เก็บตกหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดและบรรณารักษ์จากงาน CIL2010

งาน Computers in libraries 2010 หรือ CIL2010 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งภายในงานนี้มีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจมากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะมาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

cil2010

อย่างที่เคยบอกแหละครับว่า งานนี้เป็น “งานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด”
แน่นอนครับหัวข้อที่บรรยายในงานนี้จะเกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุดทุกอย่างครับ
รวมถึงจากงานประชุมวิชาการนี้จะทำให้เราได้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในวงการห้องสมุดด้วยครับ

หัวข้อบรรยายในงานนี้ก็ยังคงแบ่งออกเป็น 5 ห้องเช่นเดิม (5 Track)
ซึ่งในแต่ละห้องก็จะมีหัวข้อย่อยๆ อีก ดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– DIGITAL PRACTICES
– CONTENT MANAGEMENT

TRACK B
– WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– NEXT-GEN CATALOGS
– MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES

TRACK C
– MANAGING 2.0
– PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– COOL TOOLS

TRACK D
– COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE

TRACK E
– LITERACIES & FLUENCIES
– TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE

————————————————————————————-

นอกจากนี้ในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Shares : Search Tips Spectacular!
– Trends in Search & Search Engines
– New & Hot : The Best of Resource Shelf
– Innovative Applications of Federated Search Technology
– Discovery Tools : Case Study

DIGITAL PRACTICES
– Crafting Online Personas
– Library Engagement Through Open Data
– Usability & Libraries
– Using Technology, Creativity & Partnerships
– Reference for a Digital World

CONTENT MANAGEMENT
– Content Containers : Tranforming Publishing & Purchasing
– Licensing Content & Creative Common (CC)
– Digitization Practices
– Ebooks : Landscape & Implications
– Ebooks : Experience & Learnings

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– Experience Design Makeover
– Improving Visual Web Experience
– Website Redesign : Two case studies
– Analyzing, Evaluating & Communicating the Value of Web Presence
– Well-Organized Sites & Portals

NEXT-GEN CATALOGS
– From OPAC to SOPAC : Steps to a Social Library
– SOPAC 2.1 : Digital Strategy for the New Library
– Open Source Models : Hybrid ILS & Multiple Sites
– Fluency in OS Systems : Pilots in Different Size Libraries
– Global Library Landscape

MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES
– Mobile Literacy : Competencies for Mobile Tech
– Developing & Designing for Mobile
– Mobile Tips & Practices
– What?s Happening With Mobile in Libraries
– Practices & Search: What?s Hot!

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track C

MANAGING 2.0
– Tips for Fast Tech Project Implementation
– Achieving Org 2.0
– Decision Making & Decisions in a Digital Age
– Gen X Librarians: Leading From the Middle
– Digital Managers Sound Off

PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– Strategic Planning & Encouraging Change
– Critical Thinking : Getting to the Right Decision
– Bridging Community, Research, Skill Building, & Entertainment With World of Warcraft & Libraries
– Planning & Partnerships : Strategic Initiatives
– Feedback & Proving Worth With Library Scorecards

COOL TOOLS
– New & Open Source Tools
– Productivity Tools
– What?s Hot in RSS
– Cloud Computing & Digital Video
– Best Free Web Services for Broke Libraries

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track D

COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– Digital Commons: Building Digital Communities Using Digital Collections
– Real-Time Collaboration Tools
– What Administrators Need to Know About Technology
– Google Wave
– Twitter Tools: Applications & Success Stories

ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES

– Web 2.0 Tools: Innovation, Awareness, & Knowledge-Sharing
– Info Pros & SharePoint: Good Fit
– Drupal Applications & Practices
– Search Enhancements for the Enterprise
– Building Communities & Engaging Clients

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– The 24th Thing: What?s Next?
– Persuasion, Influence, & Innovative Ideas
– Google Gambol
– Information Discovery With Surfaces
– Engaging Communities

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track E

LITERACIES & FLUENCIES
– Information Fluency Strategies & Practices
– Libraries & Transliteracy
– Developing Specific Fluencies: Case Studies
– Information Literacy : Life Cycle & Economic Benefits
– LibGuides: Web Tools to Enhance Information Fluency?

TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LMS: What?s Out There & How to Decide!
– Reaching Reluctant Learners
– Training in the Cloud or Mobile Labs!
– Virtual Learning & Training : From Classrooms to Communities
– Instructional Technology: It?s a Team Thing

LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE
– Staff Development: Soft Skills, Firm Results
– Peer Training for Digital Literacy
– From Podcasts to Blogs and Beyond!
– Ref Desk Adventure : Simulation Game for Training
– 23 Things for an International Audience

———————————————

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมของหัวข้อต่างๆ ก็สามารถดูได้ที่
http://conferences.infotoday.com/documents/84/CIL2010-FinalProgram.pdf

และหากต้องการทราบความเคลื่อนไหวของการประชุม CIL ให้เข้าไปที่
http://www.infotoday.com/cil2010/twitter.asp

เรื่องของเทคโนโลยีที่ไม่เคยเกิดกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งมีลักษณะเช่นนี้ ผมเลยขอเอามาให้เพื่อนๆ ช่วยวิจารณ์กันหน่อยแล้วกัน
เนื่องจากองค์กรแห่งนี้เน้นเทคโนโลยีต่างๆ นานาในสถาบันการศึกษา แต่ไม่เคยสนใจห้องสมุด

technology-lib

แม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกเน้นให้เกิดในองค์กร แต่ก็ถูกละเลยจากบุคลากรในองค์กรอยู่ดี เช่น

– การติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี VOIP แต่ก็ไม่เคยมีใครใช้
– แจก Ipod ให้บุคลากรแต่ใช้ไม่เป็น
– อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่มีไว้โหลดหนัง โหลดเพลง
– มีการจัดสอบวัดความรู้ด้านไอทีในองค์กร แต่สามารถส่งตัวแทนไปสอบได้
– ระบบการให้บริการด้วยเว้บไซต์ออนไลน์ แต่คนส่วนใหญ่ใช้ไม่เป็นสุดท้ายก็ต้องเดินมาที่แผนก
– เว็บไซต์องค์กรที่ไม่เคยอัพเดทเลย

นี่คือสิ่งที่องค์กรตอบสนองให้บุคลากรในหน่วยงาน แต่สิ่งที่ได้มาคือความไร้ค่ามากๆ
บ้างก็ใช้ไม่เป็น บ้างก็นำไปใช้ผิดจุดประสงค์ กลุ้มใจแทนองค์กรเลยครับ

ทีนี้หันมาดูที่ห้องสมุดบ้างดีกว่า
1. มีคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการสืบค้น (ที่โต๊ะบรรณารักษ์เท่านั้น)
2. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบที่ใช้ได้เสถียรที่สุด และไม่ยืดหยุ่นให้ใคร (วันหยุดก็จะคิดค่าปรับแถมให้ด้วย)
3. เครื่องทำสำเนาของสื่อโสตฯ ทำได้ (แต่เอากลับบ้านไปทำนะบรรณารักษ์)
4. ชั้นหนังสือมีจำนวนมาก (แต่หนังสือมากกว่า)
5. มีสื่อโสตฯ มากมาย (เอากลับไปดูที่บ้านนะครับ)
6. มีเว็บห้องสมุด (แต่ต้องไปฝากคนอื่นเอาขึ้น server)

นอกจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว จริงๆ ยังมีอีกหลายเรื่องนะครับ
แต่ขอเอาไว้เล่าให้ฟังต่อคราวหน้าดีกว่า เพราะแค่นี้ยิ่งอ่านก็ยิ่งสลดแล้ว

สุดท้ายก็ขอฝากให้เพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อยนะครับว่าสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า

อีกไม่กี่วันก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2010 แล้วนะครับ วันนี้ผมจึงขอนำเสนอบทความเรื่อง
แนวโน้มของการใช้ social networking ในวงการห้องสมุดปี 2010” นะครับ

sns-library

บทความนี้ต้นฉบับมาจากเรื่อง “Top 10 Social Networking in Libraries Trends for 2010”

