บรรณารักษศาสตร์ เท่ากับ สารสนเทศศาสตร์ หรือไม่

ขอออกตัวก่อนนะครับที่เขียนไม่ได้ว่าจะชวนทะเลาะหรือสร้างความแตกแยก แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมได้ยินบ่อยมากๆ และจากประสบการณ์ตรงในช่วงผมเป็นนักศึกษา (รุ่นผมชื่อบรรณารักษศาตร์และสารสนเทศศาสตร์ แต่หลังจากรุ่นผมไปแล้วใช้คำว่า การจัดการสารสนเทศ) วันนี้ผมว่าเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็อาจสับสนบ้างว่ามันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ปล. ที่เขียนบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ถูกผิดหรือไม่แล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน

หลายๆ สถานศึกษาเริ่มมีการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชา หรือ บางแห่งเปลี่ยนชื่อภาควิชาไปเลยก็มี

คำถามที่ผมคาใจมากๆ คือ “ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อสาขาวิชานี้” “ชื่อสาขานี้มันล่าสมัยจริงหรือ”
เหตุผลที่ผมได้ยินและได้คุยกับอาจารย์บางท่าน คือ
– “ถ้าไม่เปลี่ยนแล้วเด็กจะไม่เข้ามาเรียนในสาขานี้”
– “ถ้าเด็กเข้ามาไม่ได้ตามจำนวน ภาควิชาก็ไม่สามารถเปิดสอนได้”
– “สาขาวิชามีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น”
– “เด็กที่จบไปจะได้ชื่อหลักสูตรที่สวยหรู สามารถทำงานอะไรก็ได้”

เอาเป็นว่าเหตุผลต่างๆ มากมายที่ผมก็ขอรับฟัง
แต่…เคยคิดกันหรือไม่ว่า….ประเด็นนี้จะทำให้เด็กสับสน

“หนูไม่รู้นี่ว่าสารสนเทศศาตร์ คือ สอนให้หนูเป็นบรรณารักษ์ หนูนึกว่าเข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์”
“การจัดการสารสนเทศน่าจะสอนการจัดการข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่อิงแต่เรื่องห้องสมุด”
“เข้ามาเพราะชื่อหลักสูตรเท่ห์จัง แต่ทำไมเรียนเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด”

สถานศึกษาบางแห่งเปลี่ยนชื่อหลักสูตรก็จริงแต่เนื้อหาในรายวิชาเกือบครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดอยู่ดี บางแห่งไม่ได้เปลี่ยนรายวิชาด้านในเลยด้วยซ้ำ จากประเด็นแบบนี้ จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่สับสนกับหลักสูตร หรือ วิชาที่เรียน

จากกรณีเรื่องของชื่อหลักสูตร หรือ ชื่อของภาควิชา ผมขอพูดถึงสภาพของเด็ก 3 กลุ่มให้ฟังคร่าวๆ คือ
1. “รู้ว่าบรรณารักษ์เป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศอยู่แล้ว และตั้งใจมาเรียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ” พูดง่ายๆ ว่าใจรักอ่ะครับ เด็กพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะใจเขามาด้านนี้โดยตรงอยู่แล้ว
2. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่พอมาเจอเนื้อหาของแต่ละวิชา ก็ได้แต่ทำใจและยอมรับสภาพ” พูดง่ายๆ ว่า อดทนให้เรียนจบแล้วเดี๋ยวไปหางานอย่างอื่นทำ กลุ่มนี้ก็พบมากมาย เด็กส่วนหนึ่งที่จบไม่ได้กลับมาทำงานตามสายที่เรียน
3. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเข้ามาเรียนและรู้ว่าไม่ใช่ก็ลาออกไปเรียนอย่างอื่น หรือ ฝืนเรียนแต่ก็รับไม่ได้” พูดง่ายๆ ว่า เมื่อไม่ใช่ทางที่คิดไว้ก็ไปทางอื่นดีกว่า

เรื่องของชื่อว่า “บรรณารักษศาสตร์” หรือ “สารสนเทศศาสตร์” แท้จริงแล้วมันเท่ากันหรือไม่
แค่ชื่อก็ไม่เหมือนกันแล้ว ผมบอกได้ตรงๆ ครับว่า อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” มันก็ต่างกัน

อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” ต่างอย่างไร

“บรรณารักษ์” คือการจัดการสื่อ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ องค์ความรู้ในห้องสมุด กระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินงานในห้องสมุด “บรรณารักษ์” ต้องรู้และสามารถจัดการได้

