แนะนำห้องอ่านหนังสือชุมชนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วันนี้ผมขอแนะนำห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งใหม่เพื่อให้เพื่อนๆ รู้จักดีกว่า
ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้จัดสร้างและบริหารงานโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) นั่นเอง

sac-reading-room

ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้ให้บริการด้านใดบ้าง
– หนังสือ
– วารสาร
– หนังสือพิมพ์
– วีดีโอ
– อินเทอร์เน็ต
– ข้อมูลตลิ่งชันศึกษา
– หนังสือด้านคุณธรรม

ใครๆ ก็สามารถเข้าใช้บริการที่นี่ได้ครับ และไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย
บรรยากาศที่เย็นสบาย สื่อที่ทันสมัย บริการที่น่าประทับใจ แบบนี้ต้องมาลองครับ
กิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านที่นี่ก็จัดเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องอีก เยี่ยมไปเลยใช่มั้ยครับ

ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552
โดยให้บริการในวันจันทร์ ? ศุกร์ เวลา 7.00 ? 18.00 น. และวันเสาร์ เวลา 8.00 -17.00 น.

เอาเป็นว่าใครที่สนใจหรือว่างๆ อยากอ่านหนังสือก็สามารถแวะไปได้ที่
ห้องอ่านหนังสือชุมชนหน้าศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรแถวๆ ตลิ่งชันนะครับ

ใครที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อได้ที่ 02-8809429 ต่อ 3101

ปล.เรื่องนี้ผมได้ดองไว้มาหลายเดือนแล้วไม่ว่างที่จะเขียนแนะนำ ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งครับ

ไปดูรูปภาพสวยๆ ของห้องอ่านหนังสือชุมชนกันหน่อยดีกว่า

[nggallery id=22]

มีอะไรในห้องสมุดมารวย

ไม่ได้ไปเที่ยวห้องสมุดมานาน วันนี้ผมจึงขอหยิบแผ่นพับห้องสมุดแห่งหนึ่งมาอ่าน
แล้วก็ขอเขียนเล่าเรื่องห้องสมุดแห่งนี้ขึ้นมา ห้องสมุดแห่งนี้คือ “ห้องสมุดมารวย” นั่นเอง

maruey-library

“ห้องสมุดมารวย” แต่เดิมมีชื่อว่า “ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518
โดยเน้นหนังสือและสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเงิน การออม การลงทุน ตลาดหุ้น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นห้องสมุดมารวยในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

สำหรับการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดจาก ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็น ห้องสมุดมารวย
มีแนวคิดในการปรับปรุงห้องสมุดทั้งกายภาพและบริการให้เข้าสู่ความเป็น ห้องสมุดเพื่อคนรุ่นใหม่สไตร์ Modern Library นี้
เกิดขึ้นจากแนวคิดของ คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 9

ภายในห้องสมุดมารวยมีการตกแต่งบรรยากาศในลักษณะที่เป็นห้องสมุดแห่งความทันสมัย และดูน่าใช้บริการ
ซึ่งภายในห้องสมุดมารวยนี้ มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิเช่น
– คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูล
– อินเทอร์เน็ตไร้สาย (wifi)
– มุมนันทนาการ
– เสวนาวิชาการ
– มุมดูหนังฟังเพลง
– มุมเกมลับสมอง
– ร้านกาแฟ
– ร้านหนังสือ settrade.com
– และอื่นๆ

และที่สำคัญที่ผมชอบ คือ เรื่องเวลาเปิดและปิดบริการครับ
เนื่องจากที่นี่ไม่มีวันหยุดเลย แม้แต่วันเดียว และเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.30 – 23.00 น.
และในวันศุกร์ เสาร์จะเปิดในเวลา 8.30 – 24.00 น.
เป็นยังไงกันบ้างครับ มีที่ไหนที่ทำได้อย่างนี้มั้ยครับ

เอาเป็นว่า แนะนำให้ลองเข้าไปชมดู แล้วจะรู้ว่าห้องสมุดดีๆ ยังมีอีกเยอะในเมืองไทย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมลองเข้าไปที่เว็บ www.maruey.com

พาเที่ยวพี่น้องของห้องสมุด : มิวเซียมสยาม

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ห้องสมุดแต่อย่างน้อยที่ๆ ผมจะพาไปเที่ยววันนี้ก็เป็นพี่น้องของห้องสมุดอยู่ดี
สถานที่แห่งนั้น นั่นก็คือ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า มิวเซียมสยาม

siam-museum

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมิวเซียมสยาม
ที่ตั้ง เลขที่ 4 ถนนสนามไชย พระนคร กรุงเทพฯ 10200
ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 225 2777
เว็บไซต์ : http://www.ndmi.or.th
เปิดทำการ : วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น.

