เมื่อ fail whale มาอยู่ในห้องสมุด

ภาพที่ท่านจะได้เห็นต่อไปนี้ หลายๆ คนคงจะบอกว่ามันคุ้นๆ นะ
ครับ คุ้นๆ ว่าเป็นสัญลักษณ์ Fail whale แห่ง Twitter นั่นเอง

fail-whale-library

สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่เข้าใจว่า twitter คืออะไร
ลองย้อนกลับไปอ่านในเรื่อง “Twitter + Librarian = Twitterian” นะครับ

คนที่เล่น Twitter ประจำเมื่อเห็นภาพนี้คงรู้ว่านั่นหมายความว่า
Twitter ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราวนั่นเอง หรือพูดง่ายๆ ว่ากำลังเดี้ยง

fail_whale-copy

แต่ภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ มันเป็นภาพ fail whale ที่ติดอยู่ภายในห้องสมุดอ่ะครับ
แถมด้วยข้อความภาษาอังกฤษอีกสักประโยคใหญ่ๆ ว่า

“We?re really sorry about the lack of tables & Chairs! We hope that things will be back to normal by about 3pm today”

เอางี้ดีกว่าผมขอแปลเป็นภาษาไทยให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน มันแปลว่า

“พวกเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ตอนนี้โต๊ะและเก้าอี้มีผู้ใช้งานเต็มจำนวนไม่เหบลือที่ให้คุณนั่ง พวกเราหวังว่าเก้าอี้และโต๊ะจะให้บริการได้ตามปกติในช่วงบ่ายสามโมงของวันนี้นะครับ”

พอได้อ่านก็เลยแอบขำอยู่นิดๆ ว่า บรรณารักษ์ที่นี่ต้องเป็นคนติด twitter ระดับนึงแน่ๆ
ถึงได้กล้าเล่นมุขนี้ในห้องสมุดของตัวเอง แต่ยอมรับเลยครับว่าเยี่ยมจริงๆ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะลองเอาไอเดียนี้ไปติดที่ห้องสมุดของผมบ้างนะครับ
ผู้ใช้ก็คงจะงงกันไปตามๆ กัน อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/timothygreigdotcom/2643190467/

โปรโมทห้องสมุดใน Facebook ดีกว่า

ช่วงนี้กระแสการใช้งาน facebook กำลังมาแรงครับ
เท่าที่ผมสังเกตมีคนใช้งานfacebook ในเมืองไทยมากขึ้น
ดังนั้นห้องสมุดของพวกเราก็อย่าน้อยหน้ากันนะครับ เอาห้องสมุดของคุณไปอยู่ใน facebook กันเถอะ

library-facebook

การสร้าง account facebook มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ…เราจะเอาข้อมูลห้องสมุดอะไรไปใส่ใน facebook บ้างหล่ะ???

วันนี้ผมไปอ่านเรื่องนึงมา เห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นนี้พอดี เลยเอามาให้อ่านกันครับ ชื่อเรื่องว่า
10 Great Things to Include on Your Library?s Facebook Fan Page

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงข้อมูล 10 อย่างที่ควรจะอยู่ในหน้า Facebook
เราลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

ข้อมูล 10 อย่างที่เราควรเอาลงใน Facebook มีดังนี้

1. photos of your library.
รูปของห้องสมุดคุณ (อันนี้คงไม่ยากครับ ถ่ายมุมสวยๆ สัก 10 รูปกำลังดี)

photo-fb

2. a library video tour or other promotional videos.
วีดีโอแนะนำห้องสมุดของคุณ (อันนี้อาจจะยากสักนิดในการถ่ายวีดีโอ แต่ถ้ามีผมว่าน่าสนใจครับ)

3. a calendar of library events.
ปฏิทินกิจกรรมของห้องสมุดคุณ (พยายามอัพเดทตลอดนะครับ คนเข้ามาจะได้รู้ว่าเรา ตั้งใจทำ)

4. a rss feed of your library blog.
feed ข้อมูลของเนื้อหาบนเว็บของคุณมาที่นี่ด้วยก็จะดีมากเลย

5. information about how to contact your library.
อันนี้ลืมไม่ได้เลยนะครับ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ เว็บไซต์? ฯลฯ

6. library hours
วันเวลาที่ให้บริการของห้องสมุด ข้อมูลนี้จำเป็นจริงๆ นะครับ เพราะว่าเผื่อผู้ใช้อยากจะมาห้องสมุดจะได้เช็คเวลาก่อนว่าปิด หรือ เปิด

