ผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนควรเป็นอย่างไร

หมายเหตุก่อนการอ่าน : หัวข้อในวันนี้อาจจะดูรุนแรงสักนิดหน่อย แต่ถ้าได้อ่านเนื้อเรื่องจริงๆ แล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้แรงเหมือนที่คิดนะครับ

ที่มาของหัวข้อในวันนี้มาจากเอกสารที่ผมค้นพบโดยบังเอิญ ซึ่งเอกสารที่ว่านี้มีชื่อว่า
What should an Administrator expect a School Library Media Specialist to be

ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
ผมว่าบทความนี้นอกจากจะเหมาะกับครูบรรณารักษ์หรือบรรณารักษ์ในโรงเรียนแล้ว
ผมขอแนะนำให้บรรณารักษ์ในห้องสมุดทุกประเภทได้อ่านด้วยเพราะน่าจะนำมาประยุกต์ได้

บรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
– ผู้สอน ครู อาจารย์ในเรื่องของการวรรณกรรมหรือสารสนเทศด้านต่างๆ
– ผู้ประสานงาน หรือ ประสานความร่วมมือกับส่วนต่างๆ ในโรงเรียน
– ผู้ชี้แหล่งสารสนเทศ ช่วยตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าสารสนเทศเพิ่มเติม
– ผู้กระจายข้อมูลข่าวสารให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน พ่อแม่ และชุมชนได้รู้ถึงกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
– ผู้นำด้านแนวความคิดและจุดประกายไอเดียในการเรียนรู้
– ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนางาน พวกเราสามารถออกแบบและนำเสนองานเพื่อการพัฒนาโรงเรียนได้
– ผู้สร้างนวัตกรรม ห้องสมุดสามารถนำสิ่งใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ แนวความคิดใหม่ๆ มาทดลองใช้ได้
– ผู้ที่รักในการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้มีได้อย่างไร้ขีดจำกัด
– ผู้รวบรวมและผนวกการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะแนวความคิดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์


แต่ทั้งหมดทั้งปวงบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือและความช่วยเหลือของผู้บริหารและครูท่านอื่นๆ ในโรงเรียนด้วยจึงจะช่วยให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ

เอาเป็นว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนที่กล่าวมาสามารถเป็นได้ยิ่งกว่าบรรณารักษ์ที่แค่นั่งให้บริการในห้องสมุดโรงเรียนก็แล้วกันครับ ผมเองก็คาดหวังให้เพื่อนๆ ได้เปลี่ยนแปลงตนเองเช่นกันครับ

ดาวน์โหลดเอกสารต้นฉบับได้ที่ http://hoorayforbooks.pbworks.com/f/lms+evaluation+ideas.pdf

ส่วนภาพ Infographic จาก http://yourteacherlibrarian.wikispaces.com/Are+You+Ready%3F

ตัวอย่างกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน : ครูดีเด่นกับการใช้ห้องสมุด

ขวัญและกำลังใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนเล็กๆ น้อย คงจะเป็นรางวัลผู้เข้าใช้บริการดีเด่น ซึ่ง หลายๆ โรงเรียนมักจะแจกรางวัลนี้ให้กับนักเรียนเป็นหลัก “นักเรียนที่ยืมหนังสือมากที่สุด” “นักเรียนที่เข้าห้องสมุดบ่อยที่สุด” วันนี้ผมขอนำเสนอผู้ใช้บริการอีกกลุ่มที่เราควรให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ “ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน”

ตัวอย่างกิจกรรมวันนี้ผมบังเอิญเห็นใน Facebook ดังภาพ

กิจกรรมนี้มาจาก “ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย”
ชื่อกิจกรรม “15 อันดับครูที่เข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนเป็นประจำ”

ดูไปแล้วเพื่อนๆ อาจจะรู้สึกว่ามันธรรมดา ห้องสมุดไหนๆ เขาก็แจกรางวัลประมาณนี้กัน
แต่ข้อสังเกตที่ผมขอตั้งไว้ให้คิด คือ การประกาศเกียรติคุณโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ครับ

ลองอ่านชื่อประกาศและรายละเอียดของประกาศดูนะครับ
ผมรู้สึกว่าแม้จะเป็นเพียงประกาศผ่านโลกออนไลน์แต่ในความรู้สึกของผู้ที่มีรายชื่อในนั้น
บอกตรงๆ ครับ ถ้ามีชื่อผมอยู่บนนั้น “ผมโคตรภูมิใจเลย” “มันวิเศษมากๆ เลย”