“นักสารสนเทศ” คือ การจัดการสารสนเทศด้านใดด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องจัดการห้องสมุดทั้งหมด แต่ต้องจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ ยิ่งถ้าจัดการหรือมีความรู้ด้านวิชาชีพอื่นๆ ด้วยก็ยิ่งดี และถือว่าเป็นนักสารสนเทศของอาชีพนั้นๆ ได้ด้วย เช่น นักสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่า ห้องสมุด คือส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศแบบภาพรวม บรรณารักษ์ก็คือนักสารสนเทศในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อหลักสูตร สถานศึกษาก็ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียนด้วย…

หรือแม้แต่ครูแนะแนวเด็ก ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็ควรรู้และเข้าใจในแง่นี้ด้วย มิเช่นนั้นเด็กๆ ของท่านก็จะเข้าใจผิดว่า “สารสนเทศ” ก็คือ “คอมพิวเตอร์” ต่อไป

วันนี้ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน อิอิ

The edublogaward 2011 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

มีเพื่อนผมมาเตือนเกี่ยวกับเรื่อง The edublogaward ว่า “ผลของปี 2011 ยังไม่ออกหรอ ทำไมถึงไม่มีเขียนเรื่องนี้” ซึ่งเมื่อผมลองตรวจสอบดูก็เพิ่งเห็นจริงๆ ว่าผลมันออกมานานแล้ว ต้องขออภัยที่ลงข่าวล่าช้านะครับ เอาเป็นว่าลองมาติดตามกันดูดีกว่าว่าผลของปีนี้บล็อกไหนของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ได้รับรางวัลบ้าง

ติดตามผลการประกาศรางวัลปีเก่าได้ที่
The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์
The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2011  สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ดูน่าสนใจมากขึ้น
(ปกติจะประกาศสาขาละ 3 บล็อก ปีนี้ประกาศเพิ่มเป็น 5 บล็อกครับ)

The edublogaward 2011 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ บล็อกที่ได้รับรางวัลมีดังนี้
Try Curiosity! – http://www.trycuriosity.com/
Bulldog Readers Blog – http://bellbulldogreaders.edublogs.org/
The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
Never Ending Search – http://blog.schoollibraryjournal.com/neverendingsearch
A Media Specialist’s Guide to the Internet – http://mediaspecialistsguide.blogspot.com/

Try Curiosity! - http://www.trycuriosity.com/
Bulldog Readers Blog - http://bellbulldogreaders.edublogs.org/
The Daring Librarian - http://www.thedaringlibrarian.com/
Never Ending Search - http://blog.schoollibraryjournal.com/neverendingsearch
A Media Specialist's Guide to the Internet - http://mediaspecialistsguide.blogspot.com/

ปีนี้บล็อกที่ได้รับรางวัลนี่ เป็นบล็อกที่ไม่เคยได้รับรางวัลนี้มาก่อน (บล็อกหน้าใหม่)
ปีที่แล้วยังมีบล็อกเก่าติดอันดับ แต่ปีนี้บล็อกเก่าไม่ติดเลย นับว่าน่าสนใจมากๆ

ยังไงก็ลองเข้าไปดูนะครับ

ติดตามข้อมูลรางวัลในสาขาอื่นๆ ได้ที่ http://edublogawards.com/announcing-the-2011-winners-congrats-to-all/

12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012

วันนี้ในขณะที่กำลังอ่านเรื่องแนวโน้มของการศึกษาในอนาคตอยู่ก็พบหัวข้อนึงที่น่าอ่านมากๆ ซึ่งเป็นเรื่อง “12 หัวข้อการศึกษา (ด้านเทคโนโลยี) ที่น่าจับตามองในปี 2012” จึงอยากนำมาให้เพื่อนๆ อ่าน (เพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดก็ลองอ่านได้นะ เผื่อเอามาประยุกต์กับวงการห้องสมุดของเราบ้าง)

ต้นฉบับของเรื่องนี้จริงๆ ชื่อว่า “12 Education Tech Trends to Watch in 2012” จากเว็บไซต์ http://mindshift.kqed.org

