เรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

ฟีเจอร์ใหม่ของ Libraryhub ที่ผมกำลังจะทำหลังจากนี้คือ การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือน
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ในวันที่ 1 ของทุกเดือนเลยนะครับ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นต้นไป

เรื่องยอดฮิตนี้ผมก็นำมาจากสถิติในบล็อก Libraryhub ว่าเรื่องไหนเพื่อนๆ เข้ามาดูเยอะที่สุด
ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง
ซึ่งในบล็อกของผมมีระบบประมวลผลคะแนนของบล็อกอยู่แล้ว ผมก็แค่นำมาเสนอให้เพื่อนๆ ดูก็แค่นั้นเอง

เอาหล่ะไปดูกันเลยดีกว่าว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ

1. 53% สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services
2. 22% นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง
3. 16% ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด
4. 15% คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย
5. 15% แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant
6. 15% เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง
7. 12% วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
8. 10% สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11
9. 9% นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
10. 9% บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้)

เดือนหน้าเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นกันต่อครับ
สำหรับเดือนนี้ผมคงรายงานไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บล็อกก็ยังคงอัพเดททุกวันต่อไปนะครับ

เป็นกำลังใจให้กันด้วยหล่ะ อิอิ ไปและครับ

ครบรอบ 5 ปี ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ห้องสมุด TCDC)

เนื่องในโอกาสครบรอบห้าปีศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือที่เราเรียกติดปากว่าห้องสมุด TCDC
วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลที่น่าสนใจจากแผ่นพับในงานฉลอง 5 ปี TCDC มาลงให้อ่านกันนะครับ

ภาพประกอบจาก http://www.acentech.net

เริ่มจากส่วนแรกที่อยากจะพูดถึง คือ เรื่องการจัดนิทรรศการ ซึ่งนิทรรศการที่ TCDC จัดแต่ละครั้งขอบอกว่ายิ่งใหญ่มาก และน่าสนใจมากๆ ด้วย ในนิทรรศการแฝงด้วยความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในการคิดสร้างสรรค์ธุรกิจหรือมุมมองใหม่ๆ ทางธุรกิจได้ด้วย

นิทรรศการใน TCDC แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. นิทรรศการถาวรต้องมีอะไรถึงออกแบบได้” อันนี้อยู่ตั้งแต่แรกจนถึงวันนี้ก็ยังมีให้ชมครับ
2. นิทรรศการหมุนเวียน อันนี้มีการเปลี่ยนไปเรื่อยๆ บางนิทรรศการอยู่ยาวหน่อย ตัวอย่างเช่น
– นิทรรศการกันดารคือสินทรัพย์
– นิทรรศการถอดรหัสญี่ปุ่น
– นิทรรศการทำสิ่งที่รักให้เป็นเงิน 20ธุรกิจงานออกแบบอังกฤษ

นอกจากนิทรรศการแล้ว ส่วนที่เป็น hilight ของ TCDC คือ ห้องสมุดการออกแบบที่ทันสมัย ซึ่งผมขอนำข้อมูลที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ

ข้อมูลเหล่านี้คุณรู้หรือไม่ (ผมขอเขียนในสไตล์ของผมนะ ไม่อยากถูกมองว่า copy)
– 5 ปีนี้มีผู้เยี่ยมชม TCDC มากถึง 1,500,000 คน
– สมาชิกของห้องสมุด TCDC มีนักเรียน นักศึกษามากถึง 10,000 คน
– วันที่ TCDC มีผู้ใช้เข้าสูงที่สุด คือ วันที่ 10 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีจำนวน 629 คน
– สมาชิกที่เหนียวแน่นอยู่กับ TCDC มาตั้งแต่ปีแรกจนถึงตอนนี้มี 1,124 คน
– หนังสือด้านการออกแบบที่หายากที่สุดของไทยอยู่ที่นี่ เช่น ตำราทางสถาปัตยกรรมเล่มแรกของโลก (The seven lamps of architecture ของ John Ruskin)
– หนังสือที่ถูกหยิบมากที่สุดคือ? Package & wrapping graphic มีคนหยิบมากถึง 925 ครั้ง
– หนังที่ถูกขอยืมใช้มากที่สุดคือ Spirited away มีคนยืมมากถึง 127 ครั้ง
– แม่บ้านทำความสะอาดในห้องน้ำทุก 15 นาที
– คนเข้าใช้ TCDC มากสุดวันเสาร์ น้อยสุดวันศุกร์
– วัสดุไทยที่อยู่ในฐานข้อมูลวัสดุโลกมีจำนวน 234 ชนิด
– หมึกถั่วเหลืองคือหนึ่งในวัสดุที่มีการใช้มากที่สุด

นอกจากตัวห้องสมุดใหญ่ที่อยู่ที่ emporium แล้ว TCDC ยังมีชั้นหนังสือเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ที่ห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วย หรือที่เรียกว่า Mini TCDC ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 13 แห่ง ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

