กรณีศึกษา : การพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีน

จากวันก่อนที่ผมพูดถึงหนังสือเรื่อง “Digital Library Futures” ผมรู้สึกสนใจเกี่ยวกับบทความที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มากมาย วันนี้ผมขอยกตัวอย่างมาสักบทหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องกรณีศึกษาความสำเร็จของการดำเนินการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลของประเทศจีน

ชื่อบทความต้นฉบับ : To make a better digital library – some collaborative efforts in China
แปลเป็นภาษาไทย : การทำให้ห้องสมุดดิจิทัลดีขึ้น : ความพยายามในการสร้างความร่วมมือในประเทศจีน

ผมขอเก็บประเด็นต่างๆ จากบทความนี้มาเล่าให้ฟังนิดหน่อยแล้วกันครับ

เริ่มจากเรื่องของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลระดับประเทศของจีน ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยงานระดับสูงของจีนก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญมานานพอสมควรแล้วโดยจัดตั้งหน่วยงานต้นแบบและพัฒนามาจนถึงห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีนเลยทีเดียว

ประวัติความเป็นมาแบบย่อๆ มีดังนี้
– 1997 เริ่มจัดตั้งโครงการห้องสมุดดิจิทัลจีนต้นแบบขึ้น
– 1998 มีการจัดตั้ง CALIS (China Academic Library & Information System)
– 1999 มีการจัดตั้ง NSDL (National Science Digital Library)
– 2000 มีการจัดตั้ง NSTL (National Science and Technology Library)
– 2001 มีการจัดตั้งห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีน (National Digital Library of China)

หลังจากที่มีการจัดตั้งห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติจีนขึ้นมาแล้ว ทางการจีนก็ได้ทำความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริการในการจัดทำโครงการห้องสมุดดิจิทัลร่วมกันด้วย หรือที่เรียกว่า โครงการ CADAL (China-US Million Book Digital Library project)

ในช่วงเริ่มต้นของโครงการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัล ก็ย่อมมีอุปสรรคและปัญหาเช่นกัน โดยหลักๆ แล้ว จะเป็นเรื่องของการทำ Digitisation ซึ่งข้อมูลบางอย่างมีความซ้ำซ้อนกันจนทำให้เกิดปัญหา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของลิขสิทธิ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีก

สิ่งที่ต้องคิดเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในคลังข้อมูลของห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ นั่นคือ “มาตรฐานข้อมูล” ทางการจีนจึงได้รวบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเพื่อการพัฒนาโครงสร้างข้อมูลและชุดข้อมูลกลางขึ้น แล้วจัดตั้งเป็นคณะกรรมการกลางซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานดังนี้
– NLC (National Library of China)
– NCIRSP (National Cutural Information Resources Sharing Project)
– CALIS (China Academic Library & Information System)
– Shanghai Library
– NSL (National Science Library)
– Library of Party School of the Central Committee of C.P.C
– Library of National Defense University
– Zhejiang University Library

การประชุมเพื่อการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลและการให้บริการในจีน ดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้ง

บทสรุปของการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีน
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนควรมีการกำกับจากหน่วยงานระดับสูงในจีน
– โครงการห้องสมุดดิจิทัลเน้นการแบ่งปันความรู้และความร่วมมือกันสร้างความรู้
– โครงการห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติควรเปิดกว้าง (ไม่ใช่แค่สร้างโปรแกรม แต่ต้องพัฒนาโปรแกรมอื่นๆ ให้รองรับด้วย)
– ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติในจีนเน้นการสร้างชุมชนและความร่วมมือ

เอาเป็นว่าบทความนี้ก็น่าสนใจไม่น้อยเช่นกันครับ
บทความอื่นๆ จะเป็นอย่างไรไว้ผมจะสรุปมาให้อ่านอีกนะครับ

รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง

เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่ผมเขียนตั้งแต่ปี 2008 วันนี้กลับมานั่งอ่านรายงานที่ทำแล้วคิดถึง
ก็เลยขอนำข้อมูล “รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง” มาเล่าใหม่

ในปี 2008 ช่วงนั้นผมเรียน ป โท เทอมที่สี่ครับ หนึ่งในวิชาที่เรียน คือ “IT Project”
ซึ่งรายงานของวิชานี้เป็นรายงานกลุ่ม ให้เราศึกษาระบบงานของหน่วยงานที่ไหนก็ได้แล้วนำมาวิเคราะห์
นอกจากนี้ให้คิดโครงการใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับไอทีไปเสนอหน่วยงานแห่งนั้นๆ ด้วย