เรามาดู 12 หัวข้อการศึกษาที่น่าจับตามองในปี 2012 กันก่อนนะครับ
1. MOBILE PHONES – โทรศัพท์มือถือ
2. BYOD (BRING YOUR OWN DEVICE) – อุปกรณ์ที่พกพาไปไหนมาไหนได้ เช่น notebook, netbook, ipod, tablet
3. BANDWIDTH ISSUES – การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
4. NATURAL USER INTERFACES – การตอบสนองกับผู้ใช้แบบธรรมชาติ เช่น ระบบสั่งการด้วยเสียง
5. WEB APPS – การใช้โปรแกรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์
6. DATA – ข้อมูล
7. ADAPTIVE LEARNING – การเรียนการสอนที่เน้นการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
8. PRIVACY/SECURITY – ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความปลอดภัย
9. OPEN LICENSING – สัญญาการอนุญาตแบบเปิด
10. PEER TO PEER – การเชื่อมต่อแบบ peer to peer
11. THE MAKER MOVEMENT – การเคลื่อนไหว
12. GAMING – เกมส์

รายละเอียดของแต่ละหัวข้อ ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็เข้าไปอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ต่อได้ที่ http://mindshift.kqed.org/2012/01/12-education-tech-trends-to-watch-in-2012/

เหตุผลที่ผมแนะนำเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ คือ อยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นแนวโน้มของวงการศึกษา (ห้องสมุดและบรรณารักษ์เราก็อยู่ในวงการศึกษาเช่นกัน) เมื่อวงการศึกษาให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อนๆ บรรณารักษ์ก็ควรให้ความสนใจบ้าง บางประเด็นมันเริ่มเข้ามาเกี่ยวกับชีวิตของเรามากขึ้น ทั้งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอย่างเรา ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วก็จะได้เตรียมตัวและพยายามทำความเข้าใจมันได้

เอาเป็นว่าวันหยุดแบบนี้เอาเรื่องวิชาการมาอ่านบ้างนะครับ อิอิ

12 Education Tech Trends to Watch in 2012

The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการศึกษาและบล็อกในต่างประเทศซะนานเลย
วันนี้ผมขอนำผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 มาลงนะครับ
(ปีที่แล้วผมเขียนเรื่องการประกาศผลรางวัล The edublogaward 2009 ไปแล้ว)

ปีนี้ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010 ดูน่าสนใจมากขึ้น
บล็อกเดิมที่เคยได้รับรางวัลบางบล็อกหลุดไปอย่างน่าเสียดาย และมีบล็อกใหม่ๆ ที่เข้ามาด้วย

ขอเกริ่นนำถึงรางวัลนี้สักหน่อยนะครับ
The edublogaward เป็นรางวัลที่แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นซึ่งมีหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน บล็อกนักวิจัย ฯลฯ
แน่นอนครับ ถถ้าพูดเรื่องวงการศึกษาคงต้องมีรางวัลที่เกี่ยวกับ “ห้องสมุดและบรรณารักษ์” ด้วย

ผลการประกาศรางวัล The edublogaward 2010
ผู้ที่ชนะเลิศในปี 2010 คือ บล็อก Castilleja School Library
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก A Media Specialist’s Guide to the Internet
ส่วนอันดับที่สาม คือ Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria (ปีที่แล้วได้ที่ 2)

การประกวด The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ มีผู้เสนอชื่อบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์อีกมาก ซึ่งแต่ละบล็อกผมว่าน่าสนใจเช่นกัน เลยขอนำมาลงเพื่อเป็นตัวเลือกให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านต่อ โดยมีรายชื่อดังนี้

  1. Aberfoyle Park Campus Resource Centre Blog
  2. A Media Specialist’s Guide to the Internet
  3. Bloggit
  4. Booked Inn
  5. Blue Skunk
  6. Bright Ideas
  7. Castilleja School Library
  8. Cathy Nelson’s Professional Blog
  9. Gryphon LRC
  10. Heart of School
  11. Informania
  12. Library Grits
  13. Librarian By Day
  14. Lucacept – intercepting the web
  15. Never Ending Search
  16. Skerricks
  17. Springston School Library Blog
  18. Tales from a Loud Librarian
  19. The Daring Librarian
  20. The Unquiet Librarian
  21. The WebFooted Booklady
  22. Van Meter Library Voice
  23. VCS Skyway Library

