วันนี้นั่งอ่านบทความใน https://americanlibrariesmagazine.org/ แล้วสะดุดกับบทความหนึ่ง ชื่อเรื่อง “What the Future Holds” หรือแปลแบบตรงตัวว่า “อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง” ทำให้ผมต้องเข้ามานั่งอ่านแบบจริงจัง เผื่อเพื่อนๆ ไม่มีเวลาผมจะนำมาสรุปให้อ่านด้านล่างนี้เลย
Read moreเทคโนโลยีสมัยใหม่
อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019
หากกล่าวถึง Trend ด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด หนึ่งในบรรณารักษ์ที่ผมตามอ่าน คือ “David Lee King” ซึ่งเขาจะอัพเดทและทำสไลด์เรื่องนี้ทุกปี (และผมก็ชอบนำมาใช้ประกอบการบรรยายบ่อยครั้ง) ปีก่อนๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านในบล็อกของผมย้อนหลังได้ แต่ปีนี้ 2019 มาอ่านในเรื่องนี้กันดีกว่า
ก่อนอื่นผมขอแนะนำ “David Lee King” ให้ทุกท่านได้รู้จักกันก่อน
Read more3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการรวมกลุ่มบรรณารักษ์และคนทำงานห้องสมุดเป็นสมาคม หรือที่หลายๆ คนจะรู้จักในนาม ALA และภายในสมาคมใหญ่ก็มีการแบ่งสายตามความสนใจอย่างชัดเจน ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกลุ่มๆ หนึ่ง นั่นคือ Library and Information Technology Association หรือย่อว่า LITA ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับใช้กับวงการห้องสมุด อีกทั้งสายงานนี้จะทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากทั่วโลกด้วย
ในงานประชุม ALA เมื่อต้นปี 2019 ได้มี session หนึ่ง รวมผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุดจำนวน 3 ท่านมาพูดในงานนี้ ซึ่งได้กล่าวถึง Application, อุปกรณ์, ซอฟท์แวร์ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้ได้
Read moreแนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries
วันนี้มีโอกาสได้อ่านเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับห้องสมุดมากเป็นพิเศษ
(เพราะต้องเตรียมบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงเดือนธันวาคมนี้)
เว็บไซต์หนึ่งที่น่าสนใจและผมอ่านประจำ คือ http://www.techsoupforlibraries.org/
ซึ่งหัวข้อที่ผมขอหยิบมาเขียนและเล่า คือ Your Top 5 Library Technology Topics โดย Ariel Gilbert-Knight
เขาพูดถึง Topic ที่น่าสนใจของรายการ Webinar ใน TechSoup for Libraries 5 เรื่องที่ต้องตามดู
ซึ่งหากใครสนใจผมขอนำ link วีดีโอทั้ง 5 ลงไว้ให้ตามดูด้วยนะครับ
Trend ด้านเทคโนโลยีโลก ถึง เทคโนโลยีห้องสมุด ในปี 2016
เมื่อวานนี้ผมได้เขียนเรื่อง “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559” โดยผมได้อ้างอิงเรื่องจาก David Lee King วันนี้ผมจะนำมาเปรียบเทียบกับ “แนวโน้มด้านเทคโนโลยีปี 2016 ของ Gartner”
Gartner เป็นบริษัทวิจัยและให้คำแนะนำด้าน IT ในสหรัฐฯ ซึ่งได้เผยแพร่บทความเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีทุกปี โดยมักจะอธิบายออกมาในรูปแบบของ Hype Cycle ตัวอย่างดังภาพด้านล่างเป็นของปี 2015 Read more
แนวโน้มด้านเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุดในปี 2559
ปกติเวลาผมบรรยายเรื่องเทคโนโลยีของห้องสมุด ผมจะต้องเล่าเรื่อง TECHNOLOGY Trend ในวงการห้องสมุดให้เพื่อนๆ ฟังทุกครั้ง วันนี้ผมเลยขอนำมาเขียนใน Blog Libraryhub ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้ฟังบรรยายได้อ่านกัน
เบื้องต้นทุกครั้งผมจะอ้างอิงจาก Slide ของคุณ David Lee King
(Digital Services Director at Topeka & Shawnee County Public Library) Read more
50 เหตุผลที่บรรณารักษ์ไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาในห้องสมุด บรรณารักษ์ก็ควรยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น
ซึ่งสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กระบวนการทำงาน การบริหารงาน รวมถึงเทคโนโลยี
ผมว่ามันก็ต้องมีเหตุผลของการที่ทำสิ่งใหม่เข้ามา ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดี หรือไม่ก็แก้ปัญหาเดิมๆ ได้
และแน่นอนครับว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ทำให้บรรณารักษ์บางส่วนไม่พอใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของงานไอที
คำถามหลักที่จะต้องเจอต่อมาคือ “ทำไมถึงไม่ยอมรับหรือเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆหล่ะ”
คำตอบของคำถามนี้อยู่ในแผนภาพด้านล่างนี้ครับ
ภาพนี้เป็นภาพจากบล็อก http://13c4.wordpress.com ซึ่งพูดถึงเรื่อง “50 เหตุผลที่ไม่ยอมเปลี่ยน”
ในภาพอาจจะมองไม่ค่อยเห็น เอาเป็นว่าผมขอยกตัวอย่างมาสักเล็กน้อยแล้วกัน
– It’s too expensive
(มันแพงมาก – สงสัยผู้บริหารจะเป็นคนพูด)
– I’m not sure my boss would like it
(ฉันไม่มั่นใจว่าหัวหน้าของฉันจะชอบมัน – ตัดสินใจแทนผู้บริหารซะงั้น)– We didn’t budget for it.
(พวกเราไม่มีงบประมาณสำหรับมัน – ไม่มีทุกปีเลยหรอครับ)– Maybe Maybe not.
(อาจจะ หรือ อาจจะไม่ – ยังไม่ได้คิดอะไรเลย ก็ไม่ซะแล้ว)
– It won’t work in this department.
(มันไม่ใช่งานในแผนกเรา – แล้วตกลงเป็นงานของแผนกไหนหล่ะ)
– We’re waiting for guidance on that.
(พวกเรากำลังคอยคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ – แล้วตกลงอีกนานมั้ยหล่ะครับ)
– It can’t be done.
(มันไม่สามารถทำได้หรอก – แล้วคุณรู้ได้ไงว่าทำไม่ได้ ลองแล้วหรอ)
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ จากแผนภาพนี้เท่านั้นนะครับ
เอาเป็นว่าเหตุผลบางอย่างในแผนภาพ ผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่ยังฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่นะ
แต่ที่เอามาให้เพื่อนๆ ดูนี่ ไม่ได้หมายความว่าจะตำหนิหรือว่าอะไรใครหรอกนะครับ
เรื่องนี้อาจจะเป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวของผมเอง แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดอย่างไรกับเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ในห้องสมุดบ้าง