นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

หลังจากที่ป่วยมาหนึ่งวัน พอฟื้นปุ๊บก็เกิดอารมณ์อยากเที่ยวทันที ดังนั้นอย่ารอช้าหาที่เที่ยวกันเลยดีกว่า
แต่เที่ยวตามสไตล์นายห้องสมุดทั้งทีมันก็ต้องเกี่ยวกับห้องสมุดสักหน่อย วันนี้ผมจึงพาเที่ยวห้องสมุดเช่นเดิม

ห้องสมุดที่ผมพาไปวันนี้อยู่ที่ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่าสนใจมากจริงๆ ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ชื่อว่า “ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์” (NitasRattanakosin Library)
เอาเป็นว่าผมขอแนะนำห้องสมุดแห่งนี้ตามสไตล์บรรณารักษ์พาเที่ยวนะครับ (ข้อมูลอาจจะออกไปทางห้องสมุดหน่อย)

โปรแกรมห้องสมุดที่ใช้ (โปรแกรมที่ใช้ในการสืบค้นและการจัดเก็บข้อมูลสื่อสารสนเทศ) คือ Alice for window
ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ และใช้แถบสี (Spine Label) ในการแบ่ง collection ของสื่อสารสนเทศ

Collection ของสื่อสารสนเทศที่มีในห้องสมุดแห่งนี้

– พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
– สัพเพเหระ
– ศิลปะรัตนโกสินทร์
– สังคมรัตนโกสินทร์
– หนังสือแนะนำ
– วรรณคดี นวนิยาย
– กิน เที่ยว
– นิตยสารที่นี่บอกรับไว้ประมาณ 16 ชื่อเรื่องครับ (อันนี้เดินไปนับเลย)
– หนังสือพิมพ์
– พระราชพิธี
– ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
– พระราชประวัติ พระบรมวงศานุวงศ์
– พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์
– เกร็ดความรู้
– ประวัติและผลงานบุคคลสำคัญ
– สื่อมัลติมีเดีย

ห้องสมุดแห่งนี้ไม่มีบริการให้ยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดนะครับ
ดังนั้นจึงมีบริการเสริมจำพวกถ่ายเอกสารหรือสแกน ซึ่งมีอัตราค่าบริการต่างๆ ดังนี้
– ถ่ายเอกสาร แผ่นละ 2 บาท
– สแกนแต่ไม่พิมพ์ 10 บาท
– สแกนและพิมพ์ขาวดำ 15 บาท
– สแกนและพิมพ์สี 20 บาท
– พิมพ์งานจากไฟล์อินเทอร์เน็ต 5 บาท

ภายในห้องสมุดบรรยากาศดีมากๆ มีที่นั่งแบบสบายๆ ให้เลือกหลายสไตล์
เช่น แบบเบาะนุ่มๆ นั่งอ่านชิวๆ หรือแบบนั่งกับไม่กระดาน แบบเท่ห์ๆ หรือแบบโต๊ะกลุ่ม แบบคนทำงาน ฯลฯ

นอกจากเรื่องที่นั่งแล้ว ชั้นหนังสือก็สวยงามมากมายครับ ดีไซน์ได้ดูดีมากๆ

หนังสือในห้องสมุดอาจจะดูน้อยไปสักนิดแต่ผมเชื่อว่าเป็นหนังสือที่เลือกแล้วว่าดีจริงๆ
หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์หลายเล่มหาอ่านได้ยากที่นี่ก็มีบริการ แบบว่าทึ้งจริงๆ

สมาชิกของห้องสมุดก็ปีละ 100 บาทเท่านั้น (สำหรับประชาชนทั่วไป) ส่วนเด็กๆ ก็นำบัตรนักเรียนมาเข้าฟรีนะ
หรือถ้าใครมาชมนิทรรศการแล้วมีบัตรเข้าชมนิทรรศการก็สามารถเข้าห้องสมุดฟรีครับ
ถ้าใครแค่อยากแวะเข้ามาชมห้องสมุดอย่างเดียวก็เสียค่าเข้าชม 20 บาท (1 day pass) ครับ
แต่ 20 บาทก็ไม่ได้ไปไหนหรอกนะครับ ได้เข้าชมห้องสมุดแถมด้วยชั่วโมงอินเทอร์เน็ตอีก 1 ชั่วโมงครับ

