แง่คิดจากคลิปวีดีโอสวยใสไร้สมอง ณ ห้องสมุด

คลิปวีดีโอที่ผมจะนำมาให้ดูวันนี้เป็นคลิปวีดีโอโฆษณาสินค้าอย่างหนึ่ง อยากให้เพื่อนๆ ลองเดากันดูว่าสินค้าอะไร
แต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่สินค้านั้นหรอกครับ มันอยู่ที่โฆษณาตัวนี้ใช้ห้องสมุดเป็นฉาก และมีแง่คิดขำๆ ซ่อนอยู่

อยากให้ดูคลิปวีดีโอก่อน แล้วค่อยมาอ่านสรุปแล้วกัน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=0eN0b5qdmrA[/youtube]

เรื่องย่อๆ ของโฆษณาตัวนี้ “มีผู้หญิงหน้าตาดีเข้าใจผิดเดินเข้ามาสั่งอาหารเสียงดัง เจ้าหน้าที่คนนึงหันไปบอกว่าที่นี่ห้องสมุดนะ ผู้หญิงงงๆ แล้วสั่งอาหารกลับไปใหม่ด้วยเสียงที่เบาลง”

จริงๆ แล้วอยากให้มองสองแง่ว่า
1. ผู้หญิงคนสวยอาจจะไม่รู้เรื่องจริงๆ ว่าห้องสมุดไม่มีอาหารขาย (แอบโง่)
2. ผู้หญิงคนสวยอาจจะปล่อยมุขเพื่อแก้สถานการณ์หน้าแตก (รู้จักแก้ปัญหา)

โฆษณาตัวนี้มีประโยคเด็ดอยู่ตรงที่ “Beauty is nothing without brains”
มันทำให้ผมนึกถึงคำที่หลายๆ คนชอบพูดว่า “สวยใสแต่ไร้สมอง”

ในโฆษณาและสำนวนอาจจะดูเหมือนกับว่าเป็นการพูดถึงผู้หญิงอย่างเดียว (ผมไม่ได้เจตนาจะว่าผู้หญิงนะครับ)
แต่ผมอยากจะพูดแบบกลางๆ ว่า ไม่ว่าจะหญิงหรือชายหากคุณมีเพียงแค่หน้าตาดี รูปร่างดี เพียงอย่างเดียว
ก็คงใช้ชีวิตในสังคม ประกอบอาชีพ หรือเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ได้ยาก หากปราศจากความรู้
ดังนั้นความรู้ ความคิด ไหวพริบต่างๆ จะช่วยเสริมให้คนเราสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสบายมากขึ้น

และหนทางนึงที่จะช่วยให้เรามีสมองหรือมีความคิดดีๆ ได้ก็มาจากการอ่านมากๆ การดูมากๆ การคิดมากๆ การฝึกมากๆ
ซึ่งผมว่าห้องสมุดก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยสร้างประสบการณ์และความรู้ต่างๆ ได้
นะครับ

เอาเป็นว่า ผมก็ขอฝากไว้ “สวยหรือหล่อเพียงอย่างเดียวคงกินไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้ถึงจะช่วยให้เอาตัวรอดในสังคมได้”

หวังว่าเพื่อนๆ คงรู้แล้วแหละว่าสินค้าตัวนี้คืออะไร ยังไงก็ฝากเอาไปดูขำๆ นะครับ
คิดเห็นยังไงก็แสดงความคิดเห็นมาได้ในกรอบด้านล่างแล้วกัน

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 2/2554

ผ่านปีใหม่มาหนึ่งสัปดาห์ก็เข้าสู่งานวันเด็ก ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีกิจกรรมอะไรกันหรือปล่าวครับ
ง่ะ ลืมไปวันนี้เป็นวันที่ต้องสรุปเรื่องราวในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นี่หว่า งั้นกลับเข้าเรื่องเลย

เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8 – 14 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลย

– “ทำไมบรรณารักษ์รุ่นเก่าแยกไม่ออกระหว่าง location Collection กับคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง???” ผลสรุปมีดังนี้
– เรื่องของชื่อคอลเล็คชั่น อาจขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของคอลเล็คชั่นที่มีก็ได้ครับ ยิ่งลงรายละเอียดให้เจาะจงเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากเท่านั้น
– รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาความไม่เข้าใจกันมากกว่า เนื่องจากในการแยก collection ระบบจะแยกให้ไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกันกับหัวเรื่อง
– ผู้ใช้สมัยนี้ส่วนมากไม่เข้าใจคำว่าหัวเรื่องหรอกค่ะ ขอแค่ให้ค้นหนังสือหรือทรัพยากรเจอก็ OK แล้ว


– “ปัญหาเรื่องพื้นที่จับเก็บหนังสือ วารสาร ฉบับย้อนหลัง (เนื่องจากห้องสมุดเล็ก)” ผลสรุปมีดังนี้

– จำหน่ายวารสารย้อนหลังออก แล้วหันมาใช้ e-journal แทน
– กระจายตู้หนังสือออกไปบริเวณอื่นๆ ในหน่วยงานก็ได้ เช่น มุมตามทางเดินโรงพยาบาล หรือ มหาวิทยาลัย

– Link : MV เพลงนี้ถ่ายในห้องสมุดทั้งหมด = http://www.youtube.com/watch?v=MIVu-egUMM0

– Link : มะกันผุดแผนบัตรประชาชนชาวเน็ต ยกระดับความ@ปลอดภัยโลกไซเบอร์ = http://is.gd/kwDFo

– “คุณอยากให้ ในห้องสมุด มีอะไรพิเศษ?” ผลสรุปมีดังนี้
– มีบริการสำหรับคนพิเศษ (ผู้พิการรูปแบบต่างๆ)
– ให้อารมณ์แบบ “บ้าน”
– บรรณารักษ์สวยๆ
– บรรยากาศแบบห้องนั่งเล่น สบายๆ อยากทำอะไรพร้อมๆ กับอ่านหนังสือก็ทำได้
– สถานที่กว้างๆ มุมสงบ ๆ เงียบ ๆ ที่ไม่แคบๆ เหมือนมุมอ่านหนังสือ ที่มองไปทางไหนก็มีแต่หนังสือ
– โปรโมชั่นพิเศษ เช่น Loan 5 Get 1 Free! ช่วงคริสมาสต์ หรือวันฮาโลวีนปล่อยผี discountค่าปรับ10-20%ถ้าจับสลากพิเศษได้

– Link : all Magazine แจกฟรี ! แก่ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ข่าว….โครงการรักการอ่าน จาก บมจ.ซีพี ออลล์ = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179960038704679&id=141179349231903

– “จะทำอย่างไรให้คนหันมาเข้าห้องสมุดกันเยอะๆ”? ผลสรุปมีดังนี้
– ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้น่าสนใจและต่อเนื่องด้วย และมีของรางวัลให้ด้วย
– ห้องสมุดออนไลน์ อีบุ๊ค e-Book เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
– กิจกรรมbook forward : หนังสือดีต้องบอกต่อ
– บริการ Document Delivery Service ซึ่งไม่ต้องเดินมาห้องสมุด
– เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ebook
– รักษาฐานเดิมของผู้ใช้ที่มั่นคงกับห้องสมุดไว้ให้ได้ พร้อมๆ กับหาวิธีขยายไปยังกลุ่มที่ไม่ใช้ให้เข้ามา ชอบวิธีการทำกิจกรรมที่ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมค่ะ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
– ห้องสมุดจะเปิดเพลงเบาๆไปด้วยครับ สร้างบรรยากาศ

– “ขอความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO กับห้องสมุด”? ผลสรุปมีดังนี้
– ลองปรึกษาที่ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
– หอสมุดวิทยาศาสตร์ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นอีก 1 แหล่ง ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ version 1998และปัจจุบัน 2001


– “e-book จะแทนที่หนังสือ ในมุมมองของบรรณารักษ์ท่านคิดอย่างไรบ้างคับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ลดโลกร้อนได้เยอะครับ ทำให้เด็ก ๆ ไม่ต้องหิ้วหนังสือน้ำหนักเยอะ ๆ ครับ มีอีกเยอะครับประโยชน์
– แทนกันไม่ได้หรอก เพราะผู้ใช้หลายคนชอบที่จะสัมผัสตัวเล่มหนังสือ เรื่อง E-book เป็นแค่ตัวเสริมในการบริการ
– ต่างเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งรูปแบบ การใช้ การทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีอะไรแทนที่อะไรได้ทั้งหมด
– อย่าลืมเรื่องลิขสิทธิ์
– มีได้ ใช้ได้ แต่แทนกันไม่ได้หรอก
– หนังสิออ่านได้ทุกที่ แต่ E-Book ถ้าไม่มีเครื่องมือก็อ่านไม่ได้


