วันนี้ไปเจอแผนภาพที่เกี่ยวกับห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ของคนทั่วโลกมา ข้อมูลในแผนภาพได้บอกถึงจำนวนการมีห้องสมุดประชาชนในแต่ละประเทศว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ดูๆ ไปก็แอบอึ้งเล็กๆ เพราะคนที่รวบรวมต้องใช้เวลานานพอสมควรเลยกว่าจะได้ข้อมูลที่ละเอียดหยิบขนาดนี้
ห้องสมุด
[Infographic] 100 อันดับ ห้องสมุดขนาดใหญ่ในอเมริกา
มีการจัดอันดับห้องสมุดสุดใหญ่โตและอลังการในประเทศสหรัฐอเมริกา เกณฑ์ในการตัดสินครั้งนี้ คือ วัดจากจำนวนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ใครมีมากกว่าก็จะแปลว่าใหญ่กว่า “ตรงไปตรงมากครับ เพราะถ้ามีพื้นที่ในการเก็บเยอะนั้นก็หมายความว่าต้องมีพื้นที่และขนาดที่เยอะไปด้วย”
สถิติจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ได้มาจากการสำรวจของ สมาคมห้องสมุดสหรัฐอเมริกา (ALA)
ตัวเลขผมเองก็ไม่ค่อยแปลกใจสักเท่าไหร่หรอกครับ
แต่ที่ผมสนใจ คือ การนำข้อมูลนี้มาจัดทำเป็นภาพ infographic ต่างหาก
ไปชมกันได้เลยครับ
Pinterest กับการหาไอเดียตกแต่งห้องสมุดในเทศกาลคริสต์มาส
เดือนสุดท้ายของปี หากผมไม่เขียนเรื่องนี้ก็คงแปลกๆ นะครับ
วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการหาไอเดียเพื่อการตกแต่งห้องสมุดในบรรยากาศเทศกาลคริสต์มาส
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีมุมมองใหม่ๆ และได้ไอเดียเก๋ๆ ไว้สร้างบรรยากาศในห้องสมุด
นายห้องสมุดพาชมงานนิทรรศการ OKMD Knowledge Festival 2013
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน OKMD Knowledge Festival 2013 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ส่วนบล็อกที่ผมจะเขียนถึงในวันนี้จะเป็นส่วนของนิทรรศการที่จัดนะครับ (นิทรรศการนี้จะจัดถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นะครับ)
ภายในนิทรรศการนี้มีอะไรที่น่าสนใจมากมายเลยครับ (อยากให้เพื่อนๆ ที่มีเวลามาชมกัน ส่วนใครไม่มีเวลาก็อ่านบล็อกนี้นะครับ)
ตาข่ายแห่งการเรียนรู้ : พื้นที่อ่านแนวใหม่สำหรับห้องสมุด
บริษัท PlayOffice (ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อการเรียนรู้) จากประเทศสเปน
ได้ออกแบบแนวคิดในการอ่านแบบไร้ขีดจำกัด ให้กับบรรดาห้องสมุดต่างๆ ในประเทศสเปน
โดยใช้แนวคิด Reading Net หรือ “โครงข่ายแห่งการอ่าน”
Reading Net ความแปลกใหม่บนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่แฝงไปด้วยความสนุก การใช้งานได้จริง เพิ่มพื้นที่ให้กับห้องสมุด
แนวคิดง่ายๆ คือ การนำตาข่ายมาขึงเพื่อให้สามารถนอนอ่าน นั่งอ่าน ….
