สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนเมษายน 2554

ไม่ได้รายงานผลซะนานเลยนะครับ เพราะผมเองก็หายไปจากบล็อกบรรณารักษ์เกือบ 2 เดือน
เอาเป็นว่าผมกลับมาตั้งแต่ต้นเดือนแล้วหล่ะ วันนี้เลยต้องกลับมาทำหน้าที่รายงานเรื่องยอดฮิต

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554
จากการสำรวจข้อมูลคร่าวๆ พบว่าสถิติในช่วงก่อนการเขียนบล็อกตกลงไปเยอะเลย
แต่หลังจากการกลับมาเขียนอีกครั้งพบว่าสมาชิกหลายๆ คนเริ่มกลับมาอ่าน

แล้วเพื่อนๆ ว่าเรื่องไหนที่ได้รับความนิยม 10 อันดับบ้างหล่ะครับ เราไปดูกันเลยดีกว่า

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554 10 อันดับได้แก่

1. 3% – บรรณารักษ์สามารถ copy catalog หนังสือจาก Amazon ได้แล้วนะ
2. 3% – ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี
3. 3% – ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่
4. 3% – บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด
5. 2% – พาเที่ยวห้องสมุด SCG ? XP Library
6. 2% – แผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน (ชมภาพจากประเทศญี่ปุ่น)
7. 2% – คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์
8. 2% – สวัสดีปีใหม่ไทยและทักทายวันสงกรานต์
9. 1% – นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
10. 1% – คลิปวีดีโอคนต่อแถวแย่งกันเข้าห้องสมุดประชาชนเป็นไปได้หรือนี่

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)
นอกจากโหวตแล้วเพื่อนๆ สามารถคอมเม้นตืเรื่องที่ชอบได้ด้วยนะครับ

สำหรับเดือนพฤษภาคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มิถุนายนนะครับ

10 ข้อปฏิบัติที่จะทำให้คุณกลายเป็นบรรณารักษ์คนใหม่

ภาพเดิมๆ ของบรรณารักษืในสายตาผู้ใช้บริการ คือ “บรรณารักษ์เป็นเพียงแค่คนเฝ้าหนังสือในห้องสมุด”
การจะเปลี่ยนภาพลักษณ์หรือค่านิยมเหล่านี้ได้ มันก็ต้องขึ้นอยู่กับเราว่า “จะยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองมั้ย”


คำถามที่ตามมา “อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง แล้วต้องทำอย่างไรหล่ะ”
บทความนี้ผมนำมาจากบทความที่อาจารย์ Michael Stephens ใช้สอนนักศึกษาของเขา
ชื่อเรื่องตามต้นฉบับ คือ “Ten Rules for the New Librarians

บทความนี้เขียนตั้งแต่ปี 2006 นี่ก็ผ่านมาเกือบ 5 ปีแล้ว แต่ผมว่ามันก็ยังพอใช้ได้นะ
เอาเป็นว่าผมจะขอแปลเรื่องนี้แล้วกัน โดยใช้ชื่อว่า “10 ข้อปฏิบัติที่จะทำให้คุณกลายเป็นบรรณารักษ์คนใหม่”

ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นบรรณารักษ์คนใหม่ได้ มีดังนี้

1. Ask questions (ตั้งคำถาม)
– ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ พยายามอย่าให้คนสัมภาษณ์งานถามเราเพียงฝ่ายเดียว เราควรจะต้องถามและพยายามเรียนรู้เรื่องห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามกลับไปว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีหรือปล่าว และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร

2. Pay attention (เอาใจใส่)
– เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย

3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)

– แน่นอนครับ บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มากโดยเฉพาะข่าวสารในแวดวงบรรณารักษ์

4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)
– เรื่องลิขสิทธิ์ดูอาจจะเป็นเรื่องของกฎหมายซึ่งหลายๆ คนมองว่าไกลตัว แต่จริงๆ แล้วผมก็อยากบอกว่ามันมีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด รวมถึงสื่อออนไลน์ของห้องสมุดด้วย

5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)
– ตรงๆ เลย ก็คือ ต้องรู้จักและนำเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริการในห้องสมุด หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library 2.0 ก็ว่างั้นแหละ

6. Work and Play (ทำงานอย่างมีความสุข)
– บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดการให้บริการกันภายในห้องสมุดก็ได้

7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)
– บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน้นทำนี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าไม่มีเวลาหรอกครับ แต่เพราะว่าเขาไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)

– ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดและทดลองใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นให้ได้

9. Listen to the reasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)
– อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง

10. Remember the Big Picture (มองภาพรวมให้ได้)

– การมองภาพรวมของการทำงานในห้องสมุดจะทำให้เราเข้าใจว่างานต่างๆ ในห้องสมุดล้วนแล้วแต่มีความสอดคล้องกัน การทำงานจึงต้องอาศัยความเชื่อมโยง หากไม่เห็นภาพรวมของห้องสมุดเราก็จะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ คิดว่า 10 ข้อปฏิบัติเหล่านี้ยากเกินไปหรือปล่าว “แล้วจะทำได้มั้ย”
ไม่ต้องกลัวครับผมไม่ได้คาดหวังว่าเพื่อนๆ จะต้องทำตามเป๊ะๆ แต่นำเสนอมุมมองมากกว่า
สำหรับผมก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามทั้งหมด บางข้ออาจจะทำได้ไม่เต็มที่แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทำมัน

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
ออกในเดือนเมษายน 2554

ผ่านสงกรานต์มาสักระยะนึงแล้ว ผมก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาคอยนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อ
ซึ่งในที่สุดก็ออกมาให้ผมได้อ่านจนได้ (ออกสายไปนิดนึงนะครับ แต่ให้อภัยได้)

โดยฉบับนี้ไฮไลท์อยู่ที่เรื่องจากปกครับ ซึ่งพูดถึง “มหานครแห่งการอ่าน”
แม่นแล้วครับ เมื่อต้นเดือนเรามีเรื่องของสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันรักการอ่าน
ซึ่งหัวข้อนึงที่คนจับตาดูและให้ความสนใจคือ การผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งการอ่าน นั่นเอง

เอาเป็นว่าลองไปอ่านกันดูเลยดีกว่าครับ

เรื่องจากปก : มหานครแห่งการอ่าน

บทความ : สีสัน สรรสี

บทความ : ?คลื่นอีกระลอก…

เรื่องแปล : เรื่องเล่าขานในยุคสารสนเทศ

บทความ : ห้องสมุดส่งเสริมสุขภาพ

บทความ : เก็บตกจากการประชุม APLAP

บทความ : ห้องสมุดในยุคปัจจุบันเป็นมากกว่าที่อ่านหนังสือ

บทความ : อาศรมวงษาธิราชสนิท

พาเที่ยว : อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พาเที่ยว : ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

บทความ : บทเพลงของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้
มีอะไรน่าอ่านมากมายเลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองอ่านแล้วเก็บไอเดียไปคิดเพื่อต่อยอดในการทำงานนะครับ

สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขออตัวไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อก่อนนะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย

หลังจากที่ประสบความสำเร็จมากมายในการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มาแล้ว
เพื่อนๆ จำนวนหนึ่งจึงเรียกร้องให้เปิดหน้า page ใน facebook ด้วย
เพื่อให้คนที่อยู่นอกสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์เข้ามาเห็นว่ากลุ่มเราก็เข้มแข็งนะ ผมเลยจัดให้ตามคำขอ

เอาเป็นว่าขอแจ้งให้ทราบว่าตอนนี้กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยเรามี Facebook page แล้ว
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/THLibrary

จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของการเปิด Facebook page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จริงๆ ก็คล้ายๆ กับกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยใน facebook นั่นแหละครับ คือ
– เป็นพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานหรือการศึกษาในสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
– เป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุยกับเพื่อนใหม่ในสาขาวชาชีพเดียวกัน (ห้องสมุดและบรรณารักษ์)
– ประชาสัมพันธ์ข่าวสารในวงการห้องสมุดและบรรณารักษื เช่น งานบรรณารักษ์ งานอบรมสัมมนา ….
– เป็นเวทีในการรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพ…

นั่นก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์หลักๆ ที่ตั้งขึ้นในช่วงที่มีการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook นะครับ

แต่ในเมื่อเปิด group ไปแล้ว ทำไมต้องเปิด page ด้วย หลายๆ คนก็คงสงสัยเรื่องนี้ใช่มั้ยครับ
เอางี้ดีกว่าผมขออธิบายหลักการคร่าวๆ ของ Page กับ Group ดีกว่าว่าต่างกันยังไง
(เพื่อว่าเพื่อนๆ เมื่อเห็นขอดีของการมี page แล้ว เพื่อนๆ จะเข้ามากด Like เป็นแฟนเพจกับเรามากๆ)

เอาเป็นว่าผมขออธิบายแบบคร่าวๆ อีกสักนิดดีกว่า

จุดเด่นของหน้าเพจ (เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย) อยู่ที่ชื่อของ URL ซึ่งเพื่อนๆ จำได้ง่ายกว่าของ Group ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าหน้าเพจโดยพิมพ์ว่า “www.facebook.com/thlibrary” นอกจากนี้สมาชิกที่เพจสามารถรับได้คือไม่จำกัดจำนวน (แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้กังวลเรื่องนี้หรอกนะครับ) แถมด้วยคนที่ไม่ได้เล่น facebook (ไม่มี account ของ facebook) ก็สามารถเปิดหน้าเพจของเราได้ ซึ่งต่างจาก group เพื่อนๆ ต้อง log in ก่อนถึงจะเข้าดูข้อมูลข้างในได้ อีกความสามารถหนึ่งที่น่าสนใจคือ สมาชิกสามารถสร้างอัลบั้มรูปและแชร์รูปภาพได้มากมาย ซึ่งใน group เองเราโพสได้ทีละ 1 รูปเท่านั้น

