บรรณารักษ์ผู้ชายไม่จำเป็นต้องเป็นเกย์นะ

เรื่องนี้เขียนแล้ว เขียนอีก และเขียนหลายครั้งแล้วด้วย ไม่เข้าใจว่าทำไมยังคงได้ยินอยู่เรื่อยๆ
ประเด็นมันคือเรื่อง ?ปัญหาการมองบรรณารักษ์เพศชายว่าต้องเป็นเกย์หรือกระเทยเท่านั้น?

เรื่องนี้ผมเขียนไปปีที่แล้วนะครับ แต่วันนี้ก็ยังคงมีคน MSN มาถามผมอีกว่า “เป็นผู้ชายแท้หรือปล่าว
เอิ่ม การเป็นผู้ชายแล้วชอบเรื่องห้องสมุดหรือบรรณารักษ์จำเป็นต้องไม่ใช่ชายแท้ด้วยหรอครับ

ไม่รู้ว่าจะต้องให้ผมพูดย้ำกันอีกสักกี่ครั้งว่า…
ทุกๆ อาชีพในปัจจุบันเขาก็เท่าเทียมกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม
ดูอย่างทหาร หรือตำรวจสิ ยังมีผู้หญิงเป็นเลย แล้วคนเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นทอมด้วยซ้ำ
แต่พอผู้ชายทำอาชีพบรรณารักษ์ทำไมต้องมองว่าเป็นชายไม่แท้ เป็นเกย์ หรือเป็นกระเทยด้วยหรอ
เฮ้อออออ!!!! อยากจะจับไอ้พวกเข้าใจผิดเรื่องแบบนี้ มานั่งฟังอบรมจิงๆ มันน่านัก?

บทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์กับผู้ชาย เขาคงไม่เคยอ่านมั้งครับ
งั้นแนะนำให้ไปอ่านเรื่อง “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?”

แล้วก็ขออธิบายอีกสักเรื่องด้วยว่า การที่คนเหล่านั้นมีอยากเป็นเพศอื่น
เช่น เป็นเกย์ กระเทย ทอม ดี้ ตุ๊ด แต๋ว หรือจะเรียกอะไรก็เรียก
พวกเขาก็ไม่ได้มีความผิดอะไรหรอก เขาก็เป็นคนเหมือนกัน

ทุกคนก็ มีมือ มีเท้า มีจิตใจ มีสมองทำงานได้ก็เหมือนทุกคนนั่นแหละ
ดังนั้นอย่าพยายามไปกีดกั้นสิทธิเสรีภาพของพวกเขาเลยครับ
บางทีเราต้องให้เขาพิสูจน์ในความสามารถในการทำงานน่าจะดีกว่า

เอาเป็นว่าเรื่องมันไม่เป็นเรื่องเลยนะครับ….

ปล. เรื่องบรรณารักษ์กับเพศชายผมเคยเขียนไปแล้ว ลองอ่านได้ที่ “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?” ดูนะครับ
แล้วจะรู้ว่าไม่ว่าจะเพศอะไรก็สามารถทำงานบรรณารักษ์หรือห้องสมุดได้แหละ

ผู้หญิงส่วนใหญ่หงุดหงิดกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย

เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเข้าใจความอาร์ทของผู้หญิงดี
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องราวอาร์ทๆ ของผู้หญิงในแง่ของโลกไอทีกันบ้าง

ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care
ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care

ก่อนอื่นต้องขอนำผลการสำรวจจากนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งชายและหญิงวัยทำงานจำนวน 3,812 คน
ซึ่งผลการสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะหงุดหงิดเกี่ยวกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย”

เราลองไปดูตัวอย่างคำถามในและผลการสำรวจกันหน่อยดีกว่า

1. Frustrated by slow load times for web pages
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับความช้าของการโหลดเว็บไซต์)
ผู้ชายมีจำนวน 56 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 66 %

2. Frustrated by ads on the Internet
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต)

ผู้ชายมีจำนวน 47 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 52 %

3. Frustrated by keeping track of multiple passwords
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการใส่รหัสผ่านมากๆ)

ผู้ชายมีจำนวน 32 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 34 %

4. Frustrated when their computer crashes
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการผิดพลาดของคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 77 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 85 %

5. Frustrated if their broadband connection doesn?t reach the promised speed
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการ เชื่อมต่อไม่เป็นไปตามความเร็วที่กำหนดไว้)

ผู้ชายมีจำนวน 48 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 56 %

6. Frustrated by (interacting with) computer support
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับฝ่ายเทคนิคในการดูแลคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 38 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 42 %

ดังนั้นจากการสรุปผลทั้งหมด เราจะพบว่าอัตราความหงุดหงิดของผู้หญิงชนะไปที่
ผู้ชายมีจำนวน 49.7 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 55.8 % นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับ คุณผู้หญิงทั้ง หลายเมื่ออ่านจบก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดนะครับ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลสำรวจในสวีเดน แต่ผมเชื่อว่าของคนไทยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

ว่าแต่คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่า ข้อมูลนี้ถูกหรือปล่าว?