เอาเป็นว่าผมคงบรรยายแค่นี้น่าจะเพียงพอแล้ว ใครที่อยากรู้จักกับ TCDC มากกว่านี้ก็เชิญไปชมได้ที่ ชั้น 6 Emporium นะครับ หรือไม่ก็เข้าไปชมได้ในเว็บไซต์ http://www.tcdc.or.th

เว็บไซต์ทางการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ : http://www.tcdc.or.th

วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้ไม่อยากเขียนอะไรเยอะ เอาเป็นว่าขอเอาวีดีโอมาลงให้ดูแทนดีกว่า
วีดีโอนี้เป็นวีดีโอแนะนำศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วีดีโอนี้ผมว่าจะเอามาให้ดูนานแล้วแต่หาไม่เจอ วันนี้ค้นไปค้นมาเจอก็เลยเอามาให้เพื่อนๆ ดูก็แล้วกัน
ในวีดีโอได้แนะนำหลักการและเหตุผลของโครงการ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด
ซึ่งมีภาพตัวอย่างของห้องสมุดอยู่พอควรเลย เอาเป็นว่าลองดูแล้วกันนะครับ

วีดีโอแนะนำศูนยความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cwyLMRwCdis[/youtube]

อ๋อก่อนจากกันวันนี้ผมขอแถมวีดีโออีกตัวเป็น วีดีโอตัวแรกของโครงการครับ
อาจจะมี text เยอะหน่อยแต่ผมว่าดูแล้วไม่น่าเบื่อครับ เอามาให้ดูกันเล่นๆ

วีดีโอโครงการศูนยความรู้กินได้

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=DYWBiw1pu-U[/youtube]

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นงานห้องสมุดที่ผมดูแลในช่วงปีที่ผ่านมาก็ฝากด้วยแล้วกันครับ
ใครว่างๆ หรือมีเวลา หรือแวะไปเที่ยวที่จังหวัดอุบลราชธานีก็แวะไปได้ครับ
ที่ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

เว็บไซต์ทางการของศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี : http://www.kindaiproject.net

แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant

วันนี้มีงานสัมมนาและอบรมดีๆ มาฝากชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์กันอีกแล้วครับ
เป็นงานที่จะทำให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้เข้าใจวิธีการทำงานของบริการแต่ละประเภทของ OCLC

รายละเอียดทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : How to be a Global Library Participant ? Practical Approaches
วันที่และเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา 8.30 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทแอ้ดวานซ์ มีเดีย ซัพพลายส์ จำกัด

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Hands-on Library Resource Comparison with library worldwide ? WorldCat Collection Analysis
– Collection development by Circulation Analysis in action ? WorldCat Collection Analysis
– Showcase to increase student use of library materials ? WorldCat Local
– Step by step ?digitize and broadcast? local library resources to global?? ? Content DM

สรุปง่ายๆ ครับ งานนี้จะเป็นการบรรยายแบบเจาะลึก step by step ในบริการ WorldCat Collection Analysis และบริการอื่น ๆของ OCLC เช่น Content DM และ WorldCat Local นะครับ

งานนี้ก็น่าสนใจดีครับสำหรับคนที่ชอบเรื่องเทคโนโลยี การบรรยายครั้งนี้ไม่อยากให้เพื่อนๆ กลัวเรื่องภาษาอังกฤษหรอกนะครับ เห็นหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษก็จริงแต่การบรรยายเป็นภาษาไทยครับ วิทยากรก็คนไทยนะครับ เอาเป็นว่าไปหาความรู้แล้วเอามาลองใช้งานกันดู เพื่อเป็นการพัฒนางานบริการของห้องสมุดด้วยก็ดีครับ

งานนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ แต่รับจำนวนจำกัด เฉพาะผู้บริหาร/บรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด/ศูนย์สารสนเทศ/อาจารย์/นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้นนะครับ

ครที่อยากเข้าร่วมงานก็ติดต่อไปที่ pongskorn@amsbook.com นะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ที่
http://library.tu.ac.th/agenda1153/info.html นะครับ

สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services

วันนี้ผมได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเรื่อง “New technology and Best Practice in Library Services
โดยคุณ John Hickok จาก California State University เห็นว่าเนื้อหาน่าสนใจดีจึงขอเอามาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน

รายละเอียดงานบรรยายเบื้องต้น
ชื่อการบรรยาย : New technology and Best Practice in Library Services
ผู้บรรยาย : John Hickok
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่ในการบรรยาย : ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร
ผู้จัดงาน : ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถานฑูตสหรัฐฯ

เข้าเรื่องกันเลยดีกว่านะครับ การบรรยายครั้งนี้มีล่ามช่วยแปลในระหว่างการบรรยายด้วย
(แต่ผมว่าฟังภาษาอังกฤษแล้วดูสไลด์ตามน่าจะเข้าใจหว่านะครับ แต่ก็เอาเถอะครับมีล่ามก็ดี)