7. lib guides widget
เครื่องมือแนะนำการใช้งานห้องสมุด (อันนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดมากขึ้นนะครับ)

8. a survey for your patrons to answer about your library.
แบบสำรวจการใช้งาน หรือแบบสำรวจอื่นๆ ที่ห้องสมุดต้องการทำสำรวจ (แนะนำว่าไม่ต้องสำรวจเยอะนะ)

9. information about new book arrivals

แนะนำหนังสือมาใหม่ อันนี้จะทำให้ผู้ใช้อัพเดทและรู้ว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่เล่มไหนบ้าง

10. links to popular library databases.

เว็บแนะนำ ถ้าได้เว็บด้านฐานข้อมูลจะยิ่งดีมากๆ เลยนะครับ

เอาเป็นว่าข้อมูล ทั้ง 10 อย่างที่ได้กล่าวมา ผมเห็นด้วยหมดเลยนะครับ
เพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ที่ออนไลน์สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
ทั้งในเรื่องของกิจกรรม แบบสำรวจ แนะนำหนังสือใหม่ และเว็บไซต์แนะนำ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็เข้าไปสมัคร account ของ facebook กันได้นะครับที่
http://www.facebook.com/

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975#/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975?v=wall

Twitter + Librarian = Twitterian

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำก่อนว่า Twitter คืออะไร
เพราะผมเชื่อว่าบรรณารักษ์อีกหลายคนคงยังไม่รู้จักเครื่องมือชิ้นนี้อย่างแน่นอน

twitter Read more

เมื่อ Libraryhub ได้ Pagerank 4/10

บล็อกหรือเว็บไซต์ของเพื่อนๆ มีค่า pagerank กันเท่าไหร่บ้างครับ
วันนี้ผมขอเล่าเรื่องค่า pagerank ที่ผมได้รับจาก google แล้วกัน

google-page-rank-libraryhub

ความหมายของ pagerank (คัดลอกมาจาก http://www.makemany.com)
ค่า pagerank คือ วิธีการจัดลำดับความสำคัญเว็บเพจทั่วโลก จาก Google โดยให้ชื่อว่า Google Page Rank การวัดค่าการจัดลำดับความสำคัญนี้ Google ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขสูงเท่าไหร่ ค่า Page Rank หรือ PR จะยิ่งสูงเท่านั้น และเป็นเหตุให้ได้รับการจัดลำดับที่ดีกว่าจาก Google.

สำหรับ Libraryhub เปิดไปได้ยังทันจะสามเดือนแต่ก็ได้ Pagerank มา 4/10

pr

ทำให้ผมมีกำลังใจในการเขียนบล็อกขึ้นอย่างมาก (แต่กำลังใจของเพื่อนๆ มีค่ามากกว่านะ)
ค่า pagerank จะทำให้ Google เข้ามาจัดทำ Index ของบล็อกผมเพิ่มขึ้น
และยังช่วยให้คำสำคัญในบล็อกของผมค้นได้เจอเยอะขึ้น ตำแหน่งก็ดีขึ้น

ที่สำคัญก็คือ “เพื่อนๆ จะเจอผมใน Google มากขึ้นและง่ายขึ้น”
ช่วยให้ผมมีสมาชิกใหม่ๆ และร่วมกันสร้างเครือข่ายมากด้วย

เพื่อนๆ สามารถเช็คค่า pagerank ได้ที่
http://www.prchecker.info/check_page_rank.php

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่า pagerank คืออะไร ลองอ่านได้จากเว็บไซต์ด้านล่างนี้นะครับ

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ)
http://en.wikipedia.org/wiki/PageRank
http://www.webworkshop.net/pagerank.html

Pagerank คืออะไร (เวอร์ชั่นภาษาไทย)
http://truehits.net/faq/webmaster/seo/page_rank.php
http://seo.siamsupport.com/blog/pagerank/

ก่อนจากกันวันนี้ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่เขียนบล็อกทุกคนนะครับ
ขอให้ได้ pagerank เพิ่มขึ้นกันทั่วหน้าเลยนะครับ

