คลิปวีดีโอ : Google ก็ดีอยู่แล้ว แต่ห้องสมุดดีกว่านะ

วันนี้บังเอิญไปเจอคลิปวีดีโอตัวนึงมา เห็นชื่อเรื่องก็ตกใจเล็กน้อย “Google is good. Libraries are better.” แต่พอดูๆ ไปก็เข้าใจแล้วว่าห้องสมุดดีกว่ากูเกิลยังไง เลยขอแนะนำคลิปวีดีโอนี้ให้เพื่อนๆ ดู

ไปดูวีดีโอกันก่อนเลยดีกว่าครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ พบคำตอบหรือยังว่าห้องสมุดดีกว่ากูเกิลยังไง

อธิบายง่ายๆ คือ กูเกิลเป็นเพียงแค่หุ่นยนต์ (robot) ในการสืบค้น
มันสามารถสืบค้นข้อมูลได้มากมาย แต่มันไม่สามารถตอบคำถามเราได้ชัดเจน
ส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง “คำสำคัญ หรือ Keyword” มากกว่า

แต่ถ้าเราตั้งเป็นประโยคคำถามไปตรงๆ กูเกิลก็คงตอบเราไม่ได้เช่นกัน
กูเกิลเป็นเพียงหุ่นยนต์ ไม่ใช่คน ดังนั้นเรื่องของความรู้สึก กูเกิลก็คงตอบเราไม่ได้ด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่างจากในวีดีโอ

“Do you have any books on the moon” คุณมีหนังสือที่เกี่ยวกับดวงจันทร์หรือปล่าว
ถาม google – google แสดงผลการสืบค้นอะไรออกมาก็ไม่รู้เยอะแยะ
ถามห้องสมุด – คุณก็เดินไปที่ชั้นหนังสือในกลุ่มดาราศาสตร์ได้เลย

“Can you help me find out about my grandmother?” คุณช่วยฉันตาหาย่าของฉันได้มั้ย

ถาม google – google แสดงผลการสืบค้นอะไรออกมาก็ไม่รู้เยอะแยะ
ถามห้องสมุด – โอเค งั้นเราไปช่วยกันตามหาท่านกันดีกว่า

เป็นไงบ้างครับ นี่ก็เป็นตัวอย่างเล็ก ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า ระหว่าง google กับ ห้องสมุด ใครเหนือกว่ากัน
เอาเป็นว่าวันนี้ก็ฝากเอาไว้ให้คิดเล่นๆ กันเท่านี้ก่อนนะครับ

เบื้องหลังการถ่ายแบบในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้หลายๆ คนคงจะยุ่งกันน่าดู เพราะว่าเป็นวันเริ่มต้นสัปดาห์ (วันจันทร์) นั่นเอง
แถมด้วยช่วงนี้หลายๆ คนคงกำลังให้ความสำคัญและเครียดกับเรื่องน้ำท่วมกันมาก
ผมเองก็ไม่อยากนำเสนอเรื่องที่อ่านแล้วเป็นวิชาการหรือเครียดมากๆ หรอก

ดังนั้นวันนี้ผมขอเน้นรูปแล้วกันครับ

รูปชุดนี้ผมได้มานานแล้วหล่ะครับ ตั้งแต่ก่อนเปิดห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
วันนี้ระหว่างจัดระเบียบไฟล์ในเครื่องแล้วเจอพอดี เลยขอนำมาลงให้ชมแล้วกันครับ

ก่อนเปิดห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ทีมงานของเราก็ต้องการภาพห้องสมุดที่ใช้ในการลงสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
จึงได้นัดชมรมถ่ายภาพจากเว็บไซต์ GuideUbon มาช่วยในงานนี้

ต้องบอกตรงๆ ครับว่าเราไม่ได้จ้างนายแบบหรือนางแบบเลย
เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนก็พร้อมที่จะเป็นนายแบบและนางแบบกันหมด 555

เมื่อพร้อมแล้วเราก็จัดฉาก จัดสถานที่ โพสท่า และก็ถ่ายกันได้เลย….
ภาพก็ออกมาเป็นแบบนี้แหละครับ

[nggallery id=50]

เป็นยังไงกันบ้าง ภาพที่นำมาลงนี่มาจากกล้องผมนะครับเป็นภาพเบื้องหลังทั้งนั้น
แต่ถ้าใครอยากชมภาพสวยๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่
– น้าไกด์ http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31638
– นายเต้าทึง http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31634
– เฮียเซง http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31644
– เฮียไก่ http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?t=31650
-ตาเอก http://www.guideubon.com/web/viewtopic.php?f=13&t=31649

prewedding แบบเล็กๆ ในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ยังจำเรื่องที่ผมเขียนเมื่อวันก่อนได้มั้ยครับ เรื่อง “prewedding เก๋ๆ ในห้องสมุดซีแอทเทิล – Seattle Public Library” ในเรื่องนั้นเองที่ผมได้เกริ่นว่า “หลังจากที่ได้ชมภาพคู่แต่งงานที่ใช้ห้องสมุดซีแอทเทิล เป็นสถานที่ในการถ่าย prewedding แล้ว มันทำให้ผมรู้สึกว่า การที่ผมจะถ่ายรูป prewedding ในห้องสมุดคงจะดีไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว (มันเข้ากับ concept ของนายห้องสมุดอย่างผมมากๆ)