เริ่มจากการเดินทางมาที่มิวเซียมสยาม
ผมเลือกใช้การเดินทางด้วยเรือเจ้าพระยา โดยขึ้นจากท่าสะพานตากสินแล้วมาขึ้นที่ท่าราชินี
เดินออกจากท่าราชินีตรงออกมาจะพบกับสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังเดิน
เดินผ่านสถานีตำรวจมานิดเดียวก็ถึงมิวเซียมสยามแล้ว (สะดวกดีจัง)

ภายในอาคารนิทรรศการถาวรมี 3 ชั้น และแบ่งออกเป็นส่วนๆ
แนะนำว่าให้เดินชมตามลำดับที่ทางมิวเซียมสยามจัดไว้
เพราะว่าจะเข้าใจเรื่องราวได้เป็นลำดับๆ ต่อไป

เรื่องราวในมิวเซียมสยามแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้ (ให้เดินชมตามลำดับดังนี้)
1. เบิกโรง – ชั้น 1 (ส่วนนี้จะฉายหนังสั้นประมาณ 7 นาที เพื่อแนะนำตัวละครต่างๆ ในมิวเซียมสยาม)
2. ไทยแท้ – ชั้น 1 (รู้ได้ยังไงว่าคนไหนไทยแท้)
3. เปิดตำนานสุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ตำนานของสุวรรณภูมิ อาณาจักรมีมาเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อน)
4. สุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ความเป็นอยู่ของผู้คนในสุวรรณภูมิ)
5. พุทธิปัญญา – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา)
6. กำเนิดสยามประเทศ – ชั้น 3 (เล่าเรื่องอาณาจักรต่างๆ รวมถึงตำนานท้าวอู่ทอง)
7. สยามประเทศ – ชั้น 3 (ความรุ่งเรือง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงศรีอยุธยา)
8. สยามยุทธ์ – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวการรบ ทหาร และการทำสงคราม)
9. แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ – ชั้น 2 (การทำแผนที่ทางภูมิศาตร์ต่างๆ)
10. กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา – ชั้น 2 (เป็นการเปรียบเทียบสถานที่่ต่างๆ ที่มีเหมือนกันในกรุงศรีอยุธยา และกรุงเทพ)
11. ชีวิตนอกกรุงเทพฯ – ชั้น 2 (วิถีชีวิตของเกษตรกร การละเล่นแบบไทยๆ)
12. แปลงโฉมสยามประเทศ – ชั้น 2 (การเข้ามาของประเทศทางตะวันตก นำวิถีชีวิตเข้ามาที่สยามประเทศ)
13. กำเนิดประเทศไทย – ชั้น 2 (ห้องที่เราสามารถเป็นนักข่าวยุคอดีตได้ น่าสนใจมาๆ เลย)
14. สีสันตะวันตก – ชั้น 2 (อยากรู้ว่าสถานบันเทิงที่ชาวตะวันตกเอาเข้ามาแบบไหน ลองดูห้องนี้สุดยอดอีกห้อง)
15. เมืองไทยวันนี้ – ชั้น 2 (เป็นห้องที่รวมภาพต่างๆ ของไทยมากมายผ่านจอทีวีมากมาย)
16. มองไปข้างหน้า – ชั้น 2 (เป็นห้องที่ย้ำว่าอนาคตของไทยจะเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะทำอะไร)

นี่คือส่วนของอาคานิทรรศการถาวรทั้งหมด เห็นหัวข้อแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ
น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะครับ ผมบอกได้คำเดียวว่า ?ที่นี่ลบภาพพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ ที่ผมรู้จักเลยก็ว่าได้?
เห็นแล้วก็อยากประกาศให้ทุกคนมาดูมากๆ เลย แล้วคุณจะรู้จักเมืองไทยของพวกคุณมากขึ้น

วันนี้ผมก็ขอพาชมแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้วันหลังผมจะพาไปเจอะลึกพิพิธภัณฑ์ที่อื่นๆ อีก

ปล. จริงๆ แล้วนอกจากอาคารนิทรรศการถาวรแล้วยังมีอีกหลายจุดที่น่าสนใจ
เช่น นิทรรศการชั่วคราว ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหาร ลานกิจกรรม ฯลฯ
แต่เนื่องจากเวลาของผมมีจำกัด จึงขอยกยอดอาไว้ไปใหม่คราวหน้าแล้วกันนะครับ

ชมภาพมิวเซียมสยามทั้งหมด

[nggallery id=9]

พาชมห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนที่จังหวัดเชียงใหม่กัน
โดยห้องสมุดแห่งนี้ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)

Read more