12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012

วันนี้ในขณะที่กำลังอ่านเรื่องแนวโน้มของการศึกษาในอนาคตอยู่ก็พบหัวข้อนึงที่น่าอ่านมากๆ ซึ่งเป็นเรื่อง “12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012” จึงอยากนำมาให้เพื่อนๆ อ่าน (เพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดก็ลองอ่านได้นะ เผื่อเอามาประยุกต์กับวงการห้องสมุดของเราบ้าง)

ต้นฉบับของเรื่องนี้จริงๆ ชื่อว่า “12 Education Tech Trends to Watch in 2012” จากเว็บไซต์ http://mindshift.kqed.org

เรามาดู 12 หัวข้อการศึกษาที่น่าจับตามองในปี 2012 กันก่อนนะครับ
1. MOBILE PHONES – โทรศัพท์มือถือ
2. BYOD (BRING YOUR OWN DEVICE) – อุปกรณ์ที่พกพาไปไหนมาไหนได้ เช่น notebook, netbook, ipod, tablet
3. BANDWIDTH ISSUES – การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
4. NATURAL USER INTERFACES – การตอบสนองกับผู้ใช้แบบธรรมชาติ เช่น ระบบสั่งการด้วยเสียง
5. WEB APPS – การใช้โปรแกรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์
6. DATA – ข้อมูล
7. ADAPTIVE LEARNING – การเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
8. PRIVACY/SECURITY – ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัย
9. OPEN LICENSING – สัญญาการอนุญาตแบบเปิด
10. PEER TO PEER – การเชื่อมต่อแบบ peer to peer
11. THE MAKER MOVEMENT – การเคลื่อนไหว
12. GAMING – เกมส์

รายละเอียดของแต่ละหัวข้อ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็เข้าไปอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ต่อได้ที่ http://mindshift.kqed.org/2012/01/12-education-tech-trends-to-watch-in-2012/

เหตุผลที่ผมแนะนำเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ คือ อยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นแนวโน้มของวงการศึกษา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์เราก็อยู่ในวงการศึกษาเช่นกัน) เมื่อวงการศึกษาให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อนๆ บรรณารักษ์ก็ควรให้ความสนใจบ้าง บางประเด็นมันเริ่มเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตของเรามากขึ้น ทั้งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอย่างเรา ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วก็จะได้เตรียมตัวและพยายามทำความเข้าใจมันได้

เอาเป็นว่าวันหยุดแบบนี้เอาเรื่องวิชาการมาอ่านบ้างนะครับ อิอิ

12 Education Tech Trends to Watch in 2012

สรุปรายชื่อ ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551

วันนี้ผมขอเอาเรื่องเก่าจากสมาคมห้องสมุดมาโพสให้อ่านกันนะครับ นั่นก็คือ
เรื่อง การประกาศรายชื่อผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด และการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ 2551

librarian

ถ้าหากเพื่อนๆ เข้าไปที่เว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดฯ จะเห็นว่า
ข่าวนี้ทางสมาคมได้นำเสนอเป็นไฟล์ .jpg ให้อ่านกัน

เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ภาพดูได้ที่
http://tla.or.th/document/good1.jpg
http://tla.or.th/document/good2.jpg
http://tla.or.th/document/good3.jpg
http://tla.or.th/document/good4.jpg

แต่สำหรับใครที่ไม่ชอบอ่านไฟล์ .jpg เหมือนอย่างผม
ก็ลองอ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้ เนื่องจากผมนำมาเขียนใหม่เป็น text แบบสรุปให้นะครับ

รายชื่อของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551 มีดังนี้

– นายทวีศักดิ์ เดชเดโช (ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว)
ผลงานเด่น : ให้การสนับสนุนห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี และห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง
สนับสนุนการจัดสร้างห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่จำนวน 8 แห่ง นอกจากนี้ยังผลักดันโครงการบ้านหนังสือ

– เทศบาลนครพิษณุโลก
จัดสรรงบประมาณในการสร้างหอสมุดเทศบาลนครพิษณุโลกแห่งใหม่
ให้มีบรรยากาศที่ทันสมัย และทำให้ห้องสมุดมีภาพลักษณ์ใหม่

– เทศบาลเมืองพัทลุง
บริจาคเงินให้ กศน. เพื่อใช้ในการสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนหลังใหม่
เพื่อให้บริการการเรียนรู้ รวมถึงเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชน และจังหวัดพัทลุง

– บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด
จัดทำโครงการแหล่งการเรียนรู้ และให้การสนับสนุนในการสร้างห้องสมุดโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
ในเขตจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี จำนวน 10 โรงเรียน

– ศาสตราจารย์ คลินิก นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร (อธิการบดีมหาวิทยามหิดล)
สนับสนุนในเรื่องการปรับปรุงอาคารหอสมุดศิริราช การจัดสร้างคลังหนังสือศิริราช
รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารคลังหนังสือ
และผลักดันจนหอสมุดศิริราช ได้รับรางวัลหน่วยงานดีเด่นในเรื่อง Quality Fair 2551