ผลการโหวต The edublogaward 2010 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เป็นยังไงบ้างครับ คิดยังไงกับเรื่องการประกวดบล็อกในวงการศึกษา
ผมว่ามันก็เป็นการพัฒนางานอย่างหนึ่งนะครับ นอกจากนี้ยังถือว่าช่วยในเรื่องการจัดการความรู้ได้อย่างดีทีเดียว
บ้านเราก็ควรจะทำบ้างนะ (อยากให้ทำเชิงคุณภาพนะครับ ไม่ใช่ประกวดแล้วเล่นพรรคเล่นพวก)

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2010http://edublogawards.com/2010/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ – http://edublogawards.com/

ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในสัปดาห์หน้ามีงานใหญ่ที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (งานของ UNINET) หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนามของงาน WUNCA ถือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ผมจึงขอแนะนำงาน WUNCA ในครั้งนี้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 23
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Workshop on UniNet Network and Computer Application หรือ WUNCA23
วันและเวลา : 26-28 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ผู้จัดการประชุม : UNINET สกอ.

งาน Wunca ครั้งนี้ผมสังเกตว่าเกิดกลุ่มใหม่ๆ และมี session เพิ่มขึ้นเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องไอที
ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องของความปลอดภัยในการดูแลระบบไปจนถึงระดับพวกเขียนโปรแกรมบนไอโฟนแบบว่าน่าเข้าร่วมมากๆ
แต่วันนี้ผมขอเน้นข้อมูลเพื่อให้บรรณารักษ์และคนในวงการห้องสมุดดูดีกว่าว่างานนี้เกี่ยวอะไรกับห้องสมุดได้บ้าง

หัวข้อบรรยายในกลุ่มของ Thailis (เครือข่ายความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย)
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Learnig Space”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Search Engine : ผลกระทบต่อบรรณารักษ์”
– การบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมอง : รอด…ไม่รอด… กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT”
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล Computers & Applied Sciences Complete / Academic Search Premium /Education Research Complete
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect

ปล. กลุ่ม Thailis จะมีการบรรยายในวันที่ 27 มกราคม 2554 วันเดียว

นอกจากหัวข้อในกลุ่มของ Thailis แล้ว กลุ่มอื่นๆ ที่น่าสนใจและผมแนะนำได้แก่
วันที่ 26 มกราคม 2554
– การบรรยายปาฐกถา เรื่อง “นโยบาย 3N และทิศทางการศึกษาไทย”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย”
– Project Collaboration ThaiREN & TWNIC

วันที่ 27 มกราคม 2554
– การบรรยายพิเศษเรื่อง ?Education 3.0 กับ Open Source?
– Education Technology, Moodle 2.0, Social Media. จะไปด้วยกันอย่างไร การศึกษาไทยถึงจะรอด?
– การใช้เครือข่ายสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนด้านการเขียนและการคิดวิเคราะห
– บรรยาย เรื่อง ?อุดมศึกษาไทยรับมืออย่างไรในยุค New media?
– คุยซายน์ ?ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยบริหารจัดการการให้ทุนวิจัยในองค์กร?

วันที่ 28 มกราคม 2554
– ?การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะของระบบ e-learning โดยใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Pentaho BI Suite?
– เสวนาประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเรียนในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำหัวข้อที่น่าสนใจเท่านี้ก่อนแล้วกัน รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เพื่อนๆ ไปดูได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

งานนี้เป็นงานที่แวดวงการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงวงการห้องสมุดไม่ควรพลาด
จากที่เคยเข้าร่วมงานมา 2-3 ครั้ง ผมรับรองเลยว่างานนี้ไอเดียและความรู้มีให้เก็บเกี่ยวเพียบ

คนที่ต้องการเข้าร่วมงานนี้ต้องลงทะเบียนด้วยนะครับ เข้าไปสมัครได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca/Regis_wunca/wunca23_Mregis.php
(ตอนนี้ปิดรับลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อนๆ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่หน้างานเลย)

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้เพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่
เว็บไซต์ทางการงาน Wunca23 – http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

เว็บไซต์งาน Wunca ย้อนหลัง
Wunca22 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca22/
Wunca21 (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca21/
Wunca20 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca20/
Wunca19 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) – http://wunca19.uni.net.th/

สรุปงาน BBL Mini Expo 2010

วันนี้มีโอกาสมางาน BBL Mini Expo 2010 จึงอยากนำข้อมูลมาลงให้เพื่อนๆ ได้ติดตาม
หลายๆ คนคงงงว่า BBL คืออะไร BBL ย่อมาจาก Brain based Learning
หรือภาษาไทยเรียกว่า “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง” นั่นเอง

