ช่วงเทศกาลสอบปลายภาค ณ ห้องสมุด

ช่วงนี้หลายๆ สถาบันการศึกษา(โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย) เริ่มเข้าสู่ฤดูแห่งการสอบปลายภาคแล้ว
วันนี้จะมาขอเล่าเรื่องราวสมัยตอนที่ผมยังคงเป็นนักศึกาาให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันนะครับ

exam-library

นโยบายของห้องสมุดในบางที่ ที่พยายามเอื้อให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมานั่งอ่านหนังสือใช่วงสอบ
โดยอาจจะมีการขยายช่วงเวลาของการปิดทำการให้ดึกขึ้น หรือบางที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
เอาเป็นว่านี่คือสิ่งที่ดีครับ
อย่างน้อยผมก็คนนึงแหละที่ชอบอ่านหนังสือดึกๆ ในห้องสมุด

บางสถานศึกษาที่นักเรียน นักศึกษาไม่ชอบเข้าห้องสมุด
ช่วงเวลาสอบห้องสมุดนี่จะเงียบเหมือนป่าช้าเลย
จึงทำให้ห้องสมุดเหล่านั้นฉวยโอกาส ในช่วงของเวลาใกล้สอบปิดบริการก่อนกำหนดเวลา
เช่นจากเดิมที่มีการปิดให้บริการ 18.00 แต่ช่วงสอบปิด 16.00

อันนี้น่าเกลียดไปหรือปล่าว ผมคงไม่ต้องพูดนะครับ

ช่วงสอบนี้ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจากห้องสมุดบ้างหล่ะ
ผมขอนำเสนอมุมมองในฐานะที่ผมเป็นผู้ใช้บริการห้องสมุดแล้วกันนะครับ

สิ่งที่ผมต้องการจากห้องสมุด
1. ห้องที่สามารถใช้อ่านหนังสือได้ดึกกว่าเดิม (อันนี้หลายๆ ที่ก็ให้บริการดึกขึ้น)
เช่นจากเดิมห้องสมุดปิดบริการเวลา 21.00 น. แต่ในช่วงสอบจะปิดบริการเวลา 23.00 น.

2. ห้องที่ใช้ในการติวหนังสือ ยิ่งช่วงสอบขอบอกเลยว่าคนใช้บริการส่วนนี้เยอะมาก
บางที่ไม่มีการจัดการเรื่องคิว บางที่ไม่จัดการเรื่องเวลา
ผมอยากเสนอไอเดียแบบนี้แล้วกัน(บางที่ดีอยู่แล้วนะครับ) ห้องสมุดจะให้บริการห้องประชุมส่วนตัว
โดยกำหนดจำนวนผู้ใช้ขั้นต่ำ เวลาที่ให้บริการ มีตารางการใช้บอกชัดเจน

3. สามารถยืมหนังสือในช่วงสอบได้
อันนี้หลายๆ ที่ผมไม่ประทับใจเลยเนื่องจากพอช่วงสอบทีไรก็จะประกาศงดยืมทุกชนิด
ส่วนตัวผมเองเข้าใจนะครับว่า จำเป็นที่ต้องทำเช่นนี้
เอาเป็นว่าเสนอเล่นนะครับว่าในช่วงสอบก็ยังยืมได้ตามปรกติ แต่วันที่คืนคือวันสอบเสร็จวันสุดท้ายเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่ผมกล่าวมาเป็นเพียงแค่ความต้องการเล็กๆ จากผู้ใช้บริการอย่างผมแล้วกัน
ยังไงบรรณารักษ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานบริหารควรดูเรื่องนโยบายให้มากกว่านี้นะครับ

แล้วยังไงช่วงนี้ฤดูการสอบ สำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องสอบเหมือนกันก็ขอให้โชคดีกันทั่วหน้านะครับ

ผู้ใช้บริการห้องสมุดร้องไห้ เนื่องจากห้องสมุดถูกปิด

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าห้องสมุดประชาชนสำคัญต่อคนอเมริกายังไง
วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงอยากให้ดูมากๆ ครับ (คลิปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา)

man-cry-library

จากข่าวที่พูดถึงการปิดตัวเองของห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
สาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
ทำให้ผู้ใช้ลดลง ต้นทุนในการดูแลห้องสมุดสูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ห้องสมุดปิดนั่นเอง

เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอผู้ชายสูงวัยคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา
เมื่อทราบข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia นั่นเอง

ไปชมกันก่อนเลยนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=81_rmOTjobk[/youtube]

คำบรรยายของคลิปวีดีโอนี้
?One local man was brought to tears over the City of Philadelphia?s plan to close his neighborhood library to help fend off the city budget crisis.?

