ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ประเทศ/เมืองไหนถูกยืมหนังสือมากที่สุด

ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ประเทศ/เมืองไหนถูกยืมหนังสือมากที่สุด

วันนี้ขอนำสถิติที่น่าสนใจของวงการห้องสมุดโลกมาให้เพื่อนๆ อ่าน

“ทราบหรือไม่ครับว่า “ห้องสมุดประชาชน หรือ Publib library เมืองไหนที่มีจำนวนการยืมหนังสือสูงที่สุดในโลก ข้อมูลจาก World Economic Forum”

วันนี้ผมไปเจอข้อมูลนี้ที่เว็บไซต์ของ World Economic Forum ในเรื่อง “Where do libraries loan out the most books?” ซึ่งที่มาของข้อมูลก็มาจากเว็บไซต์ statista ซึ่งทาง World Economic Forum ก็รวบรวมและดึงเฉพาะการยืมหนังสือในห้องสมุดของประเทศต่างๆ (ข้อมูลบางประเทศอัพเดทถึงปี 2018 แต่บางประเทศยังอัพเดทไม่ถึงปี 2018 และหนักกว่านั้นคือไม่อัพเดทตั้งแต่ปี 2013 ก็มี) แต่เพื่อให้เห็นภาพรวมจึงได้ทำข้อมูลออกมาตามภาพด้านล่างนี้

Read more

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนเมษายน 2554

ไม่ได้รายงานผลซะนานเลยนะครับ เพราะผมเองก็หายไปจากบล็อกบรรณารักษ์เกือบ 2 เดือน
เอาเป็นว่าผมกลับมาตั้งแต่ต้นเดือนแล้วหล่ะ วันนี้เลยต้องกลับมาทำหน้าที่รายงานเรื่องยอดฮิต

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554
จากการสำรวจข้อมูลคร่าวๆ พบว่าสถิติในช่วงก่อนการเขียนบล็อกตกลงไปเยอะเลย
แต่หลังจากการกลับมาเขียนอีกครั้งพบว่าสมาชิกหลายๆ คนเริ่มกลับมาอ่าน

แล้วเพื่อนๆ ว่าเรื่องไหนที่ได้รับความนิยม 10 อันดับบ้างหล่ะครับ เราไปดูกันเลยดีกว่า

เรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนเมษายน 2554 10 อันดับได้แก่

1. 3% – บรรณารักษ์สามารถ copy catalog หนังสือจาก Amazon ได้แล้วนะ
2. 3% – ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี
3. 3% – ห้องสมุดจำเป็นต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือไม่
4. 3% – บทสรุปการพัฒนาห้องสมุดไทยคิดด้วยชุมชนห้องสมุดไทยคิด
5. 2% – พาเที่ยวห้องสมุด SCG ? XP Library
6. 2% – แผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน (ชมภาพจากประเทศญี่ปุ่น)
7. 2% – คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์
8. 2% – สวัสดีปีใหม่ไทยและทักทายวันสงกรานต์
9. 1% – นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
10. 1% – คลิปวีดีโอคนต่อแถวแย่งกันเข้าห้องสมุดประชาชนเป็นไปได้หรือนี่

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)
นอกจากโหวตแล้วเพื่อนๆ สามารถคอมเม้นตืเรื่องที่ชอบได้ด้วยนะครับ

สำหรับเดือนพฤษภาคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มิถุนายนนะครับ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนมกราคม 2554

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนมกราคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกเงียบเหงามากๆ เลย ไม่รู้ว่ามีใครยังอ่านอยู่บ้าง
แต่ช่างเถอะครับ ผมเขียนเพราะอยากเขียน ใครอยากอ่านก็อ่านแล้วกัน

เดือนมกราคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 3% – เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
2. 3% – โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)
3. 2% – เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4. 2% – คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)
5. 2% – Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น
6. 2% – สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. 2% – ม.ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ รับบรรณารักษ์
8. 2% – ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
9. 1% – วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010
10. 1% – วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

สำหรับเดือนกุมภาพันธ์เรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มีนาคมนะครับ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนธันวาคม 2553

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนธันวาคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกของผมน้อยกว่าเดือนที่แล้ว อาจจะเนื่องมาจากวันหยุดเยอะ

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 25% – เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”
2. 17% – แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011
3. 14% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2
4. 14% – คำว่า CYBRARIAN ย่อมาจากอะไร
5. 8% – เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)
6. 7% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1
7. 7% – ไอเดียการจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดทั่วโลก
8. 7% – กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook
9. 6% – การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)
10. 5% – วีดีโอเมื่อบรรณารักษ์กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลง Cybrarian

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนมกราคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นะครับ แล้วพบกับการรายงานแบบนี้ได้ใหม่ทุกต้นเดือน

เรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

ฟีเจอร์ใหม่ของ Libraryhub ที่ผมกำลังจะทำหลังจากนี้คือ การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือน
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ในวันที่ 1 ของทุกเดือนเลยนะครับ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นต้นไป

เรื่องยอดฮิตนี้ผมก็นำมาจากสถิติในบล็อก Libraryhub ว่าเรื่องไหนเพื่อนๆ เข้ามาดูเยอะที่สุด
ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง
ซึ่งในบล็อกของผมมีระบบประมวลผลคะแนนของบล็อกอยู่แล้ว ผมก็แค่นำมาเสนอให้เพื่อนๆ ดูก็แค่นั้นเอง

เอาหล่ะไปดูกันเลยดีกว่าว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 53% สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services
2. 22% นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง
3. 16% ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด
4. 15% คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย
5. 15% แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant
6. 15% เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง
7. 12% วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
8. 10% สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11
9. 9% นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
10. 9% บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนหน้าเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นกันต่อครับ
สำหรับเดือนนี้ผมคงรายงานไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บล็อกก็ยังคงอัพเดททุกวันต่อไปนะครับ

เป็นกำลังใจให้กันด้วยหล่ะ อิอิ ไปและครับ

ห้องสมุดควรจัดเก็บสถิติอะไรบ้าง (มาวัดผลห้องสมุดกันเถอะ)

เพื่อนๆ หลายคนส่งเมล์มาถามผมว่า “เปิดห้องสมุดมาได้สักพักแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเก็บข้อมูลห้องสมุดอย่างไร
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขต่าง ๆที่อยู่ในห้องสมุด เพื่อให้เพื่อนๆ ใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล

ตัวเลขต่างๆ ที่จัดเก็บในห้องสมุด หรือข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เก็บในห้องสมุดเป็นตัวเลขที่แสดงให้เราเห็นว่าห้องสมุดมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์ในแง่ของการเขียนรายงานประจำเดือน ประจำปี เพื่อให้เราเป็นความต้องการของผู้ใช้บริการในห้องสมุด รวมถึงนำเสนอผู้บริหารให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ของห้องสมุด

ตัวเลขอะไรบ้างหล่ะที่น่าสนใจต่อการเก็บข้อมูล

– จำนวนสื่อสารสนเทศในห้องสมุด เช่น หนังสือ สื่อมัลติมีเดีย วารสาร ….
– จำนวนผู้เข้าใช้บริการในห้องสมุดในแต่ละวัน (แบบบุคคลและกลุ่มบุคคล)
– จำนวนผู้ที่มาสมัครสมาชิกกับห้องสมุด
– จำนวนการยืมคืนในแต่ละวัน
– จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน
– จำนวนครั้งที่มีการแสดงนิทรรศการ หรือ จัดบอร์ด
– จำนวนครั้งในการให้บริการตอบคำถาม
– จำนวนครั้งในการใช้บริการอุปกรณ์ต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดเตรียม เช่น คอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอน
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่มีการแยกหมวดหมู่
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่สูญหาย
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่ได้รับการอภินันทนาการ
– จำนวนวารสารเย็บเล่ม
– จำนวนอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานห้องสมุด
– จำนวนในการสร้างความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานภายนอก
– ปริมาณค่าใช้จ่ายและรายรับต่างๆ ของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็คือตัวอย่างการจัดเก็บจำนวนตัวเลขต่างๆ แบบคร่าวๆ นะครับ
และตัวเลขเหล่านี้ผมว่าไม่ยากเกินไปถ้าเพื่อนๆ จะนำไปจัดเก็บบ้าง
จริงๆ แล้วขอเสนอว่าถ้ามีแบบฟอร์มในการบันทึกรายการต่างๆ ก็จะดีมากด้วยครับ

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการจัดเก็บข้อมูลสถิติ
– เข้าใจและรู้จักความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น หนังสือหมวดไหนที่คนชอบอ่าน
– จัดสรรงบประมาณเพื่อเสริมความต้องการให้ผู้ใช้บริการ
– ขอเสนองบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด

ซึ่งเอาเป็นว่าเมื่อเข้าใจถึงตัวเลขต่างๆ เหล่านี้แล้ว ผมก็อยากให้ทุกคนทำความรู้จักและรู้จักการนำตัวเลขเหล่านี้มาใช้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ว่าเอาตัวเลขมาดูเพียงเพราะว่ามันเป็นแค่ตัวเลขเท่านั้นนะครับ

ปล. เดี๋ยววันละหลังจะมาเขียนเรื่องการประยุกต์ในการเก็บสถิติเพื่อสร้างความน่าสนใจในห้องสมุดนะครับ

Libraryhub สามเดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก

สามเดือนแล้วนะครับกับบล็อกบรรณารักษ์และห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
(จริงๆ แล้วต้องบอกว่า Projectlib ใหญ่กว่านะ แต่ไม่อัพเดทแล้ว)

stat-libraryhub Read more

สถิติ ความคืบหน้าของ Libraryhub

Libraryhub เปิดให้บริการมาเกือยสองเดือนแล้วนะครับ
วันนี้ผมจะมารายงานความคืบหน้าและสถิติของบล็อกให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน

libraryhubstat

สถิติที่น่าสนใจของบล็อก Libraryhub
– Visitors
May 2009 = 1430
June 2009 = 5425

– Pageviews
May 2009 = 26783
June 2009 = 68813


– Spiders

May 2009 = 3133
June 2009 = 9675


– Feeds

May 2009 = 249
June 2009 = 488

จะสังเกตุเห็นว่าสถิติของเดือนที่แล้ว และเดือนนี้ต่างกันมากเลยนะครับ
เดือนนี้มีสถิติที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100-200% เลย
นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากๆ เลย กำลังใจของผมก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

เมื่อกี้เป็นสถิติที่เกี่ยวกับผู้อ่าน และผู้ที่เข้ามาในบล็อก Libraryhub นะครับ
ในส่วนต่อไปผมจะขอนำสถิติที่เกิดจากการเขียนบล็อกของผมมากให้เพื่อนๆ ได้ดูบ้าง

จำนวนเรื่องที่ผมเขียน

May 2009 = 50 เรื่อง
June 2009 = 41 เรื่อง


เรื่องที่มีคนเข้ามาอ่านเยอะที่สุด 5 อันดับ

1. Commart X?Gen 2009 ใกล้มาถึงแล้ว
2. รับสมัครบรรณารักษ์ หอสมุด มธ.
3. ลองใช้สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
4. รับสมัครบรรณารักษ์ มศว องครักษ์
5. บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

สถิติอีกอย่างที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นคือ
ค่า PageRank ของ Google ซึ่งตอนนี้ Libraryhub ได้ 4/10 แล้ว
ส่วนอันดับของ Libraryhub ใน Alexa คือ 2,159,199 ครับ

การเติบโตของ Libraryhub ในช่วงสองเดือนแรกนับว่าโตขึ้นแบบเกินความคาดหมายของผมเลยนะครับ
ก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่คอยเป็นกำลังใจให้ผม และติดตามบล็อกของผมมาโดยตลอดนะครับ