งานนี้เป็นงานที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา
งานนี้จัดในวันที่ 18-19 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท
ภายในงานนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของการสัมมนาและส่วนของนิทรรศการ

ส่วนของการสัมมนา
คือ ส่วนที่มีการเชิญวิทยากรจากที่ต่างๆ มานำเสนอข้อมูลงานวิจัย รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองจากสาขาวิชาต่างๆ ที่จัดในปัจจุบัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนของสัมมนามีการแบ่งออกเป็น 2 ห้องสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา แยกกันชัดเจนเพื่อให้ผู้เข้าฟังได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้สูงสุด

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
ระดับปฐมวัย
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 0-3 ปี
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 3-6 ปี

ระดับประถมศึกษา
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาไทย
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาอังกฤษ
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาวิทยาศาสตร์

ส่วนของนิทรรศการ
คือ ส่วนที่นำความรู้มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ซึ่งโรงเรียนหลายๆ ที่นำกรณีศึกษาจากกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนมานำเสนอ ซึ่งผมว่าน่าสนใจมากๆ เนื่องจากห้องสมุดก็สามารถนำกรณีตัวอย่างแบบนี้ไปใช้ได้ด้วย เช่นเดียวกันการจัดนิทรรศการก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา

ตัวอย่างนิทรรศการที่น่าสนใจในงานนี้

ระดับปฐมวัย
– สำเนียงเสียงสัตว์ นำเสนอโดยโรงเรียนบ้านเจ้าทุ่ง จ.ศรีสะเกษ
– กิจกรรมหลังการอ่าน นำเสนอโดยโรงเรียนศิริพงศ์วิทยา จ.สงขลา
– การรู้ค่าของตัวเลข นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

ระดับประถมศึกษา
– การพัฒนาการอ่าน การเขียนคำ ของนักเรียนชั้น ป.1 ด้วยเทคนิคเคลื่อนไหวจับคู้่สู่การอ่านเขียนคำอย่างยั่งยืน นำเสนอโดยโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่
– การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระวิทยาศาสตร์ “ชุดสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม” นำเสนอโดยโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 จ.นนทบุรี
– มือมหัศจรรย์ปั้นดิน นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

เอาเป็นว่างานนี้ก็โอเคนะได้สาระความรู้มากมายและทำให้เข้าใจหลักการพัฒนาของสมองและเข้าใจการเรียนรู้ของเด็กๆ

ปล.งานนี้ได้ของแจกมาเพียบเลย เช่น
– ถุงผ้า BBL Mini Expo 2010
– โบรชัวส์แนะนำ โครงการ BBL
– ดีวีดี วีดีโอแนะนำ “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง”
– สมุดบันทึกสวยหรูจากงาน BBL Mini Expo
– หนังสือ “เรื่องเล่า เร้าสมอง”
– หนังสือ “สำนึกแห่งวินัยหัวใจแห่งการเรียนรู้”

ขอบคุณผู้จัดงานนี้มากๆ ครับ เป็นงานที่ดีจริงๆ

ปล. ผมขอนำบล็อกนี้มาโพสในส่วนบล็อกส่วนตัวอขงผมนะครับ เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวกับห้องสมุดมากนัก

The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ก็ 2010 แล้วนะครับ ผมอาจจะนำเรื่องนี้มารายงานช้าไปหน่อย
แต่อย่างน้อย The edublogaward 2010 ก็ยังไม่เริ่มประกาศผลนะครับ

The edublogaward 2009 รางวัลนี้ได้แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน ฯลฯ

แน่นอนครับในกลุ่มด้านการศึกษานี้คงต้องมีรางวัลเกี่ยวกับ บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ ด้วย

ดังนั้นผมจึงของนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ
โดยผู้ที่ชนะเลิศในปี 2009 คือ บล็อก Never Ending Search ซึ่งเป็นบล็อกภายใต้ schoollibraryjournal นั่นเอง
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria
ส่วนอันดับที่สาม คือ Library Tech Musings ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น thedaringlibrarian

เอาเป็นว่าผมก็ลองเข้าไปดูบล็อกเหล่านี้มาแล้วแหละ นับว่าน่าสนใจจริงๆ
ดังนั้นผมว่าเพื่อนๆ เซฟลิ้งค์พวกนี้แล้วลองหาเวลาเข้าไปอ่านบ้างนะครับ