เอาเป็นว่าที่วันนี้เขียนบล็อก ก็เพราะว่าเรื่องนั้นผมได้ทำสำเร็จแล้วครับ คือการไปถ่ายรูป Prewedding ในห้องสมุด และห้องสมุดที่ผมไปถ่ายก็ไม่ใช่ที่อื่นหรอกครับ ที่นั่นคือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี นั่นเอง

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=naPDMFk2nas[/youtube]

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปห้องสมุดแห่งนี้เพื่อที่จะร่วมพิธีครบรอบ 1 ปีห้องสมุด งานส่งมอบห้องสมุด และการเปิดนิทรรศการเปิดกล่องความคิดฯ ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้พาว่าที่เจ้าสาวของผมไปด้วย ดังนั้นเลยไม่พลาดที่จะขอเก็บภาพคู่ระหว่างผมและว่าที่เจ้าสาวครับ

เอาหล่ะ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ไปชมภาพถ่ายกันเลยดีกว่า…

[nggallery id=49]

ปล. ไม่ได้ใส่ชุดอะไรหรูหราหรอกครับ แค่ได้รูปคู่กันในห้องสมุดแค่นี้ก็พอใจแล้ว

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างภาพนะครับ คุณเปียวแห่งห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี และคุณผ่องจากโครงการศูนย์ความรู้กินได้

รายละเอียดของงานนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิด…เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
http://www.kindaiproject.net/kmshare-blog/exhibition-open-box-new-library-concept.html

วิจารณ์และพาชมห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคม

อย่างที่เมื่อวานได้เกริ่นเอาไว้ว่ามาบรรยายที่โรงเรียนค้อวังวิทยาคมทั้งที เลยขอเยี่ยมชมห้องสมุดในโรงเรียนนี้ดูบ้าง และขอเก็บภาพต่างๆ มาด้วย เพื่อลงในบล็อก Libraryhub วันนี้เลยขอทำตามสัญญาเอาเรื่องนี้มาลงให้อ่านและชมภาพกัน

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดที่จะพาไปชม
สถานที่ : ห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคม
ที่อยู่ : 85 หมู่.7 ตำบลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160
เว็บไซต์ : http://www.kww.ac.th/web54/index.php

โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนประจำอำเภอนะครับ ทำการสอนในระดับมัธยมศึกษา (ตั้งแต่ ม. 1- ม. 6) จำนวนนักเรียนรวมแล้วประมาณเกือบ 1000 คน

ห้องสมุดโรงเรียนแห่งนี้เพิ่งจะได้รับการพัฒนาและปรับปรุงด้านสถานที่หลายส่วนด้วยกัน เช่น มีการติดแอร์ในห้องสมุด และออกแบบมุมบริการต่างๆ ในห้องสมุดมากมาย

หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนหรืออ่านประกอบการเรียน มีการจัดหมวดหมู่หนังสือตามแบบดิวอี้

การยืมคืนก็คงคล้ายๆ กับห้องสมุดโรงเรียนอื่นๆ แหละครับ คือ แบ่งการยืมคืนเป็นสองส่วนคือระดับนักเรียนและครูอาจารย์

จากการเดินสำรวจรอบๆ พบว่า
1. ชั้นที่เก็บจุลสาร จดหมายข่าวยังดูเละเทะไม่เรียบร้อย
คำแนะนำ = เลือกจัดเก็บข่าวสารที่มีประโยชน์ หรือ ตัดบทความที่น่าสนใจเก็บไว้ เพื่อทำกฤตภาคออนไลน์ต่อไป

2. การจัดนิทรรศการในห้องสมุดมีพื้นที่ค่อนข้างน้อย
คำแนะนำ = สามารถจัดวางนิทรรศการบนโต๊ะอ่านหนังสือได้เลย หรือทำป้ายคำคมที่เกี่ยวกับการอ่านมาแปะไว้บริเวณรอบๆ ห้องสมุด

3. มุมโต๊ะที่อ่านหนังสือค่อนข้างคมมาก (กลัวเด็กชนแล้วหัวจะแตก)
คำแนะนำ = หานวมมาหุ้มบริเวณมุมโต๊ะลดอันตรายที่จะเกิดขึ้น

***ผมคอมเม้นต์ให้ทางทีมงานห้องสมุดได้รับทราบแล้ว และคาดว่าจะมีการปรับปรุงเร็วๆ นี้

เอาเป็นว่าที่เหลือผมว่าก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆ นะครับ เพราะผู้ใช้บริการมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเหมือนกัน (สำหรับโรงเรียนต้องระวังมากๆ ด้วยเพราะ Tablet กำลังจะมา) ผมก็จะขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนๆ บรรณารักษ์ทุกๆ คนด้วยเหมือนกัน

