วีดีโองานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์

คลิปวีดีโอที่ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวันที่อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ส่งมาถึงมือผมเรียบร้อย
วันนี้ผมจึงขอนำขึ้นมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน สำหรับผู้ที่ไม่ได้มาอบรมคลิปวีดีโอนี้เป็นโอกาสของคุณแล้ว

แอบเสียดายนิดๆ ที่ผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปในวันนั้น
เลยไม่ได้เก็บภาพบรรยากาศในวันนั้นมาให้เพื่อนๆ ดูเลย
มีก็เพียงวีดีโอที่ได้จากเครือข่ายจิตอาสาก็เท่านั้นเอง

virtual-library

การอบรมในวันนั้นใช้เวลาไป 3 ชั่วโมงก่าๆ แต่คลิปนี้มีความยาว 30 นาที
ซึ่งใน 30 นาทีที่ท่านกำลังจะได้ชมนั้น ผมว่ามันอัดข้อมูลในวันนั้นได้ครบถ้วนเลยทีเดียว

ไปชมวีดีโองานวันนั้นเลยครับ (ผมแบ่งเป็น 4 ตอนนะครับ)

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 1

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5H592XIFeAY[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 2

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=kHFjshCWIRc[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 3

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=r9opbOzw58Q[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 4

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2O3Qg5tDpLI[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด ก็อย่าลืมเอามาเล่าให้ฟังกันบ้าง
ใครที่นำไปลองใช้ก็ส่งความคิดเห็นมาด้วยเช่นกันนะครับ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างกล้อง (ไม่รู้จักชื่ออ่ะ ก็เลยไม่ลงชื่อให้นะ)
และเครือข่ายจิตอาสาที่ได้จัดงานอบรมดีๆ แบบนี้ให้คนไทยได้รู้จักคำว่ารักการอ่านมากขึ้น

ปล. วีดีโอนี้เป็นของเครือข่ายจิตอาสานะครับ

อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์

วันนี้ผมมีงานอบรมดีๆ มาฝากเพื่อนๆ ครับ แต่ต้องรีบสมัครกันหน่อย
เพราะว่ารับแค่ 20 คนเท่านั้น และงานจะจัดในวันที่ 24 มกราคม นี้แล้ว
เป็นงานที่เกี่ยวกับการแนะนำเรื่องการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว

frontpage_activities105

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องาน : อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว
วันและเวลาที่จัดงาน : วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2553 เวลา 13.00-16.00 น. (ลงทะเบียนเที่ยงเป็นต้นไป)
สถานที่ : ศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้ประกอบการ SMEs ธนาคารกสิกรไทย จามจุรีสแควร์ ชั้น 2

คำถามเหล่านี้จะได้รับคำตอบ…
เคยไหม? ที่ซื้อหนังสือมาเยอะมากแต่ยังไม่มีเวลาอ่านเก็บไว้จนลืมไปแล้วว่าไปอยู่ที่ไหน
เคยไหม? ที่อยากรู้ว่ามีใครที่อ่านหนังสือ แบบที่เรากำลังอ่านอยู่บ้าง
เคยไหม? ที่คิดว่าการใช้คอมพิวเตอร์กับการอ่านหนังสือเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
แล้วอยากรู้ไหมว่า ใครบางคนที่อ่านหนังสือ ที่เปลี่ยนชีวิต? นั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่การอ่าน

โครงการนี้เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง
– โครงการนักอ่านจิตอาสา
– บริษัทเพื่อสังคม Opendream
– เครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ libraryhub

ภาพรวมของการอบรมในครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมได้รู้จักการจัดการห้องสมุดเสมือนส่วนตัว Online
พร้อมกับเรียนรู้โปรแกรมช่วยจัดการเก็บหนังสือและค้นหาง่ายๆ กับโปรแกรม Alexandia
เพื่อช่วยจัดระบบข้อมูลหนังสือที่เรามีอยู่ในห้องหรือบ้านของเราให้เป็นระบบมากขึ้น
ทั้งนี้ยังช่วยให้เราได้เจอเพื่อนๆที่อ่านเรื่องเดียวกันอยู่ ตลอดจนคนที่อ่านหนังสือแบบเดียวกันมาแบ่งปันกัน

