DDC23 กำลังจะมา ห้องสมุดของคุณเตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

จั่วหัวว่า DDC23 แบบนี้กลัวเพื่อนๆ บางส่วนจะไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าขออธิบายสักนิดแล้วกัน
DDC = Dewey Decimal Classification คือ การจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
ส่วนตัวเลข 23 หมายถึงครั้งที่ปรับปรุง (เรียกง่ายๆ ว่าการอัพเดทข้อมูลต่างๆ ในระบบทศนิยมดิวอี้)

ช่วงนี้ในวงการบรรณารักษ์ต่างประเทศมีการพูดถึงเรื่อง DDC23 มากขึ้น
สังเกตได้จาก WebDewey 2.0 ที่ OCLC ให้บริการอยู่มีการเพิ่มเมนูใหม่ DDC23!

หน้าจอของ WebDewey

คงอีกไม่นานแล้วสินะที่เราจะได้ใช้หนังสือคู่มือการให้เลขหมู่ฉบับใหม่กันสักที

มีอะไรใหม่ใน DDC23 บ้าง
– มีการปรับปรุงข้อมูลในหมวด 004-006 หมวดคอมพิวเตอร์ซึ่งหมวดหมู่ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องปรับบ่อยมากเนื่องจากเทคโนโลยีไปค่อนข้างเร็ว
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับนิกายออร์ธอด็อกซ์ และศาสนาอิสลาม
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 340 ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของพลเมืองมากขึ้น
– ปรับปรุงข้อมูลในหมวด 370 และลงรายละเอียดเกี่ยวกับระดับการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
– อัพเดทข้อมูลหมวดหมู่อาหารและเครื่องแต่งกาย
– อัพเดทข้อมูลในหมวด 740 เรื่องของงานกราฟฟิคและงานประดิษฐ์
– เพิ่มและขยายเลขหมู่ในกลุ่มภาพยนตร์และวีดีโอที่หมวด 777
– ขยายเลขหมู่ที่เกี่ยวกับกีฬา outdoor
– เพิ่มและขยายเลขในตาราง 2 เพื่อให้รองรับกับเลขหมู่ทางประวัติศาสตร์ได้ (930-990)
– ปรับปรุงช่วงเวลาในหมวดหมู่ประวัติศาสตร์ (930-990)


เป็นยังไงกันบ้างครับ กับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผลที่จะต้องตามมาแน่นอนคือ

1. สายการศึกษา ต้องเปลี่ยนตำราเรียนกันใหม่หรือปล่าว หรือถ้าไม่เปลี่ยนมีวิธีการอธิบายและสอนนิสิตในเรื่องนี้อย่างไร
2. สายการปฏิบัติ ต้องโละคู่มือเล่มเก่าทิ้งหรือปล่าว หรือว่าจะคงใช้ DDC22 ตลอดไป แล้วถ้าเปลี่ยนมาใช้ DDC23 หนังสือเดิมที่ Catalog บางกลุ่มจะต้องเปลี่ยนด้วยหรือไม่

ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มจะโล๊ะกันแล้ว DDC22

ในเมืองไทยเอง ผมว่าถ้าให้ห้องสมุดตอบแบบตรงๆ ผมคงต้องช็อคกับคำตอบแบบนี้แน่ๆ “ไม่เห็นจะเดือดร้อนเลย เรายังมี หนังสือดีดีซี22 ที่อาจารย์พวาแปลอยู่ เอาไว้ถ้าอาจารย์แบบเป็น ดีดีซี23 เราก็ค่อยเปลี่ยนแล้วกันเนอะ”

เอาเป็นว่าก็ฝากคำถามและแง่คิดนี้เอาไว้แล้วกันครับ เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดเป็นครั้งแรกสักหน่อย สมัยที่ DDC21 ไป DDC22 ทำอย่างไรกันไว้ ก็ลองเอามาปรับตัวกันในสถานการณ์แบบนี้ดูแล้วกันนะครับ

รายละเอียดจริงๆ แล้ว DDC23 ยังมีการเปลี่ยนอะไรอีกเยอะมากเลย ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตมได้จาก http://ddc.typepad.com นะครับ

Protected: ตารางเลขผู้แต่งหนังสือภาษาไทยออนไลน์สำหรับบรรณารักษ์

This content is password protected. To view it please enter your password below:

อักษรที่หายไป กับ การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี (LC)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตัวอักษรที่ไม่ได้ใช้ในการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี
ยังมีคนเข้ามาถามผมอยู่เรื่อยๆ ซึ่งตัวอักษรดังกล่าวได้แก่ I O W X Y ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นหมวดหลัก
คำถามนี้ ผมเองก็ตอบยากนะเพราะไม่ได้เป็นคนคิดการจัดหมวดหมู่ แต่เอาเป็นว่าผมขอเสนอความคิดเห็นส่วนตัวแล้วกันนะครับ

lc-call

ในระบบการจัดหมวดหมู่แบบ LC ? Library of Congress Classification
คือ จัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา มีการจัดหมวดหมู่โดยใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษในการกำหนด
แต่มีอักษรอยู่เพียง 5 ตัวที่ไม่มีการใช้ในการจัดระบบหมวดหมู่หนังสือ นั่นคือ
ตัวอักษร I, O, W, X, Y