– รศ. ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ให้การสนับสนุนการพัฒนาห้องสมุด และสถานภาพของครูบรรณารักษ์
โดยให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับสถานภาพครูบรรณารักษ์โรงเรียน

– นางสาวเพ็ญจรัส สิงห์ทอง (ผู้อำนวยการโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์)
เป็นผู้บริหารที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
ดำเนินการระดมทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างห้องสมุดโรงเรียนที่สมบูรณ์ และทันสมัย

– รองศาสตราจารย์ วุฒิชัย กปิลกาญจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
จัดสรรงบประมาณให้กับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อใช้ในการพัฒนาห้องสมุดในส่วนต่างๆ เช่น การเปิดบริการห้องสมุดตลอดคืนในช่วงสอบ
หรือ โครงการบริการยืมคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับใช้งานภายในห้องสมุด

– ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)
สนับสนุนเงินในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา
และพัฒนาองค์ความรู้สำหรับห้องสมุดชุมชนต้นแบบบนพื้นฐานคุณธรรม

– สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ
สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนในชนบท
และบริการจัดสร้างอาคารห้องสมุดสำหรับโรงเรียนในชุมชนต่างๆ

– ศาตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ให้การสนับสนุนในการพัฒนาห้องสมุด สัญญา ธรรมศักดิ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อให้เป็นห้องสมุดกฎหมายที่ทันสมัย และสมบูรณ์แบบ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อและข้อมูลของผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดฯ ประจำปี 2551
ซึ่งสรุปว่ามีทั้งหมดจำนวน 5 หน่วยงาน และ 6 ท่าน

ผมก็ขอเป็นตัวแทนของคนที่อยากเห็นห้องสมุดเมืองไทยพัฒนา
ก็ขอขอบคุณแทนบรรณารักษ์ และห้องสมุดต่างๆ ด้วยนะครับ
ที่ท่านและหน่วยงานให้การสนับสนุนสิ่งดีๆ เพื่อสังคมไทย

ตัวอักษร A-Z กับวงการห้องสมุด

A B C D E F G ….. X Y Z ท่องกันไว้เลยนะครับ
เพราะวันนี้ผมจะนำตัวอักษรเหล่านี้มาเชื่อมกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่าน

atoz-in-the-library

ตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เพื่อนๆ คิดว่า
แต่ละตัวสามารถใช้แทนคำศัพท์อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ได้บ้าง

สำหรับผม ผมนึกถึงคำศัพท์ ดังต่อไปนี้

A ? AACR2 (มาตรฐานการลงรายการในบัตรรายการ)

B ? BOOK(หนังสือ แน่นอนถ้าในห้องสมุดไม่มีหนังสือก็คงไม่ใช่ห้องสมุด)

C ? Circulation (บริการยืมคืน)

D ? DDC (Dewey Decimal Classification) (การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้)

E ? Encyclopedia (สารานุกรม ในห้องสมุดก็มีรวบรวมไว้เช่นกัน)

F ? Free everything (ฟรีทุกอย่าง (ยกเว้นบางห้องสมุด))

G ? Green Library (ห้องสมุดสีเขียว หรือห้องสมุดเพื่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มที่กำลังมาแรง)

H ? Help desk (มุมให้ความช่วยเหลือด้านสารสนเทศ)

I ? IFLA (International Federation of Library Associations) (สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด)

J ? Journal (วารสารวิชาการ)

K ? Knowledge Center (ศูนย์รวมความรู้)

L ? LC (ชื่อหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชื่อเรียกการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน)

M ? MARC Format (มาตรฐานการลงรายการแบบ MARC21)

N ? NLM (National Library of Medicine) (การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์)

O ? OPAC (Online Public Access Catalog) (ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์)

P ? Projectlib (บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ออนไลน์)

Q ? Question and Answer Service (บริการตอบคำถาม)

R ? Reference Service (บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม และบริการอ้างอิง)

S ? Service mind (การบริการด้วยใจเป็นหัวใจของคนทำงานห้องสมุด)

T ? Thesaurus (ธีซอรัส หรือ คำศัพท์สัมพันธ์)

U ? Union Catalog (ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม)

V ? VTLS (ชื่อระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นระบบที่ใหญ่อันดับต้นๆ)

W ? World Cat (หน่วยงานที่อยู่ภายใต้ OCLC และมีข้อมูลรายการหนังสือเยอะที่สุดในโลก)

X ? XXX (ตัวอักษรของสื่อที่ไม่มีในห้องสมุด)

Y ? Y (วาย ชื่อผมเอง อิอิ บรรณารักษ์ในโลกออนไลน์)

Z ? Z39.50 (Protocol ที่ใช้ในการสืบค้นรายการฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม หรือ Union catalog)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างคำศัพท์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ผมนึกถึงนะครับ
เพื่อนๆ ว่า ตัวอักษร A-Z ตัวไหนที่เพื่อนๆ ยังอยากเปลี่ยน ก็บอกผมมาได้เลยนะครับ อิอิ