ความสามารถต่างๆ ของ page ถือว่าดีมากๆ จุดประสงค์อีกอย่างที่ผมเปิด page นี้คืออยากให้คนภายนอกได้เห็นความร่วมมือและกระบวนการในการพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย คนนอกไม่เคยรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เราจะได้ใช้พื้นที่บนหน้า page นี้อธิบายว่าห้องสมุดหรือบรรณารักษ์มีอะไรมากกว่าที่ทุกๆ คนคิด

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเหตุผลคร่าวๆ ว่าทำไมผมถึงต้องเปลี่ยนจาก group เป็น page
แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าถึงจะมี page แล้ว แต่ผมก็จะไม่ปิด group หรอกครับ

เพราะอย่างน้อยก็ยังมีเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกมากมายให้เพื่อนๆ อ่าน

เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอฝาก Facebook Page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย ด้วยนะครับ
อย่าลืมเข้ามากด Like กันเยอะๆ นะ http://www.facebook.com/THLibrary

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 1
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2554

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้วนะครับ
แต่ในช่วงนั้นผมหยุดเขียนบล็อกก็เลยไม่ได้เอามาลง ตอนนี้เริ่มกลับมาเขียนใหม่จึงขอลงย้อนหลังให้
เอาเป็นว่าเล่มนี้ก็เป็นเล่มแรกของปีที่ 4 นับว่าอยู่คู่กับบล็อกผมมานานจริงๆ

เรื่องเด่นของเล่มนี้ก็อยู่ที่บทสัมภาษณ์ของห้องสมุดมีชีวิตอันดับหนึ่งของไทย
นั่นก็คือ ห้องสมุดอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นั่นเองครับ

เอาเป็นว่าเกริ่นมาเยอะแล้ว เราไปดูเนื้อหาในฉบับนี้กันดีกว่า

เรื่องจากปก : บทสัมภาษณ์บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอขุขันธ์

บทสัมภาษณ์ : คุณสมพงษ์ เจริญศิริ ผู้พัฒนาโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ULibM

บทความ : หนังสืออิเลคทรอนิกส์ด้านการเกษตรเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บทความ : แปลงร่างตู้บัตรรายการเป็นตู้รับจดหมายด้วยเทคนิคเดคูพาจ (D?coupage)

บทความ : อาสาทำดีเพื่อพ่อ

บทความ : เปิดบ้านห้องสมุดหนังสือหายากของจุฬา

บทความ : ห้องสมุดศิลปะ ( Art Library)

พาเที่ยว : ห้องสมุดประชาชน Deichmanske Bibliotek

แนะนำฐานข้อมูล : CAB Direct

เรื่องแปล : หนังสือเล่มโตจริง ๆ

เรื่องแปล : ห้องสมุดดิจิทัลจอห์น เอฟ. เคนเนดี้

เป็นยังไงกันบ้างครับกับสาระที่มาเต็มๆ แบบนี้ ยังไงก็ลองอ่านดูกันนะครับ
สำหรับฉบับนี้ก็จบไว้เท่านี้ดีกว่า ไว้ติดตามดูฉบับหน้าอีกทีนะ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (Librarians’ Licensure)

คำถามในเรื่องวิชาชีพที่หลายๆ คนอยากรู้เรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ซึ่งผมเองก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกันว่า ทำไมวิชาชีพของเราจึงไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้อาจจะอ้างอิงจากประเทศฟิลิปปินส์นะครับ แต่ก็เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเหมือนกัน


เรื่องของเรื่องผมตามอ่านบล็อก filipinolibrarian มาสักระยะหนึ่งแล้ว
และพบบทความชื่อเรื่องว่า “Librarians’ Licensure Examination 2010: Results

ซึ่งเมื่อเข้าไปอ่านแล้ว ผมก็พบข้อมูลว่า
“ผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ในปี 2010 มีคนผ่าน 27% (191 จาก 699 คน) ซึ่งน้อยกว่าปี 2009 ซึ่งมี 30% ที่ผ่าน”

เพียงแค่ประโยคนี้ประโยคเดียวมันก็ทำให้ผมสนใจเรื่องนี้มากขึ้นแล้ว “เรื่องใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์”
ในประเทศฟิลิปปินส์บรรณารักษ์ที่จะประกอบวิชาชีพได้ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้นนะครับ
คนที่ไม่มีใบอนุญาตแล้วทำงานบรรณารักษ์ถือว่าผิดกฎหมายด้วย

ซึ่งแตกต่างจากประเทศของเรานะครับ “เอาใครก็ได้มาเป็นบรรณารักษ์”
เมื่อได้ “ใครก็ได้” มาทำงาน “มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ผมว่าเพื่อนๆ หลายคนคงรู้นะครับ

แต่ก็มีหลายๆ คนคงคิดต่อไปอีกว่า แล้วในประเทศฟิลิปปินส์เขาไม่ถกเถียงกันเรื่องนี้บ้างหรอ
จริงๆ แล้วมีการถกเถียงเรื่องนี้กันมากๆ เลย ลองอ่านได้จาก “Unlicensed Librarians and R.A. 9246

เอกสาร R.A. 9246 คือ กฎหมายหรือบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวิชาชีพบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ออกมาตั้งแต่ปี 2004
(ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.congress.gov.ph/download/ra_12/RA09246.pdf)

ตัวอย่างบทบัญญัติที่น่าสนใจ

SECTION 31. Employment of Librarians. ? Only qualified and licensed librarians shall be employed as librarians in all government libraries. Local government units shall be given a period of three (3) years from the approval of this Act to comply with this provision.