ปล. ที่ห้องสมุดไหนอยากให้ผมไปเยี่ยมชมและวิจารณ์ก็ติดต่อมาได้ครับยินดีมากๆ ถ้าไม่ไกลมากไม่คิดค่าบริการอยู่แล้ว อิอิ

ชมภาพห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคมทั้งหมดได้ที่นี่เลย

[nggallery id=48]

สรุปบรรยาย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน

กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว พอจะมีเวลาอัพบล็อกเหมือนเดิม จึงขอประเดิมด้วยสรุปเรื่องที่บรรยายให้โรงเรียนค้อวังวิทยาคมแล้วกันนะครับ โดยต้องขอเกริ่นสักนิดนะครับว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องเดินทางไปบรรยายในต่างจังหวัดด้วยตัวเอง (ห้องสมุดหรือหน่วยงานในต่างจังหวัดไหนอยากให้ผมไปบรรยายก็ติดต่อมาทางเมล์แล้วกันนะครับ อิอิ)

รายละเอียดเบื้องต้นของการบรรยาย
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาไทย : นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน
ชื่อหัวข้อการบรรยายภาษาอังกฤษ : Innovation and Technology for School libraries
วิทยากร : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้
วันและเวลา : วันที่ 19 กันยายน 2554 เวลา 9.00 – 16.30 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนค้อวังวิทยาคม อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
หน่วยงานที่จัดงาน : โรงเรียนค้อวังวิทยาคม

การบรรยายในครั้งนี้จะเน้นในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยีแบบง่ายๆ เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราสามารถนำมาใช้ในห้องสมุดมีมากมาย แค่คิดให้ได้และจับกระแสให้ดีเท่านี้ห้องสมุดของเราก็จะมีชีวิตขึ้นทันที

สไลด์ประกอบการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

สรุปการบรรยาย “นวัตกรรมและเทคโนโลยีในห้องสมุดโรงเรียน”

การบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ

1. ช่วงเช้า เรื่อง นวัตกรรม-ห้องสมุดโรงเรียน

– ความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” โดยสรุปผมให้นิยามคำนี้ว่า “อะไรก็ตามที่เป็นของใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน คำว่าใหม่ในที่นี้วัดจากการเป็นสิ่งใหม่ในองค์กรหรือใหม่ในความคิดของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น”

– ห้องสมุดเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…นับจากอดีตที่คนเข้ามาห้องสมุดเพื่ออ่านอย่างเดียว ก็เริ่มเข้ามาดูหนังฟังเพลงในห้องสมุด และคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ก็เข้ามาในห้องสมุด….จนบัดนี้เราเห็นอะไรในห้องสมุดบ้างหล่ะ

– กรณีศึกษา การทำงานบรรณารักษ์ครั้งแรกของผม ที่ ห้องสมุดวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จากห้องโล่งๆ ไม่มีอะไรเลยจนกลายมาเป็นห้องสมุด ต้องผ่านอะไรมาเยอะมาก การจัดทำกฤตภาคออนไลน์ด้วยตนเอง การสร้างเว็บไซต์ห้องสมุดไม่ง่ายและไม่ยาก ทำงานห้องสมุดต้องมีความคิดสร้างสรรค์ด้วย (โจทย์ทำอย่างไรให้เด็กช่างกลเข้าห้องสมุดเยอะๆ)

– กรณีศึกษา การทำงานเป็นนักพัฒนาระบบห้องสมุด ที่ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มองภาพรวมของการทำงานให้ได้ การสร้างแนวทางในการทำงานบรรณารักษ์ในรูปแบบใหม่ๆ สิ่งง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้และก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ มีเยอะแยะเลย เช่น กล่องความรู้กินได้ ชั้นหนังสือในแบบโครงการศูนย์ความรู้กินได้ กิจกรรมการวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด แนวทางในการคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด การใช้ Pathfinder ฯลฯ

– อะไรคือนวัตกรรมในวงการห้องสมุดได้บ้าง เช่น การนับจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุดจากคนเป็นเครื่องมือ , การสืบค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบัตรรายการเป็น OPAC , บริการใหม่ๆ จากเดิมที่ห้องสมุดต้องรอให้ผู้ใช้บริการเข้ามาเป็นห้องสมุดต้องออกไปบริการผู้ใช้บริการข้างนอกเอง , กิจกรรมแก้กรรมจาก ม.ศิลปากร ฯลฯ

2. ช่วงบ่าย เรื่อง เทคโนโลยี-ห้องสมุดโรงเรียน

– บรรณารักษ์ยุคใหม่ (Cybrarian) ต้องมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง (เรื่องนี้บรรยายบ่อยมากลองหาอ่านย้อนหลังได้ เช่น http://www.libraryhub.in.th/2011/08/12/e-medical-librarian-and-social-network/)

– ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน…สร้างเองได้ มองเรื่องทั่วๆ ไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ ยิ่งเราได้เห็น อ่าน ฟังมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งมีไอเดียมากขึ้นเท่านั้น การ Copy คนอื่นจะดีมากถ้า copy แล้วต่อยอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน

– บรรณารักษ์ กับ โปรแกรมเมอร์ ต่างกันตรงที่ บรรณารักษ์เราอยู่ในฐานะผู้ใช้ไอทีรวมถึงแนะนำการใช้ไอทีให้ผู้ใช้บริการ ส่วนโปรแกรมเมอร์รับคำสั่งให้สร้างและออกแบบโปรแกรมหรือไอทีเพื่อใช้งาน

– ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

– เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องสมุด (แบบฟรีๆ) เช่น Blog, E-mail, MSN, Twitter, Facebook, Youtube, Flickr, Slideshare

แถมให้อีกสไลด์นึงแล้วกันนะครับ เป็นตัวอย่างการนำ Web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด

– กรณีศึกษาเรื่องการใช้บล็อก บล็อกทำอะไรได้บ้าง และ องค์กรต่างๆ ใช้บล็อกเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างการใช้งานบล็อก Projectlib และ Libraryhub ตัวอย่างหัวข้อที่ใช้เขียนบล็อก นวัตกรรมที่หลายคนไม่เคยคิดเกี่ยวกับบล็อก คือ การสร้างแม่แบบไว้เผื่อเวลาไม่รู้จะเขียนอะไรก็นำแม่แบบมาประยุกต์ได้

– Facebook กับการใช้งานในห้องสมุด ตัวอย่างการใช้งาน facebook เช่น แนะนำหนังสือที่น่าสนใจในห้องสมุด, ตอบคำถามและรับฟังความคิดเห็น, ทักทายพูดคุยแบบเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการออนไลน์, โปรโมทบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุด, เชิญเพื่อนๆ เข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมห้องสมุด, ให้บริการออนไลน์, โพสรูปกิจกรรมต่างๆ ในห้องสมุด

– กรณีศึกษาการใช้ facebook ที่น่าสนใจ ดูได้ที่
1. http://www.facebook.com/thlibrary (กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย)
2. http://www.facebook.com/groups/133106983412927/ (กลุ่ม Librarian in Thailand)

– การดูแลสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด

1. คอยอัพเดทข่าวสารและกิจกรรมของห้องสมุดใหม่ให้ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
2. ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องราวพฤติกรรมที่แย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พยายามพูดคุยหรือถามความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
6. นำภาพกิจกรรมมาลงใน facebook ทุกครั้ง

– ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (อ่านต่อได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2010/12/24/social-media-and-library-trends-for-2011/)

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทสรุปของงานบรรยายของผมในครั้งนี้ เอาเป็นว่าพรุ่งนี้ผมจะนำรูปภาพของห้องสมุดโรงเรียนค้อวังวิทยาคมมาลงให้ดูด้วยแล้วกันนะครับ วันนี้ก็ขอลาไปพักก่อนนะครับ
ภาพการอบรมทั้งหมดในวันนั้น
[nggallery id=47]

มาจะกล่าวบทไป…ผลงานสำคัญของหอสมุดแห่งชาติ ปี 2553

บทความที่นำมาลงในวันนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการวิจารณ์การทำงานของหอสมุดแห่งชาตินะครับ
ข้อมูลที่นำมาลงนี้ ผมนำมาจากรายงานประจำปีของกรมศิลปากร ชื่อหนังสือว่า “100 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร”
จุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลผลงานต่างๆ ของหอสมุดแห่งชาติเท่านั้นนะ

ผมเฝ้าตามหารายงานประจำปีของหอสมุดแห่งชาติมาโดยตลอด
ซึ่งต้องบอกตรงๆ เลยว่าหายากมาก ในหอสมุดแห่งชาติเองก็จัดเก็บไว้ที่ชั้นหนังสือเช่นกันแต่เป็นรายงานฉบับเก่าๆ
การตามหาก็ยังคงดำเนินต่อไป…..

จนกระทั่งวันหนึ่งผมไปเจอหนังสือรายงานประจำปีของกรมศิลปากร
ผมค้นพบว่ามีข้อมูลผลงานของหอสมุดแห่งชาติในแต่ละปีอยู่ในนั้น
ผมจึงเริ่มแสวงหาหนังสือเล่มนี้อีกครั้ง จนล่าสุดผมได้พบกับหนังสือเล่มนี้ “100 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร”

เล่มนี้เป็นเล่มที่ใหม่ที่สุด ฉบับปี 2554 นั่นเอง

ปล. ผมขอเขียนเป็นเรื่องของหอสมุดแห่งชาตินะครับ เพราะกรมศิลปากรจริงๆ แล้วยังมีหน่วยงานในสังกัดอีกหลายหน่วยงาน

เนื้อหาที่เกี่ยวกับหอสมุดแห่งชาติในเล่มนี้ได้พูดถึงประเด็นดังต่อไปนี้

– ความเป็นมา (เกือบทุกปีก็มีส่วนนี้ ในเว็บไซต์ก็มี เพื่อนๆ ลองเข้าไปหาอ่านกันดูเองนะ)

– ภารกิจหน้าที่ของหอสมุดแห่งชาติ (ขอเกริ่นแบบย่อๆ นะ) มีดังนี้

*** การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
*** การอนุรักษ์/สงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
*** การจัดกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ
*** การบริการ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
*** การดำเนินงานด้านโสตทัศนวัสดุ
*** การดำเนินงานศูนย์สารนิเทศห้องสมุด
*** การเป็นแหล่งให้ความรู้และฝึกอบรมปฏิบัติการแก่สถาบันการศึกษาและให้ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างๆ
*** การดำเนินงานด้านเอกสารโบราณ

– โครงสร้างสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม 1 ศูนย์ 1 ฝ่าย และ 1 สาขา ดังนี้

*** ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
***กลุ่มพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
***กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก
***ศูนย์สารนิเทศห้องสมุด
***กลุ่มบริการค้นคว้าอ้างอิง
***กลุ่มโสตทัศนวัสดุและกิจกรรมห้องสมุด
***กลุ่มมาตรฐานและวิจัยห้องสมุด
***หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบังเฉลิมพระเกียรติ

– ผลงานสำคัญปีงบประมาณ 2553 (ประเด็นหลักที่อยากให้อ่าน) มีดังนี้

1. โครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ – งานที่กำลังดำเนินการพัฒนาอาคารหอสมุดแห่งชาติหลังใหม่ (งบประมาณ 438,000,000 บาท) ตามกำหนดการจะต้องแล้วเสร็จในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554

2. โครงการเผยแพร่พระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 กิจกรรมทวีปัญญา จัดไป 2 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 เรื่อง “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” จัดวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 มีผู้เข้าร่วม 151 คน
ครั้งที่ 2 เรื่อง “ศิลปะการละคร ในรัชกาลที่ 6” จัดวันที่ 8 มิถุนายน 2553 มีผู้เข้าร่วม 216 คน

3. โครงการนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “เจ้าฟ้าหญิงผู้เป็นที่รักของปวงชนชาวไทย” จัดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม – 23 พฤษภาคม 2553

4. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การอนุรักษ์หนังสือและเอกสารโบราณในหอสมุดแห่งชาติ วันที่ 9-10 มิถุนายน 2553

5. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบริการ จัดวันที่ 1-2 มิถุนายน 2553

6. โครงการจัดการองค์ความรู้ 2 โครงการ คือ
6.1 โครงการความรู้ด้านการอ่านถ่ายถอดอักษรโบราณ : อักษรขอม –> ได้หนังสือคู่มือ
6.2 โครงการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศของหอสมุดแห่งชาติ –> ได้หนังสือคู่มือ

7. การถ่ายโอนภารกิจหอสมุดแห่งชาติสาขา จำนวน 5 แห่ง ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นี่ก็เป้นเพียงบทสรุปที่ผมนำมาจากหนังสือก็เท่านั้นนะครับ
วันนี้ผมไม่ขอวิจารณ์ใดๆ ก็แล้วกัน เอาไว้วันหลังจะมาวิจารณ์ให้อ่านนะ
สำหรับเพื่อนๆ ที่แสดงความคิดเห็น ผมก็ไม่ขอปิดกั้นนะครับ แต่ช่วยแสดงความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์ด้วยน้า….

The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการศึกษาและบล็อกในต่างประเทศซะนานเลย
วันนี้ผมขอนำผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 มาลงนะครับ
(ปีที่แล้วผมเขียนเรื่องการประกาศผลรางวัล The edublogaward 2009 ไปแล้ว)

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 ดูน่าสนใจมากขึ้น
บล็อกเดิมที่เคยได้รับรางวัลบางบล็อกหลุดไปอย่างน่าเสียดาย และมีบล็อกใหม่ๆ ที่เข้ามาด้วย

ขอเกริ่นนำถึงรางวัลนี้สักหน่อยนะครับ
The edublogaward เป็นรางวัลที่แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นซึ่งมีหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน บล็อกนักวิจัย ฯลฯ
แน่นอนครับ ถถ้าพูดเรื่องวงการศึกษาคงต้องมีรางวัลที่เกี่ยวกับ “ห้องสมุดและบรรณารักษ์” ด้วย

ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010
ผู้ที่ชนะเลิศในปี 2010 คือ บล็อก Castilleja School Library
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก A Media Specialist’s Guide to the Internet
ส่วนอันดับที่สาม คือ Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria (ปีที่แล้วได้ที่ 2)