แค่วันนี้ผมแวะมา ผมก็สมัครสมาชิกแล้วครับ 1 ปี สิทธิประโยชน์ก็คือ เข้าห้องสมุดได้ตลอดแล้วก็อินเทอร์เน็ตอีก 1.5 ชั่วโมงครับ
ยิ่งไปกว่านั้น บัตรใบนี้เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ครับ คือแตะที่ประตูเข้าห้องสมุดแล้วประตูก็เปิดออกเองอัตโนมัติด้วยครับ
แบบว่ามันไฮเทคมากๆ เลยครับ ผมชอบมากๆ เลย

ที่นี่มีบริการให้เช่าห้องประชุมด้วยนะครับ ซึ่งห้องประชุมก็เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากมาย
แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่ามีค่าใช้บริการ (จะบอกว่าแอบแพงนิดนึง แต่ผมว่าถ้าจัดกิจกรรมก็คงคุ้มอ่ะ)
ค่าบริการของห้องประชุมไม่เกิน 4 ชั่วโมง คิด 2000 บาท ถ้า 4-8 ชั่วโมง คิด 4000 บาท
และถ้าเกินกว่า 8 ชั่วโมงคิดอัตราชั่วโมงละ 500 บาท
(จริงๆ ค่าใช้งานห้องประชุมเฉลี่ยชั่วโมงบละ 500 บาทอยู่แล้ว)

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอแนะนำห้องสมุดแห่งนี้แบบคร่าวๆ ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
อยากให้เพื่อนๆ ลองมาใช้บริการกันดู แล้ววันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังใหม่หลังจากไปที่นี่บ่อยๆ แล้ว
ห้องสมุดดีๆ แบบนี้ ผมก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆ มากันมากๆ เลยครับ นายห้องสมุดคอนเฟิมว่าดีจริงๆ


เว็บไซต์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ : http://www.nitasrattanakosin.com/index.php

แอบโฆษณากิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุดแห่งนี้นิดนึงนะครับ ห้องสมุดจะมีกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์? (ทุกวันศุกร์ 16.00-18.00)
วันที่ 5 และ 12 พ.ย. –> พวงกุญแจ “ดนตรีเริงรมย์”
วันที่ 19 พ.ย. –> กระทงแก้วเก้า
วันที่ 26 พ.ย. –> ที่คั่นหนังสือ “ดนตรีในดวงใจ”

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่าง หรืออยู่ใกล้ๆ แล้วอยากร่วมก็ขอเชิญนะครับ

ปล. ห้องสมุดแห่งนี้ภายในไม่อนุญาติให้ถ่ายภาพนะครับ ผมเลยเก็บรูปมาได้ไม่มาก เอาไว้จะแอบถ่ายมาเรื่อยๆ แล้วกัน 555

จะเกิดอะไรขึ้น…สงครามห้องสมุด (Library War)

“สงครามห้องสมุด” ชื่อเรื่องอาจจะดูรุนแรงเกินไปหน่อยนะ แต่ไม่ใช่สงครามจริงๆ หรอกครับ
มันเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ที่มีชื่อเรื่องว่า Toshokan sensou หรือที่แปลว่า “สงครามห้องสมุด” นั่นเอง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : สงครามห้องสมุด
ชื่อเรื่องภาษาญี่ปุ่น : Toshoukan Sensou
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Library war
ชื่อผู้แต่ง : Hiro Arikawa (คนคิดเรื่อง)
ชื่อคนวาดการ์ตูน : Sukumo Adabana, Kiiro Yumi, Yayoi Furudori
ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ : การ์ตูน, นิตยสาร LaLa, นิตยสาร Dengeki Daioh
การ์ตูนแนว : Action, Comedy, Social sci-fi

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านในเว็บที่ผมทำ link ไว้ด้านล่างดูนะครับ
เพราะว่าจะได้ข้อมูลและรายละเอียดแบบครบสมบูรณ์เลย

อ่านเรื่องราวของสงครามห้องสมุดในวิกีพีเดีย(อย่างละเอียด)
ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Toshokan_Sens%C5%8D