อ๋อ นอกจากนี้แล้ว ในบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ถูกเสนอชื่อและเป็นคู่แข่งในการประกวดครั้งนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น

  1. A Fuse #8 Productions
  2. Bloggit
  3. Bright Ideas
  4. Blue Skunk
  5. Cathy Nelson?s Professional Thoughts
  6. Hey Jude
  7. LCS ES Media Blog
  8. Librarian by Day Blog
  9. Library Tech Musings
  10. Lucacept
  11. My Mind Gap
  12. Never Ending Search
  13. Not So Distant Future
  14. The Unquiet Librarian
  15. The Unquiet Library
  16. The Waki Librarian
  17. The Web Footed Book Lady
  18. Wired Librarian
  19. World?s Strongest Librarian

คะแนนในการตัดสิน The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เอาเป็นว่าน่าสนใจทุกบล็อกเลย จริงๆ แล้วในเมืองไทยผมอยากให้มีการจัดประกวดบล็อกด้านการศึกษาแบบนี้บ้างจัง
แต่คงต้องมีการวัดผลที่เป็นมาตรฐานกว่าที่ผ่านมาหน่อยนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็คือ พวกเยอะมักได้รางวัล
ซึ่งบางทีแล้วไม่ยุติธรรมต่อบล็อกหรือเว็บที่มีประโยชน์สักเท่าไหร่ ยังไงก็ฝากไว้แค่นี้แหละครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2009 – http://edublogawards.com/2009/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่? http://edublogawards.com/

ไอเดียสำหรับคนที่ต้องการทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

มีเพื่อนๆ หลายๆ คนชอบมาปรึกษาผมเกี่ยวกับเรื่องหัวข้อในการวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องนี้เพื่อให้ไอเดียในการเลือกหัวข้อเพื่อทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์นะครับ

idea-library-research Read more

?จะเรียนปริญญาโทดีมั้ย? คำถามที่น่าคิด

เรื่องนี้จริงๆ ผมเขียนนานแล้วอ่ะครับ แต่พอเห็นเพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นมากมาย
ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ นำมาเล่าซ้ำและประมวลความคิดเห็นที่ให้แง่คิดดีๆ ให้อ่านครับ

blog

มีเพื่อนผมหลายคนมาถามบ่อยๆ ว่า
?เรียนโทเป็นไงบ้างยากมั้ย?
?อยากเรียนโทนะแต่เรียนอะไรดี?
?แล้วจะเรียนดีมั้ยอ่ะปริญญาโท?

คำถามนี้ไม่ใช่เกิดกับเพื่อนๆ ของผมอย่างเดียว
ตอนก่อนที่ผมจะลงเรียนปริญญาโท
ผมเองก็เคยถามคำถามพวกนี้กับคนอื่นเหมือนกัน

แล้วคำตอบที่ได้กลับมาก็เหมือนกันเกือบทุกคนว่า
?เรียนอะไรก็ได้ที่คิดว่าชอบ?
?คิดดีแล้วหรอที่จะเรียนปริญญาโท?
?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

เรียนอะไรผมว่ามันก็ขึ้นอยู่กับความชอบจริงๆ นะ
ส่วนคำถามที่ถามย้อนกลับมาสิว่า ?เรียนปริญญาโทเพื่ออะไร?

บางคนคงจะบอกว่า
?เรียนเพราะว่าสังคมเดี๋ยวนี้ จบปริญญาตรีมันไม่พอ?
?เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน?
?เรียนเพราะตั้งใจว่าจะเพิ่มความรู้ให้ตัวเอง?
?เรียนเพราะว่าคนอื่นเขาก็เรียน?
?เรียนเพราะว่าแฟนชวนให้เรียนด้วย?

เอาเป็นว่าหลากหลายเหตุผลในการที่จะเรียนต่ออ่ะครับ
แต่คิดสักนิดนะครับว่า ไม่ว่าคุณจะเรียนปริญญาอะไรก็ตาม
ขอให้เลือกตามที่ใจรักนะครับ เรียนอะไรก็ได้ตามใจเรา

บางคนบอกว่าเรียนเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ผมก็เห็นด้วยนะครับ
แต่ว่าอย่างบางอาชีพเขาไม่ได้วัดกันที่ปริญญาก็มีนะครับ
ผมขอถามคุณเล่นๆ ดีกว่า (ลองคิดตามนะครับ)