หน่วยงานที่ผมเลือก คือ สวนหนังสือเจริญกรุง
โครงการที่ผมทำชื่อ “การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง”
เนื่องจากการพัฒนาระบบห้องสมุดเป็นงานที่คนไอทีหลายๆ คนอยากจะทำ

การทำรายงานก็เริ่มจากการศึกษาข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดก่อนซึ่งจากการอ่านในเว็บไซต์เราได้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์ ดังนั้นจึงต้องลงพื้นที่เพื่อไปศึกษาถึงสถานที่จริง

วันนั้นผมกับเพื่อนๆ ก็เดินทางไปที่ สวนหนังสือเจริญกรุง
และเริ่มแบ่งงานกันทำ บางส่วนสัมภาษณ์บรรณารักษ์ บางส่วนสำรวจห้องสมุด บางส่วนก็จำลองเป็นผู้ใช้บริการ

การเก็บข้อมูลวันนั้นที่ไปสวนหนังสือเจริญกรุงก็นับว่าได้ข้อมูลที่ดี และเพียงพอต่อการวิเคราะห์ระบบเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็น นโยบาย, ปัญหา, กิจกรรม, การจัดหา, และความต้องการด้านไอที

เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ใจดีตอบให้ทุกข้อ โดยไม่มีบ่นเลย เลยต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้อีกครั้ง

เมื่อได้ข้อมูลแล้วผมก็นำข้อมูลมาทำรายงานและเตรียมนำเสนอ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมีดังนี้
– รายละเอียดทั่วไปขององค์กร
– การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการทำงานในปัจจุบัน (Cause and Effect Diagram)
– ที่มาของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (SWOT Analysis)
– วัตถุประสงค์โครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ขอบเขตของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ข้อกำหนดในการเลือกใช้เทคโนโลยี
– งบประมาณที่จัดเตรียมไว้
– Context Diagram ของระบบสารสนเทศ
– แผนการดำเนินงาน
– Work Breakdown Structure
– Hardware และ Software Specifications
– ข้อมูลทั่วไปของ Software
– การส่งมอบงาน
– เงื่อนไขการรับประกันระบบ
– การควบคุมคุณภาพของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การจัดการความเสี่ยงของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
– บทเรียนที่ได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– บทสรุปของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ

ในส่วนเนื้อหาผมไม่ขอนำมาลงในบล็อกนะครับเนื่องจากมันยาวมาก เดี๋ยวบล็อกผมจะยาวเป็นกิโลไปซะก่อน

หลังจากที่นำเสนอข้อมูลในชั้น เพื่อนๆ หลายๆ คนมาสอบถามเรื่องระบบห้องสมุดกันนอกรอบมากมาย
ซึ่งผมเองก็แปลกใจและไม่คิดว่าจะมีคนสนใจเยอะขนาดนี้ ได้ความมาว่า
“ใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ก็สามารถพัฒนาระบบงานอื่นๆ ได้ด้วย เพราะระบบห้องสมุดมีเรื่อองที่ซับซ้อนมากมาย”

เอาเป็นว่าต้องขอบอกเลยว่า “ผลเกินคาดครับงานนี้”

ปัญหามากมายที่รอการแก้ไข จากห้องสมุดแห่งหนึ่ง

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดหลายคน ก็รู้ว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีปัญหาที่ต้องแก้อีกมากมาย
ซึ่งบางปัญหาก็เกิดจากผู้บริหาร หรือบางปัญหาก็เกิดจากผู้ใช้บริการ และบางปัญหาก็เกิดจากตัวบรรณารักษ์เอง

ที่มาจาก badjonni
ที่มาจาก badjonni

วันนี้ผมมีกรณีตัวอย่างมานำเสนอ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ ช่วยวิเคราะห์นะครับ

ปัญหาของห้องสมุดนี้ มีดังนี้ครับ

1. ชั้นหนังสือเต็มจนหนังสือไม่มีที่เก็บอีกแล้ว (พื้นที่มีเยอะแต่ชั้นหนังสือมีน้อย)
บรรณารักษ์ทำเรื่องขออนุมัติในการจัดหาครุภัณฑ์ไป 1 ปีกว่าๆ แล้วยังไม่ได้

2. สื่อประเภทซีดีมีมากมายในห้องสมุด แต่ไม่มีที่จัดเก็บ
แม้แต่เครื่องเล่นซีดี คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีในห้องสมุด