ยังไม่หมดครับสังเกตด้านขวามือนะครับ มีการ tag ไปให้ครูที่ได้รับรางวัลด้วย
ซึ่งนั้นหมายความว่าประกาศฉบับนี้ก็จะอยู่บนหน้า Facebook ของผู้ถูกประกาศอีก

นอกจากนั้นก็มีประกาศนียบัตรและพิธีรับมอบรางวัลจากผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย (ในที่นี้คือภารดา)

นอกจากรางวัลหรือประกาศนียบัตรที่มอบให้กับนักเรียนแล้ว
ที่นี่ยังให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการศึกษาด้วย “เยี่ยมจริงๆ ครับ”

เมื่อครูได้รับรางวัลนี้แล้ว ผมเชื่อว่าคุณครูเหล่านี้เองที่จะมีส่วนช่วยเหลือห้องสมุดในด้านต่างๆ หรือแม้กระทั่งอาจจะปลูกฝังนิสัยการรักการอ่านและการใช้ห้องสมุดให้เด็กๆ ที่คุณครูได้สอนต่อไป


เอาเป็นว่าตัวอย่างกิจกรรมดีๆ แบบนี้ผมจะหาและนำมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านต่อไปครับ !!!

วิจารณ์และพาชมห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคม

อย่างที่เมื่อวานได้เกริ่นเอาไว้ว่ามาบรรยายที่โรงเรียนค้อวังวิทยาคมทั้งที เลยขอเยี่ยมชมห้องสมุดในโรงเรียนนี้ดูบ้าง และขอเก็บภาพต่างๆ มาด้วย เพื่อลงในบล็อก Libraryhub วันนี้เลยขอทำตามสัญญาเอาเรื่องนี้มาลงให้อ่านและชมภาพกัน

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดที่จะพาไปชม
สถานที่ : ห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคม
ที่อยู่ : 85 หมู่.7 ตำบลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160
เว็บไซต์ : http://www.kww.ac.th/web54/index.php

โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนประจำอำเภอนะครับ ทำการสอนในระดับมัธยมศึกษา (ตั้งแต่ ม. 1- ม. 6) จำนวนนักเรียนรวมแล้วประมาณเกือบ 1000 คน

ห้องสมุดโรงเรียนแห่งนี้เพิ่งจะได้รับการพัฒนาและปรับปรุงด้านสถานที่หลายส่วนด้วยกัน เช่น มีการติดแอร์ในห้องสมุด และออกแบบมุมบริการต่างๆ ในห้องสมุดมากมาย

หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนหรืออ่านประกอบการเรียน มีการจัดหมวดหมู่หนังสือตามแบบดิวอี้

การยืมคืนก็คงคล้ายๆ กับห้องสมุดโรงเรียนอื่นๆ แหละครับ คือ แบ่งการยืมคืนเป็นสองส่วนคือระดับนักเรียนและครูอาจารย์

จากการเดินสำรวจรอบๆ พบว่า
1. ชั้นที่เก็บจุลสาร จดหมายข่าวยังดูเละเทะไม่เรียบร้อย
คำแนะนำ = เลือกจัดเก็บข่าวสารที่มีประโยชน์ หรือ ตัดบทความที่น่าสนใจเก็บไว้ เพื่อทำกฤตภาคออนไลน์ต่อไป

2. การจัดนิทรรศการในห้องสมุดมีพื้นที่ค่อนข้างน้อย
คำแนะนำ = สามารถจัดวางนิทรรศการบนโต๊ะอ่านหนังสือได้เลย หรือทำป้ายคำคมที่เกี่ยวกับการอ่านมาแปะไว้บริเวณรอบๆ ห้องสมุด

3. มุมโต๊ะที่อ่านหนังสือค่อนข้างคมมาก (กลัวเด็กชนแล้วหัวจะแตก)
คำแนะนำ = หานวมมาหุ้มบริเวณมุมโต๊ะลดอันตรายที่จะเกิดขึ้น

***ผมคอมเม้นต์ให้ทางทีมงานห้องสมุดได้รับทราบแล้ว และคาดว่าจะมีการปรับปรุงเร็วๆ นี้

เอาเป็นว่าที่เหลือผมว่าก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆ นะครับ เพราะผู้ใช้บริการมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเหมือนกัน (สำหรับโรงเรียนต้องระวังมากๆ ด้วยเพราะ Tablet กำลังจะมา) ผมก็จะขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ บรรณารักษ์ทุกๆ คนด้วยเหมือนกัน