แนะนำแหล่งสารสนเทศออนไลน์

แหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่ให้บริการสารสนเทศฟรีมีมากมาย
วันนี้ผมจะนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
เพื่อว่า เพื่อนๆ จะสามารถนำไปใช้ในเรื่องบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้

onlineinformation

แหล่งสารสนเทศออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ เช่น
– สารานุกรมออนไลน์
– ฐานข้อมูลออนไลน์
– เว็บไซต์บริการตอบคำถาม (FAQ)
– วารสารวิชาการออนไลน์
– สารสนเทศชี้แหล่ง
– เว็บไซต์สารสนเทศเฉพาะด้านออนไลน์
– เว็บไซต์องค์กรวิชาชีพ

และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่องค์ความรู้

ลองไปดูกันนะครับ ว่าผมแนะนำเว็บไหนบ้าง

1 Encyclopedia Britannica – http://www.britannica.com

2 Encarta – http://www.encarta.msn.com

3 First Monday – http://firstmonday.org

4 IBM Technical Journals – http://www.almaden.ibm.com/journal

5 Chicago Journal of Theoretical Computer Science – http://www.cs.uchicago.edu/research/publications/cjtcs

6 FreePatentsOnline.com – http://www.freepatentsonline.com

7 HighWire — Free Online Full-text Articles – http://highwire.stanford.edu/lists/freeart.dtl

8 BUBL Information Service – http://bubl.ac.uk

9 ERIC – Education Resources Information Center – http://www.eric.ed.gov

10 W3Schools – http://www.w3schools.com

11 NECTEC Courseware – http://www.nectec.or.th/courseware

12 LearnSquare Thailand Opensource e-Learning Management System – http://www.learnsquare.com/index.php?mod=Message&op=aboutus

13 IEEE / IEE Electronic Library (IEL) – http://ieeexplore.ieee.org/Xplore/guesthome.jsp

14 Blackwell – http://www.blackwell-synergy.com/servlet/useragent?func=showHome

15 Institute of Physics – http://www.iop.org

16 Aardvark – http://www.aardvarknet.info/user/aardvarkwelcome

17 Agricola – http://www.nal.usda.gov

18 Arxiv.org E-Print Archive – http://arxiv.org

19 DOAJ= Directory of Open Access Journals – http://www.doaj.org

20 Issues in science & Technology Librarianship – http://www.library.ucsb.edu/istl/?

21 iToc – http://dbonline.igroupnet.com/itoc

22 Librarian’s Index – http://lii.org/search

23 National Human Genome Research Institute – http://www.genome.gov

24 National Science Foundation – http://www.nsf.gov

25 scirus – http://www.scirus.com/srsapp

26 Thai Patents – http://www.ipic.moc.go.th

27 Computers in Libraries – http://www.infotoday.com/cilmag/default.shtml

28 D-Lib Magazine – http://www.dlib.org

29 ฐานข้อมูล NetLibrary – http://www.netlibrary.com

30 Cambridge Journals Online (CJO) – http://journals.cambridge.org/action/login

31 Energy Citations Database (ECD) – http://www.osti.gov/energycitations

32 FreeFullText.com – http://www.freefulltext.com

33 HIV/AIDS Information – http://sis.nlm.nih.gov/hiv.html

34 POPLINE – http://db.jhuccp.org/ics-wpd/popweb

35 J-STAGE? – http://www.jstage.jst.go.jp/browse

36 NASA Astrophysics Data System (ADS) – http://adswww.harvard.edu

37 Scitation – http://scitation.aip.org

38 Windows Live Academic – http://academic.live.com

39 Answers.com – http://www.answers.com

40 Infoplease – http://www.infoplease.com

41 Database Dev Zone – http://www.devx.com/dbzone

42 Religion Online – http://www.religion-online.org

43 UNESCO Documentation Resources – http://unesdoc.unesco.org/ulis/index.html

44 Free online periodicals in social and human sciences – Full text specialized articles? – http://www.unesco.org/shs/shsdc/journals/shsjournals.html

45 EContentMag.com – http://www.ecmag.net

46 International Monetary Fund (IMF) Publications – http://www.imf.org/external/pubind.htm

47 Documents & Reports – All Documents? World Bank – http://www-wds.worldbank.org

48 world bank e-Library – http://www.worldbank.catchword.org

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อเว็บไซต์ทั้ง 48 รายชื่อ
ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะนำเว็บไซต์เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานได้นะครับ

ถ้ามีเว็บไหนที่น่าสนใจเพิ่มเติมผมจะนำมาเพิ่มให้วันหลังนะครับ
และถ้าเพื่อนๆ อยากจะแนะนำก็สามารถโพสลงในคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ได้นะครับ