– Link – ดัน 10 ล้าน แปลวิกิฯ เป็นภาษาไทย มุ่งเป็นอันดับ 2 ภาษาท้องถิ่นออนไลน์ =
http://www.prachatai3.info/journal/2011/01/32634?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29&utm_content=Twitter

– “การนำ WALAI AutoLib มาใช้ในห้องสมุดมหาลัยเหมาะสมหรือไม่ มีปัญหาอย่างไร” ผลสรุปมีดังนี้
– ห้องสมุดที่ใช้ Walai Autolib เช่น ศูนย์บรรณฯ ของม.วลัยลักษณ์ สำนักหอสมุด ม.อุบลฯ ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ฯลฯ

– “ความเสี่ยงของห้องสมุดมีอะไรบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– ด้านคน (คนไม่พอ,ขาดทักษะการทำงาน) ด้านการทำงาน (อุบัติเหตุในการทำงาน) ด้านงบ (ได้งบประมาณจำกัด,งบไม่พอ,ข้าวของแพงขึ้นทุกปี) ด้านการบริหาร (ไม่ได้รับการสนับสนุน,ผู้บริหารหรือคนนอกไ่ม่เข้าใจงานของเรา)
– ตัวอย่างการแบ่งประเภท เช่น ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ, ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน, ความเสี่ยงด้านบริหารจัดการ, ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ, ความเสี่ยงทางกายภาพ/อุบัติภัย, ความเสี่ยงด้านจรรยาบรรณ, ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน, ความเสียหายด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม
– ในภาวะโลกวิกฤติแบบนี้ อย่าลืมระบุความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม
– ความเสี่ยงด้านการลงทุน ทุ่มเทกับทรัพยากรไปมากมาย แต่ผู้ใช้ไม่มาใช้

– Link : 2011 Grant Funds to attend IFLA 2011 = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : แนะนำฐานข้อมูล อาหารพื้นบ้านล้านนา จัดทำโดยงานศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ = http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/

– Link : Dead Poets Society = ครูครับเราจะสู้เพื่อฝัน = http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march06p2.htm

สัปดาห์นี้เรื่องราวในกลุ่มเริ่มคึกคักกันมากขึ้นนะครับ
ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มของเราก็ 383 คน ก็ถือว่าพอรับได้
(เมื่อวันที่ไปบรรยายที่ ม.รังสิต มีคนบอกว่าน่าจะมีสัก 2011 คนตามปีเลย)

เอาเป็นว่าสัปดาห์หน้าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจก็สามารถติดตามกันได้นะครับ
ที่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook = http://www.facebook.com/pinksworda#!/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

ม.ราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ รับบรรณารักษ์

วันนี้นายห้องสมุดช่วยหางานกลับมารายงานตัวอีกครั้ง
วันนี้มีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มาฝากเช่นเคย เป็นบรรณารักษ์ ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : ลูกจ้างชั่วคราว
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7,940 บาท
สถานที่ : มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี สมุทรปราการ

คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้
– จบปริญญาตรีบรรณารักษศาสตร์
– สามารถใช้งาน Microsoft Office ได้
– สามารถอ่านสรุปความได้
– มีความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณ

ตำแหน่งนี้ต้องทำงานอะไรบ้าง
– งานจัดหาและคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
– ให้คำแนะนำเรื่องการสืบคนข้อมูลในห้องสมุด
– จัดเก็บและรวบรวมสถิติต่างๆ ของห้องสมุด
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
– ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

เอาเป็นว่าก็คงเป็นงานทั่วๆ ไปแหละครับ ไม่มีเรื่องของไอทีมากนัก
หวังว่าคงจะสามารถทำได้ทุกคนนะครับ

รับสมัครตั้งแต่วันที่ 10 – 21 มกราคม 2554 นะครับ
สมัครได้ที่ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร อาคาร 4 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี (ถนนอิสรภาพ)