ข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia อ่านได้ที่
Free Library of Philadelphia Closing 11 of 54 Branches
ห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia ถูกปิด 11 แห่งจากทั้งหมด 54 แห่ง

สำหรับข่าวการปิดห้องสมุดในเมือง Philadelphia นี้
สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ห้องสมุดก็สามารถถูกปิดกิจการได้เช่นกัน

ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ห้องสมุดถูกปิด คือ
– ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มุ่งให้ความรู้และไม่หวังผลกำไร
– เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต
– การบริการแบบเก่าๆ ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากข่าวนี้ คือ
?หากเรายังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการห้องสมุดของเราก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกปิดกิจการเป็นรายต่อไป?

กลับมาที่เรื่องวีดีโอดีกว่า เพื่อนๆ คิดยังไงกับวีดีโอชุดนี้

สำหรับผมเห็นว่า ผู้ใช้ห้องสมุดในเมืองๆ นั้น มีความผูกพันกับห้องสมุดของเขาอย่างมาก
ถึงขนาดว่า พอรู้ข่าวก็ตกใจ และเสียใจกับห้องสมุดอย่างมากมาย
แสดงว่าห้องสมุดมีคุณค่า และความสำคัญต่อพวกเขามากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

10 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้องสมุดของคุณ

วันนี้ขอเขียนบทความที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการห้องสมุดบ้าง
เรื่องที่จะบอกต่อไปนี้ จะใช้วัดความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้ทุกๆ คน

library Read more

ห้องสมุดอนุญาติให้นำของกินเข้ามาได้นะ แต่…

บางห้องสมุดก็อนุญาติให้นำของกินเข้ามากินในห้องสมุดได้
แต่ต้องขอบอกนะครับว่า ไม่ได้อนุญาติทุกอย่าง
ของกินบางอย่างห้องสมุดก็โอเครับได้ แต่บางอย่างห้องสมุดก็ไม่โอเคนะครับ

food-in-library

จากรูปด้านบนนี้ เป็นไอเดียจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (University of Queensland)
ซึ่งในรูปนี้ได้แบ่งประเภทของอาหารและเครื่องดื่มที่อนุญาติ และไม่อนุญาติให้นำเข้ามาในห้องสมุด

จากในรูปผมขอสรุปออกมาเป็น

อาหารและเครื่องดื่มที่อนุญาติในนำมากินในห้องสมุด
– แซนวิส (Sandwiches)
– ซูชิ (Sushi)
– เค้ก (Cake)
– เครื่องดื่มที่มีฝาปิด (Covered drink)


อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่อนุญาติในนำมากินในห้องสมุด

– แฮมเบอร์เกอร์ มันฝรั่ง(Burger and Chips)
– พิชซ่า (Pizza)
– ก๋วยเตี๋ยว (Noodles)
– เครื่องดื่มแบบเปิด (Open drink)

ในรูปนี้ยังบอกพวกเราอีกว่า
?You may consume cold food and covered drinks?

นั่นก็หมายความว่าอาหารที่สามารถกินแบบเย็นๆ ได้ และเครื่องดื่มที่มีฝาปิดไม่ให้กลิ่นรบกวน
สามารถนำเข้ามารับประทานในห้องสมุดแห่งนี้ได้ทั้งหมด

ด้านล่างของรูปยังบอกอีกว่า
“but Please put all rubbish in the bins provided”
“กินเสร็จแล้วก็กรุณาทิ้งลงในถังที่ทางเราจัดเตรียมไว้ด้วยนะครับ”

สำหรับผม มองในเรื่องของการนำของกินมากินในห้องสมุดว่า
– ขนมคบเคี้ยวผมว่าก็น่าจะนำเข้าห้องสมุดได้
– ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต น่าจะเอามาได้ด้วย
– ถ้าไม่ใช่อาหารหนักมากๆ ก็น่าจะเอาเข้ามาทานได้
– เครื่องดื่มน่าจะได้ (แบบที่มีฝาปิดเหมือนที่เขาบอก)