สาระสำคัญของบทความชิ้นนี้คือการชี้ให้เห็นถึงทิศทางในการใช้ Social Networking ต่างๆ เพื่องานห้องสมุด
ซึ่งหากเพื่อนๆ ติดตามกระแสของการใช้เครื่องมือเหล่านี้ เพื่อนๆ จะรู้ว่าแนวโน้มห้องสมุดมีการนำมาใช้มากขึ้น
ซึ่งบทความชิ้นนี้ได้สรุปออกมาเป็นหัวข้อย่อยๆ 10 อย่างด้วยกันดังนี้

1. An increase in the use of mobile applications for library services.
โปรแกรมที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ของห้องสมุดในโทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น
เช่น ใน Iphone ของผมตอนนี้ก็มี โปรแกรมที่น่าสนใจ เช่น DCPL, bibliosearch เป็นต้น

2. Even more ebook readers and the popularity of the ones that already exist.
กระแสของการใช้ Ebook Reader ปีที่ผ่านมาถ้าเพื่อนๆ สังเกตก็จะพบว่ามีจำนวนที่โตขึ้นมา
เว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ให้บริการ download Ebook มากมาย ซึ่งบริการเช่นนี้จะเกิดในห้องสมุดอีกไม่นานครับ

3. The usage of more niche social networking sites for the public at large and this will spill over into libraries.
จำนวนเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ social networking เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมันก็กำลังจะเข้ามาสู่วงการห้องสมุดเพิ่มขึ้น
ผมขอยกตัวอย่างสักเรื่องนึง คือ twitter หลายๆ ห้องสมุดในไทยตอนนี้ยังเริ่มใช้บริการกันแล้วเลยครับ

4. An increase in the amount and usage of Google Applications such as Google Wave and other similar applications.
การใช้งาน application บน google มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น google wave หรือโปรแกรมอื่นๆ
เพื่อนๆ คนไหนอยากได้ invite google wave บอกผมนะเดี๋ยวผมจะ invite ไปให้

5. The Google Books controversy will more or less be resolved and patrons will begin to use it more.
google book มีการใช้งานมากขึ้นเช่นกัน หลังจากที่มีอยู่ช่วงนึงเป็นขาลง แต่ตอนนี้จำนวนผู้ใช้กลับเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีกแล้ว
(นอกจากนี้ google book ยังได้รับความร่วมมือจากห้องสมุดอีกหลายๆ แห่งด้วย)

6. Library websites will become more socialized and customized
เว็บไซต์ของห้องสมุดจะมีความเป็น 2.0 มากขึ้น (ตอบสนองกับผู้ใช้มากขึ้น)
ลักษณะการให้บริการบนเว็บไซต์ของห้องสมุดจะเปลี่ยนไป

7. College libraries will use more open source software and more social networking sites.
ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังตื่นตัวเรื่อง Open source รวมถึงการใช้ social network ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
เช่น Moodle, greenstone, Dspace ฯลฯ

8. More libraries will use podcasting and itunes U to communicate with patrons.
ห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการใช้ podcast และนำ itune เข้ามาติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
ตัวอย่าง เช่น การให้บริการ podcast ของ Library of Congress

9. More libraries will offer social networking classes to their patrons.
เมื่อห้องสมุดใช้ Social networking มากขึ้นแล้ว ห้องสมุดก็ต้องจัดคอร์สอบรมให้ผู้ใช้บริการด้วย
โดยปีหน้าห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการจัดคอร์สเกี่ยวกับเรื่อง Social Networking เพิ่มมากขึ้น
แล้วเราคงจะได้เห็นหลักสูตรแปลกๆ เพิ่มมากขึ้นนะครับ