ปล. ขอเตือนไว้ก่อนว่าสมัครที่มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี (ถนนอิสรภาพ) นะครับ แต่ทำงานที่สมุทรปราการ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองไปสมัครกันดูนะครับ
ผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีกันนะครับทุกคน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
http://mis.dru.ac.th/PUBLIC/Recruit/12-001.pdf
http://mis.dru.ac.th/promis/module_Vacancy/vacancy.asp?vn755229928=1
http://sp.dru.ac.th/

Library Trend 2011 ตอน ทำความรู้จักกับ Google eBooks

วันนี้เพิ่งเดินทางกลับมาถึงกรุงเทพฯ เลยขอเขียนบล็อกสั้นหน่อยแล้วกัน
ด้วยความบังเอิญเจอวีดีโอตัวนึงน่าสนใจมาก และกำลังเป็นกระแสที่น่าติดตามเหมือนกัน นั่นคือ “Google eBooks
จึงขอนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูและศึกษากันหน่อย

Google eBooks เปิดตัวไม่นานมานี้และถูกคาดหวังว่าจะเป็น trend ที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดปีหน้าด้วย

เอาเป็นว่าไปลองดูวีดีโอตัวนี้กันก่อนแล้วกันครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ZKEaypYJbb4[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับ

เนื้อหาที่กล่าวไว้ในวีดีโอนี้ได้แก่
– โลกของหนังสือที่เปลี่ยนจากการเป็นหนังสือเป็น eBooks
– แนวความคิดของการทำงาน Google eBooks
– อุปกรณ์ที่สนับสนุนการทำงานของ Google eBooks

เอาเป็นว่าวีดีโอตัวนี้ทำให้เข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ โดยภาพรวมของ Google eBooks
ยังไงซะก็ฝากดูและศึกษากันด้วยนะครับ และที่สำคัญลองคิดดูว่าจะนำมาประยุกต์กับห้องสมุดได้อย่างไร
แล้ววันหลังผมจะนำมาเล่าให้ฟังต่อก็แล้วกันครับ

เว็บไซต์ทางการ Google eBookstore : http://books.google.com/ebooks

สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 1/2554

สวัสดีปีใหม่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook กลับมาพบกันในสัปดาห์แรกของปี 2554
ในสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มบรรณารักษ์และห้องสมุดของเรามีการโพสน้อยกว่าปกติ เพราะวันหยุดเยอะ

เอาเป็นว่าวันที่ 1 – 7 มกราคม 2554 กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มีประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปชมเลย

– Link : เก็บเล็กผสมน้อยกับการดูงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเว้ แห่งประเทศเวียดนาม = http://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=513

– “ขอคำแนะนำในการเรียนต่อปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์ ว่ายากมั้ย เรียนที่ไหนดี” ผลสรุปมีดังนี้

– เพื่อนๆ แนะนำให้เรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มศว (หลักสูตรใหม่ดี)

– “ขอแนวคิดในรูปแบบการพัฒนางานบริการแบบใหม่ เอาใจวัยทีนยุคใหม่”? ผลสรุปมีดังนี้
– ใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่เข้ามาบริการแจ้งข่าวสารให้ผู้ใช้ได้รู้ เช่น twitter, facebook
– บริการด้วยความรวดเร็ว เพราะวัยรุ่นไม่ชอบรออะไรนานๆ (ตอบคำถามเร็ว) เช่น ผู้ใช้ถามมาทางเมล์เราก็ต้องรีบตอบ
– จัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการพนักงาน GEN Y ให้กับผู้บริหาร (แบงค์ชาติเสนอแนวนี้มา)


– Link : คุณลักษณ์ของผู้เรียนสำหรับโลกอนาคต? =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=660&contentID=111923

– Link : 6 ขั้นตอนในการจัดทำ Social Media Marketing = http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=446

– Link ที่เกี่ยวกับบทความเรื่อง Library2.0 ซึ่งมีดังนี้

http://www.stks.or.th/blog/?p=816
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1751&Itemid=132
http://iteau.wordpress.com/2007/06/15/library2_0attcdc/
http://www.slideshare.net/boonlert/web-20-1806213
http://media.sut.ac.th/media/VDO/116/1689-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94+2.0+%28Library+2.0%29.embed
http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=61961
http://tcdclibrary.wordpress.com/2008/09/06/library-20/