ปล. ที่ห้องสมุดไหนอยากให้ผมไปเยี่ยมชมและวิจารณ์ก็ติดต่อมาได้ครับยินดีมากๆ ถ้าไม่ไกลมากไม่คิดค่าบริการอยู่แล้ว อิอิ

ชมภาพห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคมทั้งหมดได้ที่นี่เลย

[nggallery id=48]

สรุปบรรยาย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน

กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว พอจะมีเวลาอัพบล็อกเหมือนเดิม จึงขอประเดิมด้วยสรุปเรื่องที่บรรยายให้โรงเรียนค้อวังวิทยาคมแล้วกันนะครับ โดยต้องขอเกริ่นสักนิดนะครับว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องเดินทางไปบรรยายในต่างจังหวัดด้วยตัวเอง (ห้องสมุดหรือหน่วยงานในต่างจังหวัดไหนอยากให้ผมไปบรรยายก็ติดต่อมาทางเมล์แล้วกันนะครับ อิอิ)

รายละเอียดเบื้องต้นของการบรรยาย
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาไทย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาอังกฤษ : Innovation and Technology for School libraries
วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้
วันและเวลา : วันที่ 19 กันยายน 2554 เวลา 9.00 – 16.30 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนค้อวังวิทยาคม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
หน่วยงานที่จัดงาน : โรงเรียนค้อวังวิทยาคม

การบรรยายในครั้งนี้จะเน้นในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบง่ายๆ เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราสามารถนำมาใช้ในห้องสมุดมีมากมาย แค่คิดให้ได้และจับกระแสให้ดีเท่านี้ห้องสมุดของเราก็จะมีชีวิตขึ้นทันที

สไลด์ประกอบการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

สรุปการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

การบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ

1. ช่วงเช้า เรื่อง นวัตกรรม-ห้องสมุดโรงเรียน

– ความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” โดยสรุปผมให้นิยามคำนี้ว่า “อะไรก็ตามที่เป็นของใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน คำว่าใหม่ในที่นี้วัดจากการเป็นสิ่งใหม่ในองค์กรหรือใหม่ในความคิดของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น”

– ห้องสมุดเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…นับจากอดีตที่คนเข้ามาห้องสมุดเพื่ออ่านอย่างเดียว ก็เริ่มเข้ามาดูหนังฟังเพลงในห้องสมุด และคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ก็เข้ามาในห้องสมุด….จนบัดนี้เราเห็นอะไรในห้องสมุดบ้างหล่ะ

– กรณีศึกษา การทำงานบรรณารักษ์ครั้งแรกของผม ที่ ห้องสมุดวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จากห้องโล่งๆ ไม่มีอะไรเลยจนกลายมาเป็นห้องสมุด ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก การจัดทำกฤตภาคออนไลน์ด้วยตนเอง การสร้างเว็บไซต์ห้องสมุดไม่ง่ายและไม่ยาก ทำงานห้องสมุดต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย (โจทย์ทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุดเยอะๆ)

– กรณีศึกษา การทำงานเป็นนักพัฒนาระบบห้องสมุด ที่ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มองภาพรวมของการทำงานให้ได้ การสร้างแนวทางในการทำงานบรรณารักษ์ในรูปแบบใหม่ๆ สิ่งง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้และก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ มีเยอะแยะเลย เช่น กล่องความรู้กินได้ ชั้นหนังสือในแบบโครงการศูนย์ความรู้กินได้ กิจกรรมการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด แนวทางในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด การใช้ Pathfinder ฯลฯ

– อะไรคือนวัตกรรมในวงการห้องสมุดได้บ้าง เช่น การนับจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุดจากคนเป็นเครื่องมือ , การสืบค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัตรรายการเป็น OPAC , บริการใหม่ๆ จากเดิมที่ห้องสมุดต้องรอให้ผู้ใช้บริการเข้ามาเป็นห้องสมุดต้องออกไปบริการผู้ใช้บริการข้างนอกเอง , กิจกรรมแก้กรรมจาก ม.ศิลปากร ฯลฯ

2. ช่วงบ่าย เรื่อง เทคโนโลยี-ห้องสมุดโรงเรียน

– บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง (เรื่องนี้บรรยายบ่อยมากลองหาอ่านย้อนหลังได้ เช่น http://www.libraryhub.in.th/2011/08/12/e-medical-librarian-and-social-network/)

– ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน…สร้างเองได้ มองเรื่องทั่วๆ ไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ ยิ่งเราได้เห็น อ่าน ฟังมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีไอเดียมากขึ้นเท่านั้น การ Copy คนอื่นจะดีมากถ้า copy แล้วต่อยอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน

– บรรณารักษ์ กับ โปรแกรมเมอร์ ต่างกันตรงที่ บรรณารักษ์เราอยู่ในฐานะผู้ใช้ไอทีรวมถึงแนะนำการใช้ไอทีให้ผู้ใช้บริการ ส่วนโปรแกรมเมอร์รับคำสั่งให้สร้างและออกแบบโปรแกรมหรือไอทีเพื่อใช้งาน

– ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

– เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องสมุด (แบบฟรีๆ) เช่น Blog, E-mail, MSN, Twitter, Facebook, Youtube, Flickr, Slideshare

แถมให้อีกสไลด์นึงแล้วกันนะครับ เป็นตัวอย่างการนำ Web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด

– กรณีศึกษาเรื่องการใช้บล็อก บล็อกทำอะไรได้บ้าง และ องค์กรต่างๆ ใช้บล็อกเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างการใช้งานบล็อก Projectlib และ Libraryhub ตัวอย่างหัวข้อที่ใช้เขียนบล็อก นวัตกรรมที่หลายคนไม่เคยคิดเกี่ยวกับบล็อก คือ การสร้างแม่แบบไว้เผื่อเวลาไม่รู้จะเขียนอะไรก็นำแม่แบบมาประยุกต์ได้

– Facebook กับการใช้งานในห้องสมุด ตัวอย่างการใช้งาน facebook เช่น แนะนำหนังสือที่น่าสนใจในห้องสมุด, ตอบคำถามและรับฟังความคิดเห็น, ทักทายพูดคุยแบบเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการออนไลน์, โปรโมทบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุด, เชิญเพื่อนๆ เข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมห้องสมุด, ให้บริการออนไลน์, โพสรูปกิจกรรมต่างๆ ในห้องสมุด

– กรณีศึกษาการใช้ facebook ที่น่าสนใจ ดูได้ที่
1. http://www.facebook.com/thlibrary (กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย)
2. http://www.facebook.com/groups/133106983412927/ (กลุ่ม Librarian in Thailand)

– การดูแลสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด

1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
2. ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
6. นำภาพกิจกรรมมาลงใน facebook ทุกครั้ง

– ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (อ่านต่อได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2010/12/24/social-media-and-library-trends-for-2011/)

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทสรุปของงานบรรยายของผมในครั้งนี้ เอาเป็นว่าพรุ่งนี้ผมจะนำรูปภาพของห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคมมาลงให้ดูด้วยแล้วกันนะครับ วันนี้ก็ขอลาไปพักก่อนนะครับ
ภาพการอบรมทั้งหมดในวันนั้น
[nggallery id=47]

ประกาศผลประกวดสุดยอดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น 2553

ข่าวประกาศในวันนี้ผมนำมาจากเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ
รายละเอียดเกี่ยวกับการประกวดห้องสมุด ผมไม่สามารถบอกได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลให้ผมอ่านนะครับ

การประกวดห้องสมุดโรงเรียน ทางสมาคมก็มีการแบ่งกลุ่มห้องสมุดโรงเรียน ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก
2. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง
3. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่

หากเพื่อนๆ อยากรู้ว่าห้องสมุดแบบไหนที่เรียกว่า เล็ก กลาง หรือ ใหญ่ ลองอ่านบทความนี้ดูครับ
http://school.obec.go.th/e-lb/pic/Library2.htm (จะได้เข้าใจเพิ่มเติม)

การประกวดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นทางสมาคมห้องสมุดฯ แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. รางวัลระดับประเทศ
2. รางวัลระดับภาค ซึ่งแบ่งย่อยลงไปอีก คือ

2.1 ภาคเหนือ
2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.3 ภาคกลาง
2.4 ภาคใต้
2.5 กรุงเทพมหานคร

ซึ่งผมขอนำมาลงทีละส่วนนะครับ

1. รางวัลระดับประเทศ มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ไชยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดอยุธยา
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) จังหวัดกรุงเทพฯ