กำหนดการสำหรับการอบรม
12.00 – 13.00? ลงทะเบียน
13.00 ? 13.45? ห้องสมุดเสมือนออนไลน์คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?
13.45 ? 15.00? จะจัดการห้องสมุดส่วนตัวออนไลน์ได้อย่างไร ด้วยโปรแกรม Alexandia
15.00 ? 16.00? แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้

เอาเป็นว่า น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ

ผมเองก็ได้บรรยายในช่วงสุดท้ายพอดี “แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้”
หลักๆ ก็ไม่มีอะไรมากแค่แนะนำการใช้งาน Librarything และ Shelfari ครับ

ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ขอเชิญลงทะเบียนได้ที่
http://spreadsheets.google.com/viewform?hl=en&formkey=dEdIbDFHeXpvZXVXVmRYbkUyRkRERFE6MA

รีบๆ หน่อยนะครับ ที่นั่งมีจำกัดจริงๆ

บรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบ

วันนี้ขอนำเสนอบทความเก่าขอเล่าใหม่อีกสักเรื่องนะครับ…
ชื่อบทความนี้ คือ Librarians Eat Questions for Breakfast ซึ่งบทความนี้ผมอ่านเจอใน LISNews
โดยเนื้อหาหลักๆ ของบทความนี้ คือ บทบาทของบรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบต่างๆ

answersite-librarian

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับถามตอบ เช่น
Yahoo! Answer – http://answers.yahoo.com/
Ask MetaFilter – http://ask.metafilter.com/
Wikipedia Reference Desk – http://en.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Reference_desk/

มีผลสำรวจจากเว็บไซต์เหล่านี้ พบว่า ผู้ที่เข้ามาตอบคำถามจำนวนหนึ่งเป็นบรรณารักษ์นั่นเอง
ซึ่งคำตอบเหล่านี้นับว่าเป็นคำตอบที่มีคุณภาพมากและช่วยผู้ใช้ได้มากเลยทีเดียว

จากวัฒนธรรมในการถามและตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้
ทำให้มีห้องสมุดจำนวนไม่น้อยนำความคิดดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในงานบริการห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library)
โดยบรรณารักษ์จะตั้งคำถามและตอบคำถามต่างๆ ผ่านทางระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) นั่นเอง

การประยุกต์ใช้งานเว็บไซต์ถามตอบ
เริ่มจากผู้ใช้บริการเข้ามาตั้งคำถามที่ระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) ซึ่งอาจจะนำมารวมกับระบบเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ได้
โดยหลักการตั้งคำถามของผู้ใช้บริการ ระบบจะต้องครอบคลุมเนื้อหาในชีวิตประจำวันและเรื่องสารสนเทศต่างๆ ด้วย
และเมื่อบรรณารักษ์มาทำงานในช่วงเช้าของแต่ละวัน บรรณารักษ์ก็จะมาตอบคำถามเหล่านี้ให้กับผู้ใช้บริการ

เมื่อบรรณารักษ์ปฏิบัติแบบนี้ทุกวัน บรรณารักษ์ก็จะได้ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นได้
อุปมาว่าอาหารเช้าของบรรณารักษ์เหล่านี้ก็คือความรู้ต่างๆ มากมายจากผู้ใช้บริการนั่นเอง

คำถามที่ผู้ใช้บริการมักจะถาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
– คำถามด้านสารสนเทศ —> บรรณารักษ์สามารถหาคำตอบได้ในห้องสมุด
– คำถามอื่นๆ —> บรรณารักษ์ก็สามารถหาคำตอบหรือตั้งคำถามได้ใน Answer site ต่างๆ ได้

สำหรับความเห็นของผมนะครับ ผมว่ามันก็ดีเหมือนกัน ถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้บรรณารักษ์ด้วย
เนื่องจากปกติบริการตอบคำถามส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะเจอคำถามที่อยู่ในห้องสมุดเพียงเท่านั้น
แต่ถ้าเราเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถถามข้อมูลได้ทุกเรื่องบรรณารักษ์ก็จะได้เปิดความคิดใหม่ๆ ไปด้วย

เพื่อนๆ ว่ามั้ยหล่ะครับ