– “CAS ในห้องสมุด ย่อมาจากอะไร และเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันกับ SDI อย่างไร”? ผลสรุปมีดังนี้

– CAS เป็นบริการข่าวสารทันสมัย เช่น สรุปข่าวประจำวัน หน้าสารบัญวารสารใหม่ ส่วน SDI เป็นบริการข้อมูลเฉพาะเรื่องแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการหรือ request ข้อมูลนั้น เช่น รวบรวมข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้แก่นักวิจัยเฉพาะคนหรือเฉพาะกลุ่มที่ทำวิจัยเรื่องนั้นๆ อยู่

– Link : การสร้างเสริมประสิทธิภาพของสมอง Grow your mind = http://cid-9236d6851044637b.office.live.com/self.aspx/.Public/20110105%20-%20brain.pdf

– Link : อาชีพบรรณารักษ์ – ทำไม”ครูบรรณารักษ์”เป็นยากจังครับ??? =
http://atomdekzaa.exteen.com/20110105/entry

นอกจากประเด็นต่างๆ เหล่านี้แล้ว ประเด็นที่บรรณารักษ์เขียนถึงเยอะก็คือ “การสวัสดีปีใหม่และอวยพรพี่น้องชาวห้องสมุด” นั่นเอง
เอาเป็นว่าปีนี้ผมสัญญาว่าจะทำงานเพื่อห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้ดีที่สุดแล้วกันครับ สัปดาห์นี้ก็ขอลาไปก่อน บ๊ายบาย

งานวันเด็ก ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ช่วงวันเด็กปีนี้ผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (มาช่วยเขาจัดงาน)
เลยขอเอากิจกรรมต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังดีกว่า เผื่อจะได้ไอเดียเอาไปใช้ในปีหน้ากัน

ชื่องานวันเด็ก – Kindai Kids Day จัดโดย ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมที่จัดในห้องสมุดประชาชนแบ่งออกเป็น 5 โซน ดังนี้
1. โซนสร้างพลานามัย เวทีกลางแจ้ง (หน้าห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี) – เกมส์กลางแจ้ง
2. โซนรักการอ่าน ห้องโถงชั้น 1 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี – ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน
3. โซนสร้างจินตนาการ ห้องสมุดเด็กไทยคิด – ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4. โซนเทคโนโลยี ห้องคอมพิวเตอร์ – ส่งเสริมทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
5. โซนส่งเสริมอาชีพ – หน้าลานสนามหญ้าห้องสมุด – สอนการประดิษฐ์เพื่อนำไปประกอบอาชีพ

ธีมหลักของงานนี้ คือ สุขภาพแข็งแรง / รักการอ่าน / สร้างจินตนาการ / ใช้ไอที

ในแต่ละโซนมีอะไรให้เล่นได้บ้าง :-
1. โซนสร้างพลานามัย
เป็นโซนหลักและจัดกิจกรรมเกมส์กลางแจ้งมากมาย เช่น การแสดงความสามารถของเด็กๆ , การแข่งขันฮูล่าฮูป, เก้าอี้ดนตรี, เกมส์เหยียบลูกโป่ง นอกจากนี้ในโซนนี้จะมีการจัดซุ้มจับสลาก (การจับฉลากเดี๋ยวอธิบายทีหลังนะครับ)
2. โซนรักการอ่าน เป็นโซนบริเวณทั่วๆ ไปในห้องสมุด ซึ่งมีการจัดนิทรรศการแนะนำหนังสือเด็ก นอกจากนี้ยังมีการจัดบอร์ดสำหรับเด็กๆ คือ โตขึ้นหนูอยากเป็น…. เด็กๆ ก็จะมาเขียนอาชีพในฝันของตัวเอง ซึ่งได้รับการตอบรับมากมาย
3. โซนสร้างจินตนาการ เป็นโซนที่ส่งเสริมการสร้างจินตนาการให้เด็กๆ ซึ่งกิจกรรมทั่วๆ ไป คือ การวาดภาพระบายสี การบิดลูกโป่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
4. โซนเทคโนโลยี เป็นโซนที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในทางที่เหมาะสมสำหรับเด็ก กิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ และการอบรมการใช้ internet เบื้องต้น
5. โซนส่งเสริมอาชีพ เป็นโซนที่ได้รับความสนใจอีกโซนหนึ่ง เพื่อผู้ปกครองที่มารอเด็กๆ เล่นกิจกรรมก็จะเข้ามาร่วมกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ มาเรียนรู้การทำอาชีพ เช่น การพับดอกไม้ด้วยใบเตย, การสานรูปสัตว์จากใบตาล, การทำแซนวิส, การทำน้ำสมุนไพร