สมมุติว่ามีคนสองคนมาสมัครงาน
คนนึงจบปริญญาเอกด้านการออกแบบ มาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แต่ยังไม่เคยทำงานมาก่อนเลย
อีกคนหนึ่งจบปริญญาตรีสาขาที่ไม่เกี่ยวกับการออกแบบด้วยซ้ำ แต่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาเกือบ 20 ปี
คุณคิดยังไงกับคนสองคนนี้ แล้วถ้าคุณจะรับคนเข้าทำงานคุณจะเลือกใครครับ

อย่างที่เคยพูนะครับว่าปริญญาบางทีในสังคมก็ใช้ในการวัดความรู้
แต่ผมว่าประสบการณ์ก็มีส่วนในการวัดความรู้ได้เหมือนกัน

แต่ในประเทศไทยเราส่วนใหญ่ก็ยังยึดกับใบปริญญาอยู่ดี
ยังไงซะถ้ามีโอกาสเรียนก็เรียนเถอะครับ คิดว่าตามกระแสไปแล้วกัน

——————————————————————————————————

รวมความคิดเห็นที่ตอบมาแล้วได้แง่คิด

พี่บอล (jiw_de_jazz) แสดงความคิดเห็นว่า ถ้าเรียนแล้วมีประโยชน์ชัดเจนก็เรียนไป เช่น

?เรียนจบแล้วเงินเดือนขึ้น?
– แน่นอนคุณเสียค่าเรียนป.โท ประมาณ 3แสน แต่คุณจะได้เงินเดือนขึ้นอีก 5พัน/เดือน จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 60 เดือน = 5ปี น่าจะคุ้มนะ

?เรียนช่วงหางาน(เตะฝุ่น)?
– เตรียมพร้อมเมื่อฟ้าปิด ถ้าฟ้าเปิดมาคุณจะมีโอกาสมากกว่าผู้อื่น

“เรียนเพราะว่าที่บ้านบอกให้เรียน”
– น่าจะเป็นพวกบ้านพอมีฐานะ เรียนไปเถอะ เพื่อคุณจะได้ไม่เป็นแกะดำในบ้าน, หรืออาจจะเสริมสร้างสถานภาพทางสังคมของครอบครัวของคุณ(ไม่ได้ประชดนะ) ผมให้ความสำคัญกะที่บ้านสูงน่ะครับ ?ลูกชั้นจบปริญญาโทแล้วนะ?

?เรียนเพราะที่ทำงานเรียนกันหมดเลย?
– อันนี้ต้องคิดครับว่า ว่าปริญญามีผลกับการทำงานของคุณหรือป่าว ถ้าไม่มีผลก็ไม่ต้องเรียน ถ้ามีผลก็เรียนไปเถอะครับ

——————————————————————————————————

คุณจันทรา แสดงความคิดเห็นว่า

ผลที่ได้จากการเรียน มากกว่าที่คิดเยอะ ได้เพื่อน ที่ไม่คาดว่าจะได้เจอ หมายถึงวิถึชีิวิตเราต่างกันมาก ถ้าไม่เจอกันที่เรียน ก็คงไม่ได้เจอ ทำให้โลกกว้างขึ้น ในด้านวิชาการ เรียนโทส่วนใหญ่จะเน้นเรื่อง ?วิธีคิด? จะคิดเป็นระบบมากขึ้นค่ะ สุดท้าย ก็ความภูมิใจไงค๊ะ ปริญญาหน่ะ ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดว่า ?ใครเก่ง? แต่การจะได้มาหน่ะมันไม่ง่าย ก็อาจพิสูจน์ได้ว่า มันคือผลของ ?การพยายาม? ค่ะ

——————————————————————————————————

พี่มุก (EscRiBiTioNiSt) แสดงความคิดเห็นว่า

คิดว่า การเรียน เป็นงาน อดิเรก อย่างหนึ่ง ได้ความรู้ ได้เพื่อน ได้สังคม ที่สำคัญ ได้ความสุข สนุกสนาน ความตื่นเต้น (เวลาสอบ) จากการเรียน มีหลายรสชาติดี..