2. รางวัลระดับภาค มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้
2.1 ภาคเหนือ
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดคอวนิช โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนชุมแพพิทยาคม จังหวัดขอนแก่น
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดโรงเรียนพระทองคำวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = หอสมุด 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร

2.3 ภาคกลาง
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนบ้านเจ้าเณร จังหวัดกาญจนบุรี
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษก โรงเรียนปากท่อพิทยาคม จังหวัดราชบุรี
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

2.4 ภาคใต้
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดหลวงพิธานอำนวยกิจ โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง จังหวัดพัทลุง
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติฉลองครองราชย์ครบรอบ 60 ปี ในหลวง โรงเรียนบูกิ๊ตยือแร จังหวัดนราธิวาส
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา จังหวัดสตูล

2.5 กรุงเทพมหานคร
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ไม่มีโรงเรียนส่งเข้าประกวด
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ไม่มีโรงเรียนส่งเข้าประกวด
– ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 48 พรรษา โรงเรียนสารวิทยา

เอาเป็นว่าผมก็ขอแสดงความยินดีกับห้องสมุดโรงเรียนที่ได้รับรางวัลทุกแห่งนะครับ
ส่วนห้องสมุดโรงเรียนอื่นๆ ก็ไม่ต้องเสียใจ ผมก็ยังคงเป็นกำลังใจให้ทุกแห่งเสมอครับ

ผมเชื่อว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งที่ตั้งใจหลายๆ ที่อาจจะไม่ได้รับรางวัลนี้ แต่ผมอยากให้ทุกๆ คนคิดว่าห้องสมุดของคุณนะได้รับรางวัลทางใจจากผู้ใช้บริการของห้องสมุดทุกคนแล้วแหละ ผู้ใช้บริการและผมจะเป็นกำลังใจให้พวกคุณต่อไปครับ สู้ๆ

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก http://tla.or.th/pdf/school.pdf

เรื่องเล่าของผมกับห้องสมุดในวัยเด็ก

ก่อนอื่นต้องขออวยพรให้เด็กๆ อนาคตของชาติสักหน่อยดีกว่า เนื่องจากวันนี้เป็น “วันเด็กแห่งชาติ”
ผมอยากเห็นอนาคตของชาติรักการอ่านมากๆ และมีความคิดสร้างสรรค์มากๆ ครับ

library-kid

คำขวัญวันเด็กปี 2553 = “คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม”

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องแบบสบายๆ หน่อยแล้วกัน และขอเข้ากับบรรยากาศวันเด็กนิดๆ นะ
ประมาณว่าจะขอเล่าเรื่องสมัยตอนผมเป็นเด็กแล้วกัน เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดในวัยเด็กของผม

ผมเริ่มชอบห้องสมุดตั้งแต่เมื่อไหร่น้า…

ผมคงต้องเริ่มต้นเล่าตั้งแต่สมัยผมเรียนเลยหล่ะมั้ง
ซึ่งผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีมาตลอดตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6
ผมยังคงจำห้องสมุดโรงเรียนแห่งนี้ได้เสมอและเห็นการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด

หลักๆ การเปลี่ยนแปลงห้องสมุดครั้งใหญ่ที่ผมเห็นมีอยู่ 3 ครั้ง ดังนี้

1. ห้องสมุดเล็กๆ ที่ให้บริการแบบดั้งเดิมต้องยืมคืนด้วยบัตรกระดาษ และยังไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาให้บริการ
ภายในห้องสมุดเองก็ติดพัดลมไว้ทั่ว ยังไม่มีเครื่องปรับอากาศเลย แต่ห้องสมุดก็ไม่ร้อนนะ
คนมายืมหนังสือที่นี่ก็เยอะเหมือนกัน จะยืมแต่ละทีต้องเข้าแถวรอนานมาก
แต่ผมเองก็ใช้บริการแทบจะทุกสัปดาห์เลย ตอนนั้นจำได้ว่าอยู่ประมาณ ป.3-4 ได้มั้ง
หนังสือที่ผมยืมส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่มีภาพเยอะๆ พวกการ์ตูนวิทยาศาสตร์ครับ