3. ในห้องสมุดไม่มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น เวลาผู้ใช้ต้องการหาหนังสืออะไร
ก็จะเดินมาถามบรรณารักษ์อย่างเดียว หรือไม่ก็ใช้ความเคยชินเดินหาตามชั้นเอาเอง

4. บุคลากรในห้องสมุดไม่เคยถูกส่งไปเข้าร่วมงานสัมมนา อบรม ประชุมวิชาการต่างๆ เลย
จนบุคลากรบางส่วนต้องลางานเพื่อไปเข้าร่วมงานต่างๆ เอง

5. บุคลากรของห้องสมุด (บรรณารักษ์) มักจะถูกขอให้ไปช่วยงานอื่นๆ ในองค์กร
ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการเงิน ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา ฯลฯ

6. นักเรียนเอาโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุดแต่ไม่สามารถต่อ internet ได้
เนื่องจาก wireless มีไว้ให้พนักงานในองค์กรเล่นได้อย่างเดียว

7. เวลาองค์กรจัดงานนิทรรศการ หรืองานกิจกรรมต่างๆ จะมายืมครุภัณฑ์จากห้องสมุดเป็นหลัก
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ทำให้ห้องสมุดไม่มีที่นั่งเพื่อให้บริการผู้ใช้

ฟังปัญหาของห้องสมุดนี้แล้วก็แอบเหนื่อยใจแทนนะครับ
แต่ผมก็ขอนำเสนอวิธีใการจัดการกับเรื่องเหล่านี้นะครับ

1. ทำงานเท่าที่หน้าที่ของตนรับผิดชอบ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น
เราจะฝืนทำมากกว่าที่เป็นอยู่แล้วเดือดร้อนถึงเราไม่ได้ แต่ขอให้ดูว่าผู้ใช้ต้องไม่เดือดร้อนด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถึงไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้สืบค้น แต่เราก็สามารถที่จะค้นให้ผู้ใช้ได้มิใช่หรือครับ
เท่านี้นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้แล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้อีกด้วย


2. บางอย่างก็อย่าคาดหวังหากหวังมาก

เช่น คาดว่าจะได้ชั้นหนังสือเดือนหน้า เราก็จะรอคอยในสิ่งที่จะทำให้ผิดหวังได้
ให้คิดซะว่าถ้ามันมีก็ดีนะ แต่ถ้าขาดมันก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เท่านี้ก็สบายใจทั้งเรา ทั้งผู้บริหารแล้ว

3. บางอย่างเราก็คอยติดตามสอบถาม/ทวงถามบ้าง
เช่น หากชั้นหนังสือล้นออกมาเยอะมากแล้วเราก็ควรเริ่มกระตุ้นผู้บริหารได้แล้ว
ไม่ใช่ปล่อยให้มันล้นต่อไปเรื่อยๆ แล้วไปคาดหวังว่าสักวันผู้บริหารจะเห็นอันนั้นมันคงเป็นไปไม่ได้กระมั้ง

4. ปล่อยวางบ้างเถอะ
บางครั้งการที่องค์กรขาดอุปกรณ์บางอย่างแล้วมาขอยืมไปจากห้องสมุดเช่น โต๊ะ เก้าอี้
หากช่วงนั้น ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องใช้ก็ปล่อยๆ ให้เขาไปเถอะแต่ไม่ใช่ปล่อยให้เขาเอาไปหมดเลย
ควรจะเหลือไว้ให้ห้องสมุดสักครึ่งหนึ่งก็จะดี เพราะอย่าลืมว่าเราต้องบริการผู้ใช้ด้วย ไม่ใช่บริการองค์กรเพียงอย่างเดียว


คำแนะนำเหล่านี้ ถ้าเพื่อนๆ รับฟังมันก็จะทำให้เราทำงานได้อย่างสบายใจแล้วหล่ะครับ

แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไงกับปัญหาเหล่านี้ มีแนวทางในการแก้ไขบ้างหรือปล่าวครับ

กรณีศึกษาเรื่องสารานุกรมออนไลน์ : Britannica VS Wikipedia

วันนี้ผมขอนำเรื่องเก่ามาเรียบเรียงและเล่าใหม่อีกสักครั้งนะครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีคนสงสัยมากมายเกี่ยวกับการอ้างอิงบทความต่างๆ ในสารานุกรม
โดยกรณีที่ผมนำมาเขียนนี้จะขอเน้นไปในเรื่องสารานุกรมที่เป็นสิ่งพิมพ์กับสารานุกรมออนไลน์

reference-site

ซึ่งเรื่องมันมีอยู่ว่า…มีอีเมล์ฉบับหนึ่งเขียนมาถามผมถึงเรื่อง
การนำข้อมูลบน website ไปอ้างอิงในการทำรายงานว่ากระทำได้หรือไม่ และมันน่าเชื่อถือหรือเปล่า

