หนทางในการแชร์เรื่องหรือไอเดียของคุณ (How to Share Idea)

?ถ้าเราเขียนเรื่องสักเรื่องนึงบนเว็บ แล้วอยากให้คนอื่นเข้ามาอ่าน เราจะทำอย่างไร?
?นักวิชาการเขียนเรื่องๆ นึงดีมาก แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ แล้วงี้คนจะอ่านจากไหน?
?อยากกระจายเรื่องที่เราเขียนให้คนอื่นๆ อ่านทำไงดี?

และอีกหลายๆ คำถามประมาณนี้ วันนี้ผมเลยขอสรุปเป็นประเด็นต่างๆ แล้วกัน
(ผมอาจจะไม่ใช่ผู้ชำนาญนะครับ แต่จะถ่ายทอดตามความคิดให้อ่านแล้วกัน)

ทางเลือกในการแชร์เรื่องที่คุณเขียนไปให้คนอื่นอ่าน มีดังนี้

– Blog / Website


วิธีนี้ คือ เมื่อคุณมีไอเดีย หรือเรื่องที่อยากเขียน คุณก็เขียนลงในบล็อกหรือเว็บไซต์ของคุณก่อน
การสมัครบล็อกเดี๋ยวนี้มีบล็อกฟรีมากมาย ก็เลือกสักบล็อกแล้วกัน

????????????????????????

– E-mail

วิธีนี้ คือ พอเขียนเสร็จก็ส่งเมล์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านก่อน พอเพื่อนๆ อ่านแล้วชอบก็จะเริ่มกระบวนการส่งต่อเอง
อิอิ วิธีนี้ขอบอกก่อนว่าต้องเป็น Content ที่ดีนะครับ ไม่ใช่โฆษณาขายตรง หรือขายประกัน
เพราะไม่งั้นเพื่อนคุณเลิกคบแน่ๆ อิอิ

????????????????????????

– Forum / Comment Blog

วิธีนี้ คือ พอเราไปอ่านเว็บบอร์ด หรือบล็อกที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของเรา
บางครั้งเราก็ฝากเรื่องเพิ่มเติมของเราให้กับ Forum หรือ Comment บล็อกของเขาด้วย
แต่ต้องเกี่ยวจริงๆ นะครับ ไม่งั้นก็คงโดนลบออกไปจาก forum หรือ โดนตั้งเป็น Spam บล็อก

????????????????????????

– IM(Instant Messenger)

วิธีนี้ จะคล้ายๆ กับการส่งเมล์ แต่จะส่งได้ข้อความสั้นๆ หน่อย เพราะอ่านยาวค่อนข้างลำบาก
ดังนั้นอาจจะส่ง link ของบล็อก หรือเว็บที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ของเราได้

????????????????????????

– Twitter

วิธีนี้มักจะใช้ในกลุ่มไอที เพราะว่าคนไอทีเล่นเยอะๆ แนววามคิดก็คล้ายๆ กับ IM
เพียงแต่ การใช้ Twitter ถือเป็นการ broadcast text ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มของเราได้ง่ายกว่า IM
อ๋อ แต่ขอจำกัดของ Twitter คือส่งได้ครั้งละ 140 ตัวอักษร ดังนั้นคงต้องส่งแค่ link เหมือน IM

????????????????????????

– Social Network(hi5, Facebook)

วิธีนี้ ก็ดีเหมือนกันเพราะคนที่เล่นใน Social Network เดียวกันคือ คนที่ชอบในเรื่องๆ เดียวกัน
ดังนั้นเป็นการง่ายที่เราจะแชร์เรื่องที่เราสนใจให้คนที่สนใจเหมือนกันอ่าน
(แต่ในเมืองไทย ผมไม่แน่ใจจุดประสงค์การใช้งาน เพราะส่วนใหญ่เห็นว่าหาคนสวยๆ หล่อๆ กัน)

????????????????????????

– Social News (Social bookmark)

วิธีนี้ คือการส่งเรื่องไปให้เว็บที่รวมข่าวสารต่างๆ โดยวิธีนี้ผมก็ใช้อยู่และถือว่าค่อนข้างเยี่ยม
เพราะว่าเป็นการแชร์เรื่องของเราสู่สาธารณะชน ทำให้คนอื่นๆ ได้รู้จักเว็บหรือบล็อกของเรา
โดยที่เราอาจจะไม่รู้จักเขาเลยก็ได้ เว็บพวกนี้ เช่น Digg, Zickr, Duocore?.

????????????????????????