ตัวอักษร W ตัวนี้มีการใช้ในการจัดหมวดหมู่ แบบ NLM (National Library of Medicine classification)
หรือการจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดด้านการแพทย์ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในการใช้ตัวอักษรนี้
ใน LC จึงย้ายหมวด W ไปอยู่ในหมวด R (Medicine)แทน

– ส่วนตัวอื่น I, O, X, Y เป็นตัวอักษรที่เก็บไว้เพื่อการเพิ่มหมวดหมู่ในอนาคต (อันนี้เรียนมาอาจารย์บอกอย่างนั้นนะ)
เอาเป็นว่าอีก 4 ตัวนี้ เอาไว้รองรับในอาคตแล้วกันนะ

เอาเป็นว่าผมคงตอบคำถามได้แค่นี้นะครับ ไม่รู้ว่าจะชัดเจนแค่ไหน
ซึ่งหากเพื่อนๆ คิดว่ามีคำตอบอื่นๆ ก็สามารถนำมาเล่าสู่กันฟังได้นะครับ

เทคนิคการ catalog หนังสือด้วยวิธีง่ายๆ

งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หรืองาน catalog เป็นงานที่สำคัญอีกงานหนึ่งในห้องสมุด
เนื่องจากเป็นงานที่เกี่ยวกับการให้เลขหมู่และหัวเรื่องของหนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุด

cataloging

หนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุดจะถูกค้นหาได้ง่ายหรือยากก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการในส่วนนี้
ดังนั้นผมจึงให้ความสำคัญกับงาน catalog เช่นเดียวกับการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด

เอาเป็นว่าผมขอพูดถึงปัญหาที่พบของงาน catalog ให้เพื่อนๆ ฟังก่อนนะครับ

หลักๆ ก็ไม่มีอะไรมากหรอก แค่เพื่อนๆ เคยสังเกตมั้ยครับว่า
“หนังสือเล่มนึงอาจจะมีการถูก catalog ไม่เหมือนกัน”
เช่น หอสมุดแห่งชาติให้เลขหมู่อย่างหนึ่ง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ

ดังนั้นหนังสือ ก. จึงมีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่เหมือนกัน

เอางี้ เวลาเพื่อนๆ ไปห้องสมุด ก แล้วพาหนังสือ และเจอหนังสือที่ต้องการในชั้นหนังสือทั่วไป
แต่เวลาไปห้องสมุด ข เดินไปที่ชั้นหนังสือเดียวกันกลับไม่เจอ ทำให้ต้องเสียเวลาค้นหาใหม่
และพบว่าหนังสือเล่มนั้นไปอยู่อีกชั้นหนึ่งทั้งๆ ที่รู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง

ดังนั้นหลายๆ ครั้งที่ไปพบกับเพื่อนๆ ในห้องสมุดที่ต่างๆ ผมจึงแนะนำให้เพื่อนๆ ใช้งาน copy catalog
เพื่อที่จะช่วยลดเวลาในการทำงานให้เพื่อนๆ และที่สำคัญคือ เพื่อปรับข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือเล่มใหม่ๆ
ให้มีข้อมูลบรรณานุกรมที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการให้เลขหมู่และหัวเรื่อง

หลักการง่ายๆ คือ เข้าไปที่เว็บไซต์สหบรรณานุกรม แล้วค้นหาหนังสือดังกล่าว แล้วก็ copy
ง่ายไปหรือปล่าวครับ —> ไม่ง่ายหรอกครับ เพราะเมื่อ copy มาแล้วเพื่อนๆ จะใช้ตามนั้นเลยคงไม่ได้

เพื่อนๆ จะต้องมาพิจารณาข้อมูลรายการบรรณานุกรมเล่มนั้นจริงๆ จังๆ สักหน่อย
เพราะบางแห่งก็ใช้การจัดหมวดหมู่ที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางที่ใช้แอลซี บางที่ใช้ดิวอี้
ดังนั้นเพื่อนๆ ต้องดูรายละเอียดเหล่านี้ให้ดีๆ ด้วยนะครับ

สำหรับเว็บไซต์ที่ผมจะแนะนำเพื่อการ Copy Catalog มีดังนี้
– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://catalog.loc.gov

lc

– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://www.oclc.org/worldcat/

oclc

– สำหรับหนังสือภาษาไทย –> http://uc.thailis.or.th/

thailis

นอกจากนี้ก็ยังมีเว็บไซต์ของห้องสมุดต่างๆ โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของไทย

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปใช้กันดูนะครับ แต่ผมก็ขอบอกไว้ก่อนว่า
ในเว็บไซต์เหล่านี้ก็ใช่ว่าจะมีหนังสือครบทุกเล่ม ดังนั้นเล่มไหนที่ไม่มีเพื่อนๆ ก็ต้องลองประยุกต์กันเองนะครับ