Infographic : ห้องสมุดประชาชนในอเมริกาอยู่ในภาวะเสี่ยง

นานๆ ทีผมจะเจอ Infographic ที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
เลยอยากเอามาให้เพื่อนๆ ดูและสังเกตการทำ Infographic แบบดีๆ

Infographic วันนี้ผมนำมาจากงาน National Library Week (สัปดาห์ห้องสมุดแห่งชาติ) ซึ่งจะจัดทุกปีในระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน ในอเมริกาเขาจัดกันอย่างยิ่งใหญ่มากๆ ส่วนไทยเราก็อย่างที่รู้ๆ กันในช่วงนั้นเป็นวันสงกรานต์ เราหยุดครับ

อ๋อ เข้าเรื่องดีกว่า Infographic นี้นำเสนอข้อมูลห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งหัวข้อใน Infographic คือ U.S. Public Libraries At Risk (แอบสะดุ้ง)
ประมาณว่าห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะที่เสี่ยง (เสี่ยงถูกปิดนะครับ)

เอาเป็นว่าในไปชม Infographic กันก่อน


เป็นยังไงกันบ้างครับ สวยงาม ชัดเจน และมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย เช่น

ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนในสหรัฐอเมริกามีจำนวน 169 ล้านคน (59% ของประชากรในประเทศ)
(โห แบบว่าคนสหรัฐอเมริกาเข้าห้องสมุดประชาชนมากขนาดนั้นเลย แล้วไทยหล่ะ)

เรื่องที่คนให้ความสนใจในห้องสมุด (ผลสำรวจเรื่องยอดฮิตในห้องสมุด ปี 2010)
อันดับ 1 – เรื่องการทำอาหาร 67%
อันดับ 2 – เรื่องสุขภาพ 59%
อันดับ 3 – เรื่องเหตุการณ์ปัจจุบันรวมไปถึงเรื่องการเมือง 41%
อันดับ 4 – เรื่องธุรกิจและอาชีพ 37%
อันดับ 5 – เรื่องการท่องเที่ยว 26%
อันดับ 6 – เรื่องการพัฒนาตนเอง 22%

เรื่องของการตัดงบประมาณในห้องสมุดมีมาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว
และในปี 2009 ถูกตัดไป 40%? ปี 2010 ถูกตัดไป 54.4% และในปีนี้ ถูกตัดไป 62%

เอาแล้วไงครับ เริ่มน่ากลัวแล้วว่าห้องสมุดจะถูกปิดอีกหลายแห่ง
(อ๋อ งบประมาณสำหรับห้องสมุดของเขาแม้ว่าจะโดนตัดไปเยอะแต่ผมเชื่อว่าเงินในการบริหารห้องสมุดของเขาก็ยังคงมากกว่าเงินบริหารห้องสมุดประชาชนในเมืองไทยมากนัก)

นอกจากนี้ทุกคน (ผู้ใช้บริการ) เกือบทุกวัย ทุกอาชีพ เห็นด้วย และยินดีที่มีห้องสมุดประชาชนใช้งาน
นับว่าห้องสมุดประชาชนเป็นที่ต้องการของผู้ใช้บริการเกือบทุกคน (ดูจาก % ได้เลย)

และท้ายที่สุดแล้ว ใน Infographic ก็ทิ้งท้ายไว้ว่า
“กรุณาช่วยห้องสมุดประชาชนในท้องที่ของคุณด้วย”

เอาเป็นว่าห้องสมุดบางแห่งที่ถูกสั่งปิดเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้บางแห่งยังอยู่
เพราะความร่วมมือของคนในพื้นที่ระดมทุนช่วยเหลือห้องสมุด
ก็มีเช่นกัน

เอาเป็นว่า Infographic นี้ ผมว่าเป็นภาพที่นำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจมากๆ
อ่านแล้วเข้าใจง่าย แถมดูกี่ทีก็ไม่รู้สึกเบื่อเลย (ถ้าเทียบกับการนำเสนอข้อมูลแบบ paper ผมว่านี้แหละเยี่ยม)

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้เท่านี้แล้วกันครับ ผมเองก็ตั้งตาคอยดู infographic ของเมืองไทยอยู่นะ

ที่มาของภาพดีๆ นี้ จาก http://www.archives.com/blog/industry-news/national-library-week-2011.html

แผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน (ชมภาพจากประเทศญี่ปุ่น)

เวลาก็ผ่านมาเดือนกว่าๆ แล้วกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นและสึนามิในญี่ปุ่น
จนถึงวันนี้แล้วก็ยังคงมี after shock เรื่อยๆ และยังคงมีข่าวแผ่นดินไหวอยู่นะครับ
หลายๆ คนก็คงอยากรู้ว่าห้องสมุดในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นยังไงในช่วงแผ่นดินไหว วันนี้ผมจึงขอรวบรวมภาพมาให้ดูกัน

แผ่นดินไหวแน่นอนครับว่า “หนังสือคงหล่นออกมาจากชั้นกันอย่างเละเทะ”
ซึ่งบ้างที่ชั้นหนังสือก็ล้มลงมาเลย ซึ่งเกิดความเสียหายมากมาย บางที่ฝ้าถล่มเลยครับ
เอาเป็นว่าเราไปชมภาพกันก่อนดีกว่านะครับ แล้วจะรู้ว่าแผ่นดินไหวทำให้ห้องสมุดเสียหายแค่ไหน

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพเพียงบางส่วนเท่านั้นนะครับ ที่มาของรูปมาจาก twitter ของเพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่อยู่ญี่ปุ่นนะครับ
ขอบคุณเพื่อนๆ จากญี่ปุ่น Thx @spwn11 @popongap @jing_ke @halnaaaaa313 @Sequoia0223 @1daymashoue @tsukubauniv_lib

ภาพห้องสมุดของญี่ปุ่นที่ผมชอบดูมาจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tsukuba ครับ
ตามดูได้จาก http://twitpic.com/photos/tsukubauniv_lib

ล่าสุดที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Tsukuba มีวิธีการแก้ไขไม่ให้หนังสือหล่นจากชั้น
โดยนำเชือกมากั้นไว้กึ่งกลางหนังสือ หรือสื่อประเภทซีดีเพื่อไม่ให้หนังสือหรือซีดีหล่นเวลาเกิดแผ่นดินไหว (ตามภาพด้านล่าง)

เรื่องแบบนี้ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นหรอกนะครับ เพราะมันมีแต่ความสูญเสียและความเสียหายไม่ว่าจะเป็นเงิน รวมไปถึงจิตใจ

สำหรับเมืองไทยในภาคใต้ที่ประสบกับภัยพิบัติดินโคลนถล่มและน้ำท่วม
ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว สู้ๆ นะครับ

ปล.ก่อนจบผมต้องขอบอกก่อนนะครับว่าในช่วงที่แผ่นดินไหวห้องสมุดจะมีหนังสือหล่นออกจากชั้นแบบในรูป แต่ปัจจุบันบรรณารักษ์ก็จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบแล้วนะครับ สังเกตได้จากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย tsukuba ครับ

พาเที่ยวห้องสมุด SCG ? XP Library

พาเที่ยวห้องสมุดในวันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวของการไปเยี่ยมชมห้องสมุดของ SCG (XP Library)
จริงๆ แล้วผมไปเยี่ยมชมที่นี่มาเมื่อประมาณปีที่แล้ว แต่เพิ่งจะว่าง เลยเอามาเล่าวันนี้
เอาเป็นว่าไปอ่านกันเลยดีกว่าครับ ห้องสมุดแห่งนี้มีความพิเศษในหลายๆ อย่างยังไงบ้าง

ภายใน SCG XP ส่วนที่เป็นห้องสมุด (XP Library) จะอยู่ชั้น 2 และส่วนพื้นที่นิตยสาร (XP Magazine) จะอยู่ที่ชั้น 1


ห้องสมุด XP Library นี้เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบและตกแต่งภายในที่ดีมาก
บรรยากาศโดยทั่วๆ ไปภายในห้องสมุดเหมาะแก่การนั่งอ่านหนังสือมากๆ

การจัดหมวดหมู่หนังสือของที่นี่ไม่ได้ใช้การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้หรือแอลซีหรอกนะครับ
แต่ที่นี่คิดการจัดหมวดหมู่หนังสือตามแบบฉบับของตัวเอง (เพราะเป็นห้องสมุดเฉพาะ)

ซึ่งแยกหนังสือหลักๆ ออกเป็น
– สถาปัตยกรรม
– ออกแบบและตกแต่ง
– วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
– การจัดสวน
– การออกแบบรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์

สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นห้องสำหรับคุยงานเป็นกลุ่ม (สำหรับปรึกษางาน)
และยังมีบริการถ่ายเอกสารและสแกนหนังสือด้วยนะครับ

ในส่วนที่เป็น XP Magazine มีระบบสืบค้นที่ค่อนข้างทันสมัยซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัท HP ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบหน้าจอสัมผัสและโปรแกรมที่พัฒนามาเพื่อการนำเสนอข้อมูลนิตยสาร (ต้องลองไปเล่นดูนะ สุดยอดจริงๆ)

ระบบสืบค้นหนังสือบนเว็บไซต์ก็ทันสมัยมากๆ
http://www.scgexperience.co.th/th/service/library.aspx

อ๋อ แต่ต้องบอกก่อนนะว่า ห้องสมุดแห่งนี้เข้าได้เฉพาะสมาชิก (SCG XP) เท่านั้นนะครับ
แต่สำหรับบุคคลทั่วไปก็สามารถทดลองเข้าฟรีได้ 1 ครั้ง (คล้าย TCDC)

การเป็นสมาชิกของที่นี่ไม่ใช่แค่สมาชิกห้องสมุดนะครับ แต่ต้องเป็นสมาชิกของ SCG XP เลยซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย
โดยสมาชิกของที่นี่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท นั่นคือ
1. Student Member (200 บาทต่อ 1 ปี)
2. Customer Member (600 บาทต่อ 2 ปี)
3. Professional Member (1000 บาทต่อ 2 ปี)

สิทธิประโยชน์ที่เด่นๆ สำหรับสมาชิก
– ใช้บริการ มุม XP Magazine ได้ฟรี (นิตยสารดีๆ จากทั่วโลก เรื่องการออกแบบและตกแต่งกว่า 250 ชื่อเรื่อง)
– ใช้บริการ XP library ได้ (หนังสือด้านการออกแบบภายใน ตกแต่งสวน วิศวกรรมโยธา การสร้างบ้าน)
– Internet Wifi สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้วันละ 2 ชั่วโมง
– นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนลดในการซื้ออาหารและเครื่องดื่มภายใน XP Cafe ได้อีก
– ยิ่งไปกว่านั้นใช้เป็นบัตรลดในการซื้อหนังสือที่ Asia book ได้ด้วย

เอาเป็นว่าสำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ที่
http://www.scgexperience.co.th นะครับ
เว็บไซต์ของส่วนงานห้องสมุด XP Libraryhttp://www.scgexperience.co.th/th/service/library.aspx

เป็นยังไงกันบ้างครับกับห้องสมุดแห่งนี้ ผมเองไม่ได้ไปมาปีกว่าๆ แล้ว แต่เชื่อว่าน่าจะมีอีกหลายๆ ส่วนที่เปลี่ยนไป
และผมเชื่อว่าต้องเปลี่ยนไปในแนวทางที่ดีขึ้นแน่ๆ ดังนั้นเพื่อนๆ คนไหนว่างก็แนะนำให้ไปชมนะครับ

ก่อนจากกันในวันนี้ก็ขอทิ้งท้ายด้วยภาพบรรยากาศภายใน SCG XP และ XP library นะครับ
สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อนไว้จะพาไปเที่ยวห้องสมุดที่อื่นๆ บ้างนะครับ อิอิ

ชมภาพบรรยากาศภายใน SCG XP และ XP library

[nggallery id=37]

ไอเดียจากร้านหนังสือที่ห้องสมุดน่าทำบ้าง : หนังสือละครทีวี

วันนี้ผมเข้าไปที่ร้านหนังสือบีทูเอสแห่งหนึ่งใกล้ๆ บ้าน เพื่อหาหนังสือที่น่าสนใจมาแนะนำ
แต่เดินไปเดินมาในร้านสักแป๊บก็เจอมุมนึงที่น่าสนใจมาก เลยอยากนำมาเล่าให้ชาวห้องสมุดได้อ่าน

มุมที่ผมเห็นว่าน่าสนใจก็คือ “มุมหนังสือขายดี ละครออนแอร์”
ที่ร้านนี้จะมีชั้นหนังสือที่รวบรวมหนังสือบทละครที่กำลังฉายอยู่ในโทรทัศน์ช่องต่างๆ

ดูจากรูปได้เลยครับ

สังเกตจากในรูปนะครับ จะมีหนังสือละครกำลังฉาย เช่น ดอกส้มสีทอง, เคหาสน์สีแดง, ตลาดอารมณ์ ฯลฯ
นอกจากนี้ด้านหลังของชั้นหนังสือนี้จะมีหนังสือละครที่เคยฉายไปแล้ววางแสดงไว้ด้วย
เช่น รหัสทรชน, ธาราหิมาลัย, ดวงใจอัคนี, ปฐพีเล่ห์รัก, วายุภัคมนตรา ฯลฯ

ในร้านหนังสือเองก็ยังเรียกความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาชมหนังสือเหล่านี้ได้
ผมก็เลยคิดไปถึงห้องสมุดว่า หนังสือในห้องสมุดเองเราก็มีวรรณกรรมมากมาย
เราน่าจะหาวิธีนำเสนอหนังสือในรูปแบบนี้บ้าง
เอาเป็นว่าก็ลองคิดๆ เล่นกันดูนะ

สำหรับ หนังสือในกลุ่มละคร ผมว่าผู้ใช้บริการของห้องสมุดจำนวนหนึ่งก็อยากจะอ่านเช่นกัน
เพราะว่าอยากรู้ว่าหนังสือที่อ่าน กับละครที่ดูมันเหมือนหรือต่างกันแค่ไหน
แต่จากที่เคยๆ คุยกับผู้ใช้บริการหลายๆ คน ส่วนหนึ่งก็บอกว่า “หนังสือให้รายละเอียดที่ชัดกว่าในทีวี”

ถ้าห้องสมุดมีมุมนี้บ้าง ผมว่านะ “ผู้ใช้บริการ” ก็คงประทับใจกับห้องสมุดบ้างแหละ
และถ้าจะให้ดีนะอย่ามีแค่ 1 copy ห้องสมุดอาจจะต้องหามาไว้ 2-3 copy ได้เลย
เพราะผมเชื่อว่าคนต้องยืมไปอ่านมากๆ แน่ๆ แล้วก็อย่าลืมเหลือติดไว้ที่ชั้นสักเล่มบ้างหล่ะ

เอางี้ทำแบบให้น่าสนใจเพิ่มโดยการบอกด้วยว่า
“หนังสือเล่มนี้เป็นละครจากช่องไหนเวลาที่ฉายเมื่อไหร่”
ผู้ใช้จะได้รู้รายละเอียดและติดตามชมได้ด้วย

เอาเป็นว่าไอเดียนี้ก็ขอฝากให้คิดและลองนำไปทำดูกันบ้างหล่ะ
รอบๆ ตัวเรามีไอเดียในการพัฒนางานห้องสมุดมากมาย ขอแค่สังเกต คิด วางแผน และทำมัน

ปล. สุดท้ายนี้ขอบคุณ บีทูเอส นะที่ทำให้ผมพบกับไอเดียนี้

คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ไม่ได้อัพเดทบล็อกตัวเองนานมากๆ เพราะมีอะไรหลายๆ เรื่องเข้ามารบกวน
วันนี้ได้โอกาสเข้ามาอัพเดทเลยอยากเขียนถึงจุดกำเนิดของบล็อกเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ปล. บทความนี้เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ในวารสาร “โดมทัศน์” ของธรรมศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2
ชื่อบทความว่า “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub

เอาเป็นว่าใครหาอ่านจากตัวเล่มไม่ได้ก็อ่านได้บนบล็อกผมเลย ด้านล่างนี้เลยครับ

“คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib – Libraryhub”

มีคนเคยบอกผมว่า ?หากเราไม่เริ่มที่จะทำอะไรสักอย่าง สิ่งๆ นั้นก็จะไม่มีทางเกิด….? เมื่อผมได้ฟังประโยคนี้แล้ว ผมได้หันกลับมามองย้อนการทำงานของตัวเอง ในช่วงนั้นผมเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตำแหน่งเล็กๆ ในห้องสมุดแห่งหนึ่ง ผมถามตัวเองว่า ?ทำไมวงการบรรณารักษ์ถึงไม่มีศูนย์กลางของข่าวสารด้านวงการห้องสมุดเลย หรือ ทำไมถึงหาบทความอ่านเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์ยากจัง? เมื่อคิดแล้วในสมองของผมมันก็ตอบกลับมาว่า ?จริงๆ เราน่าจะมีเว็บไซต์เพื่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์บ้างนะ? นี่คือความคิดเล็กๆ ในวันนั้นที่ทำให้มีเว็บไซต์ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ในวันนี้

เริ่มคิด…เริ่มค้นหา…

ใครๆ ก็คิดว่าอยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ปัญหาหนึ่งที่หลายๆ คนเจอ คือ ไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมและไม่มีความรู้เรื่องการออกแบบเว็บไซต์ ผมเองก็ประสบปัญหาเดียวกันครับ เมื่อตั้งโจทย์ขึ้นว่าอยากมีเว็บไซต์แต่ทำเว็บไซต์ไม่เป็น ที่พึ่งหนึ่งของผมก็คือห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลเรื่องการสร้างเว็บไซต์เริ่มต้นขึ้นผ่านไปหนึ่งเดือนหนังสือหลายเล่มที่อ่านจบไปก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย การเข้าไปดูเว็บไซต์อื่นๆ ก็เป็นเพียงแค่รูปแบบที่ทำให้ผมจินตนาการเว็บไซต์ส่วนตัวให้ดูอลังการมากมายแต่ทำไม่ได้จริง เมื่อใกล้พบกับความสิ้นหวังก็มีแสงสว่างหนึ่งปรากฎขึ้นมา ผมได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งในเว็บไซต์และรู้ว่าเขาสามารถทำเว็บไซต์ได้จึงขอคำปรึกษา ซึ่งเขาให้คำแนะนำมากมาย รวมถึงแนะนำคำว่า ?บล็อก (Blog)? ให้ผมรู้จัก

ช่วงนั้นมีบล็อกมากมายที่ให้บริการฟรีบนเว็บไซต์ เช่น Gotoknow, Exteen, OKnation, Blogspot, WordPress ฯลฯ ผมจึงไม่รอช้าที่จะเข้าไปเล่นและใช้งานบล็อกหลายๆ ที่ และสิ่งที่ทำให้ผมรู้ คือ การเขียนบล็อกมันง่ายจริงๆ แทบจะไม่ต้องเข้าใจเรื่องการเขียนโปรแกรมเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ จากบล็อกต่างๆ เหล่านั้น ผมจึงเลือกWordpress เพื่อใช้เป็นบล็อกหลักของผม

ชื่อบล็อกสำคัญไฉน

เพื่อให้ทุกคนรู้จักบล็อกของเรา สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือ ชื่อบล็อก การตั้งชื่อบล็อกมีแนวทางในการเลือกชื่อบล็อกมากมาย เช่น เอาชื่อหน่วยงานตัวเอง เอาชื่อจริงของตัวเอง หรือแม้กระทั่งการเอาชื่อนามปากกาของตัวเองมาใช้ ซึ่งสำหรับผมแล้วการใช้ชื่อ Projectlib ดูเหมือนว่าจะเป็นชื่อที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด เนื่องจากบล็อกของผมไม่ได้สังกัดใครดังนั้นจึงไม่มีชื่อหน่วยงาน และการเอาชื่อจริงมาใช้ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากมีคนนำชื่อจริงผมไปจดทะเบียนโดเมนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์และการสื่อสาร ผมจึงเลือก Projectlib มาใช้ด้วยความหมายว่า Project หมายถึง โครงการ และ Lib มาจาก Library ซึ่งหมายถึงห้องสมุด เมื่อนำมารวมกันเป็น Projectlib นั่นหมายถึงโครงการสำหรับห้องสมุดนั่นเอง

หัวใจของการสร้างชุมชนแห่งนี้

เมื่อได้พื้นที่ในการเขียนและได้ชื่อบล็อกในการสื่อสาร สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คืออุดมการณ์ในการเขียนบล็อก ซึ่งเรื่องนี้ผมเขียนในบล็อกของผมเองหลายครั้งแล้ว และก็ขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านอีกครั้ง เพราะนี่คือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub 10 ข้อนี้เป็น 10 ข้อจากใจผม ซึ่งมีดังนี้

1. วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดในประเทศไทยต้องพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม
3. การนำสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวมาประยุกต์ใช้การทำงาน เช่น การนำ MSN มาใช้เพื่อตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ
4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น
5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพลักษณ์บรรณารักษ์ยุคใหม่
6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย
7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย
8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ
10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก

เขียนบล็อกไม่ใช่เรื่องยาก

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในการเขียน ชื่อบล็อกและอุดมการณ์ของบล็อก เรื่องยากที่หลายๆ คนชอบพูดถึงก็คือ ?แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงในบล็อก? คำแนะนำต่อจากนี้ก็มาจากเพื่อนผมอีกเช่นกัน เพื่อนผมบอกว่า ?ให้เราคิดว่าบล็อกก็เหมือนไดอารี่เล่มหนึ่งของเรา เราอยากเขียนอะไรลงไปก็เขียนได้ จะเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันก็ได้ เอารูปมาลงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นทางการมากก็ได้? เพียงแค่นี้แหละครับทำให้ความคิดผมมองการเขียนบล็อกว่าง่าย ผมจับเอาเรื่องการทำงานในแต่ละวัน ข่าวสาร และความคิดเห็นของผมใส่ลงไปในบล็อกทุกวัน วันแรกๆ อาจจะเขียนแค่สามสี่บรรทัด พอผ่านไปสักเดือนผมก็สามารถเขียนได้มากขึ้นเรื่อยๆ เอง

ตัวอย่างแนวทางในการเขียนเรื่องในบล็อก Projectlib และ Libraryhub

– นำบทความจากบล็อกบรรณารักษ์ ห้องสมุดต่างประเทศมาแปล
– ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานเสวนา สัมมนา ที่เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์ ห้องสมุด หรืองานอื่นๆ ที่น่าติดตาม
– แนะนำห้องสมุดที่ผมไปเยี่ยมชมด้วยการถ่ายรูปและเล่าเรื่องราวห้องสมุด
– ตำแหน่งงานห้องสมุดก็สามารถนำมาเขียนเป็นเรื่องเป็นราวได้
– เทคโนโลยีที่ห้องสมุดและบรรณารักษ์ควรติดตาม
– คลิปวีดีโอจาก Youtube ที่พูดถึงวงการห้องสมุด
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นนะครับ อย่างที่บอกคือเราสามารถเขียนได้ทุกเรื่อง ขอแค่เราฝึกและเขียนบ่อยๆ เราก็จะชินไปเอง

เครื่องมือฟรีๆ บนโลกออนไลน์ที่ช่วยให้คนรู้จักเครือข่ายของเรา

เมื่อเรามีบล็อกส่วนตัวแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราอยากทำให้มันเกิดคือการให้คนอื่นได้เข้ามาอ่าน และเข้ามาแสดงความคิดเห็น ยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะถือว่าเราได้ฝึกฝีมือเราไปเรื่อยๆ ซึ่งเครื่องมือฟรีๆ ที่ผมนำมาใช้สร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ ได้แก่

– จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) มีไว้สำหรับการอัพเดทข่าวสารความเคลื่อนไหวของบล็อกให้เพื่อนๆ ติดตาม
– MSN / Gtalk มีไว้สำหรับสนทนาออนไลน์ และตอบคำถามออนไลน์กับเพื่อนๆ สมาชิก
– Skype มีไว้สนทนาออนไลน์และประชุมงานออนไลน์ (คุยเป็นกลุ่มเครื่องมือนี้ขอแนะนำ)
– Hi5 ? Librarian in Thailand มีไว้รวบรวมกลุ่มบรรณารักษ์ที่เล่น hi5
– Facebook มีไว้พูดคุย ตอบคำถาม ประชาสัมพันธ์เรื่องราวของบล็อก (กระแสกำลังมาแรง)
– Twitter มีไว้กระจายข่าวสารให้เพื่อนๆ นอกวิชาชีพได้เข้าใจถึงงานห้องสมุดและบรรณารักษ์
– Slideshare มีไว้เผยแพร่สไลด์ไฟล์นำเสนอในงานเสวนาต่างๆ ซึ่งเป็นสไลด์ที่ผมทำเอง

นี่ก็เป็นเพียงเครื่องมือฟรีๆ ส่วนหนึ่งที่ผมใช้อยู่ และเครื่องมืออีกส่วนที่ไม่ได้กล่าวจริงๆ ก็ยังมีอยู่อีกมาก ซึ่งหากเพื่อนๆ มีเวลาก็ลองเข้าไปอ่านในบล็อกของผมต่อได้ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ดังนั้นบล็อกหรือเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ควรจะตามให้ทันด้วย

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จาก Projectlib สู่บ้านใหม่ Libraryhub

หลังจากที่ดำเนินการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ได้ระยะหนึ่ง บล็อก Projectlib ที่อาศัยของฟรีอย่างเดียวก็มีความต้องการที่จะสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้สมบูรณ์ขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงมีการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนชื่อ การย้ายพื้นที่ของบล็อก ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ต้องมีการลงทุน (เสียค่าใช้จ่าย) โดยหลังจากที่ปรึกษาพี่ๆ ในวงการเว็บไซต์หลายคน ผมจึงได้ข้อสรุปในการลงทุนครั้งนี้

จะสังเกตได้ว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย 1 ปีเพียงแค่ 700 บาทซึ่ง คิดเฉลี่ยแล้ววันละไม่ถึง 2 บาท เป็นการลงทุนที่ไม่มากเกินไปหรอกครับ เทียบกับผลที่ได้แล้วมันคุ้มกว่ามาก ได้ความเป็นส่วนตัวของบล็อก แถมยังเพิ่มลูกเล่นให้บล็อกเราได้อีกมากมาย

กิจกกรมจากโลกออกไลน์สู่โลกแห่งความเป็นจริง

นอกจากกิจกรรมออนไลน์แล้ว ผมให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมบนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น

– งาน Libcamp คืองานสัมมนาแบบไม่เป็นทางการของกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ ซึ่งปีที่แล้วจัดไป 3 ครั้ง งานดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหลายๆ องค์กร ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แถมยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ด้วย
– งานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีหลายองค์กรชวนผมไปช่วยจัด ก็ได้รับความสนใจจากคนในองค์กรต่างๆ เข้าร่วมอย่างดี
– ตัวกลางในการรับบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดที่ยังขาดแคลนหนังสือ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนะครับ ผมให้ความสำคัญทั้งกิจกรรมออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้ละเลยกิจกรรมในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย

อนาคตและทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์

ทิศทางของเครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์ในอนาคต การเพิ่มบทบาทของเครือข่ายต่อวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจะมีเพิ่มขึ้น โดยอาจจะทำความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวกับการพัฒนาวงการห้องสมุด เช่น สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย หอสมุดแห่งชาติ หรือองค์กรอื่นๆ ซึ่งการสร้างเครือข่ายและร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นสิ่งที่วิชาชีพกำลังต้องการในตอนนี้ นอกจากการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแล้ว กิจกรรมสู่ภูมิภาคจะมีมากขึ้นด้วยเนื่องจากสมาชิกของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ซึ่งมีกระจายตัวอยู่หลายจังหวัด และช่วงนี้มีแผนที่จะเขียนหนังสือสำหรับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะมีหนังสือออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

บทสรุปแห่งความสำเร็จ

ความสำเร็วของบล็อก Projectlib และ Libraryhub ผมคงไม่วัดด้วยการบอกว่ามีจำนวนเรื่องที่เขียนและสมาชิกมากเท่าไหร่ แต่ความสำเร็จที่ผมได้จากการเขียนและสร้างชุมชนแห่งนี้คือ การที่วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดตื่นตัวกันเรื่องการพัฒนามากกว่า จากสามปีที่แล้วที่ผมเปิดบล็อกในช่วงนั้นผมแทบจะหาคนที่เขียนเรื่องห้องสมุดไม่ได้ จนวันนี้ห้องสมุดหลายๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเว็บไซต์และบล็อก เพียงเท่านี้แหละครับผมก็พอใจมากแล้ว

บทความที่จะทำให้รู้จักผมเพิ่มเติม

เจ้าของบล็อก projectlib.wordpress.com – http://www.librarianmagazine.com/VOL1NO7/projectlib.html
Projectlib – Librarian 2.0 – http://tag.in.th/interview?show=projectlib
มาทำความรู้จักกับเจ้าของ Libraryhub – http://www.libraryhub.in.th/my-portfolio/

เอาเป็นว่าหากอ่านบนบล็อกแล้วรู้สึกว่ามันยาวเกินไป ผมก็อนุญาติที่จะให้เพื่อนๆ ดาวน์โหลดแล้ว print ไปอ่านครับ
โหลดได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/04/Projectlib-Libraryhub.pdf

เอาเป็นว่าก็หวังว่าจะเป็นการกลับมาอีกครั้งที่เพื่อนๆ จะให้การต้อนรับผมนะ

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนมกราคม 2554

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนมกราคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกเงียบเหงามากๆ เลย ไม่รู้ว่ามีใครยังอ่านอยู่บ้าง
แต่ช่างเถอะครับ ผมเขียนเพราะอยากเขียน ใครอยากอ่านก็อ่านแล้วกัน

เดือนมกราคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 3% – เก็บตกงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต
2. 3% – โฆษณาการอ่านทำให้เกิดสติปัญญา (Ad. by Posttoday)
3. 2% – เปรียบเทียบข้อดีของหนังสือฉบับกระดาษกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4. 2% – คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)
5. 2% – Infographic : เมื่อเราอยากแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้คนอื่น
6. 2% – สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
7. 2% – ม.ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ รับบรรณารักษ์
8. 2% – ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
9. 1% – วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010
10. 1% – วีดีโอเสวนาก้าวทันสื่อออนไลน์ ในงานสัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

สำหรับเดือนกุมภาพันธ์เรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 มีนาคมนะครับ

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดรับบรรณารักษ์ (ลูกจ้างชั่วคราว)

นายห้องสมุดขอแนะนำตำแหน่งงานบรรณารักษ์ที่กำลังจะเปิดรับสมัครนะครับ
เป็นงานบรรณารักษ์ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังนะครับ

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7,940 บาท + ค่าครองชีพ 1,500 บาท
สถานที่ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ ก่อนว่า “ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน” คืออะไร
ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน = ประเมินผลทุกเดือนถ้าผ่านก็ต่อสัญญา (ประเมินผลรายเดือนจากต้นสังกัด)

ตำแหน่งงานนี้นอกจากได้เงินเดือนปกติแล้วยังได้ค่าครองชีพเพิ่มเติมด้วยนะ
แต่ต้องขอบอกก่อนนะว่าไม่มีสวัสดิการอย่างอื่นๆ ให้อ่ะ

คุณสมบัติของคนที่อยากสมัครตำแหน่งนี้ ก็คือ
– จบปริญญาตรีบรรณารักษ์ฯ
– ใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

ตำแหน่งนี้รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 54 และก็สอบวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 54 นะ
เรื่องของการสอบก็เหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ นั่นแหละครับ คือ สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าใครได้คะแนนมากกว่า 60% ก็ถือว่าผ่าน และก็หน่วยงานจะขึ้นบัญชีไว้สองปี
ใครได้คะแนนมากที่สุดก็จะโดยเรียกมาทำงานก่อนนะครับ

ใครสนใจงานนี้ก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=Content&file=contentview&contentID=CNT0006293&categoryID=CAT0000011

และเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=506

เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นแรงใจให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 4/2554

กลับมาแล้วครับสรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมแล้ว
วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีความเคลื่อนไหวเยอะมากๆ เลย (กลุ่มบรรณารักษ์เริ่มคึกคัก)

หน้าที่ของผมก็คงหนีไม่พ้นการนำประเด็นต่างๆ มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเช่นเคย
สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 -28 มกราคม 2554) เรื่องราวเด่นๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีอะไรบ้าง ติดตามชมได้เลย

– Link : เส้นทางสายขนานระหว่างหลักสูตร “บรรณารักษศาสตร์”กับอาชีพ “ครูบรรณารักษ์” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110122/entry

– Link : แนวการแก้ปัญหาการขาดแคลน”ครูบรรณารักษ์” เบื้องต้น = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry

– Link : โครงการ World Book Night = http://www.worldbooknight.org/

– Link : เว็บไซต์ห้องสมุด Edinburgh = http://www.edinburghlibrariesagency.info/

– Link : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบใหม่กับแนวคิด Let?s Get Lyrical = http://www.cityofliterature.com/ecol.aspx?sec=6&pid=769

– “ขอคำแนะนำเรื่องหัวข้อในการจัดโครงการยอดนักอ่านในเดือนกุมภาพันธ์” มีผลสรุปดังนี้
– เรื่องอาชีพหรือเส้นทางความใฝ่ฝันในอนาคต
– หนังสือกับแรงบันดาลใจในความสำเร็จ

– Link : (ร่าง)หลักสูตรครูบรรณารักษ์ (กศ.บ) = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry-1

– ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบรรณารักษ์ นักรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมงานสมัชชาการอ่าน Bangkok Read for Life ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


– Link : โครงการ Creative Cites Network =
http://www.cityofliterature.com/index.aspx?sec=1&pid=1
เป็นเว็บที่น่าสนใจมาก “โครงการ Creative Cites Network โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม สุนทรียะ การท่องเที่ยว ให้กับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก โดยหนึ่งในโครงการดังกล่าวคือ City of Literature หรือการเนรมิตเมืองทั้งเมืองให้กลายเป็นเมืองวรรณกรรม”

– Link : Book Saver อุปกรณ์สำหรับคนรักหนังสือ =
http://www.ionaudio.com/booksaver

– ประชาสัมพันธ์ : 25 – 26 มกราคม บรรณารักษ์กรุงเทพฯและปริมณฑล อบรมที่นานมีบุ๊คส์

– คำขวัญหรือคำคมเกี่ยวกับการอ่าน ลองเข้าไปดูที่ http://pakdeelibrary.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=290075

– เพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ “ในบางครั้งผู้บริหารมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแหกกฏกับสำนวนที่ว่า Put the right man on the right job” มีผลสรุปดังนี้
– เลือกคนทำงานให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงงานนั้นด้วยจึงจะเลือกคนได้ถูกต้องเช่นกัน
– “ผู้บริหารไม่เข้าใจบรรณารักษ์” และ “ทำงานกับบรรณารักษ์ลำบากมาก เพราะพูดไม่รู้เรื่อง” ประโยคต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้างครับ? มันเป็นเพียงคำบ่นหรือคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเสมอๆ หากหน้าที่ของผู้บริหารคือยกระดับการให้บริการของสภาบันสารสนเทศแล้ว หน้าที่ของบรรณารักษ์ก็คือสนับสนุนการให้บริการด้วยความรู้และทักษะที่เรามี
– บรรณารักษ์อย่างพวกเรา “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น
– การหางานที่เหมาะสมกับคนมันยากก็จริง จนบางครั้งงานบรรณารักษ์มันต้องใช้สำนวนนี้แทน “Put the right man on the “หลาย” job”

– จากประโยคเด็ดในประเด็นเมื่อกี้ “รู้ดีในสิ่งที่เราเป็น” แต่อาจไม่รู้ใน “มุมที่คนอื่นเค้าเห็น” แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรที่จะเข้าใจผู้ใช้บริการ มีผลสรุปดังนี้
– ทำสำรวจหรือแบบสอบถาม และที่สำคัญไม่ว่าผู้ใช้จะตอบหรือแสดงความคิดเห็นกลับมาแรงๆ อย่างไร เราต้องเปิดใจรับกับสิ่งที่ผู้ใช้คิดด้วย

– Link : มหานครแห่งการอ่าน กทม. ชู 5 ยุทธศาสตร์เสนอยูเนสโก = http://hilight.kapook.com/view/55570

– “อยากรู้ว่าตอนที่บอกที่บ้านหรือคนอื่นๆว่าเรียนบรรณารักษ์ คนรอบข้างมีปฏิกิริยายังไงกันบ้าง” มีผลสรุปดังนี้

– ที่บ้านไม่รู้จักวิชาบรรณารักษ์ นอกจากนี้ยังไม่รู้จักคณะอักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ (เพราะสองคณะนี้เด่นเรื่องภาษามากกว่า)
– พ่อบอกว่า “เรียนแล้วรับรองว่าไม่ตกงาน เพราะเรียนเกี่ยวกับข้อมูล” แค่นั้นแหละเลือกเลยจ้า แล้วก็ไม่ตกจริงๆ
– ต้องอธิบายสักหน่อยว่ามันคือวิชาเกี่ยวกับอะไร พ่อแม่ถึงเข้าใจ
– พ่อแม่มีถามๆว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ จบแล้วมีงานทำมั้ย แต่ไม่ขัดขวางอะไร บอกแค่ว่า เอาตัวให้รอดละกัน
– ไม่สำคัญหรอกครับว่า “เรา” จะเรียนอะไร? หรือ “ใคร” จะคิดอย่างไร? แต่ที่สำคัญกว่าคือ “เรา” มีความรู้ ความสามารถ ใช้ในการประกอบอาชีพ เลี้ยงชีวิตได้ ไปจนตาย

– ประชาสัมพันธ์ : “กิจกรรมสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 หรือ Libcampubon#1 จัดในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี”

– Link : IFLA Asia Oceania Newsletter = http://www.ifla.org/files/asia-and-oceania/newsletters/december-2010.pdf

– ขอชื่นชม : “ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดลำพูน ได้รับรางวัลรองขนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท จากการเข้าประกวดตามโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3 ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี”

ปล. ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำตัวเองและประชาสัมพันธ์รับสมัครงานผมไม่ขอนำมาไว้ในสรุปนี้นะครับ เนื่องจากงานบางตำแหน่งอาจรับไปแล้ว

จะสังเกตได้ว่าอาทิตย์นี้มี link แนะนำเยอะมากๆ เลย และทุกๆ link ก็น่าสนใจไม่แพ้ประเด็นที่พวกเราช่วยกันตั้งเลย เอาเป็นว่าหากสนใจ link ไหนเป็นพิเศษก็ลองเข้าไปดู link นั้นเลย แล้วถ้าได้ไอเดียใหม่ๆ เพิ่มก็นำมาเสนอในกลุ่มใของพวกเราได้นะครับ

สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อนไว้เจอกันในสัปดาห์หน้า

ครบรอบ 6 ปี อุทยานการเรียนรู้ (ห้องสมุด TKpark)

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (วันที่ 21 ม.ค. 54) ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานพิธีฉลองครบรอบ 6 ปี ของอุทยานการเรียนรู้ หรือ “ห้องสมุด TKpark” งานฉลองจัด 3 วัน ในระหว่างวันที่ 21 – 23 ม.ค. 54 วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลจากบอร์ดนิทรรศการครบรอบ 6 ปี ของอุทยานการเรียนรู้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

TK park เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 24 มกราคม2548

TK park = ห้องสมุดมีชีวิตที่ไม่ใช่แค่ที่รวบรวมหนังสืออย่างเดียว แต่ยังถือเป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้รอบด้าน ทั้งหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดนตรี และกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดของผู้ใช้บริการ


พื้นที่การเรียนรู้ใน TK park ประกอบด้วย
– ห้องสมุดมีชีวิต
– ห้องสมุดไอที
– ห้องเงียบ
– ศูนย์อบรมไอที
– ห้องฉายภาพยนตร์
– มายด์รูม
– ห้องสมุดดนตรี
– ห้องเด็ก
– มุมกาแฟ
– ศูนย์การเรียนรู้เอนกประสงค์
– ลานสานฝัน
– ซาวด์รูม


กิจกรรมที่ผ่านมาของ TK park แบ่งออกเป็นกิจกรรม ดังนี้
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้
– กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
– กิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต (กล้าคิด กล้าทำ กล้างแสดงออก)
– กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ ร่วมสร้างเครือข่าย


6 ปี TK park กับ 4 โครงการเด่นในการก้าวสู่ปีที่ 7
1. อุทยานการเรียนรู้ระดับจังหวัด ในปี 2554 จะเปิด 3 แห่ง คือ อุทยานการเรียนรู้ปราจีนบุรี, อุทยานการเรียนรู้สมุทรสาคร และอุทยานการเรียนรู้ตราด
2. โครงการแหล่งเรียนรู้ใกล้บ้าน
3. โครงการ TK แจ้งเกิด
4. Thailand Conference on Reading 2011

ความประทับใจของผมกับห้องสมุด TK park ในช่วงวันฉลองครบรอบ 6 ปี คือ
“การสมัครสมาชิก หรือ ต่ออายุสมาชิก ฟรี” กิจกรรมนี้เรียกเอาสมาชิกหน้าเก่าและใหม่มาร่วมแจมเพียบเลย
ที่สำคัญผมเองก็ไม่พลาดเช่นเดียวกัน พาเพื่อนๆ พี่น้อง มาสมัครรวมถึงผมเองก็ถือโอกาสต่ออายุไปเลย

เอาเป็นว่าวันนี้ลงข้อมูลเท่านี้ดีกว่า หลักๆ ก็ยินดีด้วยครับกับความสำเร็จใน 6 ปีที่ผ่านมา

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรให้ห้องสมุด TKpark พัฒนาและเจริญแบบนี้ต่อไป
เพื่อกระตุ้นและเป็นแนวทางในการพัฒนาวงห้องสมุดในเมืองไทยต่อไปด้วย

และผมขอเป็นตัวแทนเพื่อนๆ ขอบคุณทีมงานห้องสมุด TKpark ที่ทำงานกันอย่างเข้มแข็งและบริการประทับใจ

ภาพถ่ายในงานพิธีฉลองครบรอบ 6 ปี อุทยานการเรียนรู้

[nggallery id=36]

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 3/2554

เข้าสู่กลางเดือนมกราคมแล้วนะครับ กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยังคงสดใสเช่นเดิม
เรื่องราววงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะขึ้น วันนี้เลยต้องสรุปให้อ่าน

สมาชิกของกลุ่มเราก็เกิน 400 คนแล้วนะครับ แบบว่าประทับใจในความร่วมมือของเพื่อนๆมาก
กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook มีเรื่องเด็ดๆ ทุกวันเลย แม้แต่เสาร์อาทิตย์ก็ยังมีเรื่องให้อ่าน
เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 ? 21 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยดีกว่า

– “สายงานบรรณารักษ์สมัยนี้เปิดสอบบรรจุน้อยจัง” ผลสรุปมีดังนี้
– ถ้าเป็นในระบบราชการ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการชลอการเพิ่มกรอบอัตราข้าราชการ หากมีความจำเป็นหน่วยงานต้องบรรจุอัตราจ้างเอง
– การสอบบรรจุตามระบบมักเป็นอัตราข้าราชการ ซึ่งมีน้อย แต่ถ้าเป็นอัตราจ้างจะมีมากและมักไม่ประกาศสอบบรรจุเป็นทางการ

– “อยากรู้จังว่ามีสภาวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือเปล่าอ่ะครับ”? ผลสรุปมีดังนี้
– คงต้องกำหนดขอบเขตและคำจำกัดความอีกเยอะแยะเลยล่ะ

– “อยากทราบว่าบรรณารักษ์เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ครับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ราชการก็น้อยหน่อยสำหรับเริ่มต้น เอกชนก็น่าจะเก้าพันถึงหมื่นนิดๆ
– สำหรับบ.เอกชนข้ามชาติ หรือโรงเรียนนานาชาติ น่าจะเริ่มต้นหมื่นกลางๆ
– ถ้าเงินเดือนสำหรับหน่วยงานราชการบางที่ให้ 7940 บาทครับ แต่ในหลายที่ ถ้าเป็นลักษณะของพนักงานจ้างเหมา(สัญญาปีต่อปี) ก็แล้วแต่หน่วยงานจะประเมินหน้าที่และภาระงานที่มีตั้งมาให้ มีตั้งแต่ 7940 8500 9000 9500 11000 12000 และที่เคยเห็นองค์กรหนึ่งจ้างให้ 15000 ทั้งหมดที่ว่ามาคือ ป.ตรี

– Link : ความเป็นไปได้ของ “บรรณารักษ์สภา” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110116/entry

– “ทำไมคนไทยถึงไม่ให้ความสำคัญกับอาชีพบรรณารักษ์”? ผลสรุปมีดังนี้
– ในต่างจังหวัดหรือบางพื้นที่ยังไม่รู้จักอาชีพบรรณารักษ์เลย
– ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายแห่งก้อไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ แต่จะมานึกถึงอีกทีตอนที่ประกันคุณภาพเข้ามาตรวจ

– Link : Conference Participation Grants = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : จัดห้องสมุดเป็นของขวัญวันเด็ก =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=651&contentID=115785

– “อยากรู้จังว่ามีวันสำคัญที่เกี่ยวกับห้องสมุดบ้างไหมคะ”? ผลสรุปมีดังนี้
– วันรักการอ่าน 2 เมษายนของทุกปี
– สัปดาห์ห้องสมุด ต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
– วันก่อตั้งห้องสมุด วันเปิดห้องสมุด …..


– “ใครใช้ Zotero แล้วบ้าง ขอข้อมูลด้วยค่ะ ลง version ไหนดีค่ะ”? ผลสรุปมีดังนี้

– แนะนำให้อ่านใน link : http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=zotero%3Astart
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ไม่มีปัญหาใดๆ
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ร่วมกับ winword integration 3.0b1


– ประเด็นสำหรับวันที่ 18 มกราคม 2554 “เรื่องการแต่งกายเข้าห้องสมุดโดยเฉพาะสถานศึกษา / มหาวิทยาลัย มีเกณฑ์ในการวัดความสุภาพอย่างไร เช่น กรณีกระโปรงสั้นๆ กับ กางเกงใส่ถึงเข่า —-> แล้วห้องสมุดประชาชนมีกฎระเบียบแบบนั้นหรือปล่าว” ผลสรุปมีดังนี้

– จากการสำรวจสาเหตุในการไม่เข้าห้องสมุดพบว่ามาจากเงื่อนไขเรื่องการแต่งกาย ซึ่งพบมากในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย
– ทำไมนิสิตที่ใส่กระโปรงสั้นถึงเข้าห้องสมุดได้ แต่กลับไม่ให้คนใส่กางเกงขาสั้นเข้าไป บางทีกระโปรงสั้นกว่ากางเกงด้วยซ้ำ แล้วกางเกงขาสั้นบางทีก้อประมาณเข่าแต่เข้าไม่ได้
– วิธีแก้ไขแต่ละห้องสมุดก็มีวิธีของตัวเอง เช่น นำภาพมาประกอบการอธิบาย หรือ การตักเตือนในช่วงแรกๆ หรือ หาตัวอย่างมาประกอบ
– เรื่องการแต่งกายให้สุภาพไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ ถ้าจะตั้งกฏแต่ละที่ก็ควรให้ชัดเจน
– เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับทุกห้องสมุดนะคะ เพราะนโยบายและการให้บริการของห้องสมุดบางทีก็ขัดกับนโยบายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาแต่งชุดนักศึกษาเมื่อมามหาวิทยาลัย ฯ แต่ห้องสมุดต้องการเปิดกว้างให้แก่ผู้ใช้ ต้องการให้มีผู้มาใช้ห้องสมุดเยอะ ๆ บวกกับนักศึกษาไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบอีก
– เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวพอสมควรนะคะ สำหรับคำว่าแต่งกายสุภาพ เพราะวุฒิภาวะต่างกัน การวัดความสุภาพไม่เหมือนกัน
– รู้จักถึงความเหมาะสมครับ กระโปรงต้องไม่สั้นจนมันจะเปิดหวอ เสื้อต้องไม่รัดจนกระดุมทำงานหนัก ใส่แล้วแต่งแล้วเดินไปหมาไม่เห่าก้พอ
– พยายามหาและระดมความคิดเห็นจากหลายๆฝ่ายเพื่อหา ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งก็ยากทีเดียวค่ะ

– “ปัจจุบันนี้การทำกฤตภาค(การตัดข่าวหรือบทความที่น่าสนใจ)ยังมีสอนบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยอยู่ไหมคะ และกฤตภาคนี่ลดความสำคัญลงไปมากตั้งแต่มีการใช้ internet ห้องสมุดยังควรต้องมี(บรรณารักษ์ควรต้องทำ)กฤตภาคอยู่ไหมคะ” ผลสรุปมีดังนี้
– ตัดเก็บเฉพาะเหตุการณ์สำคัญๆ
– ในแง่การสอน ไม่ได้สอนให้ทำในรูปแบบเดิมแล้วค่ะ แต่ให้เขาเห็นและใช้บริการทั้งแบบเดิมและแบบใหม่
– สำหรับห้องสมุดเฉพาะ เช่น ที่แบงก์ชาติ กฤตภาคยังจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้ทันสมัย ใช้ง่าย รวดเร็ว ประหยัดเวลาผู้บริหารขององค์กร อาจจะทำเองหรือจ้างคนอื่นทำ หรือบอกรับฐานข้อมูลก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนสนองความต้องการได้มากที่สุด


– “ห้องสมุดบางแห่งนำไอทีเข้ามาใช้แต่แทนที่จะทำงานได้เร็วขึ้นกลับกลายเป็นว่าทำงานช้ากว่าเดิมหรือทำในรูปแบบเดิม” ผลสรุปมีดังนี้

– ควรไปดูงานห้องสมุดม.มหิดล, STKS, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ ที่นำเทคโนโลยีที่จำเป็นเข้ามาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็น

– Link : เมื่อคนช่วยกันยืมหนังสือจนหมดห้องสมุด ประชดทางการ!!! (ที่จะปิดห้องสมุด) = http://www.newyorker.com/online/blogs/books/2011/01/the-run-on-stony-stratford.html

– Link : all Magazine แจกฟรี ! ให้ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ยืมหนังสือเกลี้ยง! ประท้วงแผนปิดห้องสมุด = http://hilight.kapook.com/view/55420

– “คำศัพท์ของห้องสมุด(Eng->Thai)ไม่ทราบหาจากที่ไหน” ผลสรุปมีดังนี้
– วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์ = A cyclopedia of librarianship / โดย จารุวรรณ สินธุโสภณ
– ศัพท์บัญญัติวิชาบรรณารักษศาสตร์ / คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาบรรณรักษศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ
http://stks.or.th/thaiglossary/


– “ไอเดียการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนมัธยม” ผลสรุปมีดังนี้

– น่าจะมีรางวัลคนขยันอ่าน — ประกวดเรียงความ ฉันรักหนังสือ — เล่าเรื่องจากนิยายสนุก ๆ –เชิดหุ่น — โต้วาที — วันรักการอ่าน(ประกอบด้วยเกม-สอยดาว-นิทรรศการ-ห้องสมุดแรลลี่ — เกมค้นหาเพื่อตอบคำถามชิงรางวัล ฯ)
– กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน
– โครงการอ่านวันละนิด จิตแจ่มใส ของสำนักพิมพ์แจ่มใส
– กิจกรรมในลักษณะเกมต่างๆ ก็จะช่วยปลุกเร้าได้ดีค่ะ รูปแบบของเกมหาได้ตามหนังสือประเภทคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั่วไป
– แฟนพันธุ์แท้ห้องสมุด
– reading rally ก็ดีค่ะ จัดเป็นฐาน จัดค่ายรักการอ่านก็ได้
– กิจกรรมคนศรีห้องสมุดสุดยอดนักอ่าน / กิจกรรม นักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ / กิจกรรม เสียงตามสาย เกี่ยวกับสารานุกรมไทย / ตอบปัญหาสารสนุกรมไทย


– “สิ่งที่ควรคำนึงถึงในเรื่องการคัดหนังสือหรือการจำหน่ายหนังสือออกจากห้องสมุด” ผลสรุปมีดังนี้

– คัดเลือกหนังสือที่สอดคล้องกับองค์กร, หนังสือเก่าแต่มีคุณค่ามี 2 วิธีดำเนินการคือ อนุรักษ์ เช่น ส่งซ่อมทำปกใหม่ ทำความสะอาด ได้คุณค่าหนังสือเก่า หรือควรจะซื้อเล่มนั้นใหม่ (มีจัดพิมพ์ใหม่หาซื้อได้) แล้วจึงส่งไปอนุรักษ์
– แนะนำ Link น่าอ่านดังนี้ http://www.md.kku.ac.th/library/main/newsletter/new07-53.php , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/policy.pdf , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/manul.pdf
– เรื่องของเนื้อหาด้วย เพราะเนื้อหาในแต่ละกลุ่มมีความเฉพาะอีก เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ยิ่งเก่ายิ่งควรเก็บ หนังสือคอมล่าสมัยเร็ว

– “มีห้องสมุดธรรมะที่ไหนน่าฝึกงานบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– เหล่าบรรณารักษืแนะนำ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงฆ์, มหามกุฎ กับ มหาจุฬา, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

– ไอเดียที่น่าสนใจ : “เด็กแข่งกันสืบค้นข้อมูลผ่านทาง Search Engine ผมคิดว่าทางห้องสมุดสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้ห้องสมุดได้”

– ประชาสัมพันธ์ : “สมัครสมาชิกและต่ออายุ TKpark ฟรี 21-23 มกราคม นี้เท่านั้น บัตรใหม่มีให้เลือก 5 ลาย รีบๆ มาสมัครกันได้ เลย”

นอกจากประเด็นที่สรุปลงมาในนี้แล้ว บางอันผมไม่ขอเอาลงนะครับ เช่น น้องๆ เอกบรรณปี 2 จากสถาบันต่างๆ เข้ามาแนะนำตัวกันเยอะมาก และประเด็นเรื่องที่ไม่มีคนตอบ ก็ขอละเอาไว้ไม่สรุปแล้วกัน อีกส่วนคือมีคอมเม้นต์แต่ผิดประเด็นกับคำถามที่ตั้ง เช่น เรื่อง xml technology แต่กลายเป็นว่าคำตอบออกไปเรื่องฝึกงาน ก็ไม่ได้นำมาลงแล้วกัน

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันผลักดันกลุ่มเครือข่ายของเรากันต่อไป
นี่แหละครับพลังขับเคลื่อนวิชาชีพและวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์