ข้อมูลสนับสนุนจาก http://royal.pingdom.com/2008/07/09/women-more-frustrated-by-the-web/

ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ…

เพื่อนๆ หลายคนคงสงสัยและถามผมอยู่เสมอว่า “ทำไมผู้ชายถึงไม่ค่อยเรียนบรรณารักษ์”
หรือไม่บางคนก็ถามว่า “วิชาชีพบรรณารักษ์ทำไมไม่ค่อยมีผู้ชาย” วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
เกี่ยวกับเรื่องมุมมองของคนส่วนใหญ่ต่อ อาชีพบรรณารักษ์ และ ผู้ชาย

librarian-male

เริ่มจากในสมัยที่ผมเรียนบรรณารักษืก่อนแล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ เชื่อหรือไม่ว่า 4 ปี รวมกันมีเพศชายแค่ 10 คนเท่านั้นเอง
ซึ่งถ้าเทียบกับสาขาวิชาอื่นๆ ถือว่าน้อยมากๆ

หลังจากที่ผมเรียนจบแล้ว ได้ไปสมัครงานบรรณารักษ์หลายๆ ที่
ผมมักเจอคำถามลักษณะนี้บ่อยมากว่า ?ผู้ชายแท้หรือปล่าว ทำไมถึงเลือกเรียนและมาเป็นบรรณารักษ์?
ตอนแรกผมก็อึ้งไปนิดหน่อยเพราะไม่คิดว่าเขาจะล้อเล่นได้แรงแบบนี้
แต่พอได้คุยกับหลายๆ คน ผมก็เริ่มเข้าใจครับว่า คงเป็นเพราะมุมมองของวิชาชีพหล่ะมั้ง

ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์เป็นอาชีพหนึ่งที่มีผู้หญิงทำงานเยอะ หรือมีค่านิยมในการทำงานนั่นเอง
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้หญิง เช่น พยาบาล บรรณารักษ์ ฯลฯ
อาชีพที่คนมองว่าเป็นอาชีพสำหรับผู้ชาย เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ

ขอเล่าต่อนะครับ ที่ทำงานบางแห่งถามผมว่า “ผู้ชายสามารถเป็นบรรณารักษ์ได้ด้วยหรอ”
ผมก็ตอบไปว่า ?ต้องทำได้สิครับ เพราะว่าผมเรียนจบมาด้านนี้ แถมมันก็เป็นอาชีพที่ผมรักด้วย ทำไมถึงจะทำไม่ได้?
เค้าก็ตอบว่า ?ผู้หญิงน่าจะเป็นบรรณารักษ์ได้ดีกว่าผู้ชาย? ตกลงมันเป็นแบบนี้จริงหรอ

นอกจากนี้ในใบประกาศรับสมัครงานขององค์กรบางแห่ง ได้มีการระบุว่ารับสมัครบรรณารักษ์ที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น
ผมก็แปลกใจว่าทำไมถึงต้องระบุคุณสมบัติว่า เฉพาะเพศหญิง บางทีองค์กรนี้อาจจะมีเหตุผลสักอย่าง ซึ่งผมยังไม่เข้าใจ

ที่ร้ายแรงกว่านั้นยังมีอีกกรณีหนึ่งครับ เนื่องจากผมมีเพื่อนที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลขององค์กรแห่งหนึ่ง
พอผมถามถึงเรื่องนี้ เขาก็ตอบว่า ?ก็เป็นปกติที่เวลารับบรรณารักษ์ เขาจะดูผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย?

ผมจึงถามต่อว่าทำไมหล่ะ ก็ได้คำตอบว่า
?เพราะว่าผู้หญิงทำงานละเอียดกว่าผู้ชาย และมีการบริการที่สุภาพ อ่อนโยน และดึงดูดผู้ใช้บริการได้?
เอาเป็นว่ายังไงๆ ถ้าองค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ องค์กรนี้จะรับบรรณารักษ์ผู้หญิงเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่กล่าวมาก็เป็นเพียงบางองค์กรเท่านั้นนะครับ

จริงๆ แล้วผมก็ไม่อยากจะพูดเรื่องนี้หรอกนะครับ แต่เพราะว่าในสิ่งที่เพื่อนผมตอบมาให้ฟังนั้น
บางทีผมก็รู้สึกว่าไม่เห็นด้วยสักเท่าไหร่หรอก เพราะ “เพื่อนชายบางคนที่ผมรู้จักเขาก็ทำงานแบบว่าละเอียดกว่าผู้หญิง” ก็มี
เรื่องการบริการ บรรณารักษ์ทุกคนที่เรียนมักจะถูกสอนมาอยู่แล้วว่าเราต้อง service mind อยู่แล้ว
ส่วนสุดท้ายผมคงเถียงไม่ได้ เนื่องจากเพศชายยังไงๆ ก็ไม่สามารถดึงดูดใครเข้าห้องสมุดได้
และอีกอย่างการจะดึงดูดใครเข้าห้องสมุดมันไม่ใช่แค่เรื่องว่าเพศหญิงหรือเพศชาย
แต่มันขึ้นอยู่กับภาพรวมของห้องสมุดว่าสามารถบริการและตอบสนองผู้ใช้บริการมากที่สุดหรือไม่

สรุปจากเรื่องนี้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชายก็สามารถทำงานบรรณารักษ์ได้ทั้งนั่นแหละ
และจะทำงานดีหรือไม่ดียังไง มันขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมการให้บริการของแต่ละคนไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเพศ

หมายเหตุก่อนจบ ผมยืนยันครับว่า ผมเป็นผู้ชาย 100% ที่ทำงานบรรณารักษ์นะครับ