10. Social networking in libraries will be viewed more as a must and as a way to save money than as a fun thing to play with or to use to market the library.
การนำ Social networking ที่ห้องสมุดนำมาใช้วัตถุประสงค์หลักๆ คือ การลดค่าใช้จ่ายมากกว่าเล่นเพื่อนสนุกสนาน
นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างกฎทางการตลาดใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุดด้วยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับกระแสแห่งเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า
ห้องสมุดของเพื่อนๆ พร้อมแล้วหรือยังที่จะก้าวไปข้างหน้าเหมือนกับห้องสมุดหลายๆ แห่งทั่วโลก
เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นกำหลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ…ก้าวต่อไป

เมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากกว่าหนังสือพิมพ์

วันนี้ผมขอนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องการใช้อินเทอรืเน็ตกับการอ่านหนังสือพิมพ์หน่อยนะครับ
บทความนี้จริงๆ มาจากเรื่อง “อินเทอร์เน็ตกำลังแย่งผู้อ่านไปจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น” จาก blognone นะครับ
ต้นฉบับเนื้อหาภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่ “Internet use could kill off local newspapers, study finds” จาก physorg
แต่ผมขอนำมาเพิ่มในส่วนที่ผมวิเคราะห์และวิจารณ์ลงไปด้วยครับ

internet-use

————————————————————————————————–

การศึกษาในเรื่อง สื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการบริโภคข่าวสารของผู้ใช้โดยทั่วไป
โดยผลการศึกษานี้สรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. ในปีที่ผ่านมา (2007) ยอดการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษมียอดที่ลดลง
ทำให้สูญเสียผู้ อ่านไปนับล้านคน แต่ยอดการดูข่าวในอินเทอร์เน็ตกลับเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

2. รูปแบบของข่าวที่นำเสนอในอินเทอร์เน็ตมาจาก เว็บ Search Engine ต่างๆ
ข่าวสารในบล็อกต่างๆ / เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ที่ดังๆ รวมถึงเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ด้วย

3. Google, Yahoo, AOL และ MSN มีคนเข้าใช้ในแต่ละเดือนประมาณ 100 ล้านคน
แต่เว็บของสถานีโทรทัศน์กลับมีเพียง 7.4 ล้านคนเท่านั้นเอง
และเว็บของหนังสือพิมพ์ดังๆ ที่ติดตลาด เช่น New York Times มีผู้ใช้ประมาณ 8.5 ล้านต่อเดือน

4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เล็กๆ พยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวแล้ว
แต่ก็เป็นการยากที่จะดึงลูกค้าจากกลุ่มต่างๆ ในข้อที่ 3 มาได้
ดังนั้นผลกระทบโดยตรงนี้จึงตกอยู่กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต่างๆ ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าว

5. ในบทความนี้แนะนำว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควรจะปรับกลยุทธ์โดยการให้นำเสนอ
ข่าวในแนวที่กว้างขึ้นและคงความเป็นสากลของหนังสือพิมพ์จึงจะพิชิตอุปสรรค ต่างๆ ได้

————————————————————————————————–

ผลการศึกษาที่ผมยกมานี้หากเรามามองในแง่ของความเป็นบรรณารักษ์
บางคนคงเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมผู้ใช้จึงมีจำนวนลดลงบ้าง

ถึงแม้ว่าในบทความนี้กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยหลายคนอาจจะบอกว่า
ไม่มีทางหรอกยังไงคนไทยก็ติดความเป็นกระดาษมากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว

แต่ในความคิดของผมที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยม
ประเด็นหลักผมคิดว่ามาจากสื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งทำให้เกิดความยากในการที่จะนำมาใช้
บางคนไม่ชอบภาษาอังกฤษพอเห็นอะไรนิดหน่อยที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงเกิดอาการต่อต้าน

แต่ผมก็คิดในหลักง่ายๆ ว่า แล้วถ้าสื่อเหล่านี้เป็นภาษาไทยหล่ะ
จะทำให้ผู้ใช้หันไปใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ห้องสมุดคงต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยทันที

ผมเอาสรุปสถิติของการเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาให้ดูกันคร่าวๆ ดีกว่า
แล้วให้พวกเราลองเปรียบเทียบในแง่ของห้องสมุดว่าห้องสมุดมีคนเข้าใช้จำนวน แค่ไหน

www.sanook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 223,597
www.kapook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 142,020
teenee.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 74,811
www.mthai.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 73,752

ข้อมูลจาก truehits.net

เอาเป็นว่าห้องสมุดที่ไหนบ้างในเมืองไทยที่มีการเข้าใช้จำนวนมากเหมือนเว็บไซต์
ใครรู้ช่วยบอกผมทีนะครับ

เข้าท่าดี…เก้าอี้เดินได้ในห้องสมุด

วันนี้มีคลิปวีดีโอมานำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจในห้องสมุด
ถ้าคลิปนี้ทำได้จริงๆ คงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ (เอาใจเชียร์ให้มีจริงๆ)

takeaseat

เอาเป็นว่าลองไปชมกันก่อนดีกว่า เดี๋ยวค่อยวิจารณ์ให้อ่านนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2Dgaz6NIUFk[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับกับคลิปวีดีโอนี้

เทคโนโลยีที่เห็นในคลิปวีดีโอนี้เป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้นนะครับ ยังไม่มีที่ไหนทำมาก่อนจริงๆ
แต่เพียงแค่แนวความคิดมันก็แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในห้องสมุดนั่นเอง

ลองคิดดูสิครับว่า “ถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดแล้วมีที่นั่งเดินตามอยากอ่านตรงไหนก็ได้”
มันคงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผมจะขอวิจารณ์หน่อยแล้วกัน

การมีเก้าอี้แบบนี้จะส่งผลอะไรกับห้องสมุดบ้าง
– ต้องใช้เงินในการจัดหาอุปกรณ์ที่ค่อนข้างแพง
– การอ่านหนังสือโดยนั่งที่เก้าอี้นี้อาจจะไม่เหมาะต่อการอ่านหนังสือแบบนานๆ
– อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ (นั่งขวางทางคนอื่น) เนื่องจากอยากนั่งตรงไหนก็นั่ง
– ยากต่อการควบคุมและการดูแล

เอาเป็นว่าถ้าหากจะต้องมีเทคโนโลยีนี้จริงๆ ในห้องสมุด
บรรณารักษ์และฝ่ายไอทีคงต้องวางแผนกันให้รอบครอบมากๆ

เพื่อนๆ ว่าเก้าอี้แบบนี้ดีหรือไม่ดีครับ…

งานประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (Computer in Libraries 2009)

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องย้อนหลังไปเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมานะครับ
ในช่วงเดือนนั้นมีงานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด หรือที่เราเรียกกันว่า Computer in Libraries 2009

cil2009

Computer in Libraries 2009 หรือที่ในวงการเรียกย่อๆ ว่า CiL 2009
งานนี้ถือว่าเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีสำหรับบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเลยก็ว่าได้
กำหนดการของงานนี้เริ่มในวันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2009

ข้อมูลทั่วไปของงาน CIL2009
ชื่องาน : Computer in Libraries
จัดมาแล้วเป็นครั้งที่ : 24
วันที่จัด : 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2552
สถานที่ : Hyatt Regency Crystal City (จัดในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ)

สโลแกนของงานนี้
?CREATING TOMORROW : SPREADING IDEAS & LEARNING?
มาสร้างวันพรุ่งนี้กันดีกว่า ด้วยการกระจายไอเดียและกระจายการเรียนรู้ (แชร์ไอเดียร่วมกัน)

งานนี้ไม่ได้จัดโดยห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งนะครับ
แต่องค์กรหลักที่เป็นผู้จัดงานนี้คือ บริษัท Information Today

เอาเป็นว่ามาดูหัวข้อเด่นๆ ในงานแบบเต็มๆ กันเลยดีกว่า

cil2009-book

โดยในงานนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยเริ่มจาก Track A – Track E
ซึ่งผู้เข้าประชุมจะต้องเลือกเข้า 1 Track ซึ่งแต่ละ Track จะมีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน
โดยเนื้อหาของแต่ละ Track มีดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– SEARCH & SEARCH ENGINES