สำหรับผมเพียงเท่านี้ก็ทำให้ผู้ใช้พอใจได้ในระดับหนึ่งครับ

แต่สิ่งที่ต้องระวัง และต้องควบคุมให้ดี คือ
– ถ้าผู้ใช้กินแล้วไม่รักษาความสะอาด เช่น ทำน้ำหวานหยด เศษขนมตกตามทาง
– กินขนมแล้วเคี้ยวเสียงดัง
– กินแล้วไม่ทิ้งลงถัง

ซึ่งจากสิ่งที่ต้องคำนึงเหล่านี้ ทำให้บรรณารักษ์หรือห้องสมุดหลายแห่งตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือ
?ไม่ให้นำอะไรก็ตามเข้ามากินในห้องสมุด (รวมถึงน้ำเปล่าด้วย)?

สุดท้ายนี้ก็คงต้องฝากเพื่อนๆ ให้ช่วยกันคิดเรื่องการนำของกินเข้ามาในห้องสมุดนะครับ ว่า
ของกินแบบไหนที่นำเข้ามากินในห้องสมุดได้ และ ของกินแบบไหนที่นำเข้ามากินในห้องสมุดไม่ได้
นอกจากนี้ยังต้องคิดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ขยะ กลิ่น เสียง และรบกวนผู้ใช้หรือไม่

ฝากไว้ให้คิดแต่เพียงเท่านี้นะครับ

พฤติกรรมของคนบางประเภทบนรถเมล์

ทุกๆ วันไม่ว่าผมจะเดินทางไปไหน ผมมักจะเลือกใช้บริการของรถเมล์เป็นหลัก
และทุกๆ ครั้งที่ผมใช้บริการบนรถเมล์ ผมก็มักจะเจอพฤติกรรมแปลกๆ มากมาย

ภาพรถเมล์จาก http://news.sanook.com/story_picture/picture/news/300823/2-2/2/
ภาพรถเมล์จาก http://news.sanook.com/story_picture/picture/news/300823/2-2/2/

เรื่องที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับผม
ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนพันธุ์นี้อยู่บนโลก

เรื่องมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่ผมเดินทางกลับบ้านวันนี้
บนรถเมล์ที่มีคนจำนวนพอสมควรยืนกันบ้างนิดหน่อย

รถเมล์ขับไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีชายแก่คนนึงและชายตาบอดเดินขึ้นมา
ชายทั้งคู่เดินขึ้นมาบนรถเมล์โดยที่ไม่มีใครสนใจและไม่มีใครมีน้ำใจลุกให้นั่งเลย

ผมสงสัยมากกว่าสังคมนี้เป็นไรไปแล้วเนี้ย
ทั้งๆ ที่คนที่นั่งแถวนั้นก็วัยรุ่นชายทั้งนั้น
แต่ไม่มีใครแสดงความเสียสละในการลุกเลย

ผมเองวันนี้ก็ไม่ค่อยสบาย รู้สึกปวดหัวอยู่นิดหน่อย
จึงต้องลุกเพื่อแสดงความเสียสละแทน

แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ทำให้ผมสะเทือนใจเท่ากับเหตุการณ์ต่อจากนี้
นั่นคือ ผมต้องยืนจนเกือบถึงบ้านผม ซึ่งอีกไม่กี่ป้ายก็ถึงบ้าน
ทันใดนั้น ผมก็ได้ยินคำพูดของชายสองคนสนทนากันว่า

?ดูสิคนที่ลุกให้คนตาบอดนั่น มันยืนตลอดทางเลย?
?เออ สมน้ำหน้ามัน ดันอยากลุกให้เขานั่งเองนี่ ช่วยไม่ได้?

ผมซึ้งและประทับใจกับคำพูดของคนที่ไร้น้ำใจคนนั้นมาก
น้ำใจคุณไม่มีแล้วจิตใจยังสกปรกอีก
แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ผมว่าไอ้คนพันธุ์นี้มันคงพิการทางใจ หรือสมองแน่ๆ

แต่ช่างเหอะครับ สักวันถ้าเขาแก่ลง หรือวันใดที่เขาพิการ
ผมก็หวังว่ากรรมคงตามสนองเขาบ้างนะ