การประกวด The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ มีผู้เสนอชื่อบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์อีกมาก ซึ่งแต่ละบล็อกผมว่าน่าสนใจเช่นกัน เลยขอนำมาลงเพื่อเป็นตัวเลือกให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านต่อ โดยมีรายชื่อดังนี้

  1. Aberfoyle Park Campus Resource Centre Blog
  2. A Media Specialist’s Guide to the Internet
  3. Bloggit
  4. Booked Inn
  5. Blue Skunk
  6. Bright Ideas
  7. Castilleja School Library
  8. Cathy Nelson’s Professional Blog
  9. Gryphon LRC
  10. Heart of School
  11. Informania
  12. Library Grits
  13. Librarian By Day
  14. Lucacept – intercepting the web
  15. Never Ending Search
  16. Skerricks
  17. Springston School Library Blog
  18. Tales from a Loud Librarian
  19. The Daring Librarian
  20. The Unquiet Librarian
  21. The WebFooted Booklady
  22. Van Meter Library Voice
  23. VCS Skyway Library

ผลการโหวต The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เป็นยังไงบ้างครับ คิดยังไงกับเรื่องการประกวดบล็อกในวงการศึกษา
ผมว่ามันก็เป็นการพัฒนางานอย่างหนึ่งนะครับ นอกจากนี้ยังถือว่าช่วยในเรื่องการจัดการความรู้ได้อย่างดีทีเดียว
บ้านเราก็ควรจะทำบ้างนะ (อยากให้ทำเชิงคุณภาพนะครับ ไม่ใช่ประกวดแล้วเล่นพรรคเล่นพวก)

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2010http://edublogawards.com/2010/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ – http://edublogawards.com/

15 ห้องสมุดที่น่าทึ่งและอลังการระดับโลก

ไม่ได้โพสเรื่องที่เกี่ยวกับภาพห้องสมุดสวยๆ มานานแล้วนะครับ วันนี้ขอแบบสบายๆ สักวันแล้วกัน
ชื่อเรื่องนี่ก็ไม่ได้ตั้งเว่อร์ไปหรอกครับ เพราะแต่ละแห่งเห็นแล้วต้อง อู้ฮู่ววววววววว์ กันเลยทีเดียว
ห้องสมุดทั้ง 15 แห่งนี้มีอยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่จินตนาการ (บางแห่งผมก็เดาได้อยู่แล้ว…)

ที่มาของเรื่องนี้ คือ ผมเข้าไปอ่านบล็อกที่เกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดมา แล้วดันไปเจอ link นี้เข้า
ชื่อเรื่องต้นฉบับ คือ “Amazing libraries around the world

เราไปดูกันดีกว่าว่า 15 ห้องสมุดที่ว่านี้ คือที่ไหนบ้าง

1. Salt Lake City Public Library

อยู่ที่อเมริกานะครับ ห้องสมุดแห่งนี้จะมีการเปิดเพลงคลอให้ผู้ใช้บริการเพลิดเพลินไปกับการอ่านหนังสือ พร้อมด้วยการฟังเพลงแบบชิวๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นี่ไม่มีการบล็อคเว็บอะไรทั้งสิ้น ที่นี่ “no censorship”

credit ภาพโดย Pedro Szekely

2. Strahov Theological Hall

ยู่ที่สาธารณรัฐเชก เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือเกี่ยวกับศาสนา 18,000 เล่ม และมีหนังสือไบเบิลหลายภาษามากๆ

credit ภาพโดย Rafael Ferreira

3. Biblioteca España

อยู่ที่โคลัมเบีย ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง (เมือง Santo Domingo เป็นย่านที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อย รวมถึงเรื่องของปัญหายาเสพติดที่ค่อนข้างสูง)

credit ภาพโดย danjeffayelles

4. Beinecke Rare Book and Manuscript Library

ยู่ที่อเมริกา เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหน้าต่างเลย และกำแพงทำจากหินอ่อนโปล่งแสง ที่นี่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า

credit ภาพโดย KAALpurush

5. Belarus National Library

อยู่ที่เปราลุส เป็นหอสมุดแห่งชาติที่ถูกออกแบบใหม่แทนหอสมุดแห่งชาติเดิม สามารถเก็บหนังสือได้ 8 ล้านเล่ม

credit ภาพโดย Giancarlo Rosso

6. Thomas Fisher Rare Book Library

อยู่ที่แคนาดา เป็นห้องสมุดที่จัดเก็บหนังสือหายากที่มากที่สุดในประเทศแคนาดา รวมถึง clolletion ของ Lewis Carroll ทั้งงานเขียน รูปภาพ

credit ภาพโดย Andrew Louis

7. Seattle Public Library

อยู่ที่อเมริกา อันนี้คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากเพราะมันเป็นห้องสมุดประชาชนที่ออกแบบได้อลังการงานสร้างมากๆ จุดเด่นที่น่าสนใจของที่นี่ คือ Book spiral รูปแบบการจัดหนังสือที่รองรับในอนาคต

credit ภาพโดย Stephen J. Friedman, MD

8. Black Diamond

อยู่ที่เดนมาร์ค ชื่อจริงๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ คือ Danish Royal Library มีพื้นที่เป็นลานคอนเสิร์ด ลานจัดนิทรรศการ และส่วนของห้องสมุดด้วย

credit ภาพโดย G. Jörgenshaus

9. TU Delft Library

อยู่ที่เนเธอร์แลนด์ ออกแบบได้สวยงามและจุดเด่นของที่นี่คือบันไดวน

credit ภาพโดย Stephanie Braconnier

10. Halmstad Library

อยู่ที่สวีเดน การออกแบบห้องสมุดของที่นี่มีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้ที่อยู่รอบๆ ห้องสมุด (เขาไม่ตัดต้นไม้เพื่อสร้างสร้างห้องสมุด) รอบๆ อาคารเป็นกระจกสามารถมองออกมาชมวิวข้างนอกได้ด้วย

credit ภาพโดย ET Photo

11. Jose Vasconcelos Library

ยู่ที่แม็คซิโก ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการสร้าง 2 ปี โดยเมื่อเปิดห้องสมุดแล้วจัดเก็บหนังสือได้มากขึ้น แถมด้วยห้องประชุมที่รองรับคนจำนวน 500 คน

credit ภาพโดย Omar

12. Vancouver Library Square

ยู่ที่แคนาดา ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดกลางของ vancover มีพื้นที่เพื่อการทำกิจกรรมสังคมมากมาย ตกแต่งด้วยกระจกเป็นหลัก

credit ภาพโดย Darren Stone

13. Real Gabinete Portugues de Leitura

อยู่ที่บราซิล ห้องสมุดที่แค่ห้องเดียวก็สามารถเก็บหนังสือได้ 350,000 เล่ม การตกแต่งภายในจะเป็นเรื่องราวต่างๆ 4 เรื่อง และพื้นที่ต่างๆ เต็มไปด้วยชั้นหนังสือ

credit ภาพโดย Os Rúpias

14. Admont Library

อยู่ที่ออสเตรีย ห้องสมุดที่มีสถาปัตยกรรมตกแต่งสวยงาม งานปูนปั้นศิลปะเพียบ และเป็นห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือหายากและต้นฉบับลายมือที่เยอะที่สุดในโลกด้วย

credit ภาพโดย Christine McIntosh

15. British Library

อยู่ที่อังกฤษ เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง (รองจาก library of congress) มีหนังสือมากถึง 150 ล้านเล่มจากทั่วโลก และอีก 100 ล้านเล่มที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล

credit ภาพโดย Steve Cadman

เป็นยังไงกันบ้างครับกับห้องสมุดสุดอลังการวันนี้
เท่าที่สังเกตจะพบว่าเป็นห้องสมุดที่อยู่ในฝั่งอเมริกา ยุโรป เป็นหลักเลย ไม่เห็นเอเซียเลย

เอาเป็นว่าไว้งวดหน้าผมจะหาห้องสมุดในเอเซียแบบแจ่มๆ มาให้เพื่อนๆ ชมกันบ้างแล้วกันนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอตัวก่อนแล้วกัน

7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด

ช่วงปีที่ผ่านมาผมได้สังเกตว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำบล็อกเข้ามาใช้มากขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะ wordpress แล้ว ผมได้รับคำถามมามากเหลือเกิน เนื่องจาก ProjectLib และ Libraryhub ของผมใช้ wordpress มาตลอด ซึ่งวันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับ wordpress ในวงการห้องสมุดบ้างดีกว่า

เข้าประเด็นกันแบบง่ายๆ เลย เรื่องที่เขียนวันนี้ “7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด
ผมเรียบเรียงใหม่จากบทความ “7 Great Library Themed Templates for Your Blog(เนื่องจากบางธีมไม่สามารถเปิดได้แล้ว)

ทำไมต้องเป็น wordpress – ผมขอสรุปแบบตรงๆ เลยนะครับ ว่า “ฟรี – ง่าย – ยืดหยุ่น – ประสิทธิภาพสูง – ของเล่นเยอะ”

ปล. สำหรับคนที่ใช้ wordpress.com (แบบของฟรี) สามารถค้นหาธีมที่นำเสนอด้านล่างนี้ได้บางธีมเท่านั้น ส่วนคนที่ดาวน์โหลด wordpress ไปติดตั้งบน host สามารถนำไปใช้ได้ทุกธีมครับ

ธีมที่มีให้เลือกบน wordpress มีมากมาย จนหลายคนบอกว่านี่คือสิ่งที่ยากของ wordpress คือ เลือกธีมไม่ถูก เพราะสวยหมดทุกธีม
ซึ่งธีมที่มีใช้อยู่นั่นบางธีมก็เสียเงิน บางธีมก็ใช้ได้ฟรี ขึ้นอยู่กับความสามารถพิเศษของธีมนั่นๆ ด้วย