ของรางวัลในงานนี้แบ่งออกเป็น
– ของที่ระลึก – แจกเด็กๆ ทุกคนที่มางาน = ขนม
– ของรางวัลตามกิจกรรม – เล่นกิจกรรมแล้วได้เลย
– ของรางวัลจากการจับสลาก – ต้องเล่นกิจกรรมให้ครบ 4 โวนแล้วนำบัตรมายื่นที่ซุ้มจับฉลาก

งานนี้มีเด็กเข้าร่วมประมาณ 200 คน
ของขวัญที่มีคนอยากได้มากที่สุด = ตุ๊กตาหมูกระต่ายใหญ่และหมอนหมูกระต่ายใหญ่

เอาเป็นว่างานนี้ก็ถือว่าจัดได้สนุกพอควรเลย ผู้จัดงานเหนื่อยนะแต่ก็มีความสุขกับเด็กๆ ทุกคน
วันนี้ผมก็ขอเล่าแค่นี้ก่อนดีกว่า ขอไปพักก่อนนะครับ รูปเพื่อนๆ สามารถดูได้ด้านล่างนี้เลย

รูปกิจกรรมงานวันเด็ก 54 (Kindai Kids Day 2011)

[nggallery id=35]

คลิปวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)

วันนี้เจอคลิปวีดีโอนึงที่เกี่ยวกับห้องสมุดแถมยังเป็นคลิปวีดีโอที่น่ารักมากๆ เลย
เป็นเรื่องราวของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่มาพบรักกันในห้องสมุด วิ้วๆ โรแมนติกน่าดู

เรื่องย่อๆ ของคลิปวีดีโอนี้ คือ ประมาณว่าผู้ใช้บริการห้องสมุดสองคนที่ต่างคนต่างเดินเข้ามาในห้องสมุดตามลำพัง และใช้เวลาในการอ่านหนังสือในห้องสมุด ด้วยความบังเอิญที่ทั้งคู่เดินชนกันและพบกัน ทำให้เกิดตกหลุมรักซึ่งกันและกัน เรื่องราวจะจบด้วยความสุขขนาดไหนไปดูกันเองนะ

ชมวีดีโอพบรักกันในห้องสมุด (Love in the library)

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cjrKYICOzbE[/youtube]

เป็นไงบ้างครับ น่ารักหรือปล่าว นอกจากวีดีโอที่ผมจะชอบแล้ว
เพลงประกอบวีดีโอตัวนี้ผมก็ชอบด้วยเช่นกัน ชื่อเพลง close to you โดย Karen Mok

เอาเป็นว่าวีดีโอนี้ก็เอามาให้ชมกันแบบเพลินๆ แล้วกันนะครับ
นอกจากนี้ขอเป็นกำลังใจให้คนที่ยังไม่มีความรักด้วย (ลองไปห้องสมุดบ่อยๆ สิครับ อาจจะเจอความรักแถวๆ นั้นก็ได้)

ปล. แถมเพลงนี้ให้ดีกว่า ฟังได้ที่ด้านล่างนี้นะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Z49HJH07U5k[/youtube]

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนธันวาคม 2010

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ประจำเดือนธันวาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

อย่างที่เคยลงเอาไว้แหละครับว่า IFLA Journal ออก 3 เดือนครั้ง และออกมาในรูปแบบ PDF ไฟล์
ซึ่งครั้งที่แล้วผมนำฉบับเดือนตุลาคมมาลงซึ่งเพื่อนๆ หลายคนก็เมล์มาบอกผมว่าชอบ
และถ้าฉบับใหม่มาให้นำมาลงให้อ่านบ้าง ผมก็เลยจัดไปอย่าให้เสีย