——————————————————————————————————

บรรณารักษ์ในกะลา แสดงความคิดเห็นว่า

ต้องลองเรียนเองค่ะถึงจะได้คำตอบ เพราะความรู้ที่ได้ไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ความรู้จะค่อย ๆ ซึม ถ้าช่างสังเกตจะรู้ว่าความคิดความอ่านเปลี่ยนไปไม่น้อย ยิ่งคนที่เรียนด้วยทำงานด้วยจะทำให้การคิดเป็นระบบและมีหลักการรองรับมาก ขึ้นค่ะ

ครับนี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งขอคนที่เขามาแสดงความคิดเห็นนะครับ เอาเป็นว่าจะเรียนหรือไม่เรียนขึ้นอยู่ที่ตัวคุณแล้วหล่ะ

ไอเดียการศึกษา 2.0 กับงานห้องสมุด

วันนี้ขอมาแนววิเคราะหืเรื่องเครียดๆ ให้เป็นเรื่องเล่นๆ หน่อยนะครับ
เรื่องมันมีอยู่ว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ อะไรๆ ก็ 2.0 ไปหมดเลยอ่ะ
ไม่ว่าจะเป็น Web 2.0 / Library 2.0 แล้วตอนนี้ก็ยังจะมีการศึกษา 2.0 เข้ามาอีก ตกลงมันเป็นกระแสนิยมใช่หรือปล่าว

education20

ใครที่ยังงงกับ การศึกษา 2.0 ลองเข้าไปอ่านข่าวเรื่อง การศึกษา 2.0 เปิดอบรมครูผ่านแคมฟร็อก
ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17 สิงหาคม 2550 ดูนะครับ
หรือเอาง่ายเข้าไปดู โครงการการศึกษา 2.0 ของ thaiventure ดูนะครับ

สรุป concept ง่ายคือ การใช้โปรแกรมเพื่อสอนทางไกล และอบรมการใช้โปรแกรม google application
โดยโปรแกรมที่ใช้ในการอบรมทางไกลครั้งนี้ คือ โปรแกรม camfrog นั่นเอง

ซึ่งหากจะพูดถึงโปรแกรม camfrog นี้ หลายคนคงจะคุ้นๆ เหมือนเคยได้ยิน
และถ้าผมบอกว่า โปรแกรม camfrog เป็นโปรแกรมที่เด็กวัยรุ่นมักใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้ากัน
และที่สำคัญมักจะมีแต่ข่าวไม่ดีเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ อย่างล่าสุดก็เพิ่งมีข่าวไม่กี่วันนี้
เรื่อง พ่ออึ้ง!! ลูกช่วยตัวเองหน้าคอมฯ จี้รัฐจัดการ ?โชว์สยิว?

แต่ด้วยข่าวที่ออกมาว่าโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ไม่ดีต่างๆ นานา
ทำให้ภาพที่ออกมาอยู่ในแง่ลบมาตลอด
พอพูดถึงโปรแกรมนี้ ส่วนใหญ่ก็จะพูดว่าไปดูโชว์หรอ
แต่ความเป็นจริงแล้ว โปรแกรมนี้ถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดี คือสามารถใช้ในการสนทนาแบบเห็นหน้าได้
โดยเฉพาะเรื่องการทำเป็น teleconference ยิ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีความสามารถมากทีเดียว

ดังนั้นโครงการการศึกษา 2.0 ที่เลือกโปรแกรมนี้มาถือว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่า
อย่างน้อยโปรแกรมนี้ก็มีประโยชน์ในแง่ของการศึกษาเหมือนกัน

จากแนวคิดดังกล่าว ผมจึงคิดว่า แล้วถ้า ห้องสมุดของเรานำโปรแกรม camfrog มาประยุกต์กับงานบริการบ้างหล่ะ
– บริการตอบคำถามออนไลน์
– ถ่ายทอดสดการประชุมและสัมมนา
– ติดต่อกับเครือข่ายความร่วมมือด้านห้องสมุด

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มันมีประโยชน์แน่นอน

โปรแกรมมีทั้งด้านดีและด้านเสียอยู่ในตัว
ตัวโปรแกรมเองไม่สามารถกำหนดให้ตัวของมันดีหรือไม่ดีไม่ได้
แต่ผู้ใช้เท่านั้นที่เป็นคนกำกับมัน
หากผู้ใช้ใช้ในแง่ที่ดี ก็จะได้ประโยชน์อย่างสูงสุด
และในทางกลับกันหากผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิดย่อมส่งผลให้ออกมาในแง่ไม่ดีได้เหมือนกัน

ดังนั้นหากจะนำมาใช้ก็ขอให้ใช้กันอยากระมัดระวังแล้วกันนะครับ ฝากไว้ให้คิดเล่นดู

ติดตามอ่านข้อมูลโครงการนี้ที่ โครงการการศึกษา 2.0 โดย thaiventure