าใจพื้นฐานของทุกวิชาได้ เช่น หากเราทำงานเป็นบรรณารักษ์ในศูนย์การแพทย์ เราก็ควรจะต้องรู้และเข้าใจเนื้อหาแบบพื้นฐานของวิชานี้บ้างก็ดีครับ

3. ชอบการเปลี่ยนแปลงและมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
ในสังคมปัจจุบัน ผมคงไม่ต้องบอกเพื่อนๆ หรอกนะครับว่า ทุกวันโลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วขนาดไหน ยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างไปเร็ว จนบางครั้งผู้ใช้บริการไปเร็วกว่าเราอีก บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะเป็นคนที่อัพเดทข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ เช่น เรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการอัพเดทเวอร์ชั่นตลอดเพื่อปรับปรุงงานด้านต่างๆ ในศูนย์สารสนเทศ

4. มีความสามารถในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้ ความสามารถในด้านนี้จะกล่าวได้ว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ก็เปรียบเสมือนกับครู อาจารย์กันเลยทีเดียว เพราะหากเรามีองค์ความรู้ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการเราเราก็คอยถ่ายทอดสิ่งที่รู้ออกมาได้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้บริการต่อไป

5. มีบุคลิกว่องไว กระตือรือร้นในการทำงานการบริการด้วยความว่องไว และรวดเร็วย่อมเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

6. ยอมรับฟังความคิดเห็น และมีจิตใจกว้างขวาง
สำคัญนะครับประเด็นนี้เนื่องจากหากเรายึดติดความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเลยจะทำให้เราไม่รู้จักโลกกว้างๆ ใบนี้เลย

จริงๆ แล้วยังบรรณารักษ์ยุคใหม่ยังต้องมีบุคลิกภาพและความสามารถอีกมากนะครับ
ที่สำคัญอย่างที่ผมเกริ่นไว้ว่าต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา และการเปิดใจรับฟังคนอื่น
เพียงเท่านี้เราก็จะมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาให้เป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ได้ตลอดเวลา

The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการศึกษาและบล็อกในต่างประเทศซะนานเลย
วันนี้ผมขอนำผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 มาลงนะครับ
(ปีที่แล้วผมเขียนเรื่องการประกาศผลรางวัล The edublogaward 2009 ไปแล้ว)

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 ดูน่าสนใจมากขึ้น
บล็อกเดิมที่เคยได้รับรางวัลบางบล็อกหลุดไปอย่างน่าเสียดาย และมีบล็อกใหม่ๆ ที่เข้ามาด้วย

ขอเกริ่นนำถึงรางวัลนี้สักหน่อยนะครับ
The edublogaward เป็นรางวัลที่แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นซึ่งมีหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน บล็อกนักวิจัย ฯลฯ
แน่นอนครับ ถถ้าพูดเรื่องวงการศึกษาคงต้องมีรางวัลที่เกี่ยวกับ “ห้องสมุดและบรรณารักษ์” ด้วย

ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010
ผู้ที่ชนะเลิศในปี 2010 คือ บล็อก Castilleja School Library
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก A Media Specialist’s Guide to the Internet
ส่วนอันดับที่สาม คือ Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria (ปีที่แล้วได้ที่ 2)

การประกวด The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ มีผู้เสนอชื่อบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์อีกมาก ซึ่งแต่ละบล็อกผมว่าน่าสนใจเช่นกัน เลยขอนำมาลงเพื่อเป็นตัวเลือกให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านต่อ โดยมีรายชื่อดังนี้

  1. Aberfoyle Park Campus Resource Centre Blog
  2. A Media Specialist’s Guide to the Internet
  3. Bloggit
  4. Booked Inn
  5. Blue Skunk
  6. Bright Ideas
  7. Castilleja School Library
  8. Cathy Nelson’s Professional Blog
  9. Gryphon LRC
  10. Heart of School
  11. Informania
  12. Library Grits
  13. Librarian By Day
  14. Lucacept – intercepting the web
  15. Never Ending Search
  16. Skerricks
  17. Springston School Library Blog
  18. Tales from a Loud Librarian
  19. The Daring Librarian
  20. The Unquiet Librarian
  21. The WebFooted Booklady
  22. Van Meter Library Voice
  23. VCS Skyway Library

ผลการโหวต The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เป็นยังไงบ้างครับ คิดยังไงกับเรื่องการประกวดบล็อกในวงการศึกษา
ผมว่ามันก็เป็นการพัฒนางานอย่างหนึ่งนะครับ นอกจากนี้ยังถือว่าช่วยในเรื่องการจัดการความรู้ได้อย่างดีทีเดียว
บ้านเราก็ควรจะทำบ้างนะ (อยากให้ทำเชิงคุณภาพนะครับ ไม่ใช่ประกวดแล้วเล่นพรรคเล่นพวก)

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2010http://edublogawards.com/2010/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ – http://edublogawards.com/

Protected: ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยออนไลน์สำหรับบรรณารักษ์

This content is password protected. To view it please enter your password below: