โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความห้องสมุดในยุคถัดไปของประเทศสิงคโปร์แล้วทำให้รู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก บทความนี้เป็นการสัมภาษณ์ Ramachandran Narayanan ผู้บริหารของ NLB โดยชื่อบทความ คือ Immersion and robots: The next chapter for Singapore’s libraries

ภาพถ่ายจากการไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่สิงคโปร์เมื่อปี 2018

ก่อนจะไปอ่านบทสรุป ผมขอกล่าวถึงคำ Keyword ทั้งสองคำก่อน นั่นคือ “Robot” และ “Immersion” ซึ่งคำแรกเป็นคำที่หลายคนคงคุ้นเคย นั่นคือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในวงการห้องสมุด มาช่วยทั้งบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ ส่วนอีกคำ “Immersion” หรือแปลเป็นไทยว่า “การดื่มด่ำในโลกเสมือนจริง” หรือจะเรียกว่า “Immersive” ก็ได้ มักใช้ควบคู่กับคำว่า Virtual Reality

โดยคุณ Ramachandran Narayanan ได้กล่าวถึง highlights ของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่สำคัญมากๆ ของห้องสมุดสิงคโปร์ นั่นก็คือ การนำเอาเรื่อง data analytics และ AI มาปรับใช้ในวงการห้องสมุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีในห้องสมุดว่าสามารถนำมาใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์

1) Immersive storytelling (การเล่าเรื่องด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง)

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก / เล่านิทานที่ใช้เทคโนโลยีการฉายวีดีโอและระบบตัวจับ Sensor ของผู้เล่า และผู้ใช้บริการ ทำให้ได้ภาพวีดีโอเสมือนจริง และสามารถสร้าง Interactive กับสื่อต่างๆ ได้

2) Personalising experiences with AI (สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวบุคคลด้วย AI)

ให้บริการแนะนำเนื้อหา (Contents) ที่ตรงใจผู้ใช้บริการแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้น ด้วยการนำ data analytics ของผู้ใช้มาวิเคราะห์และให้บริการที่ตรงใจ

3) Robots as library assistants (หุ่นยนต์ผู้ช่วยเหลืองานห้องสมุด)

ใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดเพื่อช่วยเหลือบรรณารักษ์ในงานต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์ที่คอยแนะนำบริการ และให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ

4) Automating the library workflow (ระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ)

การนำระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานต่างๆ อาทิ การรับคืนหนนังสือผ่านตู้คืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Drop) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสายพานลำเลียงหนังสือ และระบบที่คัดแยกหนังสือไปยังห้องสมุดต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้การให้บริการสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Mobile Bookdrop ที่ Tampines Regional Library

จากตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาปรับใช้กับการให้บริการและการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถทำงานได้จริง และเริ่มมีการนำมาให้บริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องชื่นชมว่านอกจากสร้างไอเดียแล้ว ยังมีการลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดอื่นๆ หรือต้องการอ่านเนื้อหาฉบับเต็มก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ Link ด้านล่างนะครับ

ที่มาของบทความ : https://govinsider.asia/smart-gov/immersion-and-robots-the-next-chapter-for-singapores-libraries/

แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่จบ (ผ่านมาเกือบจะ 2 ปีแล้ว) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา และสิ่งหนึ่งที่ผมอยากบอก คือ สถานกาณ์นี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ เรื่อง และไม่มีวันที่จะกลับไปสู่ความปกติแบบเดิม

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบล็อก เรื่อง “Six Ways that School Libraries Have Changed (and One that Will Always Be the Same)” แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เพื่อนครูบรรณารักษ์” หรือ ผู้ที่สนใจและทำงานในห้องสมุดโรงเรียน

ปัจจุบันนี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษา ยังไม่สามารถกลับมาสอนเด็กๆ แบบปกติได้ และเกือบทั้งหมดเน้นการเรียนการสอนผ่าน Remote Classroom แล้วแบบนี้ ห้องสมุดโรงเรียนจะให้บริการเด็กๆ ได้อย่างไร

6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยน มีอะไรบ้างหล่ะ ไปดูกันเลย

1) Flexible, Collaborative Learning Environments.
ความยืดหยุ่น และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

2) Maker Spaces, Creation Stations and Engagement.
พื้นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ พื้นที่ประดิษฐ์โครงงาน สิ่งของ

3) More Technology.
เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ห้องสมุดทันสมัย น่าตื่นเต้น และดึงดูดใจ

4) The Comfort Factor.
สร้างความสะดวกสบายในการใช้งาน และการเรียนรู้

5) Team Teaching, Multi-tasking, Twenty-first Century Librarians.
บูรณาการ (ศัพท์แบบไทยๆ) คุณครูและบรรณารักษ์ต้องร่วมมือกันสอนเด็กๆ

6) Noise.
หมดยุคห้องสมุดที่ต้องเงียบแล้วครับ เพราะการเรียนรู้ที่ต้องเรียนร่วมกันจำเป็นที่ต้องมีการพูดคุย

จาก 6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนข้างต้นแล้ว ในบทความมีทิ้งท้ายสิ่งที่สำคัญและไม่มีวันเปลี่ยนแปลงห้องสมุดโรงเรียนได้ คือ การส่งเสริมเรื่องนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างการตระหนักรู้ในทุกเรื่อง (Literacy)

เอาเป็นว่าไปสำรวจห้องสมุดโรงเรียนของเพื่อนๆ ดูว่าตอนนี้ สามารถปรับเปลี่ยนห้องสมุดโรงเรียนให้เข้ากับ การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยเพียงใด

ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ…

บทความต้นฉบับ : https://action.everylibrary.org/six_ways_that_school_libraries_have_changed_and_one_that_will_always_be_the_same

คลิปวีดีโอ : ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด (2021)

คลิปวีดีโอ : ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด (2021)

วันนี้มาอัพเดทบล็อก Libraryhub บ้าง เดี๋ยวจะหาว่าหายไปนาน …

ก่อนเริ่มงานวันนี้ ผมเข้าไปหาคลิปวีดีโอดูใน Youtube ก็เจอคลิปนี้ “Why do we visit the library? (2021)” หรือแปลตรงตัว คือ “ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด” ซึ่งจัดทำโดย หอสมุดแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) https://www.youtube.com/watch?v=pvwVRY6RaPQ

เราไปดูคลิปวีดีโอกันก่อนเลย

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ในคลิปวีดีโอได้มีการถามย้ำว่า “ทำไมพวกเรายังต้องไปห้องสมุด”
ซึ่งเชื่อว่ามีคำตอบมากมายและแตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกัน คือ

“New Worlds” “A Better Tomorrow” “Endless Possibilities”
“โลกใบใหม่” “สิ่งที่ดีกว่าในวันพรุ่งนี้” และ “ความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด”

นอกจากนี้เราได้เห็น Keyword ที่น่าสนใจอีกมากมาย
โดยห้องสมุดยุคใหม่ที่หลายคนนึกถึง คือ “Connection, Communication, Experience, Discovery, Creation, Growth”

และอีกสิ่งหนึ่งที่หอสมุดแห่งชาติสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) นำเสนอนิยามของห้องสมุดคือ
“A Knowledge platform that connects the world” เราได้เห็นการทำงานที่เชื่อมโยงโลกของหนังสือ ภูมิปัญญา ความคิด จากอดีต ถึงปัจจุบัน และก้าวสู่อนาคต

เอาเป็นว่าก็ขอชื่นชมคลิปวีดีโอนี้และอยากส่งต่อให้เพื่อนๆ ได้ชมครับ

8 แนวโน้มการตลาดของห้องสมุดที่คุณต้องติดตามในปี 2021 (ไม่ติดตามไม่ได้)

8 แนวโน้มการตลาดของห้องสมุดที่คุณต้องติดตามในปี 2021 (ไม่ติดตามไม่ได้)

การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) เป็นเรื่องที่ทุกวงการให้ความสำคัญมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา นั่นคงเป็นเพราะความก้าวหน้าและการเติบโตของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนทุกคนให้อยู่บนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น

ในวงการห้องสมุดเองก็เช่นกัน การทำการตลาดของห้องสมุดไม่ได้อยู่ในรูปแบบ 4P (Product Price Place Promotion) เหมือนที่เราเคยคิดและทำกันอีกแล้ว เราต้องทำความรู้จัก 4C เพิ่มเติม นั่นคือ Consumer Cost Convenience Communication

Read more
รีวิวหนังสือ ห้องสมุดยุคใหม่ กับ การสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้

รีวิวหนังสือ ห้องสมุดยุคใหม่ กับ การสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้

หนังสือที่ผมจะรีวิวเล่มแรกของปีนี้ (2021) คือ “The Experiential Library: Transforming Academic and Research Libraries through the Power of Experiential Learning” และที่ผมต้องเลือกหนังสือเล่มนี้มารีวิวก็เพราะ “พวกเรายังคงเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งห้องสมุดเองตอนนี้ก็ไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เหมือนเดิม” จนผู้บริหารและคนทำงานเริ่มทักมาหาผมและถามว่า

“ห้องสมุดหลังจากสถานการณ์นี้จะเปลี่ยนไปแค่ไหน”
“ห้องสมุดจะถูก Disrupt หรือไม่”
“คุณค่าของห้องสมุดในอนาคตคืออะไร”
“จะทำอย่างไรให้ห้องสมุดยังคงอยู่รอดต่อไป”

Read more
18 ภาพวาดห้องสมุดที่โดดเด่นที่สุดในโลก (ดูแล้วรู้เลยว่าที่ไหนบ้าง)

18 ภาพวาดห้องสมุดที่โดดเด่นที่สุดในโลก (ดูแล้วรู้เลยว่าที่ไหนบ้าง)

หนึ่งวันของคนที่หลงใหลในเรื่องห้องสมุดอย่างผมจะทำก็คือ “การค้นหาเรื่องที่เกี่ยวกับห้องสมุดที่น่าสนใจ” นำมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้ผมไปเจอเว็บไซต์ LITERARY HUB (มีความคล้าย LIBRARYHUB ของผมเลย) บทความนึงที่ผมอ่านแล้วอดยิ้มไม่ได้ คือ “18 of the World’s Most Striking Libraries, Illustrated

ในบทความนี้ไม่มีอะไรมากมายนอกจากภาพวาดห้องสมุด (ภาพวาดจริงๆ) เป็นภาพสเก็ตโครงร่างของห้องสมุดชื่อดังหลายๆ แห่ง ลงสีเบาๆ

Read more
4 บทบาทใหม่ที่ห้องสมุดควรทำหลัง COVID-19 (Next Normal for Library)

4 บทบาทใหม่ที่ห้องสมุดควรทำหลัง COVID-19 (Next Normal for Library)

มีคำถามส่งมาถึงผมมากมายเพื่อถามว่า “หลัง COVID-19 ห้องสมุดคงไม่เหมือนเดิม แล้วห้องสมุดของเราจะต้องปรับและเปลี่ยนอย่างไร” วันนี้ผมขอนำบทความจากหนังสือพิมพ์ The Straits Times เรื่อง “Beyond Covid-19: The new roles libraries can play” มาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน


Mr Ng Cher Pong (left), founding CEO of SSG since 2016, will succeed Mrs Elaine Ng as CEO of NLB.
ข้อมูลและภาพจาก : https://www.straitstimes.com/singapore/new-heads-for-national-library-board-skillsfuture

ผู้ที่ให้ข้อมูลกับ The Straits Times ก็ไม่ใช่ใครอื่น เขาคือ Mr. Ng Cher Pong (CEO, National Library Board) ก่อนที่เขาจะมาเป็น CEO ให้กับ NLB เขาเคยเป็น CEO ของ SkillsFuture Singapore (SSG) มาก่อน บทความนี้จึงทำให้ผมรู้จักความคิดและมุมมองของ CEO ท่านนี้ได้ดีขึ้น

Read more
8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย

8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย

สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกยังไม่สงบ และกระทบกับการดำเนินงานของห้องสมุดในหลายๆ ประเทศอยู่อย่างต่อเนื่อง หากเพื่อนๆ ติดตามสถานการณ์ในช่วงนี้อยู่ ก็คงทราบดีว่า ห้องสมุดบางประเทศยังไม่ได้เปิดให้บริการ หรือ ห้องสมุดบางประเทศที่เปิดให้บริการไปแล้วก็ยังต้องมีมาตรการเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบทความจาก Vendor เจ้าหนึ่งที่ทำธุรกิจกับวงการห้องสมุด (bibliotheca) ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจ ชื่อเรื่องว่า “Reimagine the future of library services” ซึ่งในบทความนี้ได้กล่าวถึง “Ensure library staff and users feel safe” หรือ แนวทางในการสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ เลยขอนำมาเขียนแชร์ให้อ่าน

Read more
[ร่วมกันวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์] เมื่อห้องสมุดมีบริการใหม่ Scan & Send

[ร่วมกันวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์] เมื่อห้องสมุดมีบริการใหม่ Scan & Send

ปฏิเสธไม่ได้ว่า วงการห้องสมุดได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ COVID-19 เหมือนทุกๆ วงการ การเดินทางมาที่ห้องสมุด การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การรักษาระยะห่าง … เป็นประเด็นที่ผู้ใช้บริการ รวมถึงคนทำงานอย่างพวกเราก็ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตกันแทบทั้งนั้น

วันนี้ผมนั่งค้นหาบทความ และบริการใหม่ๆ อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต ก็พบกับหัวข้องานบริการจากห้องสมุดแห่งหนึ่ง ชื่อว่า “Scan & Send” ซึ่งไม่ต้องเดาเลย บริการนี้ก็ง่ายมาก คือ ผู้ใช้บริการ Request มา เดี๋ยวบรรณารักษ์ สแกนแล้วส่งไปให้อ่าน

Read more
“The Next Five Years”: อีกห้าปีหลังจากนี้ … ห้องสมุดจะ …

“The Next Five Years”: อีกห้าปีหลังจากนี้ … ห้องสมุดจะ …

วันนี้ได้มีโอกาสอ่านหนังสือในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์เพื่อคลายเครียดจากการทำงานในวงการอื่น (พอจะมีเวลาว่างนิดหน่อย) จริงๆ แล้ว หนังสือเล่มนี้เหมาะกับช่วงนี้มากๆ เพราะเป็นช่วงที่ผมต้องคิดแผนกลยุทธ์ในปีหน้า …

ในวงการราชการเดือนหน้าก็เป็นเดือนสุดท้ายที่ใช้งบประมาณแล้ว … ตุลาคม คือ ปีงบประมาณใหม่
ในวงการเอกชนเริ่มปีงบประมาณใหม่ตามปีปฏิทิน แต่ก็ต้องเริ่มเขียนแผนและเตรียมร่างงบประมาณในช่วงนี้

หนังสือเล่มที่ผมอ่านมีชื่อว่า “Digital Information Strategies: From Applications and Content to Libraries and People” ซึ่งเขียนโดย David Baker และ Wendy Evans ดูข้อมูลอื่นๆ จาก https://www.amazon.com/Digital-Information-Strategies-Applications-Libraries/dp/0081002513

Read more