SECTION 32. Penal Provisions. ? Any person who practices or offers to practice any function of a librarian as provided for under Section 5 of this Act who is not registered and has not been issued by the Commission a Certificate of Registration and Professional Identification Card, or a temporary license/permit or who violates any of the provisions of this Act, its Implementing Rules and Regulations, shall, upon conviction, be penalized by a fine of not less than Thirty thousand pesos (P30,000.00) nor more than One hundred thousand pesos (P100,000.00), or imprisonment of not less than one (1) month nor more than three (3) years at the discretion of the court.

นอกจากนี้สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้าไปเป็นบรรณารักษ์ในฟิลิปปินส์ ในบทบัญญัติก็กล่าวไว้ว่าต้องสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นกัน เป็นไงกันบ้างครับแรงไปหรือปล่าว แต่เหตุผลหลักๆ ที่เขาปฏิบัติกันมาเช่นนี้เพราะเขาต้องการรักษามาตรฐานความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์ นั่นเอง

สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ที่ฟิลิปปินส์ก็เปิดโอกาสนะ แต่ต้องไปเรียนหรือเข้าคอร์สตามมหาวิทยาลัยที่รับรองมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งจะมีประกาศออกมาทุกปี ดูได้จากตัวอย่างนะครับ “The Best and the Worst LIS Schools, 2007-2009.”

Librarian Licensure Examination 2009

ขอสรุปแบบคร่าวๆ เลยแล้วกันครับว่า “หากบรรณารักษ์ไทยอยากมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” บ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– สภาวิชาชีพบรรณารักษ์
– สภาทนายความ
– วุฒิสภา
– มหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรบรรณารักษ์
– ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
ฯลฯ

ซึ่งถามว่า “ยากมั้ย”? คำตอบ “ยากครับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้”
เอาเป็นว่าก็ขอเอาใจช่วยลุ้นก็แล้วกันนะครับ (ใจจริงอยากให้มีนะ วงการห้องสมุดจะได้พัฒนากันมากกว่านี้)

คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ไม่ได้อัพเดทบล็อกตัวเองนานมากๆ เพราะมีอะไรหลายๆ เรื่องเข้ามารบกวน
วันนี้ได้โอกาสเข้ามาอัพเดทเลยอยากเขียนถึงจุดกำเนิดของบล็อกเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ปล. บทความนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ในวารสาร “โดมทัศน์” ของธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2
ชื่อบทความว่า “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub

เอาเป็นว่าใครหาอ่านจากตัวเล่มไม่ได้ก็อ่านได้บนบล็อกผมเลย ด้านล่างนี้เลยครับ

“คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub”

มีคนเคยบอกผมว่า ?หากเราไม่เริ่มที่จะทำอะไรสักอย่าง สิ่งๆ นั้นก็จะไม่มีทางเกิด….? เมื่อผมได้ฟังประโยคนี้แล้ว ผมได้หันกลับมามองย้อนการทำงานของตัวเอง ในช่วงนั้นผมเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตำแหน่งเล็กๆ ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง ผมถามตัวเองว่า ?ทำไมวงการบรรณารักษ์ถึงไม่มีศูนย์กลางของข่าวสารด้านวงการห้องสมุดเลย หรือ ทำไมถึงหาบทความอ่านเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์ยากจัง? เมื่อคิดแล้วในสมองของผมมันก็ตอบกลับมาว่า ?จริงๆ เราน่าจะมีเว็บไซต์เพื่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์บ้างนะ? นี่คือความคิดเล็กๆ ในวันนั้นที่ทำให้มีเว็บไซต์ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ในวันนี้

เริ่มคิด…เริ่มค้นหา…

ใครๆ ก็คิดว่าอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายๆ คนเจอ คือ ไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมและไม่มีความรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ ผมเองก็ประสบปัญหาเดียวกันครับ เมื่อตั้งโจทย์ขึ้นว่าอยากมีเว็บไซต์แต่ทำเว็บไซต์ไม่เป็น ที่พึ่งหนึ่งของผมก็คือห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลเรื่องการสร้างเว็บไซต์เริ่มต้นขึ้นผ่านไปหนึ่งเดือนหนังสือหลายเล่มที่อ่านจบไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย การเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ก็เป็นเพียงแค่รูปแบบที่ทำให้ผมจินตนาการเว็บไซต์ส่วนตัวให้ดูอลังการมากมายแต่ทำไม่ได้จริง เมื่อใกล้พบกับความสิ้นหวังก็มีแสงสว่างหนึ่งปรากฎขึ้นมา ผมได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งในเว็บไซต์และรู้ว่าเขาสามารถทำเว็บไซต์ได้จึงขอคำปรึกษา ซึ่งเขาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึงแนะนำคำว่า ?บล็อก (Blog)? ให้ผมรู้จัก