จริงๆ แล้วตอนแรกผมนึกถึงเปลญวนที่มีไว้นอนเล่น ใต้เงาไม้แบบร่มๆ (นึกแล้วอยากนอนเลย)
ผมเห็นไอเดียนี้แล้วนึกถึงแบบแปลนของห้องสมุดประชาชนต่างๆ ในประเทศขึ้นมาเลย
โดยเฉพาะห้องสมุดที่มี 2 ชั้น แล้วช่วงกลางของอาคารเป็นพื้นที่โล่ง
ถ้ามี Reading net แบบนี้มาขึงคงสร้างบรรยากาศ ความแปลกใหม่ให้มากทีเดียว
แต่เรื่องนี้คงต้องศึกษากันอย่างละเอียดนะครับ
เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องมาเป็นอันดับ 1
เอาเป็นว่าต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกันด้วยแล้วกันครับ
Credit photo : http://www.designboom.com/design/reading-net-turns-libraries-into-hanging-learning-labs-11-13-2013/
สูตรสำเร็จของการพัฒนาห้องสมุด บรรณารักษ์ ในมุมมองนายห้องสมุด
หลังจากที่เปลี่ยนบทบาทจากผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้บริหารน้อยๆ ชีวิตผมก็เริ่มเปลี่ยนไป
เริ่มมีเวลาดูข้อมูล อ่านหนังสือ เยี่ยมชมเว็บไซต์ วันนี้ได้อ่านเจอประโยคนึงแล้วรู้สึกว่ามันโดนใจ
วันนี้จึงขอนำประโยคนี้มาวิเคระห์และเชื่อมโยงกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ดู
ประโยคที่ว่านี้คือ Knowledge + Connection = Success
การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ นอกจากมีความรู้แล้วยังต้อง “รู้จักคน” ด้วย
เริ่มจากการวิเคราะห์ว่า “ความสำเร็จในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์” คืออะไร
ห้องสมุดควรเป็นเช่นนี้
– สถานที่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
– สถานที่ที่คนนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เวลาต้องการความรู้หรือต้องการคำตอบ
– สถานที่ที่คนเข้ามาใช้แล้วไม่มีคำว่า “น่าเบื่อ” “ไม่น่าใช้”
– สถานที่ที่เข้ามาแล้วทุกคนจะต้องพูดว่า “ขอบคุณนะที่มีสถานที่แบบนี้”
ฯลฯ
บรรณารักษ์ควรเป็นคนแบบนี้
– ผู้ที่ผู้ใช้เข้ามาทักทาย พูดคุย และถามในสิ่งที่ตนเองต้องการจากห้องสมุด
– ผู้ที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาความรู้ หรือ ค้นหาคำตอบ
– ผู้ที่ทุกคนไม่นำไปพูดถึงในทางที่แย่ๆ
– ผู้ที่ไม่ได้เป็นเพียงคนนั่งเฝ้าในสายตาของผู้ใช้บริการ
ฯลฯ
ความสำเร็จที่ว่ามีความหมายมากมาย เอาเป็นว่าโดยรวมคือสิ่งที่ดี
และเพื่อนๆ เองก็พยายามจะทำให้มันเกิดขึ้นให้ได้
เอาหล่ะเมื่อสูตรความสำเร็จมาจาก “ความรู้” และ “การเชื่อมโยง”
Success = Knowledge + Connection
Knowledge ผมคงไม่เจาะจงหรอกนะครับว่าต้องมีความรู้อะไร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ “ฉลาดที่จะเรียนรู้” “รักในการเรียนรู้” “ประยุกต์ใช้ความรู้ที่มี”
เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็จะมีความรู้ในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เอง
Connection ผมคงไม่เจาะจงอีกว่าจะต้องติดต่อกับใคร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ รู้ว่า “ใครที่จะต้องติดต่อ” “หน่วยงานไหนมีอะไรดี”
โลกนี้คนเก่งทำงานคนเดียวก็สู้คนที่ทำงานเป็นทีม หรือ ทำงานแบบเครือข่ายไม่ได้
นอกจากเรื่องติดต่อแล้ว ผมขอย้ำคำเดิมว่า “Sharing Knowledge is power“
คนที่ชอบแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นคนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น
ดังนั้นจงเก่งที่จะเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับเรื่องที่ทำ
จะทำให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยพัฒนาไปได้อีกไกล
อยากนอนในห้องสมุดนักใช่มั้ย ไปนอนในโรงแรมห้องสมุดกันเถอะ
หลายๆ ครั้งที่ผมพูดเรื่องห้องสมุดกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ หลายคนก็มักจะบอกว่า “เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาโดยทันที”
วันนี้ผมจึงขอแนะนำสถานที่ที่มีไว้สำหรับนอนและพักผ่อน นั่นก็คือ “โรงแรม” นั่นเอง
แต่ “โรงแรม” ที่ผมจะนำมาโพสให้เพื่อนๆ ชมในวันนี้
เป็น “โรงแรม” + “ห้องสมุด” หรือ นำกลิ่นไอความเป็นห้องสมุดมาใส่ในโรงแรม นั่นแหละ
ข้อมูลนี้ผมอ่านมาจากบล็อก http://www.huffingtonpost.com/
ซึ่งเขียนเรื่อง “9 Hotel Libraries (And Library Hotels) That Bring Books To Life”
ความน่าสนใจของโรงแรมที่นำความเป็นห้องสมุดมาใส่แบบนี้
ผมว่ามันได้บรรยากาศที่เหมือนเรามีห้องหนังสือ หรือ ห้องสมุดส่วนตัวในบ้านได้เลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในโรงแรม 9 แห่งนี้มี The Library ของประเทศไทยติดอยู่ในนั้นด้วย
เราไปชมกันเลยดีกว่าว่า “โรงแรมห้องสมุด” ทั้ง 9 แห่ง มีดังนี้
1.Casa Palopo, ประเทศกัวเตมาลา – http://www.casapalopo.com/
2.The Library, เกาะสมุย ประเทศไทย – http://www.thelibrary.co.th
3.Gladstone’s Library, ประเทศอังกฤษ – http://www.gladstoneslibrary.org/
4.Sandton Kura Hulanda Lodge & Beach Club, คูราเซา – http://www.kurahulanda.com/index.php
5.The Royal Livingstone Hotel, ประเทศแซมเบีย – http://www.suninternational.com/fallsresort/royal-livingstone/Pages/default.aspx
6.The Resort at Longboat Key Club, รัฐฟลอริดา – http://www.longboatkeyclub.com/
7.Taj Falaknuma Palace, ประเทศอินเดีย – http://www.tajhotels.com/Luxury/Grand-Palaces-And-Iconic-Hotels/Taj-Falaknuma-Palace-Hyderabad/Overview.html
8.JW Marriott Cusco, ประเทศเปรู – http://www.marriott.com/hotels/travel/cuzmc-jw-marriott-hotel-cusco/
9.The Library Hotel, รัฐนิวยอร์ก – http://www.libraryhotel.com/
เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่วงการธุรกิจสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับห้องสมุด
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง [ส่วนตัวผมเองพออ่านจบแล้วทำให้อยากไปลองพักสักที่เลย]
ที่มาของเรื่องนี้จาก http://www.huffingtonpost.com/2013/10/18/hotel-libraries_n_3953755.html
QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่
1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ
ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet
ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
– ตัวอักษร
– ตัวเลข
QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น
“1234567890123456789012345678901234567890”
Barcode
QR code
เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า
เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร
– ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
– จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
– แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
– login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
– ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
– Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ
ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes
ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
– โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia
ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว
จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ
เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่ http://www.barcode-generator.org/
ลองเข้าไปทำดูนะครับ มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยแหละ
ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology
หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร
วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม
ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ
ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย
เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012
– มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14%
– ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12%
– ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7%
นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ
– ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog)
– ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application
– จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์
– ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์
– ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด
– อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด
– ดูประวัติการยืมคืน หรือ การอ่านหนังสือย้อนหลังได้
– ยืมหนังสือเพียงแค่สแกนบาร์โค้ตลงใน application
– เข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุด
– ดาวน์โหลด Ebook ไปอ่าน
เห็นมั้ยครับว่ามีประโยชน์มากมาย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงประโยชน์ของผู้ใช้บริการนะครับ
ประโยชน์ในมุมมองของบรรณารักษ์และผู้ให้บริการก็ยังมีอีกเพียบเลยเช่นกัน
ไว้ผมจะกล่าวในครั้งหน้านะครับ
เอาเป็นว่ายังไๆ ผมว่า Mobile Technology เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆ รู้ก่อน และปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็ว ห้องสมุดของเพื่อนๆ ก็ได้เปรียบครับ….
งานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology
ต้องยอมรับจริงๆ ครับ ว่ากระแสทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แบบพกพา (Mobile Device) ไม่ว่าจะเป็น Tablet หรือ Smartphone กำลังมาแรงจริงๆ เกือบทุกวงการก็พยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกยุคสื่อสารไร้พรมแดน รวมไปถึงวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของเราด้วย
ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานประชุมสามัญและประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 เรื่อง Library and Mobile Technology
ลองอ่านรายละเอียดกันต่อได้เลยครับ
รายละเอียดการประชุมวิชาการนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : Library and Mobile Technology
วันที่จัดงาน : 8 พฤศจิกายน 2556
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัดงาน : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า อัตราการเติบโตของอุปกรณ์แบบพกพาในประเทศไทยและทั่วโลกสูงขึ้นมาก ผู้ใช้บริการของเราสามารถเข้าถึงบริการห้องสมุดหรืออ่านหนังสือได้จากอุปกรณ์ดังกล่าว Mobile Technology มีประโยชน์ต่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย
หัวข้อที่เพื่อนๆ จะได้ฟังมีดังนี้
– Happy Library & Happy Mobile
– The 21 Century Library Website
– Library and Mobile Technology : Step by step
– Smart Phone Smart Library
แค่เห็นหัวข้อก็รู้สึกได้ว่า น่าสนุกจริงๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้น่าสนใจมากๆ
สำหรับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
สมาชิกสมาคมห้องสมุด 600 บาท และบุคคลทั่วไป 800 บาท
รายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/downloader2/c81787f3c490e1cb86029fd87e0c4d36/