TRACK B
– WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– OPEN LIBRARIES
– NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES

TRACK C
– COMMUNITIES & COLLABORATION
– SOCIAL SOFTWARE
– CONTENT MANAGEMENT (CM)

TRACK D
– DIGITAL LIBRARIES
– SERVICES & VIRTUAL REFERENCE
– LEARNING

TRACK E
– INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– NEXT GEN CATALOGS
– 2.0 PLANNING & MANAGING

?????????????????????-

นอกจากนั้นในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ? ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ต่างๆ ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Search Tips
– Searching Conversations: Twitter, Facebook, & the Social Web
– What?s New & Hot: The Best Resource Shelf
– Searching Google Earth
– Information Discovery: Science & Health

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– New Strategies for Digital Natives
– Designing the Digital Experience
– Googlization & Gadget Support for the Library
– Library Transformation With Robotics
– Innovative Services & Practices

SEARCH & SEARCH ENGINES
– The Future of Federated Search
– Federated Search: Growing Your Own Tools
– Mobile Search
– What?s Hot in RSS
– Emerging Search Technologies

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– Website Redesign Pitfalls
– Help Your Library Be Omnipresent Without Spending a Dime
– 40-Plus New Tools & Gadgets for Library Webmasters
– What Have We Learned Lately About Academic Library Users
– Library Facebook Applications

OPEN LIBRARIES
– Open Source Software
– Open Source Browsers
– Unconferences
– Open Source Library Implementations
– Open Access: Green and Gold

NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES
– Mobile Practices & Search: What?s Hot!
– Mobile Usability: Tips, Research, & Practices
– Mobile Library Apps
– Real Librarians in Virtual Worlds
– Gaming & Learning

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track C

COMMUNITIES & COLLABORATION
– Who Put the Blawg in My Collection?
– Building Community Partnerships: 25 Ideas in 40 Minutes
– Building Communities: Wikis & Ning
– Flickr Commons for Libraries & Museums
– Continued Online Community Engagement

SOCIAL SOFTWARE
– The Best of the Web
– Social Network Profile Management
– Web 2.x Training for Customers & Staff
– Evaluating, Recommending, & Justifying 2.0 Tools
– Pecha Kucha: 2.0 Top Tips

CONTENT MANAGEMENT (CM)
– CM Tools: Drupal, Joomla, & Rumba
– Implementing CMS: Academic
– Implementing CMS: Public
– Customized Content Portals
– Content Collage: Institutional Repositories

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track D

DIGITAL LIBRARIES
– Digital Preservation, E-Government & ERM
– Digital Rights Management (DRM) Copyright, & Creative Commons
– Moving Libraries to the Cloud
– Developing a Sustainable Library IT Environment
– Achieving the Dream to Go Green


SERVICES & VIRTUAL REFERENCE

– Next Gen Digital Reference Tools
– Reference Odyssey: Still Dealing with Real People
– Embedding Services: Go Where the Client Is
– More than Just Cruising: SL & Web 2.0
– Service at Point of Need: SharePoint & Mobile Tools

LEARNING
– Learning Solutions Through Technology
– Enhancing Learning Anytime, Anywhere: Spread Your Reach
– E-Learning: Trends, Tools & Interoperability
– Embedding Ourselves: Using Web 2.0 and Second Life for Instructional Presence
– Dynamic Learning Spaces & Places

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track E

INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– I Wanna Be 2.0 Too!: Web Services for Underfunded Libraries
– Tiny Libraries, Tiny Tech, Innovative Services
– Social Software Solutions for Smaller Libraries
– Obstacle or Opportunity? It’s Your Choice!
– Blogs as Websites

NEXT GEN CATALOGS
– Global Library Automation Scene
– Library Automation Highlights
– Library Website & Library Catalog: One-Stop!
– Open Source Implementations
– Cooperative Systems Trump Integrated Systems