ช่วงนั้นมีบล็อกมากมายที่ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ เช่น Gotoknow, Exteen, OKnation, Blogspot, WordPress ฯลฯ ผมจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไปเล่นและใช้งานบล็อกหลายๆ ที่ และสิ่งที่ทำให้ผมรู้ คือ การเขียนบล็อกมันง่ายจริงๆ แทบจะไม่ต้องเข้าใจเรื่องการเขียนโปรแกรมเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ จากบล็อกต่างๆ เหล่านั้น ผมจึงเลือกWordpress เพื่อใช้เป็นบล็อกหลักของผม

ชื่อบล็อกสำคัญไฉน

เพื่อให้ทุกคนรู้จักบล็อกของเรา สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ ชื่อบล็อก การตั้งชื่อบล็อกมีแนวทางในการเลือกชื่อบล็อกมากมาย เช่น เอาชื่อหน่วยงานตัวเอง เอาชื่อจริงของตัวเอง หรือแม้กระทั่งการเอาชื่อนามปากกาของตัวเองมาใช้ ซึ่งสำหรับผมแล้วการใช้ชื่อ Projectlib ดูเหมือนว่าจะเป็นชื่อที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เนื่องจากบล็อกของผมไม่ได้สังกัดใครดังนั้นจึงไม่มีชื่อหน่วยงาน และการเอาชื่อจริงมาใช้ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีคนนำชื่อจริงผมไปจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์และการสื่อสาร ผมจึงเลือก Projectlib มาใช้ด้วยความหมายว่า Project หมายถึง โครงการ และ Lib มาจาก Library ซึ่งหมายถึงห้องสมุด เมื่อนำมารวมกันเป็น Projectlib นั่นหมายถึงโครงการสำหรับห้องสมุดนั่นเอง

หัวใจของการสร้างชุมชนแห่งนี้

เมื่อได้พื้นที่ในการเขียนและได้ชื่อบล็อกในการสื่อสาร สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออุดมการณ์ในการเขียนบล็อก ซึ่งเรื่องนี้ผมเขียนในบล็อกของผมเองหลายครั้งแล้ว และก็ขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกครั้ง เพราะนี่คือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub 10 ข้อนี้เป็น 10 ข้อจากใจผม ซึ่งมีดังนี้

1. วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดในประเทศไทยต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม
3. การนำสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวมาประยุกต์ใช้การทำงาน เช่น การนำ MSN มาใช้เพื่อตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ
4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น
5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพลักษณ์บรรณารักษ์ยุคใหม่
6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย
7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย
8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ
10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก

เขียนบล็อกไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในการเขียน ชื่อบล็อกและอุดมการณ์ของบล็อก เรื่องยากที่หลายๆ คนชอบพูดถึงก็คือ ?แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงในบล็อก? คำแนะนำต่อจากนี้ก็มาจากเพื่อนผมอีกเช่นกัน เพื่อนผมบอกว่า ?ให้เราคิดว่าบล็อกก็เหมือนไดอารี่เล่มหนึ่งของเรา เราอยากเขียนอะไรลงไปก็เขียนได้ จะเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันก็ได้ เอารูปมาลงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นทางการมากก็ได้? เพียงแค่นี้แหละครับทำให้ความคิดผมมองการเขียนบล็อกว่าง่าย ผมจับเอาเรื่องการทำงานในแต่ละวัน ข่าวสาร และความคิดเห็นของผมใส่ลงไปในบล็อกทุกวัน วันแรกๆ อาจจะเขียนแค่สามสี่บรรทัด พอผ่านไปสักเดือนผมก็สามารถเขียนได้มากขึ้นเรื่อยๆ เอง

ตัวอย่างแนวทางในการเขียนเรื่องในบล็อก Projectlib และ Libraryhub

– นำบทความจากบล็อกบรรณารักษ์ ห้องสมุดต่างประเทศมาแปล
– ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานเสวนา สัมมนา ที่เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์ ห้องสมุด หรืองานอื่นๆ ที่น่าติดตาม
– แนะนำห้องสมุดที่ผมไปเยี่ยมชมด้วยการถ่ายรูปและเล่าเรื่องราวห้องสมุด
– ตำแหน่งงานห้องสมุดก็สามารถนำมาเขียนเป็นเรื่องเป็นราวได้
– เทคโนโลยีที่ห้องสมุดและบรรณารักษ์ควรติดตาม
– คลิปวีดีโอจาก Youtube ที่พูดถึงวงการห้องสมุด
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นนะครับ อย่างที่บอกคือเราสามารถเขียนได้ทุกเรื่อง ขอแค่เราฝึกและเขียนบ่อยๆ เราก็จะชินไปเอง