เป็นไงบ้างครับ การแชร์เรื่องของตัวเองให้คนอื่นได้รู้ มีวิธีมากมายเลย
ยากไปหรือปล่าว เรื่องพวกนี้ไม่ยากเกินไปใช่มั้ยครับ
แต่ที่สำคัญเราต้องเขียนเรื่องหรือ แนะนำเรื่องที่ดีนะครับ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

ขออภัยที่หายไปจากบล็อกห้องสมุดเกือบหนึ่งเดือน…

ไม่ได้เขียนบล็อกมาเกือบหนึ่งเดือนเพื่อนๆ ยังคิดถึงผมกันบ้างหรือปล่าวครับ
วันนี้ผมกลับมาแล้ว และจะมาเล่าให้ฟังว่าหาไปไหนมาบ้าง…

welcomebacklibraryhub

หลายๆ คนที่ติดตามบล็อกผมมานานคงจะรู้ว่า…
ปกติต่อให้มีงานเยอะแค่ไหนผมก็จะเขียนบล็อกอยู่ตลอด
ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ผมเรียนปริญญาโท สอบปริญญาโท
ผมก็ยังคงเขียนบล็อกเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ อ่านอยู่ทุกวัน

เหตุการณ์ที่ทำให้ผมต้องหยุดเขียนบล็อกในช่วงที่ผ่านมา
เช่น
– ไม่สบาย ปวดหัว ซึ่งจะหยุดเขียนประมาณ 1-2 วัน
– การเดินทางไปต่างจังหวัด (ไปแต่ละครั้ง 3-4 วัน) ซึ่งจะหยุดเขียนประมาณ 2-3 วัน
– การปรับปรุงและเปลี่ยนจาก Projectlib มาเป็น Libraryhub หยุดเขียนประมาณ 1 เดือน

หลายๆ ครั้งก่อนที่ผมจะหยุดเขียนบล็อก ผมก็จะแจ้งให้เพื่อนๆ ทราบก่อนทุกครั้ง
แต่ในครั้งนี้ผมหายไปโดยไม่ได้แจ้งใครไว้เลย ทำให้มีเพื่อนๆ ส่งเมล์มาถามข่าวคราวมากมาย

ถ้าเพื่อนๆ สังเกตก็คือ ผมเขียนเรื่องสุดท้ายเมื่อเดือนที่แล้ววันที่ 23 กุมภาพันธ์ แล้วผมก็หายไป
จนวันนี้วันที่ 19 มีนาคม 2553 เท่ากับว่าผมหายไปเกือบ 1 เดือนเลย…

สาเหตุหลักมาจากงานที่ผมได้รับมอบหมายในช่วงนี้ ที่มีเยอะมากและต้องรีบสะสางให้เสร็จ
ผมทำงานอย่างไม่มีวันหยุด 7 วันทำงาน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ที่ต้องอยู่ที่ออฟฟิต
ทำงานเสร็จพอกลับถึงบ้านก็ไม่มีแรงที่จะเขียนบล็อกเหมือนเช่นเคย

ความรู้สึกที่อยากเขียนบล็อกของผมก็ยังคงมีนะครับ แต่กำลังกายก็ไม่เอื้ออำนวย
เวลาผ่านมาเกือบหนึ่งเดือนผมเองก็มีเรื่องให้คิดอะไรมากมายอยากเขียนอยากระบายอะไรมากมาย
แต่ก็ทำได้แค่โทรไปบ่นๆ หรือตอบเมล์เพื่อนๆ หลายๆ คนแล้วบอกว่า “อีกไม่นานผมจะกลับมา”

เมื่อวานนี้ขณะที่ผมนอนป่วยอยู่ที่บ้าน ผมก็เริ่มทบทวนเรื่องราวต่างๆ มากมายว่า
ตกลงผมจะกลับมาเขียนบล็อกได้อีกหรือปล่าว สมองผมเริ่มสั่งการว่า…

ถ้าผมปล่อยให้บล็อกว่างปล่าวไปอีกสักระยะ ผมคงอาจจะไม่มีแรงอยากเขียนบล็อกอีกแล้วก็ได้
ดังนั้นอย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปนานกว่านี้เลย รีบๆ กลับมาเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ อ่านเหมือนเดิมดีกว่า

ว่าแล้วผมก็เริ่มที่จะเขียนบล็อกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อ :-
– เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ว่าผมหายไปไหนมา
– ขอโทษเพื่อนๆ ที่ไม่ได้อัพเดทความเคลื่อนไหวของข่าวคราวในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์
– ประกาศจุดเริ่มต้นของการเขียนบล็อกต่อไป