2.0 PLANNING & MANAGING
– Setting Up a Trends Analysis Program
– What’s the Return on Investment for Your Library?
– Future Space: The Changing Shape of Libraries
– Successful Online Collaborative: A Tale of Three Libraries
– New Tools for Metrics & Measures

?????????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

เทคโนโลยีของห้องสมุดตั้งแต่ปี 1968 – 2007

เรื่องเก่าเล่าใหม่อีกครั้งสำหรับเรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
จากบทความเรื่อง? 2007 Library Technology Guides Automation Trend Survey
ซึ่งเป็นผลสำรวจที่มาจากเว็บไซต์ Library Technology Guides

libtech-copy

ลองเข้าไปดูกันนะว่าพัฒนาการของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดว่ามีอะไรบ้าง
ผมว่ามันน่าสนใจดีนะครับ เพราะบอกช่วงเวลาให้ด้วย

ซึ่งพอได้เห็นภาพว่าห้องสมุดเริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ ปี 1968
ซึ่งเทคโนโลยีตัวแรกที่มีการนำมาใช้ในห้องสมุด นั่นคือ ?NOTIS Systems?
ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Northwestern University

แล้ว NOTIS Systems คืออะไร ผมก็ลองเข้าไปค้นหาคำตอบดู
ในยุคแรกของ NOTIS Systems เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่จัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรม
แต่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ

นอกจากเทคโนโลนีแรกของห้องสมุดแล้ว แผนภาพนี้ยังแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีห้องสมุดในยุค 2007 ด้วย
ซึ่งมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติชั้นนำอยู่ด้วย เช่น SirsiDynix, Ex Libris, VTLS ฯลฯ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ต้องไปลองเปิดดูครับ

รูปเต็มดูได้ที่ http://www.librarytechnology.org/automationhistory.pl?SID=20091214577484130

บางสิ่งบางอย่างที่สวยกว่าบรรณารักษ์…จริงหรือ!!??

เพื่อนๆ จำประโยคนี้กันได้มั้ยครับ “sexier than a librarian” หรือที่แปลว่า “สวยกว่าบรรณารักษ์”
ประโยคนี้เป็นสโลแกนของสินค้าอย่างนึง…นั่นก็คือ…. Sony e-Book Reader นั่นเอง

บล็อกของบริษัท sony – Sony’s Reader: Sexier than a Librarian?

sexierthanlibrarian

แว้บแรกที่ผมเจอข้อความนี้ ผมเองก็บอกตามตรงเลยว่าก็สงสัยตั้งนานว่าอะไร
แต่พอเห็นสินค้าว่านั่นคือ Ebook Reader ก็ยิ่งทำให้ผมตกใจมากมาย
ไม่นึกว่า Sony จะเอาสินค้ามาเล่นกับวิชาชีพบรรณารักษ์ได้ขนาดนี้

แต่เพียงแค่ประโยคแค่นี้แหละครับ “sexier than a librarian
ก็ทำเอาเพื่อนๆ บล็อกเกอร์ชาวบรรณารักษ์ทั่วโลกไม่พอใจ
จนทำให้มีกระทู้ หรือบล็อกมากมายที่เขียนมาแก้กับเรื่องนี้ เช่น
Sony e-Book Reader Not Sexier Than a Librarian

ผมขอยกตัวอย่างคำพูดของบล็อกเกอร์บางคนนะครับ
บล็อกเกอร์อย่าง Thomas Hawk เจ้าของบล็อก Thomas Hawk?s digital connection
ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า
?There is just no way I?m buying that one. Nice try though Sony. I?m sure the reader?s probably just fine ?but? no way is it sexier than a librarian.?