การบรรยายเริ่มจากการแนะนำตัวของผู้บรรยาย ซึ่งคือคุณ John Hickok
(ผมขออนุญาติเรียกผู้บรรยายว่าคุณ John เพื่อความชัดเจนในการสื่อสารนะครับ)

โดยคุณ John เป็นบรรณารักษ์ธรรมดาๆ คนนึงที่ California State University (ย้ำว่าบรรณารักษ์ธรรมดา) นอกจากนี้คุณ John ก็ยังเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษให้กับคนต่างชาติด้วย โดยเฉพาะคนเอเชีย วิทยานิพนธ์ที่คุณ John คือเรื่องการเปรียบเทียบความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับการบริการห้องสมุด ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลจาก 200 กว่าห้องสมุด จาก 14 ประเทศ ในแถบเอเชีย ตำแหน่งอันทรงเกียรติของคุณ John ตอนนี้คือ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ ALA

หลังการแนะนำตัวเองเสร็จเรื่องแรกที่คุณ John บรรยายคือ Best Practice

ตัวอย่าง Best Practice จาก California State University แบ่งออกเป็น

1 งานด้านเทคนิคของบรรณารักษ์ ซึ่งมี 6 ตัวอย่าง ดังนี้
1.1 Prompt Cat. (การซื้อรายการบรรณานุกรมจาก OCLC)
คุณ John ได้แสดงให้เราเห็นว่าตำแหน่งงานด้าน catalog ในห้องสมุดของอเมริกาถูกลดบทบาทลงมาก แต่หันไปเพิ่มความสำคัญให้กับบรรณารักษ์ด้าน e-resource เป็นหลัก เนื่องจาก catalog สามารถดึงมาจาก OCLC ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและไม่ทำให้เกิดความหลากหลายในการ catalog ด้วย

คำอธิบาย Prompt Cat. อ่านได้ที่ http://www.oclc.org/promptcat/

1.2 Consortium buying power of databases (จับมือร่วมกับหน่วยงานห้องสมุดอื่นๆ ในการซื้อฐานข้อมูลจากต่างประเทศ)
คุณ John ได้บอกพวกเราว่าการที่ทำความร่วมมือในการบอกรับฐานข้อมูลจะทำให้เราประหยัดงบประมาณและก่อให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่าด้วย (จริงๆ แล้วในบ้านเรา uninet ก็มีนะ สกอ. บอกรับทำให้มหาลัยประหยัดด้วย)

1.3 Explosion of full-text linking in database (การเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่บอกรับให้สามารถค้นหาฐานข้อมูลแบบ fulltext ได้)
การเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างๆ ที่บอกรับจะมำให้ผู้ใช้บริการได้ประโยชน์สูงสุด ยกตัวอย่างเช่น EBSCO ไม่มี full text ในเรื่องนี้แต่ในฐานข้อมูลอื่นอาจจะมีก็ได้ ดังนั้นถ้าเราเชื่อมฐานข้อมูลกันก็จะทำให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งการเชื่อมโยงฐานข้อมูลก็อาศัยโปรแกรมเสริมบางชนิด เช่น “Find it” เพียงแค่เรานำมาติดตั้งกับหน้าเว็บไซต์ก็สามารถทำงานได้แล้ว

1.4 Partnering with WorldCat for last ILL. (เข้าร่วมกับ world cat ในการแชร์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในท้องถิ่น)
การทำความร่วมมือกับ WorldCat ในเรื่องฐานข้อมูลหนังสือ การเข้าร่วม ILL (inter library loan) จะเป็นทางเลือกในการช่วยให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดยืมหนังสือที่ห้องสมุดของเราไม่มีแต่ที่อื่นมีก็ได้ และยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่อยู่ใกล้มือได้ (อยู่ใกล้ห้องสมุดไหนก็ไปที่นั่น)

http://www.worldcat.org/

1.5 Reference Statistics Software (เก็บข้อมูลจากบริการตอบคำถามมาแล้วประมวลผมหาความต้องการที่แท้จริงของห้องสมุด)
โปรแกรมเก็บสถิติการอ้างอิงและการตอบคำถามผู้ใช้บริการจะทำให้เราสามารถประเมินความต้องการของผู้ใช้บริการ รวมถึงการนำข้อมูลสถิติมาใช้ในงานบริหารจัดการห้องสมุดได้ เช่น ในช่วงเวลาที่คนใช้ห้องสมุดมากๆ ก็ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่เป็น 2 เท่า

1.6 Library Instruction Request form (แบบฟอร์มขอบรรณารักษ์ไปช่วยในการสอน)
แบบฟอร์มในการขอให้บรรณารักษ์ไปช่วยในการอบรมผู้ใช้บริการเฉพาะด้าน มีไว้ให้อาจารย์ในคณะส่งข้อความให้ห้องสมุดเพื่อขอใช้บริการบรรณารักษ์ไปอบรมผู้ใช้