เว็บไซต์ทางการของการ์ตูนเรื่องนี้ http://www.toshokan-sensou.com
ดูตัวอย่างการ์ตูนที่ http://www.toshokan-sensou.com/gallery_pv1.html

บทความรีวิวการ์ตูนเรื่องนี้ http://bekung.exteen.com/20080605/toshokan-sensou

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เห็นหรือยังครับอย่างน้อย
มุมมองของห้องสมุดในรูปแบบบันเทิงก็มี (การ์ตูนที่เกี่ยวกับห้องสมุด)
แม้ว่าจะดูดุเดือดไปหน่อยแต่ก็มองในรูปแบบบันเทิงก็ดีครับ

มาตรฐานห้องสมุดสามดี (How to 3Dee Library)

วันนี้ในระหว่างที่ค้นหาข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตก็บังเอิญไปเจอหนังสือคู่มือเล่มนึงน่าสนใจมาก
เป็นคู่มือ “กรอบแนวทางการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี” จึงขอเอามาแชร์ให้เพื่อนได้อ่านกัน

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : กรอบแนวทางการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี
จัดทำโดย : สำนักงาน กศน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ISBN : 9789742323502

หนังสือเล่มนี้แจกฟรีนะครับ ไม่มีขายตามท้องตลาดหรอกครับ
ถ้าใครอยากได้ให้ไปดาวน์โหลดได้ที่ http://dnfe5.nfe.go.th/download/3Dbook.pdf

เนื้อหาในคู่มือเล่มนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน เช่น
– ความสำคัญและความเป็นมา
– เป้าประสงค์ตามนโยบาย “ห้องสมุด 3 ดี”
– วิสัยทัศน์
– พันธกิจ
– แนวทางการดำเนินงาน
– มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
– การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

เอาเป็นว่าผมขอยกมาสักส่วนนึงให้อ่านนะครับ
เรื่องที่ผมจะยกมานี้ คือ มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
ซึ่งมีเพื่อนๆ หลายคนถามผมมาบ่อยมากๆ จึงขอเอาเรื่องนี้มาเล่านะครับ

ห้องสมุด 3 ดี มีอะไรบ้าง (หนังสือดี บรรยากาศดี บรรณารักษ์ดี)
แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีคำจำกัดความว่าอย่างไรกันบ้าง อะไรคือมาตรฐาน ???

หนังสือดี —> หนังสือ หรือ สื่อการเรียนรู้ที่งในรูปของสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อมัลติมีเดีย หรือสื่ออื่นๆ ต้องมีเนื้อหาที่ดี มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคม

บรรยากาศดี —> บรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านหนังสือ บริการในห้องสมุดอย่างเป็นกันเอง สะดวก สบาย ที่สำคัญต้องประหยัดพลังงาน และสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน

บรรณารักษ์ดี —> บรรณารักษ์มีความรู้ และมีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน

มาตรฐานของห้องสมุด 3 ดี
1. หนังสือดี มาตรฐานอยู่ที่

1.1 หนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– เนื้อหามีสาระ ส่งเสริมจินตนาการ คุณธรรม จริยธรรม
– ความถูกต้องของข้อมูล เชื่อถือได้ มีการอ้างอิงถูกต้อง
– มีภาพและลายเส้นประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหา
– ใช้คำที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย
– มีรายการบรรณานุกรมที่หอสมุดแห่งชาติออกให้ (CIP)

1.2 การจัดหาหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีนโยบายการจัดหา
– มีคณะกรรมการคัดเลือก
– มีคณะกรรมการจัดซื้อ
– มีการจัดทำประกาศรายชื่อหนังสือที่จะซื้อ
– มีมุมแนะนำหนังสือดี
– มีการหมุนเวียนหนังสือเรื่อยๆ
– มีการจัดทำฐานข้อมูลหนังสือ
– มีการสนับสนุนสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2. บรรยากาศดี มาตรฐานอยู่ที่

2.1 บรรยากาศภายในห้องสมุดดี ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– บรรยากาศทั่วไปดี เช่น สะอาด โล่ง โปร่ง สบาย แสงสว่างเพียงพอ ต้นไม้ร่มรื่น
– การจัดพื้นที่ทำให้น่าสนใจ เช่น มีมุมหนังสือที่หลากหลาย ไม่มีมุมอับ เฟอร์นิเจอร์สบาย ป้ายบอกทางชัดเจน
– การจัดส่วนส่วนการวางหนังสือ เช่น จัดวางหนังสืออย่างเหมาะสม เข้าถึงง่าย ใช้สะดวก