เครื่องมือฟรีๆ บนโลกออนไลน์ที่ช่วยให้คนรู้จักเครือข่ายของเรา

เมื่อเรามีบล็อกส่วนตัวแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราอยากทำให้มันเกิดคือการให้คนอื่นได้เข้ามาอ่าน และเข้ามาแสดงความคิดเห็น ยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะถือว่าเราได้ฝึกฝีมือเราไปเรื่อยๆ ซึ่งเครื่องมือฟรีๆ ที่ผมนำมาใช้สร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ ได้แก่

– จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มีไว้สำหรับการอัพเดทข่าวสารความเคลื่อนไหวของบล็อกให้เพื่อนๆ ติดตาม
– MSN / Gtalk มีไว้สำหรับสนทนาออนไลน์ และตอบคำถามออนไลน์กับเพื่อนๆ สมาชิก
– Skype มีไว้สนทนาออนไลน์และประชุมงานออนไลน์ (คุยเป็นกลุ่มเครื่องมือนี้ขอแนะนำ)
– Hi5 ? Librarian in Thailand มีไว้รวบรวมกลุ่มบรรณารักษ์ที่เล่น hi5
– Facebook มีไว้พูดคุย ตอบคำถาม ประชาสัมพันธ์เรื่องราวของบล็อก (กระแสกำลังมาแรง)
– Twitter มีไว้กระจายข่าวสารให้เพื่อนๆ นอกวิชาชีพได้เข้าใจถึงงานห้องสมุดและบรรณารักษ์
– Slideshare มีไว้เผยแพร่สไลด์ไฟล์นำเสนอในงานเสวนาต่างๆ ซึ่งเป็นสไลด์ที่ผมทำเอง

นี่ก็เป็นเพียงเครื่องมือฟรีๆ ส่วนหนึ่งที่ผมใช้อยู่ และเครื่องมืออีกส่วนที่ไม่ได้กล่าวจริงๆ ก็ยังมีอยู่อีกมาก ซึ่งหากเพื่อนๆ มีเวลาก็ลองเข้าไปอ่านในบล็อกของผมต่อได้ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ดังนั้นบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ควรจะตามให้ทันด้วย

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จาก Projectlib สู่บ้านใหม่ Libraryhub

หลังจากที่ดำเนินการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ได้ระยะหนึ่ง บล็อก Projectlib ที่อาศัยของฟรีอย่างเดียวก็มีความต้องการที่จะสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้สมบูรณ์ขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงมีการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนชื่อ การย้ายพื้นที่ของบล็อก ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ต้องมีการลงทุน (เสียค่าใช้จ่าย) โดยหลังจากที่ปรึกษาพี่ๆ ในวงการเว็บไซต์หลายคน ผมจึงได้ข้อสรุปในการลงทุนครั้งนี้

จะสังเกตได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย 1 ปีเพียงแค่ 700 บาทซึ่ง คิดเฉลี่ยแล้ววันละไม่ถึง 2 บาท เป็นการลงทุนที่ไม่มากเกินไปหรอกครับ เทียบกับผลที่ได้แล้วมันคุ้มกว่ามาก ได้ความเป็นส่วนตัวของบล็อก แถมยังเพิ่มลูกเล่นให้บล็อกเราได้อีกมากมาย

กิจกกรมจากโลกออกไลน์สู่โลกแห่งความเป็นจริง

นอกจากกิจกรรมออนไลน์แล้ว ผมให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมบนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น

– งาน Libcamp คืองานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ ซึ่งปีที่แล้วจัดไป 3 ครั้ง งานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหลายๆ องค์กร ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แถมยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ด้วย
– งานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีหลายองค์กรชวนผมไปช่วยจัด ก็ได้รับความสนใจจากคนในองค์กรต่างๆ เข้าร่วมอย่างดี
– ตัวกลางในการรับบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดที่ยังขาดแคลนหนังสือ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนะครับ ผมให้ความสำคัญทั้งกิจกรรมออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้ละเลยกิจกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย

อนาคตและทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ในอนาคต การเพิ่มบทบาทของเครือข่ายต่อวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจะมีเพิ่มขึ้น โดยอาจจะทำความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวกับการพัฒนาวงการห้องสมุด เช่น สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติ หรือองค์กรอื่นๆ ซึ่งการสร้างเครือข่ายและร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นสิ่งที่วิชาชีพกำลังต้องการในตอนนี้ นอกจากการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแล้ว กิจกรรมสู่ภูมิภาคจะมีมากขึ้นด้วยเนื่องจากสมาชิกของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ซึ่งมีกระจายตัวอยู่หลายจังหวัด และช่วงนี้มีแผนที่จะเขียนหนังสือสำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะมีหนังสือออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

บทสรุปแห่งความสำเร็จ

ความสำเร็วของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ผมคงไม่วัดด้วยการบอกว่ามีจำนวนเรื่องที่เขียนและสมาชิกมากเท่าไหร่ แต่ความสำเร็จที่ผมได้จากการเขียนและสร้างชุมชนแห่งนี้คือ การที่วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดตื่นตัวกันเรื่องการพัฒนามากกว่า จากสามปีที่แล้วที่ผมเปิดบล็อกในช่วงนั้นผมแทบจะหาคนที่เขียนเรื่องห้องสมุดไม่ได้ จนวันนี้ห้องสมุดหลายๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเว็บไซต์และบล็อก เพียงเท่านี้แหละครับผมก็พอใจมากแล้ว