2 งานบริการผู้ใช้ห้องสมุด ซึ่งมี 7 ตัวอย่างดังนี้

2.1 IM Chat reference (บริการตอบคำถามออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง)
เอา Chat online มาไว้ที่หน้าเว็บไซต์ได้เลย และต้องคอยดูแลและตอบคำถามผู้ใช้บริการด้วยนะ ในช่วงเวลาทำการบรรณารักษ์ห้องสมุดก็จะช่วยกันตอบ แต่ในเวลาหลังเลิกงานห้องสมุดที่นั่นก็จ้างคนมาดูแลและตอบคำถาม (จ้าง OCLC) ครับ ไม่แพงมากถ้าทำความร่วมมือกับที่อื่นๆ ด้วย จากการสำรวจผู้ใช้บริการจะเข้าใช้บริการมากสุดตอนห้าทุ่ม

2.2 Software to control all lab screens (โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมหน้าจอคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด)
ในช่วงเวลาที่มีการอบรมเพื่อไม่ให้เกิดความวอกแวก ห้องสมุดควรจะมีโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมหน้าจอด้วย ผู้ใช้จะได้จดจ่ออยู่กับหน้าจอที่เราควบคุม โปรแกรมที่คุณ John แนะนำคือ lanschool (www.lanschool.com) เสียตังค์ครับแต่ไม่แพงมาก

www.lanschool.com

2.3 Specialized guides (แนะนำข้อมูลเพื่อช่วยในการสืบค้นเฉพาะเรื่อง)
การจัดทำข้อมูลเพื่อแนะนำการสืบค้นจำเป็นมากครับ เพราะบางครั้งบรรณารักษ์ต้องนั่งตอบคำถามผู้ใช้ซึ่งเป็นคำถามซ้ำไปซ้ำมา ยกตัวอย่าง นาย ก มาขอข้อมูลเรื่องโลกร้อน บรรณารักษ์ก็ชี้ว่าไปหาที่นี่ๆๆๆ แล้วก็จบ นาย ข เดินมาก็ขอข้อมูลโลกร้อน บรรณารักษ์ก็ต้องชี้ว่าไปหาที่นี่ๆๆๆ จบไปอีกหนึ่งคน นาย ค เดินมาก็ขอข้อมูลโลกร้อนอีก บรรณารักษ์ก็ต้องตอบแบบเดิม ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าเราจัดทำคู่มือการหาข้อมูลโลกร้อนแล้วเอาขึ้นเว็บ ผู้ใช้ก็จะได้นำคู่มือตรงนี้ไปใช้

2.4 Specialized tutorials (เทคนิคในการสอนใช้ข้อมูลเฉพาะเรื่อง)
รูปแบบการสอนไม่ควรใช้ text ล้วนๆ เหมือนสมัยก่อน เพราะว่ามันน่าเบื่อและทำให้ผู้ใช้บริการไม่สนใจในคำแนะนำนั่นๆ แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่มาใช้เทคโนโลยีอย่างพวก flash javascript หรือวีดีโอใน youtube มันก็อาจจะทำให้กระตุ้นในการอยากรู้ของผู้ใช้บริการก็ได้

2.5 RefWorks plug in and workshop (โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างบรรณานุกรมที่ถูกต้อง)
โปรแกรม RefWorks มีลักษณะคล้ายๆ โปรแกรม Endnotes ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถสร้างบรรณานุกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบของ APA

2.6 Outreach to international student (แนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดให้กับผู้ใช้บริการ)
การแนะนำและสอนการใช้ห้องสมุดให้กับผู้ใช้บริการในเมืองไทยคุณ John บอกไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเห็นว่าทำกันอยู่แล้ว โดยเน้นเด็กมัธยมที่เพิ่งเข้ามหาวิทยาลัย นอกจากนี้คุณ John ย้ำว่าต้องจัดสอนให้ผู้ใช้ทุกกลุ่ม เช่น ผู้ใช้บริการที่เป็นคนต่างชาติในห้องสมุดของเราก็ต้องสอน เพราะการใช้ห้องสมุดในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

2.7 International partnership (สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติ)
การทำความร่วมมือกับหน่วยงานระดับนานาชาติทั้งรูปแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการจะช่วยให้เกิดการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการดูงานเพื่อพัฒนาห้องสมุดได้

จบตัวอย่างของ Best Practice แล้วคุณ John ได้เน้นในเรื่องของ trend ห้องสมุด คือ การบริการเชิงรุก

คุณ John ได้กล่าวถึงข้อดีของการให้บริการเชิงรุกและการให้การศึกษากับกลุ่มผู้ใช้บริการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนภาพลักษณ์บรรณารักษ์รุ่นเก่า (โบราณ เคร่งเครียด และชอบทำปากจุ๊ๆ ให้เงียบ) ไปเป็นภาพลักษณ์บรรณารักษ์แนวใหม่ (ทันสมัย เป็นมิตร และเชี่ยวชาญเรื่องการสืบค้น)