2.2 บรรยากาศภายนอกห้องสมุดดี ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– สถานที่เป็นเอกเทศ
– ชุมชนเข้าถึงสะดวก
– มีสิ่งอำนวยความสะดวก
– อาคารน่าสนใจดึงดูดผู้ใช้บริการ เช่น ใช้สี
– พื้นที่ไม่คับแคบ จัดสัดส่วนให้เหมาะต่อการใช้บริการ
– ไม่มี dead zone พื้นที่ปรับได้ตามการใช้งาน

3. บรรณารักษ์ดี มาตรฐานอยู่ที่

3.1 บรรณารักษ์มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการห้องสมุด
– มีทักษะในการปฏิบัติงานในห้องสมุดดี เช่น ด้านไอที ด้านการบริการ ด้านการจัดกิจกรรม

3.2 บรรณารักษ์มีความเป็นมืออาชีพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานในห้องสมุด
– เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง
– บริหารจัดการความรู้ในรูปแบบใหม่
– เป็นนักคิด นักพัฒนา และนักวางแผนในการใช้ไอทีเพื่อการปฏิบัติงาน
– เป็นผู้ประสานเครือข่าย
– เป็นผู้นำด้านบริการใหม่ๆ
– มีความภูมิใจในอาชีพ

3.3 บรรณารักษ์มีจิตบริการ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีทัศนคติเชิงบวก
– ติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ตลอด
– มีความคิดสร้างสรรค์
– บุคลิกภาพดี และมีความสุขในการทำงาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ ที่อ่านมาผมรู้สึกว่าประเด็นเรื่อง “บรรณารักษ์ดี” จะมีเนื้อหาเยอะกว่าอย่างอื่น
โดยเฉพาะในเรื่อง มาตรฐานของการเป็น “บรรณารักษ์มืออาชีพ” ยิ่งมีรายละเอียดเยอะ
และข้อที่ถูกใจผมมากๆ คือ “บรรณารักษ์มืออาชีพ” ต้องมีความภูมิใจในอาชีพ

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอฝากแง่คิดไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
สำหรับใครที่อยากอ่านต่อก็ดาวน์โหลดเล่มนี้มาอ่านได้ครับ
http://dnfe5.nfe.go.th/download/3Dbook.pdf

ปล. เนื้อหาที่ผมเขียนด้านบนนี้ผมอ่านแล้วสรุปใจความมานะครับ ไม่ได้ copy มาทั้งดุ้น
ดังนั้นใครก็ตามที่นำบทความนี้ไปอ้างก็กรุณาอ่าน สรุป และแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ

นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง

ไม่ได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดซะนาน วันนี้ผมจึงขอจัดทริปเล็กๆ ในการไปเที่ยวห้องสมุดบ้างแล้วกันนะครับ
ห้องสมุดที่ผมจะพาไปวันนี้คือ ห้องสมุดที่อยู่ในกรุงเทพฯ ครับ นั่นคือ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง


นั่นเองห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิครับ เพื่อนๆ จะมารถเมล์ หรือลงรถไฟฟ้าแล้วเดินมาก็ได้นะครับ
พูดง่ายๆ ว่ามาที่นี่สะดวกมากๆ ครับ

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนาห้องสมุดของกรุงเทพฯ อีกแห่งหนึ่งนะครับ
โครงสร้างอาคารแบ่งออกเป็นสองอาคารใหญ่ๆ แต่เชื่อมถึงกันนะครับ

ภายในอาคารแต่ละหลังมีบริการดังนี้
อาคาร 1 ชั้น 1? – เคาน์เตอร์บริการยืมคืน ฝากของ หนังสือพิมพ์ วารสาร มุมสืบค้น
อาคาร 1 ชั้น 2? – บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือวิชาการ
อาคาร 1 ชั้น 3 – บริการที่นั่งอ่านหนังสือ นวนิยบาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
อาคาร 2 ชั้น 1 – ห้องสมุดสำหรับเด็ก
อาคาร 2 ชั้น 2 – ห้องทำการบ้าน
อาคาร 2 ชั้น 3 – ห้องมินิเธียร์เตอร์ (ดูหนัง)