บทความที่จะทำให้รู้จักผมเพิ่มเติม

เจ้าของบล็อก projectlib.wordpress.com – http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO7/projectlib.html
Projectlib – Librarian 2.0 – http://tag.in.th/interview?show=projectlib
มาทำความรู้จักกับเจ้าของ Libraryhub – http://www.libraryhub.in.th/my-portfolio/

เอาเป็นว่าหากอ่านบนบล็อกแล้วรู้สึกว่ามันยาวเกินไป ผมก็อนุญาติที่จะให้เพื่อนๆ ดาวน์โหลดแล้ว print ไปอ่านครับ
โหลดได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/04/Projectlib-Libraryhub.pdf

เอาเป็นว่าก็หวังว่าจะเป็นการกลับมาอีกครั้งที่เพื่อนๆ จะให้การต้อนรับผมนะ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนมกราคม 2554

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนมกราคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกเงียบเหงามากๆ เลย ไม่รู้ว่ามีใครยังอ่านอยู่บ้าง
แต่ช่างเถอะครับ ผมเขียนเพราะอยากเขียน ใครอยากอ่านก็อ่านแล้วกัน

เดือนมกราคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 3% – เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
2. 3% – โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)
3. 2% – เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4. 2% – คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)
5. 2% – Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น
6. 2% – สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. 2% – ม.ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ รับบรรณารักษ์
8. 2% – ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
9. 1% – วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010
10. 1% – วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

สำหรับเดือนกุมภาพันธ์เรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มีนาคมนะครับ

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดรับบรรณารักษ์ (ลูกจ้างชั่วคราว)

นายห้องสมุดขอแนะนำตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่กำลังจะเปิดรับสมัครนะครับ
เป็นงานบรรณารักษ์ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังนะครับ

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7,940 บาท + ค่าครองชีพ 1,500 บาท
สถานที่ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ ก่อนว่า “ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน” คืออะไร
ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน = ประเมินผลทุกเดือนถ้าผ่านก็ต่อสัญญา (ประเมินผลรายเดือนจากต้นสังกัด)

ตำแหน่งงานนี้นอกจากได้เงินเดือนปกติแล้วยังได้ค่าครองชีพเพิ่มเติมด้วยนะ
แต่ต้องขอบอกก่อนนะว่าไม่มีสวัสดิการอย่างอื่นๆ ให้อ่ะ

คุณสมบัติของคนที่อยากสมัครตำแหน่งนี้ ก็คือ
– จบปริญญาตรีบรรณารักษ์ฯ
– ใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

ตำแหน่งนี้รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 54 และก็สอบวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 54 นะ
เรื่องของการสอบก็เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ นั่นแหละครับ คือ สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าใครได้คะแนนมากกว่า 60% ก็ถือว่าผ่าน และก็หน่วยงานจะขึ้นบัญชีไว้สองปี
ใครได้คะแนนมากที่สุดก็จะโดยเรียกมาทำงานก่อนนะครับ

ใครสนใจงานนี้ก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=Content&file=contentview&contentID=CNT0006293&categoryID=CAT0000011

และเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=506

เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นแรงใจให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 4/2554

กลับมาแล้วครับสรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมแล้ว
วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีความเคลื่อนไหวเยอะมากๆ เลย (กลุ่มบรรณารักษ์เริ่มคึกคัก)

หน้าที่ของผมก็คงหนีไม่พ้นการนำประเด็นต่างๆ มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเช่นเคย
สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 -28 มกราคม 2554) เรื่องราวเด่นๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีอะไรบ้าง ติดตามชมได้เลย

– Link : เส้นทางสายขนานระหว่างหลักสูตร “บรรณารักษศาสตร์”กับอาชีพ “ครูบรรณารักษ์” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110122/entry

– Link : แนวการแก้ปัญหาการขาดแคลน”ครูบรรณารักษ์” เบื้องต้น = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry

– Link : โครงการ World Book Night = http://www.worldbooknight.org/

– Link : เว็บไซต์ห้องสมุด Edinburgh = http://www.edinburghlibrariesagency.info/

– Link : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบใหม่กับแนวคิด Let?s Get Lyrical = http://www.cityofliterature.com/ecol.aspx?sec=6&pid=769

– “ขอคำแนะนำเรื่องหัวข้อในการจัดโครงการยอดนักอ่านในเดือนกุมภาพันธ์” มีผลสรุปดังนี้
– เรื่องอาชีพหรือเส้นทางความใฝ่ฝันในอนาคต
– หนังสือกับแรงบันดาลใจในความสำเร็จ

– Link : (ร่าง)หลักสูตรครูบรรณารักษ์ (กศ.บ) = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry-1

– ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบรรณารักษ์ นักรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมงานสมัชชาการอ่าน Bangkok Read for Life ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