เหตุผลที่มีการเปลี่ยนแนวการให้บริการเป็นเชิงรุกในสหรัฐอเมริกา มี 3 อย่างคือ
1 บรรณารักษ์มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีมากขึ้น เช่น ทำบล็อก เล่นเฟสบุ๊ค ใช้ยูทูป
2 บรรณารักษ์มีบทบาทต่อการเรียนการสอนรายวิชาวรรณกรรมและการค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
3 บรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาจบวุฒิโทในสาขาบรรณารักษ์ แต่จบตรีสาขาอื่นๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น ซึ่งต่างจากไทยที่คนไทยเรียนตรีบรรณฯ ต่อโทก็ยังบรรณ ดังนั้นทำให้ไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องอื่นๆ เลย


การให้บริการเชิงรุกต้องดูอะไรบ้าง

1 สถานที่ในการให้บริการตอบคำถาม ไม่ควรอยู่ไกลหรือลึกลับเพราะผู้ใช้จะไม่กล้าใช้บริการ และที่สำคัญหนังสืออ้างอิงควรอยู่ใกล้ๆกับจุดบริการตอบคำถามด้วย สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือจุดบริการตอบคำถามควรมีจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อให้บรรณารักษ์สามารถสืบค้นข้อมูลได้ทันที

2 การแนะนำบริการตอบคำถามให้ผู้ใช้บริการรู้จัก คุณ John ยกตัวอย่างของห้องสมุด California State University ว่า บรรณารักษ์จะเดินถือโน้ตบุ๊คเข้าหาผู้ใช้บริการที่นั่งสืบค้นข้อมูลอยู่ตามโต๊ะ เมื่อบรรณารักษ์สังเกตเห็นว่าผู้ใช้กำลังต้องการค้นข้อมูล บรรณารักษ์ก็จะเดินเข้าไปถามและช่วยทันที คุณ John บอกในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะตกใจ แต่เมื่อทำแบบนี้แล้วคนที่อยู่ใกล้ๆ จะได้ยินว่าบรรณารักษ์ให้การช่วยเหลือเรื่องการสืบค้นได้ ก็อาจจะต่อคิวเพื่อขอรับบริการต่อไป นอกจากนี้การทำป้ายเพื่อแนะนำบริการตอบคำถามก็สมควรที่จะทำในห้องสมุด

ภาพตัวอย่างป้ายบริการตอบคำถามในห้องสมุด

จากการพูดคุยกับกลุ่มนักศึกษาในเรื่องสาเหตุที่ไม่ขอรับบริการตอบคำถามจากบรรณารักษ์เนื่องจาก
– ไม่ยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ (ไม่อยากให้คนอื่นคิดว่าโง่)
– เคยเจอประสบการณ์ที่เลวร้ายจากการใช้บริการห้องสมุด
– คิดว่าเปิด google ก็ได้คำตอบ

3 เพิ่มแหล่งบริการค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ๆ ในห้องสมุด (แต่ต้องไม่กระทบเรื่องงบประมาณ) เน้นเว็บไซต์ด้านสารสนเทศมากๆ คุณ John แนะนำให้ลองใช้
www.ipl2.org
www.libraryspot.com
www.refdesk.com

4 เพิ่มการศึกษาให้ผู้ใช้บริการมากๆ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการรู้มากๆ ก็จะมาที่ห้องสมุดเองนั่นแหละ วิธีการง่ายๆ ให้ทำดังนี้
– จัดปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
– ขอความร่วมมือจากสาขาวิชาเพื่อให้เด็กๆ มาเรียนรู้เรื่องการค้นข้อมูลในห้องสมุด
– จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop)

เอาเป็นว่าการบรรยายในหัวข้อ “New technology and Best Practice in Library Services” ก็จบที่สไลด์นี้
แต่คุณ John มีเนื้อหาที่น่าสนใจมาให้พวกเราได้ดูอีก คือ ตัวอย่างห้องสมุดที่น่าสนใจ (International Best Pratices of Library Spaces)

ตัวอย่างห้องสมุดที่น่าสนใจ (International Best Pratices of Library Spaces) มี 9 หัวข้อที่ศึกษา ดังนี้

1. The Information Common
3. Social Network
4. Distance learning
5. Virtual Mgmt system
6. Technical Service
7. Marketing / Promotion
8. Reference Info Lit.
9. Library Space Planning

หลังจากจบการบรรยายก็ถึงช่วงเวลาที่ใช้ในการตอบคำถาม มีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย เช่น
1. การมีร้านกาแฟในห้องสมุด – คนจะมากินกาแฟอย่างเดียวหรือไม่ กินเสร็จก็ออกจากห้องสมุด
คุณ John ก็ตอบว่าการศึกษาเรื่องนี้จริงๆ พบว่ายิ่งการมีร้านกาแฟ จะยิ่งทำให้คนเข้าห้องสมุดและอยู่กับห้องสมุดนานขึ้น นอกจากนี้การทำงานร่วมกันระหว่างร้านกาแฟกับห้องสมุดก็จะดีมากๆ เช่น วีดีโอที่เปิดในร้านกาแฟก็อาจจะเป็นวีดีโอที่เกี่ยวกับการแนะนำห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุด หรือสาระความรู้จากห้องสมุดก็ได้