เอาเป็นว่าอย่างที่เกริ่นไว้ว่า วันนี้จะมาขอโทษเพื่อนๆ ผมก็ต้องขอกล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการว่า
“ขอโทษที่หายหัวไปจากบล็อกทำให้เพื่อนๆ หลายๆ คนเป็นห่วงและไม่ได้อัพเดทเรื่องราวในวงการฯ”

วันนี้ผมจะขอเริ่มต้นใหม่ในการอัพเดทบล็อกให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะกลับมาอ่านและติดตามข่าวสารในวงการบรรณารักษ์เช่นเคย

Welcome Back Libraryhub….

เมื่อผมแอบมาเขียนบล็อกในห้องสมุดแห่งหนึ่ง

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจากการเขียนบล็อกที่บ้านมาเป็นเขียนบล็อกที่ห้องสมุดดีกว่า
ผมจึงได้ตัดสินใจกลับมาเยี่ยมห้องสมุดเก่าที่ผมเคยทำงานมา และกะว่าจะเขียนบล็อกที่นี่

my-library

ผมจึงเริ่มด้วยการเปิด notebook ของผมเพื่อเตรียมที่จะเขียนบล็อกให้ได้สักเรื่องนึง
หลังจากที่เปิด notebook มาเกือบสองชั่วโมง ผมก็ยังหาเรื่องที่จะเขียนบล็อกไม่ได้

ความรู้สึกง่วงของผมก็เกิดขึ้น

จริงสิ สมัยที่ผมทำงานอยู่ที่นี่ ปกติมันไม่ได้เงียบเหมือนกับตอนนี้นี่
เอ๊ะ ทำไม ห้องสมุดนี้เปลี่ยนไปขนาดนั้นเลยเหรอ
จากห้องสมุดที่มีแต่เสียงดัง บัดนี้กลายเป็นห้องสมุดแห่งความเงียบ

บรรยากาศที่ช่างเป็นใจ
– เงียบ
– อากาศเย็น
– กลิ่นไอหนังสือ

ทำให้ผมรู้สึกง่วงนอนได้ขนาดนี้จริงๆ หรือเนี้ย ไม่อยากจะเชื่อ
ผมจำได้ว่าช่วงก่อนหน้านี้ที่ผมเขียนบล็อกเกี่ยวกับอาการง่วงในห้องสมุดของเพื่อนๆ หลายๆ คน
ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยเชื่อมากหรอกครับ แต่พอโดนกับตัวเอง เชื่อเต็มที่เลย

แม้ว่าขณะที่ผมทำงานจะกินกาแฟไปด้วย เปิดคอมพิวเตอร์ไปด้วย
แต่ทำไมกาแฟถึงไม่ช่วยให้ความง่วงหายไปเลย?

แล้วแบบนี้ สิ่งจูงใจที่ทำให้เพื่อนๆ หลายๆ คนที่ไม่หลับในห้องสมุดมันมีอะไรบ้างนะ
– ผู้คนมากมาย (ยิ่งสาวสวยๆ อาจจะทำให้ไม่อยากหลับ)
– เสียงเพลง (แล้วแบบนี้จะมีสมาธิอ่านมั้ย)
– สีสันภายในห้องสมุด (จะทำให้เป็นห้องสมุดลูกกวาดหรือปล่าว)

คิดๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่น่าท้าทายไม่น้อยเลยนะครับ
ถ้าผมอยากจะสร้าง ?ห้องสมุดที่ไม่ทำให้ผู้ใช้ง่วงนอน?

เอาเป็นว่าใครมีไอเดียเจ๋งๆ ก็ช่วยกันเสนอหน่อยนะครับ
เผื่ออนาคตผมอยากเปิดห้องสมุดเอง จะได้นำเอาแนวคิดของเพื่อนๆ ไปใช้กัน

ขอต้อนรับการกลับมาของ Notebook คู่ใจผม

หลังจากที่ต้องปล่อยให้เจ้านอนเฉยๆ มาสองเดือนกว่าๆ เนื่องจากอาการชำรุดอย่างรุนแรง
จนต้องนำเข้าศูนย์ซ่อมซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อ วันนี้ก็เป็นวันที่เจ้าจะกลับมารับใช้ข้าเหมือนเดิม

notebook Read more

1 เดือนกับ 50 เรื่องใน Libraryhub

ผ่านไปหนึ่งเดือนแล้วนะครับสำหรับบล็อกใหม่ของผม Libraryhub
(บล็อกนี้เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2552)