อันที่จริงคำถามนี้ผมก็เคยตั้งคำถามในใจไว้เหมือนกัน แต่ก็ยังหาคำตอบไม่ได้สักที
เพราะว่าประเด็นในเรื่องนี้มีผู้เชี่ยวชาญออกมากล่าวไว้ไม่เหมือนกัน โดยสรุปได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มที่บอกว่าข้อมูลสามารถนำมาอ้างอิงได้ เนื่องจากในหลักการเขียนบรรณานุกรมยังมีการอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลออนไลน์
2. กลุ่มที่บอกว่าข้อมูลไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ทั้งหมด ซึ่งต้องเลือกและพิจารณาแหล่งข้อมูลเสียก่อนจึงจะอ้างอิงได้
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบทความทางวิชาการ เช่น รายงานการประชุม ฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ รวมถึงสิ่งที่เรียกว่า สารานุกรมออนไลน์

สารานุกรมออนไลน์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เราสามารถจำแนกได้ออกเป็นอีกสองกลุ่ม คือ

1. สารานุกรมออนไลน์ทั่วไป
ได้แก่ Encyclopedia Britannica , Encarta เป็นต้น
สารานุกรมจำพวกนี้ได้รับความน่าเชื่อถือมาเป็นเวลานานเนื่องจากสารานุกรม เหล่านี้นอกจากมีบนอินเทอร์เน็ตแล้วยังมีในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์อีกด้วย

2. สารานุกรมเสรี ได้แก่ Wikipedia, PBwiki เป็นต้น
สารานุกรมจำพวกนี้เป็นสารานุกรมที่ให้ข้อมูลค่อนข้างดี แต่บางครั้งก็ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาจากนักวิชาการ ดังนั้นจึงมีข้อถกเถียงกันเรื่องความน่าเชื่อถืออยู่

ข้อแตกต่างระหว่าง Britannica กับ Wikipedia คือ ผู้แต่งหรือผู้เขียนบทความ
ถ้าเป็นของ Britannica ผู้เขียนจะเป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
แต่ Wikipedia ผู้แต่งหรือผู้เขียนคือใครก็ได้ที่เข้าใจหรือรู้ในเรื่องๆ นั้น เข้ามาเขียนด้วยภาษาง่ายๆ อธิบายตามที่เขารู้
ถ้าสิ่งที่เขารู้มันผิดก็จะมีคนเข้ามาแก้ไขให้เรื่อยๆ จนได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ที่สุด

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเรื่อง wikipedia เพิ่มเติม ลองอ่านดูที่
แนะนำวิกิพีเดีย โดยเว็บไซต์ wikipedia
Wikipedia สารานุกรมฟรีออนไลน์ที่ใครๆ ก็เขียนได้ โดยผู้จัดการ 360 องศา

หากจะถามถึงการอ้างอิงเนื้อหาผมคงตอบไม่ได้ว่าจะอ้างอิงได้หรือไม่
เพื่อนๆ ต้องพิจารณากันเองนะครับ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับบทความที่เราจะนำมาใช้ว่ามีความน่าเชื่อถือขนาดไหน
เพราะว่าใน wikipedia แต่ละเรื่องจะต้องมีแหล่งอ้างอิงข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้นเราต้องดูแหล่งอ้างอิงของบทความนั้นๆ ด้วย

มีบทความของ Nature Magazine Dec 14, 2005 เรื่อง Internet encyclopaedias go head to head
ได้สำรวจความถูกต้องของข้อมูลแล้วพบว่า ใน Britannica กับ Wikipedia มีความผิดพลาดในระดับพอๆ กัน
ซึ่งหลายคนมองบทความชิ้นนี้ว่าเป็นการทำให้ Britannica เสียชื่อเสียงหรือเปล่า
แต่ในโลกของอินเทอร์เน็ตอะไรก็เปลี่ยนแปลงไปเร็วเหมือนกันนะ
จนถึงวันนี้จากการจัดอันดับเว็บไซท์ของ alexa ปี 2009 Wikipedia ถูกจัดอยู่ในอันดับ 6 ของโลนะครับ

แล้วเพื่อนๆ คิดยังไงกับเรื่องนี้ครับ
บทความในวิกิพีเดียสามารถนำมาอ้างอิงได้มั้ย
แล้วความน่าเชื่อถือเพื่อนๆว่าเชื่อได้กี่เปอร์เซ็นต์ครับ

เมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทมากกว่าหนังสือพิมพ์

วันนี้ผมขอนำเสนอกรณีศึกษาเรื่องการใช้อินเทอรืเน็ตกับการอ่านหนังสือพิมพ์หน่อยนะครับ
บทความนี้จริงๆ มาจากเรื่อง “อินเทอร์เน็ตกำลังแย่งผู้อ่านไปจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น” จาก blognone นะครับ
ต้นฉบับเนื้อหาภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่ “Internet use could kill off local newspapers, study finds” จาก physorg
แต่ผมขอนำมาเพิ่มในส่วนที่ผมวิเคราะห์และวิจารณ์ลงไปด้วยครับ

internet-use

————————————————————————————————–

การศึกษาในเรื่อง สื่อออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการบริโภคข่าวสารของผู้ใช้โดยทั่วไป
โดยผลการศึกษานี้สรุปเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1. ในปีที่ผ่านมา (2007) ยอดการอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับกระดาษมียอดที่ลดลง
ทำให้สูญเสียผู้ อ่านไปนับล้านคน แต่ยอดการดูข่าวในอินเทอร์เน็ตกลับเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

2. รูปแบบของข่าวที่นำเสนอในอินเทอร์เน็ตมาจาก เว็บ Search Engine ต่างๆ
ข่าวสารในบล็อกต่างๆ / เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ที่ดังๆ รวมถึงเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ด้วย

3. Google, Yahoo, AOL และ MSN มีคนเข้าใช้ในแต่ละเดือนประมาณ 100 ล้านคน
แต่เว็บของสถานีโทรทัศน์กลับมีเพียง 7.4 ล้านคนเท่านั้นเอง
และเว็บของหนังสือพิมพ์ดังๆ ที่ติดตลาด เช่น New York Times มีผู้ใช้ประมาณ 8.5 ล้านต่อเดือน

4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์เล็กๆ พยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวแล้ว
แต่ก็เป็นการยากที่จะดึงลูกค้าจากกลุ่มต่างๆ ในข้อที่ 3 มาได้
ดังนั้นผลกระทบโดยตรงนี้จึงตกอยู่กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นต่างๆ ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าว

5. ในบทความนี้แนะนำว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นควรจะปรับกลยุทธ์โดยการให้นำเสนอ
ข่าวในแนวที่กว้างขึ้นและคงความเป็นสากลของหนังสือพิมพ์จึงจะพิชิตอุปสรรค ต่างๆ ได้

————————————————————————————————–

ผลการศึกษาที่ผมยกมานี้หากเรามามองในแง่ของความเป็นบรรณารักษ์
บางคนคงเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมผู้ใช้จึงมีจำนวนลดลงบ้าง

ถึงแม้ว่าในบทความนี้กล่าวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในประเทศไทยหลายคนอาจจะบอกว่า
ไม่มีทางหรอกยังไงคนไทยก็ติดความเป็นกระดาษมากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้ว

แต่ในความคิดของผมที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับความนิยม
ประเด็นหลักผมคิดว่ามาจากสื่อประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งทำให้เกิดความยากในการที่จะนำมาใช้
บางคนไม่ชอบภาษาอังกฤษพอเห็นอะไรนิดหน่อยที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงเกิดอาการต่อต้าน

แต่ผมก็คิดในหลักง่ายๆ ว่า แล้วถ้าสื่อเหล่านี้เป็นภาษาไทยหล่ะ
จะทำให้ผู้ใช้หันไปใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ห้องสมุดคงต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่โดยทันที

ผมเอาสรุปสถิติของการเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาให้ดูกันคร่าวๆ ดีกว่า
แล้วให้พวกเราลองเปรียบเทียบในแง่ของห้องสมุดว่าห้องสมุดมีคนเข้าใช้จำนวน แค่ไหน

www.sanook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 223,597
www.kapook.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 142,020
teenee.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 74,811
www.mthai.com – – – – จำนวนคนเข้าต่อวัน = 73,752

ข้อมูลจาก truehits.net

เอาเป็นว่าห้องสมุดที่ไหนบ้างในเมืองไทยที่มีการเข้าใช้จำนวนมากเหมือนเว็บไซต์
ใครรู้ช่วยบอกผมทีนะครับ

แนะนำหนังสือเรื่อง การจัดการห้องสมุด

เปลี่ยนบรรยากาศการเล่าเรื่องมาเป็นการแนะนำหนังสือบ้างดีกว่า
หนังสือที่ผมจะขอแนะนำในวันนี้เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้บริหารห้องสมุด

library-management

Read more