2. การเปิดพื้นที่ Comment zone (พื้นที่ที่ให้คนสามารถพูดคุยปรึกษางานกัน) มันเสียงดังนะ มันจะไม่กวนผู้ใช้คนอื่นหรอ
คุณ John ก็ตอบว่าการที่เป็น Comment zone มันก็ต้องเสียงดังอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็ควรจัดมุม private zone หรือ quiet zone ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการสมาธิใช้เช่นกัน ซึ่งบางทีเราอาจจะแบ่งพื้นที่ให้ห้องสมุดมีโซนที่เสียงดังสัก 50% ก็ดีนะ เพราะห้องสมุดปกติคือสถานที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่แค่ที่นั่งอ่านเงียบๆ เหมือนสมัยก่อน

เอาเป็นว่าวันนี้ผมเขียนบล็อกยาวไปหน่อยนะครับหวังว่าคงไม่น่าเบื่อเกินไป
สำหรับคนที่ไม่ได้มาวันนี้หากสงสัยในส่วนไหนก็ฝากคำถามไว้แล้วกันครับ เดี๋ยวจะแวะมาตอบให้
สำหรับเอกสารการบรรยายไม่แน่ใจว่าผู้จัดงานลงไว้ที่ไหนเดี๋ยวจะลองเช็คดูให้นะครับ

บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน

เมื่อวานผมนำรูปภาพของบ้านหนังสือลงใน facebook ส่วนตัวของผม
ทำให้หลายๆ คนสนใจและอยากรู้จัก “บ้านหนังสือ” วันนี้ผมจึงขอนำมาขยายเรื่องลงบล็อก

บ้านหนังสือ ก็คือ ห้องสมุดประเภทหนึ่งที่สังกัดกับกรุงเทพมหานคร โดยห้องสมุดในกลุ่มนี้จะจัดสร้างในชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่จำนวนหนึ่งหรือพื้นที่ใกล้เคียงไม่มีห้องสมุดขนาดใหญ่ของกรุงเทพตั้งอยู่ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในเรื่องการอ่าน กรุงเทพฯ จึงได้จัดทำบ้านหนังสือขึ้นมาเพื่อให้คนเข้าถึงหนังสือมากขึ้น


บริการต่างๆ ในบ้านหนังสือ
– บริการวารสาร นิตยสารและหนังสือพิมพ์
– บริการหนังสือทั่วไป
– บริการดูหนัง ฟังเพลงและอินเตอร์เน็ต
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

เวลาทำการของบ้านหนังสือแต่ละที่เหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปแหละครับ คือ
เปิดวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์และวันหยุดพิเศษ

ไอเดียที่ผมชอบมากๆ ของบ้านหนังสือ คือ การนำตู้คอนเทนเนอร์สองตู้มาต่อกัน
ซึ่งมองในแง่งบประมาณและการใช้งาน รวมถึงพื้นที่ในการวาง ผมว่ามันเหมาะสมมากๆ
การมีบ้านหนังสือเยอะๆ ในกรุงเทพจะช่วยให้คนเข้าถึงหนังสือได้ง่ายกว่าการมีห้องสมุดใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ที่

ลองดูวีดีโอแนะนำ “บ้านหนังสือ” ที่จัดทำโดย กทม. นะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=OPTjGpr2w0U[/youtube]

ถ้าอยากทราบว่าบ้านหนังสือในกรุงเทพฯ มีอยู่ที่ไหนบ้างสามารถเข้าไปดูได้ที่
http://203.155.220.217/dll/house.html (ปัจจุบันมี 116? แห่งทั่วกรุงเทพฯ)

ก่อนจากกันผมขอแถมภาพถ่ายภายในจาก “บ้านหนังสือสวนป่าเฉลิมพระเกียรติ”

[nggallery id=32]

ปล. ภาพถ่ายบางส่วนผมนำมาจาก http://203.155.220.217/dll/house.html

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

ก่อนถึงวันจันทร์วันที่แสนน่าเบื่อ ผมขอเขียนเรื่องเบาๆ แบบไม่ต้องคิดอะไรมากมายให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน
เรื่องวันนี้ผมขอตั้งเป็นแบบสอบถามแล้วกัน เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…
ว่าเพื่อนคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุดคืออะไร

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมีมากมาย ซึ่งหากห้องสมุดเข้าใจผู้ใช้บริการ
เพื่อนๆ ก็สามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้และปรับปรุงห้องสมุดและดึงดูผู้ใช้บริการได้
ซึ่งจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดของเพื่อนๆ นั่นเอง