1month

ตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนบล็อกแบบไม่มีวันหยุดอีกแล้วครับท่าน
อุดมการณ์เดิมเริ่มดำเนินการต่อ นั่นคือ My Library in 365 days…

บทสรุปของเดือนที่แล้ว (เดือนพฤษภาคม 2552)
มเขียนบล็อกได้ครบ 31 วัน และจำนวนเรื่องที่เขียน 50 เรื่อง

เรื่องที่นำมาเขียนบางเรื่องเพื่อนๆ อาจจะคุ้นๆ
สาเหตุมาจากผมได้นำเอาเรื่องบางส่วนของ projectlib มา rewrite ใหม่นั่นเอง
เพื่อให้ภาษาน่าอ่านมากขึ้น รวมถึงอัพเดทข้อมูลของเรื่องมากขึ้นด้วย
เอาเป็นว่ารับรองว่าไม่ได้ copy ของเก่ามาแบบเต็มๆ ก็แล้วกัน

การเขียนบล็อกในเดือนที่ผ่านมาทำให้ผมว่าเป้าหมายของการเขียนบล็อกว่า
ถ้า 1 เดือน ผมสามารถเขียนได้ 50 เรื่องแบบนี้
แสดงว่า 1 ปี ผมจะมีเรื่องในบล็อกนี้ 600 เรื่องเลยก็ว่าได้

แค่คิดนี้ก็แบบว่าน่าตื่นเต้นมากๆ ที่จะรอดูในวันครบรอบหนึ่งปีแล้ว
อุดมการณ์นี้จะน่าท้าทายมากๆ เลยเพื่อนๆ ว่ามั้ย???
เอาเป็นว่าทำได้หรือไม่ได้ ก็คงต้องรอดูกันไปนะครับ

สำหรับเดือนนี้ผมก็ดีใจมาก ที่ได้กลับมาทักทายและเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีก
หวังว่าเพื่อนๆ จะตามอ่านเรื่องของผมต่อไปนะครับ

ผมเริ่มเขียนบล็อกห้องสมุดตั้งแต่เมื่อไหร่

จำกันได้มั้ย…
KM_library (Gotoknow) – 2549
Thailibnetwork (Blogspot) – 2550
Projectlib (wordpress.com) – 2550
Projectlib.in.th – 2551
และบัดนี้ LibraryHub.in.th – 2552

my-first-blog

เรื่องที่ผมเขียนผ่านมา หากนำบทความต่างๆ มารวมกัน
ตอนนี้ผมคงเขียนเรื่องได้สัก 700 กว่าเรื่องแล้วมั้ง
ผมว่าเรื่องที่ผมเขียน มันยังคงน้อยกว่าเรื่องห้องสมุดที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหล่ะมั้ง

เท่าที่ได้อ่านข่าวบรรณารักษ์ และห้องสมุด
ทุกวันผมได้อ่านประมาณอย่างน้อย 10 กว่าเรื่อง
หากคำนวณเป็นรายปี คงจะได้ปีละ 3650 เรื่องละมั้ง

เรื่องห้องสมุดทั่วโลก 1 ปี / เรื่องที่ผมเขียน 3 ปี
3650 / 700

เรื่องจำนวนของการเขียนอย่าไปใส่ใจเลยดีกว่าครับ
ตอนนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่า บล็อกห้องสมุดที่ผมได้เขียนในแต่ละที่มีที่มาอย่างไร

เริ่มจากในปี 2549 หลังจากผมทำงานได้สักระยะนึง
ช่วงนั้น การจัดการองค์ความรู้กำลังเป็นที่นิยม และหนึ่งในนั้นคือ Gotoknow
หลังจากที่ได้เข้าไปอ่านความรู้ใน?Gotoknow บ่อยๆ ผมก็เริ่มอยากเขียนบ้าง

gotoknow

จึงลองสมัครดู โดยตอนนั้นผมได้ใช้ user = Km_library
เพราะต้องการให้อ่านแล้วสื่อถึงการจัดการความรู้ในห้องสมุด

แต่พอเขียนไปสักระยะอาการเขียนไม่ออกก็เริ่มเกิดขึ้น
“เรื่องห้องสมุดจะให้เขียนทุกวันได้ยังไง ไม่เห็นมีอะไรให้เขียนเลย” ผมคิด
ดังนั้นอาการดองบล็อกก็เกิดขึ้น จนหยุดเขียนในที่สุด