เปิดเว็บห้องสมุดสำหรับคนขี้เกียจ

วันนี้ขอแนะนำคำว่า LazyLibrary ให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
หากเพื่อนๆ แปลกันแบบตรงๆ คำว่า LazyLibrary คงจะหมายความว่า ห้องสมุดขี้เกียจ
แต่จริงๆ แล้วคำว่า LazyLibrary เป็นเพียงชื่อเว็บไซต์ต่างหาก

lazylibrary

ไปดูกันว่าตกลงมันเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร

LazyLibraryเป็นเว็บไซต์สำหรับการค้นหาหนังสือ เพื่อสั่งซื้อหนังสือมาอ่านครับ
ดูผิวเผินเพื่อนๆ ก็จะนึกถึง Amazon นั่นเอง

โดยหลักการสืบค้นหนังสือ ก็เหมือนๆ กับ Amazon นั่นแหละครับ
แต่แตกต่างกันที่แนวความคิด และไอเดียของการทำเว็บไซต์

ซึ่งในเว็บไซต์ LazyLibrary ได้พูดถึงแนวความคิดว่า

“where you can find books on any topic without having to worry about high page counts. If it’s over 200 pages, you won’t even see it. Read all about anything, in less time, for (usually) less money.”

ปกติ เวลาค้นหาหนังสือเพื่อทำรายงานสักเรื่อง คุณอาจจะต้องกังวลเกี่ยวกับจำนวนหน้าของหนังสือที่เยอะเหลือเกิน และถ้าหนังสือเล่มนั้นเกิน 200 หน้า คุณก็คงไม่อยากเห็นมันเช่นกัน ดังนั้นเว็บนี้จะช่วยคุณหาหนังสือที่ไม่เกิน 200 หน้า เพื่อให้คุณใช้เวลาที่น้อยกับเรื่องนั้นๆ และมีราคาที่ถูก

เจ๋งดีมั้ยครับ หาหนังสือที่มีจำนวนไม่เกิน 200 หน้า

lazylibrary-search

หลักการค้นก็ง่ายๆ ครับ เพียงแค่ใส่หัวข้อที่เราต้องการหาลงไปในช่องค้นหา
ซึ่งหน้าตาก็ใช้งานง่ายเหลือกเกิน จากนั้นก็ค้นหาตามปกติ

เพียงเท่านี้เราก็จะเจอหนังสือที่ในหัวข้อที่เราต้องการ และที่สำคัญไม่เกิน 200 หน้าด้วย

ไอเดียปิดท้ายที่ได้จากการรีวิวครั้งนี้
บางทีถ้าห้องสมุดเอาฟีเจอร์แบบนี้มาใส่ในฐานข้อมูลหนังสือก็คงจะดีสินะครับ
เพราะบางทีผู้ใช้ก็ไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ สักเท่าไหร่
ผู้ใช้อาจจะอยากได้หนังสือเล่มเล็กๆ จำนวนไม่เกิน 200 หน้าก็ได้นะ

ในแง่ของการนำไปใช้ผมว่าไม่ยากหรอกนะครับ
เพราะในทางบรรณารักษ์จะมี tag ที่สำหรับใส่จำนวนหน้าอยู่แล้ว
ถ้าสมมุติเรานำ filter มาให้ผู้ใช้เลือกก็คงจะดี

เช่น ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 100 หน้า / 200 หน้า / 300 หน้า …

ก่อนจากกันวันนี้ อยากให้เพื่อนๆ เข้าไปลองเล่นเว็บไซต์นี้ดูนะครับ
แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่า บางสิ่งที่บังตาเราอาจจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดก็ได้

เว็บไซต์ Lazylibraryhttp://lazylibrary.com/

เรื่องของ Web 3.0 & Semantic

เรื่องของ web 3.0 กำลังจะเข้ามาใกล้เรามาขึ้นเรื่อยๆ แล้วนะครับ
ในประเทศไทยเพื่อนๆ อาจจะได้ยินคำว่า web 2.0 มาพอควรแล้ว
วันนี้ผมเลยขอนำเรื่องที่ใหม่กว่านั่นมาเสนอครับ ลองอ่านได้เลย

web30

ช่วงปลายปีนี้มีการประชุมเกี่ยวกับ Web3.0 มากมาย
ซึ่งจุดประสงค์ส่วนใหญ่ก็ คือ การกำหนดทิศทาง และมองแนวโน้มของเทคโนโลยีเว็บไซต์

Read more