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ

– Diversity in librarianship: The United States perspective
– Preserving traditional knowledge: Initiatives in India
– Assessing information literacy competency of Information Science and Library Management graduate students of Dhaka University
– Research output in the field of natural sciences: A bibliometric case study of Jamia Millia Islamia University, New Delhi
– Non-users? evaluation of digital libraries: A survey at the Universita` degli studi di Milano
– Building capacity through the IFLA Building Strong Library Associations programme

เข้าไปดาวน์โหลดเต็มๆ เล่มได้ที่
http://www.ifla.org/files/hq/publications/ifla-journal/ifla-journal-36-4_2010.pdf

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อและบทความน่าอ่านมากๆ จริงๆ ครับ
ที่สำคัญของฟรีๆ แบบนี้มีให้อ่านเรื่อยๆ ดังนั้นไม่อยากให้พลาดกัน
โหลดไปอ่านแล้วส่งต่อให้เพื่อนๆ อ่านกันด้วยนะครับ

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

ปล. IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010 อ่านได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/2010/10/28/ifla-journal-volume-36-no-3-october-2010/

สรุปเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนธันวาคม 2553

การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือนธันวาคมมาแล้วครับ
เดือนนี้เป็นเดือนที่คนเข้าบล็อกของผมน้อยกว่าเดือนที่แล้ว อาจจะเนื่องมาจากวันหยุดเยอะ

เดือนธันวาคมที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 25% – เพื่อนๆ คิดยังไงกับบทความ “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ”
2. 17% – แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011
3. 14% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2
4. 14% – คำว่า CYBRARIAN ย่อมาจากอะไร
5. 8% – เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)
6. 7% – สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1
7. 7% – ไอเดียการจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดทั่วโลก
8. 7% – กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook
9. 6% – การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)
10. 5% – วีดีโอเมื่อบรรณารักษ์กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลง Cybrarian

ปล. เรื่องยอดฮิตมีเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนมกราคมเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นะครับ แล้วพบกับการรายงานแบบนี้ได้ใหม่ทุกต้นเดือน

ไอเดียการจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดทั่วโลก

ช่วงนี้เทศกาลแห่งความสุขไปไหนก็มีแต่ต้นคริสต์มาสและก็การประดับไฟอันสวยงามหลายที่
วันนี้ผมขอนำเสนอภาพไอเดียห้องสมุดจากทั่วโลกที่มีการตกแต่งห้องสมุดด้วยต้นคริสต์มาสกันนะครับ
(ปีที่แล้วผมนำเสนอเรื่องต้นคริสต์มาสหนังสือ ลองดูที่ เทศกาลคริสต์มาสกับชาวห้องสมุด)

ห้องสมุดแต่ละแห่งที่ผมยกมาต้องบอกก่อนว่ามีความพิเศษจริงๆ
เนื่องในเทศกาลแห่งความสุขนี้ผมจึงขอส่งความสุขให้เพื่อนๆ ด้วยภาพเหล่านี้แล้วกันนะครับ

1. ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก – Library of Congress
(http://craigcorlphotography.blogspot.com/2010/12/christmas-in-washington-dclibrary-of.html)

2. ห้องสมุดที่โด่งดันในเรื่องกิจกรรม และ Social Media – New York Public Library
(http://www.flickr.com/photos/klingon65/5260913800/)

3. ต้นคริสต์มาส ณ Perth campus library
(http://librarycentraltafe.wordpress.com/2008/11/21/are-you-ready-for-christmas/)

4. การนำหนังสือมาเรียงกันเป็นต้นคริสต์มาส
(http://www.flickr.com/photos/89003088@N00/galleries/72157622833244727) (ลองเข้าไปดูนะมีรูปเยอะดี)

5. ต้นเล็กๆ แต่มีเยอะก็น่าสนใจนะ – Lompoc Library
(http://www.lompocrecord.com/news/local/article_d2f13b82-fea7-11df-8eed-001cc4c002e0.html)

6. ต้นคริสต์มาสแนวสร้างสรรค์จินตนาการ – Holmes County Library
(http://www.holmeslib.org/fol)

เอาเป็นว่าขอฝากไว้เพียงเท่านี้แล้วกันนะครับ ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขในช่วงปีใหม่นี้และตลอดไปนะ