ผมอยากขอความร่วมมือจากเพื่อนๆ (ทุกสาขาวิชาชีพ) ช่วยกันตอบแบบสอบถามนี้ด้วยนะครับ

แบบสอบถาม : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด คือ…

[poll id=”19″]

ผมขอตอบประเดิมเป็นคนแรกแล้วกัน …. ผมขอเลือกบรรณารักษ์กับความเอาใจใส่ในงานบริการ
เพราะหากบรรณารักษ์ปรับปรุงตัวเองได้ ตัวบรรณารักษืเองก็จะพัฒนางานต่างๆ ในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็น
การสร้างบรรยากาศในการอ่าน การจัดกิจกรรมต่างๆ และบริการด้วยใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการพอใจครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองเลือกคำตอบกันดูนะครับ ใครมีความเห็นเพิ่มเติมก็สามารถเสนอได้ครับ

คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย

บ้านของเพื่อนๆ มีหนังสือเยอะหรือปล่าว ถ้ามีเยอะอยากจัดให้เป็นห้องสมุดในบ้านหรือไม่
ถ้าอยากผมแนะนำให้ดูคลิปวีดีโอนี้ “คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ

ดูคลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ

ผมขอสรุปเนื้อหาจากวีดีโอนะครับ
การจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ สิ่งที่จำเป็นต่อการจัดการ
1. หนังสือ
2. ทักษะในการจัดการ
3. การกำหนดหมวดหมู่

ส่วนตัวช่วย (ถ้ามีจะดีมาก) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการห้องสมุดอย่างง่ายๆ

การจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่ายๆ? แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ (เลือกตามถนัด)
1. Organize by genre (จัดกลุ่มหนังสือออกประเภท) อันนี้เป็นการจัดแบบง่ายที่สุด
วิธีการก็ง่ายๆ เอาหนังสือทั้งบ้านมากองไว้ที่เดียวกันแล้วแยกกลุ่มหนังสือออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น สารคดี, วรรณกรรม, หนังสืออ้างอิง, หนังสือภาพ (อันนี้แล้วแต่เราจะแบ่ง ซึ่งเราดูเป็นกลุ่มประเภทใหญ่ๆ ของหนังสือ)

2. Organize by library classification (จัดกลุ่มหนังสือตามเนื้อหาหรือหมวดหมู่) อันนี้เน้นตามหลักบรรณารักษ์
วิธีการนี้ต้องอาศัยทักษะของวิชาบรรณารักษ์นิดนึง คือแยกตามหมวดหมู่ของเนื้อหา แล้วเรียงตามหมวดหมู่ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถใช้การจัดหมวดหมู่แบบไหนก็ได้ เช่น ดิวอี้ แอลซี ….. โดยดูง่ายๆ ที่หน้า CIP หรือบรรณารุกรมที่หอสมุดแห่งชาติเป็นคนให้มา

3. Organize by function (จัดหนังสือตาม function การใช้งาน) อันนี้เน้นการใช้งาน

วิธีการนี้เหมาะมากๆ สำหรับการใช้งานที่เจาะจง และเฉพาะทาง เช่น เอาหนังสือการปรุงอาหารไว้ในครัว หนังสือคอมพิวเตอร์ไว้ที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ วรรณกรรมไว้หัวเตียง อันนี้จัดหนังสือตามสถานที่เป็นหลัก

4. Organize by color (จัดหนังสือตามสีของปก) อันนี้เน้นสวยงาม
วิธีการนี้สำหรับคนที่ชอบความสวยงามเป็นหลักคือการไล่สีของปกหนังสือ สีเหลือง สีแดง สีเขียว แต่เนื้อหาไม่สนใจซึ่งสิ่งที่ได้เป็นแค่ความสวยงามเท่านั้น

เป็นไงกันบ้างครับ การจัดห้องสมุดในบ้านของคุณไม่ใช่เรื่องยากใช่มั้ย
ลองเอาวิธีต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ดู ผมว่าแค่นี้บ้านของคุณก็สามารถเป็นห้องสมุดส่วนตัวได้แล้วครับ
เอาเป็นว่าวันนี้ก็แนะนำแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ ไว้วันหลังจะหาคลิปวีดีโอแนวๆ มาแนะนำอีกนะครับ

URL คลิปวีดีโอนี้ http://www.howcast.com/videos/241548-How-To-Organize-a-Home-Library

คลิปวีดีโอห้องสมุดไทยในแอลเอ (ลอสแองเจลลิส)

วันนี้วันจันทร์เชื่อว่าหลายๆ คนคงยุ่งเหมือนกับผม ดังนั้นวันนี้ผมขอนำคลิปวีดีโอมาให้ดูแทนการเขียนแบบเยอะๆ แล้วกัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดแน่นอนครับ

คลิปวีดีโอได้กล่าวถึงการมีห้องสมุดไทยในต่างประเทศอย่างมีระบบเพื่อให้คนไทยใช้เป็นที่อ่านหนังสือ และคนต่างชาติก็สามารถเข้ามาใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนภาษาไทยได้ด้วย