– Link : โครงการ Creative Cites Network =
http://www.cityofliterature.com/index.aspx?sec=1&pid=1
เป็นเว็บที่น่าสนใจมาก “โครงการ Creative Cites Network โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม สุนทรียะ การท่องเที่ยว ให้กับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยหนึ่งในโครงการดังกล่าวคือ City of Literature หรือการเนรมิตเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองวรรณกรรม”

– Link : Book Saver อุปกรณ์สำหรับคนรักหนังสือ =
http://www.ionaudio.com/booksaver

– ประชาสัมพันธ์ : 25 – 26 มกราคม บรรณารักษ์กรุงเทพฯและปริมณฑล อบรมที่นานมีบุ๊คส์

– คำขวัญหรือคำคมเกี่ยวกับการอ่าน ลองเข้าไปดูที่ http://pakdeelibrary.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=290075

– เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ “ในบางครั้งผู้บริหารมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแหกกฏกับสำนวนที่ว่า Put the right man on the right job” มีผลสรุปดังนี้
– เลือกคนทำงานให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงงานนั้นด้วยจึงจะเลือกคนได้ถูกต้องเช่นกัน
– “ผู้บริหารไม่เข้าใจบรรณารักษ์” และ “ทำงานกับบรรณารักษ์ลำบากมาก เพราะพูดไม่รู้เรื่อง” ประโยคต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้างครับ? มันเป็นเพียงคำบ่นหรือคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเสมอๆ หากหน้าที่ของผู้บริหารคือยกระดับการให้บริการของสภาบันสารสนเทศแล้ว หน้าที่ของบรรณารักษ์ก็คือสนับสนุนการให้บริการด้วยความรู้และทักษะที่เรามี
– บรรณารักษ์อย่างพวกเรา “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น
– การหางานที่เหมาะสมกับคนมันยากก็จริง จนบางครั้งงานบรรณารักษ์มันต้องใช้สำนวนนี้แทน “Put the right man on the “หลาย” job”

– จากประโยคเด็ดในประเด็นเมื่อกี้ “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น” แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรที่จะเข้าใจผู้ใช้บริการ มีผลสรุปดังนี้
– ทำสำรวจหรือแบบสอบถาม และที่สำคัญไม่ว่าผู้ใช้จะตอบหรือแสดงความคิดเห็นกลับมาแรงๆ อย่างไร เราต้องเปิดใจรับกับสิ่งที่ผู้ใช้คิดด้วย

– Link : มหานครแห่งการอ่าน กทม. ชู 5 ยุทธศาสตร์เสนอยูเนสโก = http://hilight.kapook.com/view/55570

– “อยากรู้ว่าตอนที่บอกที่บ้านหรือคนอื่นๆว่าเรียนบรรณารักษ์ คนรอบข้างมีปฏิกิริยายังไงกันบ้าง” มีผลสรุปดังนี้

– ที่บ้านไม่รู้จักวิชาบรรณารักษ์ นอกจากนี้ยังไม่รู้จักคณะอักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ (เพราะสองคณะนี้เด่นเรื่องภาษามากกว่า)
– พ่อบอกว่า “เรียนแล้วรับรองว่าไม่ตกงาน เพราะเรียนเกี่ยวกับข้อมูล” แค่นั้นแหละเลือกเลยจ้า แล้วก็ไม่ตกจริงๆ
– ต้องอธิบายสักหน่อยว่ามันคือวิชาเกี่ยวกับอะไร พ่อแม่ถึงเข้าใจ
– พ่อแม่มีถามๆว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จบแล้วมีงานทำมั้ย แต่ไม่ขัดขวางอะไร บอกแค่ว่า เอาตัวให้รอดละกัน
– ไม่สำคัญหรอกครับว่า “เรา” จะเรียนอะไร? หรือ “ใคร” จะคิดอย่างไร? แต่ที่สำคัญกว่าคือ “เรา” มีความรู้ ความสามารถ ใช้ในการประกอบอาชีพ เลี้ยงชีวิตได้ ไปจนตาย

– ประชาสัมพันธ์ : “กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 หรือ Libcampubon#1 จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี”

– Link : IFLA Asia Oceania Newsletter = http://www.ifla.org/files/asia-and-oceania/newsletters/december-2010.pdf

– ขอชื่นชม : “ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลรองขนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท จากการเข้าประกวดตามโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี”

ปล. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำตัวเองและประชาสัมพันธ์รับสมัครงานผมไม่ขอนำมาไว้ในสรุปนี้นะครับ เนื่องจากงานบางตำแหน่งอาจรับไปแล้ว

จะสังเกตได้ว่าอาทิตย์นี้มี link แนะนำเยอะมากๆ เลย และทุกๆ link ก็น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นที่พวกเราช่วยกันตั้งเลย เอาเป็นว่าหากสนใจ link ไหนเป็นพิเศษก็ลองเข้าไปดู link นั้นเลย แล้วถ้าได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มก็นำมาเสนอในกลุ่มใของพวกเราได้นะครับ

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนไว้เจอกันในสัปดาห์หน้า