บริเวณลานกว้างด้านหน้าห้องสมุดมีไว้จัดกิจกรรมต่างๆ ด้วยนะ
เพื่อนๆ คนไหนอยากจัดกิจกรรมกลางแจ้งก็ลองมาขอพื้นที่ดูนะครับ (ทำเรื่องไปที่ กทม เลย)
รับรองว่าที่นี่จัดกิจกรรมได้สะดวกมากๆ แถมอยู่ใจกลางเมืองด้วย


ห้องสมุดแห่งนี้ปิดวันจันทร์วันเดียวนะครับ วันอื่นๆ สามารถมาใช้บริการได้ตามปกติ
ห้องสมุดแห่งนี้ผมก็ใช้บริการบ่อยๆ แหละครับ เพราะว่าห้องสมุดปิดบริการ 2 ทุ่ม
ผมมักจะมายืมหนังสือช่วงทุ่มกว่าๆ ประจำเพราะเป็นทางกลับบ้านผมด้วย

ที่นี่สมัครสมาชิกถูกมากครับ ปีนึง 10 บาท และค่ามัดจำหนังสือ 40 บาทเอง
รวมๆ แล้ว 50 บาทผมว่าคุ้มค่ามากๆ ยืมหนังสือได้ 2 เล่ม 1 สัปดาห์ หากคืนเกินก็เล่มละ 1 บาทครับ

หนังสือที่เพิ่งยืมล่าสุดพฤหัสที่แล้ว

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำให้มาใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้แห่งนี้นะครับ
สำหรับอาทิตย์หน้าผมจะพาไปห้องสมุดของ กทม อีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินีครับ
อย่าลืมติดตามด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ผมคงจบทริปนี้ก่อนนะครับ

ชมภาพบรรยากาศภาพในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนางได้เลยครับ

[nggallery id=30]

Flickr Fight ยกที่หนึ่ง : เมื่อห้องสมุดเจอกับ search engine

เว็บไซต์ Flickr Fight คือ เว็บไซต์ที่ใช้ Flickr Api ร่วมกับการค้นหาของ Google
ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะใช้ในการเปรียบเทียบจำนวนของรูปภาพ ของคำที่เราต้องการสืบค้นจำนวน 2 คำ

หลักการง่ายๆ ครับ นำคำที่เราต้องการเปรียบเทียบทั้งสองคำใส่ลงไปในช่องช่าง
ซึ่งในยกแรกวันนี้ผมขอใช้ 2 คำ คือ Library กับ Search engine ดูซิว่าใครจะชนะ

เอาเป็นว่าไปดูผลกันเลยดีกว่า

วันนี้ก็เป็นวันของชาวห้องสมุดครับ เมื่อ Library ชนะ Search Engine
ผลออกมาน่าพอใจมากครับเมื่อ Library มี result = 2388533 images!
ส่วนผลของ Search engine มี result = 35036 images!

เห็นหรือยังครับ ว่าห้องสมุดต้องยิ่งใหญ่กว่า Search Engine แน่นอนครับ 5555

เพื่อนๆ ลองเอาไปเล่นดูกันนะครับ ที่ http://flickrfight.net

ปล. อย่าสนใจโฆษณาด้านบนของเว็บไซต์นะ มันไม่เหมาะสม อิอิ

โฆษณาอินเทลยังใช้ Lucy Liu กับ ห้องสมุดเลย

วันนี้ผมเจอโฆษณาตัวนึงน่าสนใจดีเลยเอามาฝาก เป็นใบโฆษณาของบริษัท intel
ซึ่งในใบโฆษณานี้ใช้นางแบบชื่อดังและห้องสมุด (เป็นไงครับเกี่ยวกับห้องสมุดแล้ว) อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/megancohen/61472927/

นักแสดงคนนี้ที่ผมชอบมากครับ เธอคือ 1 ในนางฟ้าชาร์ลี ไงครับ เธอคือ? Lucy Liu
วันนี้มาในรูปลักษณ์ของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ต้องการความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ
ฉากในรูปดูคุ้นตา ประกอบกับกลิ่นไอของหนังสือ บ่งบอกสถานที่ชัดเจนว่า ฉากนี้คือ ห้องสมุด

