พฤติกรรม “ตัวแสบ” ร้อยประเภทในองค์การ

วันนี้ในขณะที่ผมกำลังวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดวัดไชยมงคล (ห้องสมุดที่ผมมาช่วยดูแลอีกแห่ง) ผมก็ได้เจอหนังสือเล่มนึง ที่พอผมอ่านชื่อเรื่องแล้วรู้สึกชวนให้หยิบมากๆ นั่นคือ หนังสือ “พฤติกรรม “ตัวแสบ” ร้อยประเภทในองค์การ” ซึ่งเป็นหนังสือในโครงการเอกสารและตำราของ Nida ผมเลยขอนำเนื้อหาบางส่วนมาโพสให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : พฤติกรรม “ตัวแสบ” ร้อยประเภทในองค์การ
ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ รักธรรม และ อริชัย รักธรรม
จัดพิมพ์โดย : โครงการเอกสารและตำราคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปีพิมพ์ : 2539
ISBN : 9748164527

ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับตัวแสบขององค์กรกันหน่อยดีกว่านะ หนังสือเล่มนี้แบ่งตัวแสบขององค์กรเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
1. เจ้านายตัวแสบ
2. เพื่อนร่วมงานตัวแสบ
3. ลูกน้องตัวแสบ

เรามาลองดูกันดีกว่าว่าตัวแสบของแต่ละประเภทมีอะไรกันบ้าง

1. เจ้านายตัวแสบ แบ่งกลุ่มพฤติกรรมได้ดังนี้

1.1 พฤติกรรมของนายปรปักษ์
1.2 พฤติกรรมของนายประเภทเย่อหยิ่ง
1.3 พฤติกรรมของนายหลอกลวง
1.4 พฤติกรรมของนายหาประโยชน์ส่วนตัว
1.5 พฤติกรรมของนายไม่ให้เกียรติลูกน้อง
1.6 พฤติกรรมของนายคิดถึงแต่ตัวเอง
1.7 พฤติกรรมของนายแบบเรือเกลือ
1.8 พฤติกรรมของนายดื้อรั้น
1.9 พฤติกรรมของนายประเภทเงียบ
1.10 พฤติกรรมของนายชอบจับผิด

2. เพื่อนร่วมงานตัวแสบ แบ่งกลุ่มพฤติกรรมได้ดังนี้

2.1 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานเป็นปรปักษ์
2.2 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานยโสโอหัง
2.3 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานหลอกลวง
2.4 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานเห็นแก่ตัว
2.5 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานไร้มารยาท
2.6 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานเห็นตนเองเป็นเลิศ
2.7 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานเรือเกลือ
2.8 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานดื้อรั้น
2.9 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานไม่ชอบพูด
2.10 พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานคอยจับผิด

3. ลูกน้องตัวแสบ แบ่งกลุ่มพฤติกรรมได้ดังนี้

3.1 พฤติกรรมของลูกน้องปรปักษ์
3.2 พฤติกรรมของลูกน้องยโสโอหัง
3.3 พฤติกรรมของลูกน้องหลอกลวง
3.4 พฤติกรรมของลูกน้องชอบเอาเปรียบ
3.5 พฤติกรรมของลูกน้องมีปัญหา
3.6 พฤติกรรมของลูกน้องเห็นแก่ตัว
3.7 พฤติกรรมของลูกน้องเรือเกลือ
3.8 พฤติกรรมของลูกน้องดื้อรั้น
3.9 พฤติกรรมของลูกน้องประเภทเก็บความรู้สึก
3.10 พฤติกรรมของลูกน้องคอยจับผิด

เป็นไงบ้างครับแต่ละกลุ่ม แค่ชื่อก็รู้สึกว่าเป็นตัวแสบในองค์การได้แล้วใช้มั้ยครับ

ในหนังสือเล่มนี้จะบอกลักษณะย่อยๆ ของแต่ละกลุ่มลงไปอีกนะครับ แบบว่าละเอียดมากๆ
เช่น พฤติกรรมของนายปรปักษ์ จะแบ่งออกเป็นอีก 4 กลุ่ม เช่น คนเผด็จการ คนดื้อรั้น คนทารุณผู้อื่น คนระเบิดเวลา …

หนังสือจะบรรยายลักษณะของคนในแต่ละกลุ่ม วิธีรับมือกับคนในแต่ละกลุ่ม
รวมถึงตัวอย่างบทสนทนาของเจ้าตัวแสบที่ชอบพูดกับเราพร้อมแนวทางในการโต้ตอบกลับ
เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจก็ไปอ่านเพิ่มเติมในหนังสือดูแล้วกันนะครับ