เราไปดูคลิปวีดีโอนี้กันก่อนดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=0spOaEybyrU&feature=share[/youtube]

คลิปที่เพื่อนๆ ได้ดูไปเป็นคลิปวีดีโอในช่วงข่าวภาคค่ำของช่องทีไอทีวีนะครับ
ซึ่งอยู่ในช่วงไทยบันเทิง เสนอเรื่องห้องสมุดไทยในแอลเอ (ลอสแองเจลลิส)

เอาเป็นว่ารายละเอียดเพื่อนๆ คงฟังได้จากคลิปวีดีโอนะครับ ผมคงไม่ต้องเขียนขึ้นมาซ้ำหรอก

เอาเป็นว่าที่เอามาโพสเพื่อให้เพื่อนๆ ได้รับรู้เกี่ยวกับวงการห้องสมุดไทยในต่างประเทศ
และที่สำคัญกว่านั้นผมอยากชื่นชมทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างและจัดระบบห้องสมุดแห่งนี้

ขอบคุณจริงๆ ครับ

ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด

วันนี้แค่หัวข้อก็อาจจะดูแปลกๆ ใช่มั้ยครับ เอ๊ะ หรือผมพิมพ์ผิดหรือปล่าว
ไม่ผิดหรอกครับ วันนี้ผมขอนำไอเดียมาขายให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ สักหน่อย
เกี่ยวกับมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด หรือ 20 อันดับหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่าน

ปกติในห้องสมุดก็มักจะมีมุมที่ใช้ในการแสดงหนังสือยอดนิยมใช่มั้ยครับ แน่นอนครับ เกือบทุกแห่งมีมุมนี้แน่นอน
ซึ่งโดยหลักของเศรษฐศาสตร์แบบหางยาว (Longtails) แล้วหนังสือยอดนิยมมักจะถูกหยิบอ่านหรือยืมกลับบ้านมากในห้องสมุด
ส่วนหนังสืออื่นๆ ก็มีมากมายที่อาจจะไม่เคยถูกหยิบเลย หรือไม่มีใครยืมกลับบ้านเลยก็เป็นไปได้

สมมุติว่าในห้องสมุดมีหนังสือ 100 เล่ม หากเราแนะนำหนังสือยอดนิยมจำนวน 20 เล่ม แล้วปล่อยให้ 80 เล่มอยู่บนชั้นหนังสือโดยไม่ทำอะไรเลย
ผู้ใช้บริการก็มักจะสนใจหนังสือยอดนิยมจำนวน 20 เล่มนั้น แล้วก็ไม่ค่อยสนใจ 80 เล่มที่เหลือ
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า บางที 80 เล่มที่เหลืออาจจะมีข้อมูลดีๆ อยู่ก็ได้แต่เมื่อผู้ใช้ไม่สนใจหนังสือเล่มนั้นก็น่าเสียดายจริงๆ


เอาเป็นว่าวิธีที่ผมอยากแนะนำแบบประหลาดๆ ก็คือ น่าจะมีการจัดชั้นหนังสือที่ไม่มีใครเคยหยิบในห้องสมุดบ้าง
และอาจจะเน้นชั้นหนังสือนั้นให้เด่นขึ้นมาอีกสักหน่อย เผื่อว่าผู้ใช้จะเดินไปดูบ้าง
ผู้ใช้บริการคงสนใจน่าดูเลยนะครับว่า เอ๊ะ “หนังสือเล่มไหนที่ไม่มีใครเคยหยิบนะ
และเมื่อผู้ใช้บริการค้นพบหนังสือเหล่านั้นก็อาจจะหยิบมาเปิดดูและบางส่วนอาจจะเจอในสิ่งที่ตนเองสนใจก็ได้

เอาเป็นว่าหนังสือบางเล่มเนื้อหาน่าสนใจแต่ไม่มีใครเคยหยิบ มันน่าเสียดายมาก (เหมือนว่าผมเคยเขียนบล็อกไปแล้ว)
ลองอ่านตัวอย่างหนังสือที่น่าสนใจแต่ไม่มีใครหยิบอ่านดูได้ที่ “หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงกับไอเดียนี้ ลองแสดงความคิดเห็นมาได้ด้านล่างนี้นะครับ
ช่วยๆ กันเสนอไอเดีย ห้องสมุดของเราจะได้มีการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ก่อนจากกันวันนี้ผมขอแนะนำข้อความของบรรณารักษ์คนนึง (@montserratlj) ที่ tweet วันนี้ คือ

?Every librarian’s dream — every book is checked out !!? (SierraGold’s caption…:-)): http://momentile.com/montserratlj/11-13-2010

ประโยคนี้ผมชอบมากและถ้าเป็นไปได้ก็อยากเห็นในสังคมไทยจริงๆ (ยืมไปอ่านนะครับ ไม่ใช่ทำลายหนังสือในห้องสมุดหมด)