ปล. วันนี้ขอคิดในด้านมืดสักวันนะครับ ทนไม่ได้จิงๆ

ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ดีควรจะ…

วันนี้ผมขอออกมาพูดให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดฟังบ้างนะครับ
คิดซะว่าผมพูดในฐานะบรรณารักษ์คนนึงก็แล้วกัน

librarybookmark

หลายครั้งบรรยากาศในห้องสมุดที่ผมพบ มันดูเหมือนจะไม่ใช่ห้องสมุด
สาเหตุก็เกิดจากการใช้บริการของผู้ใช้ส่วนหนึ่งที่ทำให้บรรยากาศของห้องสมุดถูกทำลาย เช่น
– การพูดคุยส่งเสียงดังในห้องสมุด
– การนำขนมมากินในห้องสมุด
– การนอนหลับในห้องสมุด (แล้วส่งเสียงกรนดังมาก)

ฯลฯ อีกมากมาย

ปกติห้องสมุดเกือบทุกที่จะติดประกาศเรื่องกฎระเบียบในการใช้ห้องสมุด
ซึ่งเนื้อหาภายในกฎระเบียบเหล่านั้นก็น่าจะเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว

เอาเถอะครับ งั้นผมขอทบทวนเรื่องนี้ให้ผู้ใช้บริการเข้าใจอีกสักทีก็ได้
พอดีผมเจอที่คั่นหนังสือที่ให้ข้อมูลเรื่องการใช้บริการของห้องสมุดที่สิงคโปร์
จึงอยากเอามาให้ผู้ใช้บริการหลายๆ คนได้อ่านกัน
รวมถึงเพื่อนๆ บรรณารักษ์สามารถนำข้อความเหล่านี้ไปติดประกาศไว้ในห้องสมุดของท่านก็ได้

ในที่คั่นหนังสือ มีข้อความดังนี้

1. Handle all library materials and facilities with care and respect
ผู้ใช้บริการควรจะดูแลรักษาทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด จงใช้อย่างระมัดระวัง เพราะว่าคุณไม่ได้ใช้หนังสือแค่คนเดียว

2. Maintain a quiet environment at all times
ผู้ใช้บริการควรจะดูแลความเงียบสงบภายในห้องสมุดทุกครั้งที่เข้าห้องสมุด เพราะถ้าคุณกำลังอ่านหนังสืออยู่แล้วมีเสียงดังรบกวนคุณคงไม่ชอบแน่

3. Show consideration to those who are waiting

เวลาอ่านหนังสือสักเล่ม หรือยืมหนังสือสักเล่มให้นึกถึงผู้ใช้บริการคนอื่นบ้าง เพราะหนังสือเล่มนึงอาจเป็นที่ต้องการของผู้ใช้หลายๆ คน

4. Return browsed library materials to the book bins
กรุณาวางหนังสือที่ใช้แล้วในจุดที่กำหนด เพราะบรรณารักษ์จะได้นำออกมาให้ผู้อื่นบริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

5. Sleep at home, not at the library
ถ้าง่วงนอนมากๆ ขอแนะนำให้กลับไปหลับที่บ้านนะครับ ไม่ใช่หลับในห้องสมุด

6. Supervise your children at all times
ดูแล และแนะนำการใช้ห้องสมุดให้เด็กๆ ที่คุณพามาด้วยนะคร้าบ

7. Eat and drink at the cafe only
ถ้าหิว จะกินจะดื่มอะไรก็สามารถไปกินที่ร้านนะครับ ไม่ใช่กินในห้องสมุด

8. Settle outstanding payments promptly
ถ้ายืมหนังสือเกินกำหนด หรือทำผิดกฎของห้องสมุด คุณก็ต้องเสียค่าปรับด้วย กรุณาอย่างเบี้ยวนะครับ

9. Give priority for seats to those using library materials
ที่นั่งในห้องสมุดกรุณาแบ่งๆ กันใช้นะครับ ไม่ใช่เล่นจองคนเดียวเต็มโต๊ะ

10. Treat everyone with courtesy and respect
ปฏิบัติต่อผู้ใช้ห้องสมุดด้วยกัน ด้วยความเคารพและมีมารยาท

เป็นไงบ้างครับ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นหรือปล่าว
ถ้ายังไม่เข้าใจอีก ผมจะได้ให้บรรณารักษ์พิมพ์ออกมาเป็นโปสเตอร์แจกเลยดีมั้ยครับ
เอาเป็นว่าไม่ว่าคุณจะใช้ห้องสมุดแบบไหน ขอให้ใส่ใจต่อคนรอบๆ ข้างที่ใช้บริการเหมือนกับคุณบ้างก็พอครับ