เพื่อนๆ เคยเจอเจ้าตัวแสบประเภทอื่นๆ อีกมั้ยครับ ยังไงก็เล่าสู่กันฟังได้นะครับ

ความสัมพันธ์ระหว่างงานห้องสมุดกับงานฝ่ายบุคคล

เรื่องราวที่ผมกำลังจะเขียนต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอดีตที่ผมทำงานเป็นบรรณารักษ์ให้องค์กรแห่งหนึ่งอยู่
และผมเชื่อว่าห้องสมุดภายในองค์กรหลายๆ แห่งมักประสบปัญหานี้เช่นกัน (องค์กรที่มีห้องสมุดให้บริการคนภายใน)

hr-library

เมื่อบุคลากรคนหนึ่งลาออกไปแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลไม่แจ้งให้ห้องสมุดทราบ
วันดีคืนดีห้องสมุดมาตรวจสอบข้อมูลอีกที ก็พบว่าบุคลากรที่ลาออกคนนั้นมีหนังสือค้างส่ง
ซึ่งถ้าเป็นหนังสือทั่วไปค้างส่งคงไม่เท่าไหร่ แต่นี่เป็นหนังสือที่ค้างส่งที่เป็น text book ราคาแพงและหลายเล่มด้วย
และเมื่อขอข้อมูลจากผ่านบุคคลและติดต่อไปยังบุคลากรคนนั้นกลับติดต่อไม่ได้

ห้องสมุดเกิดความเสียหายเนื่องจากบุคลากรลาออกไปหลายคนแล้ว แต่ไม่มีใครคิดจะแก้ปัญหา…

ห้องสมุดพยายามทำเรื่องไปให้ฝ่ายบุคคลหลายรอบแล้ว (เรื่อง ขอตรวจสอบสถานะการยืมของบุคลากรที่มีความประสงค์จะลาออก)
แต่กลับถูกเมินเฉย และต่อว่ากลับมาว่า “เป็นหน้าที่ของห้องสมุดที่ต้องทวงถามการยืมจากบุคลากรเอง
แต่เมื่อชี้แจงว่า “ในเมื่อห้องสมุดมิอาจจะทราบได้ว่าเดือนนี้ใครจะลาออกบ้างแล้วจะให้ห้องสมุดทำอย่างไร
กลับได้รับคำตอบว่า “ห้องสมุดก็ต้องมาตรวจสอบจากฝ่ายบุคคลเอง

สรุปง่ายๆ หน้าที่ของห้องสมุดนอกเหนือจากงานที่ต้องดูแลหนังสือแล้ว
ยังต้องมาดูแลว่าบุคลากรคนไหนจะลาออกเมื่อไหร่และก็ต้องตามเช็คให้อีก
มันถูกต้องหรือไม่ อันนี้ผมคงไม่อยากให้ความเห็น
เพราะว่าผมคิดว่าเพื่อนๆ คงคิดกันได้ว่าใครควรรับผิดชอบงานอะไรกันแน่

เอาเป็นว่าถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาเช่นนี้ ลองอ่านสิ่งที่ผมจะเขียนด้านล่างดูนะครับ

ห้องสมุดควรจะมีการพูดคุยกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของตัวเอง
เช่นฝ่ายการเงิน / ฝ่ายบุคคล เพื่อพูดคุยและตกลงข้อกำหนดต่างๆ ร่วมกัน
มิใช่ผลักภาระและปัญหาให้กันอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้

เมื่อมีบุคลากรมาขอลาออก คนๆ นั้นก็จะยื่นเรื่องขอลาออกที่ฝ่ายบุคคล
ฝ่ายบุคคลก็จะควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของคนๆ นั้นที่มีต่อองค์กร
โดยทั่วไปฝ่ายบุคคลก็จะติดต่อไปยังฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายตรวจสอบวัสดุ ฝ่ายการเงินและควรติดต่อกับห้องสมุดด้วย

ฝ่ายห้องสมุดก็จะได้ตรวจสอบหนังสือค้างส่งและค่าปรับค้างชำระของบุคลากรท่านนั้นด้วย
หากไม่ทำเช่นนี้แล้ว เมื่อบุคลากรท่านนั้นลาออกไปแล้ว ห้องสมุดจะไม่รู้เรื่องเลยและหนังสือที่มีคุณค่าก็จะกลายเป็นหนังสือสูญหาย