2. ห้องสมุดถูกย้ายไปอยู่อีกตึกซึ่งเป็นห้องสมุดชั่วคราวเนื่องจากตอนนั้นมีการทุบตึกห้องสมุดเดิมเพื่อสร้างห้องสมุดใหม่
ในห้องสมุดชั่วคราวนี้เปิดดำเนินการแค่ประมาณปีครึ่งเอง
แต่ก็มีเครื่องปรับอากาศในห้องสมุดนะ ซึ่งผมก็ชอบมาก และเข้าไปนั่งอ่านหนังสือเล่นประจำเพราะว่ามันเย็นดี
แต่ในช่วงนั้นผมไม่ค่อยได้ยืมหนังสือเลย หรือว่าโตแล้วเริ่มขี้เกียจนะ

3. ห้องสมุดใหม่เสร็จกลายเป็นตึกหอสมุดใหญ่มาก มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น มีอินเทอร์เน็ตให้เล่นด้วย
ในตึกหอสมุดใหม่นี้มีทั้งห้องคอมที่ใช้สำหรับวิชาเรียนในชั้น 2 ส่วนในชั้น 3 กับ 4 เป็นห้องสมุด
ซึ่งมีความทันสมัยมากๆ ทำให้ผมเข้ามาประจำเลย โดยเฉพาะเวลาพักเที่ยงเกือบทุกวันผมจะอยู่ที่ห้องสมุดเสมอๆ
เวลาเพื่อนจะตามหาผมก็มักจะมาหากันที่ห้องสมุดนั่นแหละ
ในช่วงนั้นเวลาใครต้องการทำรายงาน ผมจะอาสาเป็นคนค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบรายงานตลอด
คงเป็นเพราะตอนนั้นแน่ๆ ที่ทำให้ผมอยากเป็นบรรณารักษ์มั้ง

นอกจากห้องสมุดโรงเรียนของผมแล้วผมยังมีห้องสมุดที่ผมไปประจำอีกสองที่นั่นคือ

1. หอสมุดแห่งชาติ (ไปค่อนข้างบ่อย)
ช่วงที่ผมได้รับมอบหมายให้ทำรายงาน ผมก็จะเลือกที่ค้นหาข้อมูลหลัก ซึ่งนั่นก็คือ หอสมุดแห่งชาติ นั่นเอง
เวลาอยากได้เนื้อหาอะไร ข้อมูลอะไร ความรู้อะไร คำตอบของผมที่ได้มักจะมาจากห้องสมุดเป็นหลัก
อาจจะเป็นเพราะว่าในสมัยนั่นอินเทอร์เน็ตเพิ่งจะเริ่มต้น จึงทำให้ค้นหาข้อมูลแล้วไม่ค่อยได้อะไรนั่นเอง


2. ห้องสมุดภาษาญี่ปุ่นที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

เนื่องจากทุกๆ วันเสาร์ผมจะเรียนภาษาญี่ปุ่นที่นั่นและในห้องสมุดนั่นมีหนังสือที่สอนภาษาญี่ปุ่นมากมายด้วย
เวลามาเรียนผมจึงต้องแวะห้องสมุดนี้สักชั่วโมงเพื่อหาอะไรอ่านเล่น และเพื่อเป็นการฝึกภาษาไปในตัวด้วย

เอาเป็นว่าผมขอหยุดเวลาเด็กไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน
ไว้วันหลังจะมาเล่าต่อในช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัยก็แล้วกันนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติกันนะครับ

แนะนำห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี

ช่วงนี้ ชีวิตของผมก็วนเวียนอยู่แถวจังหวัดกรุงเทพ เชียงใหม่ แล้วก็อุบลราชธานี
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาวันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีบ้าง

ubon-school-library12

ข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี
ที่อยู่ : เลขที่ 150 ถนนราชบุตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045-245449, 045-245301
เว็บไซต์ : http://www.anubanubon.ac.th

ทำไมผมถึงเลือกที่จะแนะนำที่นี่รู้มั้ยครับ…
สาเหตุหลักๆ คือ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งมีการปรับปรุงสถานที่ใหม่
ซึ่งต้องขอบอกว่าเป็นที่ฮือฮามากในจังหวัดอุบลราชธานี

การบริการในห้องสมุดแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. ห้องสมุดอ่าน (พื้นที่ให้บริการสำหรับอ่านหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ)
2. ห้องสมุดส่วนนิทรรศการ (พื้นที่มุมศิลป์ มุมผลงานนักเรียน ฯลฯ)
3. ห้องสมุดส่วนเวที (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน)
4. ห้องสมุดอิเลคโทรนิกส์ (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสนอ การค้นคว้าด้วยระบบอินเทอร์เน็ต)
5. ห้องสมุดลานอ่านหนังสือ (พื้นที่ลานศาสลาเกียรติยศ)
6. ห้องสมุดของเล่น (พื้นที่เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน)

ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคาร 7 นะครับ
ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ครับ

พูดถึงเรื่องงบประมาณของห้องสมุด ผมต้องขอชื่นชมสักนิดนะครับ
เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนจำนวน 2 ล้านบาท

มาถึง hilight ที่ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้แล้ว นั่นคือ
การตกแต่งด้านในห้องสมุดของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีทำให้ผมนึกถึง TKpark และห้องสมุดซอยพระนางเลย

ไม่เชื่อดูรูปรังผึ้งที่ให้เด็กๆ ปีนขึ้นไปอ่านหนังสือสิครับ มันดูคล้ายๆ TKpark เลย

ubon-school-library02

ส่วนการวางรูปแบบของชั้นหนังสือในห้องสมุดแห่งนี้มีลักษระการวางคล้ายๆ ห้องสมุดซอยพระนางเช่นเดียวกัน

ubon-school-library05

เอาเป็นว่าผมก็ขอชื่มชมบรรณารักษ์ ผู้บริหารโรงเรียน และสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนนี้นะครับ
ที่ช่วยกันร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป

รวมภาพบรรยากาศ “ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี”

[nggallery id=14]

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด ณ ห้องสมุดโรงเรียนเทพวิทยา

วันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของโรงเรียนเทพวิทยา (ราชบุรี)
ซึ่งบทความนี้ได้รับเกียรติจากคุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์ของโรงเรียนเทพวิทยามาช่วยเขียน

libraryweek

รายละเอียดทั่วไปของการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด
วันที่จัดงาน : วันที่? 24-28 สิงหาคม? 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุด โรงเรียนเทพวิทยา


วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่านและการค้นคว้ามากขึ้น
2. เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของห้องสมุด
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้และความบันเทิง
4. เพื่อให้บรรณารักษ์และผู้ใช้บริการมีทัศนคติที่ดีต่อกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ผมชอบในข้อที่ 4 มากๆ เลยครับ
เพราะการจัดงานห้องสมุดในแต่ละครั้ง
จริงๆ แล้ว พวกเราชาวบรรณารักษ์ก็หวังว่าผู้ใช้บริการหองสมุดจะมีทัศนคติที่ดี
และตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดที่มีอยู่บ้างก้เท่านั้น

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายเลยครับ
(ลองอ่านดู เผื่อจะได้ไอเดียแจ๋วๆ เพื่อนำไปใช้กับห้องสมุดของคุณได้)

– นิทรรศการ ?หนังสือดี? 6 เรื่อง? ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน?
– การประกวดเล่านิทานประกอบท่าทาง
– การประกวดวาดภาพ? หัวข้อ? ห้องสมุดของฉัน
– การประกวดคำขวัญ? หัวข้อ? ทศวรรษแห่งการอ่าน
– การประกวดสุดยอดหนอนหนังสือ
– การประกวด? Mr. and Miss Newspaper
– การประกวดหนังสือเก่าหายาก
– กิจกรรมบิงโกหนังสือ
– กิจกรรมอ่าน ดี ดี มีรางวัล
– กิจกรรมสำนวนชวนคิด
– การจำหน่ายหนังสือดี? ราคาถูก

นี่ถ้าไม่บอกว่าห้องสมุดโรงเรียน ผมคงนึกว่าเป็นห้องสมุดระดับใหญ่เลยนะครับ
มีกิจกรรมเยอะแบบนี้ ผมคงต้องขอคารวะเลยนะครับ
กิจกรรมแต่ละกิจกรรมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

ok-school

โดยเฉพาะ Mr. and Miss Newspaper ตอนแรกผมก็งงๆ ว่าคืออะไร
แต่พอลองดูรูปแล้วเริ่มเข้าใจเลยครับ ว่าเป็นการนำหนังสือพิมพ์มาตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายนั่นเอง
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงได้ไอเดียจากห้องสมุดแห่งนี้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์จากโรงเรียนเทพวิทยามากๆ
ที่แนะนำกิจกรรมนี้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และเปิดไอเดียใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุด

สำหรับรูปถ้าเพื่อนๆ อยากดูทั้งหมดให้เข้าไปดูได้ที่ http://www.thepvittaya.net/photo03/09sep52/Library/index.htm