ต่อมาในช่วงปิดเทอมใหญ่ของนักศึกษาปี 2550
ช่วงที่ได้พักอยู่บ้านทำให้ผมเริ่มเกิดอาการเบื่อหน่าย วันๆ ไม่มีอะไรจะทำ
ก็เลยหาของเล่นจากอินเทอร์เน็ตแก้เซ็ง จนไปเจอ Blogspot

blogger

ทำให้ความรู้สึกว่าอยากเขียนบล็อกเริ่มกลับมาอีกครั้ง
โดยในช่วงแรกที่เขียน Blogspot ก็อาศัยบทความจากเพื่อนๆ ใน Gotoknow
นำมาวิเคราะห์ในภาษาของเราเอง แล้วจึงนำมาเขียนนั่นเอง

ใน?Blogspot ความคาดหวังของผมคือ
การตั้งกลุ่มชมรมบรรณารักษ์เขียนบล็อกในประเทศไทย
จากการสืบค้นทำให้รู้จักรุ่นพี่คนนึง นั่นก็คือ พี่โต (iteau)
ซึ่งเป็นคนที่เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดได้เก่งมาก
จึงเริ่มขอคำปรึกษา และได้พูดคุยกันจนทำให้ผมอยากเขียนบล็อกห้องสมุด

ต่อมาจากข้อจำกัดของ?Blogspot ที่มีลูกเล่นที่ค่อนข้างใช้ยาก
ทำให้ผมต้องหาทางออกด้วยการเปลี่ยนเครื่องมือในการเขียน
และตอนนั้นที่เห็นบล็อกของพี่โต (iteau)
ทำให้สงสัยว่า wordpress คืออะไร และได้คำแนะนำจากพี่โต จนผมเรื่องสมัคร wordpress

wordpress

ณ ตอนนั้นที่ทำงานของผมมอบหมายให้ผมเขียนโครงงานห้องสมุดมากมายๆ
ผมจึงตั้งใจว่าจะนำโครงการเหล่านี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยใช้ชื่อว่า projectlib
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันแก้ปัญหากัน

และเพื่อให้มีแรงกระตุ้นในการเขียน
ผมจึงให้สัญญากับทุกคนว่า จะเขียนเรื่องให้ได้วันละ 1 เรื่อง
(My Library in 365 days)

projectlibwordpress

ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้เขียนทุกวันหรอกครับ
บางวันเก็หยุดเขียน บางวันก็เขียนเกิน

ผลสรุป 1 ปี บทความ 400 กว่าเรื่อง
ก็เป็นคำตอบว่าผมสามารถทำได้เกินเป้าหมายอีก

ในขณะนั้นเองความต้องการขยาย projectlib ก็เกิดขึ้น
จึงสมัคร Domain และ Host ของตัวเอง
ซึ่งต่อมาก็ได้โดเมนว่า http://www.projectlib.in.th นั่นเอง

projectlibinthai

การเขียนบล็อกก็ยังคงราบรื่นไป จนกระทั่ง มีนาคม 2552
การทำ Index ของ Google มีลักษณะที่แปลกๆ
ทำให้ผมเจอปัญหาคือ google ไม่อัพเดทบล็อกให้ projectlib
นอกจากนั้นยังลดค่า Pagerank จนเหลือ 0 อีก

อัตราการเข้าชมจากเดือนปกติ 19,000 คน
อัตราการเข้าชมของเดือนเมษายนที่ผ่านมา 1,900 คน
จำนวนลดลงจนน่าใจหายอย่างมาก

การตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ Projectlib เข้ามาอยู่ในสมองของผม
เพื่อให้ชื่อของบล็อกมีแนวทางที่กว้างกว่า Projectlib

ผมจึงตัดสินใจใช้ชื่อ LibraryHub โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
– จัดเก็บเรื่องราวที่ผมเคยเขียนมาให้เป็นสัดส่วนมากกว่านี้
– หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดในลักษณะเดียวกับ Projectlib
– เป็นพื้นที่สำหรับห้องสมุด และบรรณารักษ์อย่างแท้จริง

ซึ่ง?LibraryHub จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2552 (งาน Barcampbangkok3)
โดยในระหว่างนี้ผมก็ได้ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้สักระยะแล้วครับ
เพียงแต่ก็จะเขียนเรื่องสะสมไปเรื่อยๆ เหมือนเดิมครับ

นี่ก็เป็นเพียงที่มาของ LibraryHub ที่ผมเขียนอยู่ในตอนนี้