เอาเป็นว่าการพูดคุยทำความเข้าใจในหน้าที่ จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้
หากพูดคุยกันแล้วมีเรื่องถกเถียงกันก็ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินเรื่องนี้ก็ได้นะครับ

นี่ก็เป็นเพียงข้อเสนอของผม และเรื่องราวที่อยากเล่าสู่กันฟังก็เท่านั้นเอง

ฝึกงาน 4 : ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิต

วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในอีกรูปแบบหนึ่ง
นั่นคือ การฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานองค์กร

training-library4

จริงๆ แล้วการฝึกงานชนิดนี้ ผมคิดว่าก็สำคัญไม่แพ้การฝึกงานแบบอื่นๆ เลยนะครับ
เนื่องจากเป็นการฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานในองค์กร การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
การฝึกงานในลักษณะนี้ไม่ต้องอาศัยเนื้อหาที่เรียนมากนัก หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ได้ใช้ความรู้ในตำรา

สรุปใจความสำคัญของการฝึกงานในลักษณะนี้คือ “ฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในองค์กร”

พอกล่าวแบบนี้ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วฝึกแบบนี้เราจะได้อะไร

งั้นผมขอยกตัวอย่างสักกรณีให้เพื่อนๆ คิดแล้วกัน (บางคนอาจจะเจอกับตัวก็ได้)

“มีนักศึกษาจบใหม่มา เรียนเก่งมาก ฝึกงานในห้องสมุดก็ทำงานได้ดีมาก
แต่วันที่เขาจบออกมาแล้ว มีบริษัทแห่งหนึ่งรับเด็กคนนี้ไปทำงาน
ปรากฎว่า เด็กคนนี้ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้
เช่น ชอบทำงานคนเดียว ตัดสินใจคนเดียว ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ฯลฯ
ทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความอึดอัด และงานที่ได้รับมอบหมายก็ทำได้ไม่เต็มที่”

เป็นไงบ้างหล่ะครับ พอเห็นภาพ หรือ เคยเจอบ้างมั้ย

ตอนนี้เท่าที่รู้มา หลายมหาวิทยาลัย ก็มีนโยบายให้เด็กไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้งานเหมือนกัน
เป็นการฝึกงานตามความต้องการของนักศึกษา ไม่จำเป็นต้องฝึกในสายที่เรียน
แบบนี้แหละครับที่ผมจะขอแนะนำว่า “ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิตการทำงาน”

การฝึกงานในลักษณะนี้ ปกติเขาฝึกเพื่ออะไร
– กระบวนการในการติดต่อสื่อสาร
– การทำงานร่วมกันเป็นทีม
– การเสนอความคิดเห็น
– การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
– รู้จักการทำงานในองค์กรทั่วไป
– ฝึกระเบียบวินัยในการทำงาน
– การจัดการตารางเวลาของตนเอง

และอื่นๆ แล้วแต่เพื่อนๆ จะคิดได้อีก

โดยสรุปแล้ว การฝึกงานแบบนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องฝึกงานในองค์กรที่เกี่ยวกับวิชาเรียน
เช่น เด็กเอกบรรณารักษ์ไปฝึกงานการโรงแรมก็ได้ หรือ เด็กวิศวะแต่ไปฝึกบริษัทที่เกี่ยวกับสถาปัตย์ ก็ได้
เพราะว่าเราไม่ได้เอาวิชาที่เรียนไปใช้ในการฝึก แต่เราเอาชีวิตไปฝึกเพื่อสร้างประสบการณ์มากกว่า

สถานที่ที่ผมแนะนำ คือ :-
1. บริษัทเอกชนใหญ่ๆ เช่น เครือซีพี, ปูนซีเมนต์ไทย,?
2. บริษัทที่มีผู้บริหารเป็นคนต่างชาติ
3. สำนักงานใหญ่ขององค์กร เช่น ธนาคารกสิกรสาขาใหญ่,?

การฝึกงานในสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ อาจจะไม่ใช่สายงานของเรา
แต่เราก็สามารถเรียนรู้หลักการ และนำสิ่งที่ได้จากการฝึกงานไปประยุกต์ใช้
มีคำกล่าวว่า ?ถ้าเราทำตัวเป็นน้ำ เราก็จะเข้ากับภาชนะได้ทุกรูปแบบ?
หรือ ?จงทำตัวเป็นแก้วน้ำ คอยรองรับน้ำ และอย่าทำให้แก้วของเราเต็ม?
ผมเชื่อว่านอกจากความรู้ในวิชาชีพแล้ว ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตก็เป็นอีกตัวแปรของความสำเร็จ เช่นกัน