ห้องสมุดหลายๆ แห่งที่ตัดสินใจใช้ wordpress เป็นบล็อกของห้องสมุดจึงต้องรู้จักวิธีในการเลือกธีมที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ดังนั้นธีมที่จะให้ดูในวันนี้ ผมว่าสำหรับบล็อกห้องสมุดแล้วฟีเจอร์ครบ และหน้าตาของธีมดูเหมาะสมกับความเป็นห้องสมุดดี

(บางธีมนั้นเป็นผลงานของห้องสมุดที่ออกแบบ สร้าง และปล่อยออกมาให้ดาวน์โหลดด้วย)

“7 ธีมบล็อก wordpress ที่น่าสนใจสำหรับบล็อกห้องสมุด”
ที่ว่านี้มีดังนี้ :-
1. Law library wordpress theme.

2. Books and Imagination theme.

3. Black Bible theme.

4. Easy Reader theme.

5. BlueWebHosting theme.

6. Trexle Theme.

7. High tech book studies theme.


เป็นยังไงกันบ้างครับกับธีมที่แนะนำในวันนี้เอาเป็นว่า ที่แนะนำทั้งหมดนี้คือธีมที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีๆ นะครับ ถ้าสนใจธีมไหนก็คลิ๊กที่ชื่อของธีมที่อยู่ด้านบนของแต่ละรูปได้เลยนะครับ

เอาเป็นว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อนดีกว่า ไว้จะมาแนะนำอย่างอื่นที่เกี่ยวกับ wordpress วันไหนอีกแล้วกันครับ

ภาพห้องสมุดวันละรูป เรื่องง่ายๆ ที่ทำได้บน Facebook

ห้องสมุดหลายๆ ที่คงมี Facebook เป็นของตัวเองแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทั้งแบบ profile หรือ Page ก็ตาม “เพื่อนๆ ทำอะไรกับ facebook ห้องสมุดของเพื่อนๆ บ้าง” วันนี้ผมขอแนะนำการโปรโมทห้องสมุดแบบง่ายๆ ที่เพื่อนๆ สามารถนำไปทำได้ทันทีมาฝากครับ

การโปรโมทที่ว่านี้ คือ การถ่ายภาพห้องสมุดของเพื่อนๆ วันละ 1 รูป แล้วนำมาอัพโหลดลงอัลบั้ม “ห้องสมุดวันละรูป” ใน Facebook ของห้องสมุด เพื่อนๆ ไงครับ

กิจกรรมนี้ผมทดลองกับ facebook fanpage ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
ผลที่ตอบรับนับว่าเป็นที่น่าพอใจมาก ผู้ใช้บริการออนไลน์ให้ความสนใจกับรูปภาพต่างๆ ของห้องสมุดมาก
วัดได้จากสถิติการเข้าชมภาพ การกดถูกใจ และการแสดงความคิดเห็น….

คนเข้ามาดูภาพเยอะมาก แถมมีผลตอบรับที่ดีมากๆ ด้วยนะครับ

กิจกรรมนี้ทำได้ง่ายมากเลยครับ ผมขอแนะนำวิธีแบบง่ายๆ ลองนำไปทำกันดูนะ

อุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพห้องสมุด ได้แก่
– มือถือที่ใช้ถ่ายภาพได้
– กล้องเว็บแคมของคอมพิวเตอร์
– กล้องดิจิตอลทั้งแบบธรรมดา หรือ DSLR
– เครื่องสแกนรูปภาพ

เลือกใช้ได้เลยครับ ถนัดอะไรก็ใช้อันนั้นนะครับ

ถ่ายอะไรได้บ้างหรือถ่ายมุมไหนดี
– ชั้นหนังสือในห้องสมุด
– การให้บริการที่หน้าเคาน์เตอร์
– ผู้ใช้บริการอ่านหนังสือ
– กิจกรรมที่จัดในห้องสมุด
– ภาพเบื้องหลังการทำงานของบรรณารักษ์

เมื่อโพสรูปลงไปในอัลบั้บมแล้ว ถ้ามีคำบรรยายขอถ่ายภาพแต่ละภาพด้วยจะยิ่งดี ที่สำคัญลงวันที่ไว้ด้วยเพื่อเตือนความจำให้กับเราในอนาคตด้วย

14/8/54 คณะ นักศึกษา กศน.วารินชำราบ เยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี "ศูนย์ความรู้กินได้" กว่า 300 คน

ดูตัวอย่างของ “ห้องสมุดวันละรูป” ของ facebook fanpage ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ได้ที่ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.245804078771929.67239.219735101378827&type=1

เป็นไงบ้างครับ ง่ายหรือปล่าว เอาเป็นว่าลองไปทำกันดูนะครับ หากทำแล้วก็ส่ง URL มาให้ผมดูบ้างนะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันนะครับ อิอิ