หากถามผมว่า Sony e-Book Reader สวยมั้ย ผมคงตอบว่า “งั้นๆ แหละครับ
แต่ถ้ามองในเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถผมว่าโอเคในระดับนึงเลยนะครับ

ความสามารถของ Sony e-Book Reader เช่น
– รองรับไฟล์ e-book / ภาพ / เสียง
– สามารถอ่านได้ 7500 หน้าต่อการชาร์ทไฟหนึ่งครั้ง
– สามารถโหลดหนังสือได้ผ่านทาง เว็บ connection

เอาเป็นว่าเรื่องนี้ผมขอจบตรงที่เรื่องบางเรื่องเราคงวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ได้
เช่น กรณีดังกล่าวที่เอาสิ่งของมาวัดกับคน โอเครูปลักษณ์บางทีมันก็ดูดีนะครับ
แต่ผมให้แง่คิดนิดนึงว่า สิ่งของอาจจะสวยงามแต่มันก็ไม่มีหัวใจที่รับรู้ความรู้สึกหรอกนะครับ

Sony e-Book Reader สวยก็จริงแต่ในแง่ของการบริการมันไม่สามารถบริการด้วยใจเหมือนบรรณารักษ์ได้นะครับ
ดังนั้นผมก็ขอสรุปว่ายังไงบรรณารักษ์ก็บริการได้ดีกว่าสิ่งของนะครับ

ภาพประกอบจาก http://www.sonyelectronicscommunity.com/sony/blog_post/?contentid=9223157316544538769

สร้างภาพศิลปะจาก twitter แบบง่ายๆ

วันนี้ผมมีของเล่นใหม่มาให้เพื่อนๆ ได้เล่นกัน นั่นก็คือ Twitter Mosaic
หลักการก็ง่ายๆ ครับ คือ การนำรูปเพื่อนๆ ของคุณใน twitter มาเรียงต่อกันเป็นภาพ Mosaic

twittermosaic

วิธีเล่นก็ง่ายๆ ครับ แค่คุณพิมพ์ชื่อ twitter ของคุณในช่อง Username
เช่น ผมพิมพ์ชื่อของผมในช่อง ?ylibraryhub?

จากนั้นก็เลือกรูปเพื่อนๆ ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
– Show Twitter followers
– Show Twitter friends

จากนั้นก็กดตกลงได้เลยครับ (ตัวอย่างที่ผมโชว์ด้านล่างเป็นแบบ follower นะครับ)

Get your twitter mosaic here.

เพื่อนๆ สามารถเอารูปที่โชว์แบบนี้ไปลงและผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกได้นะครับ เช่น

twittermosaicproduct

เพื่อนๆ ว่าโอเคมั้ยครับ ยังไงก็ลองเล่นและอัพเดทบล็อกของเพื่อนๆ มาให้ผมดูบ้างหล่ะ

วันนี้ก็ขอตัวไปหาของเล่นอื่นๆ ก่อนนะครับ

สไลด์ที่น่าสนใจเรื่อง Open Systems ในห้องสมุด

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้อัพเดทในส่วนของเรื่อง OSS4Lib
วันนี้ขอแก้ตัวด้วยการอัพเดทเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง open open ในห้องสมุดหน่อยแล้วกัน

opensystem

วันนี้ผมเจอสไลด์ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Open Systems ในห้องสมุด
ซึ่งเจ้าของสไลด์ชุดนี้ คือ Stephen Abram ซึ่งเป็นเจ้าของบล็อก Stephen?s Lighthouse.

บล็อกเกอร์ท่านนี้เป็น Vice President of Innovation ของ SirsiDynix
(SirsiDynix ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งระบบ)

ในสไลด์ชุดนี้ได้แนะนำเรื่อง Open Systems ในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะเรื่องของ Cloud Computing ตั้งแต่ความหมายไปจนถึงแหล่งที่รวบรวม API ต่างๆ
แง่คิดในเรื่องของประสบการณ์และมุมมองแบบเดิมๆ จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
เพื่อให้ระบบต่างๆ ในห้องสมุดผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเต็มที่

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านดูนะครับ สไลด์ชุดนี้มีทั้งหมด 104 หน้า
ซึ่งสาระความรู้มีเพียบแน่นอน ถ้าเพื่อนๆ สนใจสไลด์ชุดนี้ก็สามารถ download ได้ที่
http://www.sirsidynix.com/Resources/Pdfs/Company/Abram/20091023_OnlineUK.pdf