นักแสดงคนนี้ ผมตามดูหนังที่เธอแสดงหลายๆ เรื่อง เช่น Shanghai Noon, Charlie?s Angels, Kill Bill และผลงานอีกหลายๆ เรื่องที่ผมยังไม่ได้ดู

เอาเป็นว่าผมประทับใจกับภาพโฆษณานี้
และ
ถ้าห้องสมุดหลายๆ ที่ดึงดารามาเป็นนางแบบ คงจะดีไม่น้อยเลย เพื่อนๆ คิดอย่างผมหรือปล่าว

สำหรับใครที่อยากรู้ประวัติและผลงานของเธอเพิ่มเติม ดูได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Lucy_Liu

ห้องสมุดควรจัดเก็บสถิติอะไรบ้าง (มาวัดผลห้องสมุดกันเถอะ)

เพื่อนๆ หลายคนส่งเมล์มาถามผมว่า “เปิดห้องสมุดมาได้สักพักแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเก็บข้อมูลห้องสมุดอย่างไร
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขต่าง ๆที่อยู่ในห้องสมุด เพื่อให้เพื่อนๆ ใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล

ตัวเลขต่างๆ ที่จัดเก็บในห้องสมุด หรือข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เก็บในห้องสมุดเป็นตัวเลขที่แสดงให้เราเห็นว่าห้องสมุดมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์ในแง่ของการเขียนรายงานประจำเดือน ประจำปี เพื่อให้เราเป็นความต้องการของผู้ใช้บริการในห้องสมุด รวมถึงนำเสนอผู้บริหารให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ของห้องสมุด

ตัวเลขอะไรบ้างหล่ะที่น่าสนใจต่อการเก็บข้อมูล

– จำนวนสื่อสารสนเทศในห้องสมุด เช่น หนังสือ สื่อมัลติมีเดีย วารสาร ….
– จำนวนผู้เข้าใช้บริการในห้องสมุดในแต่ละวัน (แบบบุคคลและกลุ่มบุคคล)
– จำนวนผู้ที่มาสมัครสมาชิกกับห้องสมุด
– จำนวนการยืมคืนในแต่ละวัน
– จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน
– จำนวนครั้งที่มีการแสดงนิทรรศการ หรือ จัดบอร์ด
– จำนวนครั้งในการให้บริการตอบคำถาม
– จำนวนครั้งในการใช้บริการอุปกรณ์ต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดเตรียม เช่น คอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอน
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่มีการแยกหมวดหมู่
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่สูญหาย
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่ได้รับการอภินันทนาการ
– จำนวนวารสารเย็บเล่ม
– จำนวนอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานห้องสมุด
– จำนวนในการสร้างความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานภายนอก
– ปริมาณค่าใช้จ่ายและรายรับต่างๆ ของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็คือตัวอย่างการจัดเก็บจำนวนตัวเลขต่างๆ แบบคร่าวๆ นะครับ
และตัวเลขเหล่านี้ผมว่าไม่ยากเกินไปถ้าเพื่อนๆ จะนำไปจัดเก็บบ้าง
จริงๆ แล้วขอเสนอว่าถ้ามีแบบฟอร์มในการบันทึกรายการต่างๆ ก็จะดีมากด้วยครับ

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการจัดเก็บข้อมูลสถิติ
– เข้าใจและรู้จักความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น หนังสือหมวดไหนที่คนชอบอ่าน
– จัดสรรงบประมาณเพื่อเสริมความต้องการให้ผู้ใช้บริการ
– ขอเสนองบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด

ซึ่งเอาเป็นว่าเมื่อเข้าใจถึงตัวเลขต่างๆ เหล่านี้แล้ว ผมก็อยากให้ทุกคนทำความรู้จักและรู้จักการนำตัวเลขเหล่านี้มาใช้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ว่าเอาตัวเลขมาดูเพียงเพราะว่ามันเป็นแค่ตัวเลขเท่านั้นนะครับ

ปล. เดี๋ยววันละหลังจะมาเขียนเรื่องการประยุกต์ในการเก็บสถิติเพื่อสร้างความน่าสนใจในห้องสมุดนะครับ

เทศบาลเมืองลำพูนรับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์

วันนี้มีงานบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วครับ งานนี้สำหรับคนที่อยากทำงานต่างจังหวัดนะครับ
ซึ่งงานในวันนี้เป็นงาน “ผู้ช่วยบรรณารักษ์” ที่ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์
ลักษณะงาน : สัญญาจ้าง 1 ปี
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7940 บาท
สถานที่ : ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

อย่างที่บอกอ่ะครับว่าสำหรับคนที่อยากทำงานที่จังหวัดลำพูนนะครับ และที่สำคัญคือไม่ใช่งานประจำนะครับ เป็นแค่สัญญาจ้าง 1 ปี ดังนั้นคิดให้ดีๆ ก้อนการสมัครนะครับ เอาเป็นว่าใครสนใจก็อ่านต่อได้เลยครับ

หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้
ปฏิบัติงานในหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหา และคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ ทำบรรณานุกรม ทำดรรชนี ทำสารสังเขป จัดทำคู่มือการศึกษาค้นคว้าหนังสือในห้องสมุด ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าการจัดระบบงานที่เหมาะสมของห้องสมุด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการสมัคร ขอแค่จบปริญญาตรีเอกบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องก็พอ อายุไม่เกิน 60 ก็พอแล้วครับ

เกณฑ์ในการรับ ไม่มีการสอบข้อเขียน แต่กรรมการจะพิจารณาจากประวัติของผู้สมัครและการสัมภาษณ์เป็นหลักครับ

ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 3 – 19 พฤศจิกายน 2553 และสมัครได้ที่
งานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัด เทศบาลเมืองลำพูน เบอร์โทรติดต่อ 0-5356-1524

เอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/Attachments/348/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีนะครับ

อ่านรายละเอียดของงานได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/DispForm.aspx?ID=348&Source=http%3A%2F%2Fwww.nmt.or.th%2Flamphun%2Fmueanglamphun%2FLists%2FList2%2Fview1.aspx%3FSortField%3DModified%26SortDir%3DDesc%26View%3D%257b621EDFA8%252d7D84%252d4295%252d87BF%252d8FA28C14D278%257d

ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยรับบรรณารักษ์ (รับไปแล้วนะ)

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วนะครับ ในวันนี้ผมมีงานบรรณารักษ์มานำเสนอ
งานบรรณารักษ์ในวันนี้มาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แนวนอนครับ “บรรณารักษ์โรงเรียน”

รายละเอียดทั่วไปของตำแหน่งงาน
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ห้องสมุด : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

หน้าที่โดยทั่วไปของตำแหน่งนี้ คือ การปฏิบัติงานในห้องสมุด ให้บริการยืมคืน catalog และช่วยสอนนักเรียนในเรื่องของการสืบค้นและการเข้าใช้ห้องสมุด เอาเป็นว่างานผมว่าก็ไม่ได้ยากเกินไปหรอกนะครับ บรรณารักษ์ทุกคนต้องทำได้อยู่แล้ว

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัคร
1.? ชาย / หญิง? อายุไม่เกิน 40 ปี
2. วุฒิ ป.ตรี / โท? สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีใจรักการบริการ ซื่อสัตย์ ขยัน
4. มีประสบการณ์และใบประกอบวิชาชีพครูจะพิจารณาเป็นพิเศษ

ปล. รับไปแล้วนะครับ

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010

วารสาร IFLA Journal ประจำเดือนตุลาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

โดยปกติ วารสาร IFLA Journal จะออกทุกๆ 3 เดือนนะครับ
ซึ่งจะออกมาในรูปแบบ pdf ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและสั่งพิมพ์ออกมาอ่านได้ครับ

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ
– Bringing the benefits of information technology to underserved populations: An introduction to ICTD for the library community
– Symbiotic partnerships: The global library community and the ICTD stakeholders
– Main factors affecting the preservation of Chinese paper documents: A review and recommendations
– Arab online book clubs: A survey
– System migration from Horizon to Symphony at King Fahd University of Petroleum and Minerals

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
งั้นไปดาวน์โหลดกันเลยครับที่ “IFLA Journal